ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยหลักเกณฑ์การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคของเมืองพัทยา พ.ศ. 2566
ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยหลักเกณฑ์การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคของเมืองพัทยา พ.ศ. 2566
ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยหลักเกณฑ์การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคของเมืองพัทยา พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน ของคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภคประจาเมืองพัทยา ในการไกล่เกลี่ยหรือ ประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทาของผู้ประกอบธุรกิจให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ผู้บริโภคสามารถ เข้าถึงการให้บริการของรัฐได้โดยง่าย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 (1/1) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีมติ ในการประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2566 วางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยหลักเกณฑ์ การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคของเมืองพัทยา พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในระเบียบนี้ “ ข้อพิพาท ” หมายความว่า ข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค “ คู่กรณี ” หมายความว่า ผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง ผู้บริโภค และให้หมายความรวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ “ ผู้ไกล่เกลี่ย ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบให้ทาหน้าที่ไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอม ข้อพิพาท และคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยเรื่อ งร้องทุกข์จากผู้บริโภคประจำเมืองพัทยา “ ผู้บังคับบัญชา ” หมายความว่า นายกเมืองพัทยา หรือผู้ได้รับมอบหมาย “ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ” หมายความว่า บุคลากรของเมืองพัทยา ซึ่งปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภค ประจำเมืองพัทยา หรือบุคลากรอื่นที่ผู้บังคับบัญชามอบ หมายให้ดาเนินการตามระเบียบนี้ “ คณะอนุกรรมการ ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภค ประจำเมืองพัทยา ข้อ 4 ให้ผู้บังคับบัญชาจัดให้มีการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทตามระเบียบนี้ และให้ความช่วยเหลือแก่คู่กรณีในการระงับข้อพิพาทให้ยุติโดยเร็ว ้ หนา 41 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
ข้อ 5 เมื่อผู้บังคับบัญชาได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเป็นผู้รับผิดชอบสานวน เรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภคแล้ว ให้ดาเนินการตามหมวด 2 การดาเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์ ของระเบียบคณะกร รมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของคณะอนุกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภคประจำเมืองพัทยาในการดาเนินการเกี่ยวกับการรับเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. 2566 ในกรณีที่คู่กรณีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาพบเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดช อบสอบถาม คู่กรณีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องว่าประสงค์ที่จะเจรจาไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทหรือไม่ และถ้าคู่กรณี ให้ถ้อยคำอย่างไร ก็ให้บันทึกถ้อยคำตามนั้น ในกรณีที่คู่กรณีไม่ประสงค์ไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท หรือในกรณีอื่นใดที่ถือได้ว่า คู่กรณีไม่ประสงค์ไ กล่เกลี่ย รวมทั้งกรณีที่ไม่สามารถติดต่อคู่กรณีได้ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบบันทึกไว้ เป็นหลักฐาน เพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาและให้ดาเนินการตามหมวด 2 การดาเนินการเกี่ยวกับ เรื่องร้องทุกข์ของระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน ของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจาเมืองพัทยาในการดาเนินการเกี่ยวกับการรับเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. 