Thu Jun 29 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 442) พ.ศ. 2566 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดโกโก้


ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 442) พ.ศ. 2566 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดโกโก้

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 442) พ.ศ. 2566 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดโกโก้ โดยที่เป็นการสมควรจัดทาคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดโกโก้ เพื่อคุ้มครอง สุขภาพผู้บริโภคและให้มีมาตรฐานตามสากล อาศัยอานาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (3) (4) (5) (6) (7) และ (10) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดโกโก้ เป็นอาหารที่กาหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน ข้อ 2 ในประกาศนี้ “ ไขมันโกโก้ ( Cocoa butter )” หมายความว่า ไขมันที่ได้จากเมล็ดโกโก้ “ เนื้อโกโก้บด ( Cocoa mass )” หรือ “ โกโก้ข้นเหลว ( Cocoa liquor )” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการการทุบหรือบดเมล็ดโกโก้กะเทาะเปลือก ( Cocoa nibs ) ที่ผ่านการคั่วหรือ ไม่คั่วก็ได้ “ โกโก้ผง ( Cocoa powder )” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดโกโก้กะเทาะเปลือก ที่ผ่านการคั่วแล้วนาไปบด จากนั้นนาไปผ่านกระบวนการสกัดไขมันโดยวิธีบีบอัด แล้วนาไปบดเป็นผง ซึ่งอาจมีการใช้ด่างในกระบวนการผลิตเพื่อปรับปรุงกลิ่น รส และสี ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงโกโก้ผง ไขมันต่า ( Fat - reduced cocoa powder ) โกโก้ผงไขมันต่ามาก ( Highly Fat - reduced cocoa powder ) และโกโก้ผงที่มีคาเคาผงผสมอยู่ด้วย “ คาเคาผง ( Cacao powder )” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดโกโก้กะเทาะเปลือก ที่ไม่ผ่านการคั่วแต่อาจมีการอบที่อุณหภูมิต่าแล้วนำไปบด จากนั้นนำไปผ่านกระบวนการแปรรูปแบบบีบเย็น ( Co ld - Pressed ) เท่านั้น แล้วนำไปบดเป็นผง ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงคาเคาผงไขมันต่ำ ( Fat - reduced cacao powder ) และคาเคาผงไขมันต่ามาก ( Highly Fat - reduced cacao powder ) ข้อ 3 ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดโกโก้ตามข้อ 2 ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานเฉพาะ แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้ (1) ไขมันโกโก้ ( Cocoa butter ) จะต้องมีกรดไขมันอิสระ (คำนวณเป็นกรดโอเลอิก ( Oleic acid )) ไม่เกินร้อยละ 1.75 และสารที่แซพอนิไฟด์ไม่ได้ ( Unsaponifiable matter ) ไม่เกินร้อยละ 0.7 ยกเว้นกรณีไขมันโกโก้ที่ได้จากการบีบอัด ( press cocoa butter ) ไม่เกินร้อยละ 0.35 ้ หนา 34 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 153 ง ราชกิจจานุเบกษา 29 มิถุนายน 2566

(2) เนื้อโกโก้บด ( Cocoa mass ) หรือโกโก้ข้นเหลว ( Cocoa liquor ) จะต้องมีเปลือก เมล็ดโกโก้และคัพภะ ( germ ) ไม่เกินร้อยละ 5 คำนวณจากส่วนแห้งที่ปราศจากไขมัน หรือ ไม่เกินร้อยละ 1.75 คานวณโดยปราศจากอัลคาไลน์ (สาหรับเปลือกโกโก้เท่านั้น) และไขมันโกโก้ ( Cocoa butter ) ระหว่างร้อยละ 47 - 60 (3) โกโก้ผง ( Cocoa powder ) (ก) โกโก้ผง ( Cocoa powder ) จะต้องมีไขมันโกโก้ ( Cocoa butter ) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 โดยน้ำหนักแห้ง และมีค วามชื้นไม่เกินร้อยละ 7 โดยน้ำหนัก (ข) โกโก้ผงไขมันต่ำ ( Fat - reduced cocoa powder ) จะต้องมีไขมันโกโก้ ( Cocoa butter ) ตั้งแต่ร้อยละ 10 แต่น้อยกว่าร้อยละ 20 โดยน้าหนักแห้ง และมีความชื้น ไม่เกินร้อยละ 7 โดยน้ำหนัก (ค) โกโก้ผงไขมันต่ามาก ( Highly Fat - reduced cocoa powder ) จะต้องมีไขมันโกโก้ ( Cocoa butter ) น้อยกว่าร้อยละ 10 โดยน้ำหนักแห้ง และมีความชื้นไม่เกินร้อยละ 7 โดยน้ำหนัก (4) คาเคาผง ( Cacao powder ) (ก) คาเคาผง ( Cacao powder ) จะต้องมีไขมันโกโก้ ( Cocoa butter ) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 โดยน้ำหนักแห้ง และมีความชื้นไม่เกินร้อยละ 7 โดยน้ำหนัก (ข) คาเคาผงไขมันต่ำ ( Fat - reduced cacao powder ) จะต้องมีไขมันโกโก้ ( Cocoa butter ) ตั้งแต่ร้อยละ 10 แต่น้อยกว่าร้อยละ 20 โดยน้าหนักแห้ง และมีความชื้น ไม่เกินร้อ ยละ 7 โดยน้ำหนัก (ค) คาเคาผงไขมันต่ำมาก ( Highly Fat - reduced cacao powder ) จะต้องมี ไขมันโกโก้ ( Cocoa butter ) น้อยกว่าร้อยละ 10 โดยน้าหนักแห้ง และมีความชื้นไม่เกินร้อยละ 7 โดยน้ำหนัก ข้อ 4 ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดโกโก้ตามข้อ 2 นอกจากจะต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานเฉพาะ ตามข้อ 3 แล้ว จะต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐาน ดังต่อไปนี้ด้วย (1) ตรวจพบสารปนเปื้อนไม่เกินปริมาณสูงสุดที่กาหนดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน (2) ชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยกาหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการตรวจวิเคราะห์ของอาหาร ด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค (3) ตรวจพบยีสต์และราได้น้อยกว่า 100 CFU ใน 1 กรัม สำหรับโกโก้ผงและคาเคาผง ้ หนา 35 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 153 ง ราชกิจจานุเบกษา 29 มิถุนายน 2566

