ประกาศคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกำหนดอาหาร เรื่อง เกณฑ์และแบบประเมินเพื่อการรับรองสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอน สาขาการกำหนดอาหาร พ.ศ. 2566
ประกาศคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกำหนดอาหาร เรื่อง เกณฑ์และแบบประเมินเพื่อการรับรองสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอน สาขาการกำหนดอาหาร พ.ศ. 2566
ประกาศคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกำหนดอาหาร เรื่อง เกณฑ์และแบบประเมินเพื่อการรับรองสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอน สาขาการกาหนดอาหาร พ.ศ. 2566 อาศัยอานาจตามความในมาตรา 23 (5) และ (11) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ประกอบกับมาตรา 12 แห่งพระราชกฤษฎีกากาหนดให้สาขาการกาหนดอาหาร เป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2563 คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกำหนดอาหาร จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกา ศคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกำหนดอาหาร เรื่อง เกณฑ์และแบบประเมินเพื่อการรับรองสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอน สาขาการกาหนดอาหาร พ.ศ. 25 66” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในประกาศนี้ “ สถาบันการศึกษา ” หมายความว่า สถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งตามกฎหมาย และผลิตบัณฑิตปริญญาสาขาการกาหนดอาหาร หรือปริญญา ที่ศึกษากระบวนวิชาการกาหนดอาหารเป็นวิชาเอก “ ส่วนราชการ ” หมายความว่า หน่วยงานตั้งแต่ระดับกรมขึ้ นไปหรือที่มีฐานะเทียบเท่ากรม “ คณะกรรมการวิชาชีพ ” หมายความว่า คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกาหนดอาหาร หมวด 1 การรับรองสถาบันการศึกษา ข้อ 4 สถาบันการศึกษาที่ประสงค์จะขอการรับรองสถาบันการศึกษาจากคณะกรรมการวิชาชีพ ต้องปฏิบัติตามประกาศนี้ ข้อ 5 การขอการรับรองสถาบันการศึกษาของรัฐให้หัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้ยื่นคาขอ การรับรองสถาบันการศึกษา ต่อผู้อำนวยการกองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข สำหรับสถาบันการศึกษาของเอกชนให้ผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ หรือผู้แทนนิ ติบุคคล ของสถาบันการศึกษาเป็นผู้ยื่นคาขอการรับรองสถาบันการศึกษา ต่อผู้อานวยการกองสถานพยาบาล และการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข คำขอการรับรองสถาบันการศึกษาให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ้ หนา 34 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 136 ง ราชกิจจานุเบกษา 12 มิถุนายน 2566
ข้อ 6 ให้สถาบันการศึกษาต้องยื่นคาข อการรับรองสถาบันการศึกษา พร้อมแบบประเมินตนเอง ตามแบบที่กาหนดท้ายประกาศนี้ ณ กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุน บริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ข้อ 7 ให้คณะกรรมการวิชาชีพแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิชาชีพสาขาการกาหนดอาหาร ด้านตรวจประเมินสถาบันการศึก ษา ประกอบด้วย ผู้แทนคณะกรรมการวิชาชีพ 2 คน ผู้แทน คณะอนุกรรมการวิชาชีพสาขาการกาหนดอาหาร ด้านพัฒนาวิชาการและมาตรฐานวิชาชีพ 2 คน ผู้แทนคณะอนุกรรมการวิชาชีพสาขาการกาหนดอาหาร ด้านพิจารณาขึ้นทะเบียนและจัดสอบความรู้ 1 คน ผู้แทนคณะอนุกรรมการวิชาชีพสาขำการกาหนดอาหาร ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพและกฎหมาย 1 คน และผู้แทนกองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ 2 คน โดยให้ผู้แทนกองสถานพยาบาล และการประกอบโรคศิลปะ เป็นอนุกรรมการวิชาชีพและเลขานุการ ทั้งนี้ ให้ประธานกรรมการวิชาชีพเป็นผู้เลือกประธานอนุกรรมการวิชาชีพสาขาการกาหนดอาหาร ด้านตรวจประเมินสถาบันการศึกษา ข้อ 8 ให้คณะอนุกรรมการวิชาชีพสาขาการกาหนดอาหาร ด้านตรวจประเมินสถาบันการศึกษา มีหน้าที่ตรวจแบบประเมินตนเองของสถาบันการศึกษา ทำการตรวจประเมินและให้คำ แนะนำ ในการพัฒนาสถาบันการศึกษาพร้อมเสนอคณะกรรมการวิชาชีพให้แล้วเสร็จภายใน 120 วันนับแต่วันที่ได้รับ แบบประเมินตนเอง จากสถาบันการศึกษา ข้อ 9 ค่าใช้จ่ายในการตรวจประเมินสถาบันการศึกษาที่ขอการรับรองสถาบันการศึกษา ให้สถาบันการศึกษาที่ขอการรับรองเป็นผู้รับผิ ดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของคณะอนุกรรมการวิชาชีพ สาขาการกำหนดอาหาร ด้านตรวจประเมินสถาบันการศึกษาที่เดินทางไปตรวจประเมินสถาบันการศึกษา เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าตอบแทน ค่าเดินทาง และค่าที่พัก ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่ต่ากว่าอัตราที่ทางราชการ กำหนด หมวด 2 หลักเก ณฑ์การรับรองสถาบันการศึกษา ข้อ 10 สถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการวิชาชีพจะพิจารณาให้การรับรองจะต้องเป็นไป ตามเกณฑ์มาตรฐานการรับรองสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนสาขาการกำหนดอาหาร ที่คณะกรรมการวิชาชีพกำหนดท้ายประกาศนี้ สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนครั้งแรก จะต้องยื่นคาขอรับรองสถาบันการศึกษาก่อนที่จะเปิดรับ นักศึกษาล่วงหน้า และจะทำการสอนตามหลักสูตรได้เมื่อผ่านการรับรองสถาบันการศึกษาจาก คณะกรรมการวิชาชีพเรียบร้อยแล้ว ้ หนา 35 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 136 ง ราชกิจจานุเบกษา 12 มิถุนายน 2566
ข้อ 11 คณะกรรมการวิชาชีพต้องออกหนังสือการรับรองสถาบันการศึกษาให้แก่สถาบันการศึกษา เมื่อผลการพิจารณาผ่านเกณฑ์การประเมินการรับรองสถาบันการศึกษาตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการวิชาชีพ กำหนด หนังสือรับรองสถาบันการศึกษาให้มีอายุ 5 ปีนับแต่วันที่คณะกรรมการวิชาชีพได้มีมติรับรอง สถาบันการศึกษานั้น การออกหนังสือการรับรองสถาบันการศึกษาให้เป็นไปตามแบบที่กำห นดท้ายประกาศนี้ ข้อ 12 หากผลการประเมินสถาบันการศึกษาของสถาบันการศึกษาใดไม่ผ่านตามเกณฑ์ การประเมินสถาบันการศึกษา สถาบันการศึกษานั้นจะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามเกณฑ์ การรับรองสถาบันการศึกษาที่กาหนดในข้อ 10 ให้แล้วเสร็จภายใน 180 วันนับแต่วันที่ ได้รับแจ้งผลการประเมิน พร้อมแจ้งให้คณะอนุกรรมการวิชาชีพสาขาการกาหนดอาหาร ด้านตรวจประเมิน สถาบันการศึกษาเพื่อทำการประเมินซ้าอีกครั้งหนึ่ง หากยังไม่ผ่านการประเมินตามกาหนดเวลาในวรรคหนึ่ง หรือไม่ดาเนินการปรับปรุงแก้ไข ให้แล้วเสร็จตามกาหนด สถาบันการศึกษาต้อ งยื่นคาขอการรับรองสถาบันการศึกษาใหม่ ข้อ 13 สถาบันการศึกษาจะต้องยื่นคาขอการรับรองสถาบันการศึกษาพร้อมแบบประเมินตนเอง เพื่อขอรับการประเมินการรับรองสถาบันการศึกษาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 90 วันก่อนครบกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ออกหนังสือรับรองสถาบันการศึกษา ถ้าหำกสถาบันการศึกษาใดมีการปรับปรุงองค์ประกอบของสถาบันการศึกษา สถาบันการศึกษานั้น จะต้องยื่นคาขอการรับรองสถาบันการศึกษาใหม่ทุกครั้ง ในกรณีสถาบันการศึกษาที่เคยได้รับการรับรองแล้ว และยื่นคำขอการรับรองใหม่ แต่คณะกรรมการวิชาชีพพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ ให้ถือว่า คณะกรรมการวิชาชีพให้การรับรองจนกว่า จะพิจารณาเป็นอย่างอื่น ข้อ 14 สถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองสถาบันการศึกษาก่อนที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับแล้ว ยังไม่หมดอายุ ให้ถือว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองสถาบันการศึกษาตามประกาศนี้ และให้มีอายุเท่าที่เห ลืออยู่ ข้อ 15 สถาบันการศึกษาที่ยื่นคาขอการรับรองสถาบันการศึกษาและอยู่ระหว่างการพิจารณา ก่อนที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือเป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่ระหว่างการพิจารณา เพื่อรับรอง สถาบันการศึกษาตามประกาศนี้ ข้อ 16 ในกรณีที่มีปัญหาตามประกาศนี้ให้คณะกรรมการวิชาชีพเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ประกาศ ณ วันที่ 2 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25 6 6 ชนิดา ปโชติการ ประธานกรรมการวิชาชีพสาขาการกาหนดอาหาร ้ หนา 36 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 136 ง ราชกิจจานุเบกษา 12 มิถุนายน 2566
1 เกณฑ์มาตรฐาน การรับรองสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนสาขาการกําหนดอาหาร … สถาบันการศึกษาที่มีความประสงค์จะจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาขาการกําหนดอาหาร ต้องมีองค์ประกอบของสถาบันการศึกษาตามหัวข้อ ต่อไปนี้ 1 . คุณสมบัติของสถาบันการศึกษาที่ขอเปิดดําเนินการหลักสูตรสาขาการกําหนดอาหาร 2 . บุคลากรทางด้านอาจารย์ 3 . คุณสมบัติของนิสิต / นักศึกษา 4 . หลักสูตร 5 . ระบบการดูแลนักศึกษา / ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา 6 . อาคารสถานที่ เครื่องมือและอุปกรณ์สําหรับการจัดการเรียนการสอน 7 . ห้องสมุด 8 . การบริหารจัดการ 9 . การประเมินคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและการประเมินสถาบัน เกณฑ์เกี่ยวกับองค์ประกอบของสถาบันการศึกษา ตามหัวข้อข้างต้นให้เป็นไปตามเกณฑ์ การประเมินคุณภาพภายใน เพื่อให้สามารถวัดผลลัพธ์การดําเนินงานที่ตอบสนองความต้องการตามเกณฑ์ การประเมินคุณภาพภายนอก คือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสํานักงาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ( สมศ .) โดยแต่ละเกณฑ์มีรายละเอียด ดังนี้ ปริญญาตรี 1 . คุณสมบัติของสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตปริญญา สาขาการกําหนดอาหารหรือที่ศึกษากระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอก สถาบันการศึกษาที่จะจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตปริญญาสาขาการกําหนด อาหารหรือที่ศึกษากระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอก จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1 . 1 เป็นสถาบันการศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมรับรอง และมีการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีและมีบรรยากาศทางวิชาการในสถานศึกษาที่เป็น สังคมนักวิชาการ เพื่อเสริมสร้างคุณสมบัติในการใฝ่รู้ให้แก่นักศึกษา 1 . 2 สถาบันการศึกษามีหน่วยงานรับผิดชอบอย่างน้อยเทียบเท่าระดับสาขาวิชา 1 . 3 มีปณิธานมุ่งผลิตบัณฑิตสาขาการกําหนดอาหารที่มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณสมบัติสอดคล้องกับความต้องการของระบบสุขภาพในประเทศ 1 . 4 มีระบบบริหารที่ชัดเจนเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาให้บรรลุตามปณิธาน ได้แก่ การบริหารงานทั่วไป การบริหารการศึกษา เป็นต้น ระบบบริหารงานดังกล่าวให้ทําเป็นระเบียบของ สถาบันการศึกษาและประกาศให้ผู้เกี่ยวข้องทราบทั่วกัน 1 . 5 ในระยะเริ่มแรก สถาบันการศึกษาที่จะจัดการเรียนการสอนหลักสูตร ระดับบัณฑิตปริญญาสาขาการกําหนดอาหารหรือที่ศึกษากระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอก ควรทํา ความตกลงกับสถาบันการศึกษาที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกําหนดอาหาร ให้ช่วยทํา หน้าที่เป็นที่ปรึกษา และช่วยเหลือ หรือเป็นสถาบันพี่เลี้ยง หมายเหตุ เกณฑ์ตามข้อ 1.1 – 1.4 ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ . ศ . 2565 และแนวทางการบริหาร เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ . ศ . 2565 ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
2 2 . บุคลากรทางด้านอาจารย์ สถาบันการศึกษาที่จะจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตปริญญาสาขาการกําหนด อาหารหรือที่ศึกษากระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอกจะต้องบริหารจัดการให้มีอาจารย์ที่มีคุณสมบัติและ จํานวนตามเกณฑ์ต่อไปนี้ 2 . 1 อัตราส่วนอาจารย์ที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอก : ปริญญาโท : ปริญญาตรี ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 2 . 2 อัตราส่วนอาจารย์ประจํา : นักศึกษา = 1 : 15 ตามเกณฑ์ของกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นเกณฑ์เฉลี่ยสําหรับจํานวนอาจารย์ที่จบปริญญาสาขา การกําหนดอาหารหรือที่ศึกษากระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอกและนักศึกษาทุกชั้นปีตลอดหลักสูตร สําหรับการเรียนการสอนบางส่วนของหลักสูตรหรือบางรายวิชา ซึ่งต้องการการสอนและการควบคุมดูแล อย่างใกล้ชิด จะต้องจัดให้มีจํานวนอาจารย์ผู้สอนเพียงพอต่อการเรียนการสอนในส่วนนั้น ๆ 2 . 3 อาจารย์ประจําหลักสูตรการกําหนดอาหารหรือที่ศึกษากระบวนวิชาการกําหนด อาหารเป็นวิชาเอก ต้องมีคุณวุฒิขั้นต่ําปริญญาโทหรือเทียบเท่า และต้องมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการกําหนดอาหาร เป็นสมาชิกของสมาคมนักกําหนดอาหารแห่งประเทศไทย อย่างน้อย 2 คน และต้องมี อาจารย์ประจําปฏิบัติงานเต็มเวลาอย่างน้อย 2 คน เพื่อทําหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารหลักสูตร ต้องทําหน้าที่ ประเมินและปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งคอยติดตามและให้คําปรึกษาทางวิชาการ แก่นักศึกษา ตลอดจนการคัดเลือกอาจารย์พิเศษที่จะเชิญมาช่วยสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหาและวิธีการสอน ที่กําหนด 2 . 4 การพัฒนาอาจารย์ สถาบันการศึกษาที่จะจัดการเรียนการสอนหลักสูตร ระดับบัณฑิตปริญญาสาขาการกําหนดอาหารหรือที่ศึกษากระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอก จะต้องมี หน่วยงานรับผิดชอบ จัดทําแผน หรือโครงการที่ชัดเจน เพื่อพัฒนาอาจารย์ทั้งทางด้านวิชาการ วิจัย และการ จัดการเรียนการสอน 3. คุณสมบัติของนิสิต / นักศึกษา ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ . ศ . 2565 4. หลักสูตร สถาบันการศึกษาที่จะขอเปิดดําเนินการหลักสูตรสาขาการกําหนดอาหารหรือที่ศึกษากระบวนวิชาการ กําหนดอาหารเป็นวิชาเอก ต้องจัดทําหลักสูตร ดังนี้ 4.1 ปรัชญาและวัตถุประสงค์การศึกษา สถาบันการศึกษาต้องกําหนดปรัชญาและวัตถุประสงค์การศึกษาของหลักสูตรสาขา การกําหนดอาหารต้องสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบโรคศิลปะ เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับปริญญาตรี พ . ศ .2565 และปรัชญาของสถาบันการศึกษา 4.2 โครงสร้างหลักสูตร การจัดหมวดวิชาและหน่วยกิตของหมวดวิชาในหลักสูตรต้องเป็นไปตามเกณฑ์ของ สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกําหนดอาหารในกรณีที่รับนักศึกษา ที่มีคุณวุฒิสูงกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เช่น รับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง อาจยกเว้น รายวิชา ไ ด้ตามความเหมาะสมตามหลักเกณฑ์การเทียบโอนของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหลักเกณฑ์การเทียบโอนของมหาวิทยาลัยหรือ สถาบันนั้น ๆ โครงสร้างหลักสูตรสาขาการกําหนดอาหารหรือที่ศึกษากระบวนวิชาการกําหนดอาหาร เป็นวิชาเอก ประกอบด้วยหมวดวิชาและเกณฑ์ขั้นต่ําของกลุ่มวิชาหรือรายวิชาในแต่ละหมวดดังนี้
