Wed Jun 14 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2566


ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2566

ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2566 อาศัยอานาจตามความในข้อ 21 ข้อ 29 ข้อ 33 ข้อ 37 วรรคสอง และข้อ 42 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ในประกาศนี้ “ ทดสอบและตรวจสอบก่อนการใช้งาน ” หมายความว่า การทดสอบและตรวจสอบถัง ท่อ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายหลังจากทาการติดตั้งแล้วเสร็จ ก่อนที่จะบรรจุและ ใช้งานกับก๊าซธรรมชาติ “ ทดสอบตามวาระ ” หมายความว่า การทดสอบและตรวจสอบถัง ท่อ อุปกรณ์ หรือ เครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามกาหนดระยะเวลาที่กำหนดในประกาศนี้ “ ทดสอบกรณีที่ได้รับความเสียหาย ” หมายความว่า การทดสอบและตรวจสอบถัง ท่อ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อได้รับความเสียหายที่มีเหตุอันอาจส่งผลกระทบต่อ ความมั่นค งแข็งแรง ต้องมีการทดสอบและตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยก่อนนำกลับมาใช้งาน “ วาล์วปิดเปิดก๊าซ ( isolating valve )” หมายความว่า อุปกรณ์ที่ใช้สาหรับควบคุมการไหล ของก๊าซธรรมชาติที่สามารถปิดเปิดได้อย่างรวดเร็ว สาหรับก๊าซธรรมชาติอัดให้มีช่วงการหมุนปิดเปิด ไม่เกิน 9 0 องศา ( ball valve ) และอุปกรณ์สาหรับก๊าซธรรมชาติเหลวให้มีช่วงการหมุนปิดเปิด เกิน 90 องศา ได้ ( globe valve ) “ อุปกรณ์ควบคุมความดันก๊าซเกินพิกัดแบบระบายไอ ( pressure relief device )” หมายความว่า อุปกรณ์ที่ทาหน้าที่ควบคุมความดันภายในไม่ให้สูงเกินกว่าที่อุปกรณ์นี้ตั้งไว้ โดยจะทาหน้าที่ระบาย ก๊าซธรรมชาติออกก่อนที่ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติ หรือระบบท่อก๊าซธรรมชาติต่าง ๆ เกิดความเสียหาย “ เครื่องทาไอก๊าซธรรมชาติ ( vaporizer )” หมายความว่า อุปกรณ์ที่ทาหน้าที่เปลี่ยนสถานะ ของก๊าซธรรมชาติเหลวให้กลายเป็นไอก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงอุปกรณ์ที่ทาหน้าที่ปรับแรงดันของ ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว “ ถังบรรจุน้ำมัน ” หมายความว่า ภาชนะบรรจุน้ามันที่มีปริมาณความจุเกิน 227 ลิตร หรือกลุ่มของภาชนะบรรจุน้ามันที่มีปริมาณความจุแต่ละภาชนะไม่เกิน 227 ลิตร และมีปริมาณ ความจุรวมกันเกิน 500 ลิตร ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 138 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2566

“ ไฟฟ้าแรงสูง ” หมายความว่า ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันระหว่างเฟสเกิน 1 , 000 โวลต์ หรือแรงดันเทียบดินเกิน 100 โวลต์ “ ระบบไฟฟ้า ” หมายความว่า อ งค์ประกอบต่าง ๆ ของอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและบริภัณฑ์ ที่ใช้ต่อเข้ากับการติดตั้งทางไฟฟ้า ทั้งนี้ ให้รวมถึงระบบปิดฉุกเฉินและระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าด้วย “ บริภัณฑ์ ” หมายความว่า สิ่งซึ่งรวมทั้งวัสดุ เครื่องประกอบ อุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ดวงโคม เ ครื่องสำเร็จและสิ่งอื่นที่คล้ายกัน ที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งหรือใช้ในการต่อเข้ากับการติดตั้งทางไฟฟ้า “ บริเวณอันตราย ” หมายความว่า บริเวณที่ซึ่งมีก๊าซหรือไอที่ติดไฟได้ ผสมอยู่ในอากาศ ปริมาณมากพอที่จะทำให้เกิดการระเบิดได้ “ มาตรฐาน IEC ” หมายความว่า มาตรฐานที่ป ระกาศโดยคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศ ว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอเทคนิกส์ ( International Electrotechnical Commission ) หมวด 1 สถานีบริการก๊าซธรรมชาติอัด และสถานีบริการก๊าซธรรมชาติอัดจากก๊าซธรรมชาติเหลว เฉพาะที่เป็นก๊าซธรรมชาติอัด ส่วนที่ 1 ระยะปลอดภัย ข้อ 3 ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติอัด และเครื่องสูบอัดก๊าซธรรมชาติ ต้องมีระยะปลอดภัย ดังนี้ (1) ต้องห่างจากเขตสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ และผนังอาคารบริการอื่นที่ไม่ใช่อาคาร เครื่องสูบอัดก๊าซธรรมชาติ หรืออาคารจอดรถขนส่งก๊าซ ไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร เว้ นแต่ระยะปลอดภัย ไม่เป็นไปตามระยะที่กาหนดไว้ ต้องสร้างกาแพงกันไฟที่มีระยะห่างไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร จากถังเก็บ และจ่ายก๊าซธรรมชาติอัดและเครื่องสูบอัดก๊าซธรรมชาติ และกาแพงกันไฟต้องห่างจากเขตสาธารณะ เขตสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ และผนังอาคารบริการอื่นที่ ไม่ใช่อาคารเครื่องสูบอัดก๊าซธรรมชาติ หรืออาคารจอดรถขนส่งก๊าซ ไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร (2) ต้องห่างจากถังบรรจุน้ำมัน หรือถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือถังก๊าซ ปิโตรเลียมเหลวหุงต้ม หรือบริเวณที่เก็บวัตถุติดไฟหรือระเบิดได้ทุกชนิดที่อยู่เหนือพื้นดิน ไม่น้อยกว่า 12.00 เมตร เว้นแต่ระยะปลอดภัยไม่เป็นไปตามระยะที่กำหนดไว้ ต้องสร้างกำแพงกั นไฟ ที่มีระยะห่างไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร จากถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติอัดและเครื่องสูบอัดก๊าซธรรมชาติ และกาแพงกันไฟต้องห่างจากถังบรรจุน้ามัน หรือถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือถังก๊าซ ปิโตรเลียมเหลวหุงต้ม หรือบริเวณที่เก็บวัตถุติดไฟหรือระเบิดได้ ไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 138 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2566

