ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลอะโวกาโดสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2566
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลอะโวกาโดสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2566
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนาเข้าผลอะโวกาโดสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2566 กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลอะโวกาโดสดนาเข้าเพื่อการค้า จากเครือรัฐออสเตรเลียเสร็จสิ้นแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 (2) และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 อธิบดีกรมวิชาการเกษตร โดยคาแนะนาของคณะกรรมการกักพืช จึงออกประกาศเงื่ อนไขการนำเข้าผลอะโวกาโดสดจากเครือรัฐ ออสเตรเลีย ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลอะโวกาโดสด จากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนาเข้าผลอะโวกาโดสด จากเครือรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ข้อ 4 ชนิดพืชที่อนุญาต ผลอะโวกาโดสด ( avocado, Persea americana ) ข้อ 5 ศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง รายชื่อศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยสำหรับผลอะโวกาโดสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย ปรากฏตามเอกสารหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ 6 หน่วยงานที่รับผิดชอบ 6.1 ราชอาณาจักรไทย คือ กรมวิชาการเกษตร 6.2 เครือรัฐออสเตรเลีย คือ Department of Agriculture, Fisheries and Forestry ได้รับมอบหมายให้เป็นองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ ( National Plant Protection Organization ) อย่างเป็นทางการของเครือรัฐออสเตรเลีย ซึ่งต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า “ NPPO ” ข้อ 7 การอนุญาตนำเข้า ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร ข้อ 8 วิธีการขนส่ง ต้องส่งผลอะโวกาโดสดมาจากเมืองท่าแห่งหนึ่งในเครือรัฐออสเตรเลียไปยังเมืองท่า ปลายทาง ในราชอาณาจักรไทยในลักษณะเป็นสินค้าขนส่งทางน้าหรือทางอากาศ ้ หนา 33 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 138 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2566
ข้อ 9 พื้นที่ผลิตที่อนุญาต ผลอะโวกาโดสดที่ผลิตในรัฐดังต่อไปนี้ ของเครือรัฐออสเตรเลียได้รับอนุญาตให้นำเข้า มายังราชอาณาจักรไทย 9.1 นิวเซาท์เวลส์ ( New South Wales ) เซาท์ออสเตรเลีย ( South Australia ) และวิกตอเรีย ( Victoria ) ทั้งนี้ อนุญาตทุกพันธุ์ปลูก ( cultivar ) จากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ 9.2 เวสเทิร์นออสเตรเลีย ( Western Australia ) ทั้งนี้ อนุญาตเฉพาะพันธุ์ปลูก ‘ แฮส ’ (‘ Hass ’) เท่านั้น ข้อ 10 ข้อกาหนดสำหรับสวน 10.1 สวนในพื้นที่ผลิตที่ได้รับอนุญาตซึ่งเกี่ยวข้องกับการส่งออกผลอะโวกาโดสด ไปยังราชอาณาจักรไทยต้องเป็นสวนที่ปลูกอะโวกาโดเป็นการค้าและได้รับการขึ้นทะเบียนจาก NPPO (หมายเลขทะเบียนสวน) หรือภายใต้ระบบที่ NPPO ให้การอนุมัติ สาเนาของบันทึกการขึ้นทะเบียน ต้องมีพร้อมไว้ให้แก่กรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ NPPO ต้องดาเนินการขึ้นทะเบียนสวน ให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มส่งออก 