3 4.3 องค์ประกอบของหลักสูตร ระยะเวลาศึกษา 4 ปี จํานวนหน่วยกิต ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต ประกอบด้วย 4 หมวดวิชา ดังต่อไปนี้ 1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต กลุ่มวิชาพื้นฐานทั่วไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ . ศ . 2565 2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต 2.1 วิชาพื้นฐานด้านการกําหนดอาหารประกอบด้วย 2 กลุ่มวิชา คือ 2.1.1 วิชาบังคับ จํานวน 14 วิชา ดังต่อไปนี้ - วิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการเบื้องต้น (Introduction to Food Science and Nutrition) - ความปลอดภัยอาหารและสุขาภิบาลอาหาร (Food safety and sanitation) - กำ ร บ ริ หำ ร จั ด กำ ร กำ ร บ ริ กำ ร อำ หำ ร (Food service system management) - หลักการและวิทยาศาสตร์การประกอบอาหาร (Principles and Culinary Science) - โภชนาการ (HUMAN NUTRITION: Nutrients, metabolism) - โภชนาการชุมชน (COMMUNITY NUTRITION) - โภชนาการในวัยต่างๆ (NUTRITION IN LIFE CYCLE) - หลักการโภชนาการและการกําหนดอาหารเบื้องต้น (PRINCIPLE OF NUTRITION AND DIETETICS) - การประเมินภาวะโภชนาการ (NUTRITION ASSESSMENT) - โภชนบําบัดทางการแพทย์ (MEDICAL NUTRITION THERAPY/DIET THERAPY) - การให้คําปรึกษาทางโภชนาการ / การปรับพฤติกรรม (NUTRITION COUNSELING/BEHAVIOR MODIFICATION) - การสัมมนาโภชนาการและการกําหนดอาหาร (Seminar in Nutrition and Dietetics) - วิธีการวิจัยทางโภชนาการและการกําหนดอาหาร (Research in Nutrition and Dietetics) - จรรยาบรรณและจริยธรรมวิชาชีพการกําหนดอาหาร / กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการประกอบโรคศิลปะ (Ethical and Legal Issues in DIETETICS) 2.1.2 วิชาเลือกบังคับ มีอย่างน้อย 2 วิชา จากรายวิชา ดังต่อไปนี้ - จิตวิทยาทั่วไป (General Psychology) - โภชนาการเฉพาะบุคคล (Personalized Nutrition) - โภชนาการการกีฬา (Sports Nutrition) - เทคโนโลยีสารสนเทศสําหรับการบริการสุขภาพ (Information technology for health services)
4 - โภชนาการสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Environmental nutrition and health) - โภชนาการบูรณการ (Integrated Nutrition) - โภชนาการและเภสัชวิทยา (Nutrition and pharmacology) - นวัตกรรมอาหารสุขภาพและอาหารเฉพาะโรค (Innovations in healthy food and disease-specific food) - ความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืน (Sustainable food security) - หรือรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการและการกําหนดอาหาร 2.2 กรอบเนื้อหาการกําหนดอาหารให้ครอบคลุม ดังต่อไปนี้ หมวดวิชาเฉพาะด้าน กรอบเนื้อหาวิชา การจัดระบบ การให้บริการอาหาร ในสถาบันต่าง ๆ เช่น สถานพยาบาล สถานประกอบการ เพื่อสุขภาพ สถานศึกษา การจัดระบบการให้บริการอาหารในสถาบันต่างๆ โดยทราบหลักแนวคิด / ทฤษฎี และวิธีการ ดังต่อไปนี้ - การกําหนดโครงสร้างและภาระงาน - การดําเนินการจัดซื้อ ตรวจรับ เบิกจ่าย และจัดเก็บอาหาร - การเตรียมและการควบคุมการผลิต - การคํานวณและดัดแปลงอาหารเฉพาะโรค - การจัดการตรวจความถูกต้อง และการบริการในสถาบันต่างๆ - การกําหนดและควบคุมงบประมาณค่าอาหาร - การจัดการด้านอาหารปลอดภัยตามมาตรฐานสากล เช่น ระบบ GMP HACCP ISO 22000 โรงพยาบาลอาหารปลอดภัย - การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานในส่วนการให้บริการอาหารและการให้ โภชนบําบัด เช่น HA JCI DMB มาตรฐานสถานที่ประกอบอาหารในโรงพยาบาล - จรรยาบรรณและจริยธรรมวิชาชีพการกําหนดอาหาร หลักการ ทางโภชนาการและ การกําหนดอาหาร เพื่อการป้องกัน และบําบัด (Nutrition and Dietetics for Prevention and Diet Therapy) หลักการทางโภชนาการและการกําหนดอาหารเพื่อการป้องกันและบําบัด โดยทราบหลักแนวคิด / ทฤษฎี และวิธีการ ดังต่อไปนี้ - การคัดกรองปัญหาโภชนาการ ประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วย วิเคราะห์ วินิจฉัย และวางแผนการให้โภชนบําบัด - การให้คําปรึกษา ติดตาม ประเมินผล ส่งเสริม และฟื้นฟูภาวะโภชนาการ - การดัดแปลงอาหารเฉพาะโรคให้เป็นไปตามแผนการรักษาเพื่อให้เหมาะสม กับโรคและภาวะโภชนาการ - การให้อาหารทางหลอดเลือดดําและทางเดินอาหาร - จรรยาบรรณและจริยธรรมวิชาชีพการกําหนดอาหาร การประยุกต์ การกําหนดอาหาร เข้าสู่ชุมชน การประยุกต์การกําหนดอาหารเข้าสู่ชุมชน ประกอบด้วย - การวางแผนร่วมกับสหวิชาชีพในการส่งต่อผู้ป่วยสู่ชุมชน เพื่อให้ได้รับการดูแล ด้านอาหาร โภชนาการ และโภชนบําบัดที่ถูกต้องและเหมาะสม - การป้องกันปัญหาทุพโภชนาการในกลุ่มประชากรทั่วไป กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่
5 หมวดวิชาเฉพาะด้าน กรอบเนื้อหาวิชา (Application of Nutrition and Dietetics in Community) เป็นโรคต่าง ๆ - การส่งเสริมโภชนาการของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ซึ่งครอบคลุม ทุกกลุ่มวัย ด้วยกระบวนการ 1. สํารวจและการคัดกรองปัญหาโภชนาการในระยะเริ่มแรกและการให้ ความช่วยเหลือเบื้องต้น และการติดตามดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง 2. การส่งเสริมโภชนาการในรูปแบบต่างๆ เช่น - การให้โภชนศึกษาผ่านสื่อต่างๆ - การให้ความรู้โภชนาการในกลุ่มบุคคลต่างๆ 3. การฟื้นฟูโภชนาการ และ Group Dynamic ในชุมชน ( กิจกรรมกลุ่ม ) / เครือข่ายชุมชน 4. ความปลอดภัยอาหารและสุขาภิบาลอาหารในชุมชน การวิจัยและ การสัมมนาทาง โภชนาการและ การกําหนดอาหาร (Research and Seminar in Nutrition and Dietetics) การวิจัยและการสัมมนาทางโภชนาการและการกําหนดอาหาร ประกอบด้วย - ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) - สถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย (statistics) - การสัมมนาทางการกําหนดอาหาร (Seminar in Nutrition and Dietetics) หมายเหตุ 1. คณะกรรมการหลักสูตรของสถาบันการศึกษาอาจพิจารณาเพิ่มรายวิชาได้ตามความเหมาะสม 2. ชื่อรายวิชาอาจไม่ตรงกับชื่อที่ระบุไว้ในเนื้อหาวิชาได้ 3 . หมวดการฝึกงานทางโภชนาการและการกําหนดอาหารเบื้องต้น ไม่ต่ํากว่า 900 ชั่วโมง หรือไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต โดยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 3.1 การฝึกงานภาคบังคับ 600 ชั่วโมง ดังนี้ ทางด้านการบริหารจัดการงานบริการอาหารในสถาบัน (150 ชั่วโมง ) ฝึกปฏิบัติการจัดบริการอาหารในโรงพยาบาล สถานบําบัด หรือหน่วยงานต่าง ๆ โดยนําทักษะที่ได้เรียนมาใช้ในสถานการณ์จริง เช่น การวางแผนในการผลิตอาหาร โดยมีงบประมาณจํากัด การควบคุมการผลิตการสั่งซื้อและการเลือกวัตถุดิบการบริหารบุคคลการติดต่อประสานงานตลอดจน การจัดบริการ อาหารต่าง ๆ ทางด้านโภชนคลินิก (300 ชั่วโมง ) 1. การปฏิบัติทางโภชนาการคลินิกสําหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ฝึกปฏิบัติวิชาชีพในโรงพยาบาลสําหรับการให้บริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และผู้มีภาวะน้ําหนักเกิน โดยเน้นการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการบริโภคอาหารและ / หรือร่วมกับการใช้ยาในการควบคุมโรค การดัดแปลงเมนูอาหารเฉพาะโรคให้ เหมาะสมกับแต่ละบุคคล การประเมินภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหาร เฉพาะโรค ตลอดจนการให้คําปรึกษาทางโภชนาการกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องกลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
6 2. การปฏิบัติทางโภชนาการคลินิกสําหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในการประเมินภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหารเฉพาะโรค ตลอดจนการให้คําปรึกษาทางโภชนาการกับกลุ่มเสี่ยง ผู้เป็นโรคไตเรื้อรัง ในระยะต่าง ๆ การบําบัดทดแทนไต และการเปลี่ยนไต 3. การปฏิบัติทางโภชนาการคลินิกในผู้ป่วยกลุ่มโรคอื่น ๆ การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในการประเมิน ภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหาร ต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหารเฉพาะโรค การให้อาหารทางสายให้อาหารและทางหลอดเลือดดํา ตลอดจนการให้ คําปรึกษาทางโภชนบําบัดกับผู้ป่วยกลุ่มโรคอื่น ๆ เช่น มะเร็ง ผู้ป่วยโรคทางเดินอาหาร ผู้ป่วยวิกฤต เป็นต้น ที่มีระดับความรุนแรงแตกต่างกันตลอดจนการพิจารณาให้การดูแลทางโภชนาการและการกําหนดอาหาร ที่เหมาะสม ทางด้านโภชนาการชุมชน (150 ชั่วโมง ) 1. การปฏิบัติทางโภชนาการชุมชนสําหรับหญิงตั้งครรภ์ ทารก เด็ก และหญิง ให้นมบุตร การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในการประเมินการบริโภคอาหาร ภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหาร ตลอดจนการให้คําปรึกษา และโภชนศึกษาแก่ หญิงตั้งครรภ์ ทารก เด็ก และหญิงให้นมบุตร เพื่อให้มีภาวะโภชนาการที่ดีและเหมาะสม 2. การปฏิบัติทางโภชนาการชุมชนสําหรับผู้สูงอายุ การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในการประเมินการบริโภคอาหาร ภาวะโภชนาการความต้องการ สารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหาร และการให้คําปรึกษา และโภชนศึกษาแก่ผู้สูงอายุเพื่อให้มีภาวะ โภชนาการที่ดีและเหมาะสม ตลอดจนการคํานึงถึงปัญหาทางสุขภาพอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาวะการกลืนลําบาก ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย เป็นต้น 3.2 การฝึกปฏิบัติตามความสนใจของนักศึกษา บริบทของพื้นที่ และหลักสูตร (300 ชั่วโมง ) ดังนี้ 1. การปฏิบัติทางโภชนาการคลินิกสําหรับผู้ป่วยเบาหวานและการควบคุม น้ําหนัก ฝึกปฏิบัติวิชาชีพในโรงพยาบาลสําหรับการให้บริการผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วยที่ ต้องควบคุมน้ําหนัก โดยเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและ / หรือร่วมกับการใช้ยาในการควบคุม โรค การดัดแปลงเมนูอาหารเฉพาะโรคให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล การประเมินภาวะโภชนาการ ความต้องการ สารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหารเฉพาะโรค ตลอดจนการให้คําปรึกษาทางโภชนาการกับผู้ที่มีปัญหาเรื่อง กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วยที่ต้องควบคุมน้ําหนัก 2. การปฏิบัติทางโภชนาการคลินิกสําหรับผู้ป่วยไขมันในเลือดสูงและโรคหัวใจ และหลอดเลือด การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในการประเมินภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหารเฉพาะโรค ตลอดจนการให้คําปรึกษาทางโภชนาการกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องกลุ่มเสี่ยง ไขมัน ในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือดในโรงพยาบาลหรือสถานบําบัดต่าง ๆ 3. การปฏิบัติทางโภชนาการคลินิกสําหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในการประเมินภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหารเฉพาะโรค ตลอดจนการให้คําปรึกษาทางโภชนาการกับกลุ่มเสี่ยง ผู้เป็นโรคไตเรื้อรัง ในระยะต่าง ๆ การบําบัดทดแทนไต และการเปลี่ยนไต
7 4. การปฏิบัติทางโภชนาการคลินิกสําหรับผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหารและ โรคตับ การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในการประเมินภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ ในผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหารต่าง ๆ ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยและดูดซึมและผู้ป่วยโรคตับ ตลอดจน การพิจารณาให้การดูแลทางโภชนาการที่เหมาะสมทั้งในด้านให้อาหารทางสายให้อาหารและอาหารทาง หลอดเลือดดํากับผู้ป่วย 5. การปฏิบัติทางโภชนาการคลินิกสําหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในการประเมิน ภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหารเฉพาะโรค ตลอดจนการให้คําปรึกษาทางโภชนาการกับผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ที่มีระดับความรุนแรงแตกต่างกันตลอดจนการพิจารณาให้การดูแลทางโภชนาการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ การรักษามะเร็งโดยวิธีเคมีบําบัดและ / หรือการฉายแสง 6. การปฏิบัติทางโภชนาการคลินิกในกลุ่มโรคอื่น ๆ การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในการประเมิน ภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหารเฉพาะโรค ตลอดจนการให้คําปรึกษาทางโภชนาการกับผู้ป่วยกลุ่มโรคอื่น ๆ ตลอดจน การพิจารณาให้การดูแลทางโภชนาการที่ถูกต้องและเหมาะสม 7. ทางด้านการบริหารจัดการงานบริการอาหารในสถาบัน ฝึกปฏิบัติการจัดบริการอาหารในโรงพยาบาล สถานบําบัด หรือหน่วยงานต่าง ๆ โดยนําทักษะที่ได้เรียนมาใช้ในสถานการณ์จริง เช่น การวางแผนในการผลิตอาหาร โดยมีงบประมาณจํากัด การควบคุมการผลิตการสั่งซื้อและการเลือกวัตถุดิบการบริหารบุคคลการติดต่อประสานงานตลอดจน การจัดบริการอาหารต่าง ๆ 8. ทางด้านโภชนาการชุมชน 8.1 การปฏิบัติทางโภชนาการชุมชน การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในการประเมินการบริโภคอาหาร ภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหาร ตลอดจนการให้คําปรึกษา และโภชนศึกษา เพื่อให้มี ภาวะโภชนาการที่ดีและเหมาะสม 8.2 การฝึกปฏิบัติทางสุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัย เช่น การนํา คัดเลือกวัตถุดิบปลอดภัยจากชุมชน การเฝ้าระวังโรคอาหารและน้ําเป็นสื่อในชุมชน การส่งเสริมให้ความรู้ ด้านอาหารปลอดภัย เป็นต้น 8.3 การฝึกปฏิบัติการดัดแปลงอาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ เช่น การประยุกต์ใช้ วัตถุดิบโดยใช้หลักอาหารแลกเปลี่ยน ที่มีสารอาหารใกล้เคียงกัน ในการผลิตอาหารให้เหมาะสมกับโรค ตามบริบทหรือวิถีชีวิตในชุมชน เป็นต้น 8.4 การเฝ้าระวังทางโภชนาการชุมชนในเด็กอายุ 0 - 5 ปี 8.5 การฝึกปฏิบัติการอื่นในชุมชน เช่น วัด โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงงาน สถานดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง 4. สถาบันฝึกภาคปฏิบัติ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ สถาบันทางโภชนาการคลินิก มีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. มีงานด้านโภชนาการและการกําหนดอาหาร ได้แก่ การคัดกรอง