(3) ต้องห่างจากตู้จ่ายน้ามัน หรือตู้จ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว ไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร เว้นแต่ระยะปลอดภัยไม่เป็นไปตามระยะที่กาหนดไว้ ต้องสร้างกาแพงกันไฟที่มีระยะห่างไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร จากถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติอัดและเ ครื่องสูบอัดก๊าซธรรมชาติ และกาแพงกันไฟ ต้องห่างจากตู้จ่ายน้ำมัน หรือตู้จ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว ไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร (4) ต้องห่างจากแนวสายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่าน ไม่น้อยกว่า 4.60 เมตร ตามแนวราบ กำแพงกันไฟตาม (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี ต้องมีควา มสูงเกินกว่าความสูงของถังเก็บ และจ่ายก๊าซธรรมชาติอัด เครื่องสูบอัดก๊าซธรรมชาติ ไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร การติดตั้งถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติอัดและเครื่องสูบอัดก๊าซธรรมชาติในพื้นที่โล่ง ต้องจัดให้มี รั้วเหล็กโปร่งสูงไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร โดยมีระยะห่างไ ม่น้อยกว่า 1.00 เมตร จากถังเก็บและจ่าย ก๊าซธรรมชาติอัดและเครื่องสูบอัดก๊าซธรรมชาติ และต้องมีเสากันภัยทุกระยะ 1.50 เมตร หรือราวเหล็ก เพื่อป้องกันด้านนอกของรั้วเหล็กโปร่ง มีระยะห่างจากรั้วเหล็กโปร่งไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร ทั้งนี้มิให้ ใช้บังคับกับด้ำนที่มีกำแพงกันไฟ ข้อ 4 ตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติอัด ต้องมีระยะปลอดภัย ดังนี้ (1) ต้องตั้งอยู่บนแท่นที่มีความสูงจากระดับพื้น ไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร โดยรอบ และขอบของแท่นต้องห่างจากขอบตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติอัด ไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร และมีเสากันภัย เพื่อป้องกันตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติ (2) ต้องห่างไม่น้อยกว่า 5.00 เมตร จากเขตสถานีบริการก๊าซธรรมชาติด้านที่ใช้เป็นทางเข้า และทางออกสาหรับยานพาหนะ เว้นแต่สถานีบริการก๊าซธรรมชาติที่มีไว้เพื่อการใช้เองต้องมีระยะห่าง ไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร ทั้งนี้ ต้องห่างไม่ น้อยกว่า 3.00 เมตร จากเขตสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ด้านอื่นที่มิใช่ทางเข้าและทางออก (3) ต้องห่างจากผนังอาคารบริการที่ไม่ใช่อาคารคลุมตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติ ถังเก็บและจ่าย ก๊าซธรรมชาติอัด เครื่องสูบอัดก๊าซธรรมชาติ และแหล่งที่ก่อให้เกิดประกายไฟ ไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร (4) ต้องห่างจากแนวสายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่าน ไม่น้อยกว่า 4.60 เมตร ตามแนวราบ (5) ต้องห่างจากตู้จ่ายน้ำมัน หรือตู้จ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือตู้จ่ายก๊าซต่างชนิด ไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร ยกเว้นเป็นตู้จ่ายชนิดที่อยู่ร่วมกันได้ (6) ต้องห่างจากพื้นที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว ไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร ส่วนที่ 2 การทดสอบและตรวจสอบ ข้อ 5 ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติอัด ก่อนนามาติดตั้งต้องได้รับการทดสอบและตรวจสอบ ด้วยวิธีการตามมาตรฐานการออกแบบและจัดสร้างกาหนด และต้องได้รับใบรับรองตามม ำตรฐาน การออกแบบและจัดสร้างกำหนด ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 138 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2566

