Wed Jun 21 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ พ.ศ. 2566


ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ พ.ศ. 2566

ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขา วิศวกรรม เหมืองแร่ พ.ศ. 2566 อาศัยอานาจตามความในมาตรา 8 (6) (ฉ) มาตรา 46 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 และกฎกระทรวงกาหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2565 สภาวิศวกรโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2565 และโดยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษแห่งสภาวิศวกร ออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิก (1) ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ พ.ศ. 2551 (2) ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณส มบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ข้อ 4 ให้งาน ประเภทและขนาดของงานวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ เป็นไปตามที่กาหนดไว้ในกฎกระทรวงกาหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุ ม พ.ศ. 2565 ข้อ 5 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานเหมืองแร่ ระดับวุฒิวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานเหมืองแร่ ได้ทุกงาน ทุกประเภท และทุกขนาด ข้อ 6 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานเหมืองแร่ ระดับสามัญวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานเหมืองแร่ ตามประเภทและขนาด ดังนี้ (1) งานให้คำปรึกษา (ก) การทาเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 ที่มีกาลังสูงสุด ของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 15 , 000 กิโลวัตต์ (ข) การเจาะอุโมงค์หรือช่องเปิดในหินหรือแร่หรือการสร้างโพรงโดยการชะละลายแร่ ในการทาเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 หรือการเจาะอุโมงค์หรือ ช่องเปิดในหินที่มีพื้นที่หน้าตัดไม่เกิน 40 ตารางเมตร หรือมีกำลังผลิตไม่เกิน 150 , 000 เมตริกตันต่อปี ้ หนา 33 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 146 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566

(ค) งานวิศวกรรมที่มีการใช้วัตถุระเบิดที่มีปริมาณวัสดุจากการระเบิดไม่เกิน 10 , 000 เมตริกตันต่อวั น หรือไม่เกิน 3.5 ล้านเมตริกตันต่อปี หรือการใช้วัตถุระเบิดในการทาเหมือง ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ (ง) การแต่งแร่หรือการแยกวัสดุต่าง ๆ ออกจากของที่ใช้แล้ว ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่ ที่ใช้กำลังเครื่องจักร ทุกขนาด (จ) การตรวจสอบและประเมินปริมาณแร่ที่ทำเหมืองได้ทุกขนาด (ฉ) การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนทำเหมือง การปรับคุณภาพแร่หรือวัสดุ ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่ ทุกประเภทและทุกขนาด (ช) การฟื้นฟูสภาพพื้นที่ภายหลังการทำเหมืองหรือการปิดเหมืองในเขตเหมืองแร่ ทุกประเภทและทุกขนา ด (ซ) การควบคุมการพังทลายของดินหรือหินในเขตเหมืองแร่ ทุกประเภทและทุกขนาด (2) งานวางโครงการ งานออกแบบและคำนวณ งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต งานพิจารณาตรวจสอบ และงานอำนวยการใช้ ตามประเภทและขนาด ดังนี้ (ก) การทาเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 ที่มีกาลังสูงสุด ของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 15 , 000 กิโลวัตต์ (ข) การเจาะอุโมงค์หรือช่องเปิดในหินหรือแร่หรือการสร้างโพรงโดยการชะละลายแร่ ในการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่หรือการเจาะอุโมงค์หรือช่องเปิดในหินที่มีพื้นที่ หน้าตัด ไม่เกิน 40 ตารางเมตร หรือกาลังผลิตไม่เกิน 150 , 000 เมตริกตันต่อปี (ค) งานวิศวกรรมที่มีการใช้วัตถุระเบิดที่มีปริมาณวัสดุจากการระเบิดไม่เกิน 10 , 000 เมตริกตันต่อวัน หรือไม่เกิน 3.5 ล้านเมตริกตันต่อปี หรือการใช้วัตถุระเบิดในการทำเหมือง ตามกฎ หมายว่าด้วยแร่ (ง) การแต่งแร่หรือการแยกวัสดุต่าง ๆ ออกจากของที่ใช้แล้ว ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่ ที่ใช้กำลังเครื่องจักร ทุกขนาด ( จ) การตรวจสอบและประเมินปริมาณแร่ที่ทำเหมืองได้ทุกขนาด ( ฉ) การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนทำเหมือง การปรับคุณภาพแร่หรือวัสดุ ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่ ทุกประเภทและทุกขนาด ( ช) การฟื้นฟูสภาพพื้นที่ภายหลังการทำเหมืองหรือการปิดเหมืองในเขตเหมืองแร่ ทุกประเภทและทุกขนาด (ซ) การควบคุมการพังทลายของดินหรือหินในเขตเหมืองแร่ ทุกประเภทและทุกขนาด ข้อ 7 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิ ศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานเหมืองแร่ ระดับภาคีวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ ้ หนา 34 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 146 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566