8 การวินิจฉัยปัญหาโภชนาการโดยประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วย วิเคราะห์และวางแผนการให้โภชนบําบัด การให้คําปรึกษา ติดตาม ประเมินผล ส่งเสริม และฟื้นฟูภาวะโภชนาการ 2. มีผู้รับบริการผู้ป่วยนอก และ / หรือผู้ป่วยใน 3. มีนักกําหนดอาหารที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบ โรคศิลปะสาขาการกําหนดอาหาร สถาบันฝึกปฏิบัติทางการบริหารจัดการงานบริการอาหาร มีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. มีงานการดัดแปลงอาหารเฉพาะโรค รวมถึงการให้อาหารทางสาย ให้อาหาร ให้เป็นไปตามแผนการรักษาเพื่อให้เหมาะสมกับโรคและภาวะโภชนาการ 2. มีงานด้านการควบคุมการผลิตอาหารผู้ป่วย ความปลอดภัยของ อาหาร และคุณภาพอาหารและการบริการ 3. มีงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรงานนโยบายและ วางแผนบุคลากร 4. มีนักกําหนดอาหารที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการกําหนดอาหาร สถานฝึกงานโภชนาการชุมชน มีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. มีงานด้านโภชนาการชุมชนสําหรับหญิงตั้งครรภ์ ทารก เด็ก และหญิง ให้นมบุตร ในการประเมินการบริโภคอาหาร ภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลง เมนูอาหาร ตลอดจนการให้คําปรึกษา และโภชนศึกษาแก่หญิงตั้งครรภ์ ทารก เด็ก และหญิงให้นมบุตร 2. มีงานด้านโภชนาการชุมชนสําหรับผู้สูงอายุ ในการประเมินการบริโภค อาหาร ภาวะโภชนาการความต้อง การสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหาร และการให้คําปรึกษา และ โภชนศึกษาแก่ผู้สูงอายุ 3. มีนักกําหนดอาหารที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขา การกําหนดอาหาร สถาบันฝึกปฏิบัติในสถาบันอื่น ๆ มีงานด้านโภชนาการชุมชนอื่น ๆ เช่น วัด โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงงาน สถานดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง 5. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต เป็นวิชาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ตามที่ตนเองถนัดหรือสนใจ โดยเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนเลือกรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรระดับปริญญาตรี 5. ระบบการดูแลนักศึกษา / ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา สถาบันการศึกษาที่มีความประสงค์จะจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาขาการกําหนดอาหาร ระดับบัณฑิตปริญญาหรือที่ศึกษากระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอก จะต้องจัดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบ ทําหน้าที่ดูแล สนับสนุนและพัฒนานักศึกษาทั้งในหลักสูตรและเสริมหลักสูตร โดยจัดให้มีอาจารย์ที่ปรึกษา ให้แก่นักศึกษาทุกคน เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการศึกษา ให้ความช่วยเหลือและป้องกันแก้ไขปัญหา การศึกษาและปัญหาอื่น ๆ อีกทั้งช่วยส่งเสริมเจตคติอันดีงามให้แก่นักศึกษา
9 6. อาคารสถานที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการกําหนดอาหารสําหรับการจัดการเรียน การสอนสวัสดิการและนันทนาการ 6.1 ด้านอาคารสถานที่ สวัสดิการและนันทนาการ สถาบันการศึกษาที่มีความประสงค์จะจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาขาการกําหนดอาหาร ระดับบัณฑิตปริญญาหรือที่ศึกษากระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอก จะต้องจัดเตรียมอาคารสถานที่ ห้องปฏิบัติการทางการกําหนดอาหาร และโสตทัศนูปกรณ์ให้พร้อมและเพียงพอสําหรับการจัดการเรียนการสอน รูปแบบต่าง ๆ ตามที่กําหนดไว้ในหลักสูตร ทั้งการสอนแบบบรรยายพร้อมกันทั้งชั้นเรียน การสอนแบบกลุ่มย่อย ฯลฯ 6.2 ด้านเครื่องมืออุปกรณ์ด้านการกําหนดอาหาร สถาบันการศึกษาที่มีความประสงค์จะจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาขาการกําหนดอาหาร ระดับบัณฑิตปริญญาหรือที่ศึกษากระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอก จะต้องจัดเตรียมเครื่องมือและ อุปกรณ์ทางการกําหนดอาหารให้มีสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้และเพียงพอสําหรับการจัดการเรียนการสอน โดยสถาบันการศึกษาต้องมีระบบการจัดเก็บที่มีคุณภาพ รวมทั้งต้องมีการทบทวนความเป็นปัจจุบันของเครื่องมือ และอุปกรณ์ดังกล่าว สถาบันต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้ - Food Model ที่ได้มาตรฐาน - kitchen area และเครื่องมืออุปกรณ์ที่จําเป็นในการประกอบอาหาร - เครื่องมือวัดความเค็ม เครื่องมือวัดน้ําตาลในอาหาร และ เครื่องมือวัด Polar ในน้ํามัน - เครื่องชั่งน้ําหนัก และวัดส่วนสูงของเด็กและผู้ใหญ่ - Caliper และสายวัด - เครื่องวัดความดันโลหิต - เครื่องวัดระดับน้ําตาลในเลือด (Blood Glucose Meter : BGM) - test kit ตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร - เครื่องมือคํานวณคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร หรือโปรแกรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการ และการกําหนดอาหาร - เครื่องทดสอบการไหลตามมาตรฐาน ของ IDDSI (IDDSI Flow Test) - เครื่องวัดความชื้นและอุณหภูมิ - เครื่องวัดองค์ประกอบของร่างกาย - เครื่องวัดแรงบีบมือ - แบบประเมินภาวะโภชนาการ - คู่มือรหัสวินิจฉัยปัญหาภาวะโภชนาการ นอกจากนี้ควรมีห้องประชุมขนาดใหญ่ที่สามารถจัดกิจกรรมร่วมกันทั้งกิจกรรมวิชาการและ กิจกรรมนักศึกษา จัดเตรียมสถานที่สําหรับสวัสดิการ สโมสรนักศึกษาสถานที่สําหรับกีฬาและนันทนาการให้เพียงพอ
10 7. ห้องสมุด สถาบันการศึกษาที่มีความประสงค์จะจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาขาการกําหนดอาหาร ระดับบัณฑิตปริญญาหรือที่ศึกษากระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอก จะต้องจัดเตรียมหนังสือ ตํารา วารสารและเอกสารวิชาการเฉพาะทางสาขาการกําหนดอาหารและที่เกี่ยวข้องกับวิชาต่าง ๆ ภายใต้หลักสูตร อย่างเพียงพอสําหรับนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในการศึกษาค้นคว้านอกเวลา โดยอ้างอิงตามประกาศ ทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ . ศ . 2544 มีห้องสมุด / สื่อสารสนเทศ ดังนี้ 7.1 หนังสือ ต้องมีตํารา วารสาร และทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสมและเพียงพอสําหรับนักศึกษา และอาจารย์ 7.2 สื่อสารสนเทศ ควรมีเครื่องคอมพิวเตอร์จัดไว้ในที่ต่าง ๆ ตามความเหมาะสมเพื่อให้นักศึกษาสามารถ ค้นข้อมูลความรู้จากฐานข้อมูลต่าง ๆ นอกจากนี้ควรจัดสรรพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อให้นักศึกษาได้ใช้เป็นที่อ่านหนังสือ ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง 8. การบริหารจัดการ สถาบันการศึกษาที่มีความประสงค์จะจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาขาการกําหนดอาหาร ระดับบัณฑิตปริญญาหรือที่ศึกษากระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอก จะต้องมีการบริหารจัดการ ตามเกณฑ์ สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตั้งแต่ก่อนเปิดดําเนินการ เช่น มีโครงสร้างองค์กรและ บุคลากรที่มีคุณวุฒิและจํานวนเหมาะสม สรรหาหัวหน้าหน่วยงานและทีมผู้บริหาร จัดทําแผนดําเนินการ ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีให้ชัดเจน และมีแผนการจัดสรรงบประมาณและมีแหล่งงบประมาณที่ชัดเจน เป็นต้น ในช่วงก่อนขอเปิดหลักสูตรและระยะเริ่มต้น ( ประมาณ 5 ปีแรก ) ทีมผู้บริหารควรศึกษา ดูงานการจัดการศึกษาจากมหาวิทยาลัย / สถาบันอุดมศึกษาอื่นที่ได้เปิดดําเนินการหลักสูตรสาขาการกําหนด อาหารหรือกระบวนการทางการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอกมาแล้ว เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอน การสนับสนุนและพัฒนาอาจารย์ในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านความรู้และทักษะ ในการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล รวมทั้งปัญหาอุปสรรค ตลอดจนแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ เพื่อให้การเปิดสอนตามหลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 9. การประเมินคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและการประเมินสถาบันการศึกษา สถาบันการศึกษาที่มีความประสงค์จะจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาขาการกําหนดอาหาร ระดับบัณฑิตปริญญาหรือที่ศึกษากระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอก จะต้องวางระบบการประเมิน คุณภาพการจัดการเรียนการสอนและการประเมินสถาบันไว้ชัดเจน และจัดให้มีการตรวจสอบและประเมิน คุณภาพภายในเป็นระยะ ๆ ทั้งนี้ เพื่อประกันคุณภาพของผลผลิต คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกําหนดอาหารทําหน้าที่ประเมินความพร้อมองค์ประกอบของ สถาบันการศึกษา เพื่อให้การรับรองสถาบัน และให้คําแนะนําในการพัฒนาสถาบันการศึกษา *********************************************************
11 ปริญญาโท 1. คุณสมบัติของสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาการกําหนดอาหาร สถาบันการศึกษาที่จะจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทสาขาการกําหนดอาหาร จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1 . 1 เป็นสถาบันการศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมรับรองรับรอง และมีการจัดการศึกษาระดับปริญญาโท และมีบรรยากาศทางวิชาการในสถานศึกษา ที่เป็นสังคมนักวิชาการ เพื่อเสริมสร้างคุณสมบัติในการใฝ่รู้ให้แก่นิสิต / นักศึกษา 1 . 2 สถาบันการศึกษามีหน่วยงานรับผิดชอบอย่างน้อยเทียบเท่าระดับสาขาวิชา 1 . 3 มีปณิธานมุ่งผลิตบัณฑิตสาขาการกําหนดอาหารที่มีความรู้ความสามารถและ คุณสมบัติสอดคล้องกับความต้องการและระบบสุขภาพของประเทศ 1 . 4 มีระบบบริหารที่ชัดเจนเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาให้บรรลุตามปณิธาน ได้แก่ การบริหารงานทั่วไป การบริหารการศึกษา เป็นต้น ระบบบริหารงานดังกล่าวให้ทําเป็นระเบียบของ สถาบันการศึกษาและประกาศให้ผู้เกี่ยวข้องทราบทั่วกัน 1 . 5 ในระยะเริ่มแรก สถาบันการศึกษาที่จะจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับ ปริญญาโทสาขาการกําหนดอาหาร ควรทําความตกลงกับสถาบันการศึกษาที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการ วิชาชีพสาขาการกําหนดอาหาร ให้ช่วยทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและช่วยเหลือ หรือเป็นสถาบันพี่เลี้ยง หมายเหตุ เกณฑ์ตามข้อ 1 . 1 – 1 . 4 ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ . ศ . 25 65 และแนวทาง การบริหารเกณฑ์มาตรฐานระดับบัณฑิตศึกษา พ . ศ . 2565 ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม 2. บุคลากรทางด้านอาจารย์ สถาบันการศึกษาที่จะจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทสาขาการกําหนดอาหาร จะต้องบริหารจัดการให้มีอาจารย์ ต้องมีอาจารย์ประจําหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้นจํานวน ไม่น้อยกว่า 5 คน นอกจากนี้อาจารย์ประจําหลักสูตรแต่ละหลักสูตรจะต้องทําหน้าที่เป็นอาจารย์ประจําตามที่ ระบุไว้ในหลักสูตรหนึ่งหลักสูตรใดเท่านั้น และต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 2.1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีจํานวนอย่างน้อย 3 คน มีคุณวุฒิปริญญาเอก หรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ําปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตําแหน่งรองศาสตราจารย์หรือเทียบเท่า และมีผลงาน ทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญาของตนเอง โดยเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับ การเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดํารงตําแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย 3 เรื่อง ในรอบ 5 ปีย้อนหลัง และอย่างน้อย 1 เรื่อง ต้องเป็นผลงานวิจัย กรณีมีการตกลงร่วมผลิตกับองค์กรภายนอก ต้องมีอาจารย์ประจําหลักสูตรจาก สถาบันอุดมศึกษาเจ้าของหลักสูตรนั้นเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อย 2 คน 2.2 อาจารย์ประจําหลักสูตร ต้องมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขา การกําหนดอาหาร และเป็นสมาชิกของสมาคมนักกําหนดอาหารแห่งประเทศไทย อย่างน้อย 2 คน มีคุณวุฒิขั้นต่ํา ปริญญาโทหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญาของตนเอง โดยเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดํารงตําแหน่ง ทางวิชาการอย่างน้อย 3 เรื่อง ในรอบ 5 ปีย้อนหลัง และอย่างน้อย 1 เรื่อง ต้องเป็นผลงานวิจัย
12 2.3 อาจารย์ผู้สอน ต้องเป็นอาจารย์ประจําหรืออาจารย์พิเศษที่มีคุณวุฒิขั้นต่ําปริญญาโท หรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือในสาขาวิชาของรายวิชาที่สอนและต้องมี ประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญาของตนเอง และ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดํารงตําแหน่ง ทางวิชาการ อย่างน้อย 1 เรื่อง ในรอบ 5 ปีย้อนหลัง 2.4 อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 2.4.1 อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ต้องเป็นอาจารย์ประจําหลักสูตร ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ําปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตําแหน่งรองศาสตราจารย์หรือ เทียบเท่า และมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญาของตนเอง โดยเป็นผลงาน ทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดํารงตําแหน่งทางวิชาการ อย่างน้อย 3 เรื่อง ในรอบ 5 ปีย้อนหลัง และอย่างน้อย 1 เรื่องต้องเป็นผลงานวิจัย 2.4.2 อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ( ถ้ามี ) ต้องมีคุณวุฒิและคุณสมบัติ ดังนี้ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมที่เป็นอาจารย์ประจําหลักสูตรหรืออาจารย์ ประจําหรือนักวิจัยประจําต้องมีคุณวุฒิและผลงานทางวิชาการเช่นเดียวกับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก สําหรับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกต้องมี คุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า และมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่มีชื่ออยู่ใน ฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 5 เรื่อง กรณีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ที่ไม่มีคุณวุฒิและผลงานทางวิชาการตามที่กําหนดข้างต้น ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์ โดยผ่านความเห็นชอบจาก สภาสถาบันอุดมศึกษาแห่งนั้น 2.5 อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ต้องประกอบด้วยอาจารย์ประจําหลักสูตรและ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันอุดมศึกษา โดยอาจมีอาจารย์ประจําหรือนักวิจัยประจําร่วมเป็นผู้สอบด้วย รวมไม่น้อยกว่า 3 คน ทั้งนี้ ประธานกรรมการสอบต้องไม่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักหรืออาจารย์ ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม โดยอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ต้องมีคุณวุฒิ คุณสมบัติ และผลงานทางวิชาการ 2 .6 การพัฒนาอาจารย์ สถาบันการศึกษาที่จะจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับปริญ ญำโท สาขาการกําหนดอาหาร จะต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบ จัดทําแผนหรือโครงการที่ชัดเจน เพื่อพัฒนาอาจารย์ ทั้งทางด้านวิชาการ วิจัย และการจัดการเรียนการสอน 3. คุณสมบัติของนิสิต / นักศึกษา ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ . ศ . 2565 และให้มี กระบวนการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษา ผู้เข้าศึกษาต้องสําเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีสาขาการกําหนด อาหาร หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยต้องศึกษารายวิชาการกําหนดอาหารอย่างน้อย 9 หน่วยกิต 4. หลักสูตร สถาบันการศึกษาที่จะจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทสาขาการกําหนดอาหาร ต้องจัดทําหลักสูตร ดังนี้
