Tue Jun 27 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศคณะกรรมการการบินพลเรือน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณค่าบริการการเดินอากาศ พ.ศ. 2566


ประกาศคณะกรรมการการบินพลเรือน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณค่าบริการการเดินอากาศ พ.ศ. 2566

ประกาศคณะกรรมการการบินพลเรือน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณค่าบริการการเดินอากาศ พ.ศ. 2566 อาศัยอานาจตามมาตรา 15 (8) และมาตรา 15/26 แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 คณะกรรมการการบินพลเรือน ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 มีมติกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคานวณค่าบริการการเดินอากาศ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศคณะกรรมการการบินพลเรือน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคานวณค่าบริการการเดินอากาศ พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 บริการการเดินอากาศในประกาศนี้ แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ดังต่อไปนี้ (1) บริการการจัดการจราจรทางอากาศ (2) บริการระบบสื่อสาร ระบบช่วยการเดินอากาศ และระบบติดตามอากาศยาน (3) บริการอุ ตุนิยมวิทยาการบิน (4) บริการข่าวสารการบิน (5) บริการออกแบบวิธีปฏิบัติการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน (6) บริการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย ข้อ 4 การคำนวณค่าบริการการเดินอากาศให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) การไม่เลือกปฏิบัติ ( Non - Discrimination ) โดยการเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการ ทุกรายที่ใช้บริการด้านเดียวกัน จะต้องเท่าเทียมกัน โดยไม่แบ่งแยกตามสัญชาติของผู้ใช้บริการ (2) การกาหนดต้นทุนจัดหาบริการเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริการนั้น ( Cost - relatedness ) โดยการคำนวณค่าบริการที่เรียกเก็บจะต้องคำนวณจากต้นทุนในการจัดหาบริการนั้น ๆ เท่านั้น ไม่ให้รวมต้นทุนจากบริการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง (3) ความโปร่งใส ( Transparency ) โดยการคำนวณ ระบบบัญชี ระบบการเรียกเก็บ ข้อมูลรายการที่นำมาใช้ในการคำนวณต้นทุน จะต้องตร วจสอบได้ ซึ่งรายการที่นำมาคานวณจะต้องเป็น รายการต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาบริการนั้น ๆ เท่านั้น (4) การหารือกับผู้ใช้บริการ ( Consultation with Users ) โดยให้มีการชี้แจงข้อมูล ที่มาและเหตุผลความจาเป็นในการจัดเก็บค่าบริการ ข้อมูลรายการต้นทุนที่ใช้ใน การคานวณค่าบริการ เงื่อนไข และวิธีการจัดเก็บค่าบริการสำหรับผู้ใช้บริการแต่ละกลุ่ม ้ หนา 32 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 151 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 มิถุนายน 2566

ข้อ 5 วิธีการและเงื่อนไขในการคานวณค่าบริการการเดินอากาศ มีดังนี้ (1) การคำนวณค่าบริการให้เป็นไปตามหลักการสะท้อนค่าใช้จ่าย ( Cost Recovery ) และสามารถกำหนดกำไรได้อย่างส มเหตุสมผล โดยการกำหนดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ใช้สำหรับ การคานวณค่าบริการแต่ละด้าน ต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีบริการนั้น รวมทั้งค่าใช้จ่าย ในการดาเนินการเพื่อรักษาคุณภาพการให้บริการการเดินอากาศตามมาตรฐานสากล และค่าใช้จ่าย ในการดาเนินการอื่นที่เกี่ ยวข้อง ทั้งนี้ การกาหนดต้นทุนสาหรับการคานวณค่าบริการการเดินอากาศ แต่ละด้าน ให้เป็นไปตามหลักการ ดังนี้ (ก) กาหนดต้นทุนของค่าบริการการเดินอากาศให้ครอบคลุมต้นทุนทั้งหมดในการจัดหา บริการการเดินอากาศ โดยรวมต้นทุนทางการเงินและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินในสัดส่วนที่เหมาะสม รวมทั้งต้นทุนในการบำรุงรักษา การปฏิบัติการ การบริหารงาน และการจัดการของหน่วยงาน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาบริการการเดินอากาศ (ข) ในกรณีที่ต้นทุนการให้บริการสาห รับเที่ยวบินเส้นทางบินภายในประเทศและเที่ยวบิน เส้นทางบินระหว่างประเทศมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญ จะต้องแบ่งสัดส่วนต้นทุนสาหรับ บริการเส้นทางบินภายในประเทศและเส้นทางบินระหว่างประเทศให้ชัดเจนก่อน (ค) การกระจายต้นทุนบริการการเดินอากาศระหว่างผู้ใช้บริการก ลุ่มต่าง ๆ จะต้องมี ความเป็นธรรมและเหมาะสม โดยต้นทุนที่กระจายไปยังเที่ยวบินพลเรือนภายในประเทศ เที่ยวบินพลเรือน ระหว่างประเทศ เที่ยวบินของราชการหรือเที่ยวบินที่ได้รับการยกเว้น รวมทั้งผู้ใช้บริการที่นอกเหนือจาก การปฏิบัติการบิน จะต้องมีการกาหนดสัดส่วนอย่ำงเป็นธรรมสาหรับบริการที่จัดหาให้ผู้ใช้บริการ แต่ละกลุ่มซึ่งจะต้องไม่สร้างภาระให้กับผู้ใช้บริการกลุ่มอื่น (2) ปัจจัยที่ใช้ในการคำนวณค่าบริการการเดินอากาศ มีดังนี้ (ก) ปัจจัยด้านน้าหนักอากาศยาน ( Weight Factor ) ให้ใช้น้าหนักอากาศยานที่คานวณ จากมวลวิ่งขึ้ นสูงสุด ( Maximum Takeoff Weight หรือ MTOW ) ของอากาศยานที่ใช้ในแต่ละ เที่ยวบิน ร่วมกับตัวคูณปรับค่าน้ำหนักอากาศยาน (ถ้ามี) โดยใช้ค่าน้าหนักอากาศยานตามที่ระบุไว้ใน คู่มือประกอบการบินของอากาศยานนั้น หรือในกรณีที่ไม่มีการระบุไว้ในคู่มือประกอบการบินข องอากาศยาน ให้ใช้มวลวิ่งขึ้นสูงสุดตามแบบอากาศยานที่ผู้ผลิตกำหนด โดยมีหน่วยเป็นเมตริกตันหรือเทียบเท่า (ข) ปัจจัยด้านระยะทางบิน ( Distance Factor ) ให้ใช้ข้อมูลระยะทางที่ทาการบินจริง ที่ระบุในแผนการบิน ร่วมกับตัวคูณปรับค่าระยะทางบิน (ถ้ามี) โดยคานวณระยะทางบินจากจุดเข้าถึง จุดออกของเส้นทางบินตามระยะทางที่สั้นที่สุดระหว่างจุดสองจุดบนพื้นผิวโลก วัดตามความโค้งของ พื้นผิวโลก ( Great Circle Distance ) ภายในเขตภูมิภาคข่าวสารการบินในราชอาณาจักร ( Bangkok Flight Information Region หรือ Bangkok FIR ) ซึ่งจะมีการหักระยะทางในช่วงการบินในบริเวณสนามบิน และเขตประชิดสนามบิน มีหน่วยเป็นกิโลเมตรหรือเทียบเท่า ้ หนา 33 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 151 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 มิถุนายน 2566