10.2 เกษตรกรเจ้าของสวนที่ขึ้นทะเบียนต้องนาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีมาใช้ โดยสิ่งเหล่านี้ประกอบด้วย การรักษาความสะอาดสวน และการนาการ บริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือมีมาตรการควบคุมศัตรูพืชอื่น ๆ มาใช้ปฏิบัติ เพื่อให้มั่นใจว่าศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทย ได้รับการจัดการอย่างเพียงพอ 10.3 เกษตรกรต้องเก็บบันทึกกิจกรรมการติดตาม การบริหารจัดการศัตรูพืช และข้อมูลที่จาเป็นทั้งหมดสาหรับการตามสอบที่ดาเนินการในสวนที่ขึ้นทะเบียนตลอดฤดูกาลปลูก บันทึกเหล่านี้ต้องมีพร้อมไว้ให้แก่ NPPO และกรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ 11 ข้อกาหนดสำหรับโรงคัดบรรจุหรือสถานประกอบการส่งออก 11.1 NPPO ต้องขึ้นทะเบียน (หมายเลขทะเบียนโรงคัดบรรจุหรือสถานประกอบการ ส่งออก) และติดตามโรงคัดบรรจุหรือสถานประกอบการส่งออกที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกผลอะโวกาโดสด ไปยังราชอาณาจักรไทย สาเนาของบันทึกการขึ้นทะเบียนต้องมีพร้อมไว้ให้แก่กรมวิชาการเกษตร เมื่อได้รับการร้องขอ NPPO ต้องดาเนิน การขึ้นทะเบียนโรงคัดบรรจุหรือสถานประกอบการส่งออก ให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มส่งออก 11.2 โรงคัดบรรจุหรือสถานประกอบการส่งออกต้องนาผลอะโวกาโดสดมาจากสวน ที่ขึ้นทะเบียนในพื้นที่ผลิตที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น เพื่ออานวยความสะดวกให้กับการตรวจสอบย้อนกลับ ผลอะโวกาโดสดส่งออก โรงคัดบรรจุหรือสถานประกอบการส่งออกต้องเก็บบันทึกรายชื่อเกษตรกร ซึ่งจัดหาผลอะโวกาโดสดสาหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย และต้องมีพร้อมไว้ให้แก่ NPPO และกรมวิชาการเกษตรเมื่อได้รับการร้องขอ ้ หนา 34 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 138 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2566
11.3 โรงคัดบรรจุหรือสถานประกอบการส่งออกต้องมีเอกสารที่ดีเกี่ยวกับมาตรฐาน วิธีการปฏิบัติ ซึ่งอธิบายในรายละเอียดของกระบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับการรับ การจัดการ และการส่งสินค้า 11.4 NPPO ต้องอนุมัติโรงคัดบรรจุหรือสถานประกอบการส่งออกที่จัดการสาหรับ ส่งออ กไปยังราชอาณาจักรไทยก่อนการขึ้นทะเบียนและยืนยันการอนุมัติเป็นประจาทุกปี โรงคัดบรรจุ หรือสถานประกอบการส่งออกต้องรับภาระสำหรับการเก็บเอกสารทั้งหมด 11.5 การตรวจสอบสินค้าที่ส่งมอบว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันต้องดำเนินการ ภายในโรงคัดบรรจุหรือสถานประกอบการส่งออกที่ขึ้นทะเบียน ข้อ 12 ข้อกาหนดสำหรับแมลงศัตรูพืชกักกัน ผลอะโวกาโดสดซึ่งมีจุดมุ่งหมายสำหรับส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยต้องมี มาตรการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับแมลงวันผลไม้ ได้แก่ Northern Territory fruit fly ( Bac trocera aquilonis ) , Jarvis’ fruit fly ( Bactrocera jarvisi ) , lesser Queensland fruit fly ( Bactrocera neohumeralis ) , Queensland fruit fly ( Bactrocera tryoni ) และ Mediterranean fruit fly ( Ceratitis capitata ) ดังต่อไปนี้ 12.1 ผลอะโวกาโดสดทุกพันธุ์ปลูกที่ปลูกในรัฐนิวเซาท์เวลส์ เซาท์ออสเตรเลีย และวิกตอเรีย ต้องนามาจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ 12.2 ผลอะโวกาโดสดพันธุ์ปลูก ‘ แฮส ’ ที่ปลูกในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการเก็บเกี่ยวผลแก่ที่แข็งและเปลือกสีเขียว ข้อ 13 ข้อกาหนดสำหรับพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ 13.1 พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ต้องเป็นไปตามข้อกาหนดในมาตรฐานระหว่างประเทศ ว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ( International Standards for Phytosanitary Measures, ISPMs ) ที่เกี่ยวข้อง 13.2 การจัดตั้งพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้สาหรับพื้นที่ผลิตอะโวกาโดที่กำหนด ในเครือรัฐออสเตรเลียจะขึ้นอยู่กับการยื่นเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรของ NPPO ต่อกรมวิชาการเกษตร ทั้งนี้ ต้องมีอยู่ซึ่งการควบคุมกากับดูแลเพื่อรักษาความครบถ้วนสมบูรณ์ของพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ที่อนุมัติ ซึ่งเป็นแหล่งของผลอะโวกาโดสดสำหรับราชอาณาจักรไทย 13.3 พื้นที่ต่าง ๆ ในเครือรัฐออสเตรเลียซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวัน ผลไม้สาหรับแมลงวันผลไม้ Bactrocera aquilonis, Bactrocera jarvisi, Bactrocera neohumeralis, Bactrocera tryoni และ Ceratitis capitata ได้ให้ไว้ในเอกสารหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ 13.4 การส่งออกผลอะโวกาโดสดจากพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ที่กาหนดจะเป็นไปตาม การรับรองพื้นที่ปลอดศัตรูพืช ซึ่งทำให้ไม่จำเป็นในการปฏิบัติหรือการบาบัดสำหรับแมลงวันผลไม้ ้ หนา 35 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 138 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2566
13.5 NPPO ต้องดำเนินการติดตามแมลงวันผลไม้ Bactrocera aquilonis, Bactrocera jarvisi, Bactrocera neohumeralis, Bactrocera tryoni และ Ceratitis capitata อย่างสม่าเสมอในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องแจ้งกรมวิชาการเกษตรโดยทันทีที่มีการยืนยันว่าพบ การแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ ต้องระงับการรับรองการส่งออก ผลอะโวกาโดสดที่ไม่ได้มีการปฏิบัติหรือบาบัดจากพื้นที่ที่เกี่ยวข้องซึ่งพบแมลงวันผลไม้ และต้องแจ้ง กรมวิชาการเกษตรถึงระยะเวลาสำหรับการฟื้นพื้นที่เหล่านั้นให้กลับมาได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ ปลอดแมลงวันผลไม้อีกครั้ง 13.6 NPPO ต้องแจ้งกรมวิชาการเกษตรโดยทันที ถ้าพบแมลงวันผลไม้ชนิดอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ Bactrocera aquilonis, Bactrocera jarvisi, Bactrocera neohumeralis, Bactrocera tryoni และ Ceratitis capitata ในพื้นที่ ปลอดแมลงวันผลไม้ ข้อ 14 ข้อกาหนดสำหรับเงื่อนไขการเก็บเกี่ยวผลแก่ที่แข็งและเปลือกสีเขียว 14.1 ผลสดของอะโวกาโดพันธุ์ปลูก ‘ แฮส ’ ในสภาพผลแก่ที่แข็งและเปลือกสีเขียว ถือว่าเป็นเงื่อนไขการไม่ใช่พืชอาศัย ( conditional non - host ) ของแมลงวันผลไม้ Ceratitis capitata ดังนั้น เฉพาะผลอะโวกาโดสดพันธุ์ปลูก ‘ แฮส ’ ที่ปลูกในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียเท่านั้นที่ได้รับอนุญาต ให้นำเข้ามายังราชอาณาจักรไทย 14.2 NPPO