13 4. 1 ปรัชญาและวัตถุประสงค์การศึกษา สถาบันการศึกษาต้องกําหนดปรัชญาและวัตถุประสงค์การศึกษาของหลักสูตร สาขาการกําหนดอาหารต้องสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบโรคศิลปะ เกณฑ์มาตรฐาน หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ . ศ . 2565 และปรัชญาของสถาบันการศึกษา 4. 2 โครงสร้างหลักสูตร เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการศึกษางานรายวิชา ซึ่งประกอบด้วยรายวิชาบังคับ รายวิชาเลือก และการทําวิทยานิพนธ์ องค์ประกอบของหลักสูตร ระยะเวลาศึกษา 2 ปี ไม่เกิน 5 ปี จํานวนหน่วยกิต ตลอดหลักสูตรไม่ต่ํากว่า 36 หน่วยกิต โดยวิชาเฉพาะสาขาการกําหนดอาหารควรมีกรอบ เนื้อหาครอบคลุม ดังต่อไปนี้ ผู้เรียนต้องมีองค์ความรู้ในรายวิชา ดังนี้ - หลักการประเมินโภชนาการ (Principles of Nutrition Assessment) - โภชนาการเบื้องต้นและการกําหนดอาหาร (Introductory Nutrition and Dietetics) - การบริหารจัดการการบริการอาหาร (Food service system management) - สัมมนาโภชนาการและการกําหนดอาหาร (Seminar in Nutrition and Dietetics) - โภชนบําบัดทางการแพทย์ (Medical Nutrition Therapy) - โภชนาการประยุกต์ตลอดช่วงชีวิต - ระเบียบวิธีวิจัยและชีวสถิติทางโภชนาการและการกําหนดอาหาร (Research Methodology and Biostatistics in Nutrition and Dietetics) - การสื่อสารและให้คําปรึกษาด้านโภชนาการสําหรับนักกําหนดอาหาร (Nutrition Communication and Counseling for Dietitians) - จรรยาบรรณและจริยธรรมวิชาชีพการกําหนดอาหาร / กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบ โรคศิลปะ (Ethical and Legal Issues in DIETETICS) หมวด กรอบเนื้อหาวิชา การจัดระบบการให้บริการ อาหาร (Food service system management) แนวทางเชิงระบบในองค์กรบริการอาหาร จริยธรรมในการจัดการบริการอาหาร การออกแบบองค์กรบริการอาหาร การจัดการทรัพยากรมนุษย์และการเงิน การวางแผนเมนู การพัฒนาสูตรและมาตรฐาน ความปลอดภัยด้านอาหารและ สุขอนามัย การผลิตอาหารเชิงปริมาณ การผลิตควบคุมคุณภาพ หลักการทางโภชนาการ และการกําหนดอาหารขั้นสูง (Advanced Nutrition and Dietetics) หลักการทางโภชนาการและการกําหนดอาหารเพื่อการป้องกันและบําบัด โดยทราบหลักแนวคิด / ทฤษฎี และวิธีการ ดังต่อไปนี้ - การคัดกรองปัญหาโภชนาการ ประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วย วิเคราะห์ วินิจฉัย และวางแผนการให้โภชนบําบัด - การให้คําปรึกษา ติดตาม ประเมินผล ส่งเสริม และฟื้นฟูภาวะโภชนาการ - การดัดแปลงอาหารเฉพาะโรคให้เป็นไปตามแผนการรักษาเพื่อให้เหมาะสมกับโรค และภาวะโภชนาการ - การให้อาหารทางหลอดเลือดดําและทางเดินอาหาร
14 หมวด กรอบเนื้อหาวิชา การให้โภชนศึกษาและ คําปรึกษาทางด้านโภชนาการ (Nutrition education and nutrition counseling) หลักการสื่อสารโภชนาการ การศึกษา และทักษะการให้คําปรึกษาสําหรับ นักกําหนดอาหาร การสื่อสารความเสี่ยง ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและ การประยุกต์ใช้ในการสื่อสารและการให้คําปรึกษาด้านโภชนาการ การเคารพ ความหลากหลายของมนุษย์ในการสื่อสารในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน การสร้าง ความสัมพันธ์และเสริมพลังในการให้คําปรึกษาที่มีประสิทธิภาพ จริยธรรมในการ สื่อสารและการให้คําปรึกษาด้านโภชนาการ สถานการณ์จําลองในการสื่อสารและ การให้คําปรึกษาด้านโภชนาการ การบําบัดทางและการฟื้นฟู สมรรถภาพทางโภชนาการ (Dietetic Treatment and Rehabilitation) วิธีการแก้ไขปัญหาทางโภชนาการโดยวิธีต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับปัญหา และ สภาพทางสังคมไทยศึกษาผ่านประสบการณ์จากการดูตัวอย่าง การแก้ปัญหาและ ได้ร่วมแก้ไขปัญหาทางโภชนาการและพฤติกรรมของผู้ป่วย และผู้มีปัญหาโภชนาการ ต่าง ๆ ซึ่งใช้แนวคิดและเทคนิควิธีการบําบัดทางการกําหนดอาหาร รวมถึงการฟื้นฟู สมรรถภาพทางโภชนาการ โดยคํานึงถึงจรรยาบรรณในการบําบัด การประยุกต์การกําหนด อาหารเข้าสู่ชุมชนขั้นสูง (Advanced Application of Dietietics for Community) การฝึกปฏิบัติการประเมินปัญหาโภชนาการและสุขภาพและแนวโน้มของ ประชากรเป้าหมายในชุมชน วางแผน ดําเนินการ และประเมินผลโครงการโภชนาการ สาธารณสุขชุมชน เลือกและ / หรือพัฒนาสื่อการเรียนรู้โภชนาการและแนวทาง ที่เหมาะสมสําหรับบุคคลหรือประชากรเป้าหมาย การวิจัยและการสัมมนา ทางการกําหนดอาหาร (Research and Seminar in Dietetics) การวิจัยทางการกําหนดอาหาร ( Research Methodology in Dietetics) วิธีดําเนินการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทางการกําหนดอาหาร ธรรมชาติและแนวคิดเกี่ยวกับ ขบวนการวิจัยที่เป็นวิทยาศาสตร์ ทบทวนสถิติพื้นฐานและสถิติขั้นสูงสําหรับการวิจัย ทางการกําหนดอาหาร แนวคิดในด้านการวัด สถิติเชิงบรรยาย แนวคิดเกี่ยวกับสถิติ เชิงอ้างอิง การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดกระทําข้อมูล และจริยธรรมการวิจัยเชิงการ กําหนดอาหาร ระเบียบวิธีวิจัย ศึกษาวิธีวิจัยทางการกําหนดอาหาร วิธีการเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ รวมถึงวิธีสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการเก็บรวบรวม การวิเคราะห์ข้อมูล แปลความหมาย และการเขียนรายงานการวิจัย สัมมนาด้านการกําหนดอาหาร (Seminar in Dietetics) สภาพปัญหาและ สังคมปัจจุบัน การพัฒนาวิชาชีพ การจัดสัมมนา การเป็นวิทยากร การนําเสนอ การร่วม อภิปราย โดยใช้การประสานองค์ความรู้ เชิงการกําหนดอาหารกับกระบวนการจัดการ การสัมมนาทางการกําหนดอาหารประยุกต์ (Seminar in Applied Dietetics) สัมมนาโดยเลือกทฤษฎีทางการกําหนดอาหารและงานวิจัยเฉพาะปัญหาหนึ่ง โดยอาจจะเลือกหัวข้อทางด้านการศึกษาโภชนาการและการกําหนดอาหาร การบริการ สังคมหรือชุมชนและอุตสาหกรรม
15 หมวด กรอบเนื้อหาวิชา จรรยาบรรณและจริยธรรม วิชาชีพการกําหนดอาหาร / กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การประกอบโรคศิลปะ (Ethical and Legal Issues Related to Dietetics Profession) จรรยาบรรณวิชาชีพกําหนดอาหาร ด้านการบริการโภชนาการแก่ ผู้รับบริการ ชุมชน ค่านิยม เจตคติที่เหมาะสม บทบาทและการทํางานร่วมกับ บุคลากรด้านโภชนาการ ด้านการทําวิจัย ความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การประกอบโรคศิลปะสาขาการกําหนดอาหาร และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ การฝึกปฏิบัติ (Practicum) การฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการการบําบัดทางการกําหนดอาหาร การฟื้นฟู สมรรถภาพ และการประยุกต์ความรู้ทางการกําหนดอาหารเข้าสู่ชุมชนและศาสตร์อื่น ที่เกี่ยวข้อง วิทยานิพนธ์ (Thesis) การกําหนดหัวข้อวิจัยทางการกําหนดอาหาร การออกแบบวิธีการวิจัย การดําเนินการวิจัยอย่างมีจริยธรรม การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผล จริยธรรมการวิจัย และการนําผลงานวิจัยมาเรียบเรียงเป็นวิทยานิพนธ์ การนําเสนอรายงานวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์ ทางวิชาการที่เป็นมาตรฐานหรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการ ตามจริยธรรมการเผยแพร่ ผลงานวิชาการ วิทยานิพนธ์ ปฏิบัติการค้นคว้าวิจัยเฉพาะเรื่องเกี่ยวข้องกับการกําหนด อาหาร เพื่อค้นพบแนวคิดแนวทางใหม่ และองค์ความรู้ใหม่เขียนและเรียบเรียง วิทยานิพนธ์ ตามเค้าโครงที่เสนอในความควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษาและกรรมการ วิทยานิพนธ์ หมายเหตุ 1. คณะกรรมการหลักสูตรของสถาบันการศึกษาอาจพิจารณาเพิ่มรายวิชาได้ตามความเหมาะสม 2. ชื่อรายวิชาอาจไม่ตรงกับชื่อที่ระบุไว้ในเนื้อหาวิชาได้ หมวดการฝึกงานทางโภชนาการและการกําหนดอาหารเบื้องต้น ไม่ต่ํากว่า 900 ชั่วโมง ( สําหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานปริญญาตรีทางด้านการกําหนดอาหาร ) โดยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 1. การฝึกงานภาคบังคับ 600 ชั่วโมง ดังนี้ ทางด้านการบริหารจัดการงานบริการอาหารในสถาบัน (150 ชั่วโมง ) ฝึกปฏิบัติการจัดบริการอาหารในโรงพยาบาล สถานบําบัด หรือหน่วยงานต่าง ๆ โดยนําทักษะที่ได้เรียนมาใช้ในสถานการณ์จริง เช่น การวางแผนในการผลิตอาหาร โดยมีงบประมาณจํากัด การควบคุมการผลิตการสั่งซื้อและการเลือกวัตถุดิบการบริหารบุคคลการติดต่อประสานงานตลอดจน การจัดบริการอาหารต่าง ๆ ทางด้านโภชนคลินิก (300 ชั่วโมง ) 1. การปฏิบัติทางโภชนาการคลินิกสําหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ฝึกปฏิบัติวิชาชีพในโรงพยาบาลสําหรับการให้บริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และผู้มีภาวะน้ําหนักเกิน โดยเน้นการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการบริโภคอาหารและ / หรือร่วมกับการใช้ยาในการควบคุมโรค การดัดแปลงเมนูอาหารเฉพาะโรค ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล การประเมินภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหาร เฉพาะโรค ตลอดจนการให้คําปรึกษาทางโภชนาการกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องกลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
16 2. การปฏิบัติทางโภชนาการคลินิกสําหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในการประเมินภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหารเฉพาะโรค ตลอดจนการให้คําปรึกษาทางโภชนาการกับกลุ่มเสี่ยง ผู้เป็นโรคไตเรื้อรัง ในระยะต่าง ๆ การบําบัดทดแทนไต และการเปลี่ยนไต 3. การปฏิบัติทางโภชนาการคลินิกในผู้ป่วยกลุ่มโรคอื่น ๆ การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในการประเมิน ภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหารเฉพาะโรค การให้อาหารทางสายให้อาหารและทางหลอดเลือดดํา ตลอดจนการให้ คําปรึกษาทางโภชนบําบัดกับผู้ป่วยกลุ่มโรคอื่น ๆ เช่น มะเร็ง ผู้ป่วยโรคทางเดินอาหาร ผู้ป่วยวิกฤต เป็นต้น ที่มีระดับความรุนแรงแตกต่างกันตลอดจนการพิจารณาให้การดูแลทางโภชนาการและการกําหนดอาหาร ที่เหมาะสม ทางด้านโภชนาการชุมชน (150 ชั่วโมง ) 1. การปฏิบัติทางโภชนาการชุมชนสําหรับหญิงตั้งครรภ์ ทารก เด็ก และหญิง ให้นมบุตร การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในการประเมินการบริโภคอาหาร ภาวะโภชนาการ ความต้องการ สารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหาร ตลอดจนการให้คําปรึกษา และโภชนศึกษาแก่หญิงตั้งครรภ์ ทารก เด็ก และหญิงให้นมบุตร เพื่อให้มีภาวะโภชนาการที่ดีและเหมาะสม 2. การปฏิบัติทางโภชนาการชุมชนสําหรับผู้สูงอายุ การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในการประเมินการบริโภคอาหาร ภาวะโภชนาการความต้อง การ สารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหาร และการให้คําปรึกษา และโภชนศึกษาแก่ผู้สูงอายุเพื่อให้มีภาวะ โภชนาการที่ดีและเหมาะสม ตลอดจนการคํานึงถึงปัญหาทางสุขภาพอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาวะการกลืนลําบาก ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย เป็นต้น 2. การฝึกปฏิบัติตามความสนใจของนักศึกษา บริบทของพื้นที่ และหลักสูตร (300 ชั่วโมง ) ดังนี้ 1. การปฏิบัติทางโภชนาการคลินิกสําหรับผู้ป่วยเบาหวานและการควบคุม น้ําหนัก ฝึกปฏิบัติวิชาชีพในโรงพยาบาลสําหรับการให้บริการผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วย ที่ต้องควบคุมน้ําหนัก โดยเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและ / หรือร่วมกับการใช้ยาในการ ควบคุมโรค การดัดแปลงเมนูอาหารเฉพาะโรคให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล การประเมินภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหารเฉพาะโรค ตลอดจนการให้คําปรึกษาทางโภชนาการกับ ผู้ที่มีปัญหาเรื่องกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วยที่ต้องควบคุมน้ําหนัก 2. การปฏิบัติทางโภชนาการคลินิกสําหรับผู้ป่วยไขมันในเลือดสูงและโรคหัวใจ และหลอดเลือด การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในการประเมินภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหารเฉพาะโรค ตลอดจนการให้คําปรึกษาทางโภชนาการกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องกลุ่มเสี่ยง ไขมัน ในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือดในโรงพยาบาลหรือสถานบําบัดต่าง ๆ 3. การปฏิบัติทางโภชนาการคลินิกสําหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในการประเมินภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหารเฉพาะโรค ตลอดจนการให้คําปรึกษาทางโภชนาการกับกลุ่มเสี่ยง ผู้เป็นโรคไตเรื้อรัง ในระยะต่าง ๆ การบําบัดทดแทนไต และการเปลี่ยนไต
