Thu Jun 22 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง รายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอันเป็นสาระสำคัญที่ใช้เป็นพื้นฐานในการวินิจฉัย เกี่ยวกับการทบทวนความจำเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกำเนิดจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี พ.ศ. 2566


ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง รายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอันเป็นสาระสำคัญที่ใช้เป็นพื้นฐานในการวินิจฉัย เกี่ยวกับการทบทวนความจำเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกำเนิดจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี พ.ศ. 2566

ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง รายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอันเป็นสาระสำคัญที่ใช้เป็นพื้นฐานในการวินิจฉัย เกี่ยวกับการทบทวนความจาเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกาเนิดจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี พ.ศ. 2566 ตามที่ได้มีประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง เปิดการทบทวนความจาเป็นในการใช้บังคับ อากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกาเนิด จากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 และประกาศคณะกรรมการพิจารณากำรทุ่มตลาด และการอุดหนุน เรื่อง ให้เรียกเก็บหลักประกันการชำระอากรตอบโต้การทุ่มตลาดในระหว่าง การพิจารณาทบทวนความจาเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป กรณีสินค้าเหล็กแผ่น รีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกาเนิดจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิ ล สาธารณรัฐอิสลาม อิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เพื่อเปิด การทบทวนความจาเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป และกาหนดให้เรียกเก็บหลักประกัน การชำระอากรในระหว่างการพิจารณาทบทวน และต่อมาคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาด และการอุดหนุนได้มีคำวินิจฉัยว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทำให้มี การทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีก จึงให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจาก การนาเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เ ป็นม้วน ที่มีแหล่งกาเนิดจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกีต่อไป ในอัตราเดิม เป็นระยะเวลาห้าปี ตามประกาศคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน เรื่อง ผลการพิจารณาทบทวน ความจาเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลา ดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่น รีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกาเนิดจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี พ.ศ. 2566 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2566 นั้น เพื่อให้เป็นไปตามความในข้อ 2 ข้อ 4 และข้อ 8 ของกฎกระทรวงการแสดงข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน และการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้ การทุ่มตลาดและการอุดหนุน พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาด และการอุดห นุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการตอบโต้ การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 อธิบดีกรมการค้า ้ หนา 24 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 147 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2566

ต่างประเทศจึงออกประกาศแสดงรายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอันเป็นสาระสาคัญที่ใช้เป็ น พื้นฐานในการวินิจฉัยเกี่ยวกับการทบทวนความจาเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 ไว้ ดังเอกสารท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ . 25 6 6 รณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ้ หนา 25 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 147 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2566

เอกสารท้ายประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง รายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอันเป็นสาระสําคัญ ที่ใช้เป็นพื้นฐานในการวินิจฉัยเกี่ยวกับการทบทวนความจําเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกําเนิดจากสหพันธ์ สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี พ . ศ . 2566 ข้อ 1 ความเป็นมา คณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน ( คณะกรรมการ ทตอ .) ซึ่งเป็นคณะกรรมการ ตามพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ . ศ . 2542 ( พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ ) ได้ออกประกาศคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน เรื่อง การตอบโต้ การทุ่มตลาดสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกําเนิดจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี ( ฉบับที่ 3) พ . ศ . 2560 กําหนดให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด จากการนําเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนที่มีความหนา 0.9 – 100 มิลลิเมตร และความกว้าง 100 – 3,200 มิลลิเมตร ที่มีแหล่งกําเนิดจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลาม อิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี ในอัตราร้อยละ 6.88 – 38.27 ของราคา ซี ไอ เอฟ และให้เรียกเก็บอากรตอบโต้ การทุ่มตลาดจากการนําเข้าสินค้าดังกล่าวในอัตราร้อยละ 0 ของราคา ซี ไอ เอฟ ในกรณีนําสินค้าเข้ามาผลิต เพื่อการส่งออกภายใต้กฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม การลงทุน และกฎหมายว่าด้วยศุลกากร มีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2560 ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2565 ข้อ 2 การเปิดทบทวนความจําเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรมการค้าต่างประเทศได้ออกประกาศ เรื่อง เปิดการทบทวนความจําเป็นในการใช้บังคับอากร ตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกําเนิดจาก สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี พ . ศ . 2565 มีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 โดยได้เผยแพร่ประกาศดังกล่าวลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับภาษาไทย และฉบับภาษาอังกฤษ ได้แก่ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เพื่อให้สาธารณชน รับรู้และผู้มีส่วนได้เสียสามารถดําเนินการตามที่กฎหมายและกฎระเบียบกําหนดด้วยความถูกต้องครบถ้วน ข้อ 3 การพิจารณาทบทวนความจําเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 การพิจารณาทบทวนความจําเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 เป็นไปตามหลักเกณฑ์ภายใต้พระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ . ศ . 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ ( ฉบับที่ 2) พ . ศ . 2562 ( พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ) โดยมีรายละเอียดข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายอันเป็นสาระสําคัญที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาวินิจฉัย ดังนี้ 3 . 1 สินค้าที่ถูกพิจารณา ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนที่มีความหนา 0.9 – 100 มิลลิเมตร และความกว้าง 100 – 3,200 มิลลิเมตร ภายใต้พิกัดศุลกากร ตามพระราชกําหนดพิกัดอัตรา ศุลกากร พ . ศ . 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดพิกัดอัตราศุลกากร ( ฉบับที่ 7) พ . ศ . 2564 และ รหัสสถิติ ตามรหัสสถิติสินค้าที่แก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติม ฉบับปี พ . ศ . 2565 ตามประกาศกรมศุลกากร ที่ 194/2564 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมรหัสสถิติสินค้า ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2564 จํานวน 128 รายการ ได้แก่

