ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ถูกกักกัน พ.ศ. 2566
ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ถูกกักกัน พ.ศ. 2566
ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ถูกกักกัน พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมระเบียบกรมราชทัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ ต่อผู้ถูกกักกัน ให้มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน อาศัยอานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักกันตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2510 อธิบดีกรมราชทัณฑ์ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการ ปฏิบัติต่อผู้ถูกกักกัน พ.ศ. 2566” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ถูกกักกัน พ.ศ. 2565 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คาสั่ง หรือหนังสือสั่งการอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้ งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “ สถานกักกัน ” หมายความว่า สถานกักกันหรือเขตกักกันที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด สำหรับควบคุมผู้ถูกกักกัน “ ผู้ถูกกักกัน ” หมายความว่า ผู้ซึ่งถูกศาลพิพากษาให้กักกัน “ พนักงานเจ้าหน้าที่ ” หมายความว่า ผู้ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักกันตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2510 “ อธิบดี ” หมายความว่า อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ข้อ 5 ให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์รักษาการตามระเบียบนี้ มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับ การปฏิบัติตามระเบียบนี้ ลักษณะ 1 หน้าที่และอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อ 6 พนักงานเจ้าหน้าที่ ได้แก่ (1) ผู้อำนวยการสถานกักกัน (2) หัวหน้าเจ้าพนักงานกักกัน (3) เจ้าพนักงานกักกัน ข้อ 7 ผู้อานวยการสถานกักกันมีหน้าที่และอานาจรับผิดชอบบังคับบัญชากิจการสถานกักกัน โดยทั่วไป และมีอานาจบังคับบัญชาเหนือพนักงานเจ้าหน้าที่ ตลอดจนผู้ถูกกักกันทั้งปวงที่อยู่ในอำนาจ การกักกันของสถานกักกันนั้น นอกจากหน้าที่ในวรรคหนึ่ง ผู้อำนวยการสถานกักกันจะต้อง ้ หนา 1 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
(1) ตรวจการสถานกักกัน ควบคุมพนักงานเจ้าหน้าที่และผู้ถูกกักกันให้เป็นไปตามที่กฎหมาย ระเบียบกาหนดไว้ (2) เอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของผู้ถูกกักกัน เปิดโอกาสให้ร้องทุกข์ได้ตามที่กฎหมาย ระเบียบกำหนด เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้อานวยการสถานกักกันเป็นไปตามวรรคแรก ให้ผู้อานวยการ สถานกักกันมีอานาจกาหนดระเบียบหรือข้อบังคับของสถานกักกัน เพื่อปฏิบัติตามระเบียบนี้หรือกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถูกกักกัน ข้อ 8 สถานกักกันใดมีหัวหน้าเจ้าพนักงานกักกันประจาการหลายคน ให้จัดแบ่งหน้าที่ การงานออกเป็นส่วน ๆ มอบหมายให้หัวหน้าเจ้าพนักงานกักกันมีหน้าที่และอานาจควบคุมการงานนั้น เป็นส่วน ๆ ไป ในกรณีเช่นนี้ ผู้อำนวยการสถานกักกันจะให้หัวหน้าเจ้าพนักงานกักกันผู้หนึ่งมีอำนาจ ควบคุมการงานของสถานกักกันเหนือหัวหน้าเจ้าพนักงานกักกันด้วยกันก็ได้ ข้อ 9 หัวหน้าเจ้าพนักงำนกักกันเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่รองจากผู้อานวยการสถานกักกัน มีหน้าที่และอานาจรับผิดชอบในส่วนการงานตามที่ได้รับมอบหมาย และในกรณีที่มิได้รับการมอบหมายงาน ให้ควบคุมเป็นส่วน ๆ ให้มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) ปกครองและควบคุมระเบียบวินัยของพนักงานเจ้าหน้าที่ในสังกัด (2) แบ่งการงานของสถานกักกันออกเป็นส่วน ๆ มอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ในสังกัด ไปดาเนินการควบคุมหรือจัดทำ (3) ดูแล รักษาและบูรณะสถานที่ และทรัพย์สินของสถานกักกัน (4) ควบคุม ดูแลการทะเบียนบัญชีของสถานกักกัน (5) ปกครองและควบคุมระเบียบ วินัยของผู้ถูกกักกัน (6) ตรวจตรา ป้องกันการกระทาผิดวินัยของผู้ถูกกักกัน ตลอดจนการหลบหนีและจับกุม ผู้ถูกกักกันซึ่งหลบหนี หรือพยายามหลบหนี (7) จัดการและควบคุมการฝึกหัดอาชีพ ของผู้ถูกกักกัน (8 ) จัดการการศึกษา ตลอดจนการอบรมผู้ถูกกักกัน (9) ดูแลสุขอนามัย การสุขาภิบาลและการตรวจสุขภาพตามความจาเป็นและเป็นไปตามคาแนะนำ ของแพทย์ พยาบาล หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมด้านการพยาบาล (10) เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกักกันร้องทุกข์ได้โดยสะดวก ตามที่กฎหมาย ระเบียบกาหนดไว้ ข้อ 10 เจ้าพนักงานกักกัน เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่รองจากหัวหน้าเจ้าพนักงานกักกัน มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) หน้าที่ตามข้อ 9 (5) ถึง (10) (2) ทำตามคาสั่งผู้บังคับบัญชา (3) เมื่อผู้ถูกกักกันในความควบคุมดูแลของพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นก่อความไม่สงบหรือกระทาผิดอาญา จะต้องเข้าจัดการช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นในการระงับเหตุ เว้นแต่ไม่อาจทาดังนั้นได้เพราะเหตุ ้ หนา 2 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
ที่มีผู้ถูกกักกันอื่นอยู่ในความควบคุมของตน ซึ่งจะก่อความไม่สงบหรือกระ ทาผิดอาญาขึ้น ในกรณีนั้น จะต้องรีบแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมที่รับผิดชอบและหัวหน้าเจ้าพนักงานกักกันทราบเหตุ ข้อ 11 พนักงานเจ้าหน้าที่ระดับใดจะทาหน้าที่หัวหน้าเจ้าพนักงานกักกัน หรือเจ้าพนักงานกักกัน ให้เป็นไปตามคาสั่งของผู้อำนวยการสถานกักกัน ลักษณะ 2 การรับและการปล่อยตัว ข้อ 12 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับตัวผู้ถูกกักกันไว้แล้ว ให้จัดการ ดังต่อไปนี้ (1) ตรวจค้นสิ่งของที่ตัวผู้ถูกกักกัน (2) ให้แพทย์ พยาบาล หรือเจ้าพนักงานกักกันที่ผ่านการอบรมด้านพยาบาลทาการตรวจอนามัย ผู้ถูกกักกัน (3) จัดทำทะเบียนประวัติผู้ถูกกักกันตามแบบที่กรมราชทัณฑ์กำหนด ข้อ 13 การตรวจค้นสิ่งของที่ตัวผู้ถูกกักกันนั้น ถ้าผู้ถูกกักกันเป็นชาย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ชาย เป็นผู้ตรวจค้น ถ้าผู้ถูกกักกันเป็นหญิง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หญิงเป็นผู้ตรวจค้น หากไม่มีพนักงาน เจ้ำหน้าที่หญิง ก็ให้ผู้ถูกกักกันนั้นเองแสดงสิ่งของที่ตนมีติดตัวมาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ตรวจค้น หากยังเป็นที่สงสัยว่าผู้ถูกกักกันไม่แสดงสิ่งของที่ตนมีอยู่ทั้งหมด ก็ให้เชิญหญิงอื่นที่เชื่อถือได้ มาช่วยทำการตรวจค้นให้ การตรวจค้นสิ่งของตามวรรคแรก กรณีผู้ ถูกกักกันที่ผ่านการศัลยกรรมแปลงเพศให้ผู้ตรวจค้น ต้องเป็นไปตามเพศนั้น ข้อ 14 หากพบว่าผู้ถูกกักกันคนใดมีทรัพย์สินหรือสิ่งของซึ่งมิอาจนาเข้ามาไว้ในสถานกักกัน ก็ให้ดาเนินการตามระเบียบนี้ ซึ่งว่าด้วยทรัพย์สินของผู้ถูกกักกันต่อไป ข้อ 15 การตรวจสุขอนามัยผู้ถูกกักกัน ถ้าไม่อาจดาเนินการในวันนั้นได้ ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ตรวจสุขอนามัยผู้ถูกกักกันเบื้องต้นก่อนได้ แต่ต้องจัดการให้มีการตรวจในวันอื่นโดยเร็ว ให้สถานกักกันนาเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งระบบและเครื่องมืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มาใ ช้ในการตรวจค้นสิ่งของและตรวจสุขอนามัยผู้ถูกกักกันตามสมควร และให้เรือนจาหรือสถานกักขัง ที่ผู้ถูกกักกันย้ายมา ส่งข้อมูลทางการแพทย์ การรักษาตัว และอนามัยของผู้ถูกกักกันมาด้วย ข้อ 16 เมื่อพบว่าผู้ถูกกักกันคนใดเจ็บป่วย ต้องดาเนินการรักษาพยาบาลหรือถ้ามีโรคติ ดต่อ ซึ่งจะลุกลามเป็นภัยแก่ผู้อื่น ก็ให้จัดแยกผู้ถูกกักกันนั้นจากผู้ถูกกักกันอื่น และให้แพทย์ พยาบาล หรือ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมด้านพยาบาลชี้แจงแนะนาการปฏิบัติแก่ผู้ควบคุมดูแล ถ้าจาเป็น จะต้องส่งตัวผู้นั้น ไปรักษายังสถานพยาบาลภายนอกสถานกักกัน ก็ให้ดาเนินการตามระเบียบนี้ ซึ่งว่าด้วยการอนามัยและสุขาภิบาลต่อไป ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