17 4. การปฏิบัติทางโภชนาการคลินิกสําหรับผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหารและ โรคตับ การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในการประเมินภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ ในผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหารต่าง ๆ ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยและดูดซึมและผู้ป่วยโรคตับ ตลอดจนการ พิจารณาให้การดูแลทางโภชนาการที่เหมาะสมทั้งในด้านให้อาหารทางสายให้อาหารและอาหารทางหลอดเลือดดํา กับผู้ป่วย 5. การปฏิบัติทางโภชนาการคลินิกสําหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในการประเมิน ภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหารเฉพาะโรค ตลอดจนการให้คําปรึกษาทางโภชนาการกับผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ที่มีระดับความรุนแรงแตกต่างกันตลอดจนการพิจารณาให้การดูแลทางโภชนาการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ การรักษามะเร็งโดยวิธีเคมีบําบัดและ / หรือการฉายแสง 6. การปฏิบัติทางโภชนาการคลินิกในกลุ่มโรคอื่น ๆ การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในการประเมิน ภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหารเฉพาะโรค ตลอดจนการให้คําปรึกษาทางโภชนาการกับผู้ป่วยกลุ่มโรคอื่น ๆ ตลอดจน การพิจารณาให้การดูแลทางโภชนาการที่ถูกต้องและเหมาะสม 7. ทางด้านการบริหารจัดการงานบริการอาหารในสถาบัน ฝึกปฏิบัติการจัดบริการอาหารในโรงพยาบาล สถานบําบัด หรือหน่วยงานต่าง ๆ โดยนําทักษะที่ได้เรียนมาใช้ในสถานการณ์จริง เช่น การวางแผนในการผลิตอาหาร โดยมีงบประมาณจํากัด การควบคุมการผลิตการสั่งซื้อและการเลือกวัตถุดิบการบริหารบุคคลการติดต่อประสานงานตลอดจน การจัดบริการอาหารต่าง ๆ 8. ทางด้านโภชนาการชุมชน 8.1 การปฏิบัติทางโภชนาการชุมชน การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในการประเมินการบริโภคอาหาร ภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหาร ตลอดจนการให้คําปรึกษา และโภชนศึกษา เพื่อให้มี ภาวะโภชนาการที่ดีและเหมาะสม 8.2 การฝึกปฏิบัติทางสุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัย เช่น การนํา คัดเลือกวัตถุดิบปลอดภัยจากชุมชน การเฝ้าระวังโรคอาหารและน้ําเป็นสื่อในชุมชน การส่งเสริมให้ความรู้ด้าน อาหารปลอดภัย เป็นต้น 8.3 การฝึกปฏิบัติการดัดแปลงอาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ เช่น การประยุกต์ใช้ วัตถุดิบโดยใช้หลักอาหารแลกเปลี่ยน ที่มีสารอาหารใกล้เคียงกัน ในการผลิตอาหารให้เหมาะสมกับโรค ตามบริบทหรือวิถีชีวิตในชุมชน เป็นต้น 8.4 การเฝ้าระวังทางโภชนาการชุมชนในเด็กอายุ 0 - 5 ปี 8.5 การฝึกปฏิบัติการอื่นในชุมชน เช่น วัด โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงงาน สถานดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง
18 สถาบันฝึกภาคปฏิบัติ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ สถาบันทางโภชนาการคลินิก มีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. มีงานด้านโภชนาการและการกําหนดอาหาร ได้แก่ การคัดกรอง การวินิจฉัยปัญหาโภชนาการโดยประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วย วิเคราะห์และวางแผนการให้โภชนบําบัด การให้คําปรึกษา ติดตาม ประเมินผล ส่งเสริม และฟื้นฟูภาวะโภชนาการ 2. มีผู้รับบริการผู้ป่วยนอก และ / หรือผู้ป่วยใน 3. มีนักกําหนดอาหารที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบ โรคศิลปะสาขาการกําหนดอาหาร สถาบันฝึกปฏิบัติทางการบริหารจัดการงานบริการอาหาร มีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. มีงานการดัดแปลงอาหารเฉพาะโรค รวมถึงการให้อาหารทางสาย ให้อาหาร ให้เป็นไปตามแผนการรักษาเพื่อให้เหมาะสมกับโรคและภาวะโภชนาการ 2. มีงานด้านการควบคุมการผลิตอาหารผู้ป่วย ความปลอดภัยของ อาหาร และคุณภาพอาหารและการบริการ 3. มีงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรงานนโยบายและ วางแผนบุคลากร 4. มีนักกําหนดอาหารที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการกําหนดอาหาร สถานฝึกงานโภชนาการชุมชน มีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. มีงานด้านโภชนาการชุมชนสําหรับหญิงตั้งครรภ์ ทารก เด็ก และหญิง ให้นมบุตร ในการประเมินการบริโภคอาหาร ภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลง เมนูอาหาร ตลอดจนการให้คําปรึกษา และโภชนศึกษาแก่หญิงตั้งครรภ์ ทารก เด็ก และหญิงให้นมบุตร 2. มีงานด้านโภชนาการชุมชนสําหรับผู้สูงอายุ ในการประเมินการบริโภค อาหาร ภาวะโภชนาการความต้อง การสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหาร และการให้คําปรึกษา และโภชนศึกษาแก่ผู้สูงอายุ 3. มีนักกําหนดอาหารที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขา การกําหนดอาหาร สถาบันฝึกปฏิบัติในสถาบันอื่น ๆ 1. มีงานด้านโภชนาการชุมชนอื่น ๆ เช่น วัด โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงงาน สถานดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง 5. ระบบการดูแลนักศึกษา / ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา สถาบันการศึกษาที่จะจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทสาขาการกําหนด อาหารจะต้องจัดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบทําหน้าที่ดูแล สนับสนุนและพัฒนานักศึกษาทั้งในหลักสูตรและ เสริมหลักสูตร โดยจัดให้มีอาจารย์ที่ปรึกษาให้แก่นักศึกษาทุกคน เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการศึกษา ให้ความช่วยเหลือและป้องกันแก้ไขปัญหาการศึกษาและปัญหาอื่น ๆ อีกทั้งช่วยส่งเสริมเจตคติอันดีงาม ให้แก่นักศึกษา
19 6. อาคารสถานที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ ทางการกําหนดอาหาร สําหรับการจัดการเรียน การสอนสวัสดิการและนันทนาการ 6.1 ด้านอาคารสถานที่ สวัสดิการและนันทนาการ สถาบันการศึกษาที่มีความประสงค์จะจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาขาการกําหนดอาหาร ระดับบัณฑิตปริญญาหรือที่ศึกษากระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอก จะต้องจัดเตรียมอาคารสถานที่ ห้องปฏิบัติการทางการกําหนดอาหาร ห้องให้การปรึกษา และโสตทัศนูปกรณ์ให้พร้อมและเพียงพอสําหรับ การจัดการเรียนการสอนรูปแบบต่าง ๆ ตามที่กําหนดไว้ในหลักสูตร ทั้งการสอนแบบบรรยายพร้อมกันทั้งชั้นเรียน การสอนแบบกลุ่มย่อย ฯลฯ 6.2 ด้านเครื่องมืออุปกรณ์ด้านการกําหนดอาหาร สถาบันการศึกษาที่มีความประสงค์จะจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาขาการกําหนดอาหาร ระดับบัณฑิตปริญญาหรือที่ศึกษากระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอก จะต้องจัดเตรียมเครื่องมือและ อุปกรณ์ทางการกําหนดอาหารให้มีสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้และเพียงพอสําหรับการจัดการเรียน การสอน โดยสถาบันการศึกษาต้องมีระบบการจัดเก็บที่มีคุณภาพ รวมทั้งต้องมีการทบทวนความเป็นปัจจุบันของเครื่องมือ และอุปกรณ์ดังกล่าว สถาบันต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้ - Food Model ที่ได้มาตรฐาน - kitchen area และเครื่องมืออุปกรณ์ที่จําเป็นในการประกอบอาหาร - เครื่องมือวัดความเค็ม เครื่องมือวัดน้ําตาลในอาหาร และ เครื่องมือวัด Polar ในน้ํามัน - เครื่องชั่งน้ําหนัก และวัดส่วนสูงของเด็กและผู้ใหญ่ - Caliper และสายวัด - เครื่องวัดความดันโลหิต - เครื่องวัดระดับน้ําตาลในเลือด (Blood Glucose Meter : BGM) - test kit ตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร - เครื่องมือคํานวณคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร หรือโปรแกรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการ และการกําหนดอาหาร - เครื่องทดสอบการไหลตามมาตรฐาน ของ IDDSI (IDDSI Flow Test) - เครื่องวัดความชื้นและอุณหภูมิ - เครื่องวัดองค์ประกอบของร่างกาย - เครื่องวัดแรงบีบมือ - แบบประเมินภาวะโภชนาการ - คู่มือรหัสวินิจฉัยปัญหาภาวะโภชนาการ นอกจากนี้ควรมีห้องประชุมขนาดใหญ่ที่สามารถจัดกิจกรรมร่วมกันทั้งกิจกรรมวิชาการและ กิจกรรมนักศึกษา จัดเตรียมสถานที่สําหรับสวัสดิการ สโมสรนักศึกษาสถานที่สําหรับกีฬาและนันทนาการให้เพียงพอ 7. ห้องสมุด สถาบันการศึกษาที่มีความประสงค์จะจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาโทสาขาการกําหนด อาหารจะต้องจัดเตรียมหนังสือ ตํารา วารสาร และเอกสารวิชาการเฉพาะทางสาขาการกําหนดอาหาร และ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาต่าง ๆ ภายใต้หลักสูตรอย่างเพียงพอสําหรับนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในการศึกษาค้นคว้า นอกเวลา โดยอ้างอิงตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ . ศ . 2544 มีห้องสมุด / สื่อสารสนเทศ ดังนี้
20 7.1 หนังสือ ต้องมีตํารา วารสาร และทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสมและเพียงพอสําหรับนักศึกษา และอาจารย์ 7.2 สื่อสารสนเทศ ควรมีเครื่องคอมพิวเตอร์จัดไว้ในที่ต่าง ๆ ตามความเหมาะสมเพื่อให้นักศึกษาสามารถ ค้นข้อมูลความรู้จากฐานข้อมูลต่าง ๆ นอกจากนี้ควรจัดสรรพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อให้นักศึกษาได้ใช้เป็นที่อ่านหนังสือ ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง 8. การบริหารจัดการ สถาบันการศึกษาที่มีความประสงค์จะจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาการกําหนดอาหาร จะต้องมีการบริหารจัดการตามเกณฑ์ สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตั้งแต่ก่อน เปิดดําเนินการ เช่น มีโครงสร้างองค์กรและบุคลากรที่มีคุณวุฒิและจํานวนเหมาะสม สรรหาหัวหน้าหน่วยงาน และทีมผู้บริหาร จัดทําแผนดําเนินการระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีให้ชัดเจน และมีแผนการจัดสรรงบประมาณและ มีแหล่งงบประมาณที่ชัดเจน เป็นต้น ในช่วงก่อนขอเปิดหลักสูตรและระยะเริ่มต้น ( ประมาณ 5 ปีแรก ) ทีมผู้บริหารควรศึกษา ดูงานการจัดการศึกษาจากสถาบันการศึกษาอื่นที่ได้เปิดดําเนินการหลักสูตรระดับปริญญาโทสาขาการกําหนด อาหารมาแล้ว เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอน การสนับสนุนและพัฒนาอาจารย์ ในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านความรู้และทักษะในการจัดการเรียน การสอนและการประเมินผล รวมทั้งปัญหา อุปสรรคตลอดจนแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ เพื่อให้การเปิดสอนตามหลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 9. การประเมินคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและการประเมินสถาบันการศึกษา สถาบันการศึกษาที่มีความประสงค์จะจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาขาการกําหนดอาหาร ระดับปริญญาโท จะต้องวางระบบการประเมินคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและการประเมินสถาบันไว้ชัดเจน และจัดให้มีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพภายในเป็นระยะ ๆ ทั้งนี้ เพื่อประกันคุณภาพของผลผลิต คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกําหนดอาหารทําหน้าที่ประเมินความพร้อมองค์ประกอบของ สถาบันการศึกษา เพื่อให้การรับรองสถาบัน และให้คําแนะนําในการพัฒนาสถาบันการศึกษา *********************************************************
21 ขั้นตอนการรับรองสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนสาขาการกําหนดอาหาร คณะอนุกรรมการฯพิจารณา ผลการประเมิน สถาบันการศึกษา ิ สถาบันการศึกษา แก้ไขปรับปรุงตามคําแนะนํา ไม่เห็นชอบ ไม่รับรอง คณะกรรมการวิชาชีพ พิจารณารับรอง คณะอนุกรรมการฯ รายงานผลการประเมิน ต่อ คณะกรรมการวิชาชีพฯ เห็นชอบ สถาบันการศึกษาที่จัดการศึกษาสาขาการกําหนดอาหาร เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการวิชาชีพฯ ออกหนังสือรับรองสถาบันการศึกษา ที่จัดการเรียนการสอนในสาขาการกําหนดอาหาร รับรอง คณะอนุกรรมการวิชาชีพฯ ติดตามการดําเนินการของ สถาบันการศึกษา ที่ได้รับการรับรองเพื่อให้คําแนะนําในการ พัฒนาสถาบันการศึกษา สถาบันการศึกษาเสนอขอประเมิน อย่างต่อเนื่องทุก 5 ปี คณะกรรมการวิชาชีพ พิจารณาคําขอฯ ไ ม่รับคําขอฯ คณะอนุกรรมการฯตรวจประเมินสถาบันฯ ดําเนินการ ตรวจประเมินสถาบันการศึกษา ร ั บคําขอฯ
แบบประเมินการรับรองสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอน หลักสูตรระดับบัณฑิตปริญญาสาขาการกําหนดอาหารหรือที่ศึกษากระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอก ( ปริญญาตรี ) ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกฤษฎีกากําหนดให้สาขาการกําหนดอาหารเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ พ . ศ . 2563 กําหนดให้ผู้ขอ ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการกําหนดอาหารต้องมีความรู้ในวิชาชีพคือเป็นผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่า ปริญญาสาขาการกําหนดอาหารจากสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกําหนดอาหารรับรอง คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกําหนดอาหาร จึงได้กําหนดเกณฑ์มาตรฐานการรับรองสถาบันการศึกษาที่จัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาการกําหนดอาหาร พร้อมทั้งกําหนดให้มีการประเมิน ตามเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อให้การรับรองสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาสาขาการกําหนดอาหารหรือที่ศึกษา กระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอก อันจะส่งผลโดยตรงต่อการควบคุมคุณภาพของผู้ที่จะสําเร็จการศึกษาในสาขาการกําหนดอาหาร ซึ่งจะขอ ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ รวมทั้งเพื่อคุ้มครองประชาชนผู้ใช้บริการให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพในระดับเป็นที่ยอมรับได้ทั่วไปในสังคม คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกําหนดอาหาร จึงเห็นสมควรดําเนินการ ดังนี้ 1 . พิจารณาให้การรับรองสถาบันการศึกษา ในการเปิดดําเนินการสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาสาขาการกําหนดอาหาร หรือที่ศึกษา กระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอก ( ทั้งในกรณีสถาบันใหม่หรือสถาบันที่เปิดการสอนก่อนกฎหมายประกาศใช้ ) 2 . พิจารณาให้ความเห็นชอบหลักสูตรการกําหนดอาหาร ( ทั้งในกรณีสถาบันใหม่หรือสถาบันที่เปิดการสอนก่อนกฎหมายประกาศใช้ ) 3 . พิจารณาให้การรับรองโรงพยาบาล หรือองค์กรที่ให้การฝึกปฏิบัติงานด้านการกําหนดอาหาร
2 แบบประเมินการรับรองสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตปริญญา สาขาการกําหนดอาหารหรือที่ศึกษากระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอก ( ปริญญาตรี ) คณะ … ชื่อสถาบันการศึกษา … วัน เดือน ปี ที่ประเมิน … ให้สถาบันการศึกษาประเมินตนเองโดยทําเครื่องหมาย ลงใน (…) ถ้ามีองค์ประกอบนั้น ๆ องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม 1 . คุณสมบัติของมหาวิทยาลัย / สถาบันอุดมศึกษา ข้อ 1 . 1 - 1 . 4 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ประกันคุณภาพของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (…) 1 . 1 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง (…) 1 . 2 มีหน่วยงานรับผิดชอบอย่างน้อยเทียบเท่าระดับสาขาวิชา ดําเนินการ (…) 1 . 3 มีปณิธานมุ่งผลิตบัณฑิตสาขาการกําหนดอาหารที่มีความรู้ความสามารถ และ คุณสมบัติสอดคล้องกับความต้องการและระบบสุขภาพของประเทศ (…) 1 . 4 มีระบบบริหารที่ชัดเจน เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ (…) 1 . 5 กรณีเป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดใหม่ และจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาขา การกําหนดอาหารต้องมีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรกับสถาบันการศึกษาที่ผ่าน การรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกําหนดอาหาร ให้ช่วยทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษา / ช่วยเหลือหรือเป็นสถาบันพี่เลี้ยง