2 7208.10.00.020 7208.10.00.030 7208.10.00.040 7208.10.00.090 7208.36.00.011 7208.36.00.012 7208.36.00.013 7208.36.00.021 7208.36.00.022 7208.36.00.023 7208.36.00.031 7208.36.00.032 7208.36.00.033 7208.36.00.041 7208.36.00.042 7208.36.00.043 7208.36.00.090 7208.37.00.041 7208.37.00.042 7208.37.00.043 7208.37.00.051 7208.37.00.052 7208.37.00.053 7208.37.00.071 7208.37.00.072 7208.37.00.073 7208.37.00.090 7208.38.00.041 7208.38.00.042 7208.38.00.043 7208.38.00.051 7208.38.00.052 7208.38.00.053 7208.38.00.071 7208.38.00.072 7208.38.00.073 7208.38.00.090 7208.39.20.041 7208.39.20.042 7208.39.20.043 7208.39.20.071 7208.39.20.072 7208.39.20.073 7208.39.20.081 7208.39.20.082 7208.39.20.083 7208.39.20.090 7208.39.90.041 7208.39.90.042 7208.39.90.043 7208.39.90.051 7208.39.90.052 7208.39.90.053 7208.39.90.071 7208.39.90.072 7208.39.90.073 7208.39.90.090 7208.40.00.020 7208.40.00.030 7208.40.00.040 7208.40.00.090 7208.51.00.011 7208.51.00.012 7208.51.00.013 7208.51.00.021 7208.51.00.022 7208.51.00.023 7208.51.00.031 7208.51.00.032 7208.51.00.033 7208.51.00.041 7208.51.00.042 7208.51.00.043 7208.51.00.051 7208.51.00.052 7208.51.00.053 7208.52.00.011 7208.52.00.012 7208.52.00.013 7208.52.00.021 7208.52.00.022 7208.52.00.023 7208.52.00.031 7208.52.00.032 7208.52.00.033 7208.53.00.011 7208.53.00.012 7208.53.00.013 7208.53.00.021 7208.53.00.022 7208.53.00.023 7208.53.00.090 7208.54.90.011 7208.54.90.012 7208.54.90.013 7208.54.90.021 7208.54.90.022 7208.54.90.023 7208.54.90.041 7208.54.90.042 7208.54.90.043 7208.54.90.051 7208.54.90.052 7208.54.90.053 7208.54.90.090 7208.90.90.010 7208.90.90.090 7211.13.13.000 7211.13.19.000 7211.14.15.010 7211.14.15.090 7211.14.16.010 7211.14.16.020 7211.14.16.030 7211.14.16.090 7211.14.19.010 7211.14.19.020 7211.14.19.030 7211.14.19.090 7211.19.13.010 7211.19.13.020 7211.19.13.030 7211.19.13.090 7211.19.19.010 7211.19.19.020 7211.19.19.030 7211.19.19.040 และ 7211.19.19.090 ที่มีแหล่งกําเนิดจากสหพันธ์สาธารณรัฐ บราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี 3.2 ผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการทบทวน 3.2.1 ผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันภายในประเทศ 1) บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จํากัด ( มหาชน ) 2) บริษัท จี สตีล จํากัด ( มหาชน ) 3) บริษัท จี เจ สตีล จํากัด ( มหาชน ) 4) บริษัท สหวิริยาเพลทมิล จํากัด ( มหาชน ) 5) บริษัท แอล พี เอ็น เพลทมิล จํากัด ( มหาชน ) 3.2.2 ผู้ผลิตและผู้ส่งออกจากต่างประเทศ 1) สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (1) Companhia Siderúrgica Nacional (CSN) (2) Usinas Siderúrgicas de Minas Gerais S.A. (Usiminas) 2) สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (1) Esfahan’s Mobarakeh Steel Company

3 3) สาธารณรัฐตุรกี (1) Erdemir (2) Colakoglu metalurji 3.2.3 ผู้นําเข้า 1) บริษัท เพิ่มสินสตีลเวิคส์ จํากัด 2) บริษัท เหล็กสยามพาณิชย์ จํากัด 3) บริษัท ทวีโชค พาณิช จํากัด 4) บริษัท โมโน่สตีล เทรด จํากัด 5) บริษัท วิศวกิจพัฒนา จํากัด 6) บริษัท ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ( ประเทศไทย ) จํากัด 3.2. 4 สมาคมในทางการค้าและกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง 1) กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 2) สมาคมเหล็กแผ่นรีดเย็นไทย 3) สมาคมการค้า ผู้ผลิตเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี 4) สมาคมผู้ผลิตท่อโลหะและแปรรูปเหล็กแผ่น 5) สมาคมต่อเรือและซ่อมเรือไทย 3 . 2 . 5 สถานเอกอัครราชทูตในฐานะรัฐบาลของประเทศแหล่งกําเนิดหรือประเทศผู้ส่งออก สินค้าที่ถูกพิจารณา 1) สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลประจําประเทศไทย 2) สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประจําประเทศไทย 3) สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐตุรกีประจําประเทศไทย 3.3 ช่วงเวลาของข้อมูลที่ใช้ในการพิจารณาทบทวน 1) การพิจารณาว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทําให้มีการทุ่มตลาดต่อไป หรือฟื้นคืนมาอีก ใช้ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 ( ช่วงระยะเวลาการทบทวน หรือ Period of Review : POR) 2) การพิจารณาว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทําให้มีความเสียหายต่อไป หรือฟื้นคืนมาอีก ใช้ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 3.4 การส่งแบบสอบถามเพื่อรับฟังข้อเท็จจริงและความเห็นต่อการเปิดทบทวน เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2565 กรมการค้าต่างประเทศได้ส่งแบบสอบถามไปยังผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องที่ปรากฏรายชื่อตามข้อ 3.2 ตามกฎกระทรวงการดําเนินการเพื่อปกป้องผลประโยชน์ ของผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการไต่สวนการทุ่มตลาด การอุดหนุน และการหลบเลี่ยงมาตรการ ตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน พ . ศ . 2563 เพื่อให้แจ้งข้อเท็จจริงและความเห็นสําหรับใช้ประกอบ การพิจารณาทบทวน โดยมีผู้แจ้งข้อเท็จจริงและความเห็นตามแบบสอบถามภายในระยะเวลาที่กําหนด ดังนี้ 3.4.1 ผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันภายในประเทศ ตามข้อ 3 . 2 .1 จํานวน 4 ราย ดังนี้ 1) บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จํากัด ( มหาชน ) 2) บริษัท จี สตีล จํากัด ( มหาชน ) 3) บริษัท จี เจ สตีล จํากัด ( มหาชน ) 4) บริษัท สหวิริยาเพลทมิล จํากัด ( มหาชน ) 3.4.2 ผู้ผลิตและผู้ส่งออกจากต่างประเทศ ตามข้อ 3 . 2 . 2 จํานวน 1 ราย ได้แก่ Erdemir

