Wed Jun 28 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2563 - 2568) (ฉบับปรับปรุง)


ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2563 - 2568) (ฉบับปรับปรุง)

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2563 - 2568) (ฉบับปรับปรุง) โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2563 - 2568) ให้สอดคล้องกับนโยบายการกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่และการประกอบกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดาเนินการระยะห้าปี อันประกอบด้ วยแนวทาง ในการพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการแข่งขันโดยเสรี อย่างเป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบกิจการ แนวทางการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และการอนุญาตให้ประกอบ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ การคุ้มครองผู้บริโภคและการ ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน อาศัยอานาจตามความในมาตรา 27 (1) และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรร คลื่นความถี่และกากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดส รรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 และมาตรา 27 (24) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ จึงกำหนดแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2563 - 2568) (ฉบับปรับปรุง) รายละเอียดปรากฏตามแผนท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัด จากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 256 6 ศาสตราจารย์คลินิกสรณ บุญใบชัยพฤก ษ์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 152 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 มิถุนายน 2566

แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2563 – 2568 ) (ฉบับปรับปรุง)

พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่น ความถี่และกากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 มาตรา 27 (1) และมาตรา 49 กำหนดให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดให้มีแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อ ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการระยะ 5 ปี ทั้งนี้ กสทช. ชุดที่ผ่านมาได้จัดทำแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 ( พ.ศ. 2563 – 2568 ) โดยประกาศลงราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2563 – 2568) นี้ คานึงถึงการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของอุตสาหกรรม ตลอดจนความสอดคล้องกับ กฎหมาย นโยบาย และตอบสนองต่อกฎหมายและแผนระดับชาติที่เกี่ยวข้อง อาทิ พระราชบัญญัติการพัฒนา ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 แผนการ ปฏิรูปประเทศ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และแผนแม่บท ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ภายใต้ สภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ดี ภายหลังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กสทช. ชุดใหม่ เมื่อเดือนเมษายน 2565 กสทช. ชุดใหม่มีความประสงค์ที่จะผลักดันนโยบายใหม่ ๆ ตามที่เคยได้สื่อสารต่อ ผู้มีส่วนได้เสีย กอปรกับภารกิจสำคัญบางประการตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2563 – 2568) มีการดาเนินการเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จึงเป็นโอกาส ที่สมควรให้มีการปรับปรุงเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อบริบทแวดล้อมที่มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้นได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ทิศทางของแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2563 – 2568) (ฉบับปรับปรุง) นี้ มุ่งเน้นการตอบสนองต่อบริบทดิจิทัลที่มีอิทธิพลต่อกิจการกระจายเสียงและ โทรทัศน์ในลักษณะต่าง ๆ ให้มากขึ้น อาทิ การสร้างสมดุลระหว่างความต้องการใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่ กับจานวนคลื่นความถี่ที่มีอยู่ในกิจการวิทยุกระจายเสียง เพิ่มทางเลือกในการให้บริการกระจายเสียงเพื่อมุ่งสู่ เป้าหมายในการให้ใบอนุญาตวิทยุระบบดิจิทัล รวมถึงการสนับสนุนให้มีบริการกระจายเสียงผ่านระบบ ออนไลน์ ในส่วนของกิจการโทรทัศน์เน้นนโยบายเชิงรุกในหลายมิติ ตั้งแต่การกากับดูแลที่ต้องอยู่บนพื้นฐาน ของข้อมูลเชิงประจักษ์ คานึงถึงการใช้ทรัพยากรในกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึง เป็นธรรม ยกระดับ การผลิตเนื้อหาที่มุ่งสู่ตลาดต่างประเทศ ตลอดถึงการเสนอปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับบริบทดิจิทัล การกำกับดูแลในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ มีการส่งเสริมการจัดให้มีบริการกระจายเสียง และบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึง มีความหลากหลายในมิติทางสังคม ยกระดับกลไกการกากับดูแล ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องโดยใช้ระบบโซเชียลเครดิต รวมถึงการกากับดูแลกันเองของ ผู้ประกอบวิชาชีพ ให้ความสำคัญกับการกากับดูแลบริการแบบหลอมรวมเพื่อมิให้ผู้บริโภคถูกเอาเปรียบ การบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ประชาชนทุกภาคส่วนมีสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึง รับรู้ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายได้อย่างเท่าเทียมยิ่งขึ้น และยังคงให้ความสาคัญกับการ อานวยความสะดวกผู้เกี่ยวข้องผ่านการพัฒนาการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาต การเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ การเข้าถึงข้อมูลการกากับดูแล เช่น สถานะเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ และมุ่งสู่ระบบดิจิทัลที่มากขึ้นตามลาดับ คานา

สารบัญ หน้า ส่วนที่ 1 ภาพรวมแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 1.1 สรุปการดำเนินงานตามแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 ( พ.ศ. 2563 - 2568 ) ข้อมูลสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2565 1.2 สภาพแวดล้อมและผลกระทบในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 1.3 ความสอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติ 1.4 ความสัมพันธ์กับรัฐบาล 1 1 4 5 8 ส่วนที่ 2 หลักการพื้นฐาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ ของแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 25 63 - 25 68 ) (ฉบับปรับปรุง) 9 ส่วนที่ 3 ยุทธศาสตร์ภายใต้แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 25 63 – 25 68 ) (ฉบับปรับปรุง) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนากิจการกระจายเสียงของประเทศไทย ให้เข้าสู่มาตรฐานสากล มีพลวัตสอดคล้องกับบริบทดิจิทัล ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนากิจการโทรทัศน์ของประเทศไทย ให้เข้าสู่มาตรฐานสากล มีพลวัตสอดคล้อง กับบริบทดิจิทัล ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมและกากับดูแลด้านเนื้อหา การคุ้มครองผู้บริโภค และ การส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ เพื่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูล ข่าวสาร ของประชาชน ในโลกดิจิ ทัล อย่างมีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การให้บริการและการกำกับดูแลที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล 11 11 1 4 1 6 2 0 ส่วนที่ 4 การขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 25 63 - 25 68 ) (ฉบับปรับปรุง) 2 3

1 ส่วนที่ 1 ภาพรวมแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 1.1 สรุปการดำเนินงานตามแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 ( พ.ศ. 2563 – 2568) ข้อมูลสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2565 แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2563 – 2568) ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2563 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2563 เป็นต้นมา มุ่งเน้นและให้ความสาคัญกับการพัฒนากิจการวิทยุกระจายเสียงเพื่อยกระดับมาตรฐานและ เพิ่มทางเลือกให้กับประชาชนในการรับบริการและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่จาเป็นพื้นฐานได้อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของกิจการโทรทัศน์ได้มุ่งเน้นการพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการกากับดูแล ที่สอดคล้องกับระบบนิเวศของอุตสาหกรรม คานึงถึงการใช้ทรัพยากรในกิจการโทรทัศน์ให้มีประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลด้านเนื้อหาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยี สร้างกลไกในการกำกับดูแลด้านเนื้อหาให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนเนื้อหาที่มีคุณภาพ หลากหลาย และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะให้มากยิ่งขึ้น การคุ้มครองผู้บริโภคมิให้ถูกเอาเปรียบและได้รับ บริการอย่างเป็นธรรม ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร ที่หลากหลายได้อย่างเท่าเทียม ตลอดจนการให้บริการและการกำกับดูแลที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัลโดย นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการให้บริการและการกำกับดูแลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2563 – 2568) ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนากิจการวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนากิจการโทรทัศน์ของประเทศให้เหมาะสมกับบริบทใหม่ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การกากับดูแลด้านเนื้อหา การคุ้มครองผู้บริโภค และการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และยุทธศาสตร์ที่ 4 การให้บริการและ การกำกับดูแลที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการตามแผนแม่บทฉบับนี้ มาอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดตามที่กำหนดไว้ ผ่านกระบวนการขับเคลื่อนแผนแม่บท สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การกำหนดผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดตามหลัก RACI การกาหนดนิยามตัวชี้วัด การกำหนดแผนที่นำทาง ( Roadmap) ตลอดถึงผลผลิตแต่ละระยะของแผน (แต่ละปี) ไปจนถึงกำหนดผลผลิต ปลายทางเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของแผน โดยมีการขับเคลื่อนผ่านแผนปฏิบัติการประจาปี การดำเนินงานที่สาคัญภายใต้แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2563 – 2568) ที่ผ่านมา ด้านการพัฒนากิจการกระจายเสียง มีการประมูลคลื่นความถี่ในระบบเอฟเอ็ม สาหรับการให้บริการ กระจายเสียง ประเภทธุรกิจ เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านระบบการใช้งานคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงไปสู่ ระบบการอนุญาต ซึ่งมีผู้รับใบอนุญาตจานวน 9 ราย มูลค่าการประมูลรวมกว่า 700 ล้านบาท อีกทั้งได้ทา บันทึกข้อตกลงกับสถานีวิทยุกองทัพบก (ททบ.) เพื่อ ทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิทัล

2 (DAB+) ในกรุงเทพและปริมณฑล โดยมีการปรับปรุงคุณภาพการส่งสัญญาณด้วยการเปลี่ยนแปลงชุด สายอากาศ ปรับปรุงคุณภาพของไฟล์เสียงและระบบเชื่อมต่อ และ พัฒนาคุณภาพของโปรแกรมประยุกต์ ( Application Software Development) เพื่อตรวจวัดการแพร่สัญญาณวิทยุ Web Application และ Mobile Application เพื่อให้สามารถรองรับข้อมูลและปัจจัยพื้นฐานทั้งหมดของสถานีวิทยุกระจายเสียง สาหรับการทดลองทดสอบในส่วนภูมิภาค ททบ. ได้เตรียมช่องรายการ ระบบการออกอากาศ และระบบการ ควบคุมสัญญาณเสียงไว้เรียบร้อยแล้ว มีการจ้างที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาต้นแบบผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง เพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยศึกษาสถานภาพและการดาเนินงานของสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาต ทดลองประกอบกิจการประเภทบริการสาธารณะและบริการชุมชน รวมทั้งเกณฑ์มาตรฐานต้นแบบและรูปแบบ ที่เหมาะสม โดยเฉพาะด้านหลักการของวิทยุสาธารณะและวิทยุชุมชน ซึ่งควรกาหนดแนวทางการเข้าถึงผู้ฟัง ด้วยเนื้อหาเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ในชีวิตประจาวันและเข้าถึงได้ง่าย ดาเนินโครงการศึกษาวิจัยประเมิน ประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ มิติของการประกอบ กิจการกระจายเสียง โดยในภาพรวมมิติด้านความตั้งใจในการประกอบกิจการเป็นมิติที่มีคะแนนการประเมิน สูงที่สุด ซึ่งใกล้เคียงกันกับมิติความสามารถในการปรับตัวรองรับความท้าทายใหม่ ๆ ในขณะที่มิติการบริหาร จัดการองค์กรซึ่งเป็นมิติหลักของการประกอบกิจการ กลับเป็นมิติที่มีคะแนนการประเมินต่าที่สุด นอกจากนี้ มี การศึกษาแนวทางส่งเสริมและกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงภายใต้ระบบนิเวศของอุตสาหกรรมที่ เปลี่ยนแปลง อาทิ กรอบนโยบายในการกากับดูแล OTT แนวทางพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้สามารถ ประกอบกิจการภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างยั่งยืน มีการ สารวจและศึกษารูปแบบการประกอบ ธุรกิจและระดับรายได้ในกิจการวิทยุกระจายเสียง เช่น การใช้ระบบคู่ขนาน ( Dual System) ในการ ออกอากาศ การสนับสนุนงบประมาณเพื่อการผลิตเนื้อหารายการที่มีคุณภาพและตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมาย ลดการผูกขาดในกิจการวิทยุกระจายเสียง อีกทั้งให้ความรู้ทางเทคนิคแก่สถานีวิทยุเพื่อให้เข้าใจหลักการ ยื่นรายงานตามประกาศหลักเกณฑ์ทางด้านเทคนิค รวมถึงจัดประชุมเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นในอุตสาหกรรมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูล ซึ่งสามารถนาไปพัฒนากิจการ กระจายเสียงต่อไป ด้านการพัฒนากิจการโทรทัศน์ มีการ ปรับปรุงระบบบริการผังรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ( Electronic Program Guide: EPG Services) เพื่อให้สามารถรองรับการให้บริการในรูปแบบใหม่เพิ่มเติม และทันต่อบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปของกิจการโทรทัศน์ ปรับปรุงรูปแบบให้ทันสมัยเข้าใจง่าย และเป็นแหล่ง ให้บริการข้อมูลด้านกิจการโทรทัศน์แบบบูรณาการที่มีความน่าเชื่อถือ พัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการ เข้าถึงโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป ( DTT Service Area) ซึ่งใช้เป็นระบบตรวจสอบพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณ โทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล มีการติดตาม ตรวจสอบ และกากับดูแลการให้บริการช่องรายการ ผ่าน โครงข่ายกระจายเสียงและโทรทัศน์ ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ โดยบันทึกและนาเข้าข้อมูลผู้ให้บริการกระจายเสียง หรือโทรทัศน์ (ช่องรายการ) ที่มีการให้บริการหรือเปลี่ยนแปลง ผ่านระบบฐานข้อมูลกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ ( Broadcasting System) รวมทั้ง เตรียมความพร้อมในการนำระบบเทคโนโลยี 5G

3 มาประยุกต์ใช้ในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษากฎหมาย นโยบาย การกำกับดูแลการแข่งขันของต่างประเทศ ที่เกิดขึ้นจริงจากการใช้เทคโนโลยี 5 G เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และข้อเสนอเชิงนโยบายในการกำกับดูแลของไทยเพื่อให้สอดรับกับรูปแบบการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้าน เทคโนโลยีและภูมิทัศน์ด้านการแข่งขันในกิจการที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งได้ สารวจและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ให้บริการ ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ( Digital Platform) ในประเทศไทย และได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเป็นแนวทางกำกับ ดูแลผู้ให้บริการดั้งเดิมและผู้ให้บริการดิจิทัลอย่างเป็นธรรม สร้าง Content Creator แบบครบวงจร และการ สร้างระบบนิเวศบริการดิจิทัลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นต้น นอกจากนี้ มีการประชุมและสัมมนา ทางวิชาการ ได้แก่ การประชุมทางวิชาการถอดรหัสการสร้างสรรค์รายการเด็กในยุค Digital Disruption ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวความคิดจากผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวข้องกับประเด็นสถานการณ์ของ รายการเด็กและทาอย่างไรให้รายการเด็กอยู่รอด รวมทั้ง สัมมนา เรื่อง 5 G Broadcast: Technology and Trends เพื่อศึกษาเกี่ยวกับแนวโน้มของเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ และเทคโนโลยี 5 G Broadcast ตลอดจนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง และแบ่งปันข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน มีการศึกษาความต้องการ ของคนพิการในการเข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ ซึ่งพบว่าปัจจัยที่เป็น อุปสรรคสาคัญ คือ วิธีการเข้าถึงบริการที่มีขั้นตอนการเข้าถึงซับซ้อนมากเกินไป โดยที่ปรึกษาได้มีข้อเสนอแนะ เชิงนโยบาย ข้อเสนอแนะด้านการปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้บริการ การกากับดูแลการให้บริการ รวมทั้ง การส่งเสริมการให้บริการกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล มีการ ประเมินคุณภาพบริการคาบรรยายแทนเสียง โดยสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทยเพื่อสร้างแนวทางรองรับการประเมินคุณภาพบริการคาบรรยายแทนเสียง ที่เหมาะสม และ ประเมินคุณภาพบริการเสียงบรรยายภาพ โดยสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ซึ่งพบว่า ช่วงเวลาในการออกอากาศของรายการที่มีบริการเสียงบรรยายภาพยังไม่สอดคล้องกับความต้องการโดยอยู่ใน ช่วงเวลาหลังเที่ยงคืน เป็นต้น นอกจากนี้ มีการ ศึกษาแนวทางส่งเสริมและกำกับดูแลร่วมกันด้านการ ปฏิบัติงานและการนำเสนอของสื่อในประเด็นอ่อนไหวเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ โดยศึกษาวิเคราะห์ และให้ข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนากลไกการส่งเสริมและกากับดูแลร่วมกันในการปฏิบัติงาน รวมถึงการ นำเสนอของสื่อภายใต้บริบทของวัฒนธรรมไทยและกรอบมาตรฐานจริยธรรมสื่อมวลชน รวมทั้งมีการ อบรมนำ ร่องหลักสูตร ด้านสื่อสังคมยุคใหม่กับการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย เพื่อให้ทราบกฎหมายและ ประกาศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วิธีวิเคราะห์ ตรวจสอบ และการใช้เครื่องมือในการทา Social Listening เป็นต้น ด้านการให้บริการและการกากับดูแลที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล มีการ พัฒนาระบบการอนุญาตวิทยุ คมนาคมในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (RBS) เพื่ออานวยความสะดวก ในการให้บริการประชาชนในการยื่นขอพิจารณาอนุญาตฯ ออกแบบและปรับปรุงข้อมูลด้านกิจการกระจายเสียง และโทรทัศน์ที่เผยแพร่สู่สาธารณะผ่านเว็บไซต์ครบทั้ง 6 ด้าน โดยจัดทำโครงสร้างที่เป็นมาตรฐาน วิเคราะห์ ความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ด้านการอนุญาตและค่าธรรมเนียม ด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี ด้านสภาพตลาดและการแข่งขันและบริบทใหม่ ด้านการกำกับดูแลผังเนื้อหารายการและการโฆษณา

