ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า พ.ศ. 2566
ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า พ.ศ. 2566
ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า พ.ศ. 2566 อาศัยอานาจตามความในมาตรา 8 (6) (ฉ) มาตรา 46 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 และกฎกระทรวงกาหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2565 สภาวิศวกรโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2565 และโดยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษแห่งสภาวิศวกร ออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบ วิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า พ.ศ. 2551 ข้อ 4 ให้งาน ประเภทและขนาดของงานวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงกำ หนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2565 ข้อ 5 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้ากาลัง ระดับวุฒิวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้ากาลัง ได้ทุกงาน ทุกประเภท และทุกขนาด ข้อ 6 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้ากาลัง ระดับสามัญวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้ากำลัง ได้เฉพาะงาน ประเภท และขนาด ดังนี้ (1) งานวางโครงการ (ก) ระบบกำรผลิตไฟฟ้าที่มีขนาดรวมกันไม่เกิน 50 , 000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดันสูงสุดระหว่างสายในระบบไม่เกิน 36 กิโลโวลต์ (ข) ระบบส่ง ระบบจำหน่าย และระบบการใช้ไฟฟ้า ที่มีขนาดรวมกันไม่เกิน 50 , 000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดันสูงสุดระหว่างสาย ในระบบไม่เกิน 36 กิโลโวลต์ (ค) ระบบและเครื่องจักรกลไฟฟ้าที่มีขนาดรวมกันไม่เกิน 50 เมกะวัตต์ (ง) การจัดการพลังงานที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานความร้อน ทุกประเภททุกขนาด (2) งานออกแบบและคำนวณ (ก) ระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดไม่เกิน 50 , 000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดันระหว่างสายในระบบไม่เกิน 36 กิโลโวลต์ ้ หนา 45 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 146 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566
(ข) ระบบไฟฟ้าสาหรับอาคารสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่มีขนาด การใช้กำลังไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 10 , 000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดันระหว่างสายในระบบ ไม่เกิน 36 กิโลโวลต์ (ค) ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยและระบบป้องกันฟ้าผ่าสาหรับอาคารสูง หรืออาคาร ขนาดใหญ่พิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรืออาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ทุกประเภทและทุกขนาด (ง) ระบบไฟฟ้าสาหรับอาคารประเภทควบคุมการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุ ม อาคารที่มีขนาดการใช้ไฟฟ้ากาลังรวมกันไม่เกิน 10 , 000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดัน ระหว่างสายในระบบไม่เกิน 36 กิโลโวลต์ (จ) ระบบไฟฟ้าสาหรับอาคารประเภทควบคุมการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม อาคารสำหรับใช้เก็บวัตถุอันตรายเฉพาะวัตถุระเบิดได้และวัตถุ ไวไฟ ที่มีขนาดไม่เกิน 10 , 000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดันระหว่างสายในระบบไม่เกิน 36 กิโลโวลต์ (ฉ) ระบบและเครื่องจักรกลไฟฟ้าที่มีขนาดกำลังไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ (ช) การจัดการพลังงานที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานความร้อน ทุกป ระเภท และทุกขนาด (3) งานควบคุมการสร้างการผลิต (ก) ระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดไม่เกิน 100 , 000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดันระหว่างสายในระบบไม่เกิน 115 กิโลโวลต์ (ข) ระบบไฟฟ้าสาหรับอาคารสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่มีขนาด การใช้ไฟฟ้ากำลังรวมกันไม่เกิน 20 , 000 กิโลโวลต์แอมแปร์ (ค) ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยและระบบป้องกันฟ้าผ่าสาหรับอาคารสูงหรืออาคาร ขนาดใหญ่พิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรืออาคารชุดตามกฎห มายว่าด้วยอาคารชุด ทุกประเภททุกขนาด (ง) ระบบไฟฟ้าสาหรับอาคารประเภทควบคุมการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ที่มีขนาดการใช้ไฟฟ้ากำลังรวมกันไม่เกิน 20 , 000 กิโลโวลต์แอมแปร์ (จ) ระบบไฟฟ้าสาหรับอาคารประเภทควบคุมการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร สำหรั บใช้เก็บวัตถุอันตรายเฉพาะวัตถุระเบิดได้และวัตถุไวไฟ ไม่เกิน 20 , 000 กิโลโวลต์แอมแปร์ (ฉ) ระบบและเครื่องจักรกลไฟฟ้าที่มีขนาดรวมกันไม่เกิน 20 เมกะวัตต์ (4) งานพิจารณาตรวจสอบ ทุกประเภทและทุกขนาด (5) งานอำนวยการใช้ ้ หนา 46 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 146 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566
(ก) ระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดสูงสุ ดระหว่างสายในระบบไม่เกิน 115 กิโลโวลต์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดไม่เกิน 100 , 000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดันระหว่างสาย ในระบบไม่เกิน 115 กิโลโวลต์ (ข) ระบบและเครื่องจักรกลไฟฟ้าที่มีขนาดรวมกันไม่เกิน 100 เมกะวัตต์ หรือที่มีขนาดกำลังไม่ เกิน 40 เมกะวัตต์ต่อเครื่อง (ค) ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย และระบบป้องกันฟ้าผ่าสาหรับอาคารสูง หรืออาคาร ขนาดใหญ่พิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรืออาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ทุกประเภททุกขนาด ข้อ 7 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้ากาลัง ระดับภาคีวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้ากำลัง ได้เฉพาะงาน ประเภท และขนาด ดังนี้ (1) งานวางโครงการ การจัดการพลังงานที่มีการใช้พลังงำนไฟฟ้าไม่เกิน 2 เมกะวัตต์ ต่อโครงการ หรือใช้พลังงานความร้อนไม่เกิน 40 ล้านเมกะจูลต่อปีต่อโครงการ (2) งานออกแบบและคำนวณ (ก) ระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดไม่เกิน 1 , 000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาด แรงดันระหว่างสายในระบบไม่เกิน 24 กิโลโวลต์ (ข ) ระบบไฟฟ้าสาหรับอาคารสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่มีขนาด การใช้กาลังไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 1 , 000 กิโลโวลต์แอมแปร์หรือที่มีขนาดแรงดันระหว่างสายในระบบ ไม่เกิน 24 กิโลโวลต์ (ค) ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยและระบบป้องกันฟ้าผ่าสาหรับอาคารสูงหรืออาคาร ขนาดใหญ่พิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรืออาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ทุกประเภทและทุกขนาด (ง) ระบบไฟฟ้าสาหรับอาคารประเภทควบคุมการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ที่มีขนาดการใช้ ไฟฟ้ากำลังรวมกันไม่เกิน 1 , 000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดัน ระหว่างสายในระบบไม่เกิน 24 กิโลโวลต์ (ฉ) ระบบและเครื่องจักรกลไฟฟ้าที่มีขนาดกำลังไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 1 เมกะวัตต์ (ช) การจัดการพลังงานที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 2 เมกะวัตต์หรือใช้พลังงาน ความร้อนรวมไม่เกิน 40 ล้านเมกะจูลต่อปี (3) งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต (ก) ระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดไม่เกิน 10 , 000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดันระหว่างสายในระบบไม่เกิน 36 กิโลโวลต์ ้ หนา 47 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 146 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566