4 3.4.3 สมาคมในทางการค้าและกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ตามข้อ 3 . 2 . 4 จํานวน 1 ราย ได้แก่ สมาคมต่อเรือและซ่อมเรือไทย 3.5 ข้อเท็จจริงและความเห็นที่ผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่เกี่ยวข้องแจ้งตามแบบสอบถาม 3.5.1 ผู้ผลิตและผู้ส่งออกจากสาธารณรัฐตุรกี แจ้งว่าบริษัทฯ ไม่มีการส่งออกสินค้าไปยังประเทศไทย โดยปริมาณการนําเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ จากสาธารณรัฐตุรกีต่ํากว่าร้อยละ 1 ( ซึ่งต่ํากว่าเกณฑ์ขั้นต่ําที่กําหนด ตาม Article 5.8 และ 3.7 ของความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาดขององค์การการค้าโลก หรือ Anti-Dumping Agreement : ADA จึงเห็นว่าไม่มีการทุ่มตลาดและไม่มีความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีกตาม Article 11.1 และ 11.2) รวมทั้งไทยและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ใช่ตลาดเป้าหมายของบริษัทฯ อีกทั้ง สถานการณ์รัสเซีย - ยูเครนทําให้ความต้องการใช้เหล็กแผ่นรีดร้อนฯ ของตลาดภายในสาธารณรัฐตุรกี ประกอบกับตลาดในแถบเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดําเพิ่มสูงขึ้น และแม้ว่าจะอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของ โควิด -19 บริษัทฯ ยังคงมีการผลิตเกือบเต็มกําลังการผลิตตามความต้องการใช้ภายในประเทศ ดังนั้น จึงเห็นว่า บริษัทฯ ควรได้รับยกเว้นการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ตาม Article 3.7 5.8 11.1 และ 11.2 ของ ADA ข้อชี้แจง การทบทวนความจําเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดในกรณีนี้เป็นการพิจารณา ทบทวนตามมาตรา 57 แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการพิจารณาว่าการยุติ การเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทําให้มีการทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีกหรือไม่ โดยในกรณีที่คณะกรรมการ ทตอ . มีคําวินิจฉัยว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทําให้มี การทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีก จะให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไปอีกเป็น ระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียมีความประสงค์จะให้คณะกรรมการ ทตอ . พิจารณา ทบทวนเพื่อยุติการเรียกเก็บหรือเปลี่ยนแปลงอัตราอากรตอบโต้การทุ่มตลาด สามารถยื่นคําขอให้คณะกรรมการ ทตอ . พิจารณาทบทวนได้ตามมาตรา 56 แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ โดยจะต้องเสนอพยานหลักฐาน เพียงพอเกี่ยวกับปัญหาการทุ่มตลาดหรือความเสียหายที่สมควรให้มีการทบทวน 3.5.2 สมาคมในทางการค้าที่เกี่ยวข้อง แจ้งข้อเท็จจริงและความเห็นในประเด็นการพิจารณา ประโยชน์สาธารณะว่า (1) ไม่ควรมีการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป เนื่องจากสินค้าเหล็กกําลังขาด ตลาดและไม่มีการทุ่มตลาด รวมทั้งการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดครอบคลุมสินค้าเกินกว่าที่ผู้ผลิตเหล็ก แผ่นรีดร้อนฯ ภายในประเทศผลิตได้จริง ซึ่งผู้ผลิตภายในประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตเหล็กปลายน้ําที่ต้องนําเข้า เหล็กแท่งแบน (Slab) หรือเหล็กแท่งยาว (Billets) เพื่อนํามารีดเป็นเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ ทําให้ต้นทุนการผลิตสูง และส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคขั้นสุดท้ายที่ต้องซื้อสินค้าในราคาสูง รวมทั้งผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ ภายในประเทศได้รับการสนับสนุนจากการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดจนเกินขีดความสามารถ ในการแข่งขันระหว่างประเทศ (2) ควรยกเว้นหรือยกเลิกการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจากการนําเข้า สินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ ที่มีแหล่งกําเนิดจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และ สาธารณรัฐตุรกี โดยใช้วิธีการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดในอัตราร้อยละ 0 ของราคา ซี ไอ เอฟ เช่นเดียวกับกรณีการนําเข้าสินค้ามาผลิตเพื่อการส่งออก และ (3) ควรยกเว้นหรือให้เรียกเก็บอากรตอบโต้ การทุ่มตลาดในอัตราร้อยละ 0 สําหรับกรณีการนําเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบ อุปกรณ์ประกอบ และวัสดุที่นําเข้ามาใช้ซ่อมหรือสร้างเรือ ที่ได้รับการยกเว้นอากรตามภาค 4 ประเภท 7 อาศัยความตามมาตรา 12 แห่งพระราชกําหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ . ศ . 2530 โดยต้องมีเงื่อนไขดังนี้ (1) เป็นเหล็กแผ่นต่อเรือ (Ship plate) ที่ได้รับการรับรองเป็นหนังสือจากสมาคมจัดชั้นเรือ (Classification society) ที่สากลยอมรับเท่านั้น (2) นําเข้ามาเพื่อใช้เป็นวัสดุในการซ่อมหรือสร้างเรือ หรือส่วนประกอบของเรือเท่านั้น และ (3) ได้รับการยกเว้นอากรตามภาค 4 ประเภทที่ 7 มาตรา 12 แห่ง พ . ร . ก . พิกัดอัตราศุลกากร พ . ศ . 2530