ข้อ 17 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทาทะเบียนประวัติผู้ถูกกักกันตามแบบที่กรมราชทัณฑ์กาหนด โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง ดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ สกุล อายุ เลขประจำตัวประชาชนหรือเอกสารแสดงตนของผู้ถูกกักกันเท่าที่ทราบ (2) สัญชาติ (3) ตาหนิรูปพรรณ (4) ภูมิลำเนาและที่อยู่ปัจจุบัน (5) ประวัติการศึกษา (6) ประวัติการประกอบอาชีพ (7) ฐานะ สถานภาพทางครอบครัว สมาชิกในครอบครัว (8) ประวัติการกระทำผิด (เคยต้องโทษฐานใด ระยะเวลาการรับโทษ) (9) กำหนดการกักกันครั้งนี้ (10) ที่อยู่ปัจจุบันของญาติ ซึ่งจะให้ติดต่อเมื่อมีความจำเป็น (11) สภาพของร่างกาย สุขภาพกายและจิตใจ ความรู้และความสามารถของผู้ถูกกักกัน ข้อ 18 ในกรณีที่ผู้ถูกกักกันมีเด็ กอายุต่ากว่าสามปีซึ่งอยู่ในความดูแลของตนติดมายังสถานกักกัน หรือเด็กซึ่งคลอดในระหว่างที่มารดาถูกกักกันในสถานกักกัน หากมีความจาเป็นหรือปรากฏว่าไม่มีผู้ใด จะเลี้ยงดูเด็กนั้น ผู้อานวยการสถานกักกันจะอนุญาตให้เด็กนั้นอยู่ในสถานกักกันจนกว่าเด็กอายุครบสามปีก็ได้ หรือให้ส่งเด็กนั้นไปยังหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ให้การสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ หรือพัฒนาฟื้นฟูเด็ก เพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไปก็ได้ ข้อ 19 เมื่อมีเด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกันเข้ามาในสถานกักกันให้พนักงานเจ้าหน้าที่ พิจารณาว่าเด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกันนั้นจาเป็นต้องอยู่ในความดูแลของผู้ถูกกักกันหรือไม่และผู้ถูกกักกัน ยังมีทางที่จะมอบเด็กให้บุคคล หน่วยงาน หรือสถานที่ใดไปอุปการะเลี้ยงดูได้หรือไม่ ถ้ามีผู้รับไปอุปการะ เลี้ยงดูให้ผู้ถูกกักกันจัดการมอบให้ไป หากมีควำมจาเป็นหรือปรากฏว่าไม่มีผู้ใดจะเลี้ยงดูเด็กให้ผู้ถูกกักกัน ยื่นคาร้องขออนุญาตให้เด็กอยู่ในสถานกักกัน เสนอผู้อานวยการสถานกักกันเพื่อพิจารณาอนุญาตให้เด็กนั้น อยู่ในสถานกักกันได้ ข้อ 2 0 การที่จะอนุญาตให้เด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกันอยู่ในสถานกักกันตามข้อ 1 9 นั้น ต้องปรากฏว่า (1) เด็กนั้นอยู่ในความดูแลของผู้ถูกกักกัน (2) มีความจาเป็นที่เด็กจะต้องอยู่กับผู้ถูกกักกัน หรือปรากฏว่าไม่มีครอบครัว ญาติมิตร หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ให้การสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ หรือพัฒนาฟื้นฟูเด็ก ที่จะรับเลี้ยงดูเด็กนั้น ข้อ 2 1 เด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกันที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในสถานกักกัน ให้ผู้ถูกกักกัน ทำหนังสือมอบอำนาจการปกครองนอกจากการจัดการทรัพย์สินของเด็กให้ไว้แก่ผู้อำนวยการสถานกักกันนั้น ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
ข้อ 2 2 การมอบเด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกันให้บุคคล หน่วยงาน หรือสถานที่ใ ดไปช่วย อุปการะเลี้ยงดูดังกล่าวไว้ในข้อ 19 ให้สถานกักกันทาหนังสือส่งรับมอบตัวเด็กตามแบบท้ายระเบียบนี้ไว้ต่อกัน เป็นหลักฐานสามฉบับ โดยผู้ถูกกักกันและผู้ที่รับมอบเด็กยึดถือไว้ฝ่ายละหนึ่งฉบับ และเก็บรักษาไว้ ณ สถานกักกันหนึ่งฉบับ กรณีเด็กในความดูแลขอ งผู้ถูกกักกันซึ่งเป็นชาวต่างชาติ ให้สถานกักกันประสานสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลที่ผู้ถูกกักกันมีสัญชาติ เพื่อรับรองสถานะของเด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกัน บุคคล หน่วยงานหรือสถานที่ที่จะรับเด็กไปอุปการะเลี้ยงดู กรณีไม่สามารถดาเนินการตามวรรคสองได้ ให้สถานกักกันประสานงานกับกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ หรือหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเพื่อดาเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การคุ้มครองเด็ก โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ ข้อ 2 3 ในระหว่างอยู่ในสถานกักกัน ถ้าปรากฏว่ามีบุคคล หน่วยงาน หรือสถานที่ดังกล่าวไว้ ในข้อ 19 จะรับเด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกันไปอุปการะเลี้ยงดู ให้ผู้อำนวยการสถานกักกัน ดำเนินการตามข้อ 2 2 โดยต้องได้รับความยินยอมจากมารดาของเด็กหรือผู้ถูกกักกันที่เด็กนั้น อยู่ในความดูแล แล้วแต่กรณี ข้อ 2 4 การอุปการะเลี้ยงดูเด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกันในระหว่างที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ใน สถานกักกันเป็นหน้าที่ของสถานกักกันในการจัดหาสิ่งจำเป็นพื้นฐานให้ตามสมควร กรณีจาเป็น ให้สถานกักกันประสานกับหน่วยงานภายนอก เช่น สานักงานสาธารณสุขจังหวัด สานักงานพัฒนาสังคมแ ละความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ศูนย์ส่งเสริมอนามัยแม่และเด็ก สานักงานกาชาดจังหวัด หรือโรงพยาบาลของรัฐหรือเอกชน เพื่อขอความอนุเคราะห์สนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภคที่จาเป็น สำหรับเลี้ยงดูเด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกัน ข้อ 2 5 เด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกันที่อ นุญาตให้อยู่ในสถานกักกัน สถานกักกันควรจัดให้ ได้รับการปฏิบัติโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กอย่างน้อย ดังนี้ (1) ต้องไม่ได้รับการปฏิบัติเสมือนเป็นผู้ถูกกักกัน (2) จัดให้มีการตรวจสุขภาพ ส่งเสริมพัฒนาการและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้เหมาะสมตามวัย พร้อมทั้งดาเนินการรักษาเมื่อเจ็บป่วยแก่เด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล (3) จัดที่พักอาศัย ที่หลับนอน เครื่องนุ่งห่มให้เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ และจัดอาหาร ให้ถูกสุขอนามัยและเพียงพอแก่เด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลโดยไม่ให้ปะปนกับผู้ถูกกักกันเท่าที่จะกระทาได้ เ ว้นแต่การจัดเช่นนั้นอาจเกิดความเสียหายหรือมีความจาเป็นที่ทาให้ไม่สามารถกระทาได้ จึงจัดให้รวมกับ ผู้ถูกกักกันที่เป็นมารดา ผู้ถูกกักกันที่เด็กนั้นอยู่ในความดูแล หรือผู้ถูกกักกันอื่น (4) จัดกิจกรรมนันทนาการให้แก่เด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลให้เหมาะสมกับวัยแ ละสภาพ ของเด็กแต่ละคน ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