(ข) ระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารสาธาร ณะตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ที่มีขนาดการใช้ไฟฟ้ากำลังรวมกันไม่เกิน 10 , 000 กิโลโวลต์แอมแปร์ (ค) ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยและระบบป้องกันฟ้าผ่าสาหรับอาคารสูง หรืออาคาร ขนาดใหญ่พิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรืออาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ทุ กประเภทและทุกขนาด (ง) ระบบไฟฟ้าสาหรับอาคารประเภทควบคุมการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ที่มีขนาดการใช้ไฟฟ้ากำลังรวมกันไม่เกิน 10 , 000 กิโลโวลต์แอมแปร์ (ฉ) ระบบและเครื่องจักรกลไฟฟ้าที่มีขนาดกำลังไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 2 เมกะวัตต์ (4) งานพิจารณาตรวจสอบ ยกเว้นการวิเคราะห์ระบบไฟฟ้า ทุกประเภทและทุกขนาด (5) งานอำนวยการใช้ (ก) ระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดไม่เกิน 10 , 000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดันสูงสุดระหว่างสายภายในระบบไม่เกิน 36 กิโลโวลต์ (ข) ระบบและเครื่องจักรกลไฟฟ้าที่มีขนาดรวมกันไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ หรือที่มีขนาดกาลัง ไม่เกิน 4 เมกะวัตต์ต่อเครื่อง (ค) ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย และระบบป้องกันฟ้าผ่าสาหรับอาคารสูงหรืออาคาร ขนาดใหญ่พิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรืออาคารชุดตามกฎหมายว่ำด้วยอาคารชุด ทุกประเภทและทุกขนาด ข้อ 8 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้ากาลัง ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้ากำลัง ได้ตามงาน ประเภท และขนาดที่ระบุไว้ในใบอ นุญาต ข้อ 9 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้าสื่อสาร ระดับวุฒิวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้าสื่อสาร ได้ทุกงาน ทุกประเภทและทุกขนาด ข้อ 10 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอ บวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้าสื่อสาร ระดับสามัญวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้าสื่อสาร ได้เฉพาะงาน ประเภทและขนาด ดังนี้ (1) งานวางโครงการ (ก) ระบบที่มีสถานีวิทยุคมนาคมที่ใช้คลื่นความถี่ตามตารางกา หนดคลื่นความถี่แห่งชาติ โดยใช้กาลังส่งออกอากาศสมมูลแบบไอโซทรอปิก ( Equivalent Isotropically Radiated Power - E . I . R . P .) ทุกประเภทที่มีขนาดไม่เกิน 90 กิโลวัตต์ ( E . I . R . P .) ต่อคลื่นพาห์ต่อสถานี (ข) ระบบสายสัญญาณที่รองรับระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะ ได้แก่ ทางถนน ทางราง ทางน้ำ หรือทางอากาศ ทุกขนาด ้ หนา 48 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 146 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566
(ค) ระบบสั่งการระยะไกล ระบบโทรมาตร หรือระบบควบคุมระยะไกลของระบบ คมนาคมขนส่งสาธารณะ ได้แก่ ทางถนน ทางราง ทางน้ำ หรือทางอากาศ ทุกประเภทและทุกขนาด เว้ นแต่ระบบรางรถไฟความเร็วสูง ( Hi - speed ) รถไฟความเร็วสูงมาก ( Very Hi - speed ) หรือรถไฟ ความเร็วสูงพิเศษ ( Ultra Hi - Speed ) ที่มีความเร็วตั้งแต่ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป (2) งานออกแบบและคำนวณ (ก) ระบบที่มีสถานีวิทยุคมนาคมที่ใช้คลื่นความถี่ตามตารางกา หนดคลื่นความถี่แห่งชาติ โดยใช้กาลังส่งออกอากาศสมมูลแบบไอโซทรอปิก ( Equivalent Isotropically Radiated Power - E . I . R . P .) ทุกประเภทที่มีขนาดไม่เกิน 90 กิโลวัตต์ ( E . I . R . P .) ต่อคลื่นพาห์ต่อสถานี (ข) ระบบสายสัญญาณที่รองรับระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะ ได้แก่ ทางถนน ทางราง ทางน้ำ หรือทางอากาศ ทุกขนาด (ค) ระบบสั่งการระยะไกล ระบบโทรมาตร หรือระบบควบคุมระยะไกลของระบบ คมนาคมขนส่งสาธารณะ ได้แก่ ทางถนน ทางราง ทางน้ำ หรือทางอากาศ ทุกประเภทและทุกขนาด เว้ นแต่ระบบรางรถไฟความเร็วสูง ( Hi - speed ) รถไฟความเร็วสูงมาก ( Very Hi - speed ) หรือรถไฟ ความเร็วสูงพิเศษ ( Ultra Hi - Speed ) ที่มีความเร็วตั้งแต่ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป (3) งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต (ก) ระบบที่มีสถานีวิทยุคมนาคมที่ใช้คลื่นความ ถี่ตามตารางกาหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ โดยใช้กาลังส่งออกอากาศสมมูลแบบไอโซทรอปิก ( Equivalent Isotropically Radiated Power - E . I . R . P .) ทุกประเภทที่มีขนาดไม่เกิน 90 กิโลวัตต์ ( E . I . R . P .) ต่อคลื่นพาห์ต่อสถานี (ข) ระบบสายสัญญาณที่รองรับระบบคมนาคมขนส่งสาธา รณะ ได้แก่ ทางถนน ทางราง ทางน้า หรือทางอากาศ ทุกขนาด (ค) ระบบสั่งการระยะไกล ระบบโทรมาตร หรือระบบควบคุมระยะไกลของระบบ คมนาคมขนส่งสาธารณะ ได้แก่ ทางถนน ทางราง ทางน้า หรือทางอากาศ ทุกประเภทและทุกขนาด (4) งานพิจารณาตรวจสอบ ทุกประเภทและทุกขนาด (5) งานอำนวยการใช้ (ก) ระบบที่มีสถานีวิทยุคมนาคมที่ใช้คลื่นความถี่ตามตารางกาหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ โดยใช้กาลังส่งออกอากาศสมมูลแบบไอโซทรอปิก ( Equivalent Isotropically Radiated Power - E . I . R . P .) ทุกประเภทที่มีขนาดไม่เกิน 90 กิโลวัตต์ ( E . I . R . P .) ต่ อคลื่นพาห์ต่อสถานี (ข) ระบบสายสัญญาณที่รองรับระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะ ได้แก่ ทางถนน ทางราง ทางน้ำ หรือทางอากาศ ทุกขนาด (ค) ระบบสั่งการระยะไกล ระบบโทรมาตร หรือระบบควบคุมระยะไกลของระบบ คมนาคมขนส่งสาธารณะ ได้แก่ ทางถนน ทางราง ทางน้า หรือทางอากาศ ทุกประเภทและทุกขนาด ้ หนา 49 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 146 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566
ข้อ 11 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้าสื่อสาร ระดับภาคีวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้าสื่อสาร ได้เฉพาะงาน ประเภทและขนาด ดังนี้ (1) งานพิจารณาตรวจสอบทำได้ทุกประเภททุกขนาด ยกเว้นการวิเคราะห์ (2) งานอำนวยการใช้ (ก) ระบบที่มีสถานีวิทยุคมนาคมที่ใช้คลื่นความถี่ตามตารางกาหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ โดยใช้กาลังส่งออกอากาศสมมูลแบบไอโซทรอปิก ( Equivalent Isotropically Radiated Power - E . I . R . P .) ทุกประเภทที่มีขนาดไม่เกิน 33 กิโลวัตต์ ( E . I . R . P ) ต่อคลื่นพาห์ต่อสถานี (ข) ระบบสายสัญญาณที่รองรับระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะ ได้แก่ ทางถนน ทางราง ทางน้ำ หรือทางอากาศ ทุกประเภทและทุกขนาด (ค) ระบบสั่งการระยะไกล ระบบโทรมาตร หรือระบบควบคุมระยะไกลข องระบบ คมนาคมขนส่งสาธารณะ ได้แก่ ทางถนน ทางราง ทางน้า หรือทางอากาศ ทุกประเภทและทุกขนาด ข้อ 12 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้าสื่อสาร ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้าสื่อสาร ได้เฉพาะงาน ประเภทและขนาดที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ข้อ 13 ในกรณีที่ต้องมีการวินิจฉัยชี้ขาดหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุมแต่ละระดั บ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ตามข้อบังคับนี้ ให้คณะกรรมการสภาวิศวกร เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการสภาวิศวกรให้เป็นที่สุด ข้อ 14 ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ซึ่งประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ควบคุมตามระดับ และสาขาที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ภายในข้อกาหนดและเงื่อนไขตามกฎกระทรวงกาหนด สาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2550 อยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ผู้นั้นประกอบการงานนั้นต่อไปได้จนกว่างานจะแล้วเสร็จ ทั้งนี้ ไม่เกินสามปีนับแต่วัน ที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ประกาศ ณ วันที่ 7 มิ ถุนายน พ.ศ. 25 6 6 รองศาสตราจารย์ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์ นายกสภาวิศวกร ้ หนา 50 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 146 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566