5 ข้อชี้แจง การกําหนดให้เรียกเก็บอากรฯ ในอัตราร้อยละ 0 ของราคา ซี ไอ เอฟ ตามความเห็น ของสมาคมในทางการค้าและกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจะต้องเป็นผลจากการพิจารณาประโยชน์ของ อุตสาหกรรมภายใน ผู้บริโภค และประโยชน์สาธารณะประกอบกันอย่างครบถ้วนและรอบด้าน อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ไม่ปรากฏข้อมูลว่าอุตสาหกรรมภายในไม่สามารถผลิตสินค้าชนิดเดียวกันกับสินค้าที่ถูกพิจารณา 3.6 การตรวจสอบความเป็นจริงของข้อกล่าวอ้างและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาทบทวน กรมการค้าต่างประเทศได้ส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลและเอกสาร ที่อุตสาหกรรมภายในแจ้งตามแบบสอบถาม ณ ที่ทําการของบริษัท จี เจ สตีล จํากัด ( มหาชน ) บริษัท สหวิริยา เพลทมิล จํากัด ( มหาชน ) บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จํากัด ( มหาชน ) และบริษัท จี สตีล จํากัด ( มหาชน ) ตามลําดับ ระหว่างวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 โดยพบว่าข้อมูลที่ได้รับตาม แบบสอบถามและเอกสารหลักฐานทางบัญชีที่ผ่านการรับรองแล้วของทุกบริษัท สามารถตรวจสอบได้ตรงกับ เอกสารหลักฐานต้นฉบับ จึงมีความน่าเชื่อถือและสามารถยอมรับได้ 3.7 การแจ้งข้อมูลและข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับการทบทวน 3.7.1 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 กรมการค้าต่างประเทศได้จัดส่งรายละเอียดข้อมูลและ ข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับการทบทวนความจําเป็นในการใช้มาตรการตอบโต้ การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกําเนิดจาก สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี ที่คณะกรรมการ ทตอ . ได้มีมติเห็นชอบแล้ว เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียมีโอกาสยื่นข้อโต้แย้งตามที่มาตรา 30 แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไข เพิ่มเติมกําหนด และได้จัดการประชุมเพื่อรับฟังข้อโต้แย้งและข้อคิดเห็นด้วยวาจาผ่านระบบการประชุม อิเล็กทรอนิกส์ สรุปสาระสําคัญได้ดังนี้ 3.7.1.1 ผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันภายในประเทศ สมาคมในทางการค้าและกลุ่ม อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ไม่เห็นด้วยกับการยุติการใช้มาตรการฯ เนื่องจาก 1) ยังคงพบส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดจากการนําเข้าสินค้าที่ถูกพิจารณาจาก สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี ประกอบกับในปัจจุบันประเทศ ผู้นําเข้าที่เป็นตลาดหลักยังคงมีการใช้มาตรการฯ กับสินค้าที่ถูกพิจารณา ซึ่งหากยุติการเรียกเก็บอากรฯ ปริมาณการนําเข้าสินค้าดังกล่าวจากทั้ง 3 ประเทศจะเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลให้อุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศ มีสภาวะแย่ลง 2) การใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดของไทยสามารถแก้ไขปัญหา การนําเข้าสินค้าที่ถูกพิจารณาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเห็นได้จากปริมาณการนําเข้าสินค้าที่ถูกพิจารณา ลดลงอย่างมากตั้งแต่ปี 2560 ถึงปัจจุบัน 3) การยุติการใช้มาตรการฯ จะทําให้มีการส่งสินค้าที่ถูกพิจารณาจาก สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี มายังประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้มีการทุ่มตลาดต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีก โดยในช่วง POR ประเทศที่ถูกพิจารณาทั้ง 3 ประเทศมีปริมาณ การส่งออกสินค้าที่ถูกพิจารณารวม 4.2 ล้านตัน ซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับข้อมูลในช่วงระยะเวลา ก่อนการทบทวน (Previous Period of Review : PPR) พบว่า ภาพรวมปริมาณการส่งออกของทั้ง 3 ประเทศ เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังคงมีกําลังการผลิตคงเหลือรวมกันกว่า 14 ล้านตันต่อปี และยังมีอัตราการใช้กําลังการผลิตใน ระดับที่ไม่สูงมาก ในขณะที่ปัจจุบันอุตสาหกรรมเหล็กแผ่นรีดร้อนในประเทศไทยมีอัตราการใช้กําลังการ ผลิตต่ํากว่าร้อยละ 50 ของกําลังการผลิตรวมทั้งประเทศ ซึ่งการยุติการใช้มาตรการฯ อาจส่งผลให้อัตราการใช้ กําลังการผลิตของอุตสาหกรรมภายในลดต่ําลงซึ่งจะทําให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น

6 4) ปัจจุบันสหรัฐอเมริกายังคงมีการใช้มาตรการฯ กับสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนฯ จากหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศที่ถูกพิจารณาทั้ง 3 ประเทศด้วย โดยนอกจากสหรัฐอเมริกาแล้ว มีเพียงแคนาดา สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป เท่านั้นที่มีการบังคับใช้มาตรการฯ กับประเทศที่ถูก พิจารณาดังกล่าว จึงเห็นว่าการยุติการเรียกเก็บอากรฯ จะส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าที่ถูกพิจารณาจาก ทั้ง 3 ประเทศมายังประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยประเทศไทยจะกลับมาเป็นเป้าหมายของการทุ่มตลาดอีกครั้ง 5) ในปี 2564 และช่วง POR อุตสาหกรรมภายในมีสภาวะดีขึ้น เนื่องจาก ในปีดังกล่าวเกิดสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ได้แก่ การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 และสถานการณ์รัสเซีย - ยูเครน รวมทั้ง สภาวะเงินเฟ้อ ราคาพลังงานและราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณเหล็กในตลาดโลกขาดแคลนและ มีความต้องการใช้เหล็กเพิ่มขึ้น ทําให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น อุตสาหกรรมภายในจึงมียอดขายเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลปี 2564 และปี 2565 พบว่าสภาวะของอุตสาหกรรมภายในแย่ลงจากสถานการณ์เหล็ก ทั่วโลกที่มีกําลังการผลิตมากกว่าความต้องการใช้ ทําให้มีการส่งออกในลักษณะทุ่มตลาดและหลบเลี่ยงการใช้ มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเพิ่มขึ้น ดังนั้น การนําข้อมูลปี 2564 และในช่วง POR มาเป็นแนวทาง ในการพิจารณาจึงไม่ถูกต้อง เพราะตามสถานการณ์ปัจจุบัน ( ปี 2565) อุตสาหกรรมภายในมีสภาวะแย่ลง อย่างชัดเจน จึงควรนําข้อมูลผลประกอบการที่แย่ลงของอุตสาหกรรมภายในหลังช่วง POR มาประกอบ การพิจารณาด้วย 6) การใช้มาตรการฯ ต่อไป ถือเป็นการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะตาม มาตรา 7 แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เนื่องจากหากไม่มีการเรียกเก็บอากร ตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป อุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศจะไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้ ซึ่งจะส่งผล กระทบต่อเศรษฐกิจไทย เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล็กเป็นอุตสาหกรรมที่มีส่วนสนับสนุนการเจริญเติบโตอย่าง ต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยและมีส่วนช่วยในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในฐานะที่เป็นผู้รีไซเคิลเศษเหล็ก ภายในประเทศไทยที่เป็นระบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะพึ่งพาการผลิต เหล็กชนิดที่ใช้งานทั่วไป (General Purpose Steel) จากผู้ผลิตภายในประเทศของตนมากขึ้น และรัฐบาลของ หลายประเทศมีการใช้มาตรการทางการค้าเพื่อปกป้องผู้ผลิตภายในประเทศ ทั้งนี้ หากยุติการใช้มาตรการตอบโต้ การทุ่มตลาดในช่วงเวลาที่ผู้ผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องในประเทศประสบภาวะขาดทุน จะส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้น ของสินค้าทุ่มตลาดและสร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมภายในจนไม่สามารถดําเนินกิจการต่อไปได้ การปกป้องอุตสาหกรรมภายในจึงมีความสําคัญมากต่อการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทย 3.7.1.2 สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐตุรกีประจําประเทศไทยและสมาคมในทาง การค้าที่เกี่ยวข้อง เห็นด้วยกับการยุติการใช้มาตรการฯ เนื่องจาก สถานเอกอัครราชทูตฯ เห็นว่าประเทศไทย ไม่ใช่ตลาดส่งออกหลักของสาธารณรัฐตุรกี อีกทั้งภาพรวมสภาวะของอุตสาหกรรมภายในของไทยมีแนวโน้ม ดีขึ้นแทบทุกปัจจัย และสมาคมในทางการค้าที่เกี่ยวข้องเห็นว่า ในปัจจุบันตลาดโลกมีกําลังการผลิตเหล็กแผ่น รีดร้อนฯ ลดลง อยู่ในสภาวะขาดแคลนเหล็ก และไม่มีการทุ่มตลาด ซึ่งการใช้มาตรการฯ ต่อไปจะส่งผลให้ ต้นทุนสูงขึ้นและมีผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ 3.7.2 ต่อมาเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566 กรมการค้าต่างประเทศได้จัดส่งรายละเอียด ข้อมูลและข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับการทบทวนความจําเป็นในการใช้ มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกําเนิดจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี ที่คณะกรรมการ ทตอ . มีมติเห็นชอบแล้ว เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียมีโอกาสยื่นข้อโต้แย้งอีกครั้ง โดยกําหนดให้ยื่นข้อโต้แย้งเป็น หนังสือภายในระยะเวลาที่กําหนด สรุปสาระสําคัญได้ดังนี้ 3.7.2.1 ผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันภายในประเทศ สมาคมในทางการค้าและกลุ่ม อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เห็นด้วยกับการต่ออายุการใช้มาตรการฯ เนื่องจากปัจจุบันประเทศที่ถูกพิจารณา

7 ทั้ง 3 ประเทศยังคงมีพฤติกรรมการทุ่มตลาดและถูกหลายประเทศใช้มาตรการฯ โดยยังคงปรากฏส่วนเหลื่อม การทุ่มตลาด และพบการตัดราคา กดราคา และยับยั้งการขึ้นราคาในบางปี นอกจากนี้ ในช่วง POR ประเทศ ที่ถูกพิจารณาดังกล่าวยังมีกําลังการผลิตคงเหลือรวมสูงถึงกว่า 14 ล้านตันต่อปี และมีปริมาณการส่งออก ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพิ่มขึ้นจากในช่วง PPR ถึงร้อยละ 22 โดยมีการส่งออกมายังประเทศในอาเซียน เพิ่มมากขึ้น จึงเห็นว่าการยุติการใช้มาตรการฯ จะทําให้มีการทุ่มตลาดและความเสียหายกลับฟื้นคืนมาอีก ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่ออุตสาหกรรมภายในที่มีสภาวะแย่ลงอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2565 3.7.2.2 สมาคมในทางการค้าที่เกี่ยวข้อง โต้แย้งว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจาก มีเอกสารประกอบจํานวนมากและมีระยะเวลาแจ้งข้อโต้แย้งเพียง 5 วัน และไม่เห็นด้วยกับการต่ออายุการใช้ มาตรการฯ เนื่องจากปัจจุบันตลาดโลกมีกําลังการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนลดลงและกําลังอยู่ในสภาวะขาดแคลนเหล็ก รวมทั้งไม่มีการทุ่มตลาด ซึ่งการใช้มาตรการฯ ต่อไปจะส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้นและส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถ ในการแข่งขันของอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ โดยเห็นว่าการวินิจฉัยให้ต่ออายุการใช้มาตรการฯ ไม่สอดคล้อง กับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 75 และมาตรา 77 และบทบัญญัติมาตรา 50 แห่ง พ . ร . บ . การแข่งขันทางการค้า พ . ศ . 2560 รวมทั้งหลักการค้าเสรีขององค์การการค้าโลก (WTO) ข้อชี้แจง ในการพิจารณาทบทวนตามมาตรา 57 คณะกรรมการ ทตอ . จะต้อง พิจารณาว่า การยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทําให้มีการทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืน มาอีกหรือไม่ โดยในกรณีที่พบว่าการยุติการเรียกเก็บอากรจะทําให้มีการทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไปหรือ ฟื้นคืนมาอีก จะให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไปอีกเป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี ซึ่งในกรณีนี้ คณะกรรมการ ทตอ . ได้พิจารณาในประเด็นดังกล่าวแล้ว พบว่าข้อมูลที่ได้รับในกระบวนการพิจารณาเพียงพอ ที่จะแสดงให้เห็นว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทําให้มีการทุ่มตลาดและความเสียหาย ต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีก 3.7.2.3 สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐตุรกีประจําประเทศไทย ไม่เห็นด้วยกับ การต่ออายุการใช้มาตรการฯ เนื่องจากรายละเอียดข้อมูลที่ปรากฏในร่างผลการทบทวนฯ ฉบับแรกกับฉบับที่ 2 ไม่แตกต่างกันแต่มีผลการทบทวนฯ ที่ไม่สอดคล้องกัน อีกทั้งมีเพียงสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปเท่านั้นที่ใช้ มาตรการฯ กับสาธารณรัฐตุรกี ซึ่งขณะนี้สหรัฐอเมริกายังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาการใช้มาตรการฯ กับสาธารณรัฐตุรกี ส่วนแคนาดาและสหราชอาณาจักรไม่มีการใช้มาตรการฯ กับสาธารณรัฐตุรกีในปัจจุบัน นอกจากนี้ การที่ปริมาณการนําเข้าสินค้าที่ถูกพิจารณาจากสาธารณรัฐตุรกีลดลงอย่างมากแสดงให้เห็นว่า การนําเข้าสินค้าจากสาธารณรัฐตุรกีไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับอุตสาหกรรมภายใน โดยสาธารณรัฐตุรกี ขอสงวนสิทธิ์ในการดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามความตกลงของ WTO ต่อไป ข้อชี้แจง การทบทวนความจําเป็นในการใช้มาตรการฯ จะต้องพิจารณาข้อมูลของผู้มี ส่วนได้เสียและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรมด้วยความรอบคอบและรอบด้าน ตามหลักเกณฑ์ที่ พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้องกําหนดไว้ ซึ่งในกรณีนี้ยังคงพบ ส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดจากการนําเข้าสินค้าที่ถูกพิจารณาจากสาธารณรัฐตุรกี และพบว่ามีการส่งออกสินค้าเหล็ก แผ่นรีดร้อนฯ ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกเป็นจํานวนมากจนติดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศผู้ส่งออกสินค้าเหล็กแผ่น รีดร้อนฯ รายใหญ่ของโลก รวมทั้งในปัจจุบันยังคงถูกใช้มาตรการฯ โดยสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งข้อมูล และข้อเท็จจริงดังกล่าวเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการยุติการใช้มาตรการฯ จะทําให้มีการทุ่มตลาดและ ความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีก 3.8 การวินิจฉัยเกี่ยวกับการทบทวนความจําเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป กรมการค้าต่างประเทศได้นําข้อมูลข้อเท็จจริง ความเห็น และข้อโต้แย้งจากผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่ได้รับตามแบบสอบถามและช่องทางอื่นที่กฎหมายกําหนดซึ่งผ่านกระบวนการตรวจสอบ

8 ความเป็นจริงของข้อกล่าวอ้างและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง มาดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดภายใต้ พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อจัดทําผลการทบทวนฯ เสนอต่อคณะกรรมการ ทตอ . เพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด โดยในกรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียปฏิเสธที่จะนําพยานหลักฐานมาแสดง หรือไม่นําพยานหลักฐานมาแสดงภายในเวลาที่กําหนด หรือไม่ให้ความร่วมมือเพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐาน หรือขัดขวางกระบวนการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาด การพิจารณาจะรับฟังเพียงข้อเท็จจริงเท่าที่มีอยู่หรือ อาจรับฟังไปในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ผู้นั้น ตามที่มาตรา 27 แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ กําหนดไว้ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการ Best Information Available (BIA) ตาม Article 6.8 และ Annex II (1) ของ ADA 3.8.1 การพิจารณาความเป็นไปได้ที่การยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด จะทําให้มีการทุ่มตลาดต่อไปหรือทําให้การทุ่มตลาดฟื้นคืนมาอีก การพิจารณาความเป็นไปได้ดังกล่าวจะคํานวณจากส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดตามหลักเกณฑ์ ที่มาตรา 14 มาตรา 15 และมาตรา 18 ประกอบมาตรา 60 แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไข เพิ่มเติม กําหนด ซึ่งในกรณีนี้ไม่มีผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม กรมการค้าต่างประเทศจึงจําเป็นต้องใช้ข้อมูล ตามคําขอให้เปิดการทบทวนซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเท่าที่มีอยู่ (BIA) ในการพิจารณา โดยยังคงปรากฏส่วนเหลื่อม การทุ่มตลาดซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทําให้มี การทุ่มตลาดต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีก ดังนี้ 1) มูลค่าปกติ พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่มาตรา 15 แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ กําหนด โดยคํานวณจากราคาขายของสินค้าที่ถูกพิจารณาที่ขายในสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี ดังนี้ (1) กรณีสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล และสาธารณรัฐตุรกี อ้างอิงข้อมูลตามเว็บไซต์ www.steelbb.com โดยมูลค่าปกติของสินค้าที่ขายในสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลคํานวณจากข้อมูลราคาขาย ณ ระดับราคา เอฟ โอ บี แล้วทอนเป็นราคา ณ หน้าโรงงาน ส่วนมูลค่าปกติของสินค้าที่ขายในสาธารณรัฐตุรกี คํานวณจากข้อมูลราคาขาย ณ หน้าโรงงาน (2) กรณีสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน อ้างอิงข้อมูลตามเว็บไซต์ www.ifnaa.ir/en โดยมูลค่าปกติคํานวณจากข้อมูลราคาขาย ณ หน้าโรงงาน 2) ราคาส่งออก พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่มาตรา 14 แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ กําหนด โดยคํานวณจากข้อมูลราคาส่งออก ณ ระดับราคา เอฟ โอ บี ของประเทศที่ถูกพิจารณาทั้ง 3 ประเทศ จากการขายสินค้าที่ถูกพิจารณาไปยัง ประเทศในภูมิภาคใกล้เคียงกับประเทศไทย ที่ปรากฏตาม Global Trade Atlas (GTA) แ ล้วทอนเป็นราคา ณ หน้าโรงงาน 3) ส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาด พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่มาตรา 18 แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ กําหนด โดยเปรียบเทียบมูลค่าปกติกับราคาส่งออกที่ขั้นตอนทางการค้าเดียวกันและในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นราคา ณ หน้าโรงงาน ซึ่งปรากฏส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลาม อิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี ในอัตราร้อยละ 34.62 ร้อยละ 23.47 และร้อยละ 22.85 ของราคา ซี ไอ เอฟ ตามลําดับ

