Tue Jun 20 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะ พ.ศ. 2566


ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะ พ.ศ. 2566

ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสาหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะ พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสาหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะ ให้ครบถ้วนเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 24 (2) มาตรา 62 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550 สภามหาวิทยาลัยมหิดล ในการประชุมครั้งที่ 592 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 จึงออกข้ อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะ พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิก (1) ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสาหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะ พ.ศ. 2554 (2) ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสาหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 (3) ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสาหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 ข้อ 4 ให้กาหนดปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสาหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัย โดยหากมีสาขาหรือวิชาเอก ให้ระบุชื่อสาขาห รือวิชาเอกนั้นไว้ในวงเล็บต่อท้ายปริญญาด้วย ดังต่อไปนี้ (1) สาขาวิชากายอุปกรณศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “ กายอุปกรณศาสตรดุษฎีบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ กอ.ด. ” (ข) โท เรียกว่า “ กายอุปกรณศาสตรมหาบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ กอ.ม. ” (ค) ตรี เรียกว่า “ กายอุปกรณศาสตรบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ กอ.บ. ” (2) สาขาวิชาการจัดการ มีปริญญาสามชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “ การจัดการดุษฎีบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ กจ.ด. ” (ข) โท เรียกว่า “ การจัดการมหาบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ กจ.ม. ” (ค) ตรี เรียกว่า “ การจัดการ บัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ กจ.บ. ” (3) สาขาวิชาการจัดการสาธารณสุขมูลฐาน มีปริญญาหนึ่งชั้น คือ (ก) โท เรียกว่า “ การจัดการสาธารณสุขมูลฐานมหาบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ สม.ม. ” ้ หนา 38 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 144 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 มิถุนายน 2566

(4) สาขาวิชาการบัญชี มีปริญญาสามชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “ บัญชีดุษฎีบัณฑิต ” ใช้ อักษรย่อ “ บช.ด. ” (ข) โท เรียกว่า “ บัญชีมหาบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ บช.ม. ” (ค) ตรี เรียกว่า “ บัญชีบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ บช.บ. ” (5) สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มีปริญญาสามชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “ การแพทย์แผนไทยประยุกต์ดุษฎีบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ พทป.ด. ” (ข) โท เรียกว่า “ การแพทย์แผนไทยประยุกต์มหาบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ พทป.ม. ” (ค) ตรี เรียกว่า “ การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ พทป.บ. ” (6) สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “ ดุริยางคศาสตรดุ ษฎีบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ ดศ.ด. ” (ข) โท เรียกว่า “ ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ ดศ.ม. ” (ค) ตรี เรียกว่า “ ดุริยางคศาสตรบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ ดศ.บ. ” (7) สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ มีปริญญาสองชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “ ทันตแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิ ต ” ใช้อักษรย่อ “ ท.ด. ” (ข) ตรี เรียกว่า “ ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ ท.บ. ” (8) สาขาวิชาเทคโนโลยี มีปริญญาหนึ่งชั้น คือ (ก) ตรี เรียกว่า “ เทคโนโลยีบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ ทล.บ. ” (9) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “ นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ นศ.ด. ” (ข) โท เรียกว่า “ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ นศ.ม. ” (ค) ตรี เรียกว่า “ นิเทศศาสตรบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ นศ.บ. ” (10) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มีปริญญาสามชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “ บริหารธุ รกิจดุษฎีบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ บธ.ด. ” (ข) โท เรียกว่า “ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ บธ.ม. ” (ค) ตรี เรียกว่า “ บริหารธุรกิจบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ บธ.บ. ” (11) สาขาวิชาประชากรศาสตร์ มีปริญญาหนึ่งชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “ ปรัชญาดุษฎีบัณ ฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ ปร.ด. ” (12) สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “ พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ พย.ด. ” และ “ ปรัชญา ดุษฎีบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ ปร.ด. ” (ข) โท เรียกว่า “ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ พย.ม. ” (ค) ตรี เรียกว่า “ พยาบาลศาสตรบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ พย.บ. ” ้ หนา 39 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 144 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 มิถุนายน 2566

(13) สาขาวิชาแพทยศาสตร์ มีปริญญาสองชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “ แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ พ.ด. ” (ข) ตรี เรียกว่า “ แพทยศาสตรบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ พ.บ. ” (14) สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “ เภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ ภ.ด. ” และ “ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ ปร.ด. ” (ข) โท เรียกว่า “ เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ ภ.ม. ” (ค) ตรี เรียกว่า “ เภสัชศาสตรบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ ภ.บ. ” (15) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “ รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ รป.ด. ” (ข) โท เรียกว่า “ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ รป.ม. ” (ค) ตรี เรียกว่า “ รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ รป.บ. ” (16) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “ วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ วท.ด. ” และ “ ปรัชญา ดุษฎีบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ ปร.ด. ” (ข) โท เรียกว่า “ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ วท.ม. ” (ค) ตรี เรียกว่า “ วิทยาศาสตรบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ วท.บ. ” (17) สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “ วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ วศ.ด. ” (ข) โท เรียกว่า “ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ วศ.ม. ” (ค) ตรี เรียกว่า “ วิศวกรรมศำสตรบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ วศ.บ. ” (18) สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ มีปริญญาหนึ่งชั้น คือ (ก) ตรี เรียกว่า “ ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ ศป.บ. ” (19) สาขาวิชาศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มีปริญญาหนึ่งชั้น คือ (ก) ตรี เรียกว่า “ ศิลปศาสตรและวิทยาศา สตรบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ ศศ.วท.บ. ” (20) สาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “ สังคมศาสตรดุษฎีบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ สค.ด. ” “ ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ ศศ.ด. ” “ ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต ” ใช้ อักษรย่อ “ ศษ.ด. ” “ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ ปร.ด. ” (ข) โท เรียกว่า “ สังคมศาสตรมหาบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ สค.ม. ” “ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ ศศ.ม. ” ้ หนา 40 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 144 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 มิถุนายน 2566

“ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ ศษ.ม. ” “ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ อ.ม. ” (ค) ตรี เรียกว่า “ ศิลปศาสตรบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ ศศ.บ. ” “ ศึกษาศาสตรบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ ศษ.บ. ” (21) สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ มีปริญญาสองชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “ สัตวแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ สพ.ด. ” (ข) ตรี เรี ยกว่า “ สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ สพ.บ. ” (22) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “ สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ ส.ด. ” (ข) โท เรียกว่า “ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ ส.ม. ” (ค) ตรี เรียกว่า “ สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ ส.บ. ” (23) สาขาวิชาอายุรศาสตร์เขตร้อนคลินิก มีปริญญาหนึ่งชั้น คือ (ก) โท เรียกว่า “ อายุรศาสตร์เขตร้อนคลินิกมหาบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ อค.ม. ” ข้อ 5 ครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัย มีสามชั้น ดังต่อไปนี้ (1) ครุยดุษฎี บัณฑิต ทาด้วยผ้าหรือแพรสีดา เย็บเป็นเสื้อคลุมยาวเหนือข้อเท้าประมาณ 15 เซนติเมตร หลังจีบ ตัวเสื้อผ่าอกตลอด มีแถบกามะหยี่สีตามสีประจาสาขาวิชากว้าง 12.5 เซนติเมตร เย็บติด เป็นสาบตลอดด้านหน้าทั้งสองข้างและโอบรอบคอเสื้อ ปลายแขนปล่อยกว้างยาวระดับข้อ มือ ตอนกลาง แขนทั้งสองข้างมีแถบกามะหยี่สีตามสีประจาสาขาวิชากว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร พับปลายแถบเป็นมุมแหลม จานวนสามแถบติดเรียงกัน ระยะห่าง 5 เซนติเมตร มีผ้าคล้องคอยาว 120 เซนติเมตร ด้านนอกทาด้วยผ้าหรือแพรสีดาเช่นเดียวกับเสื้อ ด้านใ นทาด้วยผ้าหรือแพรสีน้ำเงิน และให้แลบเป็นขลิบกว้าง 1 เซนติเมตร และมีหมวกเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวด้านละ 25 เซนติเมตร ทาด้วยผ้าหรือสักหลาดสีดา มีพู่ทาด้วยดิ้นทอง ห้อยติดทางด้านขวาค่อนไปทางด้านหลังของหมวก โดยให้ปลายพู่ห้อยพ้นปีกหมวกพอสมควร (2) ครุยมหาบัณฑิต ให้มีลักษณะเช่นเดียวกับครุยดุษฎีบัณฑิต แต่แถบกำมะหยี่สีตามสีประจาสาขาวิชา ที่เย็บติดเป็นสาบกว้าง 7.5 เซนติเมตร ตอนกลางแขนทั้งสองข้างไม่มีแถบกำมะหยี่ มีผ้าคล้องคอยาว 105 เซนติเมตร และหมวกเช่นเดียวกับ (1) แต่มีพู่ทาด้วยไหมสีดา ห้อยติดทางด้านขวาค่อนไปทาง ด้านหลังของหมวก โดยให้ปลายพู่ห้อยพ้นปีกหมวกพอสมควร (3) ครุยบัณฑิต ให้มีลักษณะเช่นเดียวกับครุยมหาบัณฑิต แต่แถบกำมะหยี่สีตามสีประจำสาขาวิชา ที่เย็บติดเป็นสาบกว้าง 5 เซนติเมตร มีผ้าคล้องคอยาว 90 เซนติเมตร และหมวกเช่นเดียว กับ (1) ้ หนา 41 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 144 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 มิถุนายน 2566

แต่มีพู่ทาด้วยไหมสีดา ห้อยติดทางด้านขวาค่อนไปทางด้านหลังของหมวก โดยให้ปลายพู่ห้อยพ้นปีกหมวก พอสมควร ข้อ 6 สีประจำสาขาวิชา สำหรับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก มีดังต่อไปนี้ (1) สาขาวิชากายอุปกรณศาสตร์ สีม่วงอ่อน (2) สาขาวิชาการจัดการ สีฟ้ำ (3) สาขาวิชาการจัดการสาธารณสุขมูลฐาน สีส้ม (4) สาขาวิชาการบัญชี สีฟ้าอ่อน (5) สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ สีเทา (6) สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ สีเขียวอ่อน (7) สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ สีม่วงเม็ดมะปราง (8) สาขาวิชาเทคโนโลยี สีชมพูกลีบบัว (9) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ สีส้มอ่อน (10) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สีฟ้าเข้ม (11) สาขาวิชาประชากรศาสตร์ สีแดง (12) สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สีขาว (13) สาขาวิชาแพทยศาสตร์ สีเขียว (14) สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ สีเขียวมะกอก (15) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สีชมพูบานเย็ น (16) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ (ก) ทั่วไป สีเหลืองทอง (ข) วิชาพยาบาล สีเหลืองแกมแดงอ่อน (17) สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สีแดงเลือดหมู (18) สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ สีส้มประกายทอง (19) สาขาวิชาศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สีเทาอ่อน (20) สาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ สีชมพูเข้ม (21) สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ สีฟ้าหม่น (22) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สีชมพู (23) สาขาวิชาอายุรศาสตร์เขตร้อนคลินิก สีน้ำเงินแกมม่วง สำหรับปริญญาเอกปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ทุกสาขาวิชา ให้ใช้สีน้ำเงินเข้ม ข้อ 7 เข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยสาหรับผู้ได้ปริญญามีลักษณะเป็นรูปวงกลมดุนนูน เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 เซนติเมตร ทาด้วยโลหะลงยา พื้นสีน้าเงินเข้ม มีอักษรดุนนูนสีทองตอนบนว่า “ อตฺตาน อุปม กเร ” ซึ่งมีความหมายว่า “ พึงปฏิบัติต่อผู้อื่น เหมือนดังปฏิบัติต่อตนเ อง ” และ ้ หนา 42 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 144 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 มิถุนายน 2566

ตอนล่างว่า “ มหาวิทยาลัยมหิดล ” คั่นด้วยดอกประจายามดุนนูนสีทองอยู่ในกรอบวงกลมดุนนูนสีทอง ตรงกลางมีรูปดุนนูนสีทองประกอบด้วยอักษร “ ม ” อยู่ภายใต้จักร ตรี และพระมหาพิชัยมงกุฎ ข้อ 8 ผู้ได้รับปริญญามีสิทธิที่จะใช้ครุยวิทยฐานะและเข็มวิทยฐานะในโอกาสแล ะเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) ครุยวิทยฐานะ ให้ผู้มีสิทธิสวมในโอกาสและเงื่อนไข ดังนี้ (ก) ในงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรโดยแต่งกายตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล หรือตามแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด (ข) ในงานพิธีการหรือ โอกาสอื่นใด ตามกาลเทศะและความเหมาะสม หรือตามที่ มหาวิทยาลัยกำหนด (2) เข็มวิทยฐานะ ให้ผู้มีสิทธิใช้เข็มวิทยฐานะประดับเข็มวิทยฐานะบนเครื่องแบบหรือ เครื่องแต่งกายที่สุภาพในโอกาสอันสมควร หรือตามแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ข้อ 9 ให้มหาวิทยาลัยจัดทำครุยวิทยฐานะและเข็มวิทยฐานะตามข้อบังคับนี้ขึ้นไว้เป็นตัวอย่าง ข้อ 10 ให้อธิการบดีเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติ ตามข้อบังคับนี้ ให้อธิการบดีมีอานาจสั่งการให้ปฏิบัติตามที่เห็นสมควรและถือเป็นที่สุด แล ะให้รายงาน สภามหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อทราบด้วย ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 25 6 6 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล ้ หนา 43 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 144 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 มิถุนายน 2566