ข้อ 5 การใช้วัตถุเจือปนอาหารและสารช่วยในการผลิต ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวง สาธารณสุขว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหาร สำหรับการใช้เฮกเซน ( Hexane ) ซึ่งมีจุดเดือดที่อุณหภูมิ 62 - 82 องศาเซลเซียส เป็นสารช่วยในกระบวนการผลิตไขมันโกโก้จะต้องตกค้างไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม ยกเว้นกรณีไขมันโกโก้ที่ได้จากการบีบอัด ( press cocoa butter ) จะต้องไม่พบเฮกเซน ข้อ 6 การใช้วัตถุแต่งกลิ่นรส ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย วัตถุแต่งกลิ่นรส โดยใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอที่จะให้กลิ่นรสเท่านั้น เว้นแต่ไข มันโกโก้ ไม่อนุญาตให้ใช้วัตถุแต่งกลิ่นรส ทั้งนี้ ไม่อนุญาตให้ใช้วัตถุแต่งกลิ่นรสช็อกโกแลตและนม ข้อ 7 ผู้ผลิตหรือนาเขำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดโกโก้เพื่อจาหน่าย ให้ปฏิบัติตามประกาศ กระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการ เก็บรักษาอาหาร ข้อ 8 ภาชนะบรรจุที่ใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดโกโก้ ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวง สาธารณสุขว่าด้วยภาชนะบรรจุ ข้อ 9 การแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดโกโก้ ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวง สาธารณสุขว่าด้วยการแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ และให้แสดงข้อความกากับชื่ออาหาร แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้ (1) ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดโกโก้ตามข้อ 3 (1) ให้แสดงชื่อ “ ไขมันโกโก้ ” หรืออาจแสดงชื่อ “ ไขมันโกโก้ที่ได้จากการบีบอัด ” หากมีคุณภาพหรือมาตรฐานเป็นไปตามที่ได้กำหนด (2) ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดโกโก้ตามข้อ 3 (2) ให้แสดงชื่อ “ เนื้อโกโก้บด ” หรือ “ โกโก้ข้นเหลว ” (3) ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดโกโก้ตามข้อ 3 (3) ให้แสดงชื่อ “ โกโก้ผง ” หรือ “ โกโก้ผง ไขมันต่า ” หรือ “ โกโก้ผงไขมันต่ามาก ” ที่สอดคล้องตามชนิดของโกโก้ผงนั้น ๆ (4 ) ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดโกโก้ตามข้อ 3 (4) ให้แสดงชื่อ “ คาเคาผง ” หรือ “ คาเคาผง ไขมันต่า ” หรือ “ คาเคาผงไขมันต่ามาก ” ที่สอดคล้องตามชนิดของคาเคาผงนั้น ๆ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดโกโก้ตามข้อ 3 (3) ผสมข้อ 3 (4) ให้แสดงชื่อตามข้อ 9 (3) โดยอาจระบุชนิดและร้อยละของปริมาณคาเคาผงกำกับไว้ใกล้กับชื่อตามข้อ 9 (3) ข้อ 10 ให้ผู้ผลิตหรือผู้นาเข้าผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดโกโก้เพื่อจาหน่าย ซึ่งได้รับอนุญาต ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงผลิตหรือนำเข้าเพื่อจาหน่ายต่อไปได้ รวมถึงผู้จาหน่ายยังคงจำหน่าย ต่อไปได้ ทั้งนี้ ไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ 11 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 256 6 สำธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ้ หนา 36 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 153 ง ราชกิจจานุเบกษา 29 มิถุนายน 2566