ต้องจัดทาแผนงานให้แก่กรมวิชาการเกษตรเพื่ออนุมัติ ซึ่งแผนงาน ต้องมีรายละเอียดของกิจกรรมต่าง ๆ ที่ NPPO จะดาเนินการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกาหนดการนาเข้า ด้านสุขอนามัยพืช 14.3 ต้องเก็บเกี่ยวผลอะโวกาโดสดพันธุ์ปลูก ‘ แฮส ’ ในสภาพผลแก่ที่แข็งและ เปลือกสีเขียว ซึ่งหมายถึง การเก็บผลอะโวกาโดสดจากกิ่งปกติของต้นที่มีชีวิต และไม่มีอาการแสดง ของพื้นที่ช้ำหรือเป็นจุด หรื อมีรอยแยก หรือผิวแตก บนส่วนหนึ่งส่วนใดของผล 14.4 ต้องบรรจุผลอะโวกาโดสดพันธุ์ปลูก ‘ แฮส ’ ในหีบห่อที่ป้องกันแมลงได้ ตามที่ระบุไว้ในข้อ 15.3 ภายใน 48 ชั่วโมง นับจากเวลาเริ่มต้นการเก็บเกี่ยว 14.5 โรงคัดบรรจุต้องเก็บบันทึกการเคลื่อนย้ายผลอะโวกาโดสดพันธุ์ปลูก ‘ แฮส ’ ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวไปจนถึงการจัดส่ง (ประกอบด้วย วันที่และเวลาเริ่มต้นการเก็บเกี่ยว การขนย้าย ไปยังโรงคัดบรรจุ การบรรจุ และการจัดเก็บรักษา) บันทึกเหล่านี้ต้องมีพร้อมไว้ให้แก่กรมวิชำการเกษตร เมื่อได้รับการร้องขอ 14.6 NPPO ต้องจัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรดำเนินการ พิสูจน์ยืนยันในเครือรัฐออสเตรเลียในช่วงฤดูส่งออกผลอะโวกาโดสดเป็นเวลาสามปีติดต่อกัน หลังจากการเริ่มต้นส่งออกภายใต้ระเบียบพิธีการนาเข้านี้เพื่อยืนยันความครบถ้วนสมบูรณ์ของวิธีการ ดาเนินการ กรมวิชาการเกษตรอาจดาเนินการพิสูจน์ยืนยันตามความจาเป็นเพื่อพิสูจน์ยืนยันความสมบูรณ์ ้ หนา 36 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 138 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2566
ของแผนงาน หรือเพื่อจัดการกับปัญหาในแผนงานถ้ามีปัญหาเกิดขึ้น โดยเครื อรัฐออสเตรเลียต้องเป็น ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเดินทางไปปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร ที่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์ยืนยันดังกล่าว ข้อ 15 ข้อกาหนดสำหรับการบรรจุและฉลาก 15.1 วัสดุบรรจุภัณฑ์ต้องสะอาดและใหม่ 15.2 ต้องบรรจุผลอะโวกาโดสดในบรรจุภัณฑ์ซึ่งปราศจากแมลงมีชีวิต ดิน ทราย และไม่มีการปะปนของชิ้นส่วนของพืชอื่น เช่น ใบ กิ่งก้าน เมล็ด เศษซากพืช เป็นต้น หรือสิ่งอื่นใด ที่มีศักยภาพนำพาศัตรูพืชกักกันได้ 15.3 ต้องบรรจุผลอะโวกาโดสดในหีบห่อที่ป้องกันแมลงได้ตา มข้อกาหนด ข้อใด ข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ การป้องกันเหล่านี้ต้องคงสภาพเดิมจนกว่าสินค้านั้นจะเข้ามาในราชอาณาจักรไทย 15.3.1 ต้องบรรจุในหีบห่อซึ่งไม่มีรูระบายอากาศ 15.3.2 หีบห่อที่มีรูระบายอากาศ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) หีบห่อที่มีรูระบายอากาศต้องจัดทำให้ป้องกันแมลงได้ โดยใช้ตาข่ายหรือพลาสติก ขนาดของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1.6 มิลลิเมตร หีบห่อที่มีการป้องกันนี้แต่ละหีบห่อบรรจุอาจนามาวางรวมกันบนแท่นวางสาหรับการขนส่ง และอาจ แยกออกจากกันได้หากการป้อง กันแมลงของแต่ละหีบห่อที่บรรจุสินค้านั้นไม่ถูกละเมิด (2) หีบห่อที่มีรูระบายอากาศซึ่งไม่มีตาข่ายปิด หรือหีบห่ออื่น ๆ ที่ไม่สามารถป้องกันแมลงที่วางอยู่บนแท่นวางจะต้องห่อด้วยตาข่ายป้องกันแมลงหรือห่อด้วยพลาสติก คลุมทุกพื้นผิวของแท่นวาง กรณีใช้ตาข่าย ขนาด ของตาข่ายแต่ละรูต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1.6 