2566 ต่อไป การเจรจาไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทจะกระทาด้วยวิ ธีใด ณ วันเวลาใด และสถานที่ใด ให้เป็นไปตามที่ผู้บังคับบัญชากำหนด โดยแจ้งให้คู่กรณีทุกฝ่ายทราบ ข้อ 6 ก่อนดาเนินการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท ให้ผู้ไกล่เกลี่ยชี้แจงขั้นตอน และวิธีการในการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอ มข้อพิพาทให้คู่กรณีทุกฝ่ายทราบ ข้อ 7 ในการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท ให้ผู้ไกล่เกลี่ยดำเนินการให้คู่กรณีตกลง ยินยอมผ่อนผันให้แก่กันโดยเปิดโอกาสให้คู่กรณีเสนอข้อผ่อนผันให้แก่กัน หรือผู้ไกล่เกลี่ยอาจเสนอทางเลือก ในการผ่อนผันให้แก่คู่กรณีพิจารณาตกลงยินยอมยุติข้อพิพาทนั้น ทั้งนี้ ห้ามมิให้ผู้ไกล่เกลี่ยชี้ขาดข้อพิพาท ให้ผู้ไกล่เกลี่ยรับฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อพิพาทจากคู่กรณีทุกฝ่าย ทั้งนี้ ในการไกล่เกลี่ย หรือประนีประนอมข้อพิพาทนั้น ผู้ไกล่เกลี่ยอาจไกล่เกลี่ยพร้อมกันหรือแยกกันก็ได้ แต่ในการตกลงกันนั้น ให้กระทำ ต่อหน้าคู่กรณีทุกฝ่าย เพื่อประโยชน์ในการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท ผู้ไกล่เกลี่ยอาจอนุญาตให้เฉพาะ แต่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทุกฝ่ายอยู่ในการประชุมไกล่เกลี่ยก็ได้ ข้อ 8 กระบวนการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท ให้ดำเนินการเป็นการลับ และไม่ให้คู่กรณีมีการบันทึกภาพ เสียง หรือสื่ออื่นใด รวมทั้งรายละเอียดเนื้อหาของการเจรจาไกล่เกลี่ย หรือประนีประนอมข้อพิพาทไว้ เว้นแต่คู่กรณีจะตกลงกัน ให้บันทึกรายละเอียดของการไกล่เกลี่ย หรือประนีประนอมข้อพิพาททั้งหมดหรือแต่บางส่วน ความในวรรคหนึ่งให้ใ ช้บังคับแก่ตัวแทน ทนายความ ที่ปรึกษาของคู่ความ หรือบุคคลใด บุคคลหนึ่ง ที่ผู้ไกล่เกลี่ยอนุญาตให้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยด้วย ้ หนา 42 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
ข้อ 9 ข้อมูลที่ได้จากกระบวนการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทตามข้อ 8 ให้รักษาข้อมูลเป็นความลับ เว้นแต่คู่กรณีได้ตกลงไว้เ ป็นอย่างอื่น คณะอนุกรรมการอาจนำข้อมูลตามวรรคแรกไปใช้เท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติหรือบังคับให้เป็นไปตาม สัญญาประนีประนอมยอมความหรือบันทึกข้อตกลงอื่น ข้อ 10 ห้ามคู่กรณีที่เข้าร่วมในการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท หรือผู้ไกล่เกลี่ย หรือบุคคลภายนอก รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการไกล่เกลี่ย นาข้อเท็จจริงหรือเอกสารพยานหลักฐาน ในการไกล่เกลี่ยไปอ้างอิงหรือนาสืบเป็นพยานหลักฐานในกระบวนการอนุญาโตตุลาการหรือกระบวน พิจารณาของศาล เว้นแต่คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจาเมืองพัทยานาไปใช้เท่าที่จาเป็น เพื่ อปฏิบัติหรือบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความหรือบันทึกข้อตกลงอื่น ข้อ 11 ในกรณีที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอและผู้ไกล่เกลี่ยเห็นสมควร หรือเป็นกรณี ที่ผู้ไกล่เกลี่ยเห็นสมควร อาจให้มีการนาพยานบุคคล พยานผู้เชี่ยวชาญเข้าชี้แจงหรือให้ข้อมูลก็ได้ โดยคำนึงถึงหลักการที่จะให้การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว ข้อ 12 การไกล่เกลี่ยในชั้นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบให้กระทำได้ไม่เกินสองครั้ง และมีระยะเวลา รวมกันไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันเริ่มทาการไกล่เกลี่ยครั้งแรก เว้นแต่มีเหตุจาเป็น และคู่กรณียินยอม ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อขอขยายระยะเวลาการไกล่เกลี่ยได้อีก ในการเจรจาไกล่เกลี่ย หากคู่กรณีสามารถตกลงกันได้ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจัดทาสรุปผล การไกล่เกลี่ยรายงานต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อยุติเรื่องร้องทุกข์ ในกรณีที่คู่กรณีสามารถตกลงกันได้บางประเด็น ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดาเนินการตามความใน วรรคสอง สำหรับประเด็นที่ไม่สามารถตกลงกันได้ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดาเนินการตามข้อ 13 ข้อ 13 ในกรณีที่การไกล่เกลี่ยในชั้นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบไม่สามารถหาข้อยุติไ ด้ และคู่กรณี ยังมีความประสงค์ที่จะเจรจาไกล่เกลี่ยต่อไป ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบนำเสนอข้อพิพาทนั้นต่อคณะอนุกรรมการ และให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบแจ้งคู่กรณีให้มาพบคณะอนุกรรมการ เพื่อทาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่อไป โดยการไกล่เกลี่ยในชั้นคณะอนุกรรมการให้ กระทาได้ไม่เกินสองครั้ง และมีระยะเวลารวมกันไม่เกินเก้าสิบวัน นับแต่วันเริ่มทาการไกล่เกลี่ยครั้งแรก เว้นแต่มีความจาเป็นและคู่กรณียินยอมให้คณะอนุกรรมการ ขยายระยะเวลาการไกล่เกลี่ยได้อีกครั้งหนึ่ง ในการเจรจาไกล่เกลี่ยตามวรรคหนึ่ง หากได้ข้อยุติ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจัดทาสรุปผล การไกล่เกลี่ยรายงานต่อผู้บังคั บบัญชาเพื่อยุติเรื่องร้องทุกข์ ข้อ 14 ในระหว่างการดาเนินการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท หากคู่กรณีฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งไม่สมัครใจที่จะให้ดาเนินการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทต่อไป คู่ กรณีฝ่ายนั้น มีสิทธิบอกเลิกการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทต่อผู้ไกล่เกลี่ย โดยทำเป็นหนังสือหรือแสดงเจตนา โดยวิธีการอื่นหรือมีเหตุอื่นใดทำให้การไกล่เกลี่ยไม่อาจดาเนินการต่อไปได้ ให้ผู้ไกล่เกลี่ยยุติกระบวนการ ้ หนา 43 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
ไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท และให้ ดาเนินการตามหมวด 2 การดาเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์ ของระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของคณะอนุกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภคประจำเมืองพัทยาในการดาเนินการเกี่ยวกับการรับเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. 2566 ต่อไป ข้อ 15 ในกรณีที่ไม่สามารถตกลงกันได้ ในการไกล่เกลี่ยชั้นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตามข้อ 12 หรือในการไกล่เกลี่ยชั้นคณะอนุกรรมการตามข้อ 13 ให้ผู้ไกล่เกลี่ยรวบรวมข้อเท็จจริงและเอกสาร หลักฐานดังกล่าวเสนอต่อคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำเมืองพัทยา ตามหมวด 2 การดาเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์ของระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยการปฏิบัติราชการ เพื่อประชาชนของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจาเมืองพัทยาในการดาเนินการเกี่ยวกับ การรับเ รื่องร้องทุกข์ พ.ศ. 2566 ต่อไป ข้อ 16 ในกรณีที่คู่กรณีสามารถตกลงยอมความกันได้ ให้ผู้ไกล่เกลี่ยจัดทาบันทึกข้อตกลง หรือสัญญาประนีประนอมยอมความ ให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงหรือสัญญา ประนีประนอมยอมความ ในกรณีที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงหรือสัญญาประนีประน อมยอมความ ให้ผู้ไกล่เกลี่ยรวบรวมข้อเท็จจริงและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภคดังกล่าว เสนอต่อคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจาเมืองพัทยา ตามหมวด 2 การดาเนินการเกี่ยวกับ เรื่องร้องทุกข์ของระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่า ด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจาเมืองพัทยาในการดาเนินการเกี่ยวกับการรับเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. 2566 ต่อไป ข้อ 17 ให้ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 256 6 อนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ้ หนา 44 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566