3 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม 2 . คุณสมบัติและจํานวนอาจารย์ประจํา (…) 2 . 1 อัตราส่วนอาจารย์ที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอก : ปริญญาโท : ปริญญาตรีให้ เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (…) * 2 . 2 อัตราส่วนอาจารย์ : นักศึกษา = 1 : 15 ตามเกณฑ์ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (…) * 2 .3 อาจารย์ประจําหลักสูตรการกําหนดอาหารหรือที่ศึกษากระบวนวิชาการกําหนด อาหารเป็นวิชาเอก ต้องมีคุณวุฒิขั้นต่ําปริญญาโทหรือเทียบเท่า และต้องมีใบอนุญาตเป็น ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการกําหนดอาหาร เป็นสมาชิกของสมาคมนักกําหนดอาหาร แห่งประเทศไทย อย่างน้อย 2 คน และต้องมีอาจารย์ประจําปฏิบัติงานเต็มเวลาอย่างน้อย 2 คน เพื่อทําหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารหลักสูตร ต้องทําหน้าที่ประเมินและปรับปรุง พัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งคอยติดตามและให้คําปรึกษาทางวิชาการ แก่นักศึกษา ตลอดจนการคัดเลือกอาจารย์พิเศษที่จะเชิญมาช่วยสอนให้เหมาะสมกับ เนื้อหาและวิธีการสอนที่กําหนด (…) 2 .4 การพัฒนาอาจารย์ สถาบันการศึกษาที่จะจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับบัณฑิต ปริญญาสาขาการกําหนดอาหารหรือที่ศึกษากระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอก จะต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบ จัดทําแผน หรือโครงการที่ชัดเจน เพื่อพัฒนาอาจารย์ ทั้งทางด้านวิชาการ วิจัย และการจัดการเรียนการสอน 3 . คุณสมบัติของนิสิต / นักศึกษา (…) เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ . ศ . 2565
4 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม 4. หลักสูตร (…) (…) * โครงสร้างหลักสูตร - องค์ประกอบของหลักสูตร ระยะเวลาศึกษา 4 ปี - จํานวนหน่วยกิต ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต ประกอบด้วย 4 หมวดวิชา - หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต - หมวดวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต - หมวดการฝึกงานทางโภชนาการและการกําหนดอาหารเบื้องต้น ไม่ต่ํากว่า 900 ชั่วโมง หรือไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต - หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต กรอบเนื้อหาวิชา (…) (…) (…) * หมวดวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต วิชาพื้นฐานด้านการกําหนดอาหาร วิชาบังคับ จํานวน 14 วิชา ดังต่อไปนี้ - วิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการเบื้องต้น (Introduction to Food Science and Nutrition) - ความปลอดภัยอาหารและสุขาภิบาลอาหาร (Food safety and sanitation) - การบริหารจัดการการบริการอาหาร (Food service system management)
5 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม (…) (…) (…) (…) (…) (…) (…) (…) (…) (…) (…) (…) (…) - หลักการและวิทยาศาสตร์การประกอบอาหาร (Principles and Culinary Science) - โภชนาการ (Human Nutrition: Nutrients, metabolism) - โภชนาการชุมชน (COMMUNITY NUTRITION) - โภชนาการในวัยต่าง ๆ (NUTRITION IN LIFE CYCLE) - หลักการโภชนาการและการกําหนดอาหารเบื้องต้น (PRINCIPLE OF NUTRITION AND DIETETICS) - การประเมินภาวะโภชนาการ (NUTRITION ASSESSMENT) - โภชนบําบัดทางการแพทย์ (MEDICAL NUTRITION THERAPY/DIET THERAPY) - กำ ร ใ ห้ คํำ ป รึ ก ษำ ทำ ง โ ภ ช นำ กำ ร / กำ ร ป รั บ พ ฤ ติ ก ร ร ม ( NUTRITION COUNSELING/BEHAVIOR MODIFICATION) - การสัมมนาโภชนาการและการกําหนดอาหาร (Seminar in Nutrition and Dietetics) - วิธีการวิจัยทางโภชนาการและการกําหนดอาหาร (Research in Nutrition and Dietetics) - จรรยาบรรณและจริยธรรมวิชาชีพการกําหนดอาหาร / กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การประกอบโรคศิลปะ (Ethical and Legal Issues in DIETETICS) วิชาเลือกบังคับ มีอย่างน้อย 2 วิชา จากรายวิชา ดังต่อไปนี้ - จิตวิทยาทั่วไป (General Psychology) - โภชนาการเฉพาะบุคคล (Personalized Nutrition)
6 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม (…) (…) (…) (…) (…) (…) (…) (…) - โภชนาการการกีฬา (Sports Nutrition) - โภชนาการสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Environmental nutrition and health) - โภชนาการบูรณการ (Integrated Nutrition) - โภชนาการและเภสัชวิทยา (Nutrition and pharmacology) - นวัตกรรมอาหารสุขภาพและอาหารเฉพาะโรค (Innovations in healthy food and disease-specific food) - ความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืน (Sustainable food security) - รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการและการกําหนดอาหาร หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต (…) (…) (…) (…) (…) * หมวดการจัดระบบการให้บริการอาหารในสถาบันต่าง ๆ เช่น สถานพยาบาล สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สถานศึกษา การจัดระบบการให้บริการอาหารในสถาบันต่าง ๆ โดยทราบหลักแนวคิด / ทฤษฎี และวิธีการ ดังต่อไปนี้ - การกําหนดโครงสร้างและภาระงาน - การดําเนินการจัดซื้อ ตรวจรับ เบิกจ่าย และจัดเก็บอาหาร - การเตรียมและการควบคุมการผลิต - การคํานวณและดัดแปลงอาหารเฉพาะโรค - การจัดการตรวจความถูกต้อง และการบริการในสถาบันต่าง ๆ
7 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม (…) (…) (…) (…) - การกําหนดและควบคุมงบประมาณค่าอาหาร - การจัดการด้านอาหารปลอดภัยตามมาตรฐานสากล เช่น ระบบ GMP HACCP ISO 22000 โรงพยาบาลอาหารปลอดภัย - การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานในส่วนการให้บริการอาหารและการให้โภชนบําบัด เช่น HA JCI DMB มาตรฐานสถานที่ประกอบอาหารในโรงพยาบาล - จรรยาบรรณและจริยธรรมวิชาชีพการกําหนดอาหาร (…) (…) (…) (…) (…) * หมวดหลักการทางโภชนาการและการกําหนดอาหารเพื่อการป้องกันและบําบัด (Nutrition and Dietetics for Prevention and Diet Therapy) หลักการทางโภชนาการและการกําหนดอาหารเพื่อการป้องกันและบําบัด โดยทราบหลักแนวคิด / ทฤษฎี และวิธีการ ดังต่อไปนี้ - การคัดกรองปัญหาโภชนาการ ประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วย วิเคราะห์ วินิจฉัยและวางแผนการให้โภชนบําบัด - การให้คําปรึกษา ติดตาม ประเมินผล ส่งเสริม และฟื้นฟูภาวะโภชนาการ - การดัดแปลงอาหารเฉพาะโรคให้เป็นไปตามแผนการรักษาเพื่อให้เหมาะสมกับ โรคและภาวะโภชนาการ - การให้อาหารทางหลอดเลือดดําและทางเดินอาหาร - จรรยาบรรณและจริยธรรมวิชาชีพการกําหนดอาหาร
8 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม (…) (…) (…) * หมวดการประยุกต์การกําหนดอาหารเข้าสู่ชุมชน (Application of Nutrition and Dietetics in Community) - การวางแผนร่วมกับสหวิชาชีพในการส่งต่อผู้ป่วยสู่ชุมชน เพื่อให้ได้รับการดูแล ด้านอาหาร โภชนาการ และโภชนบําบัดที่ถูกต้องและเหมาะสม - การป้องกันปัญหาทุพโภชนาการในกลุ่มประชากรทั่วไป กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่เป็น โรคต่าง ๆ - การส่งเสริมโภชนาการของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ซึ่งครอบคลุมทุกกลุ่มวัย ด้วยกระบวนการ 1. สํารวจและการคัดกรองปัญหาโภชนาการในระยะเริ่มแรกและการให้ ความช่วยเหลือเบื้องต้น และการติดตามดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง 2. การส่งเสริมโภชนาการในรูปแบบต่าง ๆ เช่น - การให้โภชนศึกษาผ่านสื่อต่าง ๆ - การให้ความรู้โภชนาการในกลุ่มบุคคลต่าง ๆ 3. การฟื้นฟูโภชนาการ และ Group Dynamic ในชุมชน ( กิจกรรมกลุ่ม ) / เครือข่ายชุมชน 4. ความปลอดภัยอาหารและสุขาภิบาลอาหารในชุมชน
9 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม (…) (…) (…) * หมวด การวิจัยและการสัมมนาทางโภชนาการและการกําหนดอาหาร (Research and Seminar in Nutrition and Dietetics) การวิจัยและการสัมมนาทางโภชนาการและการกําหนดอาหาร ประกอบด้วย - ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) - สถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย (statistics) - การสัมมนาทางการกําหนดอาหาร (Seminar in Nutrition and Dietetics) การฝึกงานทางโภชนาการและการกําหนดอาหาร (…) (…) * หมวดการฝึกงานทางโภชนาการและการกําหนดอาหารเบื้องต้น ไม่ต่ํากว่า 900 ชั่วโมง หรือไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต โดยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 1. การฝึกงานภาคบังคับ 600 ชั่วโมง - ทางด้านการบริหารจัดการงานบริการอาหารในสถาบัน (150 ชั่วโมง ) - ทางด้านโภชนคลินิก (300 ชั่วโมง ) - ทางด้านโภชนาการชุมชน (150 ชั่วโมง ) 2. การฝึกปฏิบัติตามความสนใจของนักศึกษา บริบทของพื้นที่ และหลักสูตร 300 ชั่วโมง
10 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม สถาบันฝึกภาคปฏิบัติ (…) (…) * สถาบันทางโภชนาการคลินิก มีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. มีงานด้านโภชนาการและการกําหนดอาหาร ได้แก่ การคัดกรอง การวินิจฉัยปัญหาโภชนาการโดยประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วย วิเคราะห์และ วางแผนการให้โภชนบําบัด การให้คําปรึกษา ติดตาม ประเมินผล ส่งเสริม และฟื้นฟู ภาวะโภชนาการ 2. มีผู้รับบริการผู้ป่วยนอก และ / หรือผู้ป่วยใน 3. มีนักกําหนดอาหารที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขา การกําหนดอาหาร * สถาบันฝึกปฏิบัติทางการบริหารจัดการงานบริการอาหาร มีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. มีงานการดัดแปลงอาหารเฉพาะโรค รวมถึงการให้อาหารทางสายให้อาหาร ให้เป็นไปตามแผนการรักษาเพื่อให้เหมาะสมกับโรคและภาวะโภชนาการ 2. มีงานด้านการควบคุมการผลิตอาหารผู้ป่วย ความปลอดภัยของอาหาร และคุณภาพอาหารและการบริการ 3. มีงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรงานนโยบายและวางแผน บุคลากร
11 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม (…) (…) 4. มีนักกําหนดอาหารที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการกําหนดอาหาร * สถานฝึกงานโภชนาการชุมชน มีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. มีงานด้านโภชนาการชุมชนสําหรับหญิงตั้งครรภ์ ทารก เด็ก และหญิง ให้นมบุตร ในการประเมินการบริโภคอาหาร ภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหาร ตลอดจนการให้คําปรึกษา และโภชนศึกษาแก่หญิงตั้งครรภ์ ทารก เด็ก และหญิงให้นมบุตร 2. มีงานด้านโภชนาการชุมชนสําหรับผู้สูงอายุ ในการประเมินการบริโภค อาหาร ภาวะโภชนาการความต้อง การสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหาร และ การให้คําปรึกษา และโภชนศึกษาแก่ผู้สูงอายุ 3. มีนักกําหนดอาหารที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการกําหนดอาหาร * สถาบันฝึกปฏิบัติในสถาบันอื่น ๆ มีงานด้านโภชนาการชุมชนอื่น ๆ เช่น วัด โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงงาน สถานดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง
12 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม 5. ระบบการดูแลนักศึกษา / ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา (…) 5. 1 มีหน่วยงานรับผิดชอบทําหน้าที่ดูแล สนับสนุน และพัฒนานักศึกษาทั้งในหลักสูตร และเสริมหลักสูตร (…) 5. 2 มีอาจารย์ที่ปรึกษาให้แก่นักศึกษาทุกคน เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการศึกษา ช่วยเหลือและป้องกันแก้ไขปัญหาการศึกษาและปัญหาอื่น ๆ 6. อาคารสถานที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการกําหนดอาหารสําหรับการจัดการเรียนการสอนสวัสดิการและนันทนาการ (…) 6.1 มีอาคารสถานที่ ห้องปฏิบัติการทางการกําหนดอาหาร และโสตทัศนูปกรณ์ให้พร้อม และเพียงพอสําหรับการจัดการเรียนการสอน (…) 6.2 ห้องประชุมขนาดใหญ่ที่สามารถจัดกิจกรรมร่วมกันทั้งกิจกรรมวิชาการและกิจกรรม นักศึกษา จัดเตรียมสถานที่สําหรับสวัสดิการ สโมสรนักศึกษาสถานที่สําหรับกีฬาและ นันทนาการให้เพียงพอ (…) * 6.2 มีเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการกําหนดอาหารและโสตทัศนูปกรณ์ให้พร้อม และเพียงพอสําหรับการจัดการเรียนการสอนรูปแบบต่าง ๆ ( ตามเกณฑ์มาตรฐาน การรับรองสถาบันการศึกษาฯ ) 7. ห้องสมุด (…) 7.1 มีตํารา วารสาร และทรัพยากรสารสนเทศเหมาะสมและเพียงพอสําหรับนักศึกษา และอาจารย์ โดยอ้างอิงตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง มาตรฐานห้องสมุด สถาบันอุดมศึกษา พ . ศ . 2544
13 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม (…) 7. 2 มีเครื่องคอมพิวเตอร์จัดไว้ในที่ต่าง ๆ ตามความเหมาะสมเพื่อให้นักศึกษาสามารถ ค้นข้อมูลความรู้จากฐานข้อมูลต่าง ๆ (…) 7. 3 มีการจัดสรรพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อให้นักศึกษาได้ใช้เป็นที่อ่านหนังสือ ศึกษาค้นคว้า หาความรู้ด้วยตนเอง 8. การบริหารจัดการ (…) 8. 1 มีการสรรหาหัวหน้าหน่วยงานและทีมผู้บริหารที่มีคุณวุฒิ ประสบการณ์ และ ศักยภาพเหมาะสมที่จะดําเนินการก่อตั้ง และบริหารจัดการให้การดําเนินการตาม หลักสูตรเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง ทีมผู้บริหารมีอํานาจหน้าที่ครอบคลุมและกว้างขวาง พอที่จะกํากับดูแล และประสานงานกับผู้รับผิดชอบการสอนรายวิชาต่าง ๆ ทุกกลุ่ม วิชา รวมทั้งการสอนในโรงพยาบาลหรือคลินิกเครือข่าย (…) 8. 2 จัดทําแผนดําเนินการระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีให้ชัดเจน และมีความเป็นไปได้สูง ได้แก่ แผนเตรียมอาจารย์ แผนจัดหาบุคลากรสนับสนุน แผนพัฒนาหลักสูตรและ สื่อการศึกษา แผนพัฒนาอาคาร สถานที่และแผนจัดหาโสตทัศนูปกรณ์ แผนพัฒนา งานวิจัย แผนความร่วมมือกับสถาบันพี่เลี้ยงและแผนความร่วมมือกับโรงพยาบาล สมทบ เป็นต้น (…) 8. 3 มีแผนการจัดสรรงบประมาณและมีแหล่งงบประมาณที่ชัดเจนและเพียงพอเพื่อให้ สามารถดําเนินการจัดการเรียนการสอนตามหลักการสอนตามหลักสูตร และพัฒนา อาจารย์ได้
