ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล พ.ศ. 2566
ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล พ.ศ. 2566
ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล พ.ศ. 2566 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 (6) (ฉ) มาตรา 46 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ วิศวกร พ.ศ. 2542 และกฎกระทรวงกาหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2565 สภาวิศวกรโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2565 และโดยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษแห่งสภาวิศวกร ออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุ เบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบ วิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล พ.ศ. 2551 ข้อ 4 ให้งาน ประเภท และขนาดของงานวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล เป็นไปตามที่กาหนดไว้ ในกฎกระทรวงกาหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2565 ข้อ 5 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ระดับวุฒิวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ได้ทุกงาน ทุกประเภท และทุกขนาด ข้อ 6 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ระดับสามัญวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ได้เฉพาะงาน ประเภท และขนาด ดังนี้ (1) งานวางโครงการ ทุกประเภทและทุกขนาด (2) งานออกแบบและคำนวณ (ก) เครื่องจักรกลที่มีขนาดกำลังไม่เกิน 750 กิโลวัตต์ต่อเครื่อง (ข) เครื่องกาเนิดไอน้าหรือไออย่างอื่นที่มีความดันเกจไม่เกิน 4 , 000 กิโลปาสกาล หรืออัตราการผลิตไอน้าหรือไออย่างอื่นไม่เกิน 20 , 000 กิโลกรัมต่อชั่วโมงต่อเครื่อง (ค) ภาชนะรับแรงดันทุกขนาด เว้นแต่ที่มีสารเป็นพิษหรือวัตถุอันตรายตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมวัตถุอันตราย ทั้งนี้ มิให้หมายความรวมถึงสารทำความเย็นทั่วไป (ง) เตาอุตสาหกรรมทุกขนาดที่มีขนาดอัตราความร้อนไม่เกิน 800 กิโลวัตต์ต่อเตา ้ หนา 39 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 146 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566
(จ) เครื่องปรับภาวะอากาศหรือเครื่องทาความเย็นหรือเครื่ องทาความร้อนที่มีลักษณะ ดังนี้ 1) การออกแบบเพื่อสร้างตัวเครื่องและอุปกรณ์ ( Equipment Design ) ที่มีขนาด ทำความเย็นไม่เกิน 700 กิโลวัตต์ต่อเครื่อง 2) การออกแบบเพื่อประกอบเป็นระบบ ( System Design ) ในระบบที่มีขนาด ทำความเย็นหรือความร้อนไม่เกิน 9 , 000 กิโลวัตต์ (ฉ) ระบบของไหลในท่อรับแรงดันหรือสุญญากาศที่มีความดันเกจของไหลในท่อทุกขนาด เว้นแต่ของไหลเป็นสารมีพิษหรือวัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมวัตถุอันตราย ทั้งนี้ มิให้หมายความรวมถึงสารทำความเย็นทั่วไป (ช) ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภั ย ทำได้ทุกขนาด (ซ) การจัดการพลังงาน ทำได้ทุกขนาด (3) งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต (ก) เครื่องจักรกลที่มีขนาดกำลังไม่เกิน 2 , 000 กิโลวัตต์ต่อเครื่อง (ข) เครื่องกาเนิดไอน้าหรือไออย่างอื่น ที่มีความดันเกจไม่เกิน 4 , 000 กิโลปาสกาล หรือที่มีอัตราการผลิตไอน้าหรือไออย่างอื่นไม่เกิน 30 , 000 กิโลกรัมต่อชั่วโมงต่อเครื่อง (ค) ภาชนะรับแรงดันที่มีความดันเกจไม่เกิน 4 , 000 กิโลปาสกาล หรือปริมาตร ไม่เกิน 30 ลูกบาศก์เมตรต่อถัง (ง) เตาอุตสาหกรรมที่มีขนาดอัตราความร้อนไม่เกิน 2 , 000 กิโลวัต ต์ต่อเตา (จ) เครื่องปรับภาวะอากาศหรือเครื่องทาความเย็นหรือเครื่องทาความร้อน ที่มีลักษณะ ดังนี้ 1) การสร้างหรือการผลิตหรือการซ่อมหรือการดัดแปลงที่มีขนาดทาความเย็น หรือทำความร้อนไม่เกิน 1 , 500 กิโลวัตต์ต่อเครื่อง 2) การติดตั้งหรือการรื้อถอนหรือการเ คลื่อนย้ายทุกขนาด (ฉ) ระบบของไหลในท่อรับแรงดันหรือสุญญากาศที่มีความดันเกจของไหลในท่อไม่เกิน 3 , 000 กิโลปาสกาล เว้นแต่ของไหลเป็นสารมีพิษหรือวัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม วัตถุอันตราย ทั้งนี้ มิให้หมายความรวมถึงสารทำความเย็นทั่วไป (ช) ระบบดับเพลิ งและป้องกันอัคคีภัย ทำได้ทุกขนาด (4) งานพิจารณาตรวจสอบ ทาได้ทุกประเภทและทุกขนาดตาม (2) (3) (4) และ (6) ของกฎกระทรวงกาหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2565 (5) งานอำนวยการใช้ (ก) ระบบเครื่องจักรกลที่มีขนาดกำลังรวมกันไม่เกิน 5 , 000 กิโลวัตต์ ้ หนา 40 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 146 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566
(ข) เครื่องกำเนิดไอน้ำหรือไออย่างอื่นที่มีความดันเกจไม่เกิน 5 , 000 กิโลปาสกาลหรือ ที่มีอัตราการผลิตไอน้าหรือไออย่างอื่นไม่เกิน 100 , 000 กิโลกรัมต่อชั่วโมงต่อเครื่องหรือในระบบ ที่มีอัตราการผลิตไอน้าหรือไออย่างอื่นไม่เกิน 300 , 000 กิโลกรัมต่อชั่วโมง (ค) ภาชนะรับแรงดันที่มีความดันเกจไม่เกิน 5 , 000 กิโลปาสกาล หรือมีปริมาตร ไม่เกิน 50 ลูกบาศก์เมตรต่อถัง (ง) เตาอุตสาหกรรม ที่มีขนาดอัตราความร้อนไม่เกิน 3 , 000 กิโลวัตต์ต่อเตา หรือ อัตราความร้อนรวมไม่เกิน 10 , 000 กิโลวัตต์ (จ) เค รื่องปรับภาวะอากาศหรือเครื่องทำความเย็นหรือความร้อนทุกขนาด (ฉ) ระบบของไหลในท่อรับแรงดันหรือสุญญากาศที่มีความดันเกจของไหลในท่อทุกขนาด เว้นแต่ของไหลเป็นสารมีพิษหรือวัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมวัตถุอันตราย ทั้งนี้ มิให้หมายความรวมถึงสารทำความเย็ นทั่วไป (ช) ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย ทำได้ทุกขนาด (ซ) การจัดการพลังงาน ทำได้ทุกขนาด ข้อ 7 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ระดับภาคีวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ได้เฉพาะงาน ประเภท และขนาด ดังนี้ (1) งานวางโครงการ (ก) เครื่องจักรกลที่มีมูลค่าไม่เกินเจ็ดสิบห้าล้านบาท ต่อโครงการ หรือที่มีขนาดกำลังรวม ไม่เกิน 500 กิโลวัตต์ หรือที่ใช้งานในอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยในอาคารไม่เกิน 10 , 000 ตารางเมตร