Thu Jun 22 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ การควบคุมคุณภาพและการจัดการสุขลักษณะของการจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ ในสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2566


ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ การควบคุมคุณภาพและการจัดการสุขลักษณะของการจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ ในสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2566

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ การควบคุมคุณภาพและการจัดการ สุขลักษณะของการจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ ในสถานที่จาหน่ายอาหาร พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุง หลักเกณฑ์ วิธีการ การควบคุมคุณภาพและการจัดการสุขลักษณะ ของการจาหน่ายอาหารประเภทปรุงสาเร็จ ในสถานที่จาหน่ายอาหารให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะโรคติดต่อ ที่เปลี่ยนแปลงไป และการนากัญชา หรือกัญชง มาใช้เป็นส่วนประกอบในการทา ประกอบ หรือปรุงอาหาร เพื่อการจาหน่าย เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการ และผู้สัมผัสอาหารปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และมาตรการ ด้านสุขลักษณะได้อย่างถูกต้อง สามารถป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดต่อและไม่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพอนามัย อาศัยอำนาจตามความในข้อ 11 (2) และ (3) แห่งกฎ กระทรวงสุขลักษณะ ของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำ ของคณะกรรมการสาธารณสุข จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ การควบคุมคุณภาพและการจัดการสุขลั กษณะของการจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ ในสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2566” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิก ( 1 ) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ การควบคุมคุณภาพและการจัดการ สุขลักษณะของการจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ ในสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2565 ( 2 ) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ การควบคุมคุณภาพและการจัดการ สุขลักษณะของการจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ ในสถานที่จำหน่ายอา หาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 256 5 ข้อ 4 ในประกาศนี้ “ อาหารประเภทปรุงสำเร็จ ” หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทา ประกอบ หรือปรุงสำเร็จ พร้อมที่จะรับประทานได้ รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่า ง ๆ “ อาหารประเภทปรุงสาเร็จประเภทใช้ความร้อน ” หมายความว่า อาหารประเภทปรุงสาเร็จ ที่ผ่านกระบวนการใช้ความร้อนในการทา ประกอบ หรือปรุงอาหารด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ทอด แกง ต้ม ผัด ตุ๋น นึ่ง เคี่ยว เผา ย่าง ปิ้ง กวน ฉาบ อบ รมควัน หรือด้วยรูปแบบอื่นใด “ อาหารประเภทปรุงสำเร็จประเภทไม่ใช้ความร้อน ” หมายควำมว่า อาหารประเภทปรุงสำเร็จ ที่ไม่ผ่านกระบวนการใช้ความร้อนในการทา ประกอบ หรือปรุงอาหาร เช่น สลัด แซนด์วิซ ซูชิ ผัก ผลไม้ตัดแต่ง ของหวาน เครื่องดื่ม หรือด้วยรูปแบบอื่นใด ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 147 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2566

