Thu Jun 29 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ว่าด้วยการนำทรัพย์สินออกขายทอดตลาด พ.ศ. 2566


ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ว่าด้วยการนำทรัพย์สินออกขายทอดตลาด พ.ศ. 2566

ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ว่าด้วยการนําทรัพย์สินออกขายทอดตลาด พ . ศ . 2566 โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ว่าด้วยการนําทรัพย์สินออกขายทอดตลาด พ . ศ . 2544 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 25 ( 5 ) และมาตรา 57 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ . ศ . 2542 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินว่าด้วย การนําทรัพย์สินออกขายทอดตลาด พ . ศ . 2566 ” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิก ( 1 ) ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินว่าด้วยการนําทรัพย์สินออกขาย ทอดตลาด พ . ศ . 2544 ( 2 ) ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินว่าด้วยการนําทรัพย์สินออกขาย ทอดตลาด ( ฉบับที่ 2 ) พ . ศ . 2548 ( 3 ) ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินว่าด้วยการนําทรัพย์สินออกขาย ทอดตลาด ( ฉบับที่ 3) พ . ศ . 25 56 ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “ การขายทอดตลาด ” หมายความว่า การนําทรัพย์สินออกขายทอดตลาดตามคําสั่งเลขาธิการ “ คณะกรรมการขายทอดตลาด ” หมายความว่า คณะกรรมการขายทอดตลาดตามระเบียบ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินว่าด้วยการให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทรัพย์สินไปดูแลและ ใช้ประโยชน์ การนําทรัพย์สินออกขายทอดตลาด และการนําทรัพย์สินไปใช้เพื่อประโยชน์ของทางราชการ พ . ศ . 2543 “ ทรัพย์สิน ” หมายความว่า ทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรม เลขาธิการ หรือศาล แล้วแต่กรณี ได้มีคําสั่งให้ยึดหรืออายัดไว้ และให้หมายความรวมถึงทรัพย์สินที่ศาล กระทรวงการคลัง หรือกองทุน การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมอบหมายให้นําออกขายทอดตลาดด้วย “ ผู้มีหน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สิน ” หมายความว่า ผู้มีหน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัด ตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินว่าด้วยการเก็บรักษาและการจัดการ ทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัด พ . ศ . 2543 ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 153 ง ราชกิจจานุเบกษา 29 มิถุนายน 2566

“ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจาก เลขาธิการหรือผู้อํานวยการกองบริหารจัดการทรัพย์สินให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดําเนินการเกี่ยวกับ การขายทอดตลาด ข้อ 5 ให้เลขาธิการรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอํานาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่ง เพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้เลขาธิการเสนอให้คณะกรรมการวินิจฉัย ชี้ขาด หมวด 1 การขายทอดตลาด ข้อ 6 การขายทอดตลาดตามความในหมวดนี้ ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่เลขาธิการมีคําสั่ง ในกรณีที่ไม่อาจดําเนินการได้ภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการ ขายทอดตลาดหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบรายงานถึงเหตุผลที่ไม่อาจดําเนินการได้นั้นให้เลขาธิการทราบ เพื่อมีคําสั่งตามที่เห็นสมควรต่อไปโดยเร็ว ข้อ 7 การขายทอดตลาดในระเบียบนี้ ให้ดําเนินการได้โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ( 1 ) การขายทอดตลาดโดยการประมูลปากเปล่า ( 2 ) การขายทอดตลาดโดยการประมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ 8 