14 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม (…) 8. 4 มีโครงสร้างองค์กรและบุคลากรที่มีคุณวุฒิและจํานวนเหมาะสม เช่นนักวิชาการศึกษา นักวัดประเมินผลการศึกษา ฯลฯ โครงสร้างนี้จะต้องมี หน่วยงานที่สําคัญและจําเป็น ต่อการดําเนินการจัดการศึกษา เช่น หน่วยงานที่ทําหน้าที่พัฒนาอาจารย์ทางด้าน การเรียน การสอน งานทะเบียนและ ประมวลผล งานกิจกรรมนักศึกษา งานประกันคุณภาพ การศึกษา เป็นต้น 9. การประเมินคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและการประเมินสถาบันการศึกษา (…) 9. 1 มีการวางระบบการประเมินคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและการประเมินสถาบัน ไว้ชัดเจน (…) 9. 2 มีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพเป็นระยะ เพื่อประกันคุณภาพของผลผลิต โดยคณะกรรมการวิชาชีพ หมายเหตุ * หมายถึง ต้องมีครบ ตามที่กําหนดในเกณฑ์มาตรฐานการรับรองสถาบันการศึกษา ฯ ลงชื่อ … ผู้รับรองการประเมินตนเอง ลงชื่อ … ผู้รับรองการประเมินตนเอง ( ) ( ) ตําแหน่งประธานสาขาวิชา ตําแหน่งหัวหน้าภาควิชา ลงชื่อ … ผู้รับรองการประเมินตนเอง ( ) ตําแหน่งคณบดี
15 สรุปผลการประเมิน ของคณะอนุกรรมการตรวจประเมินฯ (…) ไม่ผ่าน (…) ผ่าน (…) ผ่านอย่างมีเงื่อนไข ข้อเสนอแนะ … … … ลงชื่อ … ประธานอนุกรรมการตรวจประเมินฯ ลงชื่อ … รองประธานอนุกรรมการตรวจประเมินฯ ( ) ( ) ลงชื่อ … อนุกรรมการตรวจประเมินฯ ลงชื่อ … อนุกรรมการตรวจประเมินฯ ( ) ( ) ลงชื่อ … อนุกรรมการตรวจประเมินฯ ลงชื่อ … อนุกรรมการตรวจประเมินฯ ( ) ( ) ลงชื่อ … อนุกรรมการตรวจประเมินฯ ลงชื่อ … อนุกรรมการตรวจประเมินฯ ( ) ( ) วัน เดือน ปี ที่ประเมิน …
แบบประเมินการรับรองสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอน หลักสูตรระดับบัณฑิตปริญญาสาขาการกําหนดอาหารหรือที่ศึกษากระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอก ( ปริญญาโท ) ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกฤษฎีกากําหนดให้สาขาการกําหนดอาหารเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ พ . ศ . 2563 กําหนดให้ผู้ขอ ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการกําหนดอาหารต้องมีความรู้ในวิชาชีพคือเป็นผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่า ปริญญาสาขาการกําหนดอาหารจากสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกําหนดอาหารรับรอง คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกําหนดอาหาร จึงได้กําหนดเกณฑ์มาตรฐานการรับรองสถาบันการศึกษาที่จัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาการกําหนดอาหาร พร้อมทั้งกําหนดให้มีการประเมิน ตามเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อให้การรับรองสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาสาขาการกําหนดอาหารหรือที่ศึกษา กระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอก อันจะส่งผลโดยตรงต่อการควบคุมคุณภาพของผู้ที่จะสําเร็จการศึกษาในสาขาการกําหนดอาหาร ซึ่งจะขอ ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ รวมทั้งเพื่อคุ้มครองประชาชนผู้ใช้บริการให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพในระดับเป็นที่ยอมรับได้ทั่วไปในสังคม คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกําหนดอาหาร จึงเห็นสมควรดําเนินการ ดังนี้ 1 . พิจารณาให้การรับรองสถาบันการศึกษา ในการเปิดดําเนินการสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาสาขาการกําหนดอาหาร หรือที่ศึกษา กระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอก ( ทั้งในกรณีสถาบันใหม่หรือสถาบันที่เปิดการสอนก่อนกฎหมายประกาศใช้ ) 2 . พิจารณาให้ความเห็นชอบหลักสูตรการกําหนดอาหาร ( ทั้งในกรณีสถาบันใหม่หรือสถาบันที่เปิดการสอนก่อนกฎหมายประกาศใช้ ) 3 . พิจารณาให้การรับรองโรงพยาบาล หรือองค์กรที่ให้การฝึกปฏิบัติงานด้านการกําหนดอาหาร
2 แบบประเมินการรับรองสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตปริญญา สาขาการกําหนดอาหารหรือที่ศึกษากระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอก ( ปริญญาโท ) คณะ … ชื่อสถาบันการศึกษา … วัน เดือน ปี ที่ประเมิน … ให้สถาบันการศึกษาประเมินตนเองโดยทําเครื่องหมาย ลงใน (…) ถ้ามีองค์ประกอบนั้น ๆ องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม 1 . คุณสมบัติของมหาวิทยาลัย / สถาบันอุดมศึกษา ข้อ 1 . 1 - 1 . 4 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ประกันคุณภาพของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (…) 1 . 1 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง (…) 1 . 2 มีหน่วยงานรับผิดชอบอย่างน้อยเทียบเท่าระดับสาขาวิชา ดําเนินการ (…) 1 . 3 มีปณิธานมุ่งผลิตบัณฑิตสาขาการกําหนดอาหารที่มีความรู้ความสามารถ และ คุณสมบัติสอดคล้องกับความต้องการและระบบสุขภาพของประเทศ (…) 1 . 4 มีระบบบริหารที่ชัดเจน เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ (…) 1 . 5 กรณีเป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดใหม่ และจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาขา การกําหนดอาหารต้องมีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรกับสถาบันการศึกษาที่ผ่าน การรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกําหนดอาหาร ให้ช่วยทําหน้าที่ เป็นที่ปรึกษา / ช่วยเหลือหรือเป็นสถาบันพี่เลี้ยง
3 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม 2 . คุณสมบัติและจํานวนอาจารย์ประจํา (…) 2 . 1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีจํานวนอย่างน้อย 3 คน มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือ เทียบเท่า หรือขั้นต่ําปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตําแหน่งรองศาสตราจารย์หรือ เทียบเท่า และมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา ของตนเอง (…) กรณีมีการตกลงร่วมผลิตกับองค์กรภายนอก ต้องมีอาจารย์ประจําหลักสูตรจาก สถาบันอุดมศึกษาเจ้าของหลักสูตรนั้นเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อย 2 คน (…) * 2.2 อาจารย์ประจําหลักสูตร ต้องมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการกําหนด อาหาร และเป็นสมาชิกของสมาคมนักกําหนดอาหารแห่งประเทศไทย อย่างน้อย 2 คน มีคุณวุฒิขั้นต่ําปริญญาโทหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญาของตนเอง (…) 2.3 อาจารย์ผู้สอน ต้องเป็นอาจารย์ประจําหรืออาจารย์พิเศษที่มีคุณวุฒิขั้นต่ําปริญญาโท หรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือในสาขาวิชาของ รายวิชาที่สอนและต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญาของตนเอง (…) 2.4 อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 2.4.1 อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ต้องเป็นอาจารย์ประจําหลักสูตรที่มี คุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ําปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตําแหน่ง รองศาสตราจารย์หรือเทียบเท่า และมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษา เพื่อรับปริญญาของตนเอง
4 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม 2.4.2 อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ( ถ้ามี ) ต้องมีคุณวุฒิและคุณสมบัติ ดังนี้ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมที่เป็นอาจารย์ประจําหลักสูตรหรืออาจารย์ ประจําหรือนักวิจัยประจําต้องมีคุณวุฒิและผลงานทางวิชาการเช่นเดียวกับอาจารย์ ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก สําหรับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกต้องมี คุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า และมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ในวารสารที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 5 เรื่อง (…) 2.5 อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ต้องประกอบด้วยอาจารย์ประจําหลักสูตรและ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันอุดมศึกษา โดยอาจมีอาจารย์ประจําหรือนักวิจัย ประจําร่วมเป็นผู้สอบด้วย รวมไม่น้อยกว่า 3 คน (…) 2.6 การพัฒนาอาจารย์ สถาบันการศึกษาที่จะจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาการกําหนดอาหาร จะต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบ จัดทําแผนหรือโครงการที่ชัดเจน เพื่อพัฒนาอาจารย์ทั้งทางด้านวิชาการ วิจัย และการจัดการเรียนการสอน 3 . คุณสมบัติของนิสิต / นักศึกษา (…) เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ . ศ . 2565 และให้มีกระบวนการ สอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษา ผู้เข้าศึกษาต้องสําเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีสาขา การกําหนดอาหาร หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยต้องศึกษารายวิชาการกําหนดอาหาร อย่างน้อย 9 หน่วยกิต
5 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม 4. หลักสูตร (…) (…) * โครงสร้างหลักสูตร - องค์ประกอบของหลักสูตร ระยะเวลาศึกษา 2 ปี ไม่เกิน 5 ปี - จํานวนหน่วยกิต ตลอดหลักสูตรไม่ต่ํากว่า 36 หน่วยกิต โดยวิชาเฉพาะสาขาการกําหนดอาหาร ควรมีกรอบเนื้อหาครอบคลุม ดังต่อไปนี้ * ผู้เรียนต้องมีองค์ความรู้ในรายวิชา ดังนี้ - หลักการประเมินโภชนาการ (Principles of Nutrition Assessment) - โภชนาการเบื้องต้นและการกําหนดอาหาร (Introductory Nutrition and Dietetics) - การบริหารจัดการการบริการอาหาร (Food service system management) - สัมมนาโภชนาการและการกําหนดอาหาร (Seminar in Nutrition and Dietetics) - โภชนบําบัดทางการแพทย์ (Medical Nutrition Therapy) - โภชนาการประยุกต์ตลอดช่วงชีวิต - ระเบียบวิธีวิจัยและชีวสถิติทางโภชนาการและการกําหนดอาหาร (Research Methodology and Biostatistics in Nutrition and Dietetics)
6 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม - การสื่อสารและให้คําปรึกษาด้านโภชนาการสําหรับนักกําหนดอาหาร (Nutrition Communication and Counseling for Dietitians) - จรรยาบรรณและจริยธรรมวิชาชีพการกําหนดอาหาร / กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการประกอบโรคศิลปะ (Ethical and Legal Issues in DIETETICS) กรอบเนื้อหาวิชา การจัดระบบการให้บริการอาหาร (Food service system management) แนวทางเชิงระบบในองค์กรบริการอาหาร จริยธรรมในการจัดการบริการอาหาร การออกแบบองค์กรบริการอาหาร การจัดการทรัพยากรมนุษย์และการเงิน การวางแผนเมนู การพัฒนาสูตรและมาตรฐาน ความปลอดภัยด้านอาหารและสุขอนามัย การผลิตอาหารเชิง ปริมาณ การผลิตควบคุมคุณภาพ หลักการทางโภชนาการและการกําหนดอาหารขั้นสูง (Advanced Nutrition and Dietetics) โดยทราบหลักแนวคิด / ทฤษฎี และวิธีการ ดังต่อไปนี้ - การคัดกรองปัญหาโภชนาการ ประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วย วิเคราะห์ วินิจฉัย และวางแผนการให้โภชนบําบัด - การให้คําปรึกษา ติดตาม ประเมินผล ส่งเสริม และฟื้นฟูภาวะโภชนาการ - การดัดแปลงอาหารเฉพาะโรคให้เป็นไปตามแผนการรักษาเพื่อให้เหมาะสมกับโรค และภาวะโภชนาการ - การให้อาหารทางหลอดเลือดดําและทางเดินอาหาร
7 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม การให้โภชนศึกษาและคําปรึกษาทางด้านโภชนาการ (Nutrition education and nutrition counseling) หลักการสื่อสารโภชนาการ การศึกษา และทักษะการให้คําปรึกษาสําหรับนักกําหนดอาหาร การสื่อสารความเสี่ยง ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการประยุกต์ใช้ในการสื่อสาร และการให้คําปรึกษาด้านโภชนาการ การเคารพความหลากหลายของมนุษย์ในการสื่อสาร ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน การสร้างความสัมพันธ์และเสริมพลังในการให้คําปรึกษา ที่มีประสิทธิภาพ จริยธรรมในการสื่อสารและการให้คําปรึกษาด้านโภชนาการ สถานการณ์ จําลองในการสื่อสารและการให้คําปรึกษาด้านโภชนาการ การบําบัดทางและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางโภชนาการ (Dietetic Treatment and Rehabilitation) วิธีการแก้ไขปัญหาทางโภชนาการโดยวิธีต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับปัญหา และสภาพทาง สังคมไทยศึกษาผ่านประสบการณ์จากการดูตัวอย่าง การแก้ปัญหาและได้ร่วมแก้ไขปัญหา ทางโภชนาการและพฤติกรรมของผู้ป่วย และผู้มีปัญหาโภชนาการต่าง ๆ ซึ่งใช้แนวคิดและ เทคนิควิธีการบําบัดทางการกําหนดอาหาร รวมถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพทางโภชนาการ โดยคํานึงถึงจรรยาบรรณในการบําบัด
8 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม การประยุกต์การกําหนดอาหารเข้าสู่ชุมชนขั้นสูง (Advanced Application of Dietietics for Community) การฝึกปฏิบัติการประเมินปัญหาโภชนาการและสุขภาพและแนวโน้มของประชากร เป้าหมายในชุมชน วางแผน ดําเนินการ และประเมินผลโครงการโภชนาการสาธารณสุข ชุมชน เลือกและ / หรือพัฒนาสื่อการเรียนรู้โภชนาการและแนวทางที่เหมาะสมสําหรับ บุคคลหรือประชากรเป้าหมาย การวิจัยและการสัมมนาทางการกําหนดอาหาร (Research and Seminar in Dietetics) การวิจัยทางการกําหนดอาหาร ( Research Methodology in Dietetics) วิธีดําเนินการ วิจัยที่เกี่ยวข้องกับทางการกําหนดอาหาร ธรรมชาติและแนวคิดเกี่ยวกับขบวนการวิจัย ที่เป็นวิทยาศาสตร์ ทบทวนสถิติพื้นฐานและสถิติขั้นสูงสําหรับการวิจัยทางการกําหนด อาหาร แนวคิดในด้านการวัด สถิติเชิงบรรยาย แนวคิดเกี่ยวกับสถิติเชิงอ้างอิง การใช้ คอมพิวเตอร์ในการจัดกระทําข้อมูล และจริยธรรมการวิจัยเชิงการกําหนดอาหาร ระเบียบ วิธีวิจัย ศึกษาวิธีวิจัยทางการกําหนดอาหาร วิธีการเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ รวมถึง วิธีสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการเก็บรวบรวม การวิเคราะห์ข้อมูล แปลความหมาย และ การเขียนรายงานการวิจัย
9 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม สัมมนาด้านการกําหนดอาหาร (Seminar in Dietetics) สภาพปัญหาและสังคมปัจจุบัน การพัฒนาวิชาชีพ การจัดสัมมนา การเป็นวิทยากร การนําเสนอ การร่วมอภิปราย โดยใช้ การประสานองค์ความรู้ เชิงการกําหนดอาหารกับกระบวนการจัดการ การสัมมนาทางการกําหนดอาหารประยุกต์ (Seminar in Applied Dietetics) สัมมนา โดยเลือกทฤษฎีทางการกําหนดอาหารและงานวิจัยเฉพาะปัญหาหนึ่ง โดยอาจจะเลือก หัวข้อทางด้านการศึกษาโภชนาการและการกําหนดอาหาร การบริการสังคมหรือชุมชน และอุตสาหกรรม จรรยาบรรณและจริยธรรมวิชาชีพการกําหนดอาหาร / กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การประกอบโรคศิลปะ (Ethical and Legal Issues Related to Dietetics Profession) จรรยาบรรณวิชาชีพกําหนดอาหาร ด้านการบริการโภชนาการแก่ผู้รับบริการ ชุมชน ค่านิยม เจตคติที่เหมาะสม บทบาทและการทํางานร่วมกับบุคลากรด้านโภชนาการ ด้านการทําวิจัย ความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบโรคศิลปะสาขาการกําหนด อาหาร และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ การฝึกปฏิบัติ (Practicum) การฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการการบําบัดทางการกําหนดอาหาร การฟื้นฟูสมรรถภาพ และ การประยุกต์ความรู้ทางการกําหนดอาหารเข้าสู่ชุมชนและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
