ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีที่จำเป็นต้องกำกับการใช้บริการอย่างใกล้ชิด พ.ศ. 2566
ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีที่จำเป็นต้องกำกับการใช้บริการอย่างใกล้ชิด พ.ศ. 2566
ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีที่จำเป็นต้องกำกับการใช้บริการอย่างใกล้ชิด พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีที่จาเป็นต้องกากับการใช้บริการอย่างใกล้ชิด ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้การจ่าย เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติดาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 ข้อ 35.1 แ ละข้อ 35.2 แห่งประกาศคณะกรรมการหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ของหน่วยบริการ พ.ศ. 2565 เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่าย ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีที่จำเป็นต้องกากับการใช้บริการอย่างใกล้ชิด พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ 3 ในประกาศนี้ “ สำนักงาน ” หมายความว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้ ไม่หมายความรวมถึง สำนักงานสาขา “ ผู้รับบริการ ” หมายความว่า ผู้มีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ “ หน่วยบริการ ” หมายความว่า สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ “ ค่าใช้จ่าย ” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขที่หน่วยบริการมีสิทธิได้รับจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีที่จาเป็นต้องกากับการใช้บริการอย่างใกล้ชิด รวมบริการ ด้านยาและค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง “ การให้สารเมทาโดนระยะยาว ( Methadone Maintenance Treatment : MMT )” หมายความว่า การบำบัดรักษาผู้ป่วยติดสารเสพติดในกลุ่มฝิ่นและอนุพันธ์ของฝิ่นที่สมัครใจ ” “ กรณียาจาเป็นและยาที่มีปัญหาในการเข้าถึง ” หมายความว่า กลุ่มยาบัญชี จ (2) กลุ่มยา ต้านพิษและเซรุ่มแก้พิษงู ยา Clopidogrel และโรคเลือดออกง่าย ( Hemophilia และโรคเลือดออกง่าย วอลวิลลิแบรนด์) ้ หนา 29 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 134 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 มิถุนายน 2566
“ ยาบัญชี จ (2) ” หมายความว่า รายการยาสำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นเฉพาะ ให้เข้าถึงยา ได้อย่างสมเหตุผลคุ้มค่าและยั่งยืน ซึ่งมีการจัดกลไกกลางเป็นพิเศษในกากับการใช้ยาภายใต้ความรับผิดชอบ ร่วมกันของระบบประกันสุขภาพ ซึ่งดูแลโดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง สำนักงานประกันสังคม ก ระทรวงแรงงาน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีแนวทางการ กำกับการใช้ยาตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ว่าด้วยบัญชียาหลักแห่งชาติ ข้อ 4 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีที่จาเป็น ต้อง กำกับการใช้บริการอย่างใกล้ชิด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 4.1 การให้สารเมทาโดนระยะยาว ( Methadone Maintenance Treatment : MMT ) ให้เป็นไปตามเอกสารหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศนี้ 4.2 กรณียาจาเป็นและยาที่มีปัญหาในการเข้าถึง ให้เป็นไปตามเอกสารหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ 5 ให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรักษาการตามประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 256 6 จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ้ หนา 30 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 134 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 มิถุนายน 2566
เอกสารหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีที่จําเป็นต้องกํากับการใช้บริการอย่างใกล้ชิด พ . ศ . 2566 ลงวันที่ 29 มีนาคม พ . ศ . 2566 การให้สารเมทาโดนระยะยาว (Methadone Maintenance Treatment: MMT) หมวด 1 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ข้อ 1 การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการให้สารเมทาโดนระยะยาว (Methadone Maintenance Treatment : MMT) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1 . 1 เป็นการให้บริการแก่ผู้ป่วยนอกที่เข้ารับการให้สารเมทาโดนระยะยาว (Methadone Maintenance Treatment: MMT) 1 . 2 หน่วยบริการที่มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเป็นหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนเป็นสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด ข้อ 2 สํานักงานจะจ่ายค่าใช้จ่ายกรณีการรับบริการผู้ป่วยนอก ในอัตราครั้งละ 35 บาทต่อวัน หมวด 2 วิธีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ข้อ 3 ให้หน่วยบริการที่ให้บริการบันทึกและส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่าย หรือส่งข้อมูล ตามชุดข้อมูลมาตรฐาน ผ่านระบบบันทึกข้อมูลและประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ (e-Claim) มายังสํานักงาน หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบข้อมูลของหน่วยบริการกับสํานักงาน หรือระบบโปรแกรมอื่น ตามที่สํานักงานกําหนด หมวด 3 เงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ข้อ 4 ในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ให้หน่วยบริการจัดให้มีหรือมีข้อมูลยืนยันตัวตนของผู้รับบริการเพื่อยืนยันการใช้สิทธิในการเข้ารับบริการ ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด
- 2 - ข้อ 5 สํานักงานจะประมวลผลและแจ้งรายงานการจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยบริการ โดยรายงาน การจ่ายค่าใช้จ่ายจะแสดงสถานะข้อมูล ดังนี้ 5 . 1 ข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบเบื้องต้น ( ข้อมูล A: accept) สํานักงานจะจ่ายค่าใช้จ่าย ให้หน่วยบริการตามผลที่ประมวลได้ 5 . 2 ข้อมูลที่ไม่ผ่านจากการตรวจสอบเบื้องต้น ( ข้อมูล C: cancel) หน่วยบริการสามารถ แก้ไขและส่งมาในระบอีกครั้ง 5 . 3 ข้อมูลปฏิเสธการจ่าย ( ข้อมูล Deny) หน่วยบริการสามารถขอทบทวนเพื่อขอรับ ค่าใช้จ่ายตามที่สํานักงานกําหนด ข้อ 6 หน่วยบริการจะต้องผ่านการขออนุญาตขึ้นทะเบียนเป็นสถานพยาบาลตามกฎหมาย ว่าด้วยยาเสพติด ข้อ 7 หากพบความผิดปกติอื่นใดของข้อมูลผลงานหรือการเบิกจ่ายของหน่วยบริการนั้น ๆ สํานักงานจะตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย และกําหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบเวชระเบียน หรือข้อมูลการให้บริการทางการแพทย์ ของหน่วยบริการ ดังนี้ 7 . 1 พบเอกสารหลักฐานเวชระเบียนที่มีการวินิจฉัยของแพทย์ ในการวินิจฉัยผู้ป่วย ติดสารเสพติดในกลุ่มฝิ่นและอนุพันธ์ของฝิ่น 7 . 2 พบเอกสารหลักฐานเวชระเบียนที่มีคําสั่งของแพทย์ในการสั่งจ่ายสารเมทาโดน ที่มีการระบุช่วงเวลาในการสั่งจ่ายสารเมทาโดน ตามที่หน่วยบริการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย 7 . 3 พบเอกสารหลักฐานเวชระเบียนที่มีการให้บริการ ตามจํานวนครั้งที่หน่วยบริการ เรียกเก็บค่าใช้จ่าย ข้อ 8 สํานักงานจะพิจารณาปฏิเสธการจ่ายค่าใช้จ่ายในกรณีอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ 8 . 1 การให้บริการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ตามหมวด 1 8 . 2 ตรวจสอบไม่พบการยืนยันตัวตนของผู้ป่วยเพื่อยืนยันการใช้สิทธิในการเข้ารับบริการ ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด 8 . 3 กรณีที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการแล้วพบว่าไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบ หลักฐานการให้บริการตามข้อ 6 บทเฉพาะกาล ข้อ 9 ให้การบริการและการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการให้สารเมทาโดนระยะ ยาว (Methadone Maintenance Treatment: MMT) ที่ได้ดําเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ . ศ . 2565 จนถึงวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ถือเป็นการดําเนินการตามประกาศนี้ด้วย
เอกสารหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีที่จําเป็นต้องกํากับการใช้บริการอย่างใกล้ชิด พ . ศ . 2566 ลงวันที่ 29 มีนาคม พ . ศ . 2566 กรณียาจําเป็นและยาที่มีปัญหาในการเข้าถึง หมวด 1 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ข้อ 1 การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณียาจําเป็นและยาที่มีปัญหาในการเข้าถึง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1 . 1 เป็นการให้บริการแก่ผู้รับบริการ ดังนี้ 1 . 1 . 1 ผู้ป่วยที่ได้รับยาบัญชี จ ( 2 ) ตามรายการและข้อบ่งใช้ตามเงื่อนไขบัญชียาหลัก แห่งชาติ เป็นไปตามเอกสารหมายเลข 2 . 1 แนบท้ายประกาศนี้ 1 . 1 . 2 ผู้ป่วยโรคเลือดออกง่าย (Hemophilia) และผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายวอลวิลลิแบรนด์ ตามแนวทางการกํากับการใช้ยา Coagulation factors (factor VIII concentrate, Factor IX concentrate และ Factor IX complex) เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติเกี่ยวกับบัญชียาหลัก แห่งชาติ 1 . 1 . 3 ผู้ป่วยที่จําเป็นต้องได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยก่อนใช้ยา บัญชี จ ( 2 ) 1 . 1 . 4 ผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านพิษและเซรุ่มแก้พิษงู ตามรายการและข้อบ่งใช้ เป็นไป ตามเอกสารหมายเลข 2 . 2 แนบท้ายประกาศนี้ 1 . 1 . 5 ผู้ป่วยที่ได้รับยา Clopidogrel เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการพัฒนา ระบบยาแห่งชาติเกี่ยวกับบัญชียาหลักแห่งชาติ 1 . 2 หน่วยบริการที่มีสิทธิรับค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1 . 2 . 1 หน่วยบริการที่มีการสั่งใช้ยาตามแนวทางการกํากับการใช้ยาบัญชี จ ( 2 ) 1 . 2 . 2 หน่วยบริการที่ให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตามรายการที่กําหนดในข้อ 2 . 2 1 . 2 . 3 หน่วยบริการที่มีศักยภาพในการให้บริการโรคเลือดออกง่ายและวอลวิลลิแบรนด์ 1 . 2 . 4 หน่วยบริการที่ให้บริการกลุ่มยาต้านพิษและเซรุ่มแก้พิษงู ข้อ 2 สํานักงานจะจ่ายค่าใช้จ่าย ตามรายการและอัตรา ดังนี้ 2 . 1 ยาบัญชี จ ( 2 ) 2 . 1 . 1 จ่ายเป็นยาหรือเวชภัณฑ์ ตามแผนการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ ทางการแพทย์ที่จําเป็นตามโครงการพิเศษ ตามเอกสารหมายเลข 2 . 1 แนบท้ายประกาศนี้
-
2 - 2 . 1 . 2 จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายกรณีรักษาภาวะเลือดออกในระยะเริ่มต้น (Early Bleeding Treatment) สําหรับยาแฟคเตอร์ VIII และแฟคเตอร์ IX ในผู้ป่วยโรคเลือดออกง่าย (Hemophilia) และผู้ป่วย โรคเลือดออกง่ายวอลวิลลิแบรนด์ ตามปริมาณแฟคเตอร์ที่ใช้ ตามแนวทางการกํากับการใช้ยา Coagulation factors (Factor VIII concentrate, Factor IX concentrate และ Factor IX complex) เป็นไปตามประกาศ คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติเกี่ยวกับบัญชียาหลักแห่งชาติ ตามรายการบริการและอัตรา ดังนี้ ( 1 ) ค่าแฟคเตอร์ ในอัตรา 2 , 460 บาทต่อปริมาณแฟคเตอร์ 250 IU ( 2 ) ค่าแฟคเตอร์ ในอัตรา 4 , 920 บาทต่อปริมาณแฟคเตอร์ 500 IU หรือ 600 IU 2 . 2 กรณีโรคฮีโมฟีเลียที่มีเลือดออกรุนแรงที่เป็นอันตรายถึงพิการหรือเสียชีวิต หรือต้อง เข้ารับการผ่าตัดฉุกเฉิน จ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยบริการตามข้อ 1 . 2 . 3 ตามรายการบริการและอัตรา ดังนี้ 2 . 2 . 1 จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายตามจริง ในอัตราไม่เกิน 150 , 000 บาทต่อครั้ง ของการเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยไม่จํากัดจํานวนครั้งของการเข้ารับการรักษาในปีงบประมาณ 2 . 2 . 2 จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายตามจริง ในอัตราไม่เกิน 300 , 000 บาทต่อครั้ง ของการเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน เพิ่มเติมจากระบบการวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnostic Related Groups: DRGs) โดยไม่จํากัดจํานวนครั้งของการเข้ารับการรักษาที่นอนโรงพยาบาลในปีงบประมาณ 2 . 3 การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวินิจฉัยเพื่อสั่งใช้ยาบัญชี จ ( 2 ) 2 . 3 . 1 ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อประกอบการสั่งใช้ยาเกี่ยวข้องกับการรักษา โรคมะเร็ง ตามรายการบริการและอัตรา ดังนี้ ( 1 ) ค่าตรวจวินิจฉัย FISH (Fluorescence in situ hybridization) หรือ DISH (Dual –Color in situ hybridization) เพื่อประกอบการสั่งใช้ยา Trastuzumab ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะ เริ่มต้น (ICD10 = C50) สําหรับการตรวจยืนยัน In situ hybridization จ่ายตามจริงในอัตราไม่เกิน 10 , 000 บาทต่อเต้านม 1 ข้าง ( 2 ) ค่าตรวจวินิจฉัย Gene mutation เพื่อประกอบการสั่งใช้ยา Imatinib ในผู้ป่วยมะเร็ง Chronic myeloid leukemia (CML) (ICD10 = C92) จ่ายตามจริงในอัตราไม่เกิน 8 , 000 บาท ต่อปีต่อราย ( 3 ) ค่าตรวจวินิจฉัย EGFR mutation เพื่อประกอบการสั่งใช้ยา Erlotinib ในผู้ป่วยมะเร็ง Non-small-cell lung carcinoma (NSCLC) ระยะลุกลามถึงแพร่กระจาย (ICD10 = C34) การจ่ายค่าใช้จ่าย เป็นไปตามประกาศสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเกี่ยวกับเรื่องการจ่ายค่าใช้จ่าย เพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการจ่ายตามรายการบริการ 2 . 