เมื่อเลขาธิการมีคําสั่งอนุมัติให้นําทรัพย์สินใดออกขายทอดตลาดได้ ให้กองบริหาร จัดการทรัพย์สินจัดทําประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นเสนอเลขาธิการเพื่อพิจารณาลงนาม ภายใน 5 วัน และแจ้งประกาศนั้นให้คณะกรรมการขายทอดตลาดทราบต่อไปโดยเร็ว ข้อ 9 ประกาศขายทอดตลาดให้เป็นไปตามแบบที่เลขาธิการกําหนด โดยอย่างน้อยให้แสดง รายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาด ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ผู้สั่งให้ขายทอดตลาด ( 2 ) วัน เวลา และสถานที่ที่จะขายทอดตลาด ( 3 ) วิธีการขายทอดตลาด ( 4 ) จํานวนและรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สิน โดยอย่างน้อยจะต้องมีชื่อเจ้าของ ประเภท ลักษณะ จํานวน ขนาด และน้ําหนัก ถ้าเป็นที่ดินให้แจ้งเนื้อที่ ที่ตั้งของที่ดิน ถ้ามีข้อสัญญาและคําเตือน ก็ให้ระบุไว้โดยชัดเจน ( 5 ) เงื่อนเวลาการชําระเงินตามที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้และเงื่อนไขอื่นที่เกี่ยวข้อง ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 153 ง ราชกิจจานุเบกษา 29 มิถุนายน 2566

ข้อ 10 การประกาศวันขายทอดตลาดในแต่ละครั้ง ให้กําหนดวันขายทอดตลาด 4 นัด ในประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินฉบับเดียวกัน โดยมีระยะเวลาห่างกันแต่ละนัดไม่เกิน 21 วัน และวันขายทอดตลาดในนัดแรกให้ถือปฏิบัติ ดังนี้ ( 1 ) ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หรืออาคารชุด ให้กําหนดไม่น้อยกว่า 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน ( 2 ) เรือน โรง สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ให้กําหนดไม่น้อยกว่า 20 วัน แต่ไม่เกิน 1 เดือน ( 3 ) ทรัพย์สินอื่น ๆ ให้กําหนดไม่น้อยกว่า 10 วัน แต่ไม่เกิน 15 วัน ( 4 ) ทรัพย์สินที่โดยสภาพถ้าหน่วงช้าไว้จะเกิดความเสียหาย เช่น ของสด เลขาธิการอาจพิจารณา สั่งการให้ผู้อํานวยการกองบริหารจัดการทรัพย์สินนําทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดได้โดยทันที และรายงานให้เลขาธิการทราบ กรณีได้นําทรัพย์สินออกขายทอดตลาดแล้วไม่อาจขายทอดตลาดได้ในนัดใดนัดหนึ่ง และคณะกรรมการ ขายทอดตลาดเห็นว่าการนําทรัพย์สินออกขายทอดตลาดอีกจะเป็นการเสียประโยชน์แก่ทางราชการ มากกว่า ให้คณะกรรมการขายทอดตลาดรายงานเลขาธิการเพื่อพิจารณามีคําสั่งยกเลิกการขายทอดตลาด ทรัพย์สินนั้นได้ ข้อ 11 การขายทอดตลาดโดยการประมูลปากเปล่า ให้ดําเนินการ ณ ที่ทําการของสํานักงาน สถานที่ที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ หรือสถานที่เก็บรักษาทรัพย์สิน เว้นแต่ในกรณีที่เลขาธิการเห็นสมควร จะมีคําสั่งให้ดําเนินการขายทอดตลาด ณ สถานที่อื่นก็ได้ การขายทอดตลาดโดยการประมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ดําเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่สํานักงานกําหนด ข้อ 12 เมื่อเลขาธิการได้ลงนามประกาศขายทอดตลาดแล้ว ให้กองบริหารจัดการทรัพย์สิน จัดให้มีการส่งประกาศขายทอดตลาดไปยังผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สิน และปิดประกาศขายทอดตลาดนั้นไว้โดยเปิดเผย ณ สถานที่ที่จะขาย สถานที่ที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ ที่ชุมนุมชน หรือสถานที่อื่นที่เห็นสมควรก่อนวันขายทอดตลาดไม่น้อยกว่า 3 วัน ในกรณีที่เห็นสมควรจะลงโฆษณาการขายทอดตลาดในหนังสือพิมพ์รายวันหรือประกาศ ทางวิทยุกระจายเสียงหรือทางโทรทัศน์หรือทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ก็ให้ดําเนินการได้เท่าที่เหมาะสม และจําเป็น ข้อ 13 การจัดส่งประกาศขายทอดตลาดไปยังส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน ที่จะขายทอดตลาดนั้น ให้เป็นไปตามที่เลขาธิการประกาศกําหนด ข้อ 14 การขายทอดตลาดทรัพย์สินตามข้อ 10 ( 4 ) ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องดําเนินการ ตามข้อ 8 และข้อ 12 แต่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบแจ้งรายละเอียดตามข้อ 9 ให้ผู้เป็น เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินทราบก่อน เว้นแต่กรณีจําเป็นเร่งด่วน ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 153 ง ราชกิจจานุเบกษา 29 มิถุนายน 2566