ข้อ 6 การทดสอบและตรวจสอบถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติอัด ต้องดาเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) ทดสอบและตรวจสอบก่อนการใช้งานหรือทดสอบกรณีที่ได้รับความเสียหาย ต้องดาเนินการ อย่างน้อย ดังนี้ (ก) ตรวจพินิจด้วยสายตา (ข) ตรวจสอบการติดตั้งให้เป็นไปตามแบบที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงาน (2) ทดสอบตามวาระ ต้องกระทำอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง โดยวิธีการให้เป็นไปตามมาตรฐาน งานช่างว่าด้วยการบารุงรักษา สาหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือภายในสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ของกรมธุรกิจพลังงาน เฉพาะส่วนที่ต้องทำโดยผู้ทดสอบและตรวจสอบ ข้อ 7 เครื่องสูบอัดก๊าซธรรมชาติ ต้องทดสอบและตรวจสอบก่อนการใช้งาน หรือทดสอบ กรณีที่ได้รับความเสียหาย หรือทดสอบตามวาระ ต้องกระทาอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง โดยวิธีการ ให้เป็นไปตามมาตรฐานงานช่างว่า ด้วยการบารุงรักษา สาหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือ ภายในสถานีบริการก๊าซธรรมชาติของกรมธุรกิจพลังงาน เฉพาะส่วนที่ต้องทำโดยผู้ทดสอบและตรวจสอบ ข้อ 8 ตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติและอุปกรณ์ส่วนควบอื่น ๆ ต้องทดสอบและตรวจสอบก่อน การใช้งาน หรือทดสอบกรณีที่ได้รั บความเสียหาย หรือทดสอบตามวาระ ต้องกระทาอย่างน้อย ปีละหนึ่งครั้ง โดยวิธีการให้เป็นไปตามมาตรฐานงานช่างว่าด้วยการบารุงรักษา สาหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือภายในสถานีบริการก๊าซธรรมชาติของกรมธุรกิจพลังงาน เฉพาะส่วนที่ต้องทำโดยผู้ทดสอบ และตรวจสอบ ข้อ 9 การทดสอบและตรวจสอบระบบท่อก๊าซธรรมชาติอัด ต้องดาเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) ทดสอบและตรวจสอบก่อนการใช้งานหรือทดสอบกรณีที่ได้รับความเสียหาย ต้องทดสอบ ด้วยแรงดันน้ำอย่างน้อย 1.5 เท่า ของความดันออกแบบ หรือด้วยแรงดันอากาศหรือก๊าซเฉื่อยอย่างน้อย 1.1 เท่า ของความดันออกแบบ และเมื่อประกอบแล้วเสร็จ ต้องตรวจสอบการรั่วซึมที่ความดันทดสอบ อย่างน้อยเท่ากับความดันใช้งานสูงสุด และต้องไม่มีการรั่วซึม (2) ทดสอบตามวาระ ต้องทดสอบและตรวจสอบการรั่วซึมของท่อก๊าซอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ที่ความดันอย่างน้อยเท่ากับค วามดันใช้งานสูงสุด การตรวจสอบท่อก๊าซธรรมชาติอัดใต้ดิน การตรวจสอบแผงรับ - จ่ายก๊าซธรรมชาติอัด ต้องทดสอบและตรวจสอบ โดยวิธีการให้เป็นไปตามมาตรฐานงานช่างว่าด้วยการบารุงรักษา สาหรับ เครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือภายในสถานีบริการก๊าซธรรมชาติของกรมธุรกิ จพลังงาน เฉพาะส่วน ที่ต้องทำโดยผู้ทดสอบและตรวจสอบ ข้อ 10 วัสดุหลอมละลาย หรือฝาครอบปะทุ ของอุปกรณ์ควบคุมความดันก๊าซเกินพิกัด แบบระบายไอ ต้องทดสอบตามวาระด้วยการตรวจพินิจว่าไม่มีส่วนชำรุดเสียหาย หรือบวมปูด อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 138 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2566

ข้อ 11 มาตรวัดความดันก๊าซ ก่อนนำมาติดตั้งต้องได้รับการรับรองการสอบเทียบ ( calibration ) โดยผลการรับรองดังกล่าวให้สามารถใช้ได้ไม่เกินสามปีนับแต่วันที่ทาการสอบเทียบ และหากเกินสามปี ต้องได้รับการปรับเทียบ ( adjustment ) ตามมาตรฐานงานช่างว่าด้วยการบำรุงรักษา สำหรั บเครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือภายในสถานีบริการก๊าซธรรมชาติของกรมธุรกิจพลังงาน มาตรวัดความดันก๊าซที่ได้ทาการติดตั้งแล้ว ต้องได้รับการปรับเทียบตามวาระทุก ๆ สามปี โดยวิธีการให้เป็นไปตามมาตรฐานงานช่างว่าด้วยการบำรุงรักษา สาหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือ ภายในสถานีบริการก๊าซธรรมชาติของกรมธุรกิจพลังงาน ข้อ 12 อุปกรณ์ควบคุมความดันก๊าซเกินพิกัดแบบระบายไอ ก่อนนามาติดตั้งต้องได้รับ การรับรองและทดสอบปรับแต่งค่าตามมาตรฐานการออกแบบและจัดสร้างกาหนด โดยผลการรับรอง ดังกล่าวให้สามารถใช้ได้ไม่เกินหนึ่ งปีนับแต่วันที่ทาการทดสอบปรับแต่งค่า และหากเกินหนึ่งปีต้องได้รับ การทดสอบปรับแต่งค่าตามมาตรฐานงานช่างว่าด้วยการบารุงรักษา สาหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือภายในสถานีบริการก๊าซธรรมชาติของกรมธุรกิจพลังงาน กรณีนาอุปกรณ์ควบคุมความดันก๊าซเกินพิกัดแบบร ะบายไอที่ผ่านการใช้งานมาแล้วมาติดตั้ง ต้องได้รับการทดสอบและปรับแต่งค่าตามมาตรฐานงานช่างว่าด้วยการบารุงรักษา สาหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือภายในสถานีบริการก๊าซธรรมชาติของกรมธุรกิจพลังงานก่อน จึงจะนามาติดตั้งได้ อุปกรณ์ควบคุมความดันก๊าซเกินพิ กัดแบบระบายไอที่ได้ทำการติดตั้งแล้ว ต้องได้รับการทดสอบ ปรับแต่งค่าตามวาระอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง โดยวิธีการให้เป็นไปตามมาตรฐานงานช่างว่าด้วยการบำรุงรักษา สำหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือภายในสถานีบริการก๊าซธรรมชาติของกรมธุรกิจพลังงาน ข้อ 13 ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติอัด เครื่องสูบอัดก๊าซธรรมชาติ ตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติอัด อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบกับระบบท่อก๊าซธรรมชาติอัด ระบบท่อก๊าซธรรมชาติอัด อุปกรณ์ควบคุมความดันก๊าซ เกินพิกัดแบบระบายไอ ที่ได้รับความเสียหายอันอาจก่อให้เกิดอันตราย ห้ามนามาใช้งา นจนกว่าจะได้ ทาการทดสอบและตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานการออกแบบและจัดสร้างกาหนด และได้รับการรับรอง จากผู้ทดสอบและตรวจสอบ หมวด 2 สถานีบริการก๊าซธรรมชาติเหลว และสถานีบริการก๊าซธรรมชาติอัดจากก๊าซธรรมชาติเหลว เฉพาะที่เป็นก๊าซธรรมชาติเหลว ส่วนที่ 1 ระยะปลอดภัย ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 138 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2566