3 . 2 ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อประกอบการสั่งใช้ยา DDA – Pangenotypic ( ยา Sofosbuvir + Velpatasvir และยา Ribavirin) ในผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง (ICD10 = B182) รายการบริการและอัตรา เป็นไปตามประกาศสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเกี่ยวกับการจ่ายค่าบริการ สาธารณสุข กรณีบริการสําหรับโรคไวรัสตับอักเสบซี
-
3 - 2 . 4 กลุ่มยาต้านพิษและเซรุ่มแก้พิษงู 2 . 4 . 1 จ่ายเป็นยาตามแผนการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่จําเป็นตามโครงการพิเศษ ให้แก่หน่วยบริการที่มีการสั่งใช้ยา เป็นไปตามเอกสารหมายเลข 2 . 2 แนบท้าย ประกาศนี้ 2 . 4 . 2 จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายสําหรับหน่วยบริการ ที่ให้คําปรึกษา วินิจฉัย และกํากับ ติดตามการใช้ยาต้านพิษและเซรุ่มแก้พิษงู ในอัตรา 500 บาทต่อราย 2 . 5 ยา Clopidogrel 75 mg. จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากระบบการวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnostic Related Groups: DRGs) ตามเงื่อนไขการใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ในอัตรา 3 บาทต่อเม็ด ทั้งกรณีผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน หมวด 2 วิธีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ข้อ 3 ให้หน่วยบริการที่ให้บริการบันทึกและส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายหรือยา หรือส่งข้อมูล ตามชุดข้อมูลมาตรฐาน ผ่านระบบบันทึกข้อมูลและประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ (e-Claim) มายังสํานักงาน หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบข้อมูลของหน่วยบริการกับสํานักงาน หรือระบบโปรแกรมอื่น ตามที่สํานักงานกําหนด โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 3 . 1 ยาบัญชี จ ( 2 ) 3 . 1 . 1 กรณีจ่ายยาตามเงื่อนไขบัญชียาหลัก ให้หน่วยบริการบันทึกและส่งข้อมูล ผ่านโปรแกรมระบบบัญชียา จ ( 2 ) ผ่านเครือข่ายหน่วยบริการด้านยา เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่จําเป็นตามโครงการพิเศษ หรือจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นเงินเท่ากับมูลค่ายาที่สํานักงานจัดหาได้ 3 . 1 . 2 กรณีจ่ายยาสํารอง ให้หน่วยบริการแจ้งหนังสือแสดงความประสงค์ขอสํารองยา ในครั้งแรก หรือการขอสํารองยาเพิ่มเติม และแนบเอกสารผ่านโปรแกรมระบบบัญชียา จ ( 2 ) 3 . 2 กรณีจ่ายค่าใช้จ่ายสําหรับผู้ป่วยโรคเลือดออกง่าย (Hemophilia) และผู้ป่วย โรคเลือดออกง่ายวอลวิลลิแบรนด์ ให้หน่วยบริการบันทึกข้อมูลการรักษาการให้บริการแฟคเตอร์ ผ่านโปรแกรม บริหารจัดการโรคเฉพาะ Hemophilia (DMIS) 3 . 3 กลุ่มยาต้านพิษและเซรุ่มแก้พิษงู 3 . 3 . 1 ให้หน่วยบริการบันทึกและส่งข้อมูลเพื่อขอรับการสนับสนุนยา ผ่านโปรแกรม ระบบยาในกลุ่มยาต้านพิษและเซรุ่มแก้พิษงู 3 . 3 . 2 ให้หน่วยบริการผู้ให้คําปรึกษา วินิจฉัย และกํากับติดตามการใช้ยาต้านพิษ และเซรุ่มแก้พิษงู บันทึกและส่งข้อมูลผ่านระบบบันทึกข้อมูลและประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ (e-Claim) 3 . 4 กรณียา Clopidogrel ให้หน่วยบริการบันทึกและส่งข้อมูลผ่านระบบโปรแกรมบันทึก ข้อมูลและประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ (e-Claim)
-