(ค) อัตราค่าบริการต่อหน่วยการใช้บริการ ( Unit Rate ) ให้คำนวณจากต้นทุนของ การให้บริการด้านนั้น ๆ ที่เกิดขึ้นจริง โดยประมาณการต้นทุนในช่วงห้า (5 ) ปีข้างหน้าของบริการ แต่ละด้าน ถัวเฉลี่ยทุกสนามบินที่ให้บริการ แล้วนำมาหารกับจำนวนหน่วยการใช้บริการจาก การประมาณการในช่วงห้า (5) ปีข้างหน้า โดยให้คานวณอัตราค่าบริการต่อหน่วยการใช้บริการแต่ละด้าน (ง) ตัวคูณเพื่อปรับค่า ( Terminal Multiplier ) เพื่อปรับค่าบริการให้สอดคล้องกับต้นทุน ของสนามบินแต่ละแห่ง (ถ้ามี) (3) การคำนวณค่าบริการการเดินอากาศให้เป็นไปตามวิธีการ ดังนี้ (ก) สำหรับการให้บริการการเดินอากาศ ในกรณีที่คำนวณค่าบริการหลายด้านรวมกัน 1) ค่าบริการตามเส้นทางบินในพื้นที่ควบคุม ( En rou te Charge ) ค่าบริการ = Unit Rate en x Weight Factor x Distance Factor 2) ค่าบริการในบริเวณสนามบินและเขตประชิดสนามบิน ( Aerodrome & Approach Control Charge ) ค่าบริการ = Unit Rate aa x Weight Factor โดยที่ Unit Rate en หมายถึง อัตราค่าบริการต่อหน่วยการใช้บริการตามเส้นทางบิน ในพื้นที่ควบคุม Unit Rate aa หมายถึง อัตราค่าบริการต่อหน่วยการใช้บริการในบริเวณสนามบิน และเขตประชิดสนามบิน Weight Factor หมายถึง ปัจจัยด้านน้ำหนักอากาศยาน Distance Factor หมายถึง ปัจจัยด้านระยะทางบิน หมายเหตุ : อาจมีการใช้ตัวคูณเพื่อปรับค่า ( Terminal Multiplier ) (ถ้ามี) (ข) สำหรับการให้บริการการเดินอากาศ ในกรณีที่คำนวณค่าบริการแยกรายด้าน ค่าบริการ = Unit Rate x Number of Service Unit โดยที่ Unit Rate หมายถึง อัตราค่าบริการต่อหน่วยการใช้บริการ Number of Service Unit หมายถึง จำนวนหน่วยการใช้บริการ หมายเหตุ : ค่าบริการกรณีที่คานวณค่าบริการแยกรายด้านอาจไม่เป็นไปตามวิธีการคานวณ ข้างต้นได้ โดยผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการสามารถกำหนดค่าบริการผ่านการทำข้อตกลงระหว่างกันแทนได้ (4) การคำนวณค่าบริการอาจแตกต่างกันตามผู้ใช้บริการแต่ละกลุ่ม โดยต้องคำนึงถึง หลักความเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ รวมทั้งสอดคล้องกับนโยบายที่ภาครัฐกาหนด ้ หนา 34 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 151 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 มิถุนายน 2566

(5) อัตราค่าบริการต่อ หน่วยการใช้บริการ ( Unit Rate ) ต้องมีการทบทวนอย่างน้อยทุกห้า (5) ปี หรือเมื่อภาวะเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 25 6 6 อธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประธานกรรมการการบินพลเรือน ้ หนา 35 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 151 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 มิถุนายน 2566