มิลลิเมตร และต้องมีข้อความต่อไปนี้ “ Export secure pallet . Do not deconsolidate ” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้าน 15.4 ผลอะโวกาโดสดส่งออกโดยการขนส่งทางน้าจะได้รับการยกเว้นจากข้อกาหนด ที่ระบุไว้ในข้อ 15.3 ถ้าผลอะโวกาโดสดมาจากแหล่งซึ่งเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ และขนเข้า ตู้ขนส่งสินค้าและปิดผนึกตู้เมื่อตู้ขนส่งสินค้าอยู่ภายในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ 15.5 ต้องแสดงข้อมูลที่จำเป็นบนหีบห่อเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการตามสอบ อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุ ดต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษบนแต่ละหีบห่อ ได้แก่ - ผลิตผล หรือผลผลิตของออสเตรเลีย - ชื่อบริษัทส่งออก - ชื่อผลไม้ (ชื่อสามัญ และพันธุ์ปลูก) - หมายเลขทะเบียนโรงคัดบรรจุหรือสถานประกอบการส่งออก - หมายเลขทะเบียนสวน ้ หนา 37 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 138 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2566
15.6 ถ้าส่งออกผลอะโวกาโดสดไปยังราชอาณาจักรไทยในหีบห่อที่ไม่ได้มัดรวมกัน ต้องมีข้อความต่อไปนี้ “ EXPORT TO THAILAND ” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละหีบห่อ อย่างไรก็ตาม ถ้าส่งออกผลอะโวกาโดสดไปยังราชอาณาจักรไทยในหีบห่อที่ถูกมัดรวมกันวางบนแท่นวาง อนุญาตให้มี ข้อความต่อไปนี้ “ EXPORT TO THAILAND ” ปรากฏอย่างชัดเจนบนแต่ละด้านได้ 15.7 สินค้าที่ส่งมอบทั้งหมดที่จะส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทยโดยมีการใช้ วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ทาจากไม้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยพืช ที่เกี่ยวข้อง ข้อ 16 การตรวจ สอบขาออก NPPO ต้องมั่นใจว่าได้ดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งกาหนดโดยกรมวิชาการเกษตรแล้ว ก่อนให้การรับรองผลอะโวกาโดสดเพื่อส่งออกไปยังราชอาณาจักรไทย ดังต่อไปนี้ 16.1 ได้ดำเนินการตรวจสอบผลอะโวกาโดสดตามวิธีการอย่างเป็นทางการ ที่เหมาะสม และพบว่าปราศจากศัตรูพืชกักกันใด ๆ ที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศนี้ ถ้าพบระยะที่มีชีวิตของแมลงวันผลไม้ ต้องนำสินค้าที่ส่งมอบที่มีการเข้าทาความเสียหายออกจากการส่งออก ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศนี้ นอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ สินค้าที่ส่งมอบต้องได้รับการปฏิบัติหรือบำบัดที่เหมาะสม (ถ้ามี) หรือนำออกจากการส่งออก 16.2 ผลอะโวกาโดสดทุกพันธุ์ปลูกที่ปลูกในรัฐนิวเซาท์เวลส์ เซาท์ออสเตรเลีย และวิกตอเรีย ต้องนามาจากแหล่งซึ่งเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ 16.3 ผลอะโวกาโดสดพันธุ์ปลูก ‘ แฮส ’ ที่ปลูกในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของเงื่อนไขการเก็บเกี่ยวผลแก่ที่แข็งและเปลือกสีเขียว ข้อ 17 การออกใบรับรองสุขอนามัยพืช 17.1 ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกให้โดย NPPO ต้นฉบับใบรับรอง สุขอนามัย พืชต้องแนบมาพร้อมกับสินค้าที่ส่งมอบที่ส่งไปยังราชอาณาจักรไทยและต้องมีการแจ้งเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ “ This consignment of avocado fruit was produced and prepared for export in accordance with the conditions for import of avocado fruit from Australia to Thailand .” และ (1) “ The consignment of avocado fruit was produced in ( name of defined area ) which is a pest free area for fruit flies .” หรือ ้ หนา 38 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 138 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2566