ข้อ 14 ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ต้องมีระยะปลอดภัย ดังต่อไปนี้ ความจุของถังเก็บและจ่าย ก๊าซธรรมชาติเหลวแต่ละใบ (ลิตร) ระยะห่างต ่าสุดจากขอบของ พื้นที กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว กับแนวเขตสถานีบริการ (เมตร) ระยะห่างต ่าสุดระหว่างถังเก็บและจ่าย ก๊าซธรรมชาติเหลวแต่ละใบ (เมตร) น้อยกว่า 3,800 3.00 1.00 3,800 - 7,600 4.60 1.50 7,601 - 56,800 7.60 1.50 56,801 - 114,000 15.00 1.50 114,001 - 265,000 23.00 0.25 เท่าของผลบวกของ เส้นผ่านศูนย์กลางถังเก็บและจ่าย ก๊าซธรรมชาติเหลวทีอยู่ใกล้เคียงกัน แต่ต้องไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร มากกว่า 265,000 0.7 เท่าของขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลางถัง แต่ไม่น้อยกว่า 30.00 เมตร 0.25 เท่าของผลบวกของ เส้นผ่านศูนย์กลางถังเก็บและจ่าย ก๊าซธรรมชาติเหลวทีอยู่ใกล้เคียงกัน แต่ต้องไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดให้มีพื้นที่ว่างโดยรอบถังเก็บและ จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร เพื่อสามารถเปิดปิดวาล์วต่าง ๆ ได้โดยสะดวก และต้องห่างจากแนวสายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่านไม่น้อยกว่า 4.60 เมตร ข้อ 15 เครื่องสูบก๊าซธรรมชาติต้องอยู่ในพื้นที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว และต้องจัดให้มี พื้นที่ว่างโดยรอบเครื่องสูบก๊าซธรรมชาติ ไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร ข้อ 16 เครื่องทาไอก๊าซธรรมชาติต้องอยู่ในพื้ นที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว และต้องจัดให้มี พื้นที่ว่างโดยรอบเครื่องทำไอก๊าซธรรมชาติ ไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร กรณีติดตั้งเครื่องทำไอก๊าซธรรมชาติภายในพื้นที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวเดียวกันหลายเครื่อง ให้มีระยะห่างระหว่างเครื่องทำไอก๊าซธรรมชาติ ไม่น้อยก ว่า 1.50 เมตร ข้อ 17 ตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวต้องมีระยะปลอดภัย ดังนี้ (1) ต้องตั้งอยู่บนแท่นที่มีความสูงจากระดับพื้น ไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร โดยรอบ และขอบของแท่นต้องห่างจากขอบตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร และมีเสากันภัย เพื่อป้องกันตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติ (2) ต้องห่างไม่น้อยกว่า 7.50 เมตร จากเขตสถานีบริการก๊าซธรรมชาติด้านที่ใช้เป็นทางเข้า และทางออกสาหรับยานพาหนะ และไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร จากเขตสถานีบริการก๊าซธรรมชาติด้านอื่น ที่มิใช่ทางเข้าและทางออก ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 138 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2566

(3) ต้องห่างจากผนังของอาคารบริการที่ไม่ใช่อาคารคลุมตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติ ถังเก็บและ จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว เครื่องสูบก๊าซธรรมชาติ และแหล่งที่ก่อให้เกิดประกายไฟ ไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร (4) ต้องห่างจากแนวสายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่าน ไม่น้อยกว่า 4.60 เมตร (5) ต้องห่า งจากตู้จ่ายน้ำมัน หรือตู้จ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือตู้จ่ายก๊าซต่างชนิด ไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร ยกเว้นเป็นตู้จ่ายชนิดที่อยู่ร่วมกันได้ (6) ต้องห่างจากพื้นที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว ไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร (7) ต้องไม่มีวัสดุที่ติดไฟได้ภายในระยะ 7.60 เมตร จากตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ข้อ 18 จุดถ่ายเทก๊าซธรรมชาติเหลวจากรถขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลวต้องห่างจากถังเก็บและ จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวอย่างน้อย 0.50 เมตร ข้อ 19 ขณะถ่ายเทก๊าซธรรมชาติเหลวจากรถขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว ต้องไม่มีการสัญจร ของยานพาหนะอื่นในรัศมี 7.60 เมตร โดยรอบพื้นที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว ข้อ 20 จุดถ่ายเทก๊าซธรรมชาติเหลวจากรถขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลวต้องห่างจากอาคารบริการ แนวเขตสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ และแหล่งก่อให้เกิดประกายไฟอย่างน้อย 7.60 เมตร อาคารบริการตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงอาคารเครื่ องสูบอัดก๊าซธรรมชาติ อาคารจอดรถขนส่งก๊าซ และอาคารคลุมตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติ ส่วนที่ 2 การทดสอบและตรวจสอบ ข้อ 21 ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ก่อนนำมาติดตั้งต้องได้รับการทดสอบและ ตรวจสอบด้วยวิธีการตามมาตรฐานการออกแบบและจัดสร้างกำหนด และต้องได้รับใบรับรอง ตามมาตรฐานการออกแบบและจัดสร้างกำหนด ข้อ 22 การทดสอบและตรวจสอบถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) ทดสอบและตรวจสอบก่อนการใช้งานหรือทดสอบกรณีที่ได้รับความเสียหาย ต้องดาเนินการ อย่างน้อย ดังนี้ (ก) ตรวจพินิจด้วยสายตา (ข) ตรวจสอบหารอยรั่วซึมด้วยแรงดันก๊าซเฉื่อยอย่างน้อยเท่ากับความดันใช้งาน และการตรวจสอบความดันสุญญากาศ ( vacuum test ) (ค) ตรวจสอบการติดตั้งให้เป็นไปตามแบบที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงาน (ง) ทดสอบความสามารถทนการเปลี่ยนแปลงของ อุณหภูมิของถังเก็บและจ่าย ก๊าซธรรมชาติเหลวโดยการเติมก๊าซธรรมชาติเหลวหรือก๊าซไนโตรเจนเหลวก่อนใช้งาน (2) ทดสอบตามวาระของถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ต้องดาเนินการอย่างน้อย ดังนี้ ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 138 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2566

(ก) ตรวจพินิจด้วยสายตา และการตรวจสอบความดันสุญญากาศ ( vacuum test ) อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (ข) ตรวจสอบหารอยรั่วซึมอย่างน้อยที่ความดันใช้งาน ทุก ๆ ห้าปี ข้อ 23 การทดสอบและตรวจสอบเครื่องทำไอก๊าซธรรมชาติ เครื่องสูบก๊าซธรรมชาติ และตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ต้องดาเนินการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) ตรวจทดสอบและตรวจสอบก่อนกา รใช้งาน ต้องดาเนินการอย่างน้อยดังนี้ (ก) การพินิจด้วยสายตา (ข) ตรวจสอบการทำงานของเครื่องทำไอก๊าซธรรมชาติ เครื่องสูบก๊าซธรรมชาติ และตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ว่าสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องก่อนการลดอุณหภูมิและบรรจุ ก๊าซธรรมชาติเหลว ตามที่มาตรฐานการออกแบบและจัดสร้างกำหนด (2) การทดสอบตามวาระต้องตรวจสอบการพินิจด้วยสายตา อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ข้อ 24 การทดสอบและตรวจสอบระบบท่อก๊าซธรรมชาติเหลวต้องดาเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) ทดสอบและตรวจสอบก่อนการใช้งานหรือทดสอบกรณีได้รับความเสียหาย ต้องท ดสอบ ด้วยแรงดันน้าอย่างน้อย 1.5 เท่า ของความดันออกแบบ หรือด้วยแรงดันอากาศหรือก๊าซเฉื่อย อย่างน้อย 1.1 เท่า ของความดันออกแบบ และเมื่อประกอบแล้วเสร็จ ต้องตรวจสอบการรั่วซึม ที่ความดันทดสอบอย่างน้อยเท่ากับความดันใช้งานสูงสุด และต้องไม่มีการรั่วซึม (2) ทดสอบตามวาระ ต้องตรวจสอบการรั่วซึมของท่อก๊าซอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ที่ความดัน อย่างน้อยเท่ากับความดันใช้งาน ข้อ 25 วัสดุหลอมละลาย หรือฝาครอบปะทุ ของอุปกรณ์ควบคุมความดันก๊าซเกินพิกัด แบบระบายไอ ต้องทดสอบและตรวจสอบตามวาระด้วยการตรวจพินิจว่าไม่มีส่วนชำ รุดเสียหาย หรือบวมปูด อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ข้อ 26 มาตรวัดความดันก๊าซ อุปกรณ์วัดความดันสุญญากาศ และอุปกรณ์วัดระดับของเหลว ก่อนนามาติดตั้งต้องได้รับการรับรองการสอบเทียบ ( calibration ) โดยการรับรองดังกล่าวให้สามารถ ใช้ได้ไม่เกินสามปีนับแต่วันที่ทากำรสอบเทียบ และหากเกินสามปีต้องได้รับการปรับเทียบ ( adjustment ) ตามมาตรฐานงานช่างว่าด้วยการบารุงรักษา สาหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือภายในสถานีบริการ ก๊าซธรรมชาติของกรมธุรกิจพลังงาน มาตรวัดความดันก๊าซ อุปกรณ์วัดความดันสุญญากาศ และอุปกรณ์วัดระดับของเหลว ที่ได้ทาการติดตั้งแล้ว ต้องได้รับการปรับเทียบตามวาระทุก ๆ สามปี โดยวิธีการให้เป็นไปตามมาตรฐาน งานช่างว่าด้วยการบำรุงรักษา สำหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือภายในสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ของกรมธุรกิจพลังงาน ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 138 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2566

ข้อ 27 อุปกรณ์ ควบคุมความดันก๊าซเกินพิกัดแบบระบายไอ ก่อนนามาติดตั้งต้องได้รับ การรับรองและทดสอบปรับแต่งค่า ตามมาตรฐานการออกแบบและจัดสร้างกาหนด โดยผลการรับรอง ดังกล่าวให้สามารถใช้ได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ทาการทดสอบปรับแต่งค่า และหากเกินหนึ่งปีต้องได้รับ การทดสอบปรั บแต่งค่าตามมาตรฐานงานช่างว่าด้วยการบารุงรักษา สาหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือภายในสถานีบริการก๊าซธรรมชาติของกรมธุรกิจพลังงาน กรณีนาอุปกรณ์ควบคุมความดันก๊าซเกินพิกัดแบบระบายไอที่ผ่านการใช้งานมาแล้วมาติดตั้ง ต้องได้รับการทดสอบและปรับแต่งค่าตามมาตรฐานงานช่างว่าด้วยการบารุงรักษา สาหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือภายในสถานีบริการก๊าซธรรมชาติของกรมธุรกิจพลังงานก่อน จึงจะนามาติดตั้งได้ อุปกรณ์ควบคุมความดันก๊าซเกินพิกัดแบบระบายไอที่ได้ทำการติดตั้งแล้ว ต้อ งได้รับ การทดสอบปรับแต่งค่าตามวาระอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง โดยวิธีการให้เป็นไปตามมาตรฐานงานช่าง ว่าด้วยการบารุงรักษา สำหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือภายในสถานีบริการก๊าซธรรมชาติของ กรมธุรกิจพลังงาน ข้อ 28 ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว เครื่องทาไ อก๊าซธรรมชาติ เครื่องสูบก๊าซธรรมชาติ ตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติ อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบกับระบบท่อก๊าซธรรมชาติเหลว อุปกรณ์ควบคุมความดันก๊าซ เกินพิกัดแบบระบายไอ ระบบท่อก๊าซธรรมชาติเหลว ที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุหรือไฟไหม้ อันอาจก่อให้เกิดอันตราย ห้ามนำมา ใช้งานจนกว่าจะได้ทาการทดสอบและตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐาน การออกแบบและจัดสร้างกำหนด และได้รับการรับรองจากผู้ทดสอบและตรวจสอบ หมวด 3 ระบบไฟฟ้า ข้อ 29 การออกแบบและการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในเขตสถานีบริการ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน การติดตั้งทางไฟฟ้าของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) หรือมาตรฐาน ที่ประกาศโดยสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา ( National Fire Protection Association; NFPA ) หรือมาตรฐาน IEC ข้อ 30 บริเวณอันตรายของสถานีบริการ ก๊าซธรรมชาติแบ่งออกเป็นสองแบบ ดังต่อไปนี้ (1) บริเวณอันตรายแบบที่ 1 ได้แก่ (ก) บริเวณที่ในภาว ะ การทำงานตามปกติมีก๊าซหรือไอที่มีความเข้มข้นพอที่จะเกิด การระเบิดได้ (ข) บริเวณที่อาจมีก๊าซหรือไอ ที่มีความเข้มข้นพอที่จะเกิดการระเบิดได้อยู่บ่อย ๆ เนื่องจากการซ่อมแซม บารุงรักษา หรือรั่ว ้ หนา 20 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 138 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2566

(ค) บริเวณที่เมื่อบริภัณฑ์เกิดความเสียหายหรือทางานผิดพลาด อาจทาให้เกิดก๊าซหรือไอ ที่มีความเข้มข้นพอที่จะเกิดการระเบิด และอาจทำให้บริภัณฑ์ขัดข้องและกลายเป็นแหล่งกาเนิด ประกายไฟได้ (2) บริเวณอันตรายแบบที่ 2 ได้แ ก่ (ก) บริเวณที่ใช้เก็บของเหลวติดไฟซึ่งระเหยง่ายหรือก๊าซที่ติดไฟได้ ซึ่งโดยปกติของเหลว ไอ หรือก๊าซนี้จะถูกเก็บไวในภาชนะหรือระบบที่ปิด ซึ่งจะรั่วออกมาได้เฉพาะในกรณีที่บริภัณฑ์ ทำงานผิดปกติ (ข) บริเวณมีการป้องกันการระเบิดเนื่องจากก๊าซหรือไอที่มีความเข้ มข้นเพียงพอ โดยใช้ ระบบระบายอากาศซึ่งทางานโดยเครื่องจักรกล และอาจเกิดอันตรายได้ หากระบบระบายอากาศ ขัดข้องหรือทำงานผิดปกติ (ค) บริเวณที่อยู่ใกล้กับบริเวณอันตรายแบบที่ 1 และอาจได้รับการถ่ายเทก๊าซหรือไอ ที่มีความเข้มข้นพอที่จะจุดระเบิดได้ในบางครั้งถ้าไม่ มีการป้องกันโดยการทำให้ความดันภายในห้องสูงกว่า ความดันบรรยากาศโดยการดูดอากาศสะอาดเข้ามาภายในห้อง และมีระบบตรวจสอบด้านความปลอดภัย ที่มีประสิทธิผลหากระบบการอัดและระบายอากาศทำงานผิดพลาด ข้อ 31 บริเวณอันตรายของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติอัด และสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ อัดจากก๊าซธรรมชาติเหลว เฉพาะที่เป็นก๊าซธรรมชาติอัด ให้เป็นไปตามตาราง ดังต่อไปนี้ ต่าแหน่ง พื้นที และขอบเขตระยะห่าง บริเวณอันตราย ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติอัด ภายในระยะ 3.00 เมตร โดยรอบถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติอัด แบบที 2 เครืองสูบอัดก๊าซธรรมชาติ ภายในกล่องคลุมเครื องสูบอัดก๊าซธรรมชาติ แบบที 1 ภายในระยะ 4.60 เมตร โดยรอบเครืองสูบอัดก๊าซธรรมชาติ แบบที 2 ตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติอัด ภายในตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติอัด แบบที 1 ภายในระยะ 1.50 เมตร โดยรอบตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติอัด แบบที 2 จุดรับก๊าซธรรมชาติอัด ภายในระยะ 1.50 เมตร โดยรอบจุดรับก๊าซธรรมชาติอัด แบบที 1 ภายในระยะเกินกว่า 1.50 เมตร แต่ไม่เกิน 4.60 เมตร โดยรอบจุดรับก๊าซธรรมชาติอัด แบบที 2 ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 138 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2566

ต่าแหน่ง พื้นที และขอบเขตระยะห่าง บริเวณอันตราย ปลายท่อของกลอุปกรณ์นิรภัย แบบระบายไอ ภายในระยะ 1.50 เมตร โดยรอบปลายท่อ แบบที 1 ภายในระยะเกินกว่า 1.50 เมตร แต่ไม่เกิน 4.60 เมตร โดยรอบปลายท่อ แบบที 2 ปลายท่อของกลอุปกรณ์นิรภัย แบบระบายไอภายใน 15 องศา ของระนาบการระบายก๊าซ ภายในระยะ 4.60 เมตร โดยรอบปลายท่อ แบบที 1 หน้าแปลน ข้อต่อ หรือวาล์วปิดเปิด ของระบบท่อก๊าซธรรมชาติอัด ภายในระยะ 1.50 เมตร โดยรอบหน้าแปลน ข้อต่อ และวาล์วปิดเปิด ของระบบท่อก๊าซธรรมชาติอัด แบบที 1 ในกรณีที่มีการกาหนดบริเวณอันตรายตามมาตรฐาน IEC ต้องทาการเทียบบริเวณอันตราย ให้สอดคล้องตามวรรคหนึ่ง ข้อ 32 บริเวณอันตรายของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติเหลว และสถานีบริการก๊าซธรรมชาติอัด จากก๊าซธรรมชาติเหลว เฉพาะที่เป็นก๊าซธรรมชาติเหลว ให้เป็นไปตามตาราง ดังต่อไปนี้ ต่าแหน่ง พื้นที และขอบเขตระยะห่าง บริเวณอันตราย ถังเก็บและจ่ายก๊าซธร รมชาติเหลว ภายในระยะ 4.60 เมตร โดยรอบถังเก็บและจ่าย ก๊าซธรรมชาติเหลว และภายในพื้นที กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวทั้งหมด แบบที 2 บริเวณทีมีเครื องสูบก๊าซธรรมชาติ เครืองท่าไอก๊าซ ระบบท่อ ก๊าซธรรมชาติเหลว ภายในห้องที ติดตั้งระบบท่อ ก๊าซธรรมชาติเหลว แบบที 2 ภายในระยะ 4.60 เมตร โดยรอบเครืองสูบ ก๊าซธรรมชาติ เครื องท่าไอก๊าซ หรือระบบท่อ แบบที 2 หลุมหรือร่องที อยู่ในหรือติดกับพื้นที มีบริเวณอันตรายแบบ 1 หรือแบบ 2 หลุมหรือร่องที ต ่ากว่าพื้นที มีบริเวณอันตราย แบบ 1 หรือแบบ 2 แบบที 1 ปลายท่อของกลอุปกรณ์นิรภัย แบบระบายไอ หรือปลายท่อระบบระบายของเหลว ภายในระยะ 1.50 เมตร โดยรอบปลายท่อหรือจุดระบาย แบบที 1 ระยะทีมากกว่า 1.50 เมตร แต่ไม่เกิน 4.60 เมตร โดยรอบปลายท่อหรือจุดระบาย แบบที 2 ้ หนา 22 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 138 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2566

ต่าแหน่ง พื้นที และขอบเขตระยะห่าง บริเวณอันตราย ตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ภายในตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว แบบที 1 ภายในระยะ 1.50 เมตร โดยรอบตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว แบบที 1 ภายในระยะมากกว่า 1.50 เมตร แต่ไม่เกิน 4.60 เมตร โดยรอบตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว แบบที 2 หน้าแปลน ข้อต่อ หรือวาล์วปิดเปิด ของระบบท่อ ก๊าซธรรมชาติเหลว ภายในระยะ 1.50 เมตร โดยรอบหน้าแปลน ข้อต่อ และวาล์วปิดเปิด ของระบบท่อก๊าซธรรมชาติเหลว แบบที 1 จุดถ่ายเทก๊าซธรรมชาติเหลว ภายในระยะ 1.50 เมตร โดยรอบจุดถ่ายเทก๊าซธรรมชาติเหลว แบบที 1 ภายในระยะมากกว่า 1.50 เมตร แต่ไม่เกิน 4.60 เมตร โดยรอบจุดถ่ายเทก๊าซธรรมชาติเหลว แบบที 2 ในกรณีที่มีการกาหนดบริเวณอันตรายตามมาตรฐาน IEC ต้องทาการเทียบบริเวณอันตราย ให้สอดคล้องตามวรรคหนึ่ง ข้อ 33 อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า และบริภัณฑ์ ที่ยอมให้ใช้ในบริเวณอันตราย ต้องได้รับการรับรองตำมมาตรฐานที่ประกาศโดยคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรอง มาตรฐานบริภัณฑ์ที่ใช้ภายใต้สภาพบรรยากาศการระเบิด ( International Electrotechnical Commission System for Certification to Standards Relating to Equipment for use in Explosive Atmospheres; IECEx ) หรือมาตรฐานที่ประกาศโดยคณะกรรมาธิการของประเทศที่ได้เข้าร่วม เป็นสมาชิกสหภาพยุโรปว่าด้วยการรับรองมาตรฐานบริภัณฑ์ที่ใช้ภายใต้สภาพบรรยากาศการระเบิด ( Atmosphere Explosibles; ATEX ) หรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ข้อ 34 จุดรับก๊าซธรรมชาติอัดหรือจุดถ่ายเทก๊าซธรรมชาติเหลวต้องมีระบบสายดินเชื่อมต่อ ขณะที่มีการรับหรือถ่ายเทก๊าซธรรมชาติ ข้อ 35 การตรวจสอบระบบไฟฟ้าให้เป็นไปตามมาตรฐานงานช่างว่าด้วยการบารุงรักษา สาหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือภายในสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ของกรมธุรกิจพลังงาน เฉพาะส่วนที่ต้องทำโดยผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ข้อ 36 สถานีบริการก๊าซธรรมชาติต้องจัดให้มีระบบปิดฉุกเฉิน ( emergency shutdown system ) และออกแบบให้สามารถหยุดการทางานของเครื่องสูบอัดก๊าซธรรมชาติ ตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติอัด ตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว เครื่องสูบก๊าซธรรมชาติ และเครื่องทำไอก๊าซธรรมชาติ พร้อมกันได้ทันที ้ หนา 23 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 138 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2566

ข้อ 37 การติดตั้งระบบปิดฉุกเฉินต้องมีปุ่มหยุดการทางานฉุกเฉินที่สั่งให้ระบบปิดฉุกเฉิน ทำงานได้ทันที โดยติดตั้งในบริเวณที่กำหนด อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) บริเวณเครื่ องสูบอัดก๊าซธรรมชาติ (2) ตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติ (3) บริเวณจุดรับก๊าซธรรมชาติอัดจากรถขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด (4) บริเวณจุดถ่ายเทก๊าซธรรมชาติเหลวจากรถขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว (5) ห้องควบคุมระบบไฟฟ้า ข้อ 38 การออกแบบระบบปิดฉุกเฉินในกรณีดังต่อไปนี้ต้องทำงานโดยอัตโนมั ติได้ทันที (1) มอเตอร์ไฟฟ้าของเครื่องสูบอัดก๊าซธรรมชาติชนิดที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า มีแรงดันไฟฟ้า สูงเกินพิกัด (2) ความดันหรืออุณหภูมิภายในเครื่องสูบอัดก๊าซธรรมชาติเกินกว่าที่ออกแบบ (3) อัตราการไหลน้าหล่อเย็นของเครื่องสูบอัดก๊าซธรรมชาติที่ใช้คอยล์เย็นระบายความ ร้อน ไม่เพียงพอ (4) ระบบไฟฟ้าขัดข้อง (5) ระบบปิดเปิดก๊าซธรรมชาติที่ใช้แบบลมขับ ( pneumatic ) เกิดขัดข้อง (6) กรณีที่เกิดก๊าซธรรมชาติรั่วไหลหรือเกิดเปลวไฟ จนเป็นเหตุให้เครื่องส่งเสียงดังเมื่อเกิด ก๊าซรั่วหรือเครื่องตรวจจับการเกิดไฟทำงาน (7) อุณหภูมิของก๊าซธรรมชาติที่ออกจากเครื่องทำไอก๊าซธรรมชาติต่ากว่าที่ออกแบบ หมวด 4 การเลิกประกอบกิจการ ข้อ 39 ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานีบริการก๊าซธรรมชาติที่ประสงค์จะเลิกประกอบกิจการ ให้ยื่นเรื่องแจ้งยกเลิกการประกอบกิจการ พร้อมจัดส่งผลการทดสอบและตรวจสอบซึ่งรับรองโดยผู้ทดสอบ และตรวจสอบ ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกาหนดคุณสมบัติของผู้ทดสอบและตรวจสอบที่ออกตาม มาตรา 7 และต้นฉบับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เพื่อประกอบการพิจารณา ถังเก็บและ จ่ายก๊าซธรรมชาติ ตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติ เครื่องสูบอัดก๊าซธรรมชาติ เครื่องสูบ ก๊าซธรรมชาติ เครื่องทำไอก๊าซธรรมชาติ ระบบท่อก๊าซธรรมชาติ และอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบกับระบบท่ออื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับก๊าซธรรมชาติ ที่แจ้งยกเลิกการประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยจะต้อง ทดสอบและตรวจสอบว่าไม่มีก๊าซธรรมชาติค้างอยู่ ้ หนา 24 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 138 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2566

เมื่อกรมธุรกิจพลังงานได้ตรวจสอบแล้ว เห็นว่ามีความปลอดภัยและถูกต้องตามที่กาหนด ให้ใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 สถานีบริการก๊าซธรรมชาติ นั้น ถือเป็นอันสิ้นสุดลง นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ผลการพิจารณายกเลิกจากกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศ ณ วันที่ 2 4 เมษายน พ.ศ. 256 6 สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ้ หนา 25 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 138 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2566