ข้อ 2 6 เมื่อผู้ถูกกักกันถึงกาหนดปล่อย ให้สถานกักกันส่งมอบเด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกันนั้น ให้แก่ผู้ถูกกักกันไปทันที ถ้าเด็กนั้นอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบุคคล หน่วยงาน หรือสถานที่ ที่รับมอบไปให้สถานกักกันแจ้งให้บุคคล หน่วยงาน หรือสถานที่นั้นนาเด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกันนั้น มาส่งให้แก่ผู้ถูกกักกันในวันปล่อยตัวผู้ถูกกักกัน ข้อ 2 7 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดอบรมผู้ถูกกักกันเข้าใหม่เพื่อให้ทราบระเบียบ ข้อบังคับ และวินัยของสถานกักกัน ตลอดถึงการประพฤติตัวภายในสถานกักกัน ข้อ 28 เมื่อจะปล่อยตัวผู้ถูกกักกัน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ ดังนี้ (1) เรียกพัสดุของราชการคืน (2) ทำหลักฐานในการปล่อยตัว (3) คืนทรัพย์สินของผู้ถูกกักกันให้แก่ผู้ถูกกักกันไป (4) ทำหนังสือสำคัญการปล่อยตัวให้แก่ผู้ถูกกักกัน (5) ผู้ถูกกักกันคนใดไม่มีเครื่องแต่ง กายจะแต่งออกไปจากสถานกักกัน ให้จัดเครื่องแต่งกาย ให้ชุดหนึ่ง ลักษณะ 3 วิธีการกักกันและการปกครอง ข้อ 29 ให้แยกกักกันผู้ถูกกักกันชายและผู้ถูกกักกันหญิงไว้มิให้ปะปนกัน ข้อ 3 0 ให้นาผู้ถูกกักกันเข้าห้องกักกัน เวลา 18.00 นาฬิกา และนาออกจากห้องกักกัน เวลา 06.00 นาฬิกา หากกาหนดเวลานี้ไม่เหมาะสมแก่กิจการหรือสภาพการณ์ของสถานกักกัน ให้ผู้อำนวยการสถานกักกัน กำหนดเวลาใหม่โดยขออนุมัติจากอธิบดี ข้อ 3 1 ก่อนเข้านอน ให้ผู้ถูกกักกันทุกคนสวดมนต์ไหว้พระหรือปฏิบัติกิจตามหลักศาสนา ของแต่ละคน ข้อ 3 2 ผู้ ถู กกักกันต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ วินัยของสถานกักกัน และปฏิบัติตน ดังต่อไปนี้ (1) ไม่นำเข้ามาหรือมีสิ่งของต้องห้ามในสถานกักกัน (2) ไม่ดื่มสุรา หรือเสพยาเสพติด หรือของมึนเมาทุกชนิด (3) ไม่เล่นการพนัน (4) ไม่ทำให้ทรัพย์สินของทางราชการ หรือของผู้อื่นเสียหาย (5) ไม่ทำให้เกิดเหตุติดขัดในกิจการงานของสถานกักกัน และกิจกรรมของผู้ถูกกักกันอื่น (6) ไม่กระด้างกระเดื่องหรือขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่ (7) ไม่ก่อการวิวาทกับผู้ถูกกักกันอื่น ้ หนา 6 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
ข้อ 3 3 เมื่อมีเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นในส ถานกักกัน พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องรีบแจ้งเหตุ ต่อหัวหน้าเจ้าพนักงานกักกัน เป็นหน้าที่ของหัวหน้าเจ้าพนักงานกักกันจะต้อง (1) รวบรวมกำลังพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการรักษาการโดยกวดขัน (2) จัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่รีบแจ้งเหตุ และถ้าเห็นเหลือกาลังให้ร้องขอกำลังจากตา รวจ (3) รีบรายงานผู้อำนวยการสถานกักกัน ผู้อำนวยการสถานกักกันเมื่อทราบเหตุจะต้องรีบมายังสถานกักกัน และจัดการระงับเหตุ ข้อ 3 4 สถานกักกันใดมีผู้ถูกกักกันหญิง โดยปกติต้องจัดให้มีหญิงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ห้ามมิให้ผู้ถูกกักกันชาย หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ชาย เข้าไปในเขตควบคุมผู้ถูกกักกันหญิง เว้นแต่ (1) ในกรณีฉุกเฉินซึ่งจำเป็นต้องเข้าไประงับเหตุ (2) เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตั้งแต่หัวหน้าเจ้าพนักงานกักกันขึ้นไป และเข้าไปในเวลากลางวัน โดยมีผู้อื่นอย่างน้อย 2 คนไปด้วย การเข้าไปนั้นต้องเนื่องด้วยหน้าที่ราชกำร ข้อ 3 5 การย้ายผู้ถูกกักกันจากสถานกักกันหนึ่งไปยังอีกสถานกักกันหนึ่ง ต้องได้รับอนุมัติ จากอธิบดี เว้นแต่มีเหตุจำเป็นจะย้ายผู้ถูกกักกันก่อนก็ได้ แต่ต้องรายงานให้อธิบดีทราบ ในกรณีมีปัญหาอุปสรรคในการย้ายผู้ถูกกักกัน พนักงานเจ้าหน้าที่มีอานาจนาผู้ถูกกักกั น เข้าคุมขังในสถานที่คุมขังอื่นตามความจำเป็นและเป็นการชั่วคราว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการย้ายผู้ถูกกักกันให้ญาติ หรือบุคคลที่ผู้ถูกกักกันระบุไว้ได้ทราบ เมื่อย้ายผู้ถูกกักกันแล้วภายในเวลาอันสมควร เว้นแต่เป็นกรณีเพื่อความมั่นคง ความปลอดภัย หรือเป็นกรณีที่ผู้ถูกกักกันไม่ยินยอมให้แจ้ง ทั้งนี้ ต้องระบุเหตุผล หรือความจำเป็นของการไม่แจ้งนั้นไว้ด้วย เมื่อสถานกักกันย้ายผู้ถูกกักกัน ให้แจ้งการย้ายดังกล่าวให้ศาลที่มีคาพิพากษา หรือคำสั่งทราบ โดยเร็ว ข้อ 3 6 ผู้ถูกกักกันมีสิทธิยื่นคำร้องทุกข์หรือเรื่ องราวใด ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้อานวยการสถานกักกัน อธิบดี รัฐมนตรี หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ต่อพระมหากษัตริย์ การดาเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสถานที่ที่สถานกักกันจัดไว้ เพื่อดำเนินการจัด ส่งไปยังบุคคลหรือหน่วยงานที่ผู้ถูกกักกันประสงค์ก็ได้ ข้อ 3 7 ผู้ถูกกักกันจะยื่นคาร้องทุกข์ด้วยวาจาหรือโดยทำเป็นหนังสือก็ได้ ถ้ากระทำด้วยวาจา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรับคาร้องทุกข์เป็นผู้บันทึกคาร้องทุกข์ ในบันทึกคาร้องทุกข์หรือหนังสือร้องทุกข์นั้น ต้อง ลงลายมือชื่อผู้ร้องทุกข์และพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรับคำร้องทุกข์ด้วย ข้อ 38 การเขียนหนังสือร้องทุกข์หรือเรื่องราวใด ๆ หรือการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ผู้ถูกกักกัน ต้องเขียนด้วยตนเอง เว้นแต่ไม่สามารถเขียนด้วยตนเองได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาให้ความช่วยเหลือ ตามความประสงค์ของผู้ถูกกักกัน ในกรณีที่ผู้ถูกกักกันไม่สามารถจัดหาเครื่องเขียนส่วนตัวได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดหาให้ ้ หนา 7 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
การเขียนหนังสือร้องทุกข์หรือเรื่องราวใด ๆ หรือการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาตามวรรคหนึ่ง ผู้ถูก กักกันต้องเขียนในสถานที่ที่สถานกักกันจัดให้ ข้อ 39 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคาร้องทุกข์หรือเรื่องราวใด ๆ หรือฎีกาที่ทูลเกล้าฯ ถวายแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายตรวจดูข้อความและตรวจสอบข้อเท็จจริง แล้วทำความเห็นเสนอ ผู้อำนวยการสถานกัก กัน พร้อมกับแนวทางการแก้ไขหรือการให้ความช่วยเหลือ ข้อ 4 0 คาสั่งหรือคาชี้แจงตอบคาร้องทุกข์หรือเรื่องราวใด ๆ หรือการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ต้องแจ้งให้ผู้ถูกกักกันซึ่งยื่นคาร้องทุกข์หรือเรื่องราวใด ๆ หรือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาทราบ และให้ ผู้ถูกกักกันคนนั้นลงลายมือชื่อรับทราบไว้เป็นหลักฐาน ข้อ 4 1 เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอานาจตรวจสอบจดหมาย เอกสาร พัสดุภัณฑ์ หรือสิ่งสื่อสารอื่น หรือสกัดกั้นการติดต่อสื่ อสารทางโทรคมนาคมหรือโดยทางใด ๆ ซึ่งมีถึงหรือจากผู้ถูกกักกัน ความสงบเรียบร้อยตามวรรคหนึ่งให้หมายความเฉพาะการป้องกันเหตุร้าย และรักษา ความสงบเรียบร้อยของสถานกักกัน ข้อ 4 2 จดหมาย เอกสาร พัสดุภัณฑ์ หรือสิ่งสื่อสารอื่นใดที่มีถึงหรือจากผู้ถูกกักกันนั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเนื้อหาในจดหมายหรือเอกสาร หรือตรวจสอบวัสดุสิ่งของในพัสดุภัณฑ์นั้น ว่ามีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยของสถานกักกัน หรือศีลธรรมอันดี ของประชาชนหรือไม่ ก่อนส่งให้แก่ผู้ถูกกักกันหรือบุคคลภายนอกต่อไป ในกรณีที่มีการตรวจพบข้อความ พัสดุภัณฑ์ หรือสิ่งสื่อสารอื่นที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคง ของรัฐ ความสงบเรียบร้อยของสถานกักกัน หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ให้ผู้อานวยการสถานกักกัน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อานวยการสถานกักกันสั่งให้แก้ไข ระงับการส่ง คืนผู้ฝากส่ง ทาลาย หรือดาเนินการสอบสวนหรือส่งเรื่องฟ้องร้องดาเนินคดีตามกฎหมายแล้วแต่กรณี จดหมาย เอกสาร พัสดุภัณฑ์ หรือสิ่งสื่อสารอื่นตามวรรคหนึ่งหมายถึง จดหมาย เอกสาร พัสดุภัณฑ์ หรือสิ่งสื่อสารอื่นที่จัดส่งโดยไปรษณีย์หรือผู้มีอาชีพรับส่งของดัง กล่าว ข้อ 4 3 การตรวจพัสดุภัณฑ์หรือสิ่งสื่อสารอื่น ให้ทาต่อหน้าผู้ถูกกักกันที่ได้รับหรือส่งพัสดุภัณฑ์ หรือสิ่งสื่อสารนั้น การตรวจสอบจดหมายหรือเอกสาร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อความและลงลายมือชื่อ ประทับตรารับรองการตรวจก่อนส่งให้ผู้ถูกกักกันหรือบุคคลภายนอก ข้อ 4 4 ก่อนที่จะทำการตรวจพัสดุภัณฑ์หรือสิ่งสื่อสารอื่นที่มีถึงผู้ถูกกักกันจะต้องให้ ผู้ถูกกักกันลงลายมือชื่อรับพัสดุภัณฑ์หรือสิ่งสื่อสารนั้น หากผู้ถูกกักกันไม่ยอมลงลายมือชื่อรับพัสดุภัณฑ์หรือสิ่งสื่ อสารอื่นตามวรรคหนึ่งห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่ เปิดพัสดุภัณฑ์หรือสิ่งสื่อสารนั้น และให้ส่งคืนผู้จัดส่งโดยเร็ว ้ หนา 8 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
ข้อ 4 5 กรณีที่เอกสาร พัสดุภัณฑ์หรือสิ่งสื่อสารอื่นที่ผู้ถูกกักกันลงลายมือชื่อรับไว้เป็น สิ่งของต้องห้ามหรือผิดกฎหมาย ให้ดาเนินการสอบสวนเพื่อดาเนิ นการทางวินัยหรือส่งเรื่องฟ้องร้องดาเนินคดี ตามกฎหมาย แล้วแต่กรณี ข้อ 4 6 เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสถานกักกัน หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์หรือผู้อำนวยการสถานกักกันดาเนินการ จัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ในการตรวจสอบหรือสกัดกั้นการติดต่อสื่อสารทางโทรคมนาคมหรือโดยทางใด ๆ ระหว่างบุคคลภายนอกกับผู้ถูกกักกันในสถานกักกัน การดาเนินการติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ในการตรวจสอบหรือสกัดกั้นการติดต่อสื่อสารตามวรรคหนึ่ง ให้ดาเนินการเท่าที่จาเป็น และ ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการติดต่อสื่อสารของบุคคลภายนอกที่อยู่บริเวณใกล้เคียง กับสถานกักกันนั้น มาตรา 47 พนักงานเจ้าหน้าที่จะใช้กำลังบังคับแก่ผู้ถูกกักกันไม่ได้ เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้ (1) การกระทำเพื่อป้องกันตัว (2) ผู้ถูกกักกันพยายามหลบหนี ใช้กาลังกายขั ดขืนโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือไม่ปฏิบัติ ตามคาสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือระเบียบกรมราชทัณฑ์ การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่จะใช้กำลังบังคับได้เพียงเท่าที่จำเป็น และเหมาะสมกับพฤติการณ์ และต้องรายงานเหตุต่อผู้อำนวยการสถานกักกันทันที ลักษณะ 4 การเยี่ยมและการติดต่อ หมวด 1 บุคคลภายนอกเข้าเยี่ยมหรือติดต่อผู้ถูกกักกัน ข้อ 48 บุคคลภายนอกจะเข้าเยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ถูกกักกัน ดังนี้ (1) เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้อานวยการสถานกักกันหรือผู้ได้ รับมอบหมายจากผู้อานวยการ สถานกักกัน ในการเข้าเยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ถูกกักกันต้องนาบัตรประจาตัวประชาชน หรือบัตรที่ออก โดยทางราชการที่ปรากฏภาพถ่ายไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดบันทึก ข้อมูลบุคคลภายนอกผู้เข้าเยี่ยมหรือติดต่อไว้เป็นหลักฐาน โดยเฉพาะความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้ถูกกักกัน กิจธุระ หรือประโยชน์ในการเข้าเยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ถูกกักกันนั้น (2) เฉพาะผู้ถูกกักกันที่ได้รับโอกาสให้ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อจากบุคคลภายนอก (3) ต้อง เข้าเยี่ยมหรือติดต่อในวันและเวลาตามที่สถานกักกันได้กำหนดไว้ ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
หากมีเหตุพิเศษจำเป็นต้องพบผู้ถูกกักกันนอกวันและเวลาที่กำหนด ให้ขออนุญาตต่อ ผู้อานวยการสถานกักกัน แต่ต้องไม่ใช่ระหว่างเวลาที่สถานกักกันได้นาผู้ถูกกักกันเข้าห้องกักกันแล้ว และยังมิได้นำออกจากห้ องกักกัน เว้นแต่ผู้อำนวยการสถานกักกันเห็นเป็นการจำเป็นที่สมควรจะอนุญาต ข้อ 49 เพื่อประโยชน์ด้านการควบคุมหรือความมั่นคงของสถานกักกัน ให้ผู้อานวยการสถานกักกัน กาหนดให้ผู้ถูกกักกันแจ้งรายชื่อบุคคลภายนอกที่จะให้เข้ามาพบหรือติดต่อกับตนภายในสถานกักกัน ไว้ ล่วงหน้า รายชื่อบุคคลภายนอกนั้นให้มีจานวนไม่เกิน 10 คน และหากจะแก้ไขเปลี่ยนแปลง ก็ให้สามารถดาเนินการได้ โดยต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ในกรณีมีเหตุพิเศษ ผู้อำนวยการสถานกักกันอาจพิจารณาอนุญาตให้บุคคลภายนอก นอกเหนือจากที่ได้แจ้งไว้ตามวรรคก่อน เข้าเยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ถูกกักกันก็ได้ ข้อ 5 0 ห้ามมิให้บุคคลภายนอกที่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ เยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ถูกกักกัน (1) มีอาการมึนเมาหรือเมาสุราน่าจะก่อความเดือดร้อนรำคาญหรือความไม่เรียบร้อย (2) มีเหตุอันควรเชื่อว่าถ้าอนุญาตให้เยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ถูกกักกันแล้วจะก่อการร้าย หรือกระทำผิดกฎหมายขึ้น (3) มีพฤติการณ์ที่อาจกระทบต่อความมั่นคงของสถานกักกัน (4) แต่งกายผิดปกตินิยมในท้องถิ่น หรือไม่สุภาพ หรือสกปรกอย่างร้ายแรง (5) มีกิริยาวาจาไม่สุภาพ (6) เป็นโรคติดต่อร้ายแรง (7) ไม่ปฏิบัติตามคาสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติการโดยชอบด้วยหน้าที่ ข้อ 5 1 บุคคลภายนอกที่ได้รับอนุญาตให้เยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ถูกกักกันจะต้องปฏิบัติตน ดังนี้ (1) อยู่ในเขตที่สถานกักกันกาหนดให้เป็นที่เยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ถู กกักกัน (2) ไม่กระทาด้วยประการใด ๆ ให้สิ่งของเข้ามาหรือให้ออกไปจากสถานกักกัน หรือรับจาก หรือส่งมอบแก่ผู้ถูกกักกัน โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีที่ประสงค์จะมอบเงินตรา ให้กับผู้ถูกกักกัน ให้นำฝากไว้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ทางสถานกักกันจัดไว้ให้เพื่อการนั้น หรือวิธีการอื่น ที่กรมราชทัณฑ์กำหนด (3) ไม่แนะนาชักชวนแสดงกิริยาหรือให้อาณัติสัญญาณอย่างใด ๆ แก่ผู้ถูกกักกันเพื่อกระทา ผิดกฎหมายหรือวินัยผู้ถูกกักกันและไม่เป็นสื่อกลางในการติดต่อกับผู้ ถูกกักกันเกี่ยวกับสิ่งของต้องห้าม ตามกฎหมายว่าด้วยการราชทัณฑ์ (4) พูดภาษาไทยและออกเสียงให้ดังพอที่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมอยู่ ณ ที่นั้นได้ยิน จะพูดภาษาอื่นได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานกักกัน (5) ยินยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ฟังการสนทนา บันทึ กภาพหรือเสียงและตัดการสื่อสาร หากเห็นว่าข้อความที่สนทนาเป็นไปโดยไม่เหมาะสม ในกรณีที่สถานกักกันจัดให้เยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ถูกกักกัน โดยการพูดคุยผ่านเครื่องมือสื่อสาร ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