งานเหมืองแร่ได้เฉพาะงาน งานควบคุมการสร้างและการผลิต งานพิจารณาตรวจสอบ และงานอานวยการใช้ ตามประเภทและขนาด ดังนี้ (1) งานควบคุมการส ร้างและการผลิต (ก) การทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ประเภทที่ 1 ที่มีกำลังสูงสุดของเครื่องจักรกล และอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 1 , 500 กิโลวัตต์ (ข) งานวิศวกรรมที่มีการใช้วัตถุระเบิดที่มีปริมาณวัสดุจากการระเบิดไม่เกิน 800 เมตริกตันต่อวัน หรือไม่เกิน 280 , 000 เมตริกตันต่อปี ยกเว้นการใช้วัตถุระเบิดในการเจาะอุโมงค์ หรือช่องเปิดในหินทุกขนาด (ค) การแต่งแร่หรือการแยกวัสดุต่าง ๆ ออกจากของที่ใช้แล้ว ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่ ที่มีกาลังสูงสุดของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 500 กิโลวัตต์ ยกเว้นการแต่งแร่ หรือแยกวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้แล้วด้วยกรรมวิธีเคมีหรือเคมีไฟฟ้า (ง) การฟื้นฟูสภาพพื้นที่ภายหลังการทำเหมืองหรือการปิดเหมืองในเขตเหมืองแร่ ประเภทที่ 1 ที่มีกำลังสูงสุดของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 1 , 500 กิโลวัตต์ (จ) การค วบคุมการพังทลายของดินหรือหินในเขตเหมืองแร่ ในการทาเหมืองประเภทที่ 1 ที่มีกำลังสูงสุดของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 1 , 500 กิโลวัตต์ (2) งานพิจารณาตรวจสอบ (ก) การทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ประเภทที่ 1 ที่มีกำลังสูงสุดของเครื่องจักรกล และอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 1 , 500 กิโลวัตต์ (ข) งานวิศวกรรมที่มีการใช้วัตถุระเบิดที่มีปริมาณวัสดุจากการระเบิดไม่เกิน 800 เมตริกตันต่อวัน หรือไม่เกิน 280 , 000 เมตริกตันต่อปี ยกเว้นการใช้วัตถุระเบิดในการเจาะอุโมงค์ หรือช่องเปิดในหินทุกขนาด (ค) การแต่งแร่หรือการแยกวัสดุต่าง ๆ ออกจากของที่ใช้แล้ว ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่ ที่มีกาลังสูงสุดของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 500 กิโลวัตต์ ยกเว้นการแต่งแร่ หรือแยกวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้แล้วด้วยกรรมวิธีเคมีหรือเคมีไฟฟ้า (3) งานอำนวยการใช้ (ก) การทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ประเภทที่ 1 ที่มีกำลังสูงสุดของเครื่องจักรกล และอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 1 , 500 กิโลวัตต์ (ข) งานวิศวกรรมที่มีการใช้วัตถุระเบิดที่มีปริมาณวัสดุจากการระเบิดไม่เกิน 800 เมตริกตันต่อวัน หรือไม่เกิน 280 , 000 เมตริกตันต่อ ปี ยกเว้นการใช้วัตถุระเบิดในการเจาะอุโมงค์ หรือช่องเปิดในหินทุกขนาด ้ หนา 35 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 146 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566

(ค) การแต่งแร่หรือการแยกวัสดุต่าง ๆ ออกจากของที่ใช้แล้ว ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่ ที่มีกาลังสูงสุดของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 500 กิโลวัตต์ ยกเว้นการแต่งแร่ หรือแยกวัสดุต่ำง ๆ ที่ใช้แล้วด้วยกรรมวิธีเคมีหรือเคมีไฟฟ้า (ง) การฟื้นฟูสภาพพื้นที่ภายหลังการทำเหมืองหรือการปิดเหมืองในเขตเหมืองแร่ ประเภทที่ 1 ที่มีกำลังสูงสุดของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 1 , 500 กิโลวัตต์ (จ) การควบคุมการพังทลายของดินหรือหินในเขตเ หมืองแร่ ในการทาเหมืองประเภทที่ 1 ที่มีกำลังสูงสุดของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 1 , 500 กิโลวัตต์ ข้อ 8 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานเหมืองแร่ ได้ตามงาน ประเภท และขนาดที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ข้อ 9 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานโลหการ ระดับวุฒิวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานโลหกา ร ได้ทุกงาน ทุกประเภท และทุกขนาด ข้อ 10 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานโลหการ ระดับสามัญวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานโลหการ ตามประเภทและขนาด ดังนี้ (1) งานให้คำปรึก ษา (ก) การแยกและการเตรียมวัสดุเพื่อการสกัดโลหะออกจากขยะ ของที่ใช้แล้วจาก ภาคครัวเรือน และกากของเสียอุตสาหกรรม ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่และกรรมวิธีทางโลหกรรม ที่มีการใช้สารเคมีอันตราย ทุกประเภท และทุกขนาด (ข) การแต่งแร่หรือการแยกวัสดุต่าง ๆ ออกจากของที่ใช้แล้ว ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่ทุกขนาด (ค) การถลุงแร่เหล็กหรือการผลิตเหล็กกล้า ด้วยกรรมวิธีทางโลหกรรม ไม่เกิน 300 , 000 เมตริกตันต่อปี (ง) การถลุงแร่อื่น ๆ หรือการสกัดโลหะ โลหะเจือ หรือสารประกอบโลหะออกจากแร่ ตะกรัน เศษโลหะ วัสดุ หรือสารอื่ นใด รวมทั้งการทาโลหะให้บริสุทธิ์ ด้วยกรรมวิธีทางโลหกรรม ที่มีการใช้สารเคมีอันตราย และมีกาลังผลิตไม่เกิน 40 , 000 เมตริกตันต่อปี (จ) การผลิตโลหะสาเร็จรูปหรือกึ่งสาเร็จรูปด้วยกระบวนการขึ้นรูปต่าง ๆ เช่น การหลอม การหล่อ การแปรรูป การเชื่อม การขึ้ นรูปด้วยกระบวนการโลหะผง หรือการขึ้นรูปด้วยการเติมเนื้อวัสดุ ที่ใช้คนงานไม่เกินสามร้อยคน (ฉ) การปรับปรุงสมบัติโลหะด้วยกรรมวิธีการอบชุบทางความร้อน การตกแต่งผิว หรือการเคลือบผิวโลหะ ที่ใช้คนงานไม่เกินสามร้อยคน ้ หนา 36 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 146 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566

(ช) การวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ เชิงกล เคมี การทดสอบแบบไม่ทำลาย การบ่งลักษณะเฉพาะของวัสดุ หรือการวิเคราะห์การวิบัติการเสื่อมสภาพของโลหะ การกัดกร่อนของโลหะ และการป้องกันความเสียหาย ด้วยกรรมวิธีทางโลหกรรม ทุกประเภทและทุกขนาด (2) งานวางโครงการ งานออกแบบและคำนวณ งานควบคุมการสร้างและการผลิต งานพิจารณาตรวจสอบ และงานอำนวยการใช้ (ก) การแยกและการเตรียมวัสดุเพื่อการสกัดโลหะออกจากขยะ ของที่ใช้แล้วจาก ภาคครัวเรือน และกากของเสียอุตสาหกรรม ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่และกรรมวิธีทางโลหกรรม ที่มีการใช้ สารเคมีอันตราย ทุกประเภทและทุกขนาด (ข) การแต่งแร่ห รือการแยกวัสดุต่าง ๆ ออกจากของที่ใช้แล้ว ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่ ทุกประเภทและทุกขนาด (ค) การถลุงแร่เหล็กหรือการผลิตเหล็กกล้า ด้วยกรรมวิธีทางโลหกรรมไม่เกิน 300 , 000 เมตริกตันต่อปี (ง) การถลุงแร่อื่น ๆ หรือการสกัดโลหะ โลหะเจือ หรือสารประกอบโลหะออกจากแร่ ตะกรัน เศษโลหะ วัสดุ หรือสารอื่นใด รวมทั้งการทาโลหะให้บริสุทธิ์ ด้วยกรรมวิธีทางโลหกรรม ที่มีการใช้สารเคมีอันตราย และมีกาลังผลิตไม่เกิน 40 , 000 เมตริกตันต่อปี (จ) การผลิตโลหะสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปด้วยกระบวนการขึ้นรูปต่าง ๆ เช่น การหลอม การ หล่อ การแปรรูป การเชื่อม การขึ้นรูปด้วยกระบวนการโลหะผง หรือการขึ้นรูป ด้วยการเติมเนื้อวัสดุ ที่ใช้คนงานไม่เกินสามร้อยคน (ฉ) การปรับปรุงสมบัติโลหะด้วยกรรมวิธีการอบชุบทางความร้อน การตกแต่งผิว หรือการเคลือบผิวโลหะ ที่ใช้คนงานไม่เกินสามร้อยคน (ช) การวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ เชิงกล เคมี การทดสอบแบบไม่ทำลาย การบ่งลักษณะเฉพาะของวัสดุ หรือการวิเคราะห์การวิบัติการเสื่อมสภาพของโลหะการกัดกร่อน ของโลหะและการป้องกันความเสียหาย ด้วยกรรมวิธีทางโลหกรรม ทุกประเภทและทุกขนาด ข้อ 11 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็ นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานโลหการ ระดับภาคีวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานโลหการ ตามประเภทและขนาด ดังนี้ (1) งานวางโครงการ งานออกแบบและคำนวณ งานควบคุมการสร้างและการผลิต งานพิจารณาตรวจ สอบ และงานอำนวยการใช้ (ก) การแยกและการเตรียมวัสดุเพื่อการสกัดโลหะออกจากขยะ ของที่ใช้แล้ว จากภาคครัวเรือน และกากของเสียอุตสาหกรรม ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่และกรรมวิธีทางโลหกรรม ที่มีการใช้สารเคมีอันตราย ทุกประเภทและทุกขนาด ้ หนา 37 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 146 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566

(ข) การแต่งแร่หรือการแยกวัสดุต่าง ๆ ออกจากของที่ใช้แล้ว ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่ ทุกประเภทและทุกขนาด (ค) การถลุงแร่เหล็กหรือการผลิตเหล็กกล้า ด้วยกรรมวิธีทางโลหกรรม ไม่เกิน 80 เมตริกตันต่อวัน หรือไม่เกิน 28 , 000 เมตริกตันต่อปี (ง) การถลุงแร่อื่น ๆ หรือการสกัดโลหะ โลหะเจือ หรือสารประกอบโลหะออกจากแร่ ตะกรัน เศษโลหะ วัสดุ หรือสารอื่นใด รวมทั้งการทาโลหะให้บริสุทธิ์ ด้วยกรรมวิธีทางโลหกรรม ที่มีการใช้สารเคมีอันตราย และมีกาลังผลิตไม่เกิน 5 , 000 เมตริกตันต่อปี (จ) การผลิตโลหะสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปด้วยกระบวนการขึ้นรูปต่า ง ๆ เช่น การหลอม การหล่อ การแปรรูป การเชื่อม การขึ้นรูปด้วยกระบวนการโลหะผง หรือการขึ้นรูป ด้วยการเติมเนื้อวัสดุ ที่ใช้คนงานไม่เกินห้าสิบคน (ฉ) การปรับปรุงสมบัติโลหะด้วยกรรมวิธีการอบชุบทางความร้อน การตกแต่งผิว หรือการเคลือบผิวโลหะ ที่ใช้คนงานไ ม่เกินหนึ่งร้อยคน (ช) การวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ เชิงกล เคมี การทดสอบแบบไม่ทำลาย การบ่งลักษณะเฉพาะของวัสดุ หรือการวิเคราะห์การวิบัติการเสื่อมสภาพของโลหะ การกัดกร่อน ของโลหะ และการป้องกันความเสียหาย ด้วยกรรมวิธีทางโลหกรรมของเหล็กหล่อ เหล็กกล้าคาร์ บอนต่า ถึงปานกลาง และเหล็กกล้าไร้สนิม ยกเว้นเหล็กกล้าไร้สนิมชนิด Super - Austenitic กับ Duplex ข้อ 12 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานโลหการ ได้ตามงาน ประเภทและขนาดที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ข้อ 13 ในกรณีที่ต้องมีการวินิจฉัยชี้ขาดหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมเหมือง แร่ ตามข้อบังคับนี้ ให้คณะกรรมการสภาวิศวกร เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการสภาวิศวกรให้เป็นที่สุด ข้อ 14 ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ซึ่งประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ควบคุมตามระดับ และสาขาที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ภายในข้อกา หนดและเงื่อนไขตามกฎกระทรวงกาหนด สาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2550 อยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ มีผลใช้บังคับ ให้ผู้นั้นประกอบการงานนั้นต่อไปได้จนกว่างานจะแล้วเสร็จ ทั้งนี้ ไม่เกินสามปีนับแต่วันที่ ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ประกาศ ณ วันที่ 7 มิ ถุนายน พ.ศ. 25 6 6 รองศาสตราจารย์ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์ นายกสภาวิศวกร ้ หนา 38 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 146 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566