ไม่อาจดําเนินการเช่นว่านั้นได้ เพราะจะก่อให้เกิดผลเสียต่อมูลค่าของตัวทรัพย์สินนั้นเอง ก็ให้ดําเนินการ ขายทอดตลาดโดยทันที ข้อ 15 ให้คณะกรรมการขายทอดตลาดกําหนดราคาเริ่มต้นของทรัพย์สินที่จะนําออกขายทอดตลาด โดยคํานึงถึงหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ราคาประเมินทรัพย์สินในขณะที่ทําการยึดหรืออายัดไว้ ( 2 ) สภาพ ลักษณะ และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของทรัพย์สินในขณะที่จะขายทอดตลาด ( 3 ) ราคาของทรัพย์สินในท้องตลาดในขณะที่จะขายทอดตลาด ( 4 ) ราคาประเมินของทรัพย์สินของทางราชการที่ใช้ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือ เพื่อการอื่นใด ( 5 ) ราคาทรัพย์สินที่ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชํานาญการ ผู้ประกอบวิชาชีพเฉพาะ หรือสมาคมวิชาชีพเฉพาะ ประเมินตามที่คณะกรรมการขายทอดตลาดขอความร่วมมือ ( 6 ) ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินที่มีการจํานองติดอยู่ ให้คํานวณต้นเงินและดอกเบี้ยค้างชําระ จนถึงวันขาย กับค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย ราคาเริ่มต้นของทรัพย์สินที่จะนําออกขายทอดตลาดที่คณะกรรมการขายทอดตลาดได้ประกาศ กําหนดไปแล้ว แต่ไม่สามารถขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นได้ไม่ว่าด้วยกรณีใด คณะกรรมการ ขายทอดตลาดอาจมีมติมอบหมายให้กรรมการขายทอดตลาดจํานวนไม่น้อยกว่า 3 คนที่มีอยู่ในขณะนั้น เป็นผู้รับผิดชอบในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายทอดตลาดในคราวถัดไปตามที่ เห็นสมควร ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงสภาพของทรัพย์สินในปัจจุบัน ราคาซื้อขายในท้องตลาด รวมถึง ความเหมาะสมประการอื่น ๆ ประกอบด้วย กรรมการขายทอดตลาดที่ได้รับมอบหมายตามวรรคสอง ต้องมีเลขานุการเป็นกรรมการร่วมอยู่ด้วย ข้อ 16 ในกรณีการขายทอดตลาดเป็นทรัพย์สินที่ติดจํานองหรือมีภาระติดพันอื่น ก่อนการ ขายทอดตลาดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดําเนินการแจ้งให้ผู้รับจํานองหรือผู้ทรงสิทธิเหนือ ทรัพย์สินทราบทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับถึงวัน เวลา และสถานที่ที่จะทําการขายทอดตลาด เท่าที่จะสามารถติดต่อได้ พร้อมทั้งให้สอบถามผู้รับจํานองหรือผู้ทรงสิทธิเหนือทรัพย์สินถึงรายละเอียด ของภาระจํานองหรือภาระติดพันนั้น เช่น เงินต้น ดอกเบี้ยที่ค้างชําระ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบ การพิจารณากําหนดราคาเริ่มต้นของคณะกรรมการขายทอดตลาด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบแจ้งให้ผู้สู้ราคาทราบก่อนการขายทอดตลาดทุกครั้งว่าผู้ที่ซื้อ ทรัพย์สินดังกล่าวได้จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการไถ่ถอนจํานองหรือปลดภาระติดพันตามที่กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องได้กําหนดไว้ ทั้งนี้ ให้กําหนดเงื่อนไขดังกล่าวไว้ในประกาศขายทอดตลาดตามข้อ 9 ( 5 ) ด้วย ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 153 ง ราชกิจจานุเบกษา 29 มิถุนายน 2566

ในกรณีที่คณะกรรมการขายทอดตลาดเห็นว่า การขายทอดตลาดโดยปลอดการจํานอง หรือภาระติดพันอื่นจะเป็นประโยชน์ของทางราชการมากกว่า ให้ดําเนินการได้โดยความเห็นชอบ ของเลขาธิการ หมวด 2 วิธีการขายทอดตลาด ส่วนที่ 1 การขายทอดตลาดโดยการประมูลปากเปล่า ข้อ 17 ก่อนเริ่มต้นขายทอดตลาดโดยการประมูลปากเปล่า ให้คณะกรรมการขายทอดตลาด โฆษณาประกาศการขายทอดตลาด รวมทั้งวิธีการหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่จะใช้ในการขายทอดตลาดครั้งนั้น ณ สถานที่ขายโดยเปิดเผย ในกรณีเป็นการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ติดจํานองไปด้วย ให้ประกาศชื่อผู้รับจํานองพร้อมทั้ง ต้นเงินและดอกเบี้ยที่ยังค้างชําระจนถึงวันขาย และข้อความว่าผู้ซื้อทรัพย์สินนั้นต้องรับภาระจํานอง ไปด้วยอย่างชัดเจน ข้อ 18 ก่อนการขายทอดตลาดให้คณะกรรมการขายทอดตลาดแจ้งให้บรรดาผู้สู้ราคาทราบว่า การเข้าสู้ราคาในนามบุคคลอื่นต้องแสดงเอกสารการมอบอํานาจและหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ก่อนเข้าสู้ราคา หากมิได้แสดงเอกสารการมอบอํานาจหรือมีหลักฐานไม่ครบถ้วน ให้ถือว่าผู้เข้าสู้ราคา ทําในนามตนเอง ในกรณีเช่นนี้ ถ้าเป็นทรัพย์สินประเภทที่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ผู้เข้าสู้ราคา จะขอให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในนามบุคคลอื่น โดยอ้างว่าตนเป็นตัวแทนมิได้ ข้อ 19 ในวันขายทอดตลาด ผู้สู้ราคาจะต้องลงทะเบียนเข้าสู้ราคากับพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบและวางหลักประกันในการสู้ราคาก่อนการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ตนเข้าสู้ราคาไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ของราคาเริ่มต้นของทรัพย์สินที่ตนเข้าสู้ราคา แต่ไม่เกิน 100 , 000 บาท สําหรับ ทรัพย์สินที่ราคาเริ่มต้นไม่เกิน 10 , 000 , 000 บาท และวางหลักประกันไม่เกิน 5 , 000 , 000 บาท สําหรับทรัพย์สินที่ราคาเริ่มต้นเกิน 10 , 000 , 000 บาทขึ้นไป ผู้สู้ราคาที่มิใช่ผู้เสนอราคาสูงสุดจะได้รับคืนหลักประกันการเสนอราคาต่อเมื่อการขายทอดตลาด รายการที่ตนเข้าสู้ราคาเสร็จสิ้นแล้ว ในกรณีที่ผู้สู้ราคารายใดเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินได้ ให้ถือว่าหลักประกันของผู้ซื้อทรัพย์สินได้ที่วางไว้ ตามวรรคหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการชําระราคาทรัพย์สินที่ซื้อได้นั้น ข้อ 20 วิธีการขายทอดตลาด ให้ดําเนินการโดยการประมูลด้วยปากเปล่าและเปิดเผยต่อหน้า ผู้สู้ราคาด้วยกัน ซึ่งผู้สู้ราคาอาจแสดงการสู้ราคาด้วยการชูป้ายแสดงหมายเลขการลงทะเบียนการเข้าสู้ราคา ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบออกให้ พร้อมขานเสนอจํานวนเงินที่สู้ราคาให้คณะกรรมการ ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 153 ง ราชกิจจานุเบกษา 29 มิถุนายน 2566

ขายทอดตลาดได้ทราบ และการขายทอดตลาดย่อมบริบูรณ์เมื่อคณะกรรมการขายทอดตลาด แสดงความตกลงขายด้วยวิธีเคาะไม้ ให้คณะกรรมการขายทอดตลาดร้องขานจํานวนเงินที่มีผู้สู้ราคาครั้งที่หนึ่งไม่น้อยกว่า 3 หน ถ้าไม่มีผู้สู้ราคาสูงขึ้น ให้เปลี่ยนร้องขานเป็นครั้งที่สองไม่น้อยกว่า 3 หน เมื่อไม่มีผู้สู้ราคาสูงกว่านั้น และได้ราคาพอสมควร ให้ร้องขานครั้งที่สาม 1 หน พร้อมเคาะไม้ แต่ถ้าก่อนเคาะไม้มีผู้สู้ราคาสูงขึ้นไปอีก ก็ให้ร้องขานราคาตั้งต้นใหม่ตามลําดับดังกล่าว ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ใดเข้าสู้ราคาโดยไม่สุจริตหรือไม่สามารถชําระราคาได้ คณะกรรมการขายทอดตลาดจะสอบถามผู้นั้นเสียก่อนจึงเคาะไม้ก็ได้ ข้อ 21 ในกรณีที่มีความจําเป็นหรือเร่งด่วนที่จะต้องขายทอดตลาดให้แล้วเสร็จไปโดยเร็ว เพราะหากเนิ่นช้าไว้จะเป็นภาระแก่ทางราชการในการเก็บรักษา คณะกรรมการขายทอดตลาดอาจมีมติ มอบหมายให้กรรมการขายทอดตลาดจํานวนไม่น้อยกว่า 3 คนที่มีอยู่ในขณะนั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ในการเดินทางออกไปทําการขายทอดตลาดในท้องที่ที่ทรัพย์สินซึ่งนําออกขายทอดตลาดนั้นตั้งอยู่ก็ได้ ข้อ 22 ในกรณีที่เลขาธิการเห็นว่า ทรัพย์สินที่จะนําออกขายทอดตลาดในคราวใด เป็นทรัพย์สินประเภทที่อาจมอบหมายให้เอกชนที่มีความชํานาญในทรัพย์สินประเภทนั้นดําเนินการ ขายทอดตลาดแทนได้ และคาดว่าจะได้ราคาดีกว่าดําเนินการเอง ก็ให้เลขาธิการอนุมัติให้เอกชน ผู้มีความชํานาญในด้านนั้นเข้ามาดําเนินการขายทอดตลาดแทน แต่ทั้งนี้ราคาเริ่มต้นในการ ขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น จะต้องไม่ต่ํากว่าราคาเริ่มต้นที่คณะกรรมการขายทอดตลาดกําหนดและ การขายทอดตลาดนั้นจะต้องดําเนินการภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการขายทอดตลาด ข้อ 23 ถ้าผู้สู้ราคาสูงสุดมิได้ถอนคําสู้ราคาของตนก่อนคณะกรรมการขายทอดตลาดเคาะไม้ ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินได้ แต่ถ้าผู้สู้ราคาสูงสุดถอนคําสู้ราคาของตนก่อนเคาะไม้ ให้คณะกรรมการ ขายทอดตลาดตั้งต้นร้องขายใหม่ ข้อ 24 การขายทอดตลาด เมื่อคณะกรรมการขายทอดตลาดเคาะไม้แล้ว ผู้ซื้อทรัพย์สินได้ ต้องชําระเงินค่าทรัพย์สินทั้งหมดภายใน 5 วันทําการ นับแต่วันที่การขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น เสร็จสิ้น ในกรณีทรัพย์สินที่ขายทอดตลาดมีราคาเกินกว่า 100 , 000 บาท เลขาธิการอาจพิจารณา กําหนดให้ผู้ซื้อทรัพย์สินได้วางเงินมัดจําจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของราคาทรัพย์สินนั้น ภายใน 5 วันทําการ แทนการชําระเงินค่าทรัพย์สินทั้งหมดตามวรรคหนึ่ง และทําสัญญาเพื่อกําหนดให้ ดําเนินการชําระเงินจํานวนที่ขาดอยู่ภายในเวลาไม่เกิน 15 วันทําการ นับแต่วันที่การขายทอดตลาด ทรัพย์สินนั้นเสร็จสิ้น เว้นแต่ กรณีทรัพย์สินนั้นมีราคาสูงเกินกว่า 10 , 000 , 000 บาท หรือมีเหตุผล จําเป็นประการอื่น เลขาธิการอาจพิจารณากําหนดจํานวนเงินมัดจําได้ตามที่เห็นสมควร และขยายเวลา การชําระเงินค่าทรัพย์สินดังกล่าวออกไปได้แต่ไม่เกิน 3 เดือน ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 153 ง ราชกิจจานุเบกษา 29 มิถุนายน 2566

ในกรณีผู้ซื้อทรัพย์สินได้ไม่ชําระเงินภายในระยะเวลาที่กําหนดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้ริบหลักประกันตามข้อ 19 หรือริบทั้งหลักประกันตามข้อ 19 และเงินมัดจําทั้งหมด แล้วแต่กรณี เมื่อผู้ซื้อทรัพย์สินได้ ชําระเงินทั้งหมดครบจํานวนและมีหลักฐานต่าง ๆ มาแสดงครบสมบูรณ์แล้ว ให้โอนทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ซื้อทรัพย์สินได้โดยไม่ชักช้า ข้อ 25 หลักประกันที่นํามาวางและอัตราการเพิ่มราคาในการเข้าสู้ราคาของผู้เสนอราคาแต่ละครั้ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการขายทอดตลาดประกาศกําหนด เมื่อคณะกรรมการขายทอดตลาดประกาศ กําหนดแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบแจ้งให้ผู้สู้ราคาทราบก่อนการขายทอดตลาดทุกครั้ง ข้อ 26 ห้ามกรรมการขายทอดตลาดเข้าสู้ราคาหรือใช้ให้ผู้อื่นเข้าสู้ราคาแทนในการขาย ทอดตลาดครั้งที่ตนทําหน้าที่เป็นกรรมการขายทอดตลาด ข้อ 27 เมื่อคณะกรรมการขายทอดตลาดเห็นว่าการขายทอดตลาดทรัพย์สินใดไม่มีผู้สู้ราคา หรือมีผู้เสนอราคาต่ํากว่าราคาที่กําหนด หรือกรณีที่เห็นว่าการสู้ราคาอาจไม่เป็นไปโดยสุจริต ให้ถอนทรัพย์สินนั้นออกจากการขายทอดตลาด สั่งงดการขายทอดตลาด หรือเลื่อนการขายทอดตลาดออกไป แล้วรายงานให้เลขาธิการทราบ ข้อ 28 ในกรณีผู้ซื้อทรัพย์สินได้ไม่ชําระเงินภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้นําทรัพย์สินนั้น ออกขายทอดตลาดซ้ําอีก ในการขายทอดตลาดครั้งหลังนี้ให้แจ้งผู้ซื้อทรัพย์สินได้รายเดิมทราบ โดยกําหนดวัน เวลา และสถานที่ที่จะขาย และเมื่อขายแล้วได้ราคาต่ํากว่าการขายทอดตลาดครั้งก่อน ให้แจ้งผู้ซื้อเดิมรีบชําระส่วนที่ขาดนั้น และหากจําเป็นให้พิจารณาดําเนินการตามกฎหมาย ข้อ 29 การขายทอดตลาดทรัพย์สินประเภทที่ต้องมีใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น อาวุธปืน ผู้ซื้อทรัพย์สินได้ต้องแสดงใบอนุญาตตามกฎหมายอาวุธปืนต่อคณะกรรมการ ขายทอดตลาดหรือผู้ได้รับมอบหมายก่อนชําระเงิน ในกรณีที่ไม่สามารถนําใบอนุญาตมาแสดงได้ ให้ผู้ซื้อทรัพย์สินได้วางเงินมัดจําไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของราคาทรัพย์สินที่ซื้อได้ และให้นํา ใบอนุญาตมาแสดงภายในกําหนด 1 เดือน นับแต่วันที่การขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นเสร็จสิ้น พร้อมทั้งชําระเงินจํานวนที่ขาดอยู่ให้ครบถ้วน ถ้าล่วงพ้นกําหนดเวลาดังกล่าวแล้วไม่สามารถ นําใบอนุญาตมาแสดงได้ ให้ริบหลักประกันตามข้อ 19 และเงินมัดจําที่วางไว้ทั้งหมด และ ให้คณะกรรมการขายทอดตลาดดําเนินการขายทอดตลาดอีกครั้งจนเสร็จสิ้น ในกรณีที่ผู้ซื้อทรัพย์สินได้ไม่สามารถนําใบอนุญาตมาแสดงภายในกําหนด 1 เดือนตามวรรคหนึ่ง โดยมิได้เกิดจากความผิด จงใจ หรือประมาทเลินเล่อของตน ผู้ซื้อทรัพย์สินได้อาจขอขยายระยะเวลา ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 153 ง ราชกิจจานุเบกษา 29 มิถุนายน 2566

ต่อคณะกรรมการขายทอดตลาดก่อนครบกําหนดเวลาดังกล่าว เพื่อพิจารณาอนุญาตให้ขยายระยะเวลา ออกไปได้ตามเหตุผลความจําเป็น ข้อ 30 ในระหว่างการขายทอดตลาด ให้คณะกรรมการขายทอดตลาดบันทึกการขาย ทอดตลาดทรัพย์สินแต่ละรายการตามแบบที่เลขาธิการกําหนด และเมื่อดําเนินการขายทอดตลาด เรียบร้อยแล้ว ให้รายงานเลขาธิการเพื่อทราบ ส่วนที่ 2 การขายทอดตลาดโดยการประมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ 31 ก่อนเริ่มต้นขายทอดตลาดโดยการประมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้โฆษณา ประกาศการขายทอดตลาด รวมทั้งวิธีการหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่จะใช้ในการขายทอดตลาดครั้งนั้น ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และในกรณีที่เป็นการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ติดจํานองไปด้วย ให้นําความ ในข้อ 17 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ 32 ผู้ประสงค์เข้าสู้ราคาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานกําหนดต้องลงทะเบียน และวางหลักประกันก่อนเริ่มต้นขายทอดตลาดโดยให้ปฏิบัติตามข้อตกลงและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเข้าสู้ราคา ตามที่เลขาธิการประกาศกําหนด การเข้าสู้ราคาในนามบุคคลอื่นต้องแสดงเอกสารการมอบอํานาจและหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก่อนเข้าสู้ราคา หากมิได้แสดงเอกสารการมอบอํานาจหรือมีหลักฐานไม่ครบถ้วน ให้ถือว่า ผู้เข้าสู้ราคาทําในนามตนเอง ในกรณีเช่นนี้ ถ้าเป็นทรัพย์สินประเภทที่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ผู้เข้าสู้ราคาจะขอให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในนามบุคคลอื่น โดยอ้างว่าตนเป็นตัวแทนมิได้ ข้อ 33 การวางหลักประกันตามข้อ 32 ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของราคาเริ่มต้นของ ทรัพย์สินที่ตนเข้าสู้ราคา แต่ไม่เกิน 100 , 000 บาท สําหรับทรัพย์สินที่ราคาเริ่มต้นไม่เกิน 10 , 000 , 000 บาท และวางหลักประกันไม่เกิน 5 , 000 , 000 บาท สําหรับทรัพย์สินที่ราคาเริ่มต้น เกิน 10 , 000 , 000 บาทขึ้นไป ผู้สู้ราคาที่มิใช่ผู้เสนอราคาสูงสุดจะได้รับคืนหลักประกันการเสนอราคาผ่านช่องทางการชําระเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เลขาธิการประกาศกําหนดต่อเมื่อการขายทอดตลาดรายการที่ตนเข้าสู้ราคาเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งนี้ ให้ถือว่าใบสําคัญรับเงินในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานการรับเงินให้ผู้วางเงิน หลักประกันการเสนอราคาแทนใบเสร็จรับเงิน และให้ถือว่าเป็นหลักฐานการชําระเงินที่ทางราชการออกให้ ในกรณีที่ผู้สู้ราคารายใดเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินได้ ให้ถือว่าหลักประกันของผู้ซื้อทรัพย์สินได้ที่วางไว้ เป็นส่วนหนึ่งของการชําระราคาทรัพย์สินที่ซื้อได้นั้น ข้อ 34 ผู้สู้ราคาอาจแสดงการเสนอราคาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายในระยะเวลา และเงื่อนไขที่กําหนดในระบบ ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 153 ง ราชกิจจานุเบกษา 29 มิถุนายน 2566

พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบมีหน้าที่ควบคุมให้การขายทอดตลาดตามวรรคหนึ่งเป็นไป ด้วยความถูกต้องและยุติธรรม ข้อ 35 การขายทอดตลาดย่อมบริบูรณ์เมื่อสิ้นระยะเวลาที่กําหนดให้เสนอราคาและได้ผู้เสนอ ราคาสูงสุดของทรัพย์สินแต่ละรายการ ข้อ 36 เมื่อระบบสรุปผลการขายทอดตลาดและได้ผู้เสนอราคาสูงสุดซึ่งเป็นผู้ซื้อทรัพย์สิน ได้แล้ว ผู้ซื้อทรัพย์สินได้ดังกล่าวต้องชําระเงินผ่านช่องทางการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เลขาธิการ ประกาศกําหนดภายใน 5 วันทําการ นับแต่วันที่การขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นเสร็จสิ้น และ ให้นําความในข้อ 24 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ 37 ในกรณีที่เลขาธิการเห็นควรให้นําระบบอิเล็กทรอนิกส์ของบุคคลอื่นผู้มีความชํานาญ มาใช้ในการขายทอดตลาดโดยการประมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หากมีค่าใช้บริการจากการใช้ระบบ ดังกล่าวเกิดขึ้น ผู้ซื้อทรัพย์สินได้ต้องรับผิดชอบค่าใช้บริการนั้น ทั้งนี้ ให้เลขาธิการประกาศให้ผู้สู้ราคา ทราบล่วงหน้าก่อนการขายทอดตลาดด้วย ข้อ 38 หลักประกันที่นํามาวาง และอัตราการเพิ่มราคาในการเข้าสู้ราคาของผู้เสนอราคา แต่ละครั้งให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการขายทอดตลาดประกาศกําหนด เมื่อกําหนดแล้ว ให้แจ้ง ให้ผู้สู้ราคาทราบก่อนการขายทอดตลาดผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ทุกครั้ง ข้อ 39 เมื่อดําเนินการขายทอดตลาดเรียบร้อยแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบรายงาน ผลการขายทอดตลาดทรัพย์สินแต่ละรายการให้คณะกรรมการขายทอดตลาดและเลขาธิการเพื่อทราบ ข้อ 40 ให้นําความในข้อ 26 ข้อ 27 ข้อ 28 และข้อ 29 มาใช้บังคับแก่การขายทอดตลาด โดยการประมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยอนุโลม หมวด 3 การโอนและส่งมอบทรัพย์สิน ข้อ 41 ภายใต้บังคับข้อ 29 เมื่อผู้ซื้อทรัพย์สินได้ชําระเงินครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์สินได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่เลขาธิการประกาศกําหนด และแจ้งให้ผู้มีหน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สินทราบ ในกรณีที่ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งเป็นทรัพย์สินที่จะต้องเปลี่ยนแปลงทะเบียนชื่อผู้เป็นเจ้าของ เช่น ที่ดิน โรงเรือนซึ่งปลูกอยู่ในที่ดิน อาวุธปืน รถ หรือเรือ ให้เลขาธิการแจ้งเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อดําเนินการทางทะเบียนต่อไป และถ้าเป็นทรัพย์สินที่มีหลักฐานแสดงว่าผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย หรือเป็นทรัพย์สินที่มีภาระจํานอง บุริมสิทธิ หรือมีภาระติดพันอื่นใดติดไปด้วย ให้แจ้งข้อเท็จจริง ดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทราบด้วย ข้อ 42 ค่าใช้จ่ายในการโอนและส่งมอบทรัพย์สิน เช่น ค่าภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าขนย้าย หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นภาระของผู้ซื้อทรัพย์สินได้ ้ หนา 20 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 153 ง ราชกิจจานุเบกษา 29 มิถุนายน 2566

ข้อ 43 เมื่อชําระเงินแล้ว ให้ผู้ซื้อทรัพย์สินได้มารับทรัพย์สินภายใน 5 วันทําการ นับแต่วันที่ชําระเงินครบถ้วน และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจัดทําสัญญา โดยอย่างน้อย ต้องมีเงื่อนไข ดังนี้ ( 1 ) ในกรณีที่ไม่มารับทรัพย์สินภายในระยะเวลาที่กําหนด หากมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ทรัพย์สินเกิดขึ้น ผู้ซื้อทรัพย์สินได้จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ โดยบรรดาค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาทรัพย์สิน ให้เก็บได้เท่าที่จ่ายจริง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่เลขาธิการประกาศกําหนด ( 2 ) ในกรณีที่ผู้ซื้อทรัพย์สินได้ไม่ชําระค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาทรัพย์สิน พนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบมีอํานาจยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้ได้จนกว่าจะได้รับชําระค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาทรัพย์สิน ดังกล่าว ( 3 ) เมื่อได้เก็บรักษาหรือยึดหน่วงทรัพย์สินไว้พ้นกําหนด 3 เดือนแล้ว เมื่อผู้ซื้อทรัพย์สิน ไม่ชําระค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทําความเห็นเสนอต่อ เลขาธิการเพื่อนําทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดอีกครั้งจนเสร็จสิ้น เว้นแต่ ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาทรัพย์สินอาจมีจํานวนเกินกว่ามูลค่าทรัพย์สิน เลขาธิการอาจพิจารณาสั่ง ให้นําทรัพย์สินออกขายทอดตลาดก่อนกําหนดระยะเวลา 3 เดือนก็ได้ ทั้งนี้ เงินที่ได้จากการขาย ทอดตลาด เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาที่ค้างชําระแล้ว เหลือเงินเท่าใดให้คืนแก่ผู้ซื้อทรัพย์สิน ได้ต่อไป แต่หากขายแล้วได้เงินต่ํากว่าค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ให้แจ้งผู้ซื้อทรัพย์สินได้รีบชําระ ส่วนที่ขาดนั้น และหากจําเป็นให้พิจารณาดําเนินการตามกฎหมาย หมวด 4 วิธีรับเงินและเก็บรักษาเงิน ข้อ 44 การรับเงินจากการขายทอดตลาดทรัพย์สิน เมื่อผู้ซื้อทรัพย์สินได้ชําระเงินแล้ว ให้คณะกรรมการขายทอดตลาดออกใบเสร็จรับเงินโดยมีสําเนา 3 ฉบับ ต้นฉบับมอบให้ผู้ซื้อทรัพย์สินได้ ส่วนสําเนาส่งให้ผู้มีหน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สิน 1 ฉบับ และให้ผู้อํานวยการกองคดีเก็บไว้ในสํานวนคดี 1 ฉบับ อีก 1 ฉบับ เก็บไว้เป็นต้นขั้ว ข้อ 45 การรับเงินให้รับเป็นเงินสดหรือรับชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ คณะกรรมการ ขายทอดตลาดเห็นสมควรอาจรับชําระเงินเป็นแคชเชียร์เช็คก็ได้ โดยให้บันทึกเลขที่แคชเชียร์เช็ค ในใบเสร็จรับเงินด้วย ในกรณีการรับชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกเลขอ้างอิง รวมถึง รายละเอียดอื่นใดที่มีความจําเป็นในการตรวจสอบความถูกต้องของการทําธุรกรรมด้วย เช่น หมายเลขบัญชี และชื่อธนาคาร หรือผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงินของ ผู้รับโอนและผู้โอน จํานวนเงิน วันและเวลาที่ทํารายการ วันที่รายการมีผลในใบเสร็จรับเงินด้วย ทั้งนี้ ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 153 ง ราชกิจจานุเบกษา 29 มิถุนายน 2566

ให้นําวิธีการรับเงินตามระเบียบกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนําเงินส่งคลัง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ 46 เมื่อได้รับชําระเงินจากการขายทอดตลาดแล้ว ให้ส่งมอบเงินดังกล่าวให้ผู้มีหน้าที่ เก็บรักษาทรัพย์สินต่อไป ข้อ 47 การรับเงินเป็นแคชเชียร์เช็ค หากเรียกเก็บเงินไม่ได้ ให้ผู้มีหน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สิน แจ้งให้เลขาธิการทราบเพื่อดําเนินการเรียกร้องผู้ซื้อทรัพย์สินได้ให้ชําระเงินนั้นหรือดําเนินการ ตามกฎหมายต่อไป หมวด 5 การนับระยะเวลา ข้อ 48 การนับระยะเวลาตามระเบียบนี้ ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทําการ ตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทําการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทําการนั้น เป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พ . ศ . 25 66 ฉัตรชัย พรหมเลิศ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ้ หนา 22 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 153 ง ราชกิจจานุเบกษา 29 มิถุนายน 2566