ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกของพนักงานและลูกจ้างกรณีส่วนเกินสิทธิความคุ้มครองของบริษัทประกัน พ.ศ. 2565
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกของพนักงานและลูกจ้างกรณีส่วนเกินสิทธิความคุ้มครองของบริษัทประกัน พ.ศ. 2565
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกของพนักงานและลูกจ้าง กรณีส่วนเกินสิทธิความคุ้มครองของบริษัทประกัน พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรออกระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในและ ผู้ป่วยนอกของพนักงานและลูกจ้าง กรณีส่วนเกินสิทธิความคุ้มครองของบริษัทประกัน เพื่อให้พนักงาน และลูกจ้างของสานักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่า ที่กาหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมาย ว่าด้วยเงินทดแทน ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 อาศัยอานาจตามความในมาตรา 13 มาตรา 15 และมาตรา 19 (16) แห่งพระราชบัญญัติ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ประกอบ ข้อ 4 (1) (6) แห่ง ระเบียบ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ว่าด้วยสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ สำหรับพนักงานและลูกจ้าง พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ว่าด้วยสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์สำหรับพนักงานและลูกจ้าง พ.ศ. 2549 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 พ.ศ. 2555) คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จึงได้อ อกระเบียบไว้ ดังนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกของพนักงานและลูกจ้าง กรณีส่วนเกินสิทธิความคุ้มครองของบริษัทประกัน พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในระเบียบนี้ “ สำนักงาน ” หมายความว่า สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ “ ผู้อำนวยการ ” หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ “ พนักงาน ” หมายความว่า ผู้ที่สำนักงานจ้างไว้ปฏิบัติงานในตาแหน่งต่าง ๆ “ ลูกจ้าง ” หมายความว่า ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว ที่สำนักงานจ้างบุคคลภายนอก มาปฏิบัติงานให้แก่สำนักงาน ซึ่งผู้อำนวยการหรือผู้ที่ผู้อำนวยการมอบหมายเป็นผู้พิจารณาจ้าง “ ผู้ป่วยภายใน ” หมายควำมว่า พนักงานหรือลูกจ้างที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อย่างน้อยหกชั่วโมงหรือกว่านั้น และต้องเสียค่าห้อง และค่าอาหารประจาวันในการเข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาล ้ หนา 23 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 14 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 มกราคม 2566
“ ผู้ป่วยภายนอก ” หมายความว่า พนักงานหรือลูกจ้างที่ได้รับการรักษาพยาบาลในแผนก ผู้ป่วยนอกหรือในห้ องรักษาฉุกเฉินของสถานพยาบาล รวมทั้งกรณีที่พนักงานหรือลูกจ้างได้รับ การศัลยกรรมผ่าตัดเล็กโดยไม่ได้รับการรักษาเป็นผู้ป่วยภายใน “ อุบัติเหตุ ” หมายความว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันจากปัจจัยภายนอกร่างกาย ของพนักงานหรือลูกจ้าง และทำให้เกิดผลโดยพนักงานและลูกจ้างมิได้เจตนาหรือมุ่งหวังให้เกิดขึ้น “ บริษัทประกัน ” หมายความว่า บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทประกันชีวิตหรือ บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทประกันวินาศภัย แล้วแต่กรณี ที่เป็นคู่สัญญา กับสำนักงาน “ สถานพ ยาบาล ” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐและ สถานพยาบาลเอกชน ซึ่งได้รับอนุญาตให้จัดตั้งหรือดาเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล “ ส่วนเกินสิทธิความคุ้มครอง ” หมายความว่า ค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริง โดยพนักงาน หรือลูกจ้างได้รับสิทธิความ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันซึ่งเป็นคู่สัญญากับสานักงาน เต็มจำนวนแล้วและมีส่วนเกินสิทธิที่สถานพยาบาลเรียกเก็บเงินจากพนักงาน หรือลูกจ้าง และ ให้มีความหมายรวมถึงค่ารักษาพยาบาลที่อยู่นอกเหนือความคุ้มครองของบริษัทประกัน “ ค่ารักษาพยาบาล ” หมายความว่า เงินที่สถานพยาบาลเรียกเก็บในการรักษาพยาบาล ดังนี้ (1) ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ค่าเลือด และส่วนประกอบของเลือด หรือสารทดแทน ค่าอาหาร ทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทำนองเดียวกันที่ใช้ในการบาบัดรักษาโรค (2) ค่าอวัยวะเทียม ค่าซ่อมแซมอวัยวะเทียม และอุปกรณ์ที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรค (3) ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์โรค ค่าทันตกรรม ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ ร่างกายหรือจิตใจที่จาเป็นต่อสุขภาพและการดารงชีพ แต่ไม่รวมถึงค่าจ้างพยาบาลพิเศษ ค่าป่วยการ ของแพทย์และค่าบริการอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน ที่มีลักษณะเป็นเงินตอบแทนพิเศษ “ ค่าทันตกรรม ” หมายความว่า การตรวจฟัน การเอกซเรย์ฟัน การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูน การรักษารากฟัน การผ่าตัดฟันคุด การรักษาโรคเหงือกอักเสบ การใส่เดือยฟัน การครอบฟัน การทำฟันปลอม แต่ไม่รวมถึงกา รฝังรากเทียม การปลูกกระดูก การจัดหรือดัดฟัน ข้อ 4 ให้พนักงานและลูกจ้างมีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในและผู้ป่วย ภายนอก โดยให้ใช้สิทธิความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันก่อน แล้วจึงให้ใช้สิทธิ เบิกค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินสิทธิความคุ้มครอง ตามลาดับทั้งกรณีที่อยู่ในความคุ้มครองของบริษัทประกัน และที่อยู่นอกเหนือความคุ้มครองของบริษัทประกัน การใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่เกินสิทธิความคุ้มครองตามวรรคหนึ่ง ให้เบิกได้ ไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อปี ทั้งนี้ โดยไม่รวมค่าทันตกรรม ้ หนา 24 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 14 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 มกราคม 2566
ข้อ 5 การเบิกค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินสิทธิความคุ้มครองที่เป็นค่าทันตกรรม ให้เบิกได้ เฉพาะกรณีการรักษาโรคเหงือกอักเสบ การใส่เดือยฟัน การครอบฟัน การทาฟันปลอม ไม่เกิน ห้าพันบาทต่อปี ข้อ 6 ให้พนักงานหรือลูกจ้าง ยื่นคาขอเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินสิทธิความคุ้มค รอง ตามแบบฟอร์มที่สำนักงานกำหนด พร้อมแนบต้นฉบับหรือสำเนาใบเสร็จรับเงิน ข้อ 7 ให้พนักงานหรือลูกจ้าง ยื่นคาขอเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินสิทธิความคุ้มครอง ต่อสำนักงาน ภายในระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี นับจากวันที่ได้ระบุไว้ในใบเสร็จรับเงิน ข้อ 8 กรณีมีปัญหาในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด คำวินิจฉัยชี้ขาดของผู้อำนวยการให้ถือเป็นที่สุด ประกาศ ณ วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 25 6 5 สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ้ หนา 25 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 14 ง ราชกิจจานุเบกษา 20 มกราคม 2566