Thu Jun 22 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สถานที่ตั้งและขนาดพื้นที่สำหรับกระบวนการเผามูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน และแสงสว่าง และการระบายอากาศภายในอาคารที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน พ.ศ. 2566


ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สถานที่ตั้งและขนาดพื้นที่สำหรับกระบวนการเผามูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน และแสงสว่าง และการระบายอากาศภายในอาคารที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน พ.ศ. 2566

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สถานที่ตั้งและขนาดพื้นที่สำหรับกระบวนการเผามูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตราย จากชุมชน และแสงสว่าง และการระบายอากาศภายในอาคารที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดสถานที่ตั้งและขนาดพื้นที่ให้เหมาะสมสาหรับกระบวนการเผามูลฝอย ที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน และกาหนดให้ภายในอาคารต้องมีแสงสว่างและการระบายอากาศ ที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ในการกาจัดมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนไม่ส่งผลกระทบ ต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง และสิ่งแวดล้อม อาศัยอำนาจตามความในข้อ 22 (1) ของกฎกระทรวงการจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชน พ.ศ. 2563 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำ ของคณะกรรมการสาธารณสุข จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สถานที่ตั้งและขนาดพื้นที่ สาหรับกระบวนการเผามูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน และแสงสว่าง และการระบายอากาศ ภายในอาคารที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน พ.ศ. 2566” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในประกาศนี้ “ มูลฝอย ” หมายความว่ำ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “ ผู้กำจัดมูลฝอย ” หมายความว่า หน่วยงานหรือบุคคลตามข้อ 4 แห่งกฎกระทรวง การจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน พ.ศ. 2563 ที่ดาเนินการกาจัดมูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชน โดยการเผาในเตาเผา “ การเผาใน เตาเผา ” หมายความว่า การกาจัดมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน ตามข้อ 22 (3) แห่งกฎกระทรวงการจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน พ.ศ. 2563 “ โบราณสถาน ” หมายความว่า โบราณสถานตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ “ เขตอนุรักษ์ ” หมายความว่า เขตอนุรักษ์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ ที่กาหนดให้เป็นพื้นที่ ป่าอนุรักษ์ป่าชุมชน และพื้นที่เขตอนุรักษ์ป่าชายเลน รวมถึงพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็น เขตอนุรักษ์ป่าชายเลน หรือเขตอนุรักษ์แหล่งน้ำดิบเพื่อการประปา “ พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 ” หมายความว่า เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 ตามมติคณะรัฐมนตรี ประกาศกำหนดให้เป็นเขตสงวนรักษาไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารโดยเฉพาะ เนื่องจากมีลักษณะ และคุณสมบัติที่อาจมีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินได้ง่าย และรุนแรง ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 147 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2566

“ พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 2 ” หมายความว่า เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรี ประกาศกาหนดให้เป็นพื้นที่ลุ่มลาดับรองลงมา โดยสามารถใช้ประ โยชน์ในที่ดินเพื่อกิจการที่สาคัญได้ เช่น การทำเหมืองแร่ เป็นต้น โดยให้หลีกเลี่ยงการใช้ที่ดินเพื่อกิจกรรมทางด้านเกษตรกรรม อย่างเด็ดขาด “ พื้นที่ชุ่มน้ำ ” หมายความว่า พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่าน้ามีน้าท่วมขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้าทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้าขังหรือท่วมอยู่ถาวร และชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่ง และน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล และพื้นที่ของทะเลในบริ เวณซึ่งเมื่อน้าลดลงต่าสุดมีความลึกของระดับน้า ไม่เกิน 6 เมตร ข้อ 4 ห้ามใช้พื้นที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่ตั้งสำหรับการเผาในเตาเผา ( 1 ) โบราณสถาน พื้นที่ลุ่มน้ำ ชั้นที่ 1 และ 2 และพื้นที่ชุ่มน้ำ เขตอนุรักษ์ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด ( 2 ) พื้นที่ห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง ( 3 ) พื้นที่ห้ามก่อสร้างโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน (4) พื้นที่ห้ามก่อสร้างอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ข้อ 5 สถานที่ตั้งสำหรับกระบวนการเผา ต้องเป็นพื้นที่ที่มีที่ดินต่อเนื่ องผืนเดียวและมีขนาดเพียงพอ กับปริมาณมูลฝอยที่ต้องการกำจัดโดยสถานที่ต้องมีพื้นที่เพียงพอสำหรับ ( 1 ) ระบบการรับมูลฝอย การชั่งน้าหนัก การขนถ่าย อาคารเตรียมและพื้นที่กองพักหรือบ่อพัก ที่มีระบบควบคุมมลพิษทางอากาศ การป้อนมูลฝอยเข้าเตาเผาและอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ เช่น ระบบดับเพลิง ระบบซ่อมบารุง ( 2 ) ห้องเผาไหม้ ( Combustion Chamber ) ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศ ( Air Pollution Control System ) และปล่องควัน ( Stacks ) ( 3 ) ระบบจัดเก็บหรือกาจัดขี้เถ้าที่เกิดจากการเผา ( 4 ) พื้นที่จอดยานพาหนะสาหรับกระบวนการรับมูลฝอย และพื้นที่สาหรับการเก็บภาชนะบรรจุ รวมถึงการบารุงรักษาและการล้างทำความสะอาดยานพาหนะและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การขนมูลฝอย ข้อ 6 ผู้กำจัดมูลฝอย ต้องจัดให้มีความเข้มของแสงสว่างภายในอาคาร ( 1 ) บริเวณเก็บและการป้อนมูลฝอยเข้าเตาเผา ไม่น้อยกว่า 100 ลักซ์ (2) บริเวณการขนถ่ายมูลฝอย ไม่น้อยกว่า 100 ลักซ์ (3) บริเวณควบคุมการทำงานของเตาเผา ( Incineration Chamber ) ไม่น้อยกว่า 200 ลักซ์ ( 4 ) บริเวณที่มีผู้ปฏิบัติงาน ต้องมีแสงสว่างตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ้ หนา 22 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 147 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2566

ข้อ 7 ผู้กาจัดมูลฝอย ต้องจัดให้มีระบบระบายอากาศภายในอาคารที่มีผู้ปฏิบัติงานทางานอยู่ ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้ วยการควบคุมอาคาร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ผู้กาจัดมูลฝอย ต้องควบคุมและรักษาระดับความร้อนในบริเวณ ที่มีแหล่งกำเนิดควำมร้อนที่มีผู้ปฏิบัติงานทำงานอยู่ มิให้ เกินมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎ หมายอื่นที่เกี่ยวข้อง กรณีอาคารเก็บและป้อนมูลฝอยเข้าเตาเผา บริเวณการขนถ่ายมูลฝอย รวมถึงอาคารเตาเผา ต้องจัดให้มีระบบรวบรวมอากาศเสียเข้าสู่ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศ ข้อ 8 ผู้กาจัดมูลฝอย โดยการเผาในเตาเผาที่ได้รับใบอนุญาตก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ให้ประกอบกิจการตามเดิมต่อไปได้ โดยไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 4 และข้อ 5 แต่ต้องจัดให้มีมาตรการป้องกัน เหตุรำคาญหรือผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้ เคียงอย่างมีประสิทธิภาพ ประกาศ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 25 6 6 สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ้ หนา 23 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 147 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2566