4 - หมวด 3 เงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ข้อ 4 เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานเอกสารการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการ สาธารณสุข ให้หน่วยบริการจัดให้มีหรือมีข้อมูลยืนยันตัวตนของผู้รับบริการเพื่อยืนยันการใช้สิทธิในการเข้ารับ บริการตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด ยกเว้น การบริการที่เป็นประเภทผู้ป่วยใน ข้อ 5 ยาบัญชี จ ( 2 ) และกลุ่มยาต้านพิษและเซรุ่มแก้พิษงู 5 . 1 หน่วยบริการส่งข้อมูลเพื่อขอรับการสนับสนุนยาภายในระยะเวลา 90 วัน นับตั้งแต่ วันที่ให้บริการ กรณีหน่วยบริการส่งข้อมูลล่าช้ากว่าวันที่กําหนด ให้หน่วยบริการทําหนังสือแจ้งสํานักงาน เพื่อพิจารณาจ่ายยาตามข้อเท็จจริงของบริการที่เกิดขึ้น 5 . 2 การสนับสนุนยา รายการยา ตามเอกสารหมายเลข 2 . 1 และ 2 . 2 แนบท้ายประกาศนี้ ประมวลผลจ่ายตามข้อมูลที่บันทึกผ่านโปรแกรมระบบบัญชียาทุกวัน โดยประมวลผลเฉพาะรายการที่ผ่านเงื่อนไข ในโปรแกรม แล้วส่งข้อมูลไปยังระบบ VMI ขององค์การเภสัชกรรม ข้อ 6 ผู้ป่วยโรคเลือดออกง่าย (Hemophilia) และผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายวอลวิลลิแบรนด์ สํานักงานจะจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นเงิน หรือจะจ่ายเป็นยาการบริการทางการแพทย์เมื่อหน่วยบริการรับส่งต่อบันทึก ข้อมูลการรักษาการให้บริการแฟคเตอร์ ( แพทย์ผู้ทําการรักษาจะต้องจ่ายแฟคเตอร์ให้ผู้ป่วยโรคเลือดออกง่าย (Hemophilia) ในทุกกลุ่มอายุและทุกระดับอาการตามที่ระบุไว้ในแผนการรักษา ) และการตรวจติดตามผู้ป่วย ในโปรแกรม DMIS โดยหน่วยบริการต้องบันทึกข้อมูลการรักษาผู้ป่วย และสํานักงานมีสิทธิขอตรวจประวัติ การรักษาเพื่อทําการตรวจสอบข้อมูลหลังการรักษา ในกรณีมีข้อขัดแย้งหรือข้อบ่งชี้ว่าการรักษาไม่เป็นไป ตามแนวทางที่กําหนดไว้ โดย 6 . 1 กรณีจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นเงิน สํานักงานจะดําเนินการตัดข้อมูลการให้บริการ เพื่อประมวลผลข้อมูลทุกสิ้นเดือนและจ่ายค่าใช้จ่ายภายในเดือนถัดไป 6 . 2 กรณีจ่ายเป็นยาแฟคเตอร์ VIII สํานักงานจะดําเนินการตัดข้อมูลการให้บริการ เพื่อประมวลผลข้อมูลทุกสิ้นเดือนและจ่ายเป็นยาให้หน่วยบริการ ( โดยหน่วยบริการจะต้องไม่บันทึกมูล ค่ายาแฟคเตอร์ VIII ในโปรแกรมจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นเงินในระบบ DMIS) ข้อ 7 สํานักงานจะประมวลผลและแจ้งรายงานการจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยบริการ โดยรายงาน การจ่ายค่าใช้จ่ายจะแสดงสถานะข้อมูล ดังนี้ 7 . 1 กรณีรายการที่บันทึกข้อมูลผ่านระบบโปรแกรมบันทึกข้อมูลและประมวลผลข้อมูล การบริการทางการแพทย์ (e-Claim) 7 . 1 . 1 ข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบเบื้องต้น ( ข้อมูล A: accept) สํานักงานจะนําเข้าสู่ กระบวนการตรวจสอบก่อนการจ่ายค่าใช้จ่าย 7 . 1 . 2 ข้อมูลที่ไม่ผ่านจากการตรวจสอบเบื้องต้น ( ข้อมูล C: cancel) หน่วยบริการ สามารถแก้ไขและส่งมาในระบบของสํานักงานอีกครั้ง
-
5 - 7 . 1 . 3 ข้อมูลปฏิเสธการจ่าย ( ข้อมูล Deny) หน่วยบริการสามารถขอทบทวน เพื่อขอรับค่าใช้จ่ายตามที่สํานักงานกําหนด 7 . 2 กรณีรายการที่บันทึกข้อมูลผ่านโปรแกรม DMIS และ โปรแกรมอื่นที่สํานักงาน กําหนด 7 . 2 . 1 ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลตามเงื่อนไขที่กําหนด ( ข้อมูล Y) สํานักงาน จะนําเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบก่อนการจ่ายค่าใช้จ่าย 7 . 2 . 2 ข้อมูลที่ประมวลผลไม่ผ่านตามเงื่อนไขที่กําหนด : ข้อมูลปฏิเสธการจ่าย ( ข้อมูล N) หน่วยบริการสามารถอุทธรณ์เพื่อขอรับค่าใช้จ่ายตามแนวทางที่กําหนด ข้อ 8 หากพบความผิดปกติอื่นใดของข้อมูลผลงานหรือการเบิกจ่ายของหน่วยบริการนั้น ๆ สํานักงานจะตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย และกําหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบเวชระเบียน หรือข้อมูลการให้บริการทางการแพทย์ ดังนี้ 8 . 1 กรณียาบัญชี จ ( 2 ) 8 . 1 . 1 พบหลักฐานเวชระเบียนการวินิจฉัยโรค และการรักษา ที่มีเงื่อนไขตาม แนวทางการกํากับการใช้ยาบัญชี จ ( 2 ) แห่งประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติเกี่ยวกับบัญชี ยาหลักแห่งชาติ ตามรายการยาที่หน่วยบริการขอสนับสนุน 8 . 1 . 2 พบหลักฐานการสั่งยาของแพทย์ผู้ทําการรักษา ที่ระบุชื่อยาและขนาดยา รวมทั้งหลักฐานการบริหารยาบัญชี จ ( 2 ) ตามรายการยาที่หน่วยบริการขอสนับสนุน 8 . 1 . 3 พบเอกสารกํากับการใช้ยา บัญชี จ ( 2 ) ที่ได้รับการอนุมัติจากผู้มีอํานาจ ในการอนุมัติการใช้ยา 8 . 1 . 4 พบรายงานผลที่เป็น Official report การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง กับการตรวจวินิจฉัยเพื่อสั่งใช้ยาบัญชี จ ( 2 ) ตามรายการที่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งมีข้อบ่งชี้การส่งตรวจตามเกณฑ์ การจ่ายค่าใช้จ่าย ในกรณีที่หน่วยบริการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 8 . 2 กลุ่มยาต้านพิษและเซรุ่มแก้พิษงู 8 . 2 . 1 พบหลักฐานเวชระเบียนการวินิจฉัยโรคและการรักษา ที่มีข้อบ่งชี้ตามเกณฑ์ การจ่ายค่าใช้จ่ายกรณีบริการยาของหน่วยบริการ ตามรายการยาที่หน่วยบริการขอรับค่าใช้จ่ายหรือขอสนับสนุนยา 8 . 2 . 2 พบหลักฐานการสั่งยาของแพทย์ผู้ทําการรักษา ที่ระบุชื่อยาและขนาดยา รวมทั้งหลักฐานการบริหารยา ตามรายการยาที่หน่วยบริการขอรับค่าใช้จ่ายหรือขอสนับสนุนยา 8 . 3 กรณีผู้ป่วยโรคเลือดออกง่าย (Hemophilia) และผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายวอลวิลลิแบรนด์ 8 . 3 . 1 พบเอกสารหลักฐานเวชระเบียนที่พบการวินิจฉัยผู้ป่วยโรคเลือดออกง่าย (Hemophilia) ที่ระบุความรุนแรงของโรค หรือผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายวอลวิลลิแบรนด์ รวมทั้งมีหลักฐาน ทางห้องปฏิบัติการที่สนับสนุนการวินิจฉัย 8 . 3 . 2 พบเอกสารหลักฐานการสั่งจ่ายแฟคเตอร์เข้มข้น และการบริหารยาในการรักษา ภาวะเลือดออกในระยะเริ่มต้น (Early bleeding treatment) ตามจํานวนแฟคเตอร์เข้มข้นที่หน่วยบริการ เรียกเก็บค่าใช้จ่าย
-
6 - 8 . 3 . 3 ในกรณีที่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการรักษาภาวะเลือดออกรุนแรง ต้องพบ เอกสารหลักฐานที่สนับสนุนภาวะเลือดออกรุนแรง หรือความจําเป็นที่ต้องผ่าตัดฉุกเฉิน 8 . 3 . 4 ในกรณีที่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการรักษาภาวะเลือดออกรุนแรงแบบผู้ป่วยใน จะต้องพบหลักฐานเวชระเบียนผู้ป่วยในที่การรักษาและการสั่งจ่ายแฟคเตอร์เข้มข้น และการบริหารยา แฟคเตอร์เข้มข้น ตามที่หน่วยบริการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย 8 . 3 . 5 ในกรณีที่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการรักษาภาวะเลือดออกรุนแรงแบบผู้ป่วยนอก จะต้องพบหลักฐานเวชระเบียนผู้ป่วยนอกที่การรักษาและการสั่งจ่ายแฟคเตอร์เข้มข้น และการบริหารยา แฟคเตอร์เข้มข้น ตามที่หน่วยบริการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย 8 . 4 กรณียา Clopidogrel 8 . 4 . 1 พบหลักฐานเวชระเบียนการวินิจฉัยโรค และการรักษา ที่มีข้อบ่งชี้ ตามแนวทางการกํากับการใช้ยา ในประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติเกี่ยวกับบัญชียาหลัก แห่งชาติ ตามรายการยาที่หน่วยบริการขอสนับสนุน 8 . 4 . 2 พบหลักฐานการสั่งยา Clopidogrel ของแพทย์ผู้ทําการรักษา ที่ระบุจํานวน ที่สั่งจ่ายยา ข้อ 9 สํานักงานจะพิจารณาปฏิเสธการจ่ายค่าใช้จ่าย ในกรณีอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ 9 . 1 การให้บริการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ตามหมวด 1 9 . 2 ตรวจสอบไม่พบการยืนยันตัวตนของผู้ป่วยเพื่อยืนยันการใช้สิทธิในการเข้ารับบริการ ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด 9 . 3 กรณีที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการแล้วพบว่าไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบ หลักฐานการให้บริการตามข้อ 8 บทเฉพาะกาล ข้อ 10 ให้การบริการและการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณียาจําเป็นและยา ที่มีปัญหาในการเข้าถึง ที่ได้กําเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ . ศ . 2565 จนถึงวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ถือเป็นการดําเนินการตามประกาศนี้ด้วย
เอกสารหมายเลข 2 . 1 แนบท้ายประกาศสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีที่จําเป็นต้องกํากับการใช้บริการอย่างใกล้ชิด พ . ศ . 2566 ลงวันที่ 29 มีนาคม พ . ศ . 2566 กรณียาจําเป็นและยาที่มีปัญหาในการเข้าถึง กรณียาบัญชี จ ( 2 ) รายการยาบัญชี จ ( 2 ) และเงื่อนไขการใช้ยา จํานวน 32 รายการ ลําดับ รายการยา เงื่อนไขบัญชียาหลักแห่งชาติ 1. Botulinum toxin type A 1. โรคคอบิด (Cervical dystonia) ชนิดไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic) 2. โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก (Hemifacial spasm) ชนิดไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic) 3. โรค Spasmodic Dysphonia 2. Leuprorelin acetate 11.25 mg 1. ภาวะที่เป็นหนุ่มสาวก่อนวัย Central (Gonadotrophin dependent) precocious puberty 3. Human normal immunoglobulin, intravenous (IVIG) 1. โรคคาวาซากิระยะเฉียบพลัน (Acute phase of Kawasaki disease) 2. โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิ (Primary immunodeficiency diseases) 3. โรค Idiopathic thrombocytopenic purpura (ITP) ชนิดรุนแรง 4. โรค Autoimmune hemolytic anemia (AIHA) ที่ไม่ตอบสนองต่อ การรักษาตามขั้นตอนของมาตรฐานการรักษา และมีอาการรุนแรงที่อาจ เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต 5. กลุ่มอาการ Guillain-Barre’ syndrome ที่มีอาการรุนแรง 6. โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้ายระยะวิกฤต (Myasthenia gravis, acute exacerbation หรือ myasthenic crisis) 7. โรค Pemphigus vulgaris ที่มีอาการรุนแรง และไม่ตอบสนองต่อ การรักษาด้วยยามาตรฐาน 8. โรค Hemophagocytic lymphohistiocytosis (HLH) 9. โรค Dermatomyositis ( กรณี Secondary treatment) 10. Chronic Inflammatory Demyelinating Polyradiculoneuropathy (CIDP) 4. Docetaxel บัญชี ง 1. โรคมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นหรือระยะลุกลาม เฉพาะผู้ป่วยที่มีปัญหา โรคหัวใจ 2. โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะแพร่กระจาย
-
2 - ลําดับ รายการยา เงื่อนไขบัญชียาหลักแห่งชาติ 3. ใช้เป็น Second line drug ในโรคมะเร็งปอด ชนิด non-small cell ระยะลุกลาม 4. ใช้ร่วมกับ cyclophosphamide ในการรักษาเสริมสําหรับผู้ป่วย โรคมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นที่มีปัญหาโรคหัวใจ หรือ เคยได้รับยา doxorubicin แล้ว 5. Letrozole 2.5 mg tablet บัญชี ง โรคมะเร็งเต้านมที่มี HER2 receptor เป็นบวก 6. Liposomal amphotericin B โรค Invasive fungal infections ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถทนต่อยา Amphotericin B 7. Bevacizumab 1. โรคจุดภาพชัดจอตาเสื่อมเหตุสูงวัยแบบเปียกที่มีเส้นเลือดงอกใหม่ใต้ รอยบุ๋มจอตา (Wet form of subfoveal, juxtafoveal choroidal neovascularization (CNV) due-to aged related macular degeneration) (AMD) 2. โรคศูนย์กลางจอตาบวมจากเบาหวาน (Diabetic Macular Edema: DME) 3. โรคหลอดเลือดดําที่จอตาอุดตันที่มีศูนย์กลางจอตาบวม (Retinal Vein Occlusion with Macular Edema: RVO) 4. โรคจอตาผิดปกติในเด็กเกิดก่อนกําหนด (Retinopathy of Prematurity: ROP) 8. Voriconazole 1. โรค Invasive aspergillosis 2. โรค Invasive fungal infection จากเชื้อ Fusarium spp., Scedosporium spp. (Pseudallescheria) 3. โรค Invasive fungal infection จากเชื้อ Trichosporon spp. 9. Thyrotropin alfa โรค Well differentiated thyroid cancer (Papillary and/or Follicular thyroid carcinoma) 10. Ribavirin โรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังทุกสายพันธุ์ ทั้งในผู้ป่วยที่มีหรือไม่มีการติด เชื้อ HIV ร่วมด้วย 11. Antithymocyte globulin ชนิด rabbit (ATG) ภาวะเลือดจางเหตุไขกระดูกฝ่อ ชนิดรุนแรง (severe aplastic anaemia) 12. Linezolid 1. โรคติดเชื้อดื้อยากลุ่ม Methicillin resistant S. aureus (MRSA)2 2. โรคติดเชื้อ Vancomycin Resistant Enterococci (VRE) 13. Imiglucerase โรค Gaucher’s disease type 1 14. Trastuzumab 150 mg ต่อ vial, 440 mg ต่อ vial โรคมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นที่มี HER 2 recepter เป็นบวก
-
3 - ลําดับ รายการยา เงื่อนไขบัญชียาหลักแห่งชาติ 15. Imatinib mesylate 100 mg tablet 1. โรค Chronic myelogenous leukemia (CML) ระยะ Chronic stable phase 2. โรค Gastrointestinal stromal tumors (GISTs) ระยะลุกลามหรือมี การกระจายของโรค 3. โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ acute lymphoblastic leukemia (ALL) ที่มี Ph+ 16. Nilotinib 200 mg tablet ใช้เป็น Second line drug ในผู้ป่วย Chronic myeloid leukemia (CML) ที่ไม่สามารถใช้ยา Imatinib ได้ 17. Dasatinib 50 mg, 70 mg tablet 1. ใช้เป็น Third line drug ในผู้ป่วย Chronic myeloid leukemia (CML) ที่ไม่สามารถใช้ยา Nilotinib ได้ 2. โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ Acute lymphoblastic leukemia (ALL) ที่มี Ph+ 18. Factor VIII โรคเลือดออกง่าย (Hemophilia ชนิด A) และวอลวิลลิแบรนด์ 19. Factor IX โรคเลือดออกง่าย (Hemophilia ชนิด B) 20. Micafungin sodium sterile pwdr 50 mg โรคติดเชื้อ Candida ที่ดื้อยา Fluconazole หรือไม่สามารถใช้ยา Amphotericin B ได้ 21. Rituximab 100 mg ต่อ vial, 500 mg ต่อ vial 1. โรค Non-Hodgkin lymphoma ชนิด diffuse large B-cell (DLBCL) ในเด็กและผู้ใหญ่ 2. โรค Neuromyelitis optica spectrum disorder (NMOSD) 22. Triptorelin pamoate 11.25 mg รักษาภาวะ Central (Gonadotrophin dependent) precocious puberty 23. Erlotinib 150 mg tablet โรคมะเร็งปอด ชนิด Non-small-cell lung carcinoma (NSLCL) ระยะลุกลามถึงแพร่กระจายที่มีผลตรวจการกลายพันธุ์ของยีน epidermal growth factor receptor (EGFR) เป็นบวก 24. Octreotide acetate LAR Injection 20, 30 mg 1. Acromegaly ที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเนื้องอกหรือฉายแสงแล้ว ระดับ GH และ IGF สูง แพทย์ผู้สั่งใช้ยา สาขาอายุรศาสตร์ต่อมไร้ท่อ และเมตะบอลิสม 2. ใช้ในผู้ป่วย Thyrotropin secreting pituitary adenoma 25. Sofosbuvir + Velpatasvir โรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังทุกสายพันธุ์ ทั้งในผู้ป่วยที่มีหรือไม่มีการติดเชื้อ HIV ร่วมด้วย 26. Tocilizumab รักษาโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุ ชนิด Systemic (Systemic Juvenile Idiopathic Arthritis: SJIA) ในเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐาน
-
4 - ลําดับ รายการยา เงื่อนไขบัญชียาหลักแห่งชาติ 27. Ceftazidime หรือ Avibactam รักษาการติดเชื้อ Carbapenem-resistant Enterobacteriaceae ที่ไวต่อยา Ceftazidime หรือ Avibactam 28. Posaconazole รักษาผู้ป่วยติดเชื้อรามิวโคไมโคสิส (Invasive mucormycosis) ที่ไม่ตอบสนอง หรือไม่ทนต่อยา amphotericin B 29. Cysteamine bitartrate รักษาโรค Nephropathic Cystinosis 30. Sapropterin (BH4) (oral form) 1. รักษากลุ่มโรค Tetrahydrobiopterin (BH4) 2. รักษาโรค Phenylketonuria (PKU) 31. Infliximab ( สําหรับ IBD, AS) Sterile powder (100 mg ต่อ vial) 1. โรคลําไส้แปรปรวน (inflammatory bowel disease) 2. โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด (Ankylosing spondylitis) 32. Adalimumab ( สําหรับ PsA, RA) prefill syringe (40 mg ต่อ 0.8ml) 1. โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (Psoriatic arthritis) 2. โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) หมายเหตุ : 1 ) รายการยา Docetaxcel และ Letrozole ชดเชยยาครอบคลุมปีงบประมาณ พ . ศ . 2566 2 ) ข้อบ่งใช้ยา เงื่อนไขบัญชียาหลักแห่งชาติ อาจมีการเปลี่ยนแปลง หากมีการประกาศเพิ่มเติม ระหว่างปีให้อ้างอิงเงื่อนไข / ข้อบ่งใช้ ฉบับล่าสุด
เอกสารหมายเลข 2 . 2 แนบท้ายประกาศสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีที่จําเป็นต้องกํากับการใช้บริการอย่างใกล้ชิด พ . ศ . 2566 ลงวันที่ 29 มีนาคม พ . ศ . 2566 ยาในกลุ่มยาต้านพิษและเซรุ่มแก้พิษงู รายการยาในกลุ่มยาต้านพิษและเซรุ่มแก้พิษงู การสนับสนุนยาประกอบด้วย 16 รายการ ลําดับ รายการยา ชดเชยเป็นยา ข้อบ่งใช้ 1 Dimercaprol inj. ใช้รักษาพิษจากโลหะหนัก ได้แก่ Arsenic, Gold, Mercury, Lead, Copper 2 Sodium nitrite inj. Cyanide Poisoning, Hydrogen Sulfide 3 Sodium thiosulfate inj. Cyanide Poisoning 4 Methylene blue inj. Methemoglobinemia, Toxic Encephalopathy 5 Diphtheria antitoxin inj. ใช้รักษาโรคคอตีบจาก Diphtheria Toxin 6 Calcium disodium edentate inj. ใช้รักษาพิษจากโลหะหนัก 7 Succimer Cap. ใช้รักษาภาวะพิษจากตะกั่ว 8 Diphenhydramine inj. ใช้บําบัดภาวะ Dystonia จากยา 9 Botulinum Antitoxin inj. ใช้รักษาพิษจาก Botulinum Toxin 10 เซรุ่มต้านพิษงูเห่า แก้พิษงูเห่า 11 เซรุ่มต้านพิษงูเขียวหางไหม้ แก้พิษงูเขียวหางไหม้ 12 เซรุ่มต้านพิษงูแมวเซา แก้พิษงูแมวเซา 13 เซรุ่มต้านพิษงูกะปะ แก้พิษงูกะปะ 14 เซรุ่มต้านพิษงูทับสมิงคลา แก้พิษงูทับสมิงคลา 15 เซรุ่มต้านพิษงูรวมระบบเลือด แก้พิษงูที่มีพิษต่อระบบเลือด 16 เซรุ่มต้านพิษงูรวมระบบประสาท แก้พิษงูที่มีพิษต่อระบบประสาท