Thu Jun 22 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สถานที่ตั้งสำหรับการฝังกลบอย่างปลอดภัย และมาตรการป้องกัน และแก้ไขเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566


ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สถานที่ตั้งสำหรับการฝังกลบอย่างปลอดภัย และมาตรการป้องกัน และแก้ไขเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สถานที่ตั้งสำหรับการฝังกลบอย่างปลอดภัย และมาตรการป้องกัน และแก้ไขเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดสถานที่ตั้งสาหรับการฝังกลบอย่างปลอดภัย โดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย เหตุราคาญ หรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น และกาหนดมาตรการป้องกันและแก้ไข เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมจากการฝังกลบมูลฝอยที่เป็ นพิษ หรืออันตรายจากชุมชนอย่างปลอดภัย อาศัยอำนาจตามความในข้อ 21 (1) ของกฎกระทรวงการจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชน พ.ศ. 2563 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำ ของคณะกรรมการสาธารณสุข จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรี ยกว่า “ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สถานที่ตั้งสาหรับการฝังกลบ อย่างปลอดภัย และมาตรการป้องกันและแก้ไขเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในประกาศนี้ “ มูลฝอย ” หมายความว่า มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “ ผู้กำจัดมูลฝอย ” หมายความว่า หน่วยงานหรือบุคคลตามข้อ 4 แห่งกฎกระทรวง การจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน พ.ศ. 2563 ที่ดาเนินการกาจัดมู ลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชน โดยการฝังกลบมูลฝอยอย่างปลอดภัย “ การฝังกลบอย่างปลอดภัย ” หมายความว่า การฝังกลบมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตราย จากชุมชนตามหลักวิศวกรรมที่มีการควบคุมผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นด้านสุขภาพอนามัย สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย ตามข้อ 21 ของกฎกระทรวงการจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน พ.ศ. 2563 “ โบราณสถาน ” หมายความว่า โบราณสถานตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ “ เขตอนุรักษ์ ” หมายความว่า เขตอนุรักษ์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ ที่กาหนดให้เป็นพื้นที่ ป่าอนุรักษ์ป่าชุมชน และพื้นที่เขตอนุรักษ์ป่าชายเลน รวมถึงพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็น เขตอนุรักษ์ป่าชำยเลน หรือเขตอนุรักษ์แหล่งน้ำดิบเพื่อการประปา ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 147 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2566

“ พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 ” หมายความว่า เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 ตามมติคณะรัฐมนตรี ประกาศกำหนดให้เป็นเขตสงวนรักษาไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารโดยเฉพาะ เนื่องจากมีลักษณะ และคุณสมบัติที่อาจมีผลกระทบทางสิ่งแ วดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินได้ง่าย และรุนแรง “ พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 2 ” หมายความว่า เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรี ประกาศกาหนดให้เป็นพื้นที่ลุ่มลาดับรองลงมา โดยสามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อกิจการที่สาคัญได้ เช่น การทำเหมือง แร่ เป็นต้น โดยให้หลีกเลี่ยงการใช้ที่ดินเพื่อกิจกรรมทางด้านเกษตรกรรม อย่างเด็ดขาด “ พื้นที่ชุ่มน้ำ ” หมายความว่า พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่าน้ามีน้าท่วมขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้าขังหรือท่วมอยู่ถาวร และชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่ง และน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม รวมไปถึง พื้นที่ชายฝั่งทะเล และพื้นที่ของทะเลในบริ เวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่าสุดมีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร “ แหล่งน้ำสาธารณะ ” หมายความว่า (1) แม่น้า ลาคลอง ห้วย หนอง บึง ทางน้า แหล่งน้าใต้ดิน ทะเลสาบ ทะเลอาณาเขต และแหล่งน้ำธรรมชาติอื่น ๆ (2) แหล่งน้าของรัฐที่ให้ประชาชนใช้หรือสงวนไว้ให้ประชา ชนใช้หรือโดยสภาพประชาชน อาจใช้ประโยชน์ร่วมกัน (3) แหล่งน้ำที่รัฐจัดสร้างขึ้นเพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน “ แหล่งน้าที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ” หมายความว่า แหล่งน้าที่รัฐจัดสร้าง หรือพัฒนาขึ้น และการใช้สอยเป็นไปเพื่อประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรืออยู่ในการปกครองดูแล และควบคุมโดยตรงของหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อ 4 ห้ามใช้พื้นที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่ตั้งสำหรับการฝังกลบมูลฝอยอย่างปลอดภัย (1) พื้นที่ ลุ่มน้าชั้นที่ 1 และพื้นที่ลุ่มน้าชั้นที่ 2 (2) เขตอนุรักษ์ (3) พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และระดับชาติตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด (4) แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี (5) พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม และน้าป่าไหลหลากตา มที่กรมทรัพยากรธรณีประกาศกาหนด (6) พื้นที่ห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง (7) พื้นที่ห้ามก่อสร้างโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน (8) พื้นที่ห้ามก่อสร้างอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร (9) พื้นที่ซึ่งมีลักษณะกีดขวางการไหลของทางน้ำ และพื้นที่ที่มีโอกาสถูกน้ำกัดเซาะ ตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 147 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2566

(10) พื้นที่ที่มีรอยแตก รอยเลื่อนขนาดใหญ่ตามที่กรมทรัพยากรธรณีประกาศกำหนด รวมทั้ง มีโพรงหิน และพื้นที่ที่มีสภาพไม่มั่นคง ข้อ 5 สถานที่สาหรับการฝังกลบอย่างปลอดภัย ต้องอยู่ห่างจากสถานที่ พื้นที่ หรือเขต ดังต่อไปนี้ (1) แนวเขตขอบลานบินของสนามบินไม่น้อยกว่า 5 , 000 เมตร (2) แนวเขตที่ดินของโบราณสถาน พื้นที่ลุ่มน้าชั้นที่ 1 และพื้นที่ลุ่มน้าชั้นที่ 2 เขตอนุรักษ์ แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ วัด โรงเรียน โรงพยาบาล และชุมชน ไม่น้อ ยกว่า 1 , 000 เมตร (3) บ่อน้าตื้นและน้าใต้ดินของประชาชน และแหล่งน้ำดิบของโรงผลิตน้าประปา ไม่น้อยกว่า 700 เมตร (4) แหล่งน้าสาธารณะ แหล่งน้าที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ แหล่งธรรมชาติ รอยแตก รอยเลื่อนขนาดใหญ่ตามที่กรมทรัพยากรธรณีประกาศกาหนด โพรงหินและพื้นที่ที่มีสภาพ ไม่มั่นคง ไม่น้อยกว่า 100 เมตร ข้อ 6 สถานที่ฝังกลบอย่างปลอดภัย ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) เป็นพื้นที่ที่มีที่ดินต่อเนื่องผืนเดียวและมีขนาดเพียงพอที่จะใช้ฝังกลบได้ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป (2) เป็นพื้นที่ที่ชั้นดินหรือหินตามธรรมชาติ มีอัตราการซึมผ่านของน้ำต่ำถึงต่ำมาก โดยต้องมีคุณสมบัติการซึมผ่านของน้ำ ตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมหรือกรมควบคุมมลพิษกำหนด (3) ไม่เป็นพื้นที่ที่น้าท่วมถึง โดยพิจารณาจากการเกิดน้าท่วมซ้าในช่วงระยะเ วลา 30 ปี ที่ผ่านมา เว้นแต่จะมีระบบหรือมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดการพัดพามูลฝอยออกไปภายนอกพื้นที่ฝังกลบ (4) เป็นพื้นที่ที่ชั้นดินหรือชั้นหินตามธรรมชาติมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่สามารถรองรับ ปริมาณมูลฝอยได้ตามหลักวิศวกรรม ข้อ 7 ผู้กำจัดมูลฝอย โดยการฝังกลบอย่างปลอดภัย ต้องจัดให้มีมาตรการป้องกัน และแก้ไขเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ดังนี้ ( 1 ) มีระบบป้องกัน ควบคุม หรือบำบัดกลิ่น ไอระเหยสารเคมี ฝุ่นละออง เสียงดัง การปนเปื้อนของน้าใต้ดิน และความสั่นสะเทือนที่เกิ ดจากกระบวนการฝังกลบมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ ไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และกฎหมายอื่ นที่เกี่ยวข้อง (2) จัดให้มีมาตรการ วิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติ เพื่อป้องกันปัญหาเหตุราคาญที่อาจส่งผลกระทบ ต่อสุขภาพหรือสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดารงชีพของประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง (3) มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 147 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2566

(4) จัดให้มีแผนป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน รวมถึงการฝึกซ้อมแผนป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตามกฎหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้ อม ในการทำงาน (5) จัดให้มีช่องทางการแจ้งปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญ เหตุฉุกเฉิน หรือเหตุอื่นใด ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ข้อ 8 ผู้กาจัดมูลฝอย โดยการฝังกลบอย่างปลอดภัย ที่ได้รับใบอนุญาตก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ ใช้บังคับ ให้ประกอบกิจกำรตามเดิมต่อไปได้ โดยไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 ประกาศ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 25 6 6 สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ้ หนา 20 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 147 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2566