10 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม วิทยานิพนธ์ (Thesis) การกําหนดหัวข้อวิจัยทางการกําหนดอาหาร การออกแบบวิธีการวิจัย การดําเนินการวิจัย อย่างมีจริยธรรม การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผล จริยธรรมการวิจัย และการนําผลงานวิจัยมาเรียบเรียงเป็นวิทยานิพนธ์ การนําเสนอรายงานวิจัย และ การเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการที่เป็นมาตรฐานหรือเสนอต่อ ที่ประชุมวิชาการ ตามจริยธรรมการเผยแพร่ผลงานวิชาการ วิทยานิพนธ์ ปฏิบัติการ ค้นคว้าวิจัยเฉพาะเรื่องเกี่ยวข้องกับการกําหนดอาหาร เพื่อค้นพบแนวคิดแนวทางใหม่ และองค์ความรู้ใหม่เขียนและเรียบเรียงวิทยานิพนธ์ ตามเค้าโครงที่เสนอในความควบคุม ของอาจารย์ที่ปรึกษาและกรรมการวิทยานิพนธ์ การฝึกงานทางโภชนาการและการกําหนดอาหาร (…) * หมวดการฝึกงานทางโภชนาการและการกําหนดอาหารเบื้องต้น ไม่ต่ํากว่า 900 ชั่วโมง ( สําหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานปริญญาตรีทางด้านการกําหนดอาหาร ) โดยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. การฝึกงานภาคบังคับ 600 ชั่วโมง - ทางด้านการบริหารจัดการงานบริการอาหารในสถาบัน (150 ชั่วโมง ) - ทางด้านโภชนคลินิก (300 ชั่วโมง ) - ทางด้านโภชนาการชุมชน (150 ชั่วโมง )
11 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม (…) 2. การฝึกปฏิบัติตามความสนใจของนักศึกษา บริบทของพื้นที่ และหลักสูตร 300 ชั่วโมง สถาบันฝึกภาคปฏิบัติ (…) (…) * สถาบันทางโภชนาการคลินิก มีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. มีงานด้านโภชนาการและการกําหนดอาหาร ได้แก่ การคัดกรอง การวินิจฉัยปัญหาโภชนาการโดยประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วย วิเคราะห์และ วางแผนการให้โภชนบําบัด การให้คําปรึกษา ติดตาม ประเมินผล ส่งเสริม และฟื้นฟู ภาวะโภชนาการ 2. มีผู้รับบริการผู้ป่วยนอก และ / หรือผู้ป่วยใน 3. มีนักกําหนดอาหารที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขา การกําหนดอาหาร * สถาบันฝึกปฏิบัติทางการบริหารจัดการงานบริการอาหาร มีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. มีงานการดัดแปลงอาหารเฉพาะโรค รวมถึงการให้อาหารทางสายให้อาหาร ให้เป็นไปตามแผนการรักษาเพื่อให้เหมาะสมกับโรคและภาวะโภชนาการ 2. มีงานด้านการควบคุมการผลิตอาหารผู้ป่วย ความปลอดภัยของอาหาร และคุณภาพอาหารและการบริการ
12 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม (…) (…) 3. มีงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรงานนโยบายและวางแผน บุคลากร 4. มีนักกําหนดอาหารที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขา การกําหนดอาหาร * สถานฝึกงานโภชนาการชุมชน มีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. มีงานด้านโภชนาการชุมชนสําหรับหญิงตั้งครรภ์ ทารก เด็ก และหญิง ให้นมบุตร ในการประเมินการบริโภคอาหาร ภาวะโภชนาการ ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหาร ตลอดจนการให้คําปรึกษา และโภชนศึกษาแก่หญิงตั้งครรภ์ ทารก เด็ก และหญิงให้นมบุตร 2. มีงานด้านโภชนาการชุมชนสําหรับผู้สูงอายุ ในการประเมินการบริโภค อาหาร ภาวะโภชนาการความต้อง การสารอาหารต่าง ๆ การดัดแปลงเมนูอาหาร และ การให้คําปรึกษา และโภชนศึกษาแก่ผู้สูงอายุ 3. มีนักกําหนดอาหารที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขา การกําหนดอาหาร * สถาบันฝึกปฏิบัติในสถาบันอื่น ๆ มีงานด้านโภชนาการชุมชนอื่น ๆ เช่น วัด โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงงาน สถานดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง
13 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม 5. ระบบการดูแลนักศึกษา / ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา (…) 5. 1 มีหน่วยงานรับผิดชอบทําหน้าที่ดูแล สนับสนุน และพัฒนานักศึกษาทั้งในหลักสูตร และเสริมหลักสูตร (…) 5. 2 มีอาจารย์ที่ปรึกษาให้แก่นักศึกษาทุกคน เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการศึกษา ช่วยเหลือและป้องกันแก้ไขปัญหาการศึกษาและปัญหาอื่น ๆ 6. อาคารสถานที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการกําหนดอาหารสําหรับการจัดการเรียนการสอนสวัสดิการและนันทนาการ (…) 6.1 มีอาคารสถานที่ ห้องปฏิบัติการทางการกําหนดอาหาร และโสตทัศนูปกรณ์ให้พร้อม และเพียงพอสําหรับการจัดการเรียนการสอน (…) 6.2 ห้องประชุมขนาดใหญ่ที่สามารถจัดกิจกรรมร่วมกันทั้งกิจกรรมวิชาการและกิจกรรม นักศึกษา จัดเตรียมสถานที่สําหรับสวัสดิการ สโมสรนักศึกษาสถานที่สําหรับกีฬาและ นันทนาการให้เพียงพอ (…) * 6.2 มีเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการกําหนดอาหารและโสตทัศนูปกรณ์ให้พร้อม และเพียงพอสําหรับการจัดการเรียนการสอนรูปแบบต่าง ๆ ( ตามเกณฑ์มาตรฐาน การรับรองสถาบันการศึกษาฯ ) 7. ห้องสมุด (…) 7.1 มีตํารา วารสาร และทรัพยากรสารสนเทศเหมาะสมและเพียงพอสําหรับนักศึกษา และอาจารย์ โดยอ้างอิงตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง มาตรฐานห้องสมุด สถาบันอุดมศึกษา พ . ศ . 2544
14 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม (…) 7. 2 มีเครื่องคอมพิวเตอร์จัดไว้ในที่ต่าง ๆ ตามความเหมาะสมเพื่อให้นักศึกษาสามารถ ค้นข้อมูลความรู้จากฐานข้อมูลต่าง ๆ (…) 7. 3 มีการจัดสรรพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อให้นักศึกษาได้ใช้เป็นที่อ่านหนังสือ ศึกษาค้นคว้า หาความรู้ด้วยตนเอง 8. การบริหารจัดการ (…) 8. 1 มีการสรรหาหัวหน้าหน่วยงานและทีมผู้บริหารที่มีคุณวุฒิ ประสบการณ์ และ ศักยภาพเหมาะสมที่จะดําเนินการก่อตั้ง และบริหารจัดการให้การดําเนินการตาม หลักสูตรเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง ทีมผู้บริหารมีอํานาจหน้าที่ครอบคลุมและ กว้างขวางพอที่จะกํากับดูแล และประสานงานกับผู้รับผิดชอบการสอนรายวิชาต่าง ๆ ทุกกลุ่มวิชา รวมทั้งการสอนใน โรงพยาบาลหรือคลินิกเครือข่าย (…) 8. 2 จัดทําแผนดําเนินการระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีให้ชัดเจน และมีความเป็นไปได้สูง ได้แก่ แผนเตรียมอาจารย์ แผนจัดหาบุคลากรสนับสนุน แผนพัฒนาหลักสูตรและ สื่อการศึกษา แผนพัฒนาอาคาร สถานที่และแผนจัดหาโสตทัศนูปกรณ์ แผนพัฒนา งานวิจัย แผนความร่วมมือกับสถาบันพี่เลี้ยงและแผนความร่วมมือกับโรงพยาบาล สมทบ เป็นต้น (…) 8. 3 มีแผนการจัดสรรงบประมาณและมีแหล่งงบประมาณที่ชัดเจนและเพียงพอเพื่อให้ สามารถดําเนินการจัดการเรียนการสอนตามหลักการสอนตามหลักสูตร และพัฒนา อาจารย์ได้
15 องค์ประกอบ ผลการประเมินของ คณะอนุกรรมการตรวจ ประเมินฯ หลักฐาน อ้างอิงของ สถาบันการศึกษา ( ถ้ามี ) มี / ไม่มี ความเห็น เพิ่มเติม (…) 8. 4 มีโครงสร้างองค์กรและบุคลากรที่มีคุณวุฒิและจํานวนเหมาะสม เช่นนักวิชาการศึกษา นักวัดประเมินผลการศึกษา ฯลฯ โครงสร้างนี้จะต้องมี หน่วยงานที่สําคัญและจําเป็น ต่อการดําเนินการจัดการศึกษา เช่น หน่วยงานที่ทําหน้าที่พัฒนาอาจารย์ทางด้าน การเรียน การสอน งานทะเบียนและ ประมวลผล งานกิจกรรมนักศึกษา งานประกันคุณภาพ การศึกษา เป็นต้น 9. การประเมินคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและการประเมินสถาบันการศึกษา (…) 9. 1 มีการวางระบบการประเมินคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและการประเมินสถาบัน ไว้ ชัดเจน (…) 9. 2 มีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพเป็นระยะ เพื่อประกันคุณภาพของผลผลิต โดยคณะกรรมการวิชาชีพ หมายเหตุ * หมายถึง ต้องมีครบ ตามที่กําหนดในเกณฑ์มาตรฐานการรับรองสถาบันการศึกษา ฯ ลงชื่อ … ผู้รับรองการประเมินตนเอง ลงชื่อ … ผู้รับรองการประเมินตนเอง ( ) ( ) ตําแหน่งประธานสาขาวิชา ตําแหน่งหัวหน้าภาควิชา ลงชื่อ … ผู้รับรองการประเมินตนเอง ( ) ตําแหน่งคณบดี
16 สรุปผลการประเมิน ของคณะอนุกรรมการตรวจประเมินฯ (…) ไม่ผ่าน (…) ผ่าน (…) ผ่านอย่างมีเงื่อนไข ข้อเสนอแนะ … … … ลงชื่อ … ประธานอนุกรรมการตรวจประเมินฯ ลงชื่อ … รองประธานอนุกรรมการตรวจประเมินฯ ( ) ( ) ลงชื่อ … อนุกรรมการตรวจประเมินฯ ลงชื่อ … อนุกรรมการตรวจประเมินฯ ( ) ( ) ลงชื่อ … อนุกรรมการตรวจประเมินฯ ลงชื่อ … อนุกรรมการตรวจประเมินฯ ( ) ( ) ลงชื่อ … อนุกรรมการตรวจประเมินฯ ลงชื่อ … อนุกรรมการตรวจประเมินฯ ( ) ( ) วัน เดือน ปี ที่ประเมิน …
หนังสือรับรองที่ « » หนังสือรับรองสถาบันการศึกษาสาขาการกําหนดอาหาร อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11 ของประกาศคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกําหนดอาหาร เรื่อง เกณฑ์และแบบประเมินเพื่อการรับรองสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนสาขาการกําหนดอาหาร คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกําหนดอาหาร ออกหนังสือรับรองฉบับนี้แก่ « ชื่อสถาบัน » ซึ่งคณะกรรมการวิชาชีพได้รับรองให้เป็นสถาบันการศึกษาที่จัดการศึกษาหลักสูตร … ออกให้ ณ วันที่ … เดือน … พ . ศ … ถึงวันที่ … เดือน … พ . ศ … ( ) ( ) กรรมการและเลขานุการ ประธานกรรมการวิชาชีพ
คําขอการรับรองสถาบันการศึกษา ที่จัดการเรียนการสอนในสาขาการกําหนดอาหาร ข้อมูลสถาบันการศึกษา เป็นข้อมูลทั่วไปของสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนสาขาการกําหนดอาหาร หรือที่ศึกษา กระบวนวิชาการกําหนดอาหารเป็นวิชาเอก ชื่อสถาบันการศึกษา … สถานที่ตั้ง … วันที่ยื่นคําขอ … ปริญญาตรี ชื่อหลักสูตร จํานวนหน่วยกิต ตลอด หลักสูตร วิชาพื้นฐาน ทั่วไป สาขาการกําหนดอาหาร วิชาเลือกเสรี วิชา เฉพาะ สาขา การฝึก ภาคปฏิบัติ ปริญญา … ( ปรับปรุงครั้งสุดท้าย พ . ศ …) ปริญญา … ( ปรับปรุงครั้งสุดท้าย พ . ศ . …) ปริญญาโท ชื่อหลักสูตร จํานวนหน่วยกิต ตลอดหลักสูตร หมวดวิชาบังคับ หมวดวิชาเลือก วิทยานิพนธ์ / การค้นคว้าอิสระ ปริญญา … ( ปรับปรุงครั้งสุดท้าย พ . ศ …) ปริญญา … ( ปรับปรุงครั้งสุดท้าย พ . ศ . …)
2 จํานวนนักศึกษาต่อปีการศึกษา ปริญญาตรี ปีการศึกษา 25.. 25.. 25.. 25.. 25.. ชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 3 ชั้นปีที่ 4 รวม ปริญญาโท ปีการศึกษา 25.. 25.. 25.. 25.. 25.. จํานวนที่คาดว่าจะรับ จํานวนสะสม จํานวนที่คาดว่าจะจบ สถานที่ฝึกภาคปฏิบัติ … … … … 1. คุณสมบัติของมหาวิทยาลัย / สถาบันการศึกษา ปรัชญา … วิสัยทัศน์ … พันธกิจ … วัตถุประสงค์ …
3 2. บุคลากรทางด้านอาจารย์ คุณวุฒิของอาจารย์ ชื่ออาจารย์ เลขที่ ใบอนุญาต เป็นผู้ ประกอบ โรคศิลปะ ชื่อปริญญา ( สาขาที่ จบ )/ สถาบันการศึกษา ปีที่จบ ผลงานวิจัย / ผลงาน วิชาการ ตรี โท เอก อาจารย์ประจําที่มีคุณวุฒิสาขาการ กําหนดอาหาร หรือกระบวนวิชาการ กําหนดอาหารเป็นวิชาเอก 1. … 2. … 3. … อาจารย์ประจํา ( คุณวุฒิอื่น ๆ ) 1. … 2. … 3. … อาจารย์พิเศษ 1. … 2. … 3. … อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ( ป โท ) 1. … 2. … 3. … อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ( ป โท ) 1. … 2. … 3. … 2.1 อัตราส่วนอาจารย์ที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอก : ปริญญาโท : ปริญญาตรี เป็นไปตามเกณฑ์ มาตรฐานของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระบุจํานวน … : … : … 2 . 2 อัตราส่วนอาจารย์ : นักศึกษา ตลอดหลักสูตร ตามเกณฑ์ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระบุจํานวน … : … 2.3 อัตราส่วนอาจารย์ผู้ควบคุมการฝึกปฏิบัติทางคลินิกต้องมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการกําหนดอาหาร : นักศึกษา ระบุจํานวน … : …
4 2.4 การพัฒนาอาจารย์ … 3. คุณสมบัติของนิสิต / นักศึกษา … 4. หลักสูตร 4.1 ปริญญาตรี ตลอดหลักสูตร จํานวน … หน่วยกิต เนื้อหาครอบคลุมกลุ่มรายวิชาต่อไปนี้ 1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จํานวน … หน่วยกิต ประกอบด้วย … 2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน จํานวน … หน่วยกิต ประกอบด้วย … 3. หมวดฝึกปฏิบัติ จํานวน … หน่วยกิต ประกอบด้วย … ระยะเวลาการฝึกภาคปฏิบัติตลอดหลักสูตร … จํานวนชั่วโมงที่ฝึกภาคปฏิบัติ … 4. หมวดวิชาเลือกเสรี จํานวน … หน่วยกิต … 4.2 ปริญญาโท ตลอดหลักสูตร จํานวน … หน่วยกิต เนื้อหาครอบคลุมกลุ่มรายวิชาต่อไปนี้ 1. หมวดวิชาบังคับ จํานวน … หน่วยกิต ประกอบด้วย … การฝึกภาคปฏิบัติ จํานวน … หน่วยกิต ระยะเวลาการฝึกภาคปฏิบัติตลอดหลักสูตร … จํานวนชั่วโมงที่ฝึกภาคปฏิบัติ … 2. หมวดวิชาเลือก จํานวน … หน่วยกิต ประกอบด้วย … 3. วิทยานิพนธ์ / การค้นคว้าอิสระ จํานวน … หน่วยกิต 5. ระบบการดูแลนักศึกษา / ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา กิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา 5.1 แผนงานและกิจกรรม … 5.2 การส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรม … 5.3 การประเมินและปรับปรุง …
5 5.4 ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา … 6. อาคารสถานที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ 6.1 อาคารสถานที่ / ห้องปฏิบัติการทางการกําหนดอาหาร … 6.2 เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการกําหนดอาหาร ระบุชื่อ / จํานวน เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการกําหนดอาหาร จํานวนเครื่องมือและอุปกรณ์ 7. ห้องสมุด / สื่อสารสนเทศ … 8. การบริหารจัดการ 8.1 โครงสร้างองค์กรและระบบบริหารจัดการ … 8.2 การจัดทําแผนบริหารจัดการหลักสูตรและบุคลากร … 8.3 การประเมินและพัฒนาระบบบริหารจัดการ … 9. การประเมินคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและการประเมินสถาบัน 9.1 ระบบการประเมินตามเกณฑ์ประกันคุณภาพ … 9.2 การตรวจสอบและประเมินจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก … 10. เอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา 10.1 หลักสูตรพร้อมคําอธิบายรายวิชาที่ได้รับการรับรองฉบับล่าสุด จํานวน 10 ฉบับ พร้อมไฟล์ข้อมูล จํานวน 1 ชุด 10.2 หนังสือรับรองหรือยินยอมของสถานที่ฝึกภาคปฏิบัติ 10.3 กําหนดเปิดการเรียนการสอน 10.4 สําเนาใบอนุญาตให้ตั้งและดําเนินการสถาบันการศึกษา ( เฉพาะกรณีสถาบันการศึกษาเอกชน ) 10.5 อื่น ๆ ( ถ้ามี ) … ลงชื่อ … ผู้ยื่นคําขอ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรืออธิการบดี