ข้อกำหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น
ข้อกำหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น
ข้อกําหนด ว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น โดยที่เป็นการสมควรมีข้อกําหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 76 กําหนดให้รัฐพัฒนาระบบการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน รวมตลอดทั้งพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีทัศนคติเป็นผู้ให้บริการประชาชน โดยกําหนดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ ใช้เป็นหลักในการกําหนดประมวลจริยธรรม และเป็นหลักสําคัญในการกําหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติตน สําหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น ๆ และมาตรา 250 มาตรา 251 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กําหนดให้กฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระในการบริหาร โดยการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งต้องใช้ระบบคุณธรรมและต้องคํานึงถึงความเหมาะสมกับ ความจําเป็นของแต่ละท้องถิ่นและแต่ละรูปแบบ โดยจัดให้มีมาตรฐานที่สอดคล้องกัน เพื่อให้สามารถ พัฒนาร่วมกันได้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 251 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 6 มาตรา 14 มาตรา 19 และมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ . ศ . 2562 มาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 มาตรา 57 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ . ศ . 2534 มาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ . ศ . 2540 มาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติ เทศบาล พ . ศ . 2496 มาตรา 90 แห่งพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ . ศ . 2537 มาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ . ศ . 2542 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย พ . ศ . 2553 ระเบียบคณะกรรมการ มาตรฐานทางจริยธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทําประมวลจริยธรรม ข้อกําหนดจริยธรรม และกระบวนการ รักษาจริยธรรมของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ . ศ . 2563 ประกาศคณะกรรมการมาตรฐาน การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น เรื่อง ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2564 ประกอบมติที่ประชุมคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 3/2566 วันที่ 31 มีนาคม พ . ศ . 2566 จึงประกาศข้อกําหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อกําหนดนี้เรียกว่า “ ข้อกําหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ” ข้อ 2 ข้อกําหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ้ หนา 24 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 132 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มิถุนายน 2566
ข้อ 3 ให้ยกเลิก ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น เรื่อง กําหนดมาตรฐานกลางทางจริยธรรมของข้าราชการพนักงานและลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2556 ข้อ 4 ในข้อกําหนดนี้ “ คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม ” หมายความว่า คณะกรรมการตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ . ศ . 2562 “ คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ” หมายความว่า คณะกรรมการ ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนบุคคล พ . ศ . 2542 “ คณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นประจําจังหวัด ” หมายความว่า คณะกรรมการที่มีหน้าที่และอํานาจขับเคลื่อนมาตรฐานจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นระดับจังหวัด “ ก . จ . จ .” หมายความว่า คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด “ ก . ท . จ .” หมายความว่า คณะกรรมการพนักงานเทศบาล “ ก . อบต . จังหวัด ” หมายความว่า คณะกรรมการพนักงานส่วนตําบล “ ก . เมืองพัทยา ” หมายความว่า คณะกรรมการพนักงานเมืองพัทยา “ ก . ก .” หมายความว่า คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร “ คณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมประจําองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ” หมายความว่า คณะกรรมการที่มีหน้าที่และอํานาจขับเคลื่อนมาตรฐานทางจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นระดับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น “ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ” หมายความว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 ยกเว้นกรุงเทพมหานคร “ ราชการส่วนภูมิภาค ” หมายความว่า จังหวัด อําเภอ “ พนักงานส่วนท้องถิ่น ” หมายความว่า พนักงานส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 ยกเว้นข้าราชการกรุงเทพมหานคร บุคลากรกรุงเทพมหานคร และผู้ปฏิบัติงานอื่นในกรุงเทพมหานคร “ ผู้ร้องขอ ” หมายความว่า ผู้กล่าวหา ผู้เสียหาย ผู้ทําคําร้อง ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ผู้ให้ถ้อยคํา หรือผู้ที่แจ้งเบาะแส หรือข้อมูลใดเกี่ยวกับจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น และให้หมายความรวมถึง บุคคลอื่นใดที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ร้องขอด้วย “ พยาน ” หมายความว่า บุคคลใดที่คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นประจําจังหวัด หรือคณะกรรมการมาตรฐาน จริยธรรมประจําองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีมติให้ความคุ้มครองช่วยเหลือ หรือกันไว้เป็นพยาน ้ หนา 25 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 132 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มิถุนายน 2566
“ ผู้บังคับบัญชา ” หมายความว่า ผู้ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้มีอํานาจหน้าที่บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นใดที่ได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนหรือเงินอื่นใด จากหน่วยงานของรัฐ หรือผู้ซึ่งกํากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กฎหมายบัญญัติ ข้อ 5 ให้ประธานกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นรักษาการตาม ข้อกําหนดนี้และให้ประธานกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นโดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นมีอํานาจตีความวินิจฉัยปัญหา กําหนด หลักเกณฑ์ มาตรการ วิธีการ แนวทางการปฏิบัติ เพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามข้อกําหนดนี้ กรณีที่คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นไม่มีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการ ได้ให้คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นเท่าที่เหลืออยู่ดําเนินการเท่าที่จําเป็น ไปพลางก่อน โดยให้รายงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ทราบในโอกาสแรก ของการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น และรายงานให้คณะกรรมการ มาตรฐานทางจริยธรรมทราบ กรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกําหนดนี้ได้ ให้ขอทําความตกลง กับคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นก่อนการปฏิบัติ คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นอาจมอบอํานาจให้คณะกรรมการ มาตรฐานจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นประจําจังหวัดก็ได้ หมวด 1 กลไกขับเคลื่อนจริยธรรม ส่วนที่ 1 องค์กรกลางการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ข้อ 6 ให้คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่และอํานาจ ดังนี้ ( 1 ) เสนอแนะและให้คําปรึกษาเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรม และการส่งเสริมจริยธรรมต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมพนักงาน ส่วนท้องถิ่นประจําจังหวัด ( 2 ) กําหนดแนวทางในการส่งเสริม และพัฒนา เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพให้พนักงานส่วนท้องถิ่น มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรม และยึดถือแนวทางปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม พนักงานส่วนท้องถิ่น รวมทั้งกําหนดให้มีมาตรการจูงใจเพื่อส่งเสริม พัฒนา ให้พนักงานส่วนท้องถิ่น มีพฤติกรรมทางจริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ดี ้ หนา 26 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 132 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มิถุนายน 2566
( 3 ) กําหนดแนวทางหรือมาตรการในการขับเคลื่อน การดําเนินกระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ประมวลจริยธรรมของพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้คณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรม พนักงานส่วนท้องถิ่นประจําจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้บังคับบัญชานําไปใช้ในกระบวนการ บริหารงานบุคคลอย่างเป็นรูปธรรม ( 4 ) กําหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการนําพฤติกรรมทางจริยธรรมไปใช้ในกระบวนการบริหาร งานบุคคล ให้มีผลต่อการพิจารณาให้คุณให้โทษ เช่น การประเมินผลการปฏิบัติราชการ การเลื่อน เงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนตําแหน่ง การโอน การย้าย หรือการให้ออกจากราชการ ( 5 ) กําหนดมาตรการที่ใช้บังคับกรณีพนักงานส่วนท้องถิ่นมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และระดับความร้ายแรงของโทษ ในกรณีมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น และข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ( 6 ) กําหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการ รวมถึงกลไก การบังคับใช้ประมวลจริยธรรม พนักงานส่วนท้องถิ่น ( 7 ) กําหนดมาตรการเพื่อใช้ในการบริหารงานบุคคล ( 8 ) กํากับ ติดตาม ดูแล การดําเนินการตามประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น กระบวนการรักษาจริยธรรม การประเมินผลการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ( 9 ) รายงานผลการดําเนินการทางจริยธรรมให้คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมทราบ ( 10 ) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดจากการใช้ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นและ การใช้บังคับข้อกําหนดนี้ ( 11 ) ดําเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของพนักงานส่วนท้องถิ่น การประเมินผลตาม ( 8 ) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการมาตรฐาน การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นกําหนด โดยอาจจัดให้มีองค์กรภายนอกเข้าร่วมการประเมินผลด้วยก็ได้ ข้อ 7 ให้สํานักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่และอํานาจ ดังนี้ ( 1 ) เป็นหน่วยดําเนินงานด้านจริยธรรมของพนักงานส่วนท้องถิ่นโดยมีกลุ่มงานจริยธรรม พนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีกรอบอัตรากําลังผู้ปฏิบัติงานที่เหมาะสม รวมถึงการจัดสรรงบประมาณ เกี่ยวกับการดําเนินงานด้านจริยธรรม ( 2 ) จัดทําหลักสูตรการฝึกอบรม การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้กับพนักงานส่วนท้องถิ่น และประชาชน ( 3 ) ศึกษา วิเคราะห์ เป็นศูนย์กลางข้อมูลและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับงานจริยธรรม ของพนักงานส่วนท้องถิ่น ( 4 ) รณรงค์ส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ้ หนา 27 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 132 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มิถุนายน 2566
( 5 ) กํากับ ติดตาม ดูแล การดําเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมพนักงาน ส่วนท้องถิ่น ข้อกําหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ประมวลจริยธรรมพนักงาน ส่วนท้องถิ่น และข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ( 6 ) ช่วยเหลือ และให้คําปรึกษา และแนะนําเกี่ยวกับจริยธรรมของพนักงานส่วนท้องถิ่น ( 7 ) จัดประชุม สัมมนา ฝึกอบรม รวมทั้งการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ การดําเนินการจริยธรรมของพนักงานส่วนท้องถิ่น ( 8 ) ประเมินผลการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเสนอต่อคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ( 9 ) รับและดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนกรณีมีการฝ่าฝืนจริยธรรม การปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของพนักงานส่วนท้องถิ่น และกําหนดกลไกในการส่งเสริมให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการตรวจสอบพฤติกรรมของพนักงานส่วนท้องถิ่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ( 10 ) ดําเนินการตามที่คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นมอบหมาย ( 11 ) ดําเนินการตามที่ปลัดกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย ข้อ 8 ให้คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ จริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ( 1 ) ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น จํานวนหนึ่งคน เป็นประธานอนุกรรมการ ( 2 ) ผู้แทนปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นอนุกรรมการ ( 3 ) ผู้แทน ก . พ . เป็นอนุกรรมการ ( 4 ) ผู้แทน ส . ถ . เป็นอนุกรรมการ ( 5 ) เลขาธิการ ป . ป . ช . หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ ( 6 ) ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมาย ด้านการเมืองการปกครอง หรือด้านอื่น ๆ จํานวนสามคน เป็นอนุกรรมการ ( 7 ) ผู้แทนปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด จํานวนหนึ่งคน เป็นอนุกรรมการ ( 8 ) ผู้แทนปลัดเทศบาล จํานวนหนึ่งคน เป็นอนุกรรมการ ( 9 ) ผู้แทนปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวนหนึ่งคน เป็นอนุกรรมการ ( 10 ) ผู้แทน ก . จ . ที่ ก . จ . คัดเลือกจํานวนหนึ่งคน ผู้แทน ก . ท . ที่ ก . ท . คัดเลือก จํานวนหนึ่งคน ผู้แทน ก . อบต . ที่ ก . อบต . คัดเลือกจํานวนหนึ่งคน โดยบุคคลดังกล่าวต้องมิใช่ บุคคลตามข้อ 8 ( 6 ) - ( 9 ) เป็นอนุกรรมการ ( 11 ) ปลัดเมืองพัทยา หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ ( 12 ) ปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ ( 13 ) หัวหน้าสํานักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น เป็นอนุกรรมการ ้ หนา 28 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 132 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มิถุนายน 2566
( 14 ) ผู้อํานวยการกลุ่มงานจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น สํานักงานคณะกรรมการมาตรฐาน การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ( 15 ) ข้าราชการสํานักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นที่หัวหน้า สํานักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นมอบหมาย จํานวนสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ อนุกรรมการตาม ( 6 ) ( 7 ) ( 8 ) ( 9 ) ให้เป็นไปตามที่ ( 1 ) เห็นสมควร ข้อ 9 ให้คณะอนุกรรมการตามข้อ 8 มีหน้าที่และอํานาจ ดังนี้ ( 1 ) ให้คําปรึกษาแนะนําเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงานโครงการส่งเสริมจริยธรรม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ( 2 ) ให้คําปรึกษาแนะนําเกี่ยวกับนโยบายการส่งเสริมจริยธรรม รวมถึงการพัฒนาจริยธรรม และการนําพฤติกรรมทางจริยธรรมไปใช้ในกระบวนการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ( 3 ) ส่งเสริม และให้คําแนะนําเกี่ยวกับการบังคับใช้มาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม พนักงานส่วนท้องถิ่น ข้อกําหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ประมวลจริยธรรม พนักงานส่วนท้องถิ่น และข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น (4) ศึกษา เสนอแนะ ส่งเสริม พัฒนา ติดตาม ประเมินผล การปฏิบัติตามมาตรฐาน ทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น และข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น (5) กลั่นกรองการตอบข้อหารือ และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น (6) เสนอมาตรการส่งเสริม หรือจูงใจเพื่อพัฒนาให้พนักงานส่วนท้องถิ่นในองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นมีพฤติกรรมเป็นแบบอย่างที่ดี และมาตรการดําเนินการกับพนักงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีพฤติกรรมฝ่าฝืนจริยธรรม (7) ดําเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นมอบหมาย ข้อ 10 ให้หัวหน้าสํานักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบ ในงานธุรการที่เกี่ยวกับจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นของคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่น คณะอนุกรรมการ และมีอํานาจหน้าที่กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการปฏิบัติ ตามที่คณะกรรมการ มาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นมอบหมาย ส่วนที่ 2 คณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นประจําจังหวัด ข้อ 1 1 ให้คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นโดยข้อเสนอของ ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นประจําจังหวัดขึ้น เพื่อทําหน้าที่ให้คําปรึกษาแนะนําสอดส่องดูแลและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ้ หนา 29 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 132 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มิถุนายน 2566
ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ข้อกําหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับ ใช้ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น และข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ติดตาม และประเมินผลการขับเคลื่อนงานด้านจริยธรรมของพนักงานส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นประจําจังหวัด ประกอบด้วย ( 1 ) ประธานกรรมการ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ และผลงานด้านการส่งเสริมจริยธรรม รวมถึงมีความเข้าใจในบทบาท ภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยพิจารณาจากบุคคลที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีเกียรติ มีความซื่อสัตย์ สุจริต ( 2 ) รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ ( 3 ) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรีที่ได้รับคัดเลือกจากนายกเทศมนตรี จํานวนหนึ่งคน นายกองค์การบริหารส่วนตําบลที่ได้รับคัดเลือกจากนายกองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวนหนึ่งคน และนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง ( ถ้ามี ) จํานวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ ( 4 ) กรรมการซึ่งดํารงตําแหน่งประเภทบริหารท้องถิ่นหรือประเภทอํานวยการท้องถิ่นของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด จํานวนหนึ่งคน เทศบาล จํานวนหนึ่งคน และองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวนหนึ่งคน ที่ได้รับเลือกจากพนักงานส่วนท้องถิ่นผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าว ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภท ( 5 ) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมาจากภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ภาคเอกชน สื่อมวลชน รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ข้าราชการทุกประเภทซึ่งไม่เป็น ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ที่ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตําแหน่งประเภทบริหารท้องถิ่นหรือตําแหน่ง อํานวยการท้องถิ่นหรืออดีตข้าราชการทุกประเภทที่เคยดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการท้องถิ่น หรือเทียบเท่าขึ้นไป และเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ด้านการส่งเสริมจริยธรรม ด้านกฎหมาย ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือด้านอื่นใดอันจะเป็น ประโยชน์แก่การปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นประจําจังหวัด โดยพิจารณาจากบุคคลที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีเกียรติ มีความซื่อสัตย์ สุจริต ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัด เห็นสมควร จํานวนไม่เกินสามคน ( 6 ) ให้ท้องถิ่นจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ ( 7 ) ให้ผู้อํานวยการกลุ่มงานมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น สํานักงานส่งเสริม การปกครองท้องถิ่นจังหวัด และผู้อํานวยการกลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคลของสํานักงานจังหวัด เป็นผู้ช่วยเลขานุการร่วม ้ หนา 30 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 132 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มิถุนายน 2566
คุณสมบัติ การสรรหา และการแต่งตั้งคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ประจําจังหวัด ตาม ( 1 ) ( 3 ) ( 4 ) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการมาตรฐาน การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นกําหนด ให้สํานักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ มาตรฐานจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นประจําจังหวัด ให้คณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นประจําจังหวัดดําเนินการให้เป็นไปตาม มาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ข้อกําหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น และข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น และกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองด้วย ข้อ 1 2 คณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นประจําจังหวัดมีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ให้คําปรึกษาแนะนําเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการส่งเสริมจริยธรรม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ( 2 ) ให้คําปรึกษาแนะนําเกี่ยวกับนโยบายการส่งเสริมจริยธรรม รวมถึงการพัฒนาจริยธรรม และการนําพฤติกรรมทางจริยธรรมไปใช้ในกระบวนการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ( 3 ) ส่งเสริม และให้คําแนะนําเกี่ยวกับการบังคับใช้มาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม พนักงานส่วนท้องถิ่น ข้อกําหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ประมวลจริยธรรม พนักงานส่วนท้องถิ่น และข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ( 4 ) สอดส่อง ดูแล ให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมพนักงาน ส่วนท้องถิ่น และข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นพิจารณาให้ความเห็น เมื่อมีกรณีร้องเรียน กล่าวหาหรือมีข้อสงสัยว่าพนักงานส่วนท้องถิ่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม หรือฝ่าฝืนจริยธรรม ( 5 ) เสนอมาตรการส่งเสริมหรือจูงใจเพื่อพัฒนาให้พนักงานส่วนท้องถิ่นในองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นมีพฤติกรรมเป็นแบบอย่างที่ดี และมาตรการดําเนินการกับพนักงานส่วนท้องถิ่นในองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีพฤติกรรมฝ่าฝืนจริยธรรม ( 6 ) เสริมสร้างการทํางานร่วมกันระหว่างพนักงานส่วนท้องถิ่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น และประสานความร่วมมือกับคณะกรรมการองค์กร หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ( 7 ) รณรงค์ ส่งเสริมความเข้าใจต่อสาธารณะเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม พนักงานส่วนท้องถิ่น และข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการตรวจสอบพฤติกรรมทางจริยธรรมของพนักงานส่วนท้องถิ่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ้ หนา 31 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 132 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มิถุนายน 2566
( 8 ) ตรวจสอบข้อเท็จจริงและเสนอความเห็นต่อนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าส่วนราชการเมื่อมีกรณีร้องเรียน กล่าวหา หรือมีข้อสงสัยว่าพนักงานส่วนท้องถิ่น ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือฝ่าฝืนจริยธรรม ในกรณีหัวหน้าส่วนราชการ มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือฝ่าฝืนจริยธรรม ให้เสนอผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปพิจารณา (9) คุ้มครองและประกันความเป็นอิสระและเที่ยงธรรมของส่วนราชการซึ่งมีอํานาจหน้าที่ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลเป็นหน่วยดําเนินงานด้านจริยธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ( 1 0) คุ้มครองพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม พนักงานส่วนท้องถิ่น และข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นอย่างตรงไปตรงมา มิให้ผู้บังคับบัญชา ใช้อํานาจโดยไม่เป็นธรรมต่อผู้นั้น ( 1 1) พิจารณาวินิจฉัย เรื่องร้องทุกข์ ( 1 2) ส่งเรื่องให้คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พิจารณาวินิจฉัย ในกรณีที่เห็นว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องสําคัญหรือมีผลกระทบในวงกว้างต่อพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นหลายแห่ง ( 1 3) ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม พนักงานส่วนท้องถิ่น และข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ( 1 4) ดําเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น หรือปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย การดําเนินการตาม ( 4 ) ( 5 ) ( 8 ) ( 1 1) ให้รายงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่นทราบ ข้อ 1 3 ให้นําบทบัญญัติเกี่ยวกับการประชุมของคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครองมาใช้บังคับกับการประชุมคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการ มาตรฐานจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นประจําจังหวัดตามข้อกําหนดนี้โดยอนุโลม ส่วนที่ 3 คณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมประจําองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อ 1 4 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจให้มีคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมประจํา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ได้ กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดจัดให้มีคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมประจําองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยข้อเสนอของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ หัวหน้าส่วนราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมประจํา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้น เพื่อทําหน้าที่ให้คําปรึกษาแนะนํา สอดส่อง ดูแลและส่งเสริม ให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น และข้อกําหนด ้ หนา 32 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 132 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มิถุนายน 2566
จริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ( ถ้ามี ) ติดตาม และประเมินผลการขับเคลื่อนงานด้านจริยธรรมของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดไม่จัดให้มีคณะกรรมการมาตรฐาน จริยธรรมประจําองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้การดําเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น เป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นประจําจังหวัด ข้อ 1 5 คณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมประจําองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย ( 1 ) ประธานกรรมการ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์และผลงานด้านการส่งเสริมจริยธรรม รวมถึงมีความเข้าใจในบทบาท ภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยพิจารณาจากบุคคลที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีเกียรติ มีความซื่อสัตย์ สุจริต ( 2 ) กรรมการผู้แทนฝ่ายบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ได้รับคัดเลือกจากนายก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น จํานวนหนึ่งคน ( 3 ) ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นกรรมการ ( 4 ) กรรมการ ซึ่งดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการท้องถิ่นขึ้นไป ที่ได้รับเลือกจากพนักงาน ส่วนท้องถิ่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น จํานวนสองคน ( 5 ) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมาจากภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ภาคเอกชน สื่อมวลชน รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ข้าราชการทุกประเภทซึ่งไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่ง ทางการเมือง ที่ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตําแหน่งประเภทบริหารท้องถิ่นหรือตําแหน่งอํานวยการท้องถิ่น หรืออดีตข้าราชการทุกประเภทที่เคยดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการท้องถิ่นหรือเทียบเท่าขึ้นไป และเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ด้านการส่งเสริมจริยธรรม ด้านกฎหมาย ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือด้านอื่นใดอันจะเป็นประโยชน์แก่ การปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมประจําองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยพิจารณาจาก บุคคลที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีเกียรติ มีความซื่อสัตย์ สุจริต ตามที่ผู้มีอํานาจกํากับดูแล ตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเห็นสมควร จํานวนสองคน ( 6 ) ให้หัวหน้าส่วนราชการที่รับผิดชอบงานบริหารงานบุคคล เป็นเลขานุการ คุณสมบัติ การสรรหา และการแต่งตั้งคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมประจําองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ให้นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นกําหนด ข้อ 1 6 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) ให้นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่ในการกํากับดูแลให้พนักงานส่วนท้องถิ่นในสังกัดปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม พนักงานส่วนท้องถิ่น ข้อกําหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ประมวลจริยธรรม พนักงานส่วนท้องถิ่น และข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ( ถ้ามี ) ้ หนา 33 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 132 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มิถุนายน 2566
(2) กรณีพนักงานส่วนท้องถิ่นผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม (1) ให้นายกองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น หรือปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้บังคับบัญชาดําเนินการตามข้อ 29 หรือดําเนินการทางวินัย แล้วแต่กรณี (3) ให้ส่วนราชการ ซึ่งมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลเป็นหน่วยดําเนินงาน ด้านจริยธรรม โดยมีกรอบอัตรากําลังผู้ปฏิบัติงานที่เหมาะสม รวมถึงการจัดสรรงบประมาณเกี่ยวกับ การดําเนินงานด้านจริยธรรม ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงสถานะการเงินการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้เป็นไปตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 ด้วย (4) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทํารายงานประจําปีเสนอต่อสํานักงานคณะกรรมการ มาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการมาตรฐาน การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นกําหนด หมวด 2 กระบวนการรักษาจริยธรรม ส่วนที่ 1 การรักษาจริยธรรม ข้อ 1 7 ให้นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ดําเนินการตามกระบวนการ รักษาจริยธรรม ดังต่อไปนี้ ( 1 ) กํากับ ดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ข้อกําหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น และข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ( ถ้ามี ) ( 2 ) กําหนดให้มีการประเมินพฤติกรรมทางจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นและกําหนดหลักเกณฑ์ การนําพฤติกรรมทางจริยธรรมไปใช้ในกระบวนการบริหารงานบุคคล ( 3 ) กําหนดนโยบายด้านจริยธรรมและแผนปฏิบัติการด้านจริยธรรมที่สอดคล้องกับภารกิจ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงด้านจริยธรรม การกระทําผิดวินัย และปัญหาการทุจริต ( 4 ) เป็นแบบอย่างที่ดีด้านจริยธรรม ส่งเสริม สนับสนุน และยกย่องพนักงานส่วนท้องถิ่น ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีพฤติกรรมทางจริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ดี รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณ และอัตรากําลัง เพื่อการขับเคลื่อนงานด้านจริยธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ( 5 ) ส่งเสริม สนับสนุน ให้ความรู้ ฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานส่วนท้องถิ่นในองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ้ หนา 34 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 132 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มิถุนายน 2566
( 6 ) จัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อเสริมสร้างให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐาน ทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ข้อกําหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น และข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ( ถ้ามี ) รวมทั้งกําหนดกลไกในการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบพฤติกรรมของ พนักงานส่วนท้องถิ่น ตลอดจนติดตามรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับพฤติกรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ที่อาจขัดกับวินัยและจริยธรรมด้วย เพื่อใช้สําหรับการส่งเสริมจริยธรรมของพนักงานส่วนท้องถิ่น ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ( 7 ) สร้างเครือข่ายและประสานความร่วมมือระหว่างส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชน ( 8 ) รายงานและเปิดเผยข้อมูลการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม พนักงานส่วนท้องถิ่น ข้อกําหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ประมวล จริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น และข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ข้อ 1 8 ให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบงานจริยธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ ดําเนินการตามกระบวนการรักษาจริยธรรม ดังต่อไปนี้ ( 1 ) พัฒนาระบบ เครื่องมือ และกลไกที่จะสนับสนุนการส่งเสริมจริยธรรมในองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ( 2 ) ส่งเสริม สนับสนุน ให้ความรู้ ฝึกอบรม และพัฒนาพนักงานส่วนท้องถิ่น ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความตระหนักในเรื่องจริยธรรม ( 3 ) ให้คําปรึกษา แนะนํา เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านการส่งเสริม จริยธรรม และการยกระดับธรรมาภิบาล การป้องกันและปราบปรามการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงแนวทางการนําพฤติกรรมทางจริยธรรมไปใช้ในกระบวนการบริหารงานบุคคลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ( 4 ) วิเคราะห์ข้อมูลด้านจริยธรรมเพื่อจัดการความเสี่ยงในเรื่องจริยธรรม การทุจริต และประพฤติมิชอบ ( 5 ) จัดทําข้อกําหนดจริยธรรมหรือพฤติกรรมที่ควรกระทําและไม่ควรกระทําของพนักงาน ส่วนท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนําไปใช้ในกระบวนการ บริหารงานบุคคล ( 6 ) ดําเนินการตามมาตรการหรือแผนปฏิบัติการส่งเสริม จริยธรรม และต่อต้านการทุจริต เช่น การพัฒนาองค์กรคุณธรรม การส่งเสริมจริยธรรมและการเสริมสร้างวินัย การประเมินคุณธรรม และความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ( 7 ) รณรงค์ ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ ตลอดจนสร้างเครือข่ายและประสานความร่วมมือ ระหว่างส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชน ้ หนา 35 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 132 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มิถุนายน 2566
( 8 ) รับและดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนกรณีมีการฝ่าฝืนจริยธรรม การปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของพนักงานส่วนท้องถิ่น และกําหนดกลไกในการส่งเสริมให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการตรวจสอบพฤติกรรมของพนักงานส่วนท้องถิ่นในหน่วยงาน ( 9 ) ติดตาม ประเมินผล และจัดทํารายงานการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น และข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นเสนอต่อ คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ( 10 ) เป็นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมประจําองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ( 11 ) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือ สํานักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น หรือคณะกรรมการมาตรฐาน จริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นประจําจังหวัดมอบหมาย ข้อ 19 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจัดทําข้อกําหนดจริยธรรมประจําองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นก็ได้ โดยให้สอดคล้องกับประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น เรื่อง ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ข้อ 20 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดจัดทําข้อกําหนดจริยธรรมขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ควรต้องสอดคล้องกับบริบทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและบทบาทภารกิจของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การป้องกันการขัดกันของผลประโยชน์ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดี มีประสิทธิภาพจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางที่คณะกรรมการมาตรฐาน การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นกําหนด ข้อ 2 1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดจัดทําข้อกําหนดจริยธรรมตามข้อ 2 0 จะต้องจัดทํา การประเมินผลการปฏิบัติงานตามประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นแต่ละข้อที่กําหนดขึ้น การปฏิบัติที่ควรกระทํา และการปฏิบัติที่ไม่ควรกระทํา เพื่อนําไปใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้น การจัดทําข้อกําหนดจริยธรรมตามวรรคหนึ่งให้รายงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหาร งานบุคคลส่วนท้องถิ่นทราบ ส่วนที่ 2 การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและการเสริมสร้างแรงจูงใจ ข้อ 2 2 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกําหนดการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ( ตัวชี้วัด ) ของพนักงานส่วนท้องถิ่นรายบุคคล เกี่ยวกับประมวลจริยธรรมจํานวนหนึ่งตัวชี้วัดสําหรับเป็นเกณฑ์ เพื่อใช้ในการประเมินการเลื่อนขั้นเงินเดือน เลื่อนเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนโดยเป็นไปตาม ประกาศมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นกําหนด ้ หนา 36 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 132 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มิถุนายน 2566
ข้อ 2 3 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทําแผนงาน / โครงการเกี่ยวกับจริยธรรมอย่างน้อย หนึ่งโครงการในแต่ละปีงบประมาณ โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทําโครงการเพื่อขยายผล การขับเคลื่อนกระบวนการรักษาจริยธรรม และให้รายงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่นทราบ การจัดทําแผนงาน / โครงการตามวรรคหนึ่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจัดทําร่วมกับ แผนงาน / โครงการ / กิจกรรมอื่นก็ได้ โดยให้คํานึงถึงสถานะการเงินการคลังขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ข้อ 2 4 ให้นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้บังคับบัญชา ส่งเสริม สนับสนุน ให้พนักงานส่วนท้องถิ่นพัฒนาความรู้ต่าง ๆ ด้านจริยธรรม และให้นําไปขยายผลในหน่วยงานหรือชุมชน หรือตําบลเพื่อส่งเสริม สนับสนุน ให้ประชาชนคํานึงถึงความสําคัญของจริยธรรม ข้อ 2 5 กรณีพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือประชาชนหรือบุคคลหรือส่วนราชการในสังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหมู่บ้านหรือชุมชนใดมีจริยธรรมหรือมีผลงานที่เกี่ยวกับจริยธรรมหรือ ได้รับการกล่าวชมโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทําโล่หรือประกาศเกียรติคุณ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์คุณงามความดีของบุคคลหรือองค์กรนั้น ๆ กรณีที่เป็นพนักงานส่วนท้องถิ่นให้นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้บังคับบัญชา นําไปประกอบการพิจารณาความดีความชอบในปีงบประมาณนั้น ๆ โดยให้ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน เงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน หรือการประเมินผลการปฏิบัติงาน ในระดับดีเด่น โดยเป็นไปตาม ประกาศมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นกําหนด หรือองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นใดที่มีการจ่ายเงินรางวัลประจําปีให้พนักงานส่วนท้องถิ่น ก็ให้พนักงานส่วนท้องถิ่น ดังกล่าวได้รับการจ่ายเงินรางวัลประจําปีตามประกาศมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการ และพนักงานส่วนท้องถิ่นกําหนดด้วย โดยให้นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้บังคับบัญชาพิจารณา ตามความเหมาะสม แล้วแต่กรณี และรายงานให้คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นทราบ หมวด 3 การบังคับใช้ มาตรการ และการคุ้มครองพยาน ส่วนที่ 1 การบังคับใช้จริยธรรม ข้อ 2 6 กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดนี้หรือไม่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ข้อกําหนดว่าด้วยกระบวนการ รักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น และข้อกําหนดจริยธรรม พนักงานส่วนท้องถิ่น ให้นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ ้ หนา 37 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 132 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มิถุนายน 2566
ผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจหน้าที่กํากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ดําเนินการ ตามมาตรการทางจริยธรรมตามข้อ 29 หรือดําเนินการทางวินัยกับผู้ที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี และรายงานให้คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นทราบ ข้อ 2 7 กรณีที่นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้บังคับบัญชาไม่ปฏิบัติตามคําวินิจฉัย ของคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ให้ถือว่านายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้บังคับบัญชานั้นฝ่าฝืนจริยธรรมหรือกระทําผิดวินัย แล้วแต่กรณี กรณีนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น รายงานต่อผู้มีอํานาจกํากับดูแลตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ ต่อไป กรณีผู้บังคับบัญชา ให้รายงานผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ต่อไป การดําเนินการตามวรรคสองและวรรคสาม ให้รายงานให้คณะกรรมการมาตรฐาน การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นทราบ ข้อ 28 กรณีที่คณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นประจําจังหวัด หรือคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมประจําองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาแล้วเห็นว่าพนักงาน ส่วนท้องถิ่นใดประพฤติฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นมาตรการทางจริยธรรมสถานใด ให้ส่งเรื่องให้ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้บังคับบัญชาดําเนินการตามข้อกําหนดนี้ กรณีพิจารณาแล้วเห็นว่าการฝ่าฝืนจริยธรรมเป็นการกระทําผิดวินัยด้วย ให้นายกองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้บังคับบัญชาดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และรายงาน ก . จ . จ . หรือ ก . ท . จ . หรือ ก . อบต . จังหวัด หรือ ก . เมืองพัทยา แล้วแต่กรณี เพื่อดําเนินการทางวินัยและลงโทษต่อไป ส่วนที่ 2 มาตรการหรือการดําเนินการทางการบริหาร ข้อ 29 พนักงานส่วนท้องถิ่นผู้ใดฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม หรือประมวลจริยธรรมพนักงาน ส่วนท้องถิ่น หรือข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ให้ดําเนินการตามมาตรการทางจริยธรรม ดังนี้ ( 1 ) ว่ากล่าวตักเตือน ( 2 ) สั่งให้ได้รับการพัฒนา ( 3 ) ทําทัณฑ์บนเป็นหนังสือ ( 4 ) ดําเนินการตามมาตรการทางการบริหาร ้ หนา 38 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 132 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มิถุนายน 2566
หลักเกณฑ์การพิจารณามาตรการทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ มาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นกําหนด ข้อ 30 เมื่อมีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าพนักงานส่วนท้องถิ่น มีพฤติกรรมทางจริยธรรม ที่ไม่เหมาะสมหรือกระทําการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม หรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมพนักงาน ส่วนท้องถิ่น หรือข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ต้องรายงานให้ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สั่งการ ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยให้พิจารณาภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับเรื่องและให้มีข้อสั่งการเพื่อดําเนินการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับรายงาน แล้วแต่กรณี ด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้บังคับบัญชาผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง หรือปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริตให้ถือว่าผู้นั้นฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมหรือกระทําผิดวินัย แล้วแต่กรณี อํานาจหน้าที่ของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้บังคับบัญชาจะมอบหมายให้ ผู้บังคับบัญชาระดับต่ําลงไปปฏิบัติแทนก็ได้ ข้อ 31 เมื่อได้รับรายงานตามข้อ 30 หรือความดังกล่าวปรากฏต่อนายกองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นหรือผู้บังคับบัญชา ให้นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้บังคับบัญชารีบดําเนินการ หรือสั่งให้ดําเนินการสืบสวน หรือพิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทําการฝ่าฝืน มาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้อกําหนดจริยธรรมพนักงาน ส่วนท้องถิ่นหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาก็ให้ยุติเรื่องได้ ในกรณีที่เห็นว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าพนักงานส่วนท้องถิ่นผู้ใดกระทําการฝ่าฝืนมาตรฐาน ทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น โดยมีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้ว ให้ดําเนินการต่อไปตามข้อ 3 2 ข้อ 32 ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามข้อ 31 ปรากฏว่ากรณีมีมูลฝ่าฝืนหรือ ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ข้อกําหนดจริยธรรม พนักงานส่วนท้องถิ่น ให้นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ในการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบพร้อมทั้งรับฟังคําชี้แจง ของผู้ถูกกล่าวหา เมื่อคณะกรรมการสอบสวนดําเนินการเสร็จ ให้รายงานผลการสอบสวนและความเห็น ต่อนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ้านายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้ฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามที่ถูกกล่าวหา ให้สั่งยุติเรื่อง กรณีฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือข้อกําหนด จริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นไม่ถึงขนาดสร้างความเสียหายให้แก่บุคคลอื่นหรือองค์กร ให้พิจารณา ดําเนินการตามมาตรการทางจริยธรรมตามข้อ 29 ( 1 ) ( 2 ) ( 3 ) ( 4 ) แล้วแต่กรณี และให้ระบุเหตุผล ที่ให้พนักงานส่วนท้องถิ่นต้องปฏิบัติตามมาตรการนั้น ๆ ไว้ด้วย ้ หนา 39 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 132 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มิถุนายน 2566
กรณีผู้ถูกกล่าวหาได้กระทําการฝ่าฝืนหรือเป็นไปตามที่ถูกกล่าวหาให้ดําเนินการตามกระบวนการ บริหารงานบุคคล โดยส่งเรื่องให้ผู้มีอํานาจหน้าที่ดําเนินการทางวินัยต่อไป ข้อ 33 การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมพนักงาน ส่วนท้องถิ่น และข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้นายก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้บังคับบัญชาดําเนินการ ตามข้อ 29 ( 1 ) ( 2 ) ( 3 ) ( 4 ) แล้วแต่กรณี และบันทึกพร้อมระบุเหตุผลไว้ด้วย เพื่อนําไปใช้ในการ ประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 34 การดําเนินการตามข้อ 30 ถึงข้อ 33 ให้รายงานให้คณะกรรมการมาตรฐาน การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นทราบ ส่วนที่ 3 การคุ้มครองพยาน ข้อ 35 พนักงานส่วนท้องถิ่นผู้ใดให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชาหรือให้ถ้อยคําในฐานะพยาน ต่อผู้มีหน้าที่สืบสวน สอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการอันเป็นประโยชน์ และเป็นผลดียิ่งต่อทางราชการให้ถือว่าผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ราชการซึ่งได้รับความคุ้มครองพยานและ อาจได้รับบําเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษก็ได้ ข้อมูลหรือถ้อยคําตามวรรคหนึ่งจะถือว่าเป็นประโยชน์และเป็นผลดียิ่งต่อทางราชการต่อเมื่อ เป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้ดําเนินการทางจริยธรรมได้้ หรือเป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้ลงโทษผู้ฝ่าฝืนจริยธรรมได้ และมีผลทําให้้สามารถประหยัดงบประมาณแผ่นดินเป็นอย่างมาก หรือมีผลทําให้สามารถรักษาไว้ ซึ่งระบบบริหารราชการที่ดีโดยรวมได้ ในกรณีที่พนักงานส่วนท้องถิ่นผู้นั้นเป็นผู้ฝ่าฝืนจริยธรรมนั้นเสียเอง หรืออาจจะถูกกล่าวหาว่า มีส่วนร่วมในการกระทําการฝ่าฝืนจริยธรรมนั้นด้วย ไม่่ให้้ได้รับบําเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษตามข้อนี้ ข้อ 36 พนักงานส่วนท้องถิ่นผู้ที่อาจจะถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการฝ่าฝืนจริยธรรมกับ พนักงานส่วนท้องถิ่นอื่น ถ้าได้ให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชา หรือให้ถ้อยคําเกี่ยวกับการกระทําการฝ่าฝืน จริยธรรมที่ได้กระทํามาต่อบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีหน้าที่สืบสวน สอบสวน หรือตรวจสอบตามกฎหมาย หรือระเบียบของทางราชการ และข้อมูลหรือถ้อยคํานั้นเป็นปัจจัยสําคัญจนเป็นเหตุให้มีการสอบสวน ทางวินัย แก่ผู้เป็นต้นเหตุแห่งการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น อาจได้รับการกันเป็นพยานหรือการให้ความคุ้มครองพยาน ตามข้อกําหนดนี้ ข้อ 37 ผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้น มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองพยาน ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ไม่่เปิดเผยชื่อหรือข้อมูลใด ๆ ที่จะทําให้ทราบว่าผู้้ใดเป็นผู้้ให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคํา ้ หนา 40 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 132 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มิถุนายน 2566
( 2 ) ไม่ใช้อํานาจไม่ว่าในทางใดหรือกระทําการอื่นใดอันเป็นการกลั่นแกล้งหรือไม่่เป็นธรรม ซึ่งอาจมีผลทําให้้กระทบสิทธิหรือหน้าที่ของผู้นั้นในทางเสียหาย ( 3 ) ให้ความคุ้มครองมิให้ผู้นั้นถูกกลั่นแกล้งหรือถูกข่มขู่่เพราะเหตุที่มีการให้ข้อมูลหรือถ้อยคํา ในกรณีที่พยานผู้ใดร้องขอความคุ้มครองเป็นหนังสือ ให้คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงาน บุคคลส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นประจําจังหวัด ส่งเรื่องให้ คณะกรรมการกลางข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือ ก . จ . จ . หรือ ก . ท . จ . หรือ ก . อบต . จังหวัด หรือ ก . เมืองพัทยา หรือ ก . ก . แล้วแต่กรณี อาจพิจารณาดําเนินการตามข้อ 29 (4) กับผู้นั้น หรือพิจารณาดําเนินการอื่นใดที่เห็นว่าจําเป็น เพื่อให้ผู้นั้นได้รับความคุ้มครองก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตาม กฎหมายว่าด้วยการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ข้อ 38 การให้ความคุ้มครองพยานให้พิจารณาดําเนินการในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ และให้เริ่มตั้งแต่มีการให้ข้อมูลหรือให้้ถ้อยคําจนกว่าจะมีการสั่งยุติเรื่อง หรือการดําเนินการตามมาตรการ ทางจริยธรรมตามกฎหมายนี้แก่ผู้เป็นต้นเหตุเสร็จสิ้น ข้อ 39 ก่อนมีการแจ้งเรื่องกล่าวหาว่าพนักงานส่วนท้องถิ่นผู้ใดฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้อกําหนดจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น ถ้าผู้ให้ข้อมูล หรือให้้ถ้อยคําไม่ใช่ผู้เป็นต้นเหตุแห่งการฝ่าฝืน และเป็นกรณีที่ไม่อาจแสวงหาข้อมูลหรือพยานหลักฐานอื่นใด เพื่อดําเนินมาตรการทางจริยธรรมแก่่ผู้้เป็นต้นเหตุแห่่งการฝ่าฝืนจริยธรรมในเรื่องนั้นได้ นอกจากจะได้ ข้อมูลหรือพยานหลักฐานจากผู้นั้น นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายจัดตั้ง หรือคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นประจําจังหวัด หรือคณะกรรมการมาตรฐาน จริยธรรมประจําองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี อาจกันผู้นั้นเป็นพยานได้้ ข้อ 40 ในกรณีที่ผู้ที่ถูกกันเป็นพยานไม่มาให้ถ้อยคําต่อบุคคลหรือคณะบุคคลผู้มีหน้าที่ สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือมาแต่ไม่ให้ถ้อยคํา หรือให้ถ้อยคําแต่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการดําเนินการ หรือให้ถ้อยคําอันเป็นเท็จ หรือกลับคําให้การ ให้การกันผู้นั้นไว้เป็นพยานเป็นอันสิ้นสุดลง ข้อ 41 นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้บังคับบัญชาอาจพิจารณาประกาศคุณงามความดี หรือให้บําเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษแก่ผู้ให้ข้อมูลหรือถ้อยคําได้ ตามระดับความมากน้อยของประโยชน์ และผลดียิ่งต่อทางราชการที่ได้รับจากการให้ข้อมูลหรือถ้อยคํานั้น ดังนี้ ( 1 ) คําชมเชยเป็นหนังสือ ( 2 ) เครื่องหมายที่เห็นสมควรเพื่อเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติ ( 3 ) รางวัล ( 4 ) ให้ถือว่าการให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคํานั้นเป็นข้อควรพิจารณาอื่นที่จะเอาไปใช้ประกอบ การบริหารงานอื่น ตามประกาศมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น กําหนด ้ หนา 41 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 132 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มิถุนายน 2566
หมวด 4 กระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ประมวลจริยธรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ข้อ 42 ให้กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมาย จัดตั้งขึ้น ดําเนินการตามข้อกําหนดนี้โดยอนุโลม กรณีกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากร กรุงเทพมหานครกําหนด การดําเนินการตามวรรคสอง ให้กรุงเทพมหานครนําข้อกําหนดนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการ ดําเนินกระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ประมวลจริยธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร บุคลากรกรุงเทพมหานคร และผู้ปฏิบัติงานอื่นในกรุงเทพมหานคร ให้กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง รายงานให้คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นทราบ หมวด 5 การประเมิน ติดตามผล การรายงาน ข้อ 43 ให้คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นและกระทรวงมหาดไทย วางระบบ กํากับดูแลการปฏิบัติงานจริยธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรายงานให้คณะกรรมการ มาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นทราบ ให้สํานักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดมีหน้าที่และอํานาจส่งเสริม สนับสนุน และกํากับดูแลการปฏิบัติงานในระบบจริยธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปตามที่ คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นกําหนด รูปแบบการรายงานให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นกําหนด บทเฉพาะกาล ข้อ 44 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดได้ดําเนินการจัดทําประมวลจริยธรรมไปแล้วให้ใช้บังคับได้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น เรื่อง ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น กรณีประมวลจริยธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดขัดหรือแย้งกับประมวลจริยธรรม พนักงานส่วนท้องถิ่น ตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ให้ปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิก และดําเนินการให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น และข้อกําหนดนี้ ้ หนา 42 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 132 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มิถุนายน 2566
ข้อ 45 เมื่อข้อกําหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ประมวล จริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นมีผลใช้บังคับแล้ว ให้จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ( ถ้ามี ) ดําเนินการสรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่นประจําจังหวัด ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับจากวันที่คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ได้มีการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคัดเลือกแล้ว และรายงานให้คณะกรรมการ มาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นทราบ สําหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ดําเนินการสรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการมาตรฐาน จริยธรรมประจําองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ( ถ้ามี ) ให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน นับจากวันที่ คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ได้มีการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การคัดเลือกแล้ว และรายงานให้คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นทราบ ข้อ 46 ให้คณะกรรมการจริยธรรมและกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวัน ก่อนวันที่ข้อกําหนดนี้ใช้บังคับ ให้คงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรม และกลุ่มงานจริยธรรมตามข้อกําหนดนี้ ข้อ 47 การดําเนินการกรณีมีการฝ่าฝืนจริยธรรมที่ได้ดําเนินการอยู่ก่อนวันที่ข้อกําหนดนี้ใช้บังคับ ให้ดําเนินการตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ ประกาศ ณ วันที่ 28 เมษายน พ . ศ . 256 6 วิบูลย์ สงวนพงศ์ ประธานกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ้ หนา 43 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 132 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 มิถุนายน 2566