หรือที่ใช้งานในอาคารที่มีผู้ใช้สอยพื้นที่ไม่เกินห้าร้อยคน (ข) เครื่องกาเนิดไอน้าหรือไออย่างอื่นที่มีมูลค่าไม่เกินเจ็ดสิบห้าล้ำนบาทต่อโครงการ หรือที่ใช้ความร้อนไม่เกิน 100 ล้านเมกะจูลต่อปี หรือที่ใช้งานในอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยในอาคาร ไม่เกิน 10 , 000 ตารางเมตร หรือที่ใช้งานในอาคารที่มีผู้ใช้สอยพื้นที่ไม่เกินห้าร้อยคน (ค) ภาชนะรับแรงดันที่มีมูลค่าไม่เกิน 75 ล้านบาทต่อโคร งการ หรือที่ใช้งานในอาคาร ที่มีพื้นที่ใช้สอยในอาคารไม่เกิน 10 , 000 ตารางเมตร หรือที่ใช้งานในอาคารที่มีผู้ใช้สอยพื้นที่ ไม่เกิน 500 คน (ง) เตาอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าไม่เกินเจ็ดสิบห้าล้านบาทต่อโครงการ หรือที่มีอัตรา ความร้อนไม่เกิน 5 , 000 กิโลวัตต์ต่อโครงการ หรือที่ใช้งานในอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยในอาคารไม่เกิน 10 , 000 ตารางเมตร หรือที่ใช้งานในอาคารที่มีผู้ใช้สอยพื้นที่ไม่เกินห้าร้อยคน (จ) เครื่องปรับภาวะอากาศหรือเครื่องทาความเย็นหรือเครื่องทาความร้อนที่มีมูลค่า ไม่เกินเจ็ดสิบห้าล้านบาทต่ อโครงการ หรือที่มีขนาดทาความเย็นของระบบไม่เกิน 1 , 750 กิโลวัตต์ ้ หนา 41 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 146 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566
หรือที่ใช้งานในอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยในอาคารไม่เกิน 10 , 000 ตารางเมตร หรือที่ใช้งานในอาคาร ที่มีผู้ใช้สอยพื้นที่ไม่เกินห้าร้อยคน (ฉ) ระบบของไหลในท่อรับแรงดันหรือสุญญากาศที่มีมูลค่าไม่เ กินเจ็ดสิบห้าล้านบาท ต่อโครงการ หรือที่มีขนาดกาลังของไหล ของระบบไม่เกิน 500 กิโลวัตต์ หรือที่ใช้งานในอาคาร ที่มีพื้นที่ใช้สอยในอาคารไม่เกิน 10 , 000 ตารางเมตร หรือที่ใช้งานในอาคารที่มีผู้ใช้สอยพื้นที่ ไม่เกินห้าร้อยคน (ช) ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคี ภัยซึ่งไม่ใช่ระบบดับเพลิงแบบพิเศษ เช่น การใช้ก๊าซ หรือโฟมสาหรับดับเพลิง ที่มีมูลค่ารวมกันไม่เกินสิบห้าล้านบาทต่อโครงการ หรือที่มีพื้นที่ป้องกัน อัคคีภัยไม่เกิน 10 , 000 ตารางเมตร (ซ) การจัดการพลังงานที่มีขนาดไม่เกิน 2 เมกะวัตต์ต่อโครงการหรือใช้ความร้อ น ไม่เกิน 40 ล้านเมกะจูลต่อปีต่อโครงการ (2) งานออกแบบและคำนวณ (ก) เครื่องจักรกลที่มีขนาดกาลังไม่เกิน 100 กิโลวัตต์ต่อเครื่อง เว้นแต่เครื่องจักรกล สำหรับลิฟต์หรือบันไดเลื่อนหรือปั่นจั่นขนาดกำลังไม่เกิน 20 กิโลวัตต์ต่อเครื่อง (ข) เครื่องกาเนิดไอน้า หรือไออย่างอื่นที่มีความดันเกจไม่เกิน 1 , 000 กิโลปาสกาล หรืออัตราการผลิตไอน้าหรือไออย่างอื่นไม่เกิน 5 , 000 กิโลกรัมต่อชั่วโมงต่อเครื่อง (ค) ภาชนะรับแรงดันที่มีความดันเกจไม่เกิน 1 , 000 กิโลปาสกาล หรือปริมาตร ไม่เกิน 3 ลูกบาศก์เมตรต่อถัง เว้นแต่ที่มีสารเป็นพิษหรือวัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม วัตถุอันตราย ทั้งนี้ มิให้หมายความรวมถึงสารทำความเย็นทั่วไป (ง) เตาอุตสาหกรรมที่มีขนาดอัตราความร้อนไม่เกิน 350 กิโลวัตต์ต่อเตา (จ) เครื่องปรับภาวะอากาศหรือเครื่องทาความเย็นหรือเครื่องทาควำมร้อนที่มีลักษณะ ดังนี้ 1) การออกแบบเพื่อสร้างตัวเครื่องและอุปกรณ์ ( Equipment Design ) ที่มีขนาด ทำความเย็นไม่เกิน 100 กิโลวัตต์ต่อเครื่อง 2) การออกแบบเพื่อประกอบเป็นระบบ ( System Design ) ที่มีขนาดทาความเย็น ไม่เกิน 300 กิโลวัตต์ต่อเครื่อง (ฉ ) ระบบของไหลในท่อรับแรงดันหรือสุญญากาศ ดังนี้ 1) ที่มีความดันเกจของไหลในท่อไม่เกิน 1 , 500 กิโลปาสกาล หรือ 2) สุญญากาศเกจไม่ต่ากว่าลบ 80 กิโลปาสกาล เว้นแต่ของไหลเป็นสารมีพิษ หรือวัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมวัตถุอันตราย ทั้งนี้ มิให้หมายค วามรวมถึง สารทำความเย็นทั่วไป ้ หนา 42 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 146 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566
(ช) ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย ซึ่งไม่ใช่ระบบดับเพลิงแบบพิเศษ เช่น การใช้ ก๊าซหรือโฟม เป็นต้น ที่มูลค่ารวมกันไม่เกิน 7.5 ล้านบาทต่อระบบ หรือที่มีพื้นที่ป้องกันอัคคีภัย ไม่เกิน 5 , 000 ตารางเมตร (ซ) การจัดการพลังงานขนาดไม่เกิน 1 เมกะวัตต์ หรือใช้พลังงานความร้อนไม่เกิน 20 ล้านเมกะจูลต่อปี (3) งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต (ก) เครื่องจักรกลที่มีขนาดกำลังไม่เกิน 500 กิโลวัตต์ต่อเครื่อง (ข) เครื่องกาเนิดไอน้าหรือไออย่างอื่นที่มีความดันเกจไม่เกิน 2 , 000 กิโลปาสกาล หรือที่มีอัตราการผลิตไอน้าหรือไออย่างอื่นไม่เกิน 5 , 000 กิโลกรัมต่อชั่วโมงต่อเครื่อง (ค) ภาชนะรับแรงดันที่มีความดันเกจไม่เกิน 2 , 000 กิโลปาสกาล หรือที่มีปริมาตร ไม่เกิน 10 ลูกบาศก์เมตรต่อถัง (ง) เตาอุตสาหกรรมที่มีขนาดอัตราความร้อน ไม่เกิน 1 , 000 กิโลวัตต์ต่อเตา (จ) เครื่องปรับภาวะอากาศหรือเครื่องทาความเย็นหรือเครื่องทาความร้อนที่มีขนาด ทาความเย็นหรือทาความร้อนไม่เกิน 350 กิโลวัตต์ต่อเครื่อง หรือรวมไม่เกิน 1 , 000 กิโลวัตต์ เว้นแต่สารทำความเย็นเป็นสารมีพิษหรือวัตถุอันตรายตามกฎ หมายว่าด้วยการควบคุมวัตถุอันตราย ทั้งนี้ มิให้หมายความรวมถึงสารทำความเย็นทั่วไป (ฉ) ระบบของไหลในท่อรับแรงดันหรือสุญญากาศ ดังนี้ 1) ที่มีความดันเกจของไหลในท่อไม่เกิน 1 , 500 กิโลปาสกาลต่อระบบ หรือ 2) สุญญากาศเกจไม่ต่ากว่าลบ 80 กิโลปาสกาล เว้นแต่ของไหลเป็นสารมีพิษ หรือวัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมวัตถุอันตราย ทั้งนี้ มิให้หมายความรวมถึง สารทำความเย็นทั่วไป (ช) ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย ทำได้ทุกขนาด (4) งานพิจารณาตรวจสอบ (ก) เครื่องจักรกลที่มีขนาดกำลังไม่เกิน 100 กิโลวัต ต์ต่อเครื่อง (ข) ลิฟต์โดยสารหรือลิฟต์ขนส่งที่บุคคลสามารถเข้าไปโดยสารได้ทุกขนาด (ค) ระบบของไหลในท่อรับแรงดันสำหรับแก๊สเชื้อเพลิงในยานพาหนะทุกขนาด (ง) ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัยทุกขนาด (5) งานอำนวยการใช้ (ก) เครื่องจักรกลที่มีขนาดกำลังรวมไม่เกิน 2 , 0 00 กิโลวัตต์ต่อระบบ (ข) เครื่องกำเนิดไอน้ำหรือไออย่างอื่นที่มีความดันเกจไม่เกิน 2 , 000 กิโลปาสกาลหรือ ที่มีอัตราการผลิตไอน้าหรือไออย่างอื่นไม่เกิน 30 , 000 กิโลกรัมต่อชั่วโมงต่อเครื่อง หรือที่มีขนาดรวม ไม่เกิน 100 , 000 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ้ หนา 43 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 146 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566
(ค) ภาชนะรับ แรงดันที่มีความดันเกจไม่เกิน 2 , 000 กิโลปาสกาลหรือมีปริมาตร ไม่เกิน 30 ลูกบาศก์เมตรต่อถัง (ง) เตาอุตสาหกรรมที่มีขนาดอัตราความร้อนไม่เกิน 1 , 500 กิโลวัตต์ต่อเตา หรืออัตราความร้อนรวมไม่เกิน 6 , 000 กิโลวัตต์ (จ) เครื่องปรับภาวะอากาศหรือเครื่องทาความเย็นที่มีขนาดทาความเย็นหรือทาความร้อน ของระบบไม่เกิน 2 , 000 กิโลวัตต์ (ช) ระบบของไหลในท่อรับแรงดันหรือสุญญากาศ ดังนี้ 1) ที่มีความดันเกจของไหลในท่อไม่เกิน 2 , 000 กิโลปาสกาล เว้นแต่ของไหลเป็น สารมีพิษหรือวัตถุอันตรำยตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมวัตถุอันตราย ทั้งนี้ มิให้หมายความรวมถึง สารทำความเย็นทั่วไป 2) สุญญากาศเกจ ไม่ต่ากว่าลบ 80 กิโลปาสกาล เว้นแต่ของไหลเป็นสารมีพิษ หรือวัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมวัตถุอันตราย ทั้งนี้ มิให้หมายความรวมถึง สารทำความเ ย็นทั่วไป (ซ) ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย ทำได้ทุกขนาด (ฌ) การจัดการพลังงานสถานประกอบการที่มีการใช้พลังไฟฟ้าไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ หรือใน 1 ปี ใช้พลังงานความร้อนไม่เกิน 200 ล้านเมกะจูล ข้อ 8 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุ ม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ได้ตามงาน ประเภท และขนาดที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ข้อ 9 ในกรณีที่ต้องมีการวินิจฉัยชี้ขาดหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขำวิศวกรรมเครื่องกล ตามข้อบังคับนี้ ให้คณะกรรมการสภาวิศวกร เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการสภาวิศวกรให้เป็นที่สุด ข้อ 10 ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ซึ่งประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ควบคุมตามระดับ และสาขาที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ภายในข้อกาหนดและเงื่อนไขตามกฎกระทรวงกาหนด สาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2550 อยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ มีผลใช้บังคับ ให้ผู้นั้นประกอบการงานนั้นต่อไปได้จนกว่างานจะแล้วเสร็จ ทั้งนี้ ไม่เกินสามปีนับแต่วัน ที่ ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ประกาศ ณ วันที่ 7 มิ ถุนายน พ.ศ. 25 6 6 รองศาสตราจารย์ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์ นายกสภาวิศวกร ้ หนา 44 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 146 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566