(6) ไม่ถ่ายภาพหรือเขียนภาพเกี่ยวกับผู้ถูกกักกันหรือสถานกักกันหรือเขียนแบบแปลน หรือแผนที่สถานกักกัน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากกรมราชทัณฑ์และแจ้งให้ผู้อำนวยการสถานกักกันทราบก่อนแล้ว (7) ไม่ใช้โทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นใด ในขณะเยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ถูกกักกัน (8) ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับสถานกักกัน และคำสั่งของเจ้าพนักงานกักกั นซึ่งปฏิบัติการ โดยชอบด้วยหน้าที่ ข้อ 5 2 ในกรณีที่มีข้อสงสัยว่า บุคคลภายนอกที่มาขออนุญาต หรือได้รับอนุญาตให้เยี่ยม หรือติดต่อแล้ว มีสิ่งของที่ยังไม่ได้รับอนุญาตตามข้อ 5 1 ( 2) หรือสิ่งของต้องห้ามตามกฎหมาย พนักงานเจ้าหน้าที่มีอานาจขอดูหรือขอตรวจค้น ได้ หากบุคคลภายนอกนั้นเป็นชายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ชาย เป็นผู้ทาการตรวจค้น หากเป็นหญิงให้พนักงานเจ้าหน้าที่หญิงเป็นผู้ทาการตรวจค้น หรือให้ผู้นั้นแสดงเอง หรือจัดให้ชายหรือหญิงอื่นที่ควรเชื่อถือ ทำการตรวจค้นแทนก็ได้ การตรวจค้นสิ่งของตามวรรคแรก กรณีบุคค ลภายนอกที่ผ่านการศัลยกรรมแปลงเพศ ให้ผู้ตรวจค้นต้องไปเป็นตามเพศนั้น ข้อ 5 3 บุคคลภายนอกที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือที่ได้รับอนุญาตให้เยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ถูกกักกัน ได้กระทาผิดระเบียบนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอานาจดาเนินการให้ออกไปจากบริเวณสถานกักกัน ทั้งนี้ หากมีการขัดขืนพนักงานเจ้าหน้าที่มีอานาจใช้กาลังพอสมควรที่จะให้ออกไปพ้นจากสถานกักกันได้ หรือตัดสัญญาณการเยี่ยม ในกรณีการใช้วิธีการเยี่ยมโดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หมวด 2 ทนายความเข้าพบผู้ถูกกักกันเกี่ยวกับคดี ข้อ 5 4 ทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความที่จะขอเข้าพบผู้ถูกกักกันเกี่ยวกับคดีจะต้อง เป็นทนายความที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความ และจะพบกับ ผู้ถูกกักกันได้เฉพาะทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความที่ผู้ถูกกักกันต้องการพบเท่านั้น ผู้ถูกกักกั นที่ทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความจะขอเข้าพบตามวรรคหนึ่งต้องเป็นผู้ถูกกักกัน ซึ่งเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 58 ข้อ 5 5 ทนายความจะเยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ถูกกักกันเกี่ยวกับคดี ต้องยื่นคำร้องขอพบ ผู้ถูกกักกัน ตามแบบที่กรมราชทัณฑ์กำหนด ในกรณีที่ทนายความยื่นคาร้องขอพบผู้ถูกกักกัน ประสงค์จะนาล่ามเข้าพบผู้ถูกกักกันด้วย เนื่องจากผู้ถูกกักกันเป็นชาวต่างประเทศ หรือเป็นชาวไทยใช้ภาษาท้องถิ่น ไม่สามารถพูดหรือเข้าใจ ภาษาไทยได้ หรือผู้ถูกกักกันไม่สามารถพูดหรือได้ยิ น หรือสื่อความหมายได้ ให้แสดงบัตรประจาตัวประชาชน หรือบัตรที่ออกโดยทางราชการที่ปรากฏภาพถ่ายหรือหนังสือเดินทางของล่ามประกอบคำร้องขอเข้าพบ ผู้ถูกกักกัน และให้ผู้อานวยการสถานกักกันหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้อานวยการสถานกักกันพิจารณา อนุญาตตามสมควร ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
หากปรากฏข้ อเท็จจริงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าล่ามที่ได้รับอนุญาตตามวรรคก่อนได้แสดงหลักฐาน หรือข้อความอันเป็นเท็จหรือกระทาผิดระเบียบนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดบันทึกข้อมูลในการกระทาความผิด ไว้เป็นหลักฐาน และมีอานาจดาเนินการให้ออกจากบริเวณสถานกักกันได้ และไม่อนุญาตให้ เข้าสถานกักกัน ในฐานะล่ามอีกต่อไป สถานกักกันที่ได้รับคำร้องให้แจ้งผู้ถูกกักกันได้ทราบข้อความตามคาร้อง เพื่อแจ้งความประสงค์ และเหตุผลว่าจะพบทนายความนั้นหรือไม่ เมื่อผู้อานวยการสถานกักกันหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้อานวยการสถานกักกันมีความเห็น ในคาร้องเป็นประการใดแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งความเห็นหรือคาสั่งนั้น ให้ทนายความลงลายมือชื่อ รับทราบด้วย ข้อ 5 6 ทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความรายใดที่จะขอเข้าพบผู้ถูกกักกันที่อยู่ระหว่างสอบสวน หรือไต่สวน ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความรายนั้ นยื่นสาเนาใบอนุญาตให้เป็นทนายความ ตามกฎหมายว่าด้วยทนายความ เพื่อเป็นหลักฐานประกอบคำร้องขอพบผู้ถูกกักกันภายในสถานกักกันด้วย สาหรับทนายความรายใดที่ผู้ถูกกักกันได้แต่งตั้งและคดีเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลแล้ว ทนายความรายนั้นต้องยื่นสาเนาใบแต่งทนายควา มที่ศาลประทับรับไว้ในสานวนคดีให้เป็นทนายความ ของผู้ถูกกักกัน ประกอบคาร้องขอพบผู้ถูกกักกันภายในสถานกักกันด้วย เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ถูกกักกัน ยังไม่แต่งตั้งทนายความ ในกรณีมีเหตุพิเศษอันเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งทนายความ เช่น การถอนตัวของทนายความ การเสียชี วิตของทนายความ หรือการรื้อฟื้นคดีขึ้นใหม่ ผู้อานวยการสถานกักกันอาจพิจารณาอนุญาต ให้ทนายความเข้าพบผู้ถูกกักกันโดยไม่ต้องมีใบแต่งทนายความหรือใบแต่งทนายความที่ศาลประทับรับไว้ ในสำนวนคดีให้เป็นทนายความของผู้ถูกกักกันนั้น มาแสดงก็ได้ ข้อ 5 7 ทนายความที่ได้รับอนุญาตให้เข้าพบผู้ถูกกักกัน ต้องพบหรือติดต่อกับผู้ถูกกักกัน คราวละหนึ่งคน เว้นแต่การพบผู้ถูกกักกันซึ่งร่วมในคดีเดียวกัน และการพบนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ ในกระบวนการพิจารณา จะให้พบผู้ถูกกักกันมากกว่าหนึ่งคนก็ได้ ข้อ 58 ทนายความที่ประสง ค์จะขอเข้าพบผู้ถูกกักกันซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา คดีแพ่ง หรือคดีปกครอง ให้ทนายความผู้นั้นดาเนินการตามข้อ 5 4 ข้อ 5 5 ข้อ 5 6 และข้อ 5 7 ข้อ 59 ทนายความสามารถเข้าเยี่ยมและติดต่อกับผู้ถูกกักกันได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 ถึง 15.30 นาฬิกา เว้ นวันหยุดราชการ หากมีเหตุพิเศษจำเป็นต้องพบผู้ถูกกักกันนอกวันเวลาในวรรคหนึ่ง ให้ขออนุญาต ต่อผู้อำนวยการสถานกักกัน แต่ต้องไม่ใช่ระหว่างเวลาที่สถานกักกันได้นาผู้ถูกกักกันเข้าห้องกักกันแล้ว และยังมิได้นำออกจากห้องกักกัน เว้นแต่ผู้อำนวยการสถานกักกันเห็นเป็นการจำเป็นที่สมควรจะอนุญาต ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