9 3.8.2 การพิจารณาความเป็นไปได้ที่การยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทําให้ มีความเสียหายต่อไปหรือทําให้ความเสียหายฟื้นคืนมาอีก การพิจารณาความเป็นไปได้ดังกล่าวในกรณีนี้เป็นการพิจารณาความเสียหายอย่างสําคัญ จากการทุ่มตลาดที่เกิดแก่อุตสาหกรรมภายในและความสัมพันธ์ระหว่างสินค้าทุ่มตลาดกับความเสียหาย ต่ออุตสาหกรรมภายใน ตามหลักเกณฑ์ที่มาตรา 19 มาตรา 20 และมาตรา 21 ประกอบมาตรา 60 แห่ง พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กําหนด โดยพิจารณาจากข้อมูลปริมาณการนําเข้า สินค้าทุ่มตลาดและผลของการทุ่มตลาดที่มีต่อราคาของสินค้าชนิดเดียวกันในตลาดภายในประเทศและผลกระทบ จากสินค้านําเข้าที่ทุ่มตลาดที่มีต่ออุตสาหกรรมภายใน ดังนี้ 1) ปริมาณของสินค้านําเข้าที่ทุ่มตลาดและผลของการทุ่มตลาดที่มีต่อราคาของสินค้า ชนิดเดียวกันในตลาดภายในประเทศ (1) ปริมาณการนําเข้าสินค้าทุ่มตลาด จากข้อมูลสถิติการนําเข้าของกรมศุลกากรในช่วงเวลาที่มีการใช้บังคับอากร ตอบโต้การทุ่มตลาด พบว่าปริมาณการนําเข้าสินค้าที่ถูกพิจารณาในช่วง POR จากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล มีเพียงเล็กน้อย และไม่มีการนําเข้าจากสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านและสาธารณรัฐตุรกี โดยในปี 2561 ถึงปี 2564 ปริมาณการนําเข้ามีแนวโน้มลดลง (2) ผลของการทุ่มตลาดที่มีต่อราคาของสินค้าชนิดเดียวกันภายในประเทศ จากการเปรียบเทียบราคาของสินค้าทุ่มตลาดกับราคาขายของสินค้าชนิด เดียวกันของอุตสาหกรรมภายในที่ขั้นตอนทางการค้าเดียวกันและในช่วงเวลาเดียวกัน พบว่าไม่มีการตัดราคา กดราคา และยับยั้งการขึ้นราคา ในปี 2563 ปี 2564 และในช่วง POR แต่มีการตัดราคาในปี 2560 ถึงปี 2562 มีการกดราคาในปี 2562 และมีการยับยั้งการขึ้นราคาในปี 2562 ถึงปี 2563 2) ผลกระทบของการทุ่มตลาดที่มีต่ออุตสาหกรรมภายใน พิจารณาโดยประเมิน จากปัจจัยและดัชนีทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อสภาวะของอุตสาหกรรมภายใน ดังนี้ (1) ยอดจําหน่าย ปริมาณขาย และราคาขายในประเทศ ในช่วงปี 2560 ถึงปี 2564 ยอดจําหน่าย ปริมาณขาย และราคาขาย ในประเทศค่อนข้างผันผวน กล่าวคือ ปี 2561 เพิ่มขึ้นจากปี 2560 แล้วลดลงในปี 2562 และปี 2563 ก่อนจะเพิ่มขึ้นในปี 2564 ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบช่วง PPR กับช่วง POR พบว่า แม้ว่ายอดจําหน่ายและราคาขาย ในประเทศเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณขายในประเทศลดลง (2) กําไร / ขาดทุน อุตสาหกรรมภายในมีผลประกอบการขาดทุนจากการขายสินค้าชนิด เดียวกันในประเทศมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2560 ถึงปี 2563 แต่ในปี 2564 มีกําไร และเมื่อเปรียบเทียบ ช่วง PPR กับ POR พบว่าอุตสาหกรรมภายในมีผลกําไรเพิ่มขึ้น (3) กําลังการผลิตและและอัตราการใช้กําลังการผลิต อุตสาหกรรมภายในมีกําลังการผลิตสินค้าชนิดเดียวกันคงที่ในช่วงปี 2560 ถึงสิ้นไตรมาส 1 ปี 2565 ( ช่วง POR) แต่มีอัตราการใช้กําลังการผลิตค่อนข้างผันผวน และเมื่อเปรียบเทียบ ข้อมูลในช่วง PPR กับ POR พบว่ามีอัตราการใช้กําลังการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (4) ผลผลิต อุตสาหกรรมภายในมีผลผลิตผันผวนเล็กน้อยในช่วงปี 2560 ถึงปี 2564 และในช่วง POR มีผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากช่วง PPR (5) ผลิตภาพ อุตสาหกรรมภายในมีผลิตภาพค่อนข้างคงที่

10 (6) ส่วนแบ่งตลาด ส่วนแบ่งตลาดของอุตสาหกรรมภายในมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2563 ถึงช่วง POR และส่วนแบ่งตลาดของสินค้าจากประเทศที่ถูกพิจารณาทั้ง 3 ประเทศลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2562 (7) ผลตอบแทนการลงทุน (ROA) ผลตอบแทนการลงทุนของอุตสาหกรรมภายในเพิ่มขึ้นในปี 2564 จนถึง ช่วง POR (8) กระแสเงินสดจากการดําเนินงาน กระแสเงินสดของอุตสาหกรรมภายในค่อนข้างผันผวนในช่วงปี 2561 ถึงปี 2564 และเพิ่มขึ้นในช่วง POR (9) สินค้าคงคลัง สินค้าคงคลังค่อนข้างผันผวนในช่วงปี 2561 ถึงปี 2564 และเพิ่มขึ้น ในช่วง POR (10) การจ้างงาน การจ้างงานของอุตสาหกรรมภายในค่อนข้างคงที่ (11) ค่าจ้างแรงงาน ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างผันผวนในช่วงปี 2561 ถึงปี 2564 และเพิ่มขึ้น ในช่วง POR (12) อัตราการเจริญเติบโต อัตราการเจริญเติบโตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งสวนทางกับความต้องการใช้ ภายในประเทศที่ลดลง (13) ความสามารถในการระดมทุนหรือลงทุน สินทรัพย์ของอุตสาหกรรมภายในมีแนวโน้มลดลง แต่หนี้สินของกิจการ มีแนวโน้มลดลงมากกว่า (14) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าในประเทศ พบการตัดราคาในปี 2560 ถึงปี 2562 การกดราคาปี 2562 และ การยับยั้งการขึ้นราคาในปี 2562 และปี 2563 (15) ความมากน้อยของส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาด เนื่องจากประเทศไทยมีการนําเข้าสินค้าที่ถูกพิจารณาจากสหพันธ์สาธารณรัฐ บราซิลในช่วง POR เพียง 2.17 ตัน และไม่มีการนําเข้าจากสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านและสาธารณรัฐตุรกี ประกอบกับผู้ผลิตจากประเทศที่ถูกพิจารณาทั้ง 3 ประเทศไม่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม จึงใช้ข้อมูลตามคําขอให้เปิดการทบทวนของอุตสาหกรรมภายในในการคํานวณส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาด โดยพบ ส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลที่อัตราร้อยละ 34.62 สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ที่อัตราร้อยละ 23.47 และสาธารณรัฐตุรกีที่อัตราร้อยละ 22.85 ของราคา ซี ไอ เอฟ 3.8.3 สรุปผลการพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะมีการทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไป หรือฟื้นคืนมาอีกตามมาตรา 57 ข้อมูลประกอบการพิจารณาดังกล่าวข้างต้นเพียงพอที่จะเชื่อได้ว่าการยุติการเรียกเก็บ อากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทําให้มีการทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีก เนื่องจากยังคงพบ

11 ส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี ที่อัตรา ร้อยละ 34.62 ร้อยละ 23.47 และร้อยละ 22.85 ของราคา ซี ไอ เอฟ ตามลําดับ และพบการตัดราคา ในช่วงปี 2560 ถึงปี 2562 การกดราคาในปี 2562 และการยับยั้งการขึ้นราคาในปี 2562 ถึงปี 2563 และในช่วง POR ประกอบกับปริมาณการส่งออกสินค้าที่ถูกพิจารณาจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีปริมาณรวมกันถึง 4.2 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วง PPR ถึงร้อยละ 22 อีกทั้งยังคงมีกําลังการผลิตส่วนที่ยังไม่ได้ใช้สูงถึง 14.26 ล้านตันต่อปี โดยสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลมีปริมาณการส่งออกเพิ่มมากขึ้นหลังช่วง POR และยังคงมีอัตราการใช้กําลัง การผลิตที่ต่ํา ( ไม่ถึงร้อยละ 50) ในขณะที่อุตสาหกรรมเหล็กแผ่นรีดร้อนของประเทศไทยมีอัตราการใช้กําลัง การผลิตเพียงประมาณร้อยละ 32 ของกําลังการผลิตรวมทั้งหมด ซึ่งการยุติการเรียกเก็บอากรฯ มีแนวโน้ม ที่จะส่งผลให้อัตราการใช้กําลังการผลิตของอุตสาหกรรมภายในลดต่ําลงอีก และจะทําให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น นอกจากนี้ แม้ว่าในปี 2563 และปี 2564 อุตสาหกรรมภายในจะมีกําไรและยอดขายเพิ่มขึ้นจากผลของ ภาวะตลาดที่ไม่ปกติอันเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด -19 สถานการณ์รัสเซีย - ยูเครน รวมทั้งการเพิ่มสูงขึ้นของ ราคาเหล็กในตลาดโลก แต่จากข้อมูลภาพรวมของการจัดลําดับปริมาณการส่งออกเหล็กแผ่นรีดร้อนของโลก ในช่วง POR ซึ่งสาธารณรัฐตุรกีอยู่ในลําดับที่ 9 สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลอยู่ในลําดับที่ 19 และสาธารณรัฐ อิสลามอิหร่านอยู่ในลําดับที่ 30 ในขณะที่ไทยอยู่ในลําดับที่ 45 ประกอบกับปัจจุบันประเทศที่ถูกพิจารณา ทั้ง 3 ประเทศยังคงถูกใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดโดยสหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และแคนาดา แสดงให้เห็นความเป็นไปได้ว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทําให้มีการส่งออก สินค้าทุ่มตลาดมายังไทยเพิ่มขึ้นและสร้างความเสียหายอย่างสําคัญต่ออุตสาหกรรมภายใน ซึ่งจะส่งผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม ข้อ 4 คําวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน คณะกรรมการ ทตอ . ได้พิจารณาข้อมูลและพยานหลักฐานที่ได้รับในกระบวนการทบทวนตาม หลักเกณฑ์ที่ พ . ร . บ . การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติมกําหนดแล้ว และได้มีคําวินิจฉัยในการประชุม ครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2566 ว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทําให้มี การทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีก และได้ออกประกาศคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาด และการอุดหนุน เรื่อง ผลการพิจารณาทบทวนความจําเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกําเนิดจากสหพันธ์สาธารณรัฐ บราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี พ . ศ . 2566 โดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 57 และมาตรา 73 (1) แห่งพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ . ศ . 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กําหนดให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจากการนําเข้าสินค้าเหล็กแผ่น รีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกําเนิดจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี ต่อไปในอัตราเดิม เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยมีสาระสําคัญ ดังนี้ 4.1 ให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจากการนําเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วน และไม่เป็นม้วน ภายใต้พิกัดศุลกากร ตามพระราชกําหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ . ศ . 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชกําหนดพิกัดอัตราศุลกากร ( ฉบับที่ 7) พ . ศ . 2564 และรหัสสถิติ ตามรหัสสถิติสินค้าที่แก้ไข ปรับปรุงเพิ่มเติม ฉบับปี พ . ศ . 2565 ตามประกาศกรมศุลกากร ที่ 194/2564 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมรหัสสถิติ สินค้า ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2564 จํานวน 128 รายการ ที่มีแหล่งกําเนิดจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล

12 สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี ตามบัญชีท้ายประกาศคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาด และการอุดหนุน เรื่อง ผลการพิจารณาทบทวนความจําเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกําเนิดจากสหพันธ์ สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี พ . ศ . 2566 เป็นระยะเวลา 5 ปี ในอัตรา ดังต่อไปนี้ 1) สินค้าที่มีแหล่งกําเนิดจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล อัตราร้อยละ 34.40 ของราคา ซี ไอ เอฟ 2) สินค้าที่มีแหล่งกําเนิดจากสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (1) สินค้าที่ผลิตจาก Mobarakeh Steel Company อัตราร้อยละ 7.25 ของราคา ซี ไอ เอฟ (2) สินค้าที่ผลิตจากผู้ผลิตรายอื่น อัตราร้อยละ 38.27 ของราคา ซี ไอ เอฟ 3) สินค้าที่มีแหล่งกําเนิดจากสาธารณรัฐตุรกี (1) สินค้าที่ผลิตจาก Çolako ğ lu Metalurji A. Ş . หรือ Çolako ğ lu Di ş Ticaret A. Ş . อัตราร้อยละ 6.88 ของราคา ซี ไอ เอฟ (2) สินค้าที่ผลิตจาก Ere ğ li Demir ve Çelik Fabrikalari T.A. Ş . หรือ Iskenderun Demir ve Çelik A. Ş . อัตราร้อยละ 27.27 ของราคา ซี ไอ เอฟ (3) สินค้าที่ผลิตจากผู้ผลิตรายอื่น อัตราร้อยละ 38.23 ของราคา ซี ไอ เอฟ 4.2 ให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจากการนําเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วน และไม่เป็นม้วน ที่มีแหล่งกําเนิดจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี ตามข้อ 4.1 ในอัตราร้อยละ 0 ของราคา ซี ไอ เอฟ ในกรณีต่อไปนี้ 1) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมและผู้ประกอบพาณิชยกรรมนําสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร และนําเข้าไปในเขตประกอบการเสรี เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือเพื่อพาณิชยกรรมเพื่อการส่งออกภายใต้ กฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 2) ผู้ได้รับการส่งเสริมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนนําสินค้าเข้ามาผลิต เพื่อการส่งออกภายใต้กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน 3) การนําสินค้าเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออกภายใต้กฎหมายว่าด้วยศุลกากร การเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดในอัตราร้อยละ 0 ของราคา ซี ไอ เอฟ ตามวรรคหนึ่ง ผู้นําเข้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการยกเว้นการเรียกเก็บอากรขาเข้าสําหรับการนําเข้า เพื่อการส่งออกตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง _________________________