4 ด้านคุ้มครองผู้บริโภค และด้านส่งเสริมผู้ประกอบกิจการและผู้ประกอบวิชาชีพ มีการเชื่อมโยงข้อมูลของศูนย์ ข้อมูลออนไลน์ที่เป็นฐานข้อมูลสาหรับเผยแพร่สู่สาธารณะของสายงานด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ กับฐานข้อมูลกลางของสายงาน ( BCS) ( ระยะที่ 1) เพื่อให้มีข้อมูลที่พร้อมเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ได้ถูกต้อง และเป็นปัจจุบันให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งภายนอกและภายในเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ อีกทั้งมีการ อบรมการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการปฏิบัติงานในยุค New Normal และเตรียมพร้อมเข้าสู่ Next Normal เพื่อพัฒนาบุคลากรของสายงานให้สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการปฏิบัติงาน ได้หลากหลายตามความจาเป็นอย่างเหมาะสม รวมทั้ง มีการจัดทาและเผยแพร่บทวิเคราะห์ที่มีความสาคัญ ต่ออุตสาหกรรมฯ ข้อมูลสถิติที่สาคัญ Infographic ต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ในศูนย์ข้อมูลออนไลน์ ทั้งเป็นราย ไตรมาสและตามวาระที่เกี่ยวข้องอื่น โดยมีการหมุนเวียนกันจัดทำบทวิเคราะห์ที่เป็นประโยชน์กับกิจการฯ 1.2 สภาพแวดล้อมและผลกระทบในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 ( พ . ศ . 2563–2568 ) มีผลใช้บังคับมาแล้วนับถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่าสองปี แม้ว่าแผนแม่บทฉบับนี้ยังคงสามารถมีผลใช้บังคับต่อไป อีกระยะหนึ่ง แต่ด้วยเหตุที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ ( กสทช .) ชุดปัจจุบัน ซึ่งได้รับโปรดเกล้าเข้าดารงตาแหน่งเมื่อเมษายน 2565 มีความประสงค์ที่จะ ผลักดันนโยบายใหม่ ๆ ตามที่เคยได้สื่อสารต่อผู้มีส่วนได้เสีย กอปรกับภารกิจสาคัญบางประการตามที่กาหนด ไว้ในแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 ( พ . ศ . 2563–2568 ) มีการดาเนินการ เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วตามที่ได้กล่าวถึงข้างต้น จึงเป็นโอกาสที่สมควรให้มีการปรับปรุง เพื่อให้สามารถ ตอบสนองต่อบริบทแวดล้อมที่มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อบริบทดิจิทัล มีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมในระดับที่มีอัตราเร่งที่สูงขึ้น ซึ่งสังเกตได้จากสัญญาณการปรับตัวขององค์กรใน ต่างประเทศที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้ ทั้งที่เป็นองค์กรกำกับดูแลและผู้ประกอบการรายใหญ่ ๆ เช่น มีการพิจารณา กฎหมายใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการปรับเปลี่ยนนโยบายการให้บริการที่อิงกับเทคโนโลยีใหม่มากขึ้น ฯลฯ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 ( พ . ศ . 2563–2568 ) (ฉบับ ปรับปรุง) นี้ให้ความสาคัญกับการพยายามตอบสนองต่อบริบทดิจิทัลที่มีอิทธิพลต่อกิจการกระจายเสียงและ โทรทัศน์ในลักษณะต่าง ๆ ให้มากขึ้น เช่น กรณีของวิทยุกระจายเสียง ซึ่งมีความไม่สมดุลระหว่างความต้องการ ใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่กับจานวนคลื่นความถี่ที่มีอยู่ในกิจการ จึงมีนโยบายเพิ่มทางเลือกในการให้บริการ กระจายเสียงสู่เป้าหมายการให้ใบอนุญาตวิทยุระบบดิจิทัลที่เอื้อต่อประสิทธิภาพ การใช้คลื่นความถี่ที่ดีกว่า ระบบเอเอ็ม เอฟเอ็ม ที่เป็นแอนะล็อก รวมถึงการสนับสนุนให้มีบริการกระจายเสียงผ่านระบบออนไลน์ กรณี ของกิจการโทรทัศน์มีการเน้นนโยบายเชิงรุกในหลายมิติ ตั้งแต่การกำกับดูแลที่ต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลเชิง ประจักษ์ คานึงถึงการใช้ทรัพยากรในกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึง เป็นธรรม ยกระดับการผลิตเนื้อหา ที่มุ่งสู่ตลาดต่างประเทศด้วย ตลอดถึงการเสนอปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับบริบทดิจิทัลการกากับดูแล ในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ มีการส่งเสริมการจัดให้มีบริการกระจายเสียงและบริการ โทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึง มีความหลากหลายในมิติทางสังคม ยกระดับกลไกการกากับดูแลผ่านกระบวนการ มีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องโดยใช้ระบบโซเชียลเครดิต รวมถึงการกำกับดูแลกันเองของผู้ประกอบวิชาชีพ

5 ให้ความสาคัญกับการกำกับดูแลบริการแบบหลอมรวมเพื่อมิให้ผู้บริโภคถูกเอาเปรียบ การบริหารจัดการเรื่อง ร้องเรียนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ประชาชน ทุกภาคส่วนมีสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึง รับรู้ และ ใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายได้อย่างเท่าเทียมยิ่งขึ้น และยังคงให้ความสาคัญกับการอานวย ความสะดวกผู้เกี่ยวข้องผ่านการพัฒนาการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาต การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ที่เป็นประโยชน์ การเข้าถึงข้อมูลการกำกับดูแล เช่น สถานะเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ต่างช่องทางออนไลน์ และ มุ่งสู่ระบบดิจิทัลที่มากขึ้น ตามลาดับ 1.3 ความสอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2563 - 2568 ) ( ฉบับปรับปรุง ) ยังคงมีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับนโยบายและแผนระดับชาติ มีความเชื่อมโยงกับ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งถือเป็นแผนระดับที่ 1 โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุทธศาสตร์การปรับสมดุลและพัฒนา ระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งให้ความสาคัญกับการให้บริการประชาชนอย่างรวดเร็ว โปร่งใส ตอบสนอง ความต้องการของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ และนาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้โดยปรับเปลี่ยนเป็นดิจิทัล เพิ่มขึ้นตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงมีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การสร้างความสามารถ ในการแข่งขัน และยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 ( พ . ศ . 2563–2568 ) (ฉบับปรับปรุง) นี้ ยังสนับสนุนแผนการปฏิรูปประเทศ 13 ด้าน โดยเฉพาะด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยี สารสนเทศ ในประเด็นการปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยได้ กำหนดทิศทางและเป้าหมายของแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ให้สอดคล้องกับ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ให้ความสำคัญกับมาตรฐานการประกอบกิจการ การเพิ่มทางเลือก ให้กับผู้ประกอบการในการปรับตัวและเลือกใช้เทคโนโลยีตามความเหมาะสม การส่งเสริมอุตสาหกรรม การกำกับ ดูแลเนื้อหาในเชิงรุก นอกจากนี้ ยังให้ความสาคัญกับการพัฒนาทักษะดิจิทัลของประชาชน การคุ้มครอง ผู้บริโภคในยุคบริบทการให้บริการแบบหลวมรวม

1 6

2 7

8 1.4 ความสัมพันธ์กับรัฐบาล ในการดำเนินการตามแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2563 – 2568) (ฉบับปรับปรุง) มีทิศทางการดาเนินการที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับนโยบายและ แผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภา

9 ส่วนที่ 2 หลักการพื้นฐาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ ของแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2563 - 2568 ) (ฉบับปรับปรุง) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27 (1) และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่น ความถี่และกากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 กสทช. จึงจัดให้มีแผนแม่บทกิจการกระจาย เสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2563 - 2568 ) โดยกำหนดให้มีการบังคับใช้เป็นเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 2.1 หลักการพื้นฐานในการจัดทาแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เป็นไป ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่อย่างน้อยต้องคานึงถึงแนวทาง ที่สาคัญ ดังต่อไปนี้ 1) แนวทางการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และการอนุญาตประกอบกิจการ มุ่งเน้นการบริหารจัดการคลื่นความถี่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีการอนุญาต ใช้คลื่นความถี่สาหรับการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ครอบคลุมทุกประเภทกิ จการ อย่างเสรีและเป็นธรรม และให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ทั้งที่ใช้คลื่นความถี่และไม่ใช้คลื่นความถี่ ครอบคลุมทุกประเภทกิจการอย่างเสรีและเป็นธรรม โดยคานึง ถึงผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและมลภาวะสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้คลื่นความถี่ 2) แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมในกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ มุ่งเน้นการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อป้องกัน การผูกขาด หรือลด หรือจากัดการแข่งขัน รวมถึงป้องกันมิให้มีการครอบงาในลักษณะที่เป็นการจากัดโอกาส ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และเพิ่มความหลากหลายของข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ อย่าง เท่าเทียมและทั่วถึง 3) มาตรการจัดให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือ สาหรับภาคประชาชนในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ มุ่งส่งเสริมภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่มีความพร้อมให้สามารถขอรับการอนุญาตให้ใช้ คลื่นความถี่และประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสำหรับ ภาคประชาชน รวมถึงสนับสนุนผู้ประกอบกิจการในการให้บริการได้อย่างมีคุณภาพ

10 2.2 วิสัยทัศน์ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ยกระดับสู่มาตรฐานสากล เพื่อสร้างสรรค์สังคม และเศรษฐกิจให้ยั่งยืน 2.3 พันธกิจ 1) จัดสรรทรัพยากรการสื่อสารอย่างโปร่งใส เป็นธรรม ครอบคลุมในทุกมิติ 2) กำกับดูแลให้มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานการแข่งขันเสรี เป็นธรรม เพื่อความมั่นคงและ ประโยชน์สาธารณะ 3) คุ้มครองประชาชนให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพ 4) ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการสื่อสารและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย และมีคุณภาพอย่างเท่าเทียม 5) ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมกระจายเสียงและโทรทัศน์สู่ระบบนิเวศทางการ สื่อสารดิจิทัลที่ยั่งยืน 2.4 เป้าประสงค์ 1) ผู้ประสงค์จะประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ได้รับการพิจารณา อนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ หรืออนุญาตประกอบกิจการอย่างโปร่งใส เป็นธรรม 2) ประชาชนได้รับประโยชน์จากการใช้คลื่นความถี่และการประกอบกิจการกระจายเสียง และโทรทัศน์อย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึง เป็นธรรม 3) ประชาชนได้รับการคุ้มครองมิให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ 4) ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์สามารถแข่งขันอย่างเสรี เป็นธรรม เนื้อหามีคุณภาพ หลากหลาย เชื่อถือได้ และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย 5) ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารและได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึง เท่าเทียม 6) ผู้ประกอบกิจการ ผู้ผลิตรายการ และผู้ประกอบวิชาชีพในกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ ได้รับการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพ มีมาตรฐานทางจริยธรรม 7) อุตสาหกรรมกระจายเสียงและโทรทัศน์ได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานสากล ใช้ทรัพยากร อย่างคุ้มค่า สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และสร้างสรรค์สังคม 8) อุตสาหกรรมกระจายเสียงและโทรทัศน์ได้รับการขับเคลื่อนสู่ระบบนิเวศทางการสื่อสาร ดิจิทัลที่ยั่งยืน

11 ส่วนที่ 3 ยุทธศาสตร์ภายใต้แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2563 – 2568 ) (ฉบับปรับปรุง) แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ฉบับนี้ มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับ การพัฒนากิจการวิทยุกระจายเสียงเพื่อยกระดับมาตรฐานกิจการกระจายเสียงและเพิ่มทางเลือกให้กับ ประชาชนในการรับบริการและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่จาเป็นพื้นฐานได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้น ให้เกิดการพัฒนากิจการโทรทัศน์ของประเทศให้เหมาะสมกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้สามารถกากับ ดูแลได้สอดคล้องกับระบบนิเวศของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยคานึงถึงการใช้ทรัพยากรในกิจการ โทรทัศน์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมทั้งให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลด้านเนื้อหาให้ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยี มุ่งเน้นไปสู่การพัฒนาและสร้างกลไกในการกำกับดูแล ด้านเนื้อหา ให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการส่งเสริมสนับสนุนเนื้อหาที่มีคุณภาพ สร้างสรรค์ หลากหลาย และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะให้มากยิ่งขึ้น การคุ้มครองผู้บริโภคมิให้ถูกเอาเปรียบและได้รับบริการอย่างเป็น ธรรม ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายได้ อย่างเท่าเทียม ตลอดจนการให้บริการและการกำกับดูแลที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัลโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ใน การให้บริการและการกำกับดูแลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนากิจการกระจายเสียงของประเทศไทยให้เข้าสู่มาตรฐานสากล มีพลวัตสอดคล้องกับ บริบทดิจิทัล การพัฒนากิจการกระจายเสียงของประเทศไทยให้มีพลวัตสอดคล้องกับบริบทดิจิทัลอย่างยั่งยืน มีการกำกับดูแลบนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยคานึงถึงการใช้ทรัพยากรในกิจการกระจายเสียงอย่าง มีประสิทธิภาพ และยกระดับกระบวนการอนุญาต การผลิตเนื้อหา เทคโนโลยี ตลอดจนคุณภาพการให้บริการ ในกิจการกระจายเสียงให้เป็นมาตรฐานสากล วัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่ ในกิจการกระจายเสียงอย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม 2) เพื่อยกระดับวิทยุกระจายเสียงในระบบแอนะล็อกให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล 3) เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ประกอบการในการให้บริการกระจายเสียงประเภทอื่น 4) เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมกระจายเสียงให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืน เป้าหมายของยุทธศาสตร์ 1) ผู้ประสงค์จะประกอบกิจการกระจายเสียงสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรคลื่น ความถี่ในกิจการกระจายเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม

12 2) มีการบริหารจัดการทรัพยากรคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการกระจายเสียง ด้วยเทคโนโลยีใหม่ เพื่อเพิ่มทางเลือกแก่ผู้ประกอบการ 3) การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงในระบบแอนะล็อกจะต้องได้รับใบอนุญาต 4) การส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงระบบแอนะล็อกต้องสอดคล้องกับมาตรฐานทางเทคนิค โดยคานึงถึงการรบกวนและประสิทธิภาพการใช้คลื่นความถี่ 5) การรบกวนการใช้คลื่นความถี่ต่อกิจการวิทยุการบินลดลง 6) มีผู้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการโครงข่ายวิทยุระบบดิจิทัล 7) มีผู้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการวิทยุระบบดิจิทัล 8) การส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงระบบดิจิทัลต้องสอดคล้องกับมาตรฐานทางเทคนิค โดยคานึงถึงการรบกวน และประสิทธิภาพการใช้คลื่นความถี่ 9) ส่งเสริมให้ผู้รับใบอนุญาตวิทยุระบบดิจิทัลสามารถให้บริการกระจายเสียงผ่านแพลตฟอร์ม ทางเลือกอื่น 10) มีข้อมูลระดับความนิยมในการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียง ( Rating) 11) มีมาตรการส่งเสริมการประกอบกิจการกระจายเสียงและผู้เกี่ยวข้องให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืน 12) มีความคืบหน้าในการขับเคลื่อนมาตรการส่งเสริมการประกอบกิจการกระจายเสียงได้ตาม เป้าหมาย 13) ผู้ประกอบกิจการได้รับการส่งเสริมตามที่ปรากฏในแผนการจัดให้มีบริการกระจายเสียงและ บริการโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมตามยุทธศาสตร์ที่ 3 ตัวชี้วัด 1) มีการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ให้กับผู้ประกอบกิจการทุกประเภทตามสัดส่วนที่ กฎหมายกำหนดอย่างเป็นธรรม 2) มีการอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับกิจการกระจายเสียงในระบบดิจิทัล 3) ผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงระบบแอนะล็อกต้องเป็นผู้รับใบอนุญาตตามกฎหมาย กำหนดเท่านั้น 4) มีการตรวจสอบและกากับดูแลการส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงให้เป็นไปตามมาตรฐาน ที่กาหนด 5) สถิติการรบกวนการใช้คลื่นความถี่ที่เข้าข่ายกระทบกิจการการบินลดลง 6) มีผู้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการโครงข่ายวิทยุระบบดิจิทัล 7) มีผู้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการวิทยุระบบดิจิทัล 8) มีการตรวจสอบและกากับดูแลการส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียง ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ที่กาหนด 9) ผู้รับใบอนุญาตวิทยุระบบดิจิทัลสามารถให้บริการกระจายเสียงผ่านแพลตฟอร์มทางเลือกอื่น 10) ความสาเร็จในการพัฒนาข้อมูลระดับความนิยม ( Rating) ในกิจการวิทยุกระจายเสียง

13 11) มีมาตรการส่งเสริมการประกอบกิจการกระจายเสียงและผู้เกี่ยวข้องให้สามารถแข่งขันได้ ตามกรอบเวลา 12) ความสาเร็จของการดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมการประกอบกิจการกระจายเสียงได้ ตามเป้าหมาย 13) ความสาเร็จในการขับเคลื่อนการส่งเสริมผู้ประกอบการตามแผนการจัดให้มีบริการกระจาย เสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ตามกรอบเวลาที่กำหนด กลยุทธ์ 1) การบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรคลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงอย่าง มีประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม 2) การยกระดับวิทยุกระจายเสียงระบบแอนะล็อกสู่มาตรฐานสากล 3) การเพิ่มทางเลือกการให้บริการกระจายเสียงสู่วิทยุดิจิทัลและแพลตฟอร์มออนไลน์อื่น 4) การส่งเสริมอุตสาหกรรมกระจายเสียงให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืน แนวทางการดำเนินงาน 1) ศึกษาวิเคราะห์แนวทางการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในกิจการในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อการตอบ มิติที่หลากหลายทางสังคมมากขึ้น 2) ประเมินความคุ้มค่าและผลกระทบของทางเลือกการจัดสรรทรัพยากรในกิจการ เพื่อการตอบ มิติทางสังคมอย่างเหมาะสม 3) สร้างความเข้าใจกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องถึงเหตุผล ความจำเป็น ความเหมาะสม ของทางเลือกการจัดสรรทรัพยากรในกิจการ 4) ทำการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ AM และ FM 5) ดำเนินกระบวนการประมูลคลื่นความถี่ และการให้ใบอนุญาตวิทยุระบบแอนะล็อกเพิ่มเติม 6) สารวจความต้องการใช้งานคลื่นความถี่ AM และ FM และทบทวนแผนความถี่วิทยุและ ประกาศทางเทคนิคที่เกี่ยวข้อง 7) มีการสื่อสาร Policy Statement ที่สาคัญต่อสาธารณะ 8) ออกมาตรการสนับสนุนเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงสามารถเข้าสู่ตลาดได้ 9) มีการเก็บสถิติการรบกวนการใช้คลื่นความถี่ที่เข้าข่ายกระทบกิจการวิทยุการบิน 10) วิเคราะห์หาแนวทางที่เหมาะสมในการเปิดให้มีการให้ใบอนุญาตวิทยุระบบดิจิทัล จากผล การศึกษาความเป็นไปได้ของที่ปรึกษา 11) จัดทำแผนความถี่วิทยุระบบดิจิทัล รวมถึงหลักเกณฑ์การอนุญาต และเทคนิคที่เกี่ยวข้อง 12) มีการสื่อสาร Policy Statement ที่สาคัญให้ต่อสาธารณะ 13) มีการเตรียมการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่วิทยุระบบดิจิทัล 14) ดำเนินกระบวนการประมูลคลื่นความถี่ และการให้ใบอนุญาต 15) การพัฒนาข้อมูลระดับความนิยม ( Rating) ในกิจการวิทยุกระจายเสียง 16) การพัฒนามาตรการสร้างแรงจูงใจในการผลิตเนื้อหาสำหรับการกระจายเสียงผ่าน แพลตฟอร์มทางเลือกอื่น 17) การสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในบทบาทของผู้ประกอบการแต่ละประเภท

14 18) การพัฒนาความสามารถและทักษะผู้ประกอบการให้สามารถแสดงบทบาทที่พึงคาดหวัง ของตนได้อย่างเหมาะสม 19) การจัดทำมาตรการส่งเสริมการประกอบกิจการกระจายเสียง 20) การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยแนวทางการพัฒนาทิศทางอุตสาหกรรมกระจายเสียงให้เหมาะสม กับบริบทใหม่ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนากิจการโทรทัศน์ของประเทศไทยให้เข้าสู่มาตรฐานสากล มีพลวัตสอดคล้องกับ บริบทดิจิทัล การพัฒนากิจการโทรทัศน์ของประเทศไทยให้มีพลวัตสอดคล้องกับบริบทดิจิทัลอย่างยั่งยืน มีการกำกับดูแลบนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยคานึงถึงการใช้ทรัพยากรในกิจการโทรทัศน์อย่างมี ประสิทธิภาพ และยกระดับการผลิตเนื้อหา เทคโนโลยี ตลอดจนคุณภาพการให้บริการในกิจการโทรทัศน์ ให้เป็นมาตรฐานสากล วัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรในกิจการโทรทัศน์อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ที่หลากหลาย ทั่วถึง และเป็นธรรม 2) เพื่อปรับกระบวนการกากับดูแลให้สอดคล้องกับระบบนิเวศของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป 3) เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรทัศน์ให้สามารถผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ แข่งขันได้ในตลาดสากล 4) เพื่อยกระดับมาตรฐานกิจการโทรทัศน์ให้เทียบเคียงระดับสากล เป้าหมายของยุทธศาสตร์ 1) ผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นธรรม 2) มีผลการทดลองเทคโนโลยีทางเลือกในกิจการโทรทัศน์บนแพลตฟอร์มทางเลือกอื่น 3) มีการให้บริการโทรทัศน์รูปแบบใหม่ผ่านแพลตฟอร์มทางเลือกอื่น 4) มีฉากทัศน์ที่แสดงถึงความเชื่อมโยงของการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ การอนุญาต และ กำกับดูแลกิจการโทรทัศน์ในอนาคต 5) กฎหมายแม่บทมีความสอดคล้องกับสภาวการณ์ของการประกอบกิจการกระจายเสียงและ โทรทัศน์ในอนาคต 6) เกิดผลผลิตด้านเนื้อหาที่สะท้อนความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ ไทยและต่างประเทศ 7) มีมาตรการสนับสนุนเนื้อหาให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล 8) กิจการโทรทัศน์ภายใต้บริบทดิจิทัล มีมาตรฐานเทียบเคียงระดับสากล ทั้งในเชิงเทคโนโลยี คุณภาพเนื้อหา และจริยธรรมของผู้ประกอบกิจการและผู้ประกอบวิชาชีพ 9) ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเคเบิลและดาวเทียมสามารถพัฒนาทางเลือกในการปรับตัวสู่ดิจิทัล

15 ตัวชี้วัด 1) มีการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในกิจการโทรทัศน์โดยจัดให้มีทีวีชุมชนต้นแบบ 2) มีการใช้ประโยชน์ของหมายเลขช่องของโครงข่ายที่ไม่ใช้คลื่นในส่วนที่ว่างอยู่ให้เกิด ประโยชน์สูงสุด 3) มีรายงานผลการทดลองเทคโนโลยีทางเลือกและผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการนา เทคโนโลยีทางเลือกไปใช้ในการประกอบกิจการบนแพลตฟอร์มทางเลือกอื่น 4) มีผลสรุปชัดเจนถึงการทบทวนกฎเกณฑ์หลักที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ทรัพยากร ในกิจการเพื่อความมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม 5) ความสำเร็จของการมีฉากทัศน์ที่แสดงถึงความเชื่อมโยงของการจัดสรรทรัพยากร คลื่นความถี่ การอนุญาต และกากับดูแลกิจการโทรทัศน์ในอนาคต 6) การเสนอปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับบริบทดิจิทัลในกิจการโทรทัศน์ ต่อหน่วยงานภายนอกที่มีหน้าที่ขับเคลื่อนการปรับปรุงกฎหมาย 7) มีความร่วมมือด้านเนื้อหาระหว่างผู้ประกอบการในกิจการโทรทัศน์ไทยและต่างประเทศ 8) ผู้ประกอบการในกิจการโทรทัศน์ไทยได้รับการสนับสนุนตามมาตรการเกี่ยวกับการ สนับสนุนเนื้อหา 9) ผู้ประกอบการได้รับการสนับสนุนการผลิตและการเผยแพร่เนื้อหาที่มีคุณภาพตามมาตรการ ส่งเสริมการปรับตัวสู่ดิจิทัลในรูปแบบใด ๆ 10) การเพิ่มขึ้นของจานวนผู้ประกอบการโทรทัศน์ที่สามารถผลิตเนื้อหาเผยแพร่ผ่าน global platform 11) มีช่องทางการเข้าถึงกิจการโทรทัศน์ (ภาคพื้นดิน) บนแพลตฟอร์มดิจิทัล 12) มีมาตรการในการกาหนดให้อุปกรณ์ Connected TV หรืออุปกรณ์อื่นในประเทศไทย มีการติดตั้งช่องทางการเข้าถึงกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินบนแพลตฟอร์มดิจิทัล 13) ผู้ประกอบการผ่านการประเมินในระบบการสะสมเครดิตเชิงสังคมจากเนื้อหา ( Social Credit ) ตามเป้าหมายที่กาหนด 14) ผู้ประกอบการเคเบิลและดาวเทียมได้รับการพัฒนาให้สามารถปรับตัวสู่ดิจิทัล กลยุทธ์ 1) การบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในกิจการโทรทัศน์อย่างมีประสิทธิภาพ 2) การยกระดับกระบวนการกำกับดูแลตามพลวัตบริบทดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ 3) การเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทยสู่ระดับสากล 4) การยกระดับมาตรฐานกิจการโทรทัศน์สู่ระดับสากล

16 แนวทางการดำเนินงาน 1) ศึกษาวิเคราะห์แนวทางการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในกิจการในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อการตอบ มิติที่หลากหลายทางสังคมมากขึ้น 2) ประเมินความคุ้มค่าและผลกระทบของทางเลือกการจัดสรรทรัพยากรในกิจการเพื่อการตอบ มิติทางสังคมอย่างเหมาะสม 3) สร้างความเข้าใจกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องถึงเหตุผล ความจำเป็น ความเหมาะสม ของทางเลือกการจัดสรรทรัพยากรในกิจการ 4) ติดตาม วิเคราะห์ สรุปผลการทดลองการใช้เทคโนโลยีทางเลือกในกิจการโทรทัศน์ บนแพลตฟอร์มทางเลือกอื่น 5) การศึกษาวิจัยเพื่อแสวงหาฉากทัศน์ที่เหมาะสมสาหรับอนาคตกิจการโทรทัศน์ไทย 6) การทบทวนปรับปรุงกฎระเบียบการกากับดูแลที่เอื้อต่อการสร้างความเท่าเทียมในการ แข่งขันข้ามแพลตฟอร์ม 7) การศึกษาแนวทางและกลไกการกำกับดูแลแพลตฟอร์มผ่านระบบอินเทอร์เน็ต 8) การสื่อสารสร้างความเข้าใจร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย 9) การทบทวนปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรทัศน์ให้ผลิต เนื้อหาที่มีคุณภาพ แข่งขันได้ 10) การพัฒนามาตรการสนับสนุนเนื้อหาให้แข่งขันได้ในระดับสากล 11) ผลักดันให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนการผลิตเนื้อหาระหว่างผู้ผลิตทั้งในและต่างประเทศ อย่างสม่ำเสมอ เช่น จัดเทศกาลทุก 2 – 3 ปี 12) การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวก ( Ease of doing business) 13) สร้างความร่วมมือกับภาคส่วนในอุตสาหกรรมเพื่อร่วมผลักดันการพัฒนาช่องทาง ( Portal) การเข้าถึงบริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินบนแพลตฟอร์มดิจิทัล 14) มีมาตรการในการกำหนดให้อุปกรณ์ Connected TV หรืออุปกรณ์อื่นในประเทศไทยมีการ ติดตั้งช่องทางการเข้าถึงกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินบนแพลตฟอร์มดิจิทัล 15) สร้างรูปแบบของการบริหารจัดการและแบ่งบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนร่วมกับภาคอุตสาหกรรม 16) ยกระดับกลไกการตรวจสอบคุณภาพเนื้อหาบนแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ( cross platform monitoring) และสร้างระบบการสะสมเครดิตเชิงสังคมจากเนื้อหา ( social credit) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมและกากับดูแลด้านเนื้อหา การคุ้มครองผู้บริโภค และการส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพ เพื่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ในโลกดิจิทัล อย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมและกากับดูแลด้านเนื้อหาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยี กำกับดูแลโดยมุ่งเน้นความมีประสิทธิภาพในเชิงรุก เหมาะสมต่อสภาวการณ์ บนพื้นฐานข้อมูลเชิงประจักษ์

17 ส่งเสริมการจัดให้มีบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึง และบริการเพื่อสังคม รวมถึง ส่งเสริมให้มีเนื้อหาที่มีคุณภาพ มีความหลากหลายในมิติทางสังคม คุ้มครองผู้บริโภคมิให้ถูกเอาเปรียบจาก ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ตลอดถึงส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารในโลกดิจิทัลอย่างเท่าเทียม วัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้การกำกับดูแลด้านเนื้อหามีประสิทธิภาพในเชิงรุก เหมาะสมต่อสภาวการณ์บน พื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) เพื่อส่งเสริมการจัดให้มีบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึง และ บริการเพื่อสังคม รวมถึงการมีเนื้อหาที่มีคุณภาพ มีความหลากหลายในมิติทางสังคม 3) เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคมิให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ 4) เพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์จากข้อมูล ข่าวสารอย่างเท่าเทียม เป้าหมายของยุทธศาสตร์ 1) มีระบบการติดตาม ตรวจสอบ เนื้อหาของกิจการกระจายเสียงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ 2) มีระบบการตรวจสอบเนื้อหาของกิจการโทรทัศน์ที่พร้อมใช้งาน 3) มีระบบการสะสมเครดิตเชิงสังคมจากเนื้อหา ( Social Credit) ในกิจการโทรทัศน์เพื่อ ส่งเสริมเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม 4) มีกลไกการติดตามและบริหารจัดการการนำเสนอเนื้อหาเชิงประเด็น ( Issue-based) หรือ ตามบริบท ( Event-based) ที่ส่งผลกระทบกว้างขวางทางสังคม 5) มีองค์กรวิชาชีพที่ให้ความร่วมมือกับ กสทช. ในการกำกับดูแลและตรวจสอบการทาหน้าที่ สื่อขององค์กรสมาชิก ที่เป็นระบบ เป็นที่รับรู้ และมีประสิทธิภาพ 6) มีแนวทางปฏิบัติสาหรับผู้รับใบอนุญาตบนพื้นฐานของกฎหมายและมาตรฐานทางจริยธรรม เพียงพอสาหรับใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการกำกับดูแล 7) มีแผนการจัดให้มีบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อ สังคม ที่นำไปสู่การขับเคลื่อนเพื่อประโยชน์ของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีโอกาสน้อยในสังคม ( Under- served group) และผู้เกี่ยวข้อง 8) มีความคืบหน้าในการขับเคลื่อนแผนการจัดให้มีบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์ พื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ได้ตามเป้าหมายของแผน ภายใต้กรอบเวลาที่กำหนด 9) มีมาตรการส่งเสริมเนื้อที่มีคุณภาพ มีความหลากหลายในมิติทางสังคม 10) ผู้ใช้บริการได้รับบริการอย่างเป็นธรรม ภายใต้บริบทของการให้บริการในลักษณะหลอมรวม ( Converged Services) 11) มีการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

18 12) มีการส่งเสริมการรวมกลุ่ม และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเป็นเครือข่ายผู้บริโภค ผู้ชม - ผู้ฟังที่เข้มแข็งอย่างเป็นระบบ 13) มีการพัฒนากลไกความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริมและคุ้มครองผู้บริโภค อย่างเป็นระบบ 14) ประชาชนสามารถเข้าถึง ใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารอย่างรู้เท่าทัน และมีสมรรถนะด้าน ดิจิทัล ( Digital Competency) 15) คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส สามารถเข้าถึง รับรู้ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารอย่าง เท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป ตัวชี้วัด 1) ความสาเร็จของการจัดให้มีระบบติดตามและตรวจสอบ การออกอากาศเนื้อหาของกิจการ กระจายเสียงครอบคลุมทั่วประเทศ 2) ความสาเร็จของการจัดให้มีระบบการสะสมเครดิตเชิงสังคมจากเนื้อหา ( Social Credit) ในกิจการโทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม 3) อัตราการตอบสนองที่ทันต่อสถานการณ์ขององค์กรกำกับดูแลที่ไม่ต่ากว่าร้อยละ 75 ของกรณีทั้งหมดที่มีผลกระทบอย่างกว้างขวางทางสังคม ซึ่งเกิดจากการนำเสนอเนื้อหาเชิงประเด็น ( Issue-based) หรือตามบริบท ( Event-based) ของผู้ประกอบการ 4) มีองค์กรวิชาชีพที่ให้ความร่วมมือกับ กสทช. ในการกากับดูแลและตรวจสอบการทาหน้าที่ สื่อขององค์กรสมาชิก ที่เป็นระบบ เป็นที่รับรู้ และมีประสิทธิภาพ 5) มีแนวทางปฏิบัติสาหรับผู้รับใบอนุญาตบนพื้นฐานของกฎหมายและมาตรฐานทางจริยธรรม เพียงพอสาหรับใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการกำกับดูแล 6) ความสาเร็จของการจัดให้มีแผนการจัดให้มีบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐาน โดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม 7) การบรรลุแผนการจัดให้มีบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึงและ บริการเพื่อสังคม ได้ตามเป้าหมายภายได้กรอบเวลาที่กำหนด (ปี 2568) 8) ความสาเร็จของการจัดให้มีมาตรการส่งเสริมเนื้อหาที่มีคุณภาพ มีความหลากหลายในมิติ ทางสังคม 9) การเพิ่มขึ้นของระดับความเป็นธรรมจากการรับบริการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ซึ่งมาจาก ผลสารวจภาคประชาชนที่ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 เมื่อจบแผน 10) สถิติจานวนเรื่องร้องเรียนว่าด้วยสัญญาการให้บริการที่เอาเปรียบผู้บริโภคมีจานวนลดลง (สัญญาที่ไม่เป็นธรรม ไม่โปร่งใส หรือเจตนาที่จะไม่สื่อสารให้ผู้บริโภคทราบอย่างชัดเจน ) 11) สถิติของระยะเวลาแก้ปัญหาและจัดการเรื่องร้องเรียนโดยเฉลี่ยที่ลดลงตลอดระยะเวลา ที่เหลือของแผนแม่บทฯ 12) มีผลผลิตจากการรวมกลุ่มและการสร้างเครือข่ายผู้บริโภค ผู้ชม - ผู้ฟังที่ชัดเจนเป็นระบบ (มีฐานข้อมูลสมาชิก ข้อมูลบทบาทและความสัมพันธ์ของสมาชิกเครือข่ายทั้งภายในกลุ่มและภายนอกกลุ่ม รวมถึงกับสานักงาน กสทช.) และมีระดับการมีส่วนร่วมไม่น้อยกว่าระดับ 3 ตามหลักการการมีส่วนร่วมของ International Association for Public Participation (IAP)

19 13) มีผลผลิตที่ชัดเจนที่เกิดจากการพัฒนากลไกความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริม และคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเป็นระบบ 14) ผลการสารวจประชาชนในการเข้าถึง รับรู้ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารจากผู้รับใบอนุญาต ประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ประเภทต่าง ๆ อย่างรู้เท่าทัน ที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 15) ผลการสารวจประชาชนในการมีสมรรถนะด้านดิจิทัล ( Digital Competency) ที่ไม่ต่ากว่า ร้อยละ 60 16) ผลการสารวจคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ในการเข้าถึง รับรู้ และใช้ประโยชน์จาก ข้อมูลข่าวสารอย่างเท่าเทียมบุคคลทั่วไปที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 กลยุทธ์ 1) การพัฒนากลไกการกำกับดูแลสื่อยุคดิจิทัลในเชิงรุก 2) การขับเคลื่อนบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อ สังคม รวมถึงเนื้อหาที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์ความหลากหลายในมิติทางสังคม 3) การคุ้มครองผู้บริโภคในนิเวศสื่อใหม่ผ่านกลไกผู้เกี่ยวข้อง 360 องศา 4) การบริหารจัดการการเข้าถึง รับรู้ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งการยกระดับ สมรรถนะด้านดิจิทัลของทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียม แนวทางการดำเนินงาน 1) ออกแบบและจัดทำแผนการจัดหาติดตั้งอุปกรณ์การตรวจสอบเนื้อหากิจการกระจายเสียง พร้อมทั้งจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบเนื้อหาของกิจการกระจายเสียง 2) ศึกษาและพัฒนาระบบการสะสมเครดิตเชิงสังคมจากเนื้อหา ( Social Credit) ในกิจการ โทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ควบคู่กับการสร้างความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องในการ ดำเนินการ 3) จัดเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ อุปกรณ์เครื่องมือ บุคลากร ในการติดตามการนาเสนอ เนื้อหาเชิงประเด็น ( Issue-based) หรือตามบริบท ( Event-based) ที่ส่งผลกระทบกว้างขวางทางสังคม พร้อมจัดทำข้อเสนอ 4) จัดให้มีทุนและกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือขององค์กรวิชาชีพในการผลักดันกลไกการกากับ ดูแลกันเองที่เป็นระบบ เป็นที่รับรู้ และมีประสิทธิภาพ 5) พัฒนาแนวปฏิบัติสำหรับผู้รับใบอนุญาตบนพื้นฐานของกฎหมายและและมาตรฐานทาง จริยธรรม ( Code of Conduct) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับดูแล 6) สนับสนุนบริการชุมชน/ท้องถิ่นผ่านช่องทางที่หลากหลาย ช่องทางวิทยุ – โทรทัศน์ ออนไลน์ รวมถึงโครงข่ายในการให้บริการ 7) ส่งเสริมการผลิตรายการที่มีประโยชน์ ตรงตามความต้องการของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีโอกาสน้อยในสังคม เช่น คนพิการ กลุ่มเยาวชน กลุ่มชาติพันธุ์ ฯลฯ 8) สร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการผลิตรายการผ่านช่องทางที่หลากหลาย

20 9) ส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการผลิตเนื้อหารายการที่มีคุณภาพและหลากหลายในมิติ ทางสังคม 10) ออกแบบมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้การกำกับดูแลสัญญาการให้บริการในลักษณะหลอมรวม เป็นไปตามมาตรฐาน เป็นธรรมกับผู้ใช้บริการ และมีการเก็บข้อมูลสถิติที่จาเป็น 11) ให้ความสาคัญกับการกากับการให้บริการด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะบริการควบ เช่น สัญญา ราคา คุณภาพ 12) กระชับเวลาการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนและสื่อสารสร้างความเข้าใจถึงกระบวนการ จัดการเรื่องร้องเรียนและลักษณะของเรื่องร้องเรียนที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาที่รวดเร็ว 13) ออกแบบกระบวนการสร้างเครือข่าย รวมถึงกลไกพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ อย่างเป็นระบบ 14) สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริมและคุ้มครองผู้บริโภค ที่มีการกาหนด รูปแบบ แนวทาง และมีการทำงานร่วมกัน 15) ทำการสารวจระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการกระจายเสียงและโทรทัศน์ในมิติ ต่าง ๆ รวมถึงมิติความเป็นธรรมจากการใช้บริการ เพื่อการปรับปรุง 16) ปรับปรุงแผนการจัดให้มีบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึงและ บริการเพื่อสังคม ให้มีเนื้อหาครอบคลุมการเข้าถึง รับรู้ ใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารอย่างรู้เท่าทันของประชาชน ตามเป้าหมายทุกภาคส่วน รวมถึงจัดให้มีการเสริมสร้างสมรรถนะด้านดิจิทัล ( Digital Competency) ของ ประชาชน 17) สร้างพันธมิตรกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมมือกันดาเนินมาตรการตามแผนการจัดให้ มีบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม 18) สนับสนุนการให้ทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาการเข้าถึง รับรู้ และใช้ประโยชน์ของคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผ่านกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การให้บริการและการกากับดูแลที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล การให้บริการและการกากับดูแลที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล มีการใช้ระบบการอนุญาตบนพื้นฐานของ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการกำกับดูแลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ 2) เพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ให้มี ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 3) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรให้รองรับการปฏิบัติงานที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล

21 เป้าหมายของยุทธศาสตร์ 1) มีระบบการอนุญาตกระจายเสียงและโทรทัศน์ที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ 2) มีฐานข้อมูลกลางด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ในรูปแบบดิจิทัลที่ถูกต้อง ทันสมัย เพื่อใช้ประโยชน์ในการอนุญาตประกอบกิจการและการกำกับดูแล 3) บุคลากรมีความสามารถในการปรับตัวสู่ระบบการให้บริการและการกำกับดูแลที่มุ่งสู่ ความเป็นดิจิทัล ตัวชี้วัด 1) ความสาเร็จในการพัฒนาระบบการอนุญาตด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2) มีฐานข้อมูลกลางที่พร้อมให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าถึงในรูปแบบออนไลน์เพื่อใช้ประโยชน์ในการ กำกับดูแลร่วมกัน 3) ระบบฐานข้อมูลกลางต้องมีองค์ประกอบตามมาตรฐานความถูกต้อง ความปลอดภัย ง่ายต่อ การใช้งาน 4) บุคลากรสามารถปฏิบัติงานภายใต้ระบบการให้บริการและระบบการกำกับดูแลที่มุ่งสู่ ความเป็นดิจิทัลได้ตามเป้าหมาย กลยุทธ์ 1) การพัฒนาการให้บริการสู่ระบบดิจิทัลที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้สะดวก รวดเร็ว 2) การสร้างระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงข้อมูลด้านการอนุญาตและสามารถตรวจสอบสถานะ ของผู้ขอรับใบอนุญาตได้ในรูปแบบดิจิทัล 3) การยกระดับกลไกการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนสู่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 4) การผลักดันให้มีการบูรณาการระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้เป็นระบบเดียว 5) การผลักดันให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานภายใต้ระบบการให้บริการและระบบการกากับ ดูแลที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัลได้ตามเป้าหมาย โดยไม่มีข้อขัดข้องที่ส่งผลกระทบต่องาน แนวทางการดำเนินงาน 1) สำรวจความต้องการของผู้เกี่ยวข้องและผู้ใช้บริการเพื่อนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ ในกระบวนการอนุญาต 2) จัดหาผู้เชี่ยวชาญและทีมงานที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนระบบการอนุญาตไปสู่ความเป็นดิจิทัล 3) มีผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมในการจัดทำฐานข้อมูลกลาง 4) มีแผนการพัฒนาระบบอนุญาตและฐานข้อมูลกลางที่เชื่อมโยงข้อมูลอย่างชัดเจน 5) มีระเบียบสานักงาน กสทช. เพื่อรองรับการใช้งานระบบฐานข้อมูลกลาง และมาตรการรักษา ความปลอดภัย

22 6) ศึกษา วิเคราะห์ กำหนดแนวทาง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้เหมาะสม สอดคล้องกับ แนวทางที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล 7) ส่งเสริมผู้เกี่ยวข้องให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากระบบอนุญาตและฐานข้อมูล ในรูปแบบดิจิทัล ปัจจัยความสาเร็จของแผน ( Critical Success Factors ) 1) การสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับ รวมถึงการแบ่งบทบาทหน้าที่ ในการขับเคลื่อนแผนอย่างเป็นระบบระหว่างผู้เกี่ยวข้อง 2) ความพร้อมของบุคลากร ทรัพยากร อุปกรณ์เครื่องมือ ระบบงานสนับสนุน และการ สนับสนุนที่จาเป็นที่มีประสิทธิภาพ 3 ) ความร่วมมืออย่างเป็นระบบจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากภาคอุตสาหกรรมกระจายเสียง และโทรทัศน์ และหน่วยงานภาครัฐอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น จากกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ / ผู้ประกอบการ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการปรับปรุงแก้ไข หรือบังคับใช้กฎหมาย

23 ส่วนที่ 4 การขับเคลื่อนและติดตามและประเมินผล แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 ( พ.ศ. 2563 – 2568 ) (ฉบับปรับปรุง) เพื่อให้การนำแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2563 – 2568 ) (ฉบับปรับปรุง) ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถติดตามและประเมินผล ความสาเร็จได้ จึงกำหนดแนวทางปฏิบัติและการประเมินผลไว้ ดังนี้ 1. ให้ กสทช. นำแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ไปสู่การปฏิบัติ โดยให้มีการ จัดทำแผนปฏิบัติการของสานักงาน กสทช. 2. ให้ กสทช. ติดตามและประเมินผลการดาเนินงานตามแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์

แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 ( พ . ศ . 2563 - 2568 ) ฉบับปรับปรุง

แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 ( พ . ศ .2563 - 2568 ) ( ฉบับปรับปรุง ) 1. จัดสรรทรัพยากรการสื่อสารอย่างโปร่งใส เป็นธรรม ครอบคลุมในทุกมิติ 2. กำกับดูแลให้มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานการแข่งขันเสรี เป็นธรรม เพื่อความมั่นคง และประโยชน์สาธารณะ 3. คุ้มครองประชาชนให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพ 4 . ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการสื่อสารและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ หลากหลายและมีคุณภาพอย่างเท่าเทียม 5. ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมกระจายเสียงและโทรทัศน์สู่ระบบนิเวศ ทางการสื่อสารดิจิทัลที่ยั่งยืน ( ใหม่ ) วิสัยทัศน์ พันธกิจ 2 กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ยกระดับสู่มาตรฐานสากล เพื่อสร้างสรรค์สังคม และเศรษฐกิจให้ยั่งยืน

เป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์ 1. การพัฒนากิจการกระจายเสียงของประเทศไทยให้เข้าสู่มาตรฐานสากล มีพลวัตสอดคล้องกับบริบทดิจิทัล 2. การพัฒนากิจการโทรทัศน์ของประเทศไทยให้เข้าสู่มาตรฐานสากล มีพลวัตสอดคล้องกับบริบทดิจิทัล 3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมและกากับดูแลด้านเนื้อหา การคุ้มครองผู้บริโภค และการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ เพื่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารของประชาชนในโลกดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ 4. การให้บริการและการกากับดูแลที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล 3 1. ผู้ประสงค์จะประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ได้รับการพิจารณาอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ หรืออนุญาต ประกอบกิจการอย่างโปร่งใส เป็นธรรม 2 . ประชาชนได้รับประโยชน์จากการใช้คลื่นความถี่และการประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ อย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึง เป็นธรรม 3 . ประชาชนได้รับการคุ้มครองมิให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 4 . ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์สามารถแข่งขันอย่างเสรี เป็นธรรม เนื้อหามีคุณภาพ หลากหลาย เชื่อถือได้ และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย 5 . ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารและได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึง เท่าเทียม 6 . ผู้ประกอบกิจการ ผู้ผลิตรายการ และผู้ประกอบวิชาชีพในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ได้รับการส่งเสริมพัฒนา คุณภาพ มีมาตรฐานทางจริยธรรม 7 . อุตสาหกรรมกระจายเสียงและโทรทัศน์ได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานสากล ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และสร้างสรรค์สังคม 8. อุตสาหกรรมกระจายเสียงและโทรทัศน์ได้รับการขับเคลื่อนสู่ระบบนิเวศทางการสื่อสารดิจิทัลที่ยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนากิจการกระจายเสียงของประเทศไทย ให้เข้าสู่มาตรฐานสากล มีพลวัตสอดคล้องกับบริบทดิจิทัล การพัฒนากิจการกระจายเสียงของประเทศไทยให้มีพลวัตสอดคล้องกับบริบทดิจิทัล อย่างยั่งยืน มีการกากับดูแลบนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยคานึงถึงการใช้ทรัพยากร ในกิจการกระจายเสียงอย่างมีประสิทธิภาพ และยกระดับกระบวนการอนุญาต การผลิต เนื้อหา เทคโนโลยี ตลอดจนคุณภาพการให้บริการในกิจการกระจายเสียงให้เป็น มาตรฐานสากล 4

เป้าหมาย 1. การประกอบกิจการวิทยุกระจาย เสียงในระบบแอนะล็อกจะต้องได้รับ ใบอนุญาต 2. การส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียง ระบบแอนะล็อกต้องสอดคล้องกับ มาตรฐานทางเทคนิค โดยคานึงถึง การรบกวนและประสิทธิภาพการใช้ คลื่นความถี่ 3. การรบกวนการใช้คลื่นความถี่ต่อ กิจการวิทยุการบินลดลง เป้าหมาย 1. มีผู้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการ โครงข่ายวิทยุระบบดิจิทัล 2. มีผู้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการ วิทยุระบบดิจิทัล 3 . การส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียง ระบบดิจิทัลต้องสอดคล้องกับ มาตรฐานทางเทคนิค โดยคานึง ถึงการรบกวน และประสิทธิภาพ การใช้คลื่นความถี่ 4 . ส่งเสริมให้ผู้รับใบอนุญาตวิทยุ ระบบดิจิทัลสามารถให้บริการ กระจายเสียงผ่านแพลตฟอร์ม ทางเลือกอื่น เป้าหมาย 1. มีข้อมูลระดับความนิยมในการรับฟัง รายการวิทยุกระจายเสียง ( Rating) 2. มีมาตรการส่งเสริมการประกอบ กิจการกระจายเสียงและผู้เกี่ยวข้อง ให้มีคุณภาพ อย่างยั่งยืน 3. มีความคืบหน้าในการขับเคลื่อน มาตรการส่งเสริมการประกอบกิจการ กระจายเสียงได้ตามเป้าหมาย 4. ผู้ประกอบกิจการได้รับการส่งเสริม ตามที่ปรากฎในแผนการจัดให้มีบริการ กระจายเสียงและบริการโทรทัศน์ พื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ตามยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนากิจการกระจายเสียงของประเทศไทยให้เข้าสู่มาตรฐานสากล มีพลวัตสอดคล้องกับบริบทดิจิทัล วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากร คลื่นความถี่ ในกิจการ กระจายเสียงอย่างมี ประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อยกระดับ วิทยุกระจายเสียง ในระบบแอนะล็อกให้เป็นไป ตามมาตรฐานสากล วัตถุประสงค์ที่ 4 เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม กระจายเสียงให้มีคุณภาพ อย่างยั่งยืน วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ ผู้ประกอบการ ในการให้บริการกระจายเสียง ประเภทอื่น เป้าหมาย 1 ผู้ประสงค์จะประกอบกิจการ กระจายเสียงสามารถเข้าถึงและใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรคลื่นความถี่ ในกิจการกระจายเสียงได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม 2 . มีการบริหารจัดการทรัพยากร คลื่นความถี่ เพื่อให้บริการกระจาย เสียง ด้วยเทคโนโลยีใหม่ เพื่อเพิ่ม ทางเลือกแก่ผู้ประกอบการ 5

เป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ แนวทางการ ดำเนินงาน 1. ผู้ประสงค์จะประกอบกิจการกระจายเสียงสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรคลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม 2 . มีการบริหารจัดการทรัพยากรคลื่นความถี่เพื่อให้บริการกระจายเสียงด้วยเทคโนโลยีใหม่ เพื่อเพิ่มทางเลือกแก่ผู้ประกอบการ การบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรคลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงอย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม 1 . ศึกษาวิเคราะห์แนวทางการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในกิจการในรูปแบบต่างๆ เพื่อการตอบมิติที่หลากหลายทางสังคมมากขึ้น 2. ประเมินความคุ้มค่าและผลกระทบของทางเลือกการจัดสรรทรัพยากรในกิจการ เพื่อการตอบมิติทางสังคมอย่างเหมาะสม 3. สร้างความเข้าใจกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องถึงเหตุผล ความจำเป็น ความเหมาะสม ของทางเลือกการจัดสรรทรัพยากรในกิจการ 4 ทาการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ AM และ FM 5 . ดำเนินกระบวนการประมูลคลื่นความถี่ และการให้ใบอนุญาตวิทยุระบบแอนะล็อกเพิ่มเติม 1. มีการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ให้กับผู้ประกอบกิจการทุกประเภทตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนดอย่างเป็นธรรม 2. มีการอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับกิจการกระจายเสียงในระบบดิจิทัล วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่ ในกิจการกระจายเสียงอย่างมี ประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อปรับกระบวนการกำกับดูแลให้ สอดคล้องกับระบบนิเวศของ อุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป วัตถุประสงค์ที่ 4 เพื่อยกระดับมาตรฐานกิจการ โทรทัศน์ วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรทัศน์ ให้สามารถผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ แข่งขันได้ในตลาดสากล 6 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนากิจการกระจายเสียงของประเทศไทยให้เข้าสู่มาตรฐานสากล มีพลวัตสอดคล้องกับบริบทดิจิทัล

7 ปี 2566 • ศึกษาเพื่อกาหนดสัดส่วนการจัดสรร คลื่นสำหรับผู้ประกอบการประเภทต่างๆ โดยต้องมีการสำรวจความต้องการใช้ งานคลื่นความถี่ FM, AM • ทบทวนปรับปรุงแผนความถี่วิทยุระบบ FM และข้อกาหนดทางเทคนิคที่ เกี่ยวข้อง • ประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ วิทยุกระจายเสียงในระบบ FM ปี 2567 • ดาเนินกระบวนการอนุญาตให้ใช้คลื่น ความถี่วิทยุกระจายเสียงระบบ FM รวมถึงการประมูล • มีมาตรการสนับสนุนเพื่อให้ ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงการใช้งาน คลื่นความถี่ได้ ( ตามมาตรา 51, 52 ) • จัดทำแผนความถี่วิทยุกระจายเสียงใน ระบบดิจิทัล • ประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ วิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิทัล ปี 2568 • อนุญาตโครงข่ายในระบบดิจิทัล • มีผู้รับใบอนุญาตวิทยุกระจายเสียง ในระบบ FM เพิ่มเติม วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงอย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม เป้าหมาย : 1. ผู้ประสงค์จะประกอบกิจการกระจายเสียงสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรคลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม 2 . มีการบริหารจัดการทรัพยากรคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการกระจายเสียงด้วยเทคโนโลยีใหม่ เพื่อเพิ่มทางเลือกแก่ผู้ประกอบการ กลยุทธ์ : การบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรคลื่นความถี่ในกิจการวิทยุกระจายเสียงอย่างมีประสิทธิภาพ Flagships ตามอายุแผนที่เหลือ

เป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ แนวทางการ ดำเนินงาน 1. การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงในระบบแอนะล็อกจะต้องได้รับใบอนุญาต 2. การส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงระบบแอนะล็อกต้องสอดคล้องกับมาตรฐานทางเทคนิค โดยคานึงถึงการรบกวนและ ประสิทธิภาพการใช้คลื่นความถี่ 3 . การรบกวนการใช้คลื่นความถี่ต่อกิจการวิทยุการบินลดลง การยกระดับวิทยุกระจายเสียงระบบแอนะล็อกสู่มาตรฐานสากล 1 . สารวจความต้องการใช้งานคลื่นความถี่ AM และ FM และทบทวนแผนความถี่วิทยุและประกาศทางเทคนิคที่เกี่ยวข้อง 2. มีการสื่อสาร Policy Statement ที่สาคัญต่อสาธารณะ 3. ออกมาตรการสนับสนุนเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงสามารถเข้าสู่ตลาดได้ 4. มีการเก็บสถิติการรบกวนการใช้คลื่นความถี่ที่เข้าข่ายกระทบกิจการวิทยุการบิน 1. ผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงระบบแอนะล็อกต้องเป็นผู้รับใบอนุญาตตามกฎหมายกำหนดเท่านั้น 2. มีการตรวจสอบและกำกับดูแลการส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด 3. สถิติการรบกวนการใช้คลื่นความถี่ที่เข้าข่ายกระทบกิจการการบินลดลง วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากร ( คลื่นความถี่ ) ในกิจการกระจายเสียงอย่างมี ประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ที่ หลากหลาย ทั่วถึง และเป็นธรรม วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อยกระดับวิทยุกระจายเสียงในระบบ แอนะล็อกให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล วัตถุประสงค์ที่ 4 เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม กระจายเสียง ( ให้เกิดความยั่งยืน ) วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ประกอบการ ในการให้บริการกระจายเสียงประเภทอื่น 8 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนากิจการกระจายเสียงของประเทศไทยให้เข้าสู่มาตรฐานสากล มีพลวัตสอดคล้องกับบริบทดิจิทัล

9 ปี 2566 • กาหนดนโยบาย FM • สื่อสาร Policy Statement ที่สาคัญ เกี่ยวกับกิจการกระจายเสียง • ทบทวนปรับปรุงประกาศ ว่าด้วย / แผนความถี่วิทยุ และประกาศทางเทคนิคที่ เกี่ยวข้อง / หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาต พร้อมทั้งจัดทา ประกาศให้มีผลใช้บังคับภายใน ธ . ค . 2566 • กรณี FM AM สำรวจความต้องการใช้งาน คลื่นความถี่ • ประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ ปี 2567 • มีการเปิดให้มีการขออนุญาตและให้ใบ อนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ระบบแอนะล็อกที่เต็มรูปแบบเพิ่มเติม • ดาเนินกระบวนการให้ใบอนุญาต รวมถึง การประมูล  อนุญาตใช้คลื่น  อนุญาตประกอบกิจการ  อนุญาตวิทยุคมนาคม • มีมาตรการสนับสนุนเพื่อพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการให้สามารถเข้าสู่ตลาดได้ ปี 256 8 • มีผู้รับใบอนุญาตวิทยุกระจายเสียง ระบบแอนะล็อกเพิ่มเติม • ผู้รับใบอนุญาตวิทยุกระจายเสียง ทุกรายสามารถประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียงตามมาตรฐาน เทคนิคที่เป็นสากล • สถิติการรบกวนการใช้คลื่นความถี่ที่ เข้าข่ายกระทบกิจการการบินลดลง วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อยกระดับวิทยุกระจายเสียงในระบบแอนะล็อกให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เป้าหมาย : 1. การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงจะต้องได้รับใบอนุญาตและสอดคล้องกับมาตรฐานเทคนิค 2. มีการออกใบอนุญาตวิทยุกระจายเสียงระบบแอนะล็อกเพิ่มเติม โดยคานึงถึงการรบกวนและประสิทธิภาพการใช้คลื่นความถี่ 3. การรบกวนการใช้คลื่นความถี่ต่อกิจการวิทยุการบินลดลง กลยุทธ์ : การยกระดับวิทยุกระจายเสียงระบบแอนะล็อกสู่มาตรฐานสากล Flagships ตามอายุแผนที่เหลือ

เป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ แนวทางการ ดาเนินงาน 10 1. มีผู้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการโครงข่ายวิทยุระบบดิจิทัล 2. มีผู้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการวิทยุระบบดิจิทัล 3 . การส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงระบบดิจิทัลต้องสอดคล้อง กับมาตรฐานทางเทคนิค โดยคานึงถึงการรบกวนและ ประสิทธิภาพการใช้คลื่นความถี่ 4 . ส่งเสริมให้ผู้รับใบอนุญาตวิทยุระบบดิจิทัลสามารถให้บริการ กระจายเสียงผ่านแพลตฟอร์มทางเลือกอื่น 1. มีผู้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการโครงข่ายวิทยุระบบดิจิทัล 2. มีผู้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการวิทยุระบบดิจิทัล 3. มีการตรวจสอบและกำกับดูแลการส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียง ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด 4. ผู้รับใบอนุญาตวิทยุระบบดิจิทัลสามารถให้บริการกระจายเสียง ผ่านแพลตฟอร์มทางเลือกอื่น 1 . วิเคราะห์หาแนวทางที่เหมาะสมในการเปิดให้มีการให้ใบอนุญาต วิทยุระบบดิจิทัล จากผลการศึกษาความเป็นไปได้ของที่ปรึกษา 2. จัดทาแผนความถี่วิทยุระบบดิจิทัล รวมถึงหลักเกณฑ์การอนุญาต และเทคนิคที่เกี่ยวข้อง 3. มีการสื่อสาร Policy Statement ที่สาคัญให้ต่อสาธารณะ 4. มีการเตรียมการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่วิทยุระบบดิจิทัล 5. ดำเนินกระบวนการประมูลคลื่นความถี่ และการให้ใบอนุญาต การเพิ่มทางเลือกการให้บริการกระจายเสียงสู่วิทยุดิจิทัล และแพลตฟอร์มออนไลน์อื่น วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากร ( คลื่นความถี่ ) ในกิจการกระจายเสียงอย่างมี ประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ที่ หลากหลาย ทั่วถึง และเป็นธรรม วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อยกระดับวิทยุกระจายเสียงในระบบ แอนะล็อกให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล วัตถุประสงค์ที่ 4 เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม กระจายเสียง ( ให้เกิดความยั่งยืน ) วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ ผู้ประกอบกิจการในการ ให้บริการกระจายเสียงประเภทอื่น ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนากิจการกระจายเสียงของประเทศไทยให้เข้าสู่มาตรฐานสากล มีพลวัตสอดคล้องกับบริบทดิจิทัล

11 ปี 2566 • กาหนดนโยบาย Digital Radio (DR) • วิเคราะห์และนาผลการศึกษาของที่ปรึกษา เกี่ยวกับ DR ไปใช้ประโยชน์ พร้อมทั้งจัดทำ ประกาศให้มีผลใช้บังคับ • สื่อสาร Policy Statement ที่สาคัญ เกี่ยวกับกิจการกระจายเสียง • จัดทำแผนงานการส่งเสริมให้ผู้รับใบอนุญาต วิทยุระบบดิจิทัลสามารถให้บริการกระจาย เสียง ผ่านแพลตฟอร์มทางเลือกอื่น ปี 2567 • จัดทาประกาศที่เกี่ยวข้องกับวิทยุดิจิทัล ทางด้านเทคนิคและการอนุญาต / แผนความถี่วิทยุและประกาศ ทางเทคนิคที่เกี่ยวข้อง / หลักเกณฑ์การอนุญาต • ดาเนินมาตรการสนับสนุนเพื่อให้ ผู้ประกอบการสามารถเข้าสู่ตลาดได้ • ประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ • ส่งเสริมและพัฒนาเพื่อรองรับให้ผู้รับ ใบอนุญาตวิทยุระบบดิจิทัลสามารถ ให้บริการกระจายเสียง ผ่านแพลตฟอร์ม ทางเลือกอื่น ปี 2568 • ดาเนินกระบวนการให้ใบอนุญาต ให้ใช้คลื่นและประกอบกิจการ • อนุญาตโครงข่าย • อนุญาตใช้คลื่น • ประกอบกิจการ • มีการให้บริการวิทยุระบบดิจิทัลบน แพลตฟอร์มทางเลือก วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ประกอบการในการให้บริการกระจายเสียงประเภทอื่น เป้าหมาย : ผู้รับใบอนุญาตวิทยุระบบดิจิทัลพร้อมให้บริการควบคู่กับการให้บริการกระจายเสียงผ่านแพลตฟอร์มทางเลือกอื่น ๆ กลยุทธ์ : การวางพื้นฐานสำหรับการให้ใบอนุญาตวิทยุกระจายเสียงระบบดิจิทัล รวมถึง แพลตฟอร์มทางเลือกอื่น Flagships ตามอายุแผนที่เหลือ

เป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ แนวทาง การดาเนินงาน 12 1. มีข้อมูลระดับความนิยมในการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียง ( Rating) 2. มีมาตรการส่งเสริมการประกอบกิจการกระจายเสียงและผู้เกี่ยวข้องให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืน 3. มีความคืบหน้าในการขับเคลื่อนมาตรการส่งเสริมการประกอบกิจการกระจายเสียงได้ตามเป้าหมาย 4. ผู้ประกอบการได้รับการส่งเสริมตามที่ปรากฎในแผนการจัดให้มีบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดย ทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ตามยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมอุตสาหกรรมกระจายเสียงให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืน 1. ความสาเร็จในการพัฒนาข้อมูลระดับความนิยม ( Rating) ในกิจการวิทยุกระจายเสียง 2. มีมาตรการส่งเสริมการประกอบกิจการกระจายเสียงและผู้เกี่ยวข้องให้สามารถแข่งขันได้ตามกรอบเวลา 3 . ความสาเร็จของการดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมการประกอบกิจการกระจายเสียงได้ตามเป้าหมาย 4 . ความสาเร็จในการขับเคลื่อนการส่งเสริมผู้ประกอบการตามแผนการจัดให้มีบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์ พื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ตามกรอบเวลาที่กาหนด 1. การพัฒนาข้อมูลระดับความนิยม ( Rating) ในกิจการวิทยุกระจายเสียง 2. การพัฒนามาตรการสร้างแรงจูงใจในการผลิตเนื้อหาสาหรับการกระจายเสียงผ่านแพลตฟอร์มทางเลือกอื่น 3. การสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในบทบาทของผู้ประกอบการแต่ละประเภท 4. การพัฒนาความสามารถและทักษะผู้ประกอบการให้สามารถแสดงบทบาทที่พึงคาดหวังของตนได้อย่างเหมาะสม 5. การจัดทามาตรการส่งเสริมการประกอบกิจการกระจายเสียง 6 . การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยแนวทางการพัฒนาทิศทางอุตสาหกรรมกระจายเสียงให้เหมาะสมกับบริบทใหม่ วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากร ( คลื่นความถี่ ) ในกิจการกระจายเสียงอย่างมี ประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ที่ หลากหลาย ทั่วถึง และเป็นธรรม วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อยกระดับวิทยุกระจายเสียงในระบบ แอนะล็อกให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล วัตถุประสงค์ที่ 4 เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม กระจายเสียงให้มีคุณภาพ อย่างยั่งยืน วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ประกอบการ ในการให้บริการกระจายเสียงประเภทอื่น ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนากิจการกระจายเสียงของประเทศไทยให้เข้าสู่มาตรฐานสากล มีพลวัตสอดคล้องกับบริบทดิจิทัล

13 ปี 2566 1. ศึกษากระบวนการพัฒนาข้อมูลระดับความ นิยม ( Rating) ในกิจการวิทยุกระจายเสียง และเริ่มขับเคลื่อนตามกระบวนการดังกล่าว 2. ศึกษาออกแบบมาตรการส่งเสริมการประกอบ กิจการกระจายเสียงและผู้เกี่ยวข้องให้สามารถ แข่งขันได้ตามกรอบเวลา 3. สำรวจ ศึกษามาตรการสร้างแรงจูงใจในการ ผลิตเนื้อหาสาหรับการกระจายเสียงผ่าน แพลตฟอร์มทางเลือกอื่นที่เหมาะสม เป็นไปได้ ปี 2567 1. บริหาร ติดตามความคืบหน้า / ปัญหา อุปสรรคในการพัฒนาข้อมูลระดับความนิยม ( Rating) ในกิจการวิทยุกระจายเสียง 2. เริ่มดาเนินการตามมาตรการส่งเสริมการ ประกอบกิจการกระจายเสียงและผู้เกี่ยวข้อง ให้สามารถแข่งขันได้ ปี 2568 1. เผยแพร่ข้อมูลระดับความนิยม ( Rating) ในกิจการวิทยุกระจายเสียงสู่ สาธารณะ 2. ดาเนินมาตรการส่งเสริมการประกอบ กิจการกระจายเสียงและผู้เกี่ยวข้องให้ สามารถแข่งขันได้ อย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์ที่ 4 เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมกระจายเสียงให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืน เป้าหมาย : 1. ความสำเร็จในการพัฒนาข้อมูลระดับความนิยม ( Rating) ในกิจการวิทยุกระจายเสียง 2. มีมาตรการส่งเสริมการประกอบกิจการกระจายเสียงและผู้เกี่ยวข้องให้สามารถแข่งขันได้ตามกรอบเวลา 3 . ความสำเร็จของการดาเนินการตามมาตรการส่งเสริมการประกอบกิจการกระจายเสียง 4 . ความสำเร็จในการขับเคลื่อนการส่งเสริมผู้ประกอบการตามแผนจัดให้มีบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐาน โดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ตามกรอบเวลาที่กาหนด กลยุทธ์ : การส่งเสริมอุตสาหกรรมกระจายเสียงให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืน Flagships ตามอายุแผนที่เหลือ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนากิจการโทรทัศน์ของประเทศไทย ให้เข้าสู่มาตรฐานสากล มีพลวัตสอดคล้องกับบริบทดิจิทัล การพัฒนากิจการโทรทัศน์ของประเทศไทยให้มีพลวัตสอดคล้องกับบริบทดิจิทัลอย่าง ยั่งยืน มีการกากับดูแลบนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยคานึงถึงการใช้ทรัพยากร ในกิจการโทรทัศน์อย่างมีประสิทธิภาพ และยกระดับการผลิตเนื้อหา เทคโนโลยี ตลอดจน คุณภาพการให้บริการในกิจการโทรทัศน์ให้เป็นมาตรฐานสากล 14

15 วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากร ในกิจการโทรทัศน์ อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ที่หลากหลาย ทั่วถึง และเป็นธรรม วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อปรับกระบวนการ กากับดูแลให้สอดคล้อง กับระบบนิเวศ ของอุตสาหกรรม ที่เปลี่ยนแปลงไป วัตถุประสงค์ที่ 4 เพื่อยกระดับมาตรฐาน กิจการโทรทัศน์ ให้เทียบเคียง ระดับสากล เป้าหมาย 1. ผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ในกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นธรรม 2 . มีผลการทดลองเทคโนโลยี ทางเลือกในกิจการโทรทัศน์ บนแพลตฟอร์มทางเลือกอื่น 3. มีการให้บริการโทรทัศน์ รูปแบบใหม่ผ่านแพลตฟอร์ม ทางเลือกอื่น เป้าหมาย 1 . มีฉากทัศน์ที่แสดงถึงความ เชื่อมโยงของการจัดสรร ทรัพยากรคลื่นความถี่ การอนุญาต และกากับดูแล กิจการโทรทัศน์ในอนาคต 2. กฎหมายแม่บทมีความ สอดคล้องกับสภาวการณ์ของ การประกอบกิจการกระจายเสียง และโทรทัศน์ในอนาคต เป้าหมาย 1. กิจการโทรทัศน์ภายใต้บริบท ดิจิทัล มีมาตรฐานเทียบเคียง ระดับสากล ทั้งในเชิงเทคโนโลยี คุณภาพเนื้อหา และจริยธรรม ของผู้ประกอบการและ ผู้ประกอบวิชาชีพ 2. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ เคเบิลและดาวเทียมสามารถ พัฒนาทางเลือกในการปรับตัว สู่ดิจิทัล วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม โทรทัศน์ให้สามารถผลิต เนื้อหาที่มีคุณภาพ แข่งขันได้ในตลาดสากล เป้าหมาย 1. ให้เกิดผลผลิตด้านเนื้อหาที่ สะท้อนความร่วมมือระหว่าง ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม โทรทัศน์ไทยและต่างประเทศ 2 . มีมาตรการสนับสนุนเนื้อหา ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับ สากล ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนากิจการโทรทัศน์ของประเทศไทยให้เข้าสู่มาตรฐานสากล มีพลวัตสอดคล้องกับบริบทดิจิทัล 15

เป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ แนวทางการ ดำเนินงาน การบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในกิจการโทรทัศน์อย่างมีประสิทธิภาพ 1 . ศึกษาวิเคราะห์แนวทางการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในกิจการในรูปแบบต่างๆ เพื่อการตอบมิติที่หลากหลายทางสังคมมากขึ้น 2. ประเมินความคุ้มค่าและผลกระทบของทางเลือกการจัดสรรทรัพยากรในกิจการ เพื่อการตอบมิติทางสังคมอย่างเหมาะสม 3. สร้างความเข้าใจกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องถึงเหตุผล ความจำเป็น ความเหมาะสม ของทางเลือกการจัดสรรทรัพยากรในกิจการ 4. ติดตาม วิเคราะห์ สรุปผลการทดลองการใช้เทคโนโลยีทางเลือกในกิจการโทรทัศน์บนแพลตฟอร์มทางเลือกอื่น 1 . มีการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในกิจการโทรทัศน์โดยจัดให้มีทีวีชุมชนต้นแบบ 2. มีการใช้ประโยชน์ของหมายเลขช่องของโครงข่ายที่ไม่ใช้คลื่นในส่วนที่ว่างอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 3. มีรายงานผลการทดลองเทคโนโลยีทางเลือกและผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการนาเทคโนโลยีทางเลือกไปใช้ในการประกอบกิจการ บนแพลตฟอร์มทางเลือกอื่น 4. มีผลสรุปชัดเจนถึงการทบทวนกฏเกณฑ์หลักที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในกิจการเพื่อความมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม 16 วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรในกิจการ โทรทัศน์อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ที่หลากหลาย ทั่วถึง และเป็นธรรม วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อปรับกระบวนการกากับดูแลให้ สอดคล้องกับระบบนิเวศของ อุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป วัตถุประสงค์ที่ 4 เพื่อยกระดับมาตรฐานกิจการ โทรทัศน์ให้เทียบเคียงระดับสากล วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรทัศน์ ให้สามารถผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ แข่งขันได้ในตลาดสากล 1. ผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม 2 . มีผลการทดลองเทคโนโลยีทางเลือกในกิจการโทรทัศน์บนแพลตฟอร์มทางเลือกอื่น 3. มีการให้บริการโทรทัศน์รูปแบบใหม่ผ่านแพลตฟอร์มทางเลือกอื่น ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนากิจการโทรทัศน์ของประเทศไทยให้เข้าสู่มาตรฐานสากล มีพลวัตสอดคล้องกับบริบทดิจิทัล

ปี 2566 1. จัดทำหลักเกณฑ์การส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ ประโยชน์ทรัพยากรในกิจการเพื่อจัดให้มีหรือเพิ่ม บทบาททีวีชุมชน / ท้องถิ่น ต้นแบบ 2. จัดทำ Roadmap การจัดให้มีทีวีชุมชนต้นแบบ 3 . ศึกษาวิเคราะห์ Regulatory Impact Analysis เพื่อการพัฒนาหรือปรับปรุงกฏเกณฑ์ที่มีผลกระทบต่อ การใช้ประโยชน์ทรัพยากรในกิจการหลักๆ 4 . ปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การใช้คลื่นความถี่เพื่อการ ทดลองทดสอบเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการ ประกอบกิจการโทรทัศน์รูปแบบใหม่ผ่านแพลตฟอร์ม ทางเลือกอื่น หรือการใช้เทคโนโลยีทางเลือกในอนาคต (Regulatory sandbox) 5 . จัดทำแนวทางการออกอากาศโทรทัศน์ด้วย เทคโนโลยี 4k โดยอ้างอิงจากผลการทดลองทดสอบ เบื้องต้น ปี 2567 1 . ดำเนินกระบวนการที่จัดให้มีทีวีชุมชนต้นแบบ 2 . พิจารณามาตรการและส่งเสริมให้เคเบิลทีวี มีบทบาทต่อท้องถิ่นมากขึ้น 3 . ขยายโอกาสการทดลองทดสอบเทคโนโลยี ทางเลือกทั้งทางด้านเทคนิคและด้านธุรกิจ ปี 2568 1. ประเมินผลการใช้ประโยชน์ทรัพยากรใน กิจการโทรทัศน์ของทีวีชุมชนต้นแบบ 2. ติดตามประเมินผลเพื่อนาไปสู่การปรับปรุง มาตรการส่งเสริมให้เคเบิลทีวีมีบทบาทต่อ ท้องถิ่นมากขึ้น วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรในกิจการโทรทัศน์อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ที่หลากหลาย ทั่วถึง และเป็นธรรม เป้าหมาย : 1. ผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม 2 . มีผลการทดลองเทคโนโลยีทางเลือกในกิจการโทรทัศน์บนแพลตฟอร์มทางเลือกอื่น 3. มีการให้บริการโทรทัศน์รูปแบบใหม่ผ่านแพลตฟอร์มทางเลือกอื่น กลยุทธ์ : การบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในกิจการโทรทัศน์อย่างมีประสิทธิภาพ Flagships ตามอายุแผนที่เหลือ 17

เป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ แนวทางการ ดำเนินงาน 1. มีฉากทัศน์ที่แสดงถึงความเชื่อมโยงของการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ การอนุญาต และกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์ในอนาคต 2 . กฎหมายแม่บทมีความสอดคล้องกับสภาวการณ์ของการประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ในอนาคต การยกระดับกระบวนการกากับดูแลตามพลวัตบริบทดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ 1 . การศึกษาวิจัยเพื่อแสวงหาฉากทัศน์ที่เหมาะสมสาหรับอนาคตกิจการโทรทัศน์ไทย 2. การทบทวนปรับปรุงกฏระเบียบการกากับดูแลที่เอื้อต่อการสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันข้ามแพลตฟอร์ม 3. การศึกษาแนวทางและกลไกการกากับดูแลแพลตฟอร์มผ่านระบบอินเทอร์เน็ต 4 . การสื่อสารสร้างความเข้าใจร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย 1. ความสาเร็จของการมีฉากทัศน์ที่แสดงถึงความเชื่อมโยงของการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ การอนุญาต และกำกับดูแล กิจการโทรทัศน์ในอนาคต 2. การเสนอปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับบริบทดิจิทัลในกิจการโทรทัศน์ต่อหน่วยงานภายนอกที่มีหน้าที่ขับเคลื่อน การปรับปรุงกฎหมาย 18 วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรในกิจการ โทรทัศน์อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ที่หลากหลาย ทั่วถึง และเป็นธรรม วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อปรับกระบวนการกากับดูแล ให้สอดคล้องกับระบบนิเวศของ อุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป วัตถุประสงค์ที่ 4 เพื่อยกระดับมาตรฐานกิจการ โทรทัศน์ให้เทียบเคียงระดับสากล วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรทัศน์ ให้สามารถผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ แข่งขันได้ในตลาดสากล ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนากิจการโทรทัศน์ของประเทศไทยให้เข้าสู่มาตรฐานสากล มีพลวัตสอดคล้องกับบริบทดิจิทัล

19 ปี 2566 1. ศึกษาวิจัยเพื่อแสวงหาฉากทัศน์ที่เหมาะสม สาหรับอนาคตกิจการโทรทัศน์ไทย 2. ยกร่างแผนการดาเนินการ เพื่อนาผู้ให้บริการ แพลตฟอร์มเข้าสู่ระบบ • กาหนดแนวทางและกลไกการกากับดูแล แพลตฟอร์มผ่านระบบอินเ ท อร์เน็ต • ประสานงาน สร้างความเข้าใจกับภาคส่วน ที่เกี่ยวข้อง ผลักดัน เพื่อความสาเร็จของ การนาผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเข้าสู่ระบบ 3. จัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ไขกฎหมายแม่บท ให้เหมาะสมภายใต้บริบทดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไป ปี 2567 1. นาผลการศึกษาวิจัยเพื่อแสวงหาฉากทัศน์ ที่เหมาะสมสาหรับอนาคตกิจการโทรทัศน์ไทย มาปรับใช้ผ่านการประสานความร่วมมือกับ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การกำหนด โครงสร้างกิจการโทรทัศน์และการกากับดูแลที่ เหมาะสมในอนาคต 2. นาผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลผ่านระบบ อินเ ท อร์เน็ต เข้าสู่ระบบ 3. จัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ไขร่างกฎหมาย แม่บทให้สอดคล้องกับระบบนิเวศของ อุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป และนำเสนอต่อ หน่วยงานภายนอกที่มีหน้าที่ขับเคลื่อน การปรับปรุงกฎหมาย ปี 2568 1. นาผลการศึกษาวิจัยเพื่อแสวงหาฉากทัศน์ ที่เหมาะสมสาหรับอนาคตกิจการโทรทัศน์ไทย มากำหนดโครงสร้างกิจการโทรทัศน์และการ กากับดูแลที่เหมาะสมในอนาคต 2. ประสานงาน สร้างความเข้าใจกับภาค ส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อความสาเร็จของการมี กฎหมายแม่บทฉบับปรับปรุงให้เหมาะสมกับ ระบบนิเวศของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป 3 . ผลักดันการนาเสนอเพื่อการปรับปรุงร่าง กฎหมายแม่บทให้สอดคล้องกับระบบนิเวศ ของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อปรับกระบวนการกากับดูแลให้สอดคล้องกับระบบนิเวศของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เป้าหมาย : 1. มีฉากทัศน์ที่แสดงถึงความเชื่อมโยงของการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ การอนุญาต และกากับดูแลกิจการโทรทัศน์ในอนาคต 2 . กฎหมายแม่บทมีความสอดคล้องกับสภาวการณ์ของการประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ในอนาคต กลยุทธ์ : การยกระดับกระบวนการกากับดูแลตามพลวัตบริบทดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ Flagships ที่สาคัญตามอายุแผนที่เหลือ

เป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ แนวทางการ ดำเนินงาน การเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทยสู่ระดับสากล 1 . การทบทวนปรับปรุงกฏระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรทัศน์ให้ผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ แข่งขันได้ 2 . การพัฒนามาตรการสนับสนุนเนื้อหาให้แข่งขันได้ในระดับสากล 3. ผลักดันให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนการผลิตเนื้อหาระหว่างผู้ผลิตทั้งในและต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอ เช่น จัดเทศกาลทุก 2-3 ปี 4. การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่ออานวยความสะดวก ( Ease of doing business ) 1. มีความร่วมมือด้านเนื้อหาระหว่างผู้ประกอบการในกิจการโทรทัศน์ไทยและต่างประเทศ 2. ผู้ประกอบการในกิจการโทรทัศน์ไทยได้รับการสนับสนุนตามมาตรการเกี่ยวกับการสนับสนุนเนื้อหา 3. ผู้ประกอบการได้รับการสนับสนุนการผลิตและเผยแพร่เนื้อหาที่มีคุณภาพตามมาตรการส่งเสริมการปรับตัว สู่ดิจิทัล ในรูปแบบใดๆ 4. การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ประกอบการโทรทัศน์ที่สามารถผลิตเนื้อหาเผยแพร่ผ่าน global platform 20 1. เกิดผลผลิตด้านเนื้อหาที่สะท้อนความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการในกิจการโทรทัศน์ไทยและต่างประเทศ 2. มีมาตรการสนับสนุนเนื้อหาให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรในกิจการ โทรทัศน์อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ที่หลากหลาย ทั่วถึง และเป็นธรรม วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อปรับกระบวนการกากับดูแลให้ สอดคล้องกับระบบนิเวศของ อุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป วัตถุประสงค์ที่ 4 เพื่อยกระดับมาตรฐานกิจการ โทรทัศน์ให้เทียบเคียงระดับ สากล วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทย ให้สามารถผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ แข่งขันได้ในตลาดสากล ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนากิจการโทรทัศน์ของประเทศไทยให้เข้าสู่มาตรฐานสากล มีพลวัตสอดคล้องกับบริบทดิจิทัล

21 ปี 2566 1. สร้างความร่วมมือด้านเนื้อหาระหว่าง ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทยและ ต่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน 2. สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่ เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ แข่งขันได้ 3. พัฒนามาตรการสนับสนุนเนื้อหาให้แข่งขันได้ ในระดับสากล 4. กำหนดรูปแบบการส่งเสริมและขับเคลื่อนการ ทางานร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิต เนื้อหา ที่เทียบเคียงระดับสากลของผู้ผลิตโทรทัศน์ เช่น Co-production การสร้างแรงจูงใจ หรือสิทธิ ประโยชน์อื่นๆ ของผู้ผลิตทั้งในและต่างประเทศ 5. กาหนดหลักเกณฑ์และกระบวนการคัดเลือกเพื่อ สนับสนุนการผลิตและเผยแพร่เนื้อหาที่มีคุณภาพ ปี 2567 1. ทบทวนปรับปรุงกฏระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการ ส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อนาไปสู่การผลิตเนื้อหาที่มี คุณภาพ แข่งขันได้ 2. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนาไปสู่การอานวยความสะดวก ( Ease of doing business ) ในการส่งเสริมอุตสาหกรรม โทรทัศน์ในลักษณะต่างๆ 3. ขับเคลื่อนมาตรการ Co-production การสร้าง แรงจูงใจ และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ให้เกิดผลใน ทางปฏิบัติเพื่อกระตุ้นการผลิตเนื้อหาที่มีการ เผยแพร่ผ่าน Global platform ปี 2568 1. ผลักดันให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนการผลิตเนื้อหา ระหว่างผู้ผลิตทั้งในและต่างประเทศอย่าง สม่ำเสมอ เช่น จัดเทศกาลทุก 2-3 ปี (Thai and Korean Content Festival) 2. ขับเคลื่อนมาตรการส่งเสริม Co-production ผ่านการสร้างแรงจูงใจ และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ให้เกิดผลในทางปฏิบัติเพื่อกระตุ้นการผลิตเนื้อหา ที่มีการเผยแพร่ผ่าน Global platform อย่าง ต่อเนื่อง วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรทัศน์ให้สามารถผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ แข่งขันได้ในตลาดสากล เป้าหมาย : 1. ให้เกิดผลผลิตด้านเนื้อหาที่สะท้อนความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทยและต่างประเทศ 2. มีมาตรการสนับสนุนเนื้อหาให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล กลยุทธ์ : การเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมโทรทัศน์สู่ระดับสากล Flagships ตามอายุแผนที่เหลือ

เป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ แนวทางการ ดำเนินงาน 1. กิจการโทรทัศน์ภายใต้บริบทดิจิทัลมีมาตรฐานเทียบเคียงระดับสากล ทั้งในเชิงเทคโนโลยี คุณภาพเนื้อหา และจริยธรรมของผู้ประกอบการและผู้ประกอบวิชาชีพ 2. การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเคเบิลและดาวเทียมสามารถพัฒนาทางเลือกในการปรับตัวสู่ดิจิทัล การยกระดับมาตรฐานกิจการโทรทัศน์สู่ระดับสากล 1 . สร้างความร่วมมือกับภาคส่วนในอุตสาหกรรมเพื่อร่วมผลักดันการพัฒนาช่องทาง ( Portal ) การเข้าถึงบริการโทรทัศน์ภาคพื้นดิน บนแพลตฟอร์มดิจิทัล 2. มีมาตรการในการกาหนดให้อุปกรณ์ Connected TV หรืออุปกรณ์อื่นในประเทศไทยมีการติดตั้งช่องทางการเข้าถึงกิจการ โทรทัศน์ภาคพื้นดินบนแพลตฟอร์มดิจิทัล 3. สร้างรูปแบบของการบริหารจัดการและแบ่งบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนร่วมกับภาคอุตสาหกรรม 4. ยกระดับกลไกการตรวจสอบคุณภาพเนื้อหาบนแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ( cross platform monitoring ) และสร้างระบบ การสะสมเครดิตเชิงสังคมจากเนื้อหา ( social credit ) 1. มีช่องทางการเข้าถึงกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินบนแพลตฟอร์มดิจิทัล 2. มีมาตรการในการกาหนดให้อุปกรณ์ Connected TV หรืออุปกรณ์อื่นในประเทศไทยมีการติดตั้งช่องทางการเข้าถึงกิจการโทรทัศน์ ภาคพื้นดินบนแพลตฟอร์มดิจิทัล 3. ผู้ประกอบการผ่านการประเมินในระบบการสะสมเครดิตเชิงสังคมจากเนื้อหา ( Social Credit ) ตามเป้าหมายที่กาหนด 4. ผู้ประกอบการเคเบิลและดาวเทียมได้รับการพัฒนาให้สามารถปรับตัวสู่ดิจิทัล 22 วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรในกิจการ โทรทัศน์อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ที่หลากหลาย ทั่วถึง และเป็นธรรม วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อปรับกระบวนการกากับดูแลให้ สอดคล้องกับระบบนิเวศของ อุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป วัตถุประสงค์ที่ 4 เพื่อยกระดับมาตรฐานกิจการ โทรทัศน์ให้เทียบเคียงระดับสากล วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรทัศน์ ให้สามารถผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ แข่งขันได้ในตลาดสากล ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนากิจการโทรทัศน์ของประเทศไทยให้เข้าสู่มาตรฐานสากล มีพลวัตสอดคล้องกับบริบทดิจิทัล

23 ปี 2566 1. ประสานสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนใน อุตสาหกรรมเพื่อร่วมกันผลักดันให้ไปสู่การพัฒนา ช่องทาง ( Portal ) การเข้าถึงบริการโทรทัศน์ ภาคพื้นดินบนแพลตฟอร์มดิจิทัล 2. ยกระดับกลไกการตรวจสอบคุณภาพเนื้อหา บนแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ( cross platform monitoring ) และสร้างระบบการสะสมเครดิต เชิงสังคมจากเนื้อหา ( social credit ) 3. สารวจความพร้อมของผู้ประกอบการเคเบิล และดาวเทียมในการปรับตัวสู่การให้บริการดิจิทัล ปี 2567 1. กาหนดกรอบแนวทาง พร้อมเริ่มเข้าสู่ กระบวนการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล 2. สร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและใช้ ประโยชน์แพลตฟอร์มดิจิทัลในอนาคตอย่าง ต่อเนื่อง 3 3. ศึกษาแนวทางในการกาหนดมาตรการในการ กาหนดให้อุปกรณ์ Connected TV หรืออุปกรณ์ อื่นในประเทศไทย มีการติดตั้งช่องทางการเข้าถึง กิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินบนแพลตฟอร์มดิจิทัล 4. กาหนดแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการ เคเบิลและดาวเทียมในการปรับตัวสู่การให้บริการ ดิจิทัล ปี 2568 1. มีรูปแบบของการบริหารจัดการร่วมกัน และแบ่งบทบาทหน้าที่ชัดเจนร่วมกับ ภาคอุตสาหกรรม 2. มีมาตรการในการกาหนดให้อุปกรณ์ Connected TV หรืออุปกรณ์อื่นในประเทศ ไทยมีการติดตั้งช่องทางการเข้าถึงกิจการ โทรทัศน์ภาคพื้นดินบนแพลตฟอร์มดิจิทัล 3. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเคเบิลและ ดาวเทียมพัฒนาตามแนวทางในการปรับตัว สู่การให้บริการดิจิทัล วัตถุประสงค์ที่ 4 เพื่อยกระดับมาตรฐานกิจการโทรทัศน์ให้เทียบเคียงระดับสากล เป้าหมาย : 1. กิจการโทรทัศน์ภายใต้บริบทดิจิทัล มีมาตรฐานเทียบเคียงระดับสากล ทั้งในเชิงเทคโนโลยี คุณภาพเนื้อหา และจริยธรรม ของผู้ประกอบการและผู้ประกอบวิชาชีพ 2. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเคเบิลและดาวเทียมสามารถพัฒนาทางเลือกในการปรับตัวสู่ดิจิทัล กลยุทธ์ : การยกระดับมาตรฐานกิจการโทรทัศน์สู่ระดับสากล Flagships ตามอายุแผนที่เหลือ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมและกากับดูแลด้านเนื้อหา การคุ้มครองผู้บริโภค และการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ เพื่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูล ข่าวสารของประชาชนในโลกดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ 24 การส่งเสริมและกำกับดูแลด้านเนื้อหาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และเทคโนโลยี มุ่งเน้นความมีประสิทธิภาพในเชิงรุก เหมาะสมต่อสภาวการณ์ บนพื้นฐาน ข้อมูลเชิงประจักษ์ ส่งเสริมการจัดให้มีบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดย ทั่วถึง และบริการเพื่อสังคม รวมถึงส่งเสริมให้มีเนื้อหาที่มีคุณภาพ มีความหลากหลายในมิติ ทางสังคม คุ้มครองผู้บริโภคมิให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ ตลอดถึงส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์ จากข้อมูลข่าวสารในโลกดิจิทัลอย่างเท่าเทียม

25 วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อให้การกากับดูแลด้านเนื้อหา มีประสิทธิภาพในเชิงรุก เหมาะสมต่อสภาวการณ์ บนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค มิให้ถูกเอาเปรียบจาก ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อส่งเสริมการจัดให้มีบริการ กระจายเสียงและบริการโทรทัศน์ พื้นฐานโดยทั่วถึง และบริการเพื่อ สังคม รวมถึงการมีเนื้อหาที่มีคุณภาพ มีความหลากหลายในมิติทางสังคม วัตถุประสงค์ที่ 4 เพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ ของประชาชนในการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์จากข้อมูล ข่าวสารอย่างเท่าเทียม เป้าหมาย 1. มีระบบการติดตาม ตรวจสอบ เนื้อหาของ กิจการกระจายเสียงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ 2. มีระบบการตรวจสอบเนื้อหาของกิจการ โทรทัศน์ ที่พร้อมใช้งาน 3. มีระบบการสะสมเครดิตเชิงสังคมจาก เนื้อหา ( Social Credit) ในกิจการโทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม 4. มีกลไกการติดตามและบริหารจัดการการ นาเสนอเนื้อหาเชิงประเด็น ( Issue-based) หรือตามบริบท ( Event-based) ที่ส่งผล กระทบกว้างขวางทางสังคม 5. มีองค์กรวิชาชีพที่ให้ความร่วมมือกับ กสทช . ในการกำกับดูแลและตรวจสอบ การทาหน้าที่สื่อขององค์กรสมาชิก ที่เป็นระบบ เป็นที่รับรู้ และมีประสิทธิภาพ 6 . มีแนวทางปฏิบัติสาหรับผู้รับใบอนุญาต บนพื้นฐานของกฏหมายและมาตรฐานทาง จริยธรรมเพียงพอสาหรับใช้เป็นเครื่องมือ ส่งเสริมการกำกับดูแล เป้าหมาย 1. มีแผนการจัดให้มีบริการกระจายเสียง และบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึง และบริการเพื่อสังคม ที่นาไปสู่การ ขับเคลื่อนเพื่อประโยชน์ของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีโอกาสน้อยใน สังคม ( Under-served group) และ ผู้เกี่ยวข้อง 2. มีความคืบหน้าในการขับเคลื่อน แผนการจัดให้มีบริการกระจายเสียงและ บริการโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึงและ บริการเพื่อสังคม ได้ตามเป้าหมาย ของแผน ภายใต้กรอบเวลาที่กำหนด 3. มีมาตรการส่งเสริมเนื้อหาที่มีคุณภาพ มีความหลากหลายในมิติทางสังคม เป้าหมาย 1 . ผู้ใช้บริการได้รับบริการอย่าง เป็นธรรม ภายใต้บริบทของการให้ บริการในลักษณะหลอมรวม ( Converged Services) และ บริการควบ (Bundle Services) 2. มีการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียน ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 3. มีการส่งเสริมการรวมกลุ่ม และ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการ เป็นเครือข่ายผู้บริโภค ผู้ชม - ผู้ฟัง ที่เข้มแข็ง อย่างเป็นระบบ 4. มีการพัฒนากลไกความร่วมมือ กับหน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริม และคุ้มครองผู้บริโภค อย่างเป็น ระบบ เป้าหมาย 1. ประชาชนสามารถเข้าถึง ใช้ประโยชน์ จากข้อมูล ข่าวสารอย่างรู้เท่าทัน และมี สมรรถนะด้านดิจิทัล (Digital Competency) 2. คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส สามารถเข้าถึง รับรู้ และใช้ประโยชน์ข้อมูล ข่าวสารอย่างเท่าเทียมกับ บุคคลทั่วไป 25 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมและกำกับดูแลด้านเนื้อหา การคุ้มครองผู้บริโภค และการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ เพื่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารของประชาชนในโลกดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ

เป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ แนวทางการ ดำเนินงาน 26 1. มีระบบการติดตาม ตรวจสอบ เนื้อหาของกิจการกระจายเสียงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ 2. มีระบบการตรวจสอบเนื้อหาของกิจการโทรทัศน์ ที่พร้อมใช้งาน 3. มีระบบการสะสมเครดิตเชิงสังคมจากเนื้อหา ( Social Credit) ในกิจการโทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม 4. มีกลไกการติดตามและบริหารจัดการการนาเสนอเนื้อหาเชิงประเด็น ( Issue-based) หรือตามบริบท ( Event-based) ที่ส่งผลกระทบกว้างขวางทางสังคม 5. มีองค์กรวิชาชีพที่ให้ความร่วมมือกับ กสทช . ในการกากับดูแลและตรวจสอบการทาหน้าที่สื่อขององค์กรสมาชิก ที่เป็นระบบ เป็นที่รับรู้ และมีประสิทธิภาพ 6 . มีแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้รับใบอนุญาตบนพื้นฐานของกฏหมายและมาตรฐานทางจริยธรรมเพียงพอสำหรับใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการกากับดูแล 1. ออกแบบและจัดทำแผนการจัดหาติดตั้งอุปกรณ์การตรวจสอบเนื้อหากิจการกระจายเสียง พร้อมทั้งจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบเนื้อหาของกิจการกระจายเสียง 2. ศึกษาและพัฒนาระบบการสะสมเครดิตเชิงสังคมจากเนื้อหา ( Social Credit) ในกิจการโทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ควบคู่กับการสร้างความ ร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องในการดาเนินการ 3 . จัดเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ อุปกรณ์เครื่องมือ บุคลากร ในการติดตามการนาเสนอเนื้อหาเชิงประเด็น ( Issue-based) หรือตามบริบท ( Event-based) ที่ส่งผล กระทบกว้างขวางทางสังคม พร้อมจัดทำข้อเสนอ 4 . จัดให้มีทุนและกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือขององค์กรวิชาชีพในการผลักดันกลไกการกากับดูแลกันเองที่เป็นระบบ เป็นที่รับรู้ และมีประสิทธิภาพ 5 . พัฒนาแนวปฏิบัติสำหรับผู้รับใบอนุญาตบนพื้นฐานของกฎหมายและมาตรฐานทางจริยธรรม ( Code of Conduct) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการกากับดูแล 1. ความสาเร็จของการจัดให้มีระบบติดตามและตรวจสอบการออกอากาศเนื้อหาของกิจการกระจายเสียงครอบคลุมทั่วประเทศ 2. ความสาเร็จของการจัดให้มีระบบการสะสมเครดิตเชิงสังคมจากเนื้อหา ( Social Credit) ในกิจการโทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม 3 . อัตราการตอบสนองที่ทันต่อสถานการณ์ขององค์กรกำกับดูแลที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 ของกรณีทั้งหมดที่มีผลกระทบอย่างกว้างขวางทางสังคม ซึ่งเกิดจากการนาเสนอเนื้อหา เชิงประเด็น ( Issue-based) หรือตามบริบท ( Event-based) ของผู้ประกอบการ 4 . มีองค์กรวิชาชีพที่ให้ความร่วมมือกับ กสทช . ในการกำกับดูแลและตรวจสอบการทาหน้าที่สื่อขององค์กรสมาชิก ที่เป็นระบบ เป็นที่รับรู้ และมีประสิทธิภาพ 5. มีแนวทางปฏิบัติสาหรับผู้รับใบอนุญาตบนพื้นฐานของกฎหมายและมาตรฐานทางจริยธรรมเพียงพอสาหรับใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการกำกับดูแล การพัฒนากลไกการกากับดูแลสื่อยุคดิจิทัลในเชิงรุก วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อให้การกำกับดูแลด้านเนื้อหามี ประสิทธิภาพในเชิงรุก เหมาะสมต่อ สภาวการณ์ บนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคมิให้ถูกเอา เปรียบจากผู้ประกอบกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อส่งเสริมการจัดให้มีบริการกระจายเสียง และโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อ สังคม รวมถึงการมีเนื้อหาที่มีคุณภาพ มีความ หลากหลายในมิติทางสังคม วัตถุประสงค์ที่ 4 เพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการ รับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์จากข้อมูล ข่าวสารอย่างเท่าเทียม ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมและกำกับดูแลด้านเนื้อหา การคุ้มครองผู้บริโภค และการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ เพื่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารของประชาชนในโลกดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ

27 ปี 2566 1. ออกแบบและจัดทำแผนการจัดหา ติดตั้งอุปกรณ์การ ตรวจสอบเนื้อหากิจการกระจายเสียงที่ครอบคลุมทั่วประเทศ 2. จัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบเนื้อหากิจการกระจาย เสียงให้ครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของสถานีวิทยุ กระจายเสียงทั้งหมด 3 . การศึกษา กาหนดแนวทางการดาเนินการในการใช้ระบบ การสะสมเครดิตเชิงสังคมจากเนื้อหา ( Social Credit) ใน กิจการโทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม 4 . ออกแบบระบบ กระบวนการ แนวคิด ในการติดตามการ นาเสนอเนื้อหาเชิงประเด็น ( Issue-based) หรือตามบริบท ( Event-based) ที่ส่งผลกระทบกว้างขวางทางสังคม และเริ่มใช้ ระบบติดตามการนาเสนอเนื้อหา รวมถึงมีการจัดทำข้อวิเคราะห์ ประเมินผล 5 . พัฒนากลไกการกากับดูแลกันเองร่วมกับองค์กรวิชาชีพทั้งใน ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 6 . ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลและข้อจากัดในการดาเนินงานตาม กลไกการกากับดูแลขององค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำ แนวปฏิบัติที่จาเป็นสำหรับผู้รับใบอนุญาตบนพื้นฐานของ กฎหมายและมาตรฐานทางจริยธรรม ( Code of Conduct) ปี 2567 1. มีระบบติดตามและตรวจสอบการออกอากาศเนื้อหากิจการ กระจายเสียง 2. จัดหาและติดตั้งอุปกรณ์การตรวจสอบเนื้อหากิจการกระจาย เสียงได้ตามแผนฯ ที่ตั้งไว้ในปี 2566 3 . ดาเนินการตามระบบโซเชียลเครดิต ( มีรายงานผลการดาเนิน การตรวจสอบ ) 4 . ประเมินเนื้อหา และสร้างแรงจูงใจในการส่งเสริมเนื้อหาที่เป็น ประโยชน์ต่อสังคม เช่น ผ่านการให้ทุน ร่วมผลิต หรือสร้างความ ตระหนักต่อผู้เกี่ยวข้องโดยการให้รางวัล รวมทั้งสื่อสารให้ ประชาชนใช้ประโยชน์จากเนื้อหาดังกล่าว 5 . ติดตามการนาเสนอเนื้อหาเชิงประเด็น ( Issue-based) หรือ ตามบริบท ( Event-based) ที่ส่งผลกระทบกว้างขวางทางสังคม จัดทำข้อวิเคราะห์ประเมินผล 6 . ดาเนินการพัฒนากลไกการกากับดูแลกันเองร่วมกับองค์กร วิชาชีพ เพื่อยกระดับให้เกิดการกากับดูแลร่วมกันบนพื้นฐานของ กฎหมายและมาตรฐานทางจริยธรรม 7 . นาข้อมูลและข้อจากัดในการดาเนินงานตามกลไกการกากับ ดูแลกันเองของผู้รับใบอนุญาต มาส่งเสริมและพัฒนาแนวปฏิบัติ ให้ผู้รับใบอนุญาตสามารถตรวจสอบและกากับดูแลรายการให้ เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานทางจริยธรรม ( Code of Conduct) ปี 2568 1 . จัดหาและติดตั้งอุปกรณ์การตรวจสอบเนื้อหากิจการ กระจายเสียงได้ตามแผนฯ ที่ตั้งไว้ในปี 2566 2. ประเมินผลความสำเร็จของการจัดให้มี ระบบการสะสม เครดิตเชิงสังคมจากเนื้อหา ( Social Credit) ในกิจการ โทรทัศน์ และส่งเสริมเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ( แยกเรื่องการตรวจสอบกับโซเชียลเครดิต ) 3 . ประเมินผลอัตราการตอบสนองต่อการนาเสนอเนื้อหา เชิงประเด็น ( Issue-based) หรือตามบริบท ( Event- based) ที่ทันต่อสถานการณ์ ตามเหตุการณ์สำคัญที่มี ผลกระทบกว้างขวาง 4 . มีองค์กรวิชาชีพที่ให้ความร่วมมือกับ กสทช . ในการ กากับดูแลและตรวจสอบการทำหน้าที่สื่อ ขององค์กร สมาชิก ที่เป็นระบบ เป็นที่รับรู้ และ มีประสิทธิภาพ 5 . มีแนวปฏิบัติสำหรับผู้รับใบอนุญาตบนพื้นฐานของ กฎหมายและมาตรฐานทางจริยธรรม ( Code of Conduct) เพียงพอสำหรับใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการ กากับดูแล วัตถุประสงค์ที่ 1 กากับดูแลด้านเนื้อหาให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อสภาวการณ์ เป้าหมาย : 1. มีระบบการติดตาม ตรวจสอบ เนื้อหาของกิจการกระจายเสียงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ 2. มีระบบการตรวจสอบเนื้อหาของกิจการโทรทัศน์ ที่พร้อมใช้งาน 3. มีระบบการสะสมเครดิตเชิงสังคมจากเนื้อหา ( Social Credit) ในกิจการโทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม 4. มีกลไกการติดตามและบริหารจัดการการนาเสนอเนื้อหาเชิงประเด็น ( Issue-based) หรือตามบริบท ( Event-based) ที่ส่งผลกระทบกว้างขวางทางสังคม 5. มีองค์กรวิชาชีพที่ให้ความร่วมมือกับ กสทช . ในการกากับดูแลและตรวจสอบการทาหน้าที่สื่อขององค์กรสมาชิก ที่เป็นระบบ เป็นที่รับรู้ และมีประสิทธิภาพ 6 . มีแนวทางปฏิบัติสาหรับผู้รับใบอนุญาตบนพื้นฐานของกฏหมายและมาตรฐานทางจริยธรรมเพียงพอสำหรับใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการกากับดูแล กลยุทธ์ : การพัฒนากลไกการกากับดูแลสื่อยุคดิจิทัลในเชิงรุก 27 Flagships ตามอายุแผนที่เหลือ

เป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ แนวทางการ ดำเนินงาน 28 1. ความสาเร็จของการจัดให้มีแผนการจัดให้มีบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม 2. การบรรลุแผนการจัดให้มีบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมได้ตามเป้าหมาย ภายในกรอบ เวลาที่กำหนด ( ปี 2568 ) 3. ความสาเร็จของการจัดให้มีมาตรการส่งเสริมเนื้อหาที่มีคุณภาพ มีความหลากหลายในมิติทางสังคม 1. มีแผนการจัดให้มีบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ที่นาไปสู่การขับเคลื่อนเพื่อประโยชน์ ของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีโอกาสน้อยในสังคม ( Under-served group) และผู้เกี่ยวข้อง 2. มีความคืบหน้าในการขับเคลื่อนแผนการจัดให้มีบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ได้ตามเป้าหมายของแผน ภายใต้กรอบเวลาที่กำหนด 3. มีมาตรการส่งเสริมเนื้อหาที่มีคุณภาพ มีความหลากหลายในมิติทางสังคม การขับเคลื่อนบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม รวมถึงเนื้อหาที่มีคุณภาพ มีความหลากหลาย ในมิติทางสังคม 1. สนับสนุนบริการชุมชน / ท้องถิ่นผ่านช่องทางที่หลากหลาย ช่องทางวิทยุ – โทรทัศน์ ออนไลน์ รวมถึงโครงข่ายในการให้บริการ 2. ส่งเสริมการผลิตรายการที่มีประโยชน์ ตรงตามความต้องการของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีโอกาสน้อยในสังคม เช่น คนพิการ กลุ่มเยาวชน กลุ่มชาติพันธุ์ ฯลฯ 3. สร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการกระจายเสียงและโทรทัศน์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการผลิตรายการผ่านช่องทางที่ หลากหลาย 4. ส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการผลิตเนื้อหารายการที่มีคุณภาพและหลากหลายในมิติทางสังคม วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อให้การกำกับดูแลด้านเนื้อหามีประสิทธิภาพ ในเชิงรุก เหมาะสมต่อสภาวการณ์ บนพื้นฐาน ของข้อมูลเชิงประจักษ์ วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคมิให้ถูกเอา เปรียบจากผู้ประกอบกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อส่งเสริมการจัดให้มีบริการกระจายเสียง และบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึง และบริการเพื่อสังคม รวมถึงการมีเนื้อหาที่มี คุณภาพ มีความหลากหลายในมิติทางสังคม วัตถุประสงค์ที่ 4 เพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการ รับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์จากข้อมูล ข่าวสารอย่างเท่าเทียม 28 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมและกำกับดูแลด้านเนื้อหา การคุ้มครองผู้บริโภค และการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ เพื่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารของประชาชนในโลกดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ

29 ปี 2566 1. ดาเนินการให้มีการประกาศใช้ “ แผนการจัด ให้มีบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์ พื้นฐานโดยทั่วถึง และบริการเพื่อสังคม ” 2. กาหนดแนวคิด เกณฑ์ กรอบการดาเนินการ / ความร่วมมือ / กระบวนการให้ทุน ร่วมผลิต และสร้างความเข้าใจ และกาหนดหน่วยงาน ภายในที่รับผิดชอบ ปี 2567 1. พัฒนาช่องทางและสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ในการร่วม บริหารจัดการเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงช่องทางที่เชื่อมโยงวิทยุ โทรทัศน์ และออนไลน์ เช่น การจัดส่งรายการ การมีแอดมิน ฯลฯ 2. สื่อสารให้ประชาชนเข้าใช้บริการในช่องทางที่หลากหลายข้างต้น 3. ส่งเสริมประชาชนกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีโอกาสน้อยในสังคม เช่น คนพิการ เยาวชน ชาติพันธุ์ ฯลฯ ได้เข้าถึง รับรู้ ใช้ประโยชน์จาก รายการได้ตามความต้องการ ด้วยช่องทางที่เข้าถึงได้สะดวก ผ่านการ ให้ทุน ร่วมผลิต และสร้างความเข้าใจ 4. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึง รับรู้ ใช้ประโยชน์จากรายการ เนื้อหาที่ หลากหลาย โดยจัดหาพันธมิตรร่วมพัฒนาหลักสูตร และดาเนินการจัด อบรมหรืออื่นๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบการ กระจายเสียงและโทรทัศน์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง 5. ส่งเสริมให้ชุมชน / ท้องถิ่น ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ตัวเองมีส่วนร่วม เป็นเจ้าของและตอบโจทย์ความต้องการ ผ่านกิจการกระจายเสียงและ โทรทัศน์ประเภทบริการชุมชน / ท้องถิ่น ปี 2568 1. ดาเนินมาตรการตามแผนการจัดให้มีบริการ กระจายเสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดย ทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ต่อเนื่อง 2. ติดตาม ประเมินความคืบหน้าการดาเนินการ ตามมาตรการที่กาหนดในแผนการจัดให้มีบริการ กระจายเสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดย ทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมว่าตอบเป้าหมาย ภายในกรอบเวลาที่กาหนดมากน้อยเพียงไหน วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อส่งเสริมการจัดให้มีบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึง และบริการเพื่อสังคม รวมถึงการมีเนื้อหาที่มีคุณภาพ มีความหลากหลายในมิติทางสังคม เป้าหมาย : 1. มีแผนการจัดให้มีบริการกระจายเสียงและโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึง และบริการเพื่อสังคม ที่นาไปสู่การขับเคลื่อนเพื่อประโยชน์ของประชาชน โดยเฉพาะ กลุ่มคนที่มีโอกาสน้อยในสังคม ( Under-served group) และผู้เกี่ยวข้อง 2. มีความคืบหน้าในการขับเคลื่อน แผนการจัดให้มีบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ได้ตามเป้าหมายของแผน ภายใต้กรอบเวลาที่กาหนด 3. มีมาตรการส่งเสริมเนื้อหาที่มีคุณภาพ มีความหลากหลายในมิติทางสังคม กลยุทธ์ : การขับเคลื่อนบริการกระจายเสียงและโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม รวมถึงเนื้อหาที่มีคุณภาพ มีความหลากหลายในมิติทางสังคม Flagships ตามอายุแผนที่เหลือ

เป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ แนวทางการ ดำเนินงาน สื่อ areas และ how to ใหญ่ ๆ ที่ควรต้องขับเคลื่อนเพื่อการบรรลุวิสัยทัศน์ 1 . ผู้ใช้บริการได้รับบริการอย่างเป็นธรรม ภายใต้บริบทของการให้บริการในลักษณะหลอมรวม ( Converged Services) และบริการควบ ( Bundle Services) 2. มีการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 3. มีการส่งเสริมการรวมกลุ่ม และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเป็นเครือข่ายผู้บริโภค ผู้ชม - ผู้ฟัง ที่เข้มแข็ง อย่างเป็นระบบ 4. มีการพัฒนากลไกความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริมและคุ้มครองผู้บริโภค อย่างเป็นระบบ 1. การเพิ่มขึ้นของระดับความเป็นธรรมจากการรับบริการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ซึ่งมาจากผลสารวจภาคประชาชนที่ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 เมื่อจบแผน 2. สถิติจานวนเรื่องร้องเรียนว่าด้วยสัญญาการให้บริการที่เอาเปรียบผู้บริโภคมีจานวนลดลง ( สัญญาที่ไม่เป็นธรรม ไม่โปร่งใส หรือเจตนาที่จะไม่สื่อสารให้ ผู้บริโภคทราบอย่างชัดเจน ) 3. สถิติของระยะเวลาแก้ปัญหาและจัดการเรื่องร้องเรียนโดยเฉลี่ยที่ลดลงตลอดระยะเวลาที่เหลือของแผนแม่บทฯ 4. มีผลผลิตจากการรวมกลุ่มและการสร้างเครือข่ายผู้บริโภค ผู้ชม - ผู้ฟัง ที่ชัดเจน เป็นระบบ ( มีฐานข้อมูลสมาชิก ข้อมูลบทบาทและความสัมพันธ์ของ สมาชิกเครือข่ายทั้งภายในกลุ่มและภายนอกกลุ่ม รวมถึงกับสำนักงาน กสทช .) และมีระดับการมีส่วนร่วมไม่น้อยกว่าระดับ 3 ตามหลักการการมีส่วนร่วมของ International Association for Public Participation – IAP) 5. มีผลผลิตที่ชัดเจนที่เกิดจากการพัฒนากลไกความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริมและคุ้มครองผู้บริโภค อย่างเป็นระบบ การคุ้มครองผู้บริโภคในนิเวศสื่อใหม่ผ่านกลไกผู้เกี่ยวข้อง 360 องศา 1. ออกแบบมาตรการต่างๆ เพื่อให้การกำกับดูแลสัญญาการให้บริการในลักษณะหลอมรวมที่เป็นไปตามมาตรฐาน เป็นธรรมกับผู้ใช้บริการ และมีการเก็บข้อมูลสถิติที่จำเป็น 2. ให้ความสาคัญกับการกำกับการให้บริการด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะบริการควบ เช่น สัญญา ราคา คุณภาพ 3. กระชับเวลาการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน และสื่อสารสร้างความเข้าใจถึงกระบวนการจัดการเรื่องร้องเรียนและลักษณะของเรื่องร้องเรียนที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาที่รวดเร็ว 4 . ออกแบบกระบวนการสร้างเครือข่าย รวมถึงกลไกพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ อย่างเป็นระบบ 5 . สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริมและคุ้มครองผู้บริโภค ที่มีการกำหนดรูปแบบ แนวทาง และมีการทางานร่วมกัน 6. ทาการสารวจระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการกระจายเสียงและโทรทัศน์ในมิติต่างๆ รวมถึงมิติความเป็นธรรมจากการใช้บริการ เพื่อการปรับปรุง วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อให้การกำกับดูแลด้านเนื้อหามีประสิทธิภาพ ในเชิงรุก เหมาะสมต่อสภาวการณ์ บนพื้นฐาน ของข้อมูลเชิงประจักษ์ วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคมิให้ถูกเอา เปรียบจากผู้ประกอบกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อส่งเสริมการจัดให้มีบริการกระจายเสียง และโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อ สังคม รวมถึงการมีเนื้อหาที่มีคุณภาพ มีความ หลากหลายในมิติทางสังคม วัตถุประสงค์ที่ 4 เพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการ รับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์จากข้อมูล ข่าวสารอย่างเท่าเทียม ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมและกำกับดูแลด้านเนื้อหา การคุ้มครองผู้บริโภค และการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ เพื่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารของประชาชนในโลกดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ

31 ปี 2566 1. พิจารณาปรับปรุงแนวทางในการกากับดูแลและ คุ้มครองผู้ใช้บริการในบริการแบบหลอมรวม ( Converged Services) และบริการควบ ( Bundle Services) ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 2. ดำเนินการให้ผู้ประกอบกิจการทบทวน และหรือ กำหนดแบบสัญญาการให้บริการแบบหลอมรวมให้ เป็นไปตามมาตรฐาน เป็นธรรม และง่ายสาหรับ ผู้ใช้บริการในการแยกแยะอัตราค่าบริการ 3. กระชับกระบวนการดำเนินการตามแนวทางการ แก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนที่เน้นการแก้ปัญหาการ กระทาผิดซ้ำ 4 . ทบทวนกระบวนการแก้ปัญหาและจัดการเรื่อง ร้องเรียนประเภทต่าง ๆ ทั้งระบบ เพื่อกาหนด แนวทาง วิธีการให้รวดเร็วขึ้น ปี 2567 1. ดาเนินการตามแนวทางการแก้ไขปัญหา เรื่องร้องเรียน ที่เน้นการแก้ปัญหาการ กระทำผิดซ้าอย่างต่อเนื่อง 2. กากับดูแลและคุ้มครองผู้ใช้บริการใน บริการแบบหลอมรวม (Converged Services) และบริการควบ ( Bundle Services) ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 3. ดาเนินการให้ผู้ประกอบกิจการและ หน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องร่วมให้ ความเห็นและแก้ปัญหาในการจัดการเรื่อง ร้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ปี 2568 1. ดำเนินมาตรการต่อเนื่องเช่นเดียวกับปีก่อนหน้า 2. จัดให้มีการสารวจภาคประชาชนว่าด้วยความ เป็นธรรมจากการรับบริการกระจายเสียงและ โทรทัศน์ 3. จัดให้มีการสำรวจสถิติจำนวนเรื่องร้องเรียน ว่าด้วยสัญญาการให้บริการที่เอาเปรียบผู้บริโภคที่ ควรลดจานวนลง ( สัญญาที่ไม่เป็นธรรม ไม่โปร่งใส และ / หรือเจตนาที่จะไม่สื่อสารให้ผู้บริโภคทราบ อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในกรณีของบริการแบบ หลอมรวม - Converged Services) และบริการ ควบ ( Bundle Services) 4. สรุปสถิติของระยะเวลาแก้ปัญหาและจัดการ เรื่องร้องเรียนโดยเฉลี่ยตลอดระยะเวลาของแผน แม่บทฯ วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคมิให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เป้าหมาย : 1 . ผู้ใช้บริการได้รับบริการอย่างเป็นธรรม ภายใต้บริบทของการให้บริการในลักษณะหลอมรวม (Converged Services) และบริการควบ ( Bundle Services) 2. มีการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 3. มีการส่งเสริมการรวมกลุ่ม และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเป็นเครือข่ายผู้บริโภค ผู้ชม - ผู้ฟัง ที่เข้มแข็ง อย่างเป็นระบบ 4. มีการพัฒนากลไกความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริมและคุ้มครองผู้บริโภค อย่างเป็นระบบ กลยุทธ์ : การคุ้มครองผู้บริโภคในโลกยุคใหม่ผ่านกลไกผู้เกี่ยวข้อง 360 องศา Flagships ตามอายุแผนที่เหลือ

32 ปี 2566 5 . จัดทาฐานข้อมูลสมาชิกเครือข่ายให้เป็นปัจจุบัน อยู่เสมอ และมีข้อตกลงร่วมในเรื่องบทบาทและ ความสัมพันธ์ของสมาชิกเครือข่ายทั้งภายในกลุ่มและ ภายนอกกลุ่ม รวมถึงประเมินผลการพัฒนาเครือข่าย 6 . สร้างกลไกความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่ เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การจัดการปัญหา การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพในกิจการกระจายเสียง และโทรทัศน์ ปี 2567 4. สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายฯ โดย การให้ข้อมูลข่าวสาร ( Inform ) ผ่านกระบวนการที่ หลากหลาย และการรับฟังความคิดเห็น ( Consult) ที่มีข้อสรุปความคิดเห็นที่ชัดเจนพอสมควร 5. กาหนดกระบวนการทางาน ทั้งการป้องปราม และการปราบปราม ให้ชัดเจน เป็นรูปธรรม เช่น การเชื่อมโยงข้อมูล การร่วมกันกำกับดูแล การสร้าง ความรู้แก่ประชาชน รวมทั้งสร้างความเข้าใจกับ เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปี 2568 5. ประเมินระดับการมีส่วนร่วมและจัดทา รายงานผลผลิตจากการรวมกลุ่มและการสร้าง เครือข่ายผู้บริโภค ผู้ชม - ผู้ฟัง ที่ชัดเจน เป็นระบบ ( Inform / Consult / Involve) ตามหลักการมี ส่วนร่วมของ International Association for Public Participation – IAP) 6. ประเมินและจัดทารายงานสรุปผลผลิตที่ ชัดเจนที่เกิดจากการพัฒนากลไกความร่วมมือกับ หน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริมและคุ้มครอง ผู้บริโภค อย่างเป็นระบบ วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคมิให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ( ต่อ ) เป้าหมาย : 1 . ผู้ใช้บริการได้รับบริการอย่างเป็นธรรม ภายใต้บริบทของการให้บริการในลักษณะหลอมรวม (Converged Services) และบริการควบ ( Bundle Services) 2. มีการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 3. มีการส่งเสริมการรวมกลุ่ม และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเป็นเครือข่ายผู้บริโภค ผู้ชม - ผู้ฟัง ที่เข้มแข็ง อย่างเป็นระบบ 4. มีการพัฒนากลไกความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริมและคุ้มครองผู้บริโภค อย่างเป็นระบบ กลยุทธ์ : การคุ้มครองผู้บริโภคในโลกยุคใหม่ผ่านกลไกผู้เกี่ยวข้อง 360 องศา Flagships ตามอายุแผนที่เหลือ ( ต่อ )

เป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ แนวทางการ ดำเนินงาน 1. ประชาชนสามารถเข้าถึง ใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารอย่างรู้เท่าทัน และมีสมรรถนะด้านดิจิทัล (Digital Competency) 2. คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส สามารถเข้าถึง รับรู้ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารอย่างเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป 1. ผลการสารวจประชาชนในการเข้าถึง รับรู้ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารจากผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ประเภทต่างๆ อย่างรู้เท่าทัน ที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 2. ผลการสารวจประชาชนในการมีสมรรถนะด้านดิจิทัล (Digital Competency) ที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 3. ผลการสารวจคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ในการเข้าถึง รับรู้ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารอย่างเท่าเทียมบุคคลทั่วไปที่ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 การบริหารจัดการการเข้าถึง รับรู้ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งการยกระดับสมรรถนะด้านดิจิทัล ของทุกภาคส่วน อย่างเท่าเทียม 1. ปรับปรุงแผนการจัดให้มีบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ให้มีเนื้อหาครอบคลุมการเข้าถึง รับรู้ ใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารอย่างรู้เท่าทัน ของประชาชนตามเป้าหมายทุกภาคส่วน รวมถึงจัดให้มีการเสริมสร้างสมรรถนะด้านดิจิทัล (Digital Competency) ของประชาชน 2. สร้างพันธมิตรกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมมือกันดาเนินมาตรการตามแผนจัดให้มีบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึง และบริการเพื่อสังคม 3. สนับสนุนการให้ทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาการเข้าถึง รับรู้ และใช้ประโยชน์ของคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผ่านกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการ กระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อให้การกำกับดูแลด้านเนื้อหามีประสิทธิภาพ ในเชิงรุก เหมาะสมต่อสภาวการณ์ บนพื้นฐาน ของข้อมูลเชิงประจักษ์ วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคมิให้ถูกเอา เปรียบจากผู้ประกอบกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อส่งเสริมการจัดให้มีบริการกระจายเสียง และโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อ สังคม รวมถึงการมีเนื้อหาที่มีคุณภาพ มีความ หลากหลายในมิติทางสังคม วัตถุประสงค์ที่ 4 เพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการ รับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์จากข้อมูล ข่าวสารอย่างเท่าเทียม 33 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมและกำกับดูแลด้านเนื้อหา การคุ้มครองผู้บริโภค และการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ เพื่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารของประชาชนในโลกดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ

34 ปี 2566 1. กำหนดรูปแบบ ทางเลือกที่เหมาะสมในการสร้าง การรู้เท่าทันและสร้างสรรถนะด้านดิจิทัลของประชาชน 2. หาพันธมิตรในการดำเนินการสร้างการรู้เท่าทันและ สร้างสรรถนะด้านดิจิทัลของประชาชน โดยการร่วมมือ กับองค์กรที่มีศักยภาพ เช่น ร่วมมือกับสถาบัน การศึกษาผ่านการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม และ การสร้างความตระหนักรู้ ( Public Awareness) 3 . ดำเนินมาตรการส่งเสริมตามแผนการจัดให้มีบริการ กระจายเสียงและบริการโทรทัศน์พื้นฐานโดยทั่วถึงและ บริการเพื่อสังคม และอื่นๆ 4. กำกับดูแลตามมาตรการพื้นฐานการจัดทาบริการ สาหรับคนพิการ 5 . ศึกษาวิเคราะห์เพื่อจัดทามาตรการเกี่ยวกับการ เข้าถึง รับรู้ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร ของ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ปี 2567 1. ดำเนินการสร้างการรู้เท่าทัน และสร้างสรรถนะ ด้านดิจิทัลของประชาชน ผ่านความร่วมมือกับ พันธมิตร เช่น สถาบันการศึกษา ในการจัดการ เรียนการสอน การจัดกิจกรรม และการสร้างความ ตระหนักรู้ ( Public Awareness) อย่างต่อเนื่อง 2. ติดตามกำกับดูแลตามมาตรการพื้นฐานการ จัดทาบริการ สาหรับคนพิการ 3. ดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมตามแผนการจัด ให้มีบริการกระจายเสียงและบริการโทรทัศน์ พื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม และอื่นๆ 4 . จัดทามาตรการเกี่ยวกับการเข้าถึง รับรู้ และใช้ ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร ของผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ปี 2568 1. ทาการสำรวจระดับการเข้าถึง รับรู้ และใช้ ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร อย่างรู้เท่าทัน ของประชาชน 2. ทาการสำรวจระดับการมีสมรรถนะด้าน ดิจิทัล (Digital Competency) ของ ประชาชน 3. ทาการสารวจระดับการเข้าถึง รับรู้ และใช้ ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารอย่างเท่าเทียม บุคคลทั่วไปของคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส วัตถุประสงค์ที่ 4 เพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการรับรู้ เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารอย่างเท่าเทียม เป้าหมาย : 1. ประชาชนสามารถเข้าถึง ใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารอย่างรู้เท่าทัน และมีสมรรถนะด้านดิจิทัล (Digital Competency) 2. คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส สามารถเข้าถึง รับรู้ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารอย่างเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป กลยุทธ์ : การบริหารจัดการการเข้าถึง รับรู้ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสาร และการยกระดับสมรรถนะด้านดิจิทัล ของทุกภาคส่วน อย่างเท่าเทียม Flagships ตามอายุแผนที่เหลือ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การให้บริการและการกำกับดูแลที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล การให้บริการและการกากับดูแลที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล มีการใช้ระบบการอนุญาต บนพื้นฐานของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และนาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการกากับ ดูแลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 35

วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อให้มีการนาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ใน การอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรให้รองรับ การปฏิบัติงานที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อนาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการกากับ ดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การให้บริการและการกากับดูแลที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล เป้าหมาย 1 . มีระบบการอนุญาตกระจายเสียงและโทรทัศน์ ที่นาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ เป้าหมาย 2. มีฐานข้อมูลกลางด้านกิจการกระจายเสียงและ โทรทัศน์ในรูปแบบดิจิทัลที่ถูกต้อง ทันสมัย เพื่อใช้ ประโยชน์ในการอนุญาตประกอบกิจการ และการกากับดูแล เป้าหมาย 3. บุคลากรมีความสามารถในการปรับตัวสู่ระบบ การให้บริการและการกากับดูแลที่มุ่งสู่ความเป็น ดิจิทัล 36

เป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ แนวทางการ ดำเนินงาน มีระบบการอนุญาตกระจายเสียงและโทรทัศน์ที่นาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ 1. การพัฒนาการให้บริการสู่ระบบดิจิทัลที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้สะดวก รวดเร็ว 2. การสร้างระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงข้อมูลด้านการอนุญาตและสามารถตรวจสอบสถานะของผู้ขอรับใบอนุญาตได้ ในรูปแบบดิจิทัล 1 . สารวจความต้องการของผู้เกี่ยวข้องและผู้ใช้บริการเพื่อนาเทคโนโลยีมาปรับใช้ในกระบวนการอนุญาต 2. จัดหาผู้เชี่ยวชาญและทีมงานที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนระบบการอนุญาตไปสู่ความเป็นดิจิทัล ความสาเร็จในการพัฒนาระบบการอนุญาตด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 37 วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อให้มีการนาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ ในการอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อนาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการกำกับดูแล กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ให้มี ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรให้รองรับการ ปฏิบัติงานที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การให้บริการและการกากับดูแลที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล

38 ปี 2566 1. เชื่อมโยงระบบของหน่วยงานภายในที่มี การพัฒนาเพื่อรองรับการให้บริการประชาชน ให้สามารถใช้งานร่วมกับระบบ e-BCS เพื่อ รองรับกระบวนการอนุญาตให้ครอบคลุมทุก สำนักที่เกี่ยวข้อง 2. เปิดให้ใช้บริการระบบ e-BCS ผ่าน Mobile Application ปี 2567 1. เพิ่มการสื่อสารการรับรู้และสร้างความ เข้าใจให้ผู้เกี่ยวข้องทราบถึงบริการระบบ e-BCS รองรับการให้บริการประชาชน 2. ขยายการให้บริการประชาชนผ่านระบบ ออนไลน์ให้มีผู้ประกอบกิจการไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 เข้าเข้าระบบ e-BCS ปี 2568 1. ขยายการให้บริการประชาชนผ่านระบบ ออนไลน์ให้มีผู้ประกอบกิจการไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90 เข้าเข้าระบบ e-BCS วัตถุประสงค์ที่ 1 : เพื่อให้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เป้าหมาย : มีระบบการอนุญาตกระจายเสียงและโทรทัศน์ที่นาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ กลยุทธ์ : 1. การพัฒนาการให้บริการสู่ระบบดิจิทัลที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้สะดวก รวดเร็ว 2. การสร้างระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงข้อมูลด้านการอนุญาตและสามารถตรวจสอบสถานะของผู้ขอรับใบอนุญาตได้ในรูปแบบดิจิทัล Flagships ตามอายุแผนที่เหลือ

เป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ แนวทางการ ดาเนินงาน 39 มีฐานข้อมูลกลางด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ใน รูปแบบดิจิทัลที่ถูกต้อง ทันสมัย เพื่อใช้ประโยชน์ในการอนุญาต ประกอบกิจการและการกากับดูแล 1. มีฐานข้อมูลกลางที่พร้อมให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าถึงในรูปแบบ ออนไลน์เพื่อใช้ประโยชน์ในการกากับดูแลร่วมกัน 2. ระบบฐานข้อมูลกลางต้องมีองค์ประกอบตามมาตรฐาน ความถูกต้อง ความปลอดภัย ง่ายต่อการใช้งาน 1. มีผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมในการจัดทาฐานข้อมูลกลาง 2. มีแผนการพัฒนาระบบอนุญาตและฐานข้อมูลกลางที่ เชื่อมโยงข้อมูลอย่างชัดเจน 3. มีระเบียบสานักงาน กสทช . เพื่อรองรับการใช้งานระบบ ฐานข้อมูลกลาง และมาตรการรักษาความปลอดภัย 1. การยกระดับกลไกการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนสู่การใช้ เทคโนโลยีดิจิทัล 2. การผลักดันให้มีการบูรณาการระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดให้เป็นระบบเดียว ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การให้บริการและการกากับดูแลที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อให้มีการนาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ ในการอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อนาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการกำกับดูแล กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ให้มี ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรให้รองรับการ ปฏิบัติงานที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล

40 ปี 2566 1. บูรณาการข้อมูลสำนักเข้าสู่ฐานข้อมูล เดียวกัน 2. ปรับปรุงช่องทางสื่อสารออนไลน์ให้น่าสนใจ ทันสมัย เข้าถึงง่าย สะดวก ก่อประโยชน์สูงสุด ต่อสาธารณะ 3. พัฒนาและทดสอบการเชื่อมโยงข้อมูลกับ ศูนย์ข้อมูลออนไลน์ 4. จัดอบรมการใช้งานระบบฐานข้อมูลกลาง ด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ เพื่อ ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากร 5. ประเมินผลการใช้งานฐานข้อมูลกลาง ด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ปี 2567 1. เชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์ข้อมูล และกับ ระบบสารสนเทศส่วนกลางของสานักงาน 2. Revisit ระบบฐานข้อมูลกลางของสายงาน เพื่อการปรับปรุงให้สามารถตอบโจทย์ ส่วนกลางและรัฐบาลได้ดียิ่งขึ้น 3. ขยายการพัฒนาและทดสอบการเชื่อมโยง ข้อมูลกับศูนย์ข้อมูลออนไลน์และระบบ สารสนเทศของสานักงานส่วนกลางให้ ครอบคลุมมากขึ้น ปี 2568 1. จัดการให้ระบบฐานข้อมูลกลางของ สายงานมีข้อมูลครบในมิติหลักที่จำเป็น ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน 2. เชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์ข้อมูลทุกด้าน และกับระบบสารสนเทศส่วนกลางของ สำนักงาน วัตถุประสงค์ที่ 2 : เพื่อนาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการกากับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เป้าหมาย มีฐานข้อมูลกลางด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ในรูปแบบดิจิทัลที่ถูกต้อง ทันสมัย เพื่อใช้ประโยชน์ในการอนุญาตประกอบกิจการและการกากับดูแล กลยุทธ์ 1. การยกระดับกลไกการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนสู่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2. การผลักดันให้มีการบูรณาการระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้เป็นระบบเดียว Flagships ตามอายุแผนที่เหลือ

เป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ แนวทาง การดาเนินงาน 41 บุคลากรมีความสามารถในการปรับตัวสู่ระบบการให้บริการและการกากับดูแลที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล 1. ศึกษา วิเคราะห์ กำหนดแนวทาง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้เหมาะสม สอดคล้องกับแนวทางที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล 2. ส่งเสริมผู้เกี่ยวข้องให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากระบบอนุญาตและฐานข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล การผลักดันให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานภายใต้ระบบการให้บริการและระบบการกากับดูแลที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัลได้ตาม เป้าหมาย โดยไม่มีข้อขัดข้องที่ส่งผลกระทบต่องาน บุคลากรสามารถปฏิบัติงานภายใต้ระบบการให้บริการและระบบการกากับดูแลที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัลได้ตามเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การให้บริการและการกากับดูแลที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อให้มีการนาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ ในการอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อนาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการกำกับดูแล กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ให้มี ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรให้รองรับการ ปฏิบัติงานที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล

42 ปี 2566 1. สำรวจความต้องการใช้เครื่องมือดิจิทัล สนับสนุนการปฏิบัติงาน ทั้งระบบงานหลักและ งานเสริม 2. จัดหาช่องทางที่หลากหลายสำหรับส่งเสริม การเรียนรู้และพัฒนาทักษะดิจิทัลของบุคลากร 3. ฝึกทักษะบุคลากรในการสื่อสารและนาเสนอ ข้อมูลให้น่าสนใจ เข้าใจง่าย ผ่าน Infographic และ Data Visualization 4. จัดให้มีเวทีการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการ เขียนบทวิเคราะห์ที่สาคัญต่ออุตสาหกรรมเพื่อ เผยแพร่สู่สาธารณะ ปี 2567 1. จัดให้มีการถ่ายทอดทักษะในการจัดทำ Data Visualization ผ่านกระบวนการ ปฏิบัติงาน (On the job training) 2. พยายามแสวงหาความรู้จากองค์กร ต้นแบบในการพัฒนา R2R 3. พัฒนาโครงการนาร่องการศึกษาวิจัยแบบ R2R 4. จัดอบรมให้แก่บุคลากรที่มีการหมุนเวียน ใช้งานระบบงานหลักของสายงาน เช่น ระบบ Online B/C Plan Tracking ปี 2568 1. จัดให้มีการหมุนเวียนบุคลากรระดับ ปฏิบัติการทุกคนให้สามารถใช้งานระบบ หลักอย่างทดแทนกันได้ 2. ประเมินความสามารถในการใช้งาน ระบบหลักของบุคลากร วัตถุประสงค์ที่ 3 : เพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรให้รองรับการปฏิบัติงานที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล เป้าหมาย : บุคลากรมีความสามารถในการปรับตัวสู่ระบบการให้บริการและการกากับดูแลที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล กลยุทธ์ : การผลักดันให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานภายใต้ระบบการให้บริการและระบบการกากับดูแลที่มุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล ได้ตามเป้าหมายโดยไม่มีข้อขัดข้องที่ส่งผลกระทบต่องาน Flagships ตามอายุแผนที่เหลือ