“ การควบคุมคุณภาพอาหารประเภทปรุงสาเร็จ ” หมายความว่า การจัดการสุขลักษณะ ของกระบวนการทา ประกอบ หรือปรุงอาหาร การเก็บรักษา และการจาหน่ายอาหารประเภทปรุงสาเร็จ ให้เหมาะสมสำหรับการนำไปบริโภคตามประเภทของอาหาร “ การให้บริการจัดส่งอาหาร ” หมายความว่า การให้บริการขนส่งอาหารประเภทปรุงสาเร็จ จากสถานที่จำหน่ายอาหารที่ผู้ซื้อมีการสั่งซื้ อไว้ล่วงหน้า โดยการขนส่งด้วยยานพาหนะ ของสถานที่จำหน่ายอาหารหรือด้วยวิธีการอื่นใดที่จัดไว้สำหรับการจัดส่งนั้น “ ภาชนะบรรจุอาหาร ” หมายความว่า วัตถุที่ใช้บรรจุอาหารไม่ว่าด้วยการใส่หรือห่อ หรือด้วยวิธีการอื่นใด และให้หมายความรวมถึงฝาหรือจุกด้วย “ ผู้ประก อบกิจการ ” หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรอง การแจ้งจัดตั้งสถานที่จาหน่ายอาหาร และให้หมายความรวมถึงผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุม กากับ หรือดูแลการดาเนินการของสถานที่จำหน่ายอาหารนั้น “ ผู้สัมผัสอาหาร ” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวข้องกับอาหารตั้งแต่กระบวนการเตรียม ประกอบ ปรุง จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร รวมถึงการล้างและเก็บภาชนะอุปกรณ์ “ โรคติดต่อ ” หมายความว่า โรคที่เกิดจากเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรคซึ่งสามารถแพร่ โดยทางตรงหรือทางอ้อมมาสู่คน “ ระบบเทคโนโลยีดิจิทัล ” หมา ยความว่า การนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ และให้ หมายความรวมถึงข้อมูลและการสื่อสารที่เกิดจากการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ต หรือโครงข่ายโทรคมนาคม และระบบเครือข่ายที่คล้ายคลึงกันที่เชื่อมต่อกัน เป็นการทั่วไป ข้อ 5 ผู้ ประกอบกิจการต้องควบคุมคุณภาพอาหารประเภทปรุงสำเร็จประเภทใช้ความร้อน ดังต่อไปนี้ ( 1 ) การทำ ประกอบ หรือปรุงอาหาร ด้วยวิธีการใช้ความร้อนที่เหมาะสมในการทำประกอบ หรือปรุงอาหารประเภทปรุงสำเร็จให้พร้อมบริโภค ตามประเภทของอาหาร ( 2 ) การจัดเก็บอาหารประเภทป รุงสาเร็จในภาชนะที่สะอาด มีการปิดมิดชิดเพื่อป้องกัน การปนเปื้อน ตามประเภทของอาหาร และควบคุมอุณหภูมิการเก็บรักษาให้อาหารประเภทปรุงสาเร็จ ประเภทต้ม แกง ตุ๋น นึ่ง เป็นต้น ให้ร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่าหกสิบสามองศาเซลเซียส อาหารประเภทปรุงสาเร็จตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดเก็บที่อุณหภูมิห้องในระยะเวลาไม่เกินสองชั่วโมง ในระหว่างการจัดเตรียมหรือจาหน่ายอาหาร และต้องทาการอุ่นอาหารให้ร้อนด้วยวิธีการที่เหมาะสม เช่น การให้ความร้อนโดยตรง ไมโครเวฟ ก่อนนาไปจัดบริการ เสิร์ฟอาหารหรือจาหน่ำยอาหาร ตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ หรือด้วยวิธีการอื่นใดที่สามารถควบคุมคุณภาพอาหารประเภทปรุงสาเร็จ ให้เหมาะสมตามประเภทของอาหารได้ ทั้งนี้ เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารประเภทปรุงสาเร็จ ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 147 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2566

ต้องเป็นไปตามประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่าด้วยการกาหนดเกณฑ์คุ ณภาพทางจุลชีววิทยา ของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ข้อ 6 ผู้ประกอบกิจการต้องควบคุมคุณภาพอาหารประเภทปรุงสาเร็จประเภทไม่ใช้ความร้อน ต้องดาเนินการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) การทำ ประกอบ หรือปรุงอาหารประเภทปรุงสำเร็จประเภทไม่ใช้ความร้อน ต้องล้างวัตถุดิบอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ ให้สะอาด เหมาะสมตามประเภทของผัก ผลไม้ และจัดเก็บ รักษาคุณภาพอาหารในภาชนะบรรจุที่มีการปิดมิดชิด เพื่อป้องกันการปนเปื้อน โดยวิธีการและขั้นตอน ในการล้างตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ กรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อที่เกิดจากอาหารและน้าเป็นสื่อ ต้ องจัดให้มีการฆ่าเชื้อโรค ( 2 ) วัตถุดิบประเภทอาหารที่ปรุงสุกพร้อมบริโภค เช่น ข้าว ถั่ว มันฝรั่ง ผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากนมที่รอกระบวนการทา ประกอบ หรือปรุงอาหารประเภทปรุงสาเร็จประเภทไม่ใช้ความร้อน ต้องเก็บรักษาคุณภาพอาหารในภาชนะบรรจุที่สะอาด มีการปิ ดมิดชิดเพื่อป้องกันการปนเปื้อน และจัดเก็บในตู้เย็น ตู้แช่ หรืออุปกรณ์เก็บรักษาคุณภาพอาหารด้วยความเย็นที่สามารถควบคุมอุณหภูมิ ต่ากว่าห้าองศาเซลเซียส (3) กระบวนการทา ประกอบ หรือปรุงอาหารประเภทปรุงสาเร็จประเภทไม่ใช้ความร้อน ต้องใช้อุปกรณ์หยิบจับอาหาร ห้ามใช้มือสัมผัสอาหารโดยตรง (4) อาหารประเภทปรุงสาเร็จประเภทไม่ใช้ความร้อน ต้องจัดเก็บในตู้เย็นหรือตู้แช่ที่สามารถ ควบคุมอุณหภูมิต่ากว่าห้าองศาเซลเซียส หรือจัดเก็บที่อุณหภูมิห้องในระยะเวลาไม่เกินสองชั่วโมง หรือด้วยวิธีการอื่นใดที่สามารถควบคุมคุณภาพอำหารปรุงสาเร็จให้เหมาะสมตามประเภทของอาหาร ในระหว่างการจัดเตรียมหรือจาหน่ายอาหาร ทั้งนี้ เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารประเภทปรุงสาเร็จ ต้องเป็นไปตามประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่าด้วยการกาหนดเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยา ของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ข้อ 7 ผู้ประกอบกิจการที่มีการจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ ที่มีการนำกัญชา หรือกัญชงที่ใช้ได้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกาหนด มาใช้เป็นส่วนประกอบในการทา ประกอบ หรือปรุงอาหาร ต้องดาเนินการเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ ( 1 ) แสดงข้อความหรือป้ายสัญลักษณ์ว่าเป็นสถานที่จำ หน่ายอาหาร ที่มีการใช้กัญชา หรือกัญชงเป็นส่วนประกอบในอาหารประเภทปรุงสำเร็จ ( 2 ) แสดงรายการอาหารที่มีการใช้กัญชา หรือกัญชง เป็นส่วนประกอบในอาหารประเภทปรุงสาเร็จ ทั้งหมด ( 3 ) แสดงข้อแนะนาความปลอดภัยในการบริโภคอาหารที่มีกัญชา หรือกัญชง เป็นส่วนประกอบ โดยแสดงข้อความ ดังต่อไปนี้ (ก) บุคคลที่มีอายุต่ากว่ายี่สิบปี สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร ควรงดเว้นรับประทาน ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 147 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2566

(ข) ถ้ามีอาการผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที และถ้ามีอาการรุนแรงให้ปรึกษา หรือพบแพทย์โดยเร็ว (ค) ผู้ที่แพ้กัญชา หรือกัญชง ควรงดเว้นรับประ ทาน (ง) รับประทานแล้วเกิดอาการง่วง ซึม ให้หลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะหรือทางานเกี่ยวกับ เครื่องจักรกล (จ) ข้อความอื่นที่กฎหมาย หรือทางราชการกาหนด ข้อ 8 ผู้ประกอบกิจการ ที่มีการจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ ในรูปแบบของ การจาหน่ายอาหาร โดยจัดให้มีบริเวณไว้สาหรับการบริโภค ณ สถานที่จาหน่ายอาหาร และการจาหน่าย โดยนำไปบริโภคที่อื่น ต้องจัดการสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) อาหารประเภทปรุงสำเร็จ ต้องบรรจุในภาชนะบรรจุอาหารที่สะอาด ปลอดภัย เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท มีการปิดมิดชิดเพื่อป้องกั นการปนเปื้อนที่เหมาะสมกับประเภท ของอาหาร และจัดวางในบริเวณที่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่าหกสิบเซนติเมตร ( 2 ) การจัดวางอาหารประเภทปรุงสำเร็จ ต้องจัดให้ปิดมิดชิด เช่น ใช้ฝาปิด ตู้ครอบอาหาร เพื่อป้องกันการปนเปื้อนในระหว่างการหยิบจับหรือสัมผัสอาหารของผู้บริโภ ค เป็นไปตามที่กรมอนามัย กำหนด ( 3 ) ภาชนะบรรจุอาหารหรืออุปกรณ์ ในการหยิบจับหรือสัมผัสอาหารประเภทปรุงสาเร็จ ต้องสะอาด เหมาะสม และเพียงพอกับการปฏิบัติงาน จัดเก็บเป็นสัดส่วน ไม่ปะปนกัน และแยกใช้งาน ระหว่างอาหารประเภทปรุงสำเร็จ อาหารดิบ ข้อ 9 ผู้ประกอบ กิจการ ที่มีการจาหน่ายอาหารประเภทปรุงสาเร็จ ในรูปแบบการให้บริการ จัดส่งอาหาร ต้องจัดการสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) อาหารประเภทปรุงสาเร็จ ต้องบรรจุในภาชนะบรรจุอาหารที่สะอาด เหมาะสมกับประเภท และปริมาณของอาหาร มีการปิดมิดชิด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนในระหว่างการจัดส่ง และต้องระบุ รายละเอียดกากับที่ภาชนะบรรจุอาหารประเภทปรุงสาเร็จ หรือด้วยวิธีการอื่นใดที่สามารถสื่อสาร ให้ผู้บริโภคได้ เช่น ชื่ออาหาร ข้อมูลวันที่ผลิตอาหาร วิธีการจัดเก็บอาหาร ข้อแนะนำสำหรับผู้ซื้อ ( 2 ) บรรจุภัณ ฑ์ หรือกล่อง หรืออุปกรณ์ในการบรรจุอาหารประเภทปรุงสาเร็จ ต้องมีโครงสร้าง ที่แข็งแรง ปิดมิดชิด เพื่อป้องกันการปนเปื้อน และต้องสามารถเก็บรักษาอุณหภูมิและคุณภาพ ของอาหารประเภทปรุงสำเร็จให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ข้อ 10 ในการจาหน่ายอาหารประเภทปรุงสาเร็จ ผู้ ประกอบกิจการ ต้องดูแลให้เกิดสุขลักษณะ ของผู้สัมผัสอาหาร ดังต่อไปนี้ ( 1 ) แต่งกายสะอาด สวมเสื้อมีแขน ใส่ผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมหมวกหรือตาข่ายคลุมผม ให้มิดชิดหรือมีอุปกรณ์ป้องกันที่สะอาด และสามารถป้องกันการปนเปื้อนสู่อาหารประเภทปรุงสำเร็จ ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 147 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2566

( 2 ) รักษาควำมสะอาดของมือและเล็บ หากมีบาดแผลที่มือ ต้องทาแผลและปิดบาดแผล ให้มิดชิด สวมถุงมือทับอีกชั้นหนึ่ง โดยถุงมือต้องสะอาด และอยู่ในสภาพดีที่สามารถป้องกัน การปนเปื้อนสู่อาหารประเภทปรุงสำเร็จ ในกรณีฉีกขาดหรือปนเปื้อนสิ่งสกปรกควรเปลี่ยนทุกสี่ชั่วโมง ( 3 ) สวมใส่หน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัย หรืออุปกรณ์ป้องกันน้าลายให้ถูกต้องตลอดเวลา เมื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับอาหารประเภทปรุงสำเร็จ ข้อ 11 ผู้ประกอบกิจการ ต้องจัดให้มีมาตรการด้านสุขลักษณะป้องกันความเสี่ยงจากโรคติดต่อ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) จัดให้มีการทำความสะอาดสถาน ที่ ภาชนะ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ ที่สัมผัสบ่อย หรือสัมผัสร่วม เช่น พื้น ผนัง ลูกบิดประตู โต๊ะ เก้าอี้ ที่กดน้ำดื่ม จาน ชาม ช้อน มีด ด้วยน้ำยา ทาความสะอาด รวมทั้งดูแลความสะอาดห้องน้าและห้องส้วม ให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจาทุกวัน หากพบผู้สัมผัสอาหารป่วยด้วยโรคติดต่อ ให้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคทันที ( 2 ) จัดให้มีอ่างล้างมือพร้อมน้าและสบู่อย่างเพียงพอ หากไม่สามารถจัดให้มีอ่างล้างมือได้ ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ทาความสะอาดมือ เช่น เจลแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์เข้มข้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบ วำงไว้ในจุดที่สามารถใช้ได้อย่างสะดวกและเพียงพอ โดยเฉพาะบริเวณที่มีการให้บริการจาหน่ายอาหาร ประเภทปรุงสำเร็จ และที่นั่งสำหรับรับประทานอาหาร ( 3 ) จัดให้มีระบบระบายอากาศในอาคารที่ดีและเพียงพอ โดยวิธีธรรมชาติหรือโดยวิธีกลก็ได้ โดยอัตราการระบายอากาศต้องเป็นไ ปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และต้องดูแล ตรวจสอบ บารุงรักษาระบบปรับอากาศอย่างสม่าเสมอให้อยู่ในสภาพดี ใช้งานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาจติดตั้งอุปกรณ์เพิ่ม เช่น เครื่องกรองอากาศ หรือพัดลมดูดอากาศให้เพียงพอ และห้องส้วมให้ เปิดพัดลมดูดอากาศออกตลอดเวลาการใช้งาน และให้เพิ่มการดูแลระบบระบายอากาศ หรือปรับปรุงระบบระบายอากาศให้ดียิ่งขึ้นหากพบผู้สัมผัสอาหารป่วยด้วยโรคติดต่อ ( 4 ) จัดให้มีมาตรการลดความแออัด โดยจัดโต๊ะรับประทานอาหาร หรือจัดระยะห่างระหว่างบุคคล ให้มีระยะห่างที่มีค วามเหมาะสม หากพบผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ ของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ( 5 ) จัดให้มีการล้างภาชนะและอุปกรณ์ให้สะอาด ด้วยน้ำยาล้างจานให้สะอาดและฆ่าเชื้อโรค ด้วยวิธีการแช่ในน้าร้อนแปดสิบองศาเซลเซียส เป็นเวลาสองนาที หรือแช่ในน้าผสมสารละลายคลอรี น ที่มีความเข้มข้นห้าสิบส่วนในล้านส่วน (ไม่เกินสองร้อยส่วนในล้านส่วน) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งนาที แล้วล้างน้ำให้สะอาด หรือใช้สารเคมีสำหรับฆ่าเชื้อโรคติดต่อ ก่อนใช้ใส่อาหารประเภทปรุงสำเร็จ (6) ผู้ประกอบกิจการ ต้องกำกับ ดูแล คัดกรองผู้สัมผัสอาหาร หากพบว่ามีอาการเจ็บป่วย ด้วยโรคติดต่อต้องหยุดปฏิบัติงาน และให้ดาเนินการส่งผู้สัมผัสอาหารที่ป่วยเข้ารับการรักษาให้หายก่อน จึงกลับมาปฏิบัติงานได้ ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 147 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2566

ข้อ 12 ผู้ประกอบกิจการ ต้องประเมินตนเองด้านสุขลักษณะ และมาตรการป้องกันความเสี่ยง จากโรคติดต่อ ผ่านระบบเทคโ นโลยีดิจิทัลตามที่กรมอนามัยกำหนดอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หรือในกรณี ที่มีความเสี่ยงเพื่อการเฝ้าระวังความเสี่ยงจากโรคติดต่อ และป้องกันมิให้เกิดผลกระทบหรือ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ข้อ 13 ผู้ประกอบกิจการ ต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคตามที่กฎหมายว่าด้วยโรคติ ดต่อกำหนด หรือตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขกาหนด หรือใช้มาตรการอื่น ตามที่ราชการกาหนด ประกาศ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 25 6 6 สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 147 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2566