ข้อ 6 0 ทนายความที่ได้รับอนุญาตให้พบผู้ถูกกักกัน หากต้องการจะสงวนข้อความที่พูดกับ ผู้ถูกกักกันเป็นความลับ ให้แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบและให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมอยู่ในระยะ ที่ไม่สามา รถได้ยินข้อความการสนทนา ข้อ 6 1 ให้นาความในหมวด 1 มาใช้บังคับกับทนายความที่เข้าพบผู้ถูกกักกันเท่าที่พอจะบังคับได้ โดยอนุโลม หมวด 3 เจ้าหน้าที่สถานทูตและพนักงานกงสุลเข้าเยี่ยมผู้ถูกกักกัน ข้อ 6 2 เจ้าหน้าที่สถานทูตและพนักงานกงสุลจะเข้าเยี่ยมผู้ถูกกักกันในสังกัดได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาต จากผู้อำนวยการสถานกักกันหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถานกักกัน ข้อ 6 3 เจ้าหน้าที่สถานทูตและพนักงานกงสุลผู้ได้รับอนุญาต จะต้องแต่งกายและมีกิริยา อันสุภาพทั้งไม่ ออกไปนอกเขตที่ทางสถานกักกันกาหนดให้ ข้อ 6 4 ให้นาความในหมวด 1 มาใช้บังคับกับกรณีเจ้าหน้าที่สถานทูตหรือพนักงานกงสุล เข้าเยี่ยมผู้ถูกกักกันเท่าที่พอจะบังคับได้โดยอนุโลม หมวด 4 การเยี่ยมผู้ถูกกักกันป่วย ข้อ 65 ผู้ถูกกักกันคนใดที่เจ็บป่วยอาการหนักและได้รับการรักษาตัวอยู่ในทัณฑสถาน โรงพยาบาลราชทัณฑ์ หรือสถานพยาบาลของสถานกักกัน หากผู้อานวยการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ หรือผู้อานวยการสถานกักกันจะอนุญาตให้ผู้ถูกกักกันนั้นได้รับการเยี่ยมจากญาติภายในทัณฑสถาน โรงพยาบำลราชทัณฑ์ หรือสถานพยาบาลของสถานกักกันก็ได้ แล้วแต่กรณี โดยพิจารณาจากรายงาน ของแพทย์หรือเจ้าหน้าที่พยาบาลประจำสถานพยาบาลนั้น ข้อ 66 ให้มีการเยี่ยมจากญาติผู้ถูกกักกันป่วยได้ในระหว่างวันและเวลาราชการตามปกติ โดยให้จัดเยี่ยมในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ สถำนพยาบาลของสถานกักกัน หรือสถานที่อื่นใด อันสมควร แต่ต้องเป็นสถานที่ที่ญาติและผู้ถูกกักกันได้สนทนากันอย่างใกล้ชิดและเยี่ยมได้ครั้งละ ไม่เกิน 30 นาที ข้อ 67 บุคคลต่อไปนี้เท่านั้น ที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าเยี่ยมผู้ถูกกักกันป่วย (1) บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย (2) สามี หรือภรรยา (3) บุตร ธิดา หรือหลาน (4) พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกันหรือร่วมแต่บิดา หรือมารดาเดียวกัน (5) ลุง ป้า น้า อา ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
(6) บุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดหรือผู้ที่ผู้ถูกกักกันป่วยร้องขอ ข้อ 68 ให้นาความในหมวด 1 มาใช้บังคับกับการเยี่ยมผู้ถูกกักกันป่วยเท่าที่พอจะบังคับได้ โดยอนุโลม หมวด 5 บุคคลภายนอกเข้าดูกิจการหรือติดต่อการงานกับสถานกักกัน ข้อ 69 บุคคลภายนอกจะเข้าดูกิจการหรือติดต่อการงานกับสถานกักกันได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาต จากผู้อำนวยการสถานกักกันหรือผู้ได้รับม อบหมายจากผู้อำนวยการสถานกักกัน ข้อ 7 0 บุคคลภายนอกที่จะเข้าดูกิจการหรือติดต่อการงานกับสถานกักกันจะต้องปฏิบัติตน ดังนี้ (1) แต่งกายและมีกิริยาอันสุภาพ (2) ไม่พูดจากับผู้ถูกกักกัน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ (3) ต้องเข้าดูแต่ภายในอาณาเขตและกำหนดเวลาที่ทางสถานกักกันกาหนดให้ไว้ ข้อ 7 1 บุคคลภายนอกที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าดูกิจการหรือติดต่อการงานกับสถานกักกัน ในคราวหนึ่งจะมีจานวนเท่าใด ให้ผู้อานวยการสถานกักกันหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้อานวยการสถานกักกัน พิจารณาตามความ จำเป็นและเหมาะสมแก่สภาพการณ์ของสถานกักกัน ข้อ 7 2 ให้นาความในหมวด 1 มาใช้บังคับกับกรณีบุคคลภายนอกเข้าดูกิจการหรือติดต่อ การงานกับสถานกักกันเท่าที่พอจะบังคับได้โดยอนุโลม หมวด 6 การเยี่ยมโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อ 7 3 สถานกักกันอาจนาเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งระบบและเครื่องมืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่เกี่ยวข้องมาใช้เพื่อสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการดาเนินการ การเยี่ยม การติดต่อของบุคคลภายนอก กับผู้ถูกกักกัน และการเข้าดูกิจการหรือติดต่อการงานกับสถานกักกันตามระเบียบนี้ก็ได้ กรณีที่อาจนำเทคโนโลยีสา รสนเทศมาใช้ตามวรรคหนึ่ง เช่น ในสถานการณ์โรคระบาด ที่บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าเยี่ยมผู้ถูกกักกันได้แบบปกติ สถานกักกันอาจพิจารณานาเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการเยี่ยม หรือติดต่อระหว่างผู้ถูกกักกันกับบุคคลภายนอกได้เป็นต้น หมวด 7 การรับฝากสิ่งของจากบุคคลภา ยนอกให้แก่ผู้ถูกกักกัน ข้อ 7 4 การจะให้มีการรับหรืองดรับฝากสิ่งของจากบุคคลภายนอกให้แก่ผู้ถูกกักกัน ในแต่ละสถานกักกัน ให้เป็นไปตามประกาศกรมราชทัณฑ์ ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
ข้อ 7 5 การรับฝากสิ่งของจากบุคคลภายนอกให้แก่ผู้ถูกกักกัน ต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจก่อน และดาเนินการ ดังนี้ (1) ถ้าเป็น “ สิ่งของอนุญาต ” ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบแก่ผู้ถูกกักกัน เว้นแต่มีปริมาณ มากเกินความจาเป็น พนักงานเจ้าหน้าที่จะส่งมอบแก่ผู้ถูกกักกันพอประมาณตามความจาเป็นก็ได้ นอกนั้นให้ส่งมอบแก่บุคคลภายนอกผู้ฝากรับคืนไป (2) ถ้าเป็นสิ่งของซึ่งมิใช่ “ สิ่งของต้องห้าม ” หรือมิใช่เป็น “ สิ่งของอนุญาต ” แต่เป็นสิ่งของ ที่ทางสถานกักกันผ่อนผันยอมเก็บรักษาไว้ให้แก่ผู้ถูกกักกัน พนักงานเจ้าหน้าที่จะรับเก็บรักษาไว้ให้แก่ ผู้ถูกกักกันก็ได้ ถ้าไม่สามารถจะเก็บรักษาไว้ให้แก่ผู้ถูกกักกัน ได้ให้ส่งมอบสิ่งของนั้นคืนแก่บุคคลภายนอกผู้ฝาก หากไม่รับคืนให้พนักงานเจ้าหน้าที่นาเอาออกไปไว้นอกสถานกักกัน และในกรณีนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ และสถานกักกันจะไม่รับผิดชอบในสิ่งของนั้นแต่อย่างใด สิ่งของที่ไม่ผ่านการตรวจค้นของพนักงานเจ้าหน้าที่ห้ามส่งมอบให้ผู้ ถูกกักกันโดยเด็ดขาด ข้อ 7 6 กรณีการส่งมอบสิ่งของหรือการให้นาเอาสิ่งของออกไปจากสถานกักกัน หรือการงด รับฝากสิ่งของตามข้อ 75 พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องชี้แจงเหตุผลให้บุคคลภายนอกผู้ฝากทราบด้วย หมวด 8 การร้องเรียนและร้องทุกข์ ข้อ 7 7 ผู้ถูกกักกัน บุคคลภายนอก ทนายความ เจ้าหน้าที่สถานทูตและกงสุลที่ได้รับ การปฏิบัติตามลักษณะ 4 การเยี่ยมและการติดต่อ หากเห็นว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติไม่ชอบ ตามลักษณะนี้ ให้ร้องเรียนต่อผู้อานวยการสถานกักกัน หรือหากเห็นว่ายังไม่ได้รับความเป็นธรรมอีก ให้ร้องเรียน ต่ออธิบดีกรมราชทัณฑ์ตามลำดับ ลักษณะ 5 การศึกษา การอบรม และการฝึกวิชาชีพ ข้อ 78 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้ผู้ถูกกักกันได้รับการศึกษา รับการอบรม และรับการฝึกวิชาชีพ ตามสมควร ข้อ 79 การศึกษา การอบรม และการฝึกวิชาชีพ ผู้ถูกกักกันนั้น ให้จัดแบ่ง ดังนี้ (1) การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาสายอาชีพ การศึกษาระดับอุดมศึกษา และการศึกษา ตามอัธยาศัย หรือเป็นไปตามดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ (2) การอบรมด้านคุณธรรม จริยธรรม การเรียนรู้วัฒนธรรมอันดีงาม กิจกรรมสันทนาการ กีฬา และหน้าที่ของพลเมืองที่ดี (3) การฝึกวิชาชีพ และการพัฒนาฝีมือแรงงาน ตามความถนัดและความต้องการ ของตลาดแรงงาน และตามบริบทของสถานกักกัน ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
(4) การศึกษา การอบรม และการฝึกวิชาชีพ หรือหลักสูตรอื่นใดตามที่กรมราชทัณฑ์กำหนด ข้อ 8 0 ให้สถานกักกันจัดให้ผู้ถูกกักกันได้ปฏิบัติศาสนกิจ หรือกิจกรรมทางศาสนาตามสมควร ข้อ 8 1 บรรดาเครื่องอุปกรณ์ในการศึกษาและอบรม เช่น เครื่องมือ สมุด หนังสือ เป็นต้น ให้สถานกักกันจัดหาให้ แต่ผู้ถูกกั ก กันจะนาของตนเองมาใช้ก็ได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้อานวยการ สถานกักกัน ลักษณะ 6 การอนามัยและการสุขาภิบาล ข้อ 8 2 ตามลักษณะนี้ “ การอนามัย ” หมายความว่า การดูแล ตรวจรักษา ป้องกัน สร้างเสริม และการดาเนินการอื่น ต่อผู้ถูกกักกัน เพื่อให้เกิดภาวะแห่งความสมบูรณ์ของร่างกาย จิตใจ และการดารงชีวิตอยู่ในสถานกักกันด้วยดี “ การสุขาภิบาล ” หมายความว่า การควบคุมปัจจัยทางกายภาพทั้งหมดของสถานกักกัน ที่อาจเป็นอันตราย หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อการเจริญเติบโต ต่อสุขภาพและการดารงชีวิตของผู้ถูกกักกัน และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของสถานกักกัน หมวด 1 ข้อความทั่วไป ข้อ 83 ให้สถานกักกันจัดให้มีแพทย์ พยาบาล หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรม ด้านการพยาบาล เพื่อปฏิบัติหน้าที่ด้านการรักษาพยาบาล ส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสมรรถภาพ ของผู้ถูกกักกันที่เจ็บป่วย รวมทั้งการประเมินผล การตรวจรักษำ การดูแลสุขอนามัย และการดูแล สุขาภิบาลต่าง ๆ ในสถานกักกัน ข้อ 84 การตรวจของแพทย์ พยาบาล หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมด้านการพยาบาล ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอนามัยของผู้ถูกกักกันและการสุขาภิบาลของสถานกักกัน ให้ดาเนินการ ตามแนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ถูกกักกันในสถานกักกันของกระทรวงสาธารณสุขหรือตามที่ กรมราชทัณฑ์กำหนด ในการตรวจของแพทย์ พยาบาล หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมด้านการพยาบาล ตามวรรคหนึ่ง เมื่อเห็นสมควรจะจัดการอย่างใด ให้ชี้แจงแนะนาพนักงานเจ้าหน้าที่ และบันทึกผล การตรวจไว้เป็นหลักฐาน เพื่อพนักงานเจ้าหน้าที่รายงานความเห็นนั้นให้ผู้อานวยการสถานกักกันทราบ หรือพิจารณาสั่งการต่อไป ข้อ 85 สถานกักกันจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือหน่วยงานสาธารณสุข ในพื้นที่ที่มีหน้าที่และอำนาจรับผิดชอบสถานกักกัน ในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ปริมาณและคุณภาพของการปรุงและจัดเลี้ยงอาหารผู้ถูกกักกัน ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
(2) การสุขาภิบาลและความสะอาดภายในสถานกักกัน (3) อนามัยผู้ถูกกักกัน อุณหภูมิ แสงสว่าง และการระบายอากาศในสถานกักกัน (4) ความสะอาดของเครื่องนุ่งห่มและที่หลับนอน (5) เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนามัยผู้ถูกกักกันและการสุขาภิบาลสถานกักกัน ข้อ 8 6 ผู้ถูกกักกันทุกคนมีหน้าที่ต้องรักษาความสะอาดในส่วนร่างกาย เครื่องนุ่งห่มหลับนอน และเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตน รวมตลอดถึงห้องกักกันและส่วนหนึ่งส่วนใดของสถานกักกันด้วย หมวด 2 สุ ขอนามัยของผู้ถูกกักกัน ข้อ 8 7 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้ผู้ถูกกักกันทุกคน (1) ตัดผมให้เรียบร้อยตามที่กรมราชทัณฑ์กำหนด (2) โกนหนวดและเครา (3) ตัดเล็บ (4) อาบน้าชำระร่างกาย (5) การดูแลสุขอนามัยอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อตัวผู้ถูกกักกัน ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับ ถ้าเป็นการขัดต่อลัทธิศาสนาหรือประเพณีนิยมของผู้ถูกกักกันนั้น อย่างร้ายแรง หรือเป็นกรณีที่ผู้ถูกกักกันมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ไม่อาจปฏิบัติตามได้ ข้อ 88 โดยปกติปีหนึ่ง ๆ ให้จ่ายเครื่องแต่งกาย เครื่องนุ่งห่ม เครื่องนอน และเครื่องใช้ส่วนตัว แก่ผู้ถูกกักกัน ดังนี้ (ก) ผู้ถูกกักกันชาย ให้จ่าย (1) เครื่องแต่งกาย 3 ชุด (2) เครื่องนุ่มห่ม ประกอบด้วย กางเกงชั้นใน 3 ตัว และผ้าเช็ดตัว 1 ผืน (3) เครื่องนอนตามที่กรมราชทัณฑ์กำหนด 1 ชุด (4) เครื่องใช้ส่วนตัว เช่น ส บู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ขันอาบน้าพลาสติก ผงซักฟอก แชมพูสระผม และรองเท้าฟองน้ำ (ข) ผู้ถูกกักกันหญิง ให้จ่าย (1) เครื่องแต่งกาย 3 ชุด (2) เครื่องนุ่มห่ม ประกอบด้วย เสื้อชั้นใน 4 ตัว กางเกงชั้นใน 4 ตัว และผ้าเช็ดตัว 1 ผืน (3) เครื่องนอนตามที่กรมราชทัณฑ์กำหนด 1 ชุด (4) เครื่องใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ขันอาบน้าพลาสติก ผงซักฟอก แชมพูสระผม และรองเท้าฟองน้ำ (5) สิ่งของจำเป็นสำหรับผู้ถูกกักกันหญิงที่ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร หรือมีประจำเดือน ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
กรณีสิ่งของที่จัดให้ตามวรรคหนึ่ง (ก) และ (ข) มีไม่เพียงพอ และผู้ถูกกักกันประสงค์ใช้เสื้อผ้า หรือจะซื้อเสื้อผ้า เครื่องหลับนอนของตน ให้สถานกักกันบริหารจัดการตามความเหมาะสม กรณีต้องใช้สิ่งของจาเป็นอื่นนอกเหนือจากที่กาหนดในวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กรม ราชทัณฑ์ กำหนด กรณีรูปแบบเครื่องแต่งกาย เครื่องนอนของผู้ถูกกักกัน ตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่ กรมราชทัณฑ์กำหนด ข้อ 89 ให้สถานกักกันสนับสนุนให้ผู้ถูกกักกันได้รับโอกาสในการออกกาลังกายและพักผ่อน โดยสมควรแก่วัยและสภาพร่างกาย ตามกาหนดเวลาและสถานที่ที่ สถานกักกันกาหนด หมวด 3 การดูแลสุขภาพ ข้อ 90 ให้สถานกักกันจัดให้ผู้ถูกกักกันได้รับการตรวจร่างกายแรกรับ และการคัดกรอง เพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงทั้งโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ สุขภาพในช่องปาก สุขภาพจิต รวมทั้งส่งเสริมป้องกัน และรักษาพยาบาลตามความจำเป็นเหมาะสมของโรค อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ข้อ 91 ให้สถานกักกันจัดให้ผู้ถูกกักกันได้รับอุปกรณ์ช่วยเกี่ยวกับสายตา และการได้ยิน การบริการทันตกรรม รวมถึงอุปกรณ์สำหรับผู้มีกายพิการตามความจำเป็นและเหมาะสม ข้อ 92 เพื่อเป็นการป้องกัน ค วบคุม และเฝ้าระวังโรคที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ถูกกักกัน ให้สถานกักกัน ดาเนินการ ดังนี้ (1) ให้เฝ้าระวังป้องกันโรคไม่ติดต่อ โรคติดต่อและโรคระบาดที่สาคัญ รวมทั้งภัยสุขภาพ ซึ่งอาจเกิดแก่ผู้ถูกกักกันในสถานกักกัน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคติดต่อในระบบทำงเดินหายใจ วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ โรคผิวหนัง การติดเชื้อเอชไอวีหรือป่วยเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (2) ให้เฝ้าระวังป้องกันโรคที่อาจจะเกิดแก่ผู้ถูกกักกันหญิง รวมถึงผู้ถูกกักกันหญิงที่ตั้งครรภ์ และหลังคลอด ผู้ถูกกักกันหญิงที่ให้นมบุตร หรือเด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกัน เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งระบบสืบพันธุ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และโรคติดต่อทางเลือด เพื่อป้องกัน การถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก (3) ให้ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคในกรณีที่สงสัยว่าผู้ถูกกักกันป่วยเป็นโรคติดต่อ แล ะให้แยกตัวผู้ถูกกักกันป่วยรายนั้นไปรับการรักษาพยาบาลตามความจำเป็นแห่งโรค (4) เมื่อเกิดสถานการณ์โรคระบาดในสถานกักกัน ให้ประสานกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อเข้าควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโดยทันที และให้สถานกักกันถือปฏิบัติตามคำแนะนำ หรือมาตรการที่หน่วยงานดังกล่าวนั้นกำหนดเพื่อการควบคุมสถานการณ์โดยเคร่งครัด พร้อมรายงานให้ กรมราชทัณฑ์ทราบโดยด่วน ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
ข้อ 93 ให้สถานกักกันจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้ถูกกักกันได้รับการสร้างเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การให้คาปรึกษาแนะนา การให้ความรู้เพื่อสร้างเสริมสุ ขภาพและป้องกันโรค รวมถึงการสร้างเสริม ภูมิคุ้มกันโรคตามที่กรมราชทัณฑ์กำหนด ข้อ 94 ให้สถานกักกันจัดทำข้อมูลเวชระเบียนของผู้ถูกกักกันให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อประโยชน์ในการตรวจรักษาพยาบาล และเมื่อมีการย้ายผู้ถูกกักกัน ต้องส่งมอบข้อมูลเวชระเบียนดังกล่าว พ ร้อมกับทะเบียนประวัติผู้ถูกกักกัน ทั้งนี้ ข้อมูลเวชระเบียนให้เป็นความลับ ข้อ 95 กรณีผู้ถูกกักกันป่วยด้วยโรควัณโรค โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคทางจิตเวช หากได้รับการพิจารณาปล่อยตัว ให้สถานกักกันทาสาเนาประวัติการเจ็บป่วย พร้อมเอกสารสาคัญ สำหรับการไปรับบ ริการรักษาต่อที่โรงพยาบาลมอบให้ผู้ถูกกักกันด้วย หมวด 4 การรักษาพยาบาล ข้อ 96 เมื่อผู้อานวยการสถานกักกันได้รับรายงานจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าผู้ถูกกักกันคนใดป่วย มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต หรือเป็นโรคติดต่อ ให้ส่งตัวผู้ถูกกักกันคนนั้นไปรับการตรวจในสถานพยาบาล ของสถานกักกันโดยเร็ว ถ้าผู้ถูกกักกันคนนั้นต้องได้รับการบาบัดรักษาเฉพาะด้านหรือถ้าคงรักษาพยาบาล อยู่ในสถานกักกันจะไม่ทุเลาดีขึ้น ให้ดาเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) กรณีผู้อำนวยการสถานกักกันอนุญาตให้ส่งตัวผู้ถูกกักกันคนนั้นไปรับการรักษาในสถานบำบัดรักษา สาหรับโรคชนิดนั้นโดยเฉพาะ โรงพยาบาล หรือสถานบาบัดรักษาทางสุขภาพจิตของรัฐ นอกสถานกักกัน ตามที่แพทย์ พยาบาล หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมด้านการพยาบาลเสนอ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ พาผู้ถูกกักกันคนนั้นไปและกลับในวันเดียวกัน (2) เมื่อผู้อานวยการสถานกักกันอนุญาตให้ส่งตัวผู้ถูกกักกันไปรับการรักษานอกสถานกักกัน ตาม (1) หากแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษามีความเห็นว่า สมควรรับตัวผู้ถูกกักกันคนนั้นไว้รักษา ในสถานบาบัดรักษาสา หรับโรคชนิดนั้นโดยเฉพาะ โรงพยาบาล หรือสถานบาบัดรักษาทางสุขภาพจิตของรัฐ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งพาผู้ถูกกักกันคนนั้นไปตรวจรักษา ขอหลักฐานและความเห็นของแพทย์ ผู้ทาการตรวจรักษาประกอบการจัดทารายงานเสนอผู้อานวยการสถานกักกันพิจารณา ถ้าผู้อานวยการ สถานกักกันเห็นด้วยกับความเห็นของแพทย์ผู้ทาการตรวจรักษา ให้มีคำสั่งอนุญาตให้รับตัวไว้รักษา (3) กรณีผู้อานวยการสถานกักกันไม่เห็นด้วยกับความเห็นของแพทย์ผู้ทาการตรวจรักษาตาม (2) หรือมีเหตุฉุกเฉินอื่นอันอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือความปลอดภัยของผู้ถูกกักกั น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ นาตัวผู้ถูกกักกันคนนั้นกลับเข้ารักษาพยาบาลภายในสถานกักกัน และจัดการช่วยเหลือประการอื่นเท่าที่จาเป็น แล้วรายงานอธิบดีโดยเร็ว พร้อมกับสำเนาความเห็นของแพทย์และสำเนาหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
(4) กรณีที่ผู้อำนวยการสถานกักกันมีข้อสงสัยเ กี่ยวกับรายงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม (2) อาจสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทารายงานเพิ่มเติม หรือสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่คนอื่นหรือตั้งคณะทางาน เพื่อตรวจสอบและทำรายงานก็ได้ ข้อ 97 การส่งตัวผู้ถูกกักกันไปรักษาตัวนอกสถานกักกัน ให้ผู้อำนวยการสถานกักกัน พิจา รณาสถานบำบัดรักษาสำหรับโรคชนิดนั้นโดยเฉพาะ โรงพยาบาล หรือสถานบำบัดรักษา ทางสุขภาพจิตของรัฐ ตามสิทธิการรักษาของผู้ถูกกักกันและอยู่ในพื้นที่ที่สามารถส่งตัวผู้ถูกกักกัน ไปรักษาได้เป็นลาดับแรก เว้นแต่แพทย์ผู้ทาการตรวจรักษามีความเห็นให้ส่งตัวผู้ถูกกักกันไปรักษา ในโรงพยาบาลเอกชนเพราะสถานที่รักษาของรัฐดังกล่าวขาดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการรักษาผู้ถูกกักกัน ในกรณีที่สถานที่รักษาของรัฐตามวรรคหนึ่งอยู่ห่างไกล และหากผู้ถูกกักกันไม่ได้รับการรักษา อย่างทั นท่วงทีอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือทุพพลภาพ ให้ส่งตัวผู้ถูกกักกันคนนั้นไปรักษา ในโรงพยาบาลเอกชน เมื่อผู้ถูกกักกันพ้นขีดอันตรายแล้ว ให้รีบส่งตัวผู้ถูกกักกันไปรักษาในสถานที่รักษา ของรัฐตามวรรคหนึ่งโดยเร็ว ข้อ 98 เมื่อผู้อานวยการสถานกักกันอนุญาตให้ส่งตัวผู้ ถูกกักกันไปรักษาตัวนอกสถานกักกัน ให้ดาเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) จัดพนักงานเจ้าหน้าที่อย่างน้อยจานวนสองคนควบคุมผู้ถูกกักกันป่วยหนึ่งคนให้อยู่ภายในเขต ที่กาหนด เว้นแต่การออกนอกเขตนั้นเป็นกรณีจาเป็นเร่งด่วนตามคาสั่งแพทย์ หรือกรณีมีเหตุฉุกเฉินอื่น อันอา จเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือความปลอดภัยของผู้ถูกกักกัน ในกรณีที่มีผู้ถูกกักกันป่วยมากกว่าหนึ่งคน ให้จัดพนักงานเจ้าหน้าที่ควบคุมในอัตราส่วนตามความเหมาะสม โดยให้คานึงถึงความเสี่ยงในการหลบหนี หรือความปลอดภัยของบุคคลภายนอกประกอบด้วย กรณีผู้ถูกกักกันหญิงป่ว ย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หญิง เป็นผู้ควบคุม เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นไม่อาจจัดพนักงานเจ้าหน้าที่หญิงไปควบคุมได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ชายเป็นผู้ควบคุมในระยะที่ห่างแต่สามารถมองเห็นพฤติกรรมของผู้ถูกกักกันหญิง ซึ่งป่วยได้ และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของสถานที่รักษาผู้ถูกกักกันตามข้อ 97 ทราบ ทั้งนี้ ให้ผู้อำนวยการ สถานกักกันจัดพนักงานเจ้าหน้าที่หญิงไปควบคุมแทนโดยเร็ว (2) ตรวจสอบสิทธิการรักษาของผู้ถูกกักกันให้เป็นไปตามที่ทางราชการจัดให้ และห้ามผู้ถูกกักกัน เข้าอยู่ในห้องพักพิเศ ษแยกจากผู้ป่วยทั่วไป เว้นแต่ต้องพักรักษาตัวในห้องควบคุมพิเศษตามที่สถานที่รักษา ผู้ถูกