ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการรับรองผลิตพืชตามมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช พ.ศ. 2566
ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการรับรองผลิตพืชตามมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช พ.ศ. 2566
ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการรับรองผลิตพืชตามมาตรฐาน ระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสาหรับพืช พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขระเบียบกรมวิชาการเกษตรว่าด้วยการรับรองผลิตพืชตามมาตรฐานระบบ การจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสาหรับพืช พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2555 เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช และมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น นั้น อาศัยอานาจตามมาตรา 32 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ประกอบกับข้อ 2 ของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2557 อธิบดีกรมวิชาการเกษตร จึงออกระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการรับรองผลิตพืช ตามมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช พ.ศ. 2566 ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการรับรองผลิตพืชตามมาตรฐาน ระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิก (1) ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการรับรองผลิตพืชตามมาตรฐานระบบการจัดการ คุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555 (2) ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการรับรองผลิตพืชตามมาตรฐานระบบการจัดการ คุณภาพการปฏิบัติทางกา รเกษตรที่ดีสาหรับพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสาหรับพืช ” ( Good Agricultural Practice : GAP ) หมายความว่า แนวทางการปฏิบัติในไร่นา เพื่อผลิตพืชเพื่อให้ได้สินค้าปลอดภัย ปลอดศัตรูพืชและมีคุณภาพ เน้นวิธีการควบคุมและป้องกันการเกิดปัญหาในกระบวนการผลิต “ ระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสาหรับพืช ” หมายความว่า ระบบ การจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชไร่นา “ คณะกรรมการรับรอง ” หมายความว่า คณะกรรมการรับรองมาตรฐานการผลิตพืช ที่ได้รับ การแต่งตั้งจากประธานคณะอนุกรรมการบริหารระบบคุณภาพด้านการรับรองมาตรฐานการผลิตพืช เพื่อทาหน้าที่พิจารณาให้การรับรอง คงไว้ พักใช้ เพิกถอน เปลี่ยนแปลงขอบข่าย เพิ่ม/ลดขอบข่าย และยกเลิกการรับรองการปฏิบัติทางการเ กษตรที่ดีสำหรับพืช ้ หนา 1 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 153 ง ราชกิจจานุเบกษา 29 มิถุนายน 2566
“ คณะพิจารณาอุทธรณ์ ” หมายความว่า คณะบุคคลที่แต่งตั้งโดยประธานคณะอนุกรรมการบริหาร เพื่อพิจารณาการอุทธรณ์ “ คณะอนุกรรมการบริหาร ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการบริหารระบบคุณภาพด้านการรับรอง มาตรฐานการผลิตพืช ที่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานกรรมการบริหารระบบคุณภาพและรับรองมาตรฐาน การผลิตพืช เพื่อทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย “ คณะกรรมการบริหาร ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารระบบคุณภาพและรับรองมาตรฐาน การผลิตพืชที่ได้รับการแต่งตั้งจากปลั ด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย “ ผู้ตรวจประเมิน ” ( Auditor ) หมายความว่า บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากกรมวิซาการเกษตร ให้ทำหน้าที่ตรวจประเมิน “ คณะผู้ตรวจประเมิน ” หมายความว่า คณะบุคคลที่กรมวิชาการเกษตรแต่งตั้งเพื่อทาหน้าที่ ตรวจประเมินซึ่งประกอบด้วย หั วหน้าผู้ตรวจประเมิน ผู้ตรวจประเมิน ผู้ตรวจประเมินฝึกหัด (ถ้ามี) และผู้เชี่ยวชาญ (ถ้ามี) “ ผู้ยื่นคาขอ ” หมายความว่า เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร นิติบุคคล หรือกลุ่มองค์กรอื่นใด ที่ประสงค์ขอรับการรับรอง “ อธิบดี ” หมายความว่า อธิบดีกรมวิชาการเกษตร “ ใบรับรอง ” หมายความว่า ใบรับรองแหล่งผลิตพืชตามมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช หมวด 1 ขอบข่าย พื้นที่ และภาษาที่ใช้ในการตรวจประเมิน ข้อ 5 กรมวิชาการเกษตรจะให้การรับรองขอบข่ายพืชตามบัญชีรายชื่อพืชให้เป็นไปตามที่ ประกาศในเว็บไซต์ของกรมวิชาการเกษตร ( www . doa . go . th ) การตรวจประเมินจะดาเนินการตรวจประเมิน สำหรับพื้นที่ในประเทศไทย และใช้ภาษาไทยเป็นหลัก ในการตรวจประเมิน หมวด 2 คุณสมบัติของผู้ยื่นคาขอการรับรองแหล่งผลิตพืชตามมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช ข้อ 6 ผู้ยื่นคาขอการรับรองแหล่งผลิตพืชตามมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติ ของการเกษตรที่ดีสำหรับพืช ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 6.1 กรณีเป็นเกษตรกร (ก) เป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ้ หนา 2 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 153 ง ราชกิจจานุเบกษา 29 มิถุนายน 2566
(ข) ไม่เป็นผู้ถูกเพิกถอนใบรับรอง จากกรมวิชาการเกษตร หรือหน่วยรับรองใด ๆ ที่มีมาตรฐานเทียบเท่าของกรมวิชาการเกษตร เว้นแต่พ้นระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่ถูกเพิกถอนใบรับรอง 6.2 กรณีเป็นนิติบุคคล (ก) เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย (ข) ไม่เป็นผู้ถูกเพิกถอนใบรับรอง จากกรมวิชาการเกษตร หรือหน่วยรับรองใด ๆ ที่มีมาตรฐานเทียบเท่าของกรมวิชาการเกษตร เว้นแต่พ้นระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่ถูกเพิกถอนใบรับรอง 6.3 กรณีเป็นกลุ่มเกษตรกรหรือองค์กร (ก) ได้ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง หรือหากไม่ได้ขึ้นทะเบียน กับหน่วยงานภาครัฐ ต้องมีสมาชิกที่ขอยื่นรับรอง ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป (ข) ไม่เป็นกลุ่มหรือองค์กรที่ถูกเพิกถอนใบรับรองจากกรมวิชาการเกษตร หรือหน่วยรับรองใด ๆ ที่มีมาตรฐานเทียบเท่าของกรมวิชาการเกษตร เว้นแต่พ้นระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่ถูกเพิกถอนใบรับรอง หมวด 3 การยื่นคำขอการรับรองการผลิตพืชตามมาตรฐาน ระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสาหรับพืช ข้อ 7 ผู้ใดประสงค์จะขอการรับรองการผลิตพืช ตามมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช ให้ยื่นคำขอต่อกรมวิชาการเกษตรหรือหน่วยงานที่กรมวิชาการเกษตร มอบหมายพร้อมหลักฐานและเอกสารต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอใบรับรอง ข้อ 8 เมื่อได้รับคาขอดังกล่าวแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคาขอและคุณสมบัติของผู้ขอ ตามข้อ 6 และข้อ 7 หากเห็นว่าเอกสารหลักฐานไม่ถูกต้องครบถ้วนก็ให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ยื่นคาขอทราบ หากเอกสารครบถ้วนแล้วก็ส่งคณะผู้ตรวจประเมินดาเนินการต่อไป ข้อ 9 ผู้ยื่นคำขอต้องยินยอมให้ผู้ตรวจประเมินดาเนินการตรวจประเมิน ณ แหล่งผลิตของ ผู้ยื่นคาขอ รวมทั้งยินยอมให้ผู้แทนจากหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการรับรองเข้าร่วมสังเกตการณ์ การตรวจประเมินของผู้ตรวจประเมิน ณ แหล่งผลิตของผู้ยื่นคาขอ หมวด 4 การตรวจประเมิ นแหล่งผลิตพืชตามมาตรฐาน ระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสาหรับพืช ข้อ 10 คณะผู้ตรวจประเมินดาเนินการตรวจประเมินตามคู่มือมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) คู่มือวิธีการปฏิบัติงาน ( WI ) คู่มือการปฏิบัติงาน ( SOP ) หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการตรวจประเมิน แหล่งผลิต GAP พืช ( RE - 2) และพิจารณาพื้นที่การผลิตตามแนวทางที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 153 ง ราชกิจจานุเบกษา 29 มิถุนายน 2566
หมวด 5 การออกใบรับรองแหล่งผลิตพืชตามมาตรฐาน ระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสาหรับพืช ข้อ 11 หากคณะผู้ตรวจประเมิน ตรวจประเมินเรียบร้อยแล้วให้นาเสนอต่อคณะกรรมการ รับรองเพื่อพิจารณา หากคณะกรรมการรับรองพิจารณาแล้วเห็นชอบให้นาเสนออธิบดี หรือผู้ที่ได้รับ มอบหมายเพื่อออกใบรับรอง ข้อ 12 ใบรับรองสาหรับพืชล้มลุก ( annual crop ) มีอายุ 2 ปี และใบรับรองสาหรับ พืชยืนต้น ( per ennial crop ) มีอายุ 3 ปี นับแต่วันที่ออกใบรับรอง หมวด 6 การต่ออายุใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช ข้อ 13 ผู้ได้รับใบรับรอง ถ้าประสงค์จะขอต่ออายุใบรับรอง ให้ยื่นขอต่ออายุใบรับรอง ต่อกรมวิชาการเกษตร ก่อนใบรับรองฉบับเดิมหมดอายุ เมื่อได้ยื่นคาขอดังกล่าวแล้วให้ถือว่ามีฐานะ เสมือนผู้ได้รับใบรับรองและให้ดาเนินการผลิตต่อไปได้จนกว่าอธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจะสั่ง ไม่ต่ออายุใบรับรอง ข้อ 14 การตรวจประเมินเพื่อต่ออายุใบรับรอง กรมวิชาการเกษตรจะตรวจประเมินระบบทั้งหมด เพื่อออกใบรับรองฉบับใหม่ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในหมวด 4 ข้อ 15 การตรวจประเมินเพื่อต่ออายุการรับรองจะทาการตรวจประเมินไม่เกิน 2 ครั้ง หากการตรวจประเมินไม่สามารถเสร็จสิ้นได้ภายใน 2 ครั้ง กรมวิชาการเกษตร จะพิจารณายกเลิก การต่ออายุ หมวด 7 การลดขอบข่าย การพักใช้ และการเพิกถอนการรับรอง ข้อ 16 การลดขอบข่ายการรับรอง เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบรับรองไม่สามารถรักษาระบบการจัดการคุณภาพ GAP ของพืชชนิดใด ชนิดหนึ่ง ให้อธิบดีหรือผู้ได้รับมอบหมายลดขอบข่ายการรับรองและออกใบรับรองฉบับใหม่แทนฉบับเดิม ตาม ขอบข่ายที่เหลือ และใบรับรองฉบับใหม่ให้มีอายุเท่ากับใบรับรองฉบับเดิมที่เหลืออยู่ ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับ การรับรองต้องส่งคืนใบรับรองฉบับเดิม ให้กรมวิชาการเกษตร ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 153 ง ราชกิจจานุเบกษา 29 มิถุนายน 2566
ข้อ 17 การสั่งพักใช้ใบรับรอง เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับการรับรองไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กาหนดไว้ในระเบียบนี้ อธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีอานาจสั่งพักใช้ใบรับรอง โดยมีกาหนดครั้งละไม่น้อยกว่า 6 0 วัน แต่ไม่เกิน 180 วัน ผู้ได้รับการรับรองซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบรับรอง ต้องหยุดการอ้างถึงใบรับรอง เครื่องหมายรับรอง เครื่องหมายรับรองระบบงานในระหว่างที่ถูกสั่งพักใช้ จนกว่าอธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจะสั่งถอน การสั่งพักใช้ ข้อ 18 การสั่งเพิกถอนใบรับรอง กรณีที่ผู้ได้รับใบรับรองไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน ระเบียบนี้ กรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณี ดังนี้ (1) ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในระเบียบนี้และการไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการรับรอง (2) ไม่ปฏิบัติตามระบบที่ได้รับการรับรองในสาระสาคัญ เช่น พบว่ามีการใช้ หรือมีไว้ ในครอบ ครอง หรือผลการวิเคราะห์พบวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (3) ถูกสั่งพักใช้ใบรับรองเกิน 2 ครั้ง ภายในระยะเวลา 2 หรือ 3 ปี แล้วแต่ประเภท ใบรับรอง (4) มีข้อร้องเรียนที่คณะกรรมการรับรอง พิจารณาแล้วเห็นว่าส่งผลกระทบร้ายแรง ต่อการรับรอง ให้คณะกรรมการรับรองพิจารณาเสนออธิบดี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเพื่อสั่งเพิกถอนใบรับรอง และให้กรมวิชาการเกษตรนำรายชื่อผู้ถูกเพิกถอนการรับรองเผยแพร่แก่สาธารณชนทราบ ทั้งนี้ ผู้ได้รับการรับรองซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบรับรองต้องส่งใบรับรองคืนให้แก่กรมวิชาการเกษตร ผู้ ถูกเพิกถอนใบรับรองต้องหยุดการ ใช้ หรืออ้างอิง ใบรับรอง เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายรับรองระบบงานบนเอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง เช่น แผ่นพับ ใบปลิว บรรจุภัณฑ์ ป้ายโฆษณา เป็นต้น นับตั้งแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบรับรอง หมวด 8 การยกเลิกการรับรอง ข้อ 19 ใบรับรองจะถูกยกเลิกในกรณี ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ได้รับการรับรอง เลิกประกอบกิจการที่ได้รับการรับรอง (2) ผู้ได้รับการรับรอง เป็นบุคคลล้มละลาย หรือเป็นคนไร้ความสามารถ (3) ผู้ได้รับการรับรอง เสียชีวิต (4) ผู้ได้รับการรับรอง โอนกิจการให้บุคคลอื่น ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 153 ง ราชกิจจานุเบกษา 29 มิถุนายน 2566
(5) ผู้ได้รับการรับรอง แจ้งขอยกเลิกการรับรองเป็นลายลักษณ์อักษร (6) ผู้ได้รับการรับรอง ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกาหนดใหม่ได้ ภายในระยะเวลาที่กาหนด เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการรับรอง หมวด 9 การอุทธรณ์ ข้อ 20 การอุทธรณ์ (1) ผู้ยื่ นคาขอรับการรับรองถูกปฏิเสธการขอออกใบรับรองหรือผู้ได้รับใบรับรองที่ถูกลด ขอบข่าย ถูกสั่งพักใช้ หรือถูกเพิกถอนใบรับรอง สามารถยื่นอุทธรณ์ ได้ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ ได้รับแจ้งคาสั่งจากกรมวิชาการเกษตร โดยการยื่นอุทธรณ์ต้องทาเป็นลายลักษณ์อักษรยื่นต่อคณะ พิจารณาอุทธรณ์ (2) คณะพิจารณาอุทธรณ์จะพิจารณาคาอุทธรณ์ และแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ (3) ผลการพิจารณาของคณะพิจารณาอุทธรณ์ให้ถือเป็นที่สิ้นสุด ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 256 6 ระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ้ หนา 6 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 153 ง ราชกิจจานุเบกษา 29 มิถุนายน 2566