(2) “ The consignment of ‘ Hass ’ avocado fruit from Western Australia was inspected and found to comply with the requirements of the hard mature green condition .” 17.2 สำหรับการขนส่งทางน้า ต้องระบุหมายเลขตู้ขนส่งสินค้าและหมายเลข ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าในใบรับรองสุขอนามัยพืช ข้อ 18 การตรวจสอบขาเข้า 18.1 เมื่อสินค้าที่ส่งมอบมาถึงด่านตรวจพืช (จุดการเข้ามา) ในราชอาณาจักรไทย การตรวจสอบขาเข้าจะดาเนินการหลังจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ยืนยันแต่ละเอกสารที่แนบมาพร้อมกับ สินค้าที่ส่งมอบที่เกี่ยวข้อง 18.2 สินค้าที่ส่งมอบทั้งหมดต้องปราศจากแมลงมี ชีวิต อาการของโรคพืช เมล็ดพืชที่ปนเปื้อน ดิน ขยะ และเศษซากอื่น ๆ เมื่อมาถึงราชอาณาจักรไทย 18.3 พนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มเก็บตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของสินค้าที่ส่งมอบตามดุลพินิจ และตรวจตราเพื่อลงความเห็นว่ามีศัตรูพืชหรือไม่ ถ้าตรวจพบศัตรูพืชมีชีวิต โดยปกติจะส่งตัวอย่าง ไปทำการจำแนกชนิดในห้องปฏิบัติการ และต้องกักสินค้าที่ส่งมอบไว้จนกว่าจะทราบผล 18.4 สาหรับสินค้าที่ส่งมอบที่มีผลอะโวกาโดสดจานวนน้อยกว่า 1 , 000 ผล ต้องเก็บตัวอย่าง จำนวน 450 ผล หรือทั้งหมด สำหรับสินค้าที่ส่งมอบที่มีผลอะโวกาโดสด จำนวนมากกว่า หรือเท่ากับ 1 , 000 ผล ต้องเก็บตัวอย่าง จำนวน 600 ผล 18.5 สำหรับผลอะโวกาโดสดพันธุ์ปลูก ‘ แฮส ’ จากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ถ้าผลอะโวกาโดสดมีอาการแสดงของพื้นที่ช้าหรือเป็นจุด หรือมีรอยแยก หรือผิวแตก บนส่วนหนึ่ง ส่วนใดของผล ต้องส่งสิน ค้าที่ส่งมอบออกไปนอกราชอาณาจักร หรือทาลาย โดยเจ้าของเป็นผู้ออก ค่าใช้จ่าย 18.6 ในกรณีตรวจพบศัตรูพืชกักกันของราชอาณาจักรไทยตามที่กำหนดไว้ในเอกสาร หมายเลข 1 แนบท้ายประกาศนี้ ระหว่างการตรวจสอบขาเข้าต้องดาเนินมาตรการ ดังต่อไปนี้ 18.6.1 แมลงวันผลไม้ (1) ถ้าพบระยะที่มีชีวิตหรือตายของแมลงวันผลไม้ ต้องส่งสินค้า ที่ส่งมอบที่มีการเข้าทำความเสียหายออกไปนอกราชอาณาจักร หรือทำลายอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเจ้าของเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรจะระงับการนำเข้าโดยทันทีและแจ้ง NPPO โดยทันทีถึงผลการตรวจพบ (2) NPPO ต้องตรวจสอบหาความจริงโดยทันทีถึงสาเหตุ ของเหตุการณ์ดังกล่าวและเสนอการปฏิบัติการแก้ไข กรมวิชาการเกษตรจะยกเลิกการระงับการนาเข้า เมื่อมีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสาเหตุของการไม่ปฏิบัติตามและมีการนำการปฏิบัติการแก้ไขมาใช้ จนเป็นที่พอใจของกรมวิชากา รเกษตร ้ หนา 39 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 138 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2566
18.6.2 ถ้าตรวจพบศัตรูพืชกักกันมีชีวิตนอกเหนือจากแมลงวันผลไม้ สินค้าที่ส่งมอบต้องได้รับการปฏิบัติหรือการบาบัดที่เหมาะสม (ถ้ามี) หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือทำลาย โดยเจ้าของเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย 18.7 ถ้าตรวจพบสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีรายชื่อปรากฏในเอกสารหมายเลข 1 แนบท้าย ประกาศนี้ หรือสิ่งปนเปื้อน ที่มีศักยภาพก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขอนามัยพืชต่อราชอาณาจักรไทย ต้องจัดการสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งปนเปื้อนด้วยวิธีการที่เหมาะสม (ถ้ามี) หรือส่งออกไปนอกราชอาณำจักร หรือทาลาย โดยเจ้าของเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย กรมวิชาการเกษตรอาจระงับการนาเข้าผลอะโวกาโดสด จากเส้นทางที่ระบุเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการลงความเห็นการประเมินความเสี่ยงสิ่งมีชีวิตที่ตรวจพบ 18.8 กรมวิชาการเกษตรมีสิทธิ์สั่งให้ส่งสินค้าที่ส่งมอบออกไปนอกราชอาณาจักร หรือทำลาย โดยเจ้าของเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ถ้าพบกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ 18.8.1 ประตูตู้ขนส่งสินค้าปิดไม่สนิท หรือตู้ขนส่งสินค้าหมายเลขไม่ตรง ตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช 18.8.2 ผนึกปิดตู้ขนส่งสินค้าถูกทำลาย หรือถูกสับเปลี่ยน หรือหมายเลข ไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช 18.8.3 ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี หรือไม่ถูกต้อง 18.8.4 บรรจุภัณฑ์ชำรุด และไม่เป็นไปตามข้อกำหนดสำหรับ การป้องกันแมลง ข้อ 19 การตรวจประเมินวิธีการส่งออก 19.1 การส่งออกผลอะโวกาโดสดจากพื้นที่ผลิตที่ระบุไว้ในข้อ 9 ในเครือรัฐ ออสเตรเลีย ไปยังราชอาณาจักรไทย จะเริ่มหลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ตรวจประเมินวิธีการรับรอง ส่งออกแล้วเท่านั้น โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของการตรวจประเมินดังกล่าว 19.2 ในเหตุการณ์ระงับการนำเข้าหรือเหตุผิดปกติใด ๆ โดยที่กรมวิชาการเกษตร ลงความเห็นว่าการตรวจประเมินวิธีการรับรองส่งออกดังกล่าวมีความจาเป็น กรมวิชาการเกษตร อาจตรวจประเมินวิธีการ รับรองส่งออกในเครือรัฐออสเตรเลียก่อนตัดสินใจให้มีการเริ่มต้นนาเข้าใหม่ โดยเครือรัฐออสเตรเลียต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายการตรวจประเมินเหล่านี้ ประกาศ ณ วันที่ 2 8 เมษายน พ.ศ. 256 6 ระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ้ หนา 40 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 138 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2566
เอกสารหมายเลข 1 รายชื่อศัตรูพืชกักกันของผลอะโวกาโดสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนําเข้าผลอะโวกาโดสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ . ศ . 2566 ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ แมลง Order Coleoptera Family Curculionidae Pantomorus cervinus Fuller’s rose beetle Order Diptera Family Tephritidae Bactrocera aquilonis Northern Territory fruit fly Bactrocera jarvisi Jarvis’s fruit fly Bactrocera neohumeralis lesser Queensland fruit fly Bactrocera tryoni Queensland fruit fly Ceratitis capitata Mediterranean fruit fly Order Hemiptera Family Diaspididae Abgrallaspis cyanophylli cyanophyllum scale Fiorinia fioriniae fiorinia scale Order Lepidoptera Family Lymantriidae Acyphas leucomelas omnivorous tussock moth Family Tortricidae Cryptoptila immersana ivy leafroller Epiphyas postvittana light brown apple moth Isotenes miserana orange fruit borer Thaumatotibia zophoophanes avocado fruit borer เชื้อสาเหตุโรคพืช รา Phytophthora citricola black hop root rot Pseudocercospora purpurea spot blotch
-2- เอกสารหมายเลข 2 พื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ในเครือรัฐออสเตรเลีย แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนําเข้าผลอะโวกาโดสดจากเครือรัฐออสเตรเลีย พ . ศ . 2566 พื้นที่ดังต่อไปนี้ในเครือรัฐออสเตรเลียเป็นพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้สําหรับแมลงวันผลไม้ Northern Territory fruit fly ( Bactrocera aquilonis ) , Jarvis’ fruit fly ( Bactrocera jarvisi ) , lesser Queensland fruit fly ( Bactrocera neohumeralis ), Queensland fruit fly ( Bactrocera tryoni ) และ Mediterranean fruit fly ( Ceratitis capitata ) ได้แก่ 1 . รัฐแทสเมเนีย (Tasmania) 2 . เขตริเวอร์รินา (Riverina district) ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) ประกอบด้วยเขตพื้นที่ต่าง ๆ เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เมือง (city) กิฟฟิท (Griffith), เขตพื้นที่ (shire) คาเรทโฮล (Carrathool), ลีตัน (Leeton), นาเรนเดอร์รา (Narrandera) และ เมอร์รัมบิดส์ (Murrumbidgee) พื้นที่นี้ ยังแบ่งย่อยออกเป็น 2 ส่วน คือ พื้นที่เขตชลประทานเมอร์มัมบิดส์ (Murrmbidgee Irrigation Area, MIA) และรวมไปถึงเขตพื้นที่คาเรทโฮล 3 . เขตริเวอร์แลนด์ (Riverland district) ของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย (South Australia) ประกอบด้วยเขตพื้นที่ต่าง ๆ เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (county) เฮมเล (Hamley), เขตพื้นที่ (hundred) บุคเพอร์มังค์ (Bookpurmong), คาแดล (Cadell), กอร์เดน (Gorden), โฮลเดอร์ (Holder), คาทาเรพโค (Katarapko), โลวีเดย์ (Loveday), มาร์คาเรนคา (Markaranka), มอรูค (Moorook), เมอร์โท (Murtho), พาร์โคลา (Parcoola), พาริงจา (Paringa), โพจิโนค (Pooginook), ไพท (Pyap), สเตาร์ (Stuart), ไวเคอร์รี (Waikerie), อีบา (Eba), ฟิสเซอร์ (Fisher), ฟอสเตอร์ (Forster), เฮ (Hay), เมอร์โค (Murbko), นิดอททิ (Nildottie), เพรเล (Paisley), ริดเล (Ridley), เซอร์เร (Skurray) และ ออนเล (Onley) ในเขตพื้นที่ (shire) มิลดูรา (Mildura) ของรัฐวิกตอเรีย (Victoria) 4 . เขตชัลเรเซีย (Sunraysia district) ของรัฐวิกตอเรีย และรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประกอบด้วย เขตพื้นที่ต่าง ๆ เหล่านี้รวมกัน ได้แก่ เขตพื้นที่ (shire) เวนเวอดท์ (Wentworth) และบาเรนดอล (Balranald) ในรัฐนิวเซาร์เวลส์ และ มิลดูรา (Mildura), สวอนฮิล (Swan Hill), วาโคล (Wakool) และคีเรง (Kerang) และ เมือง (city) สวอนฮิล (Swan Hill), มิลดูรา (Mildura) และเขตพื้นที่ (borough) คีเรง (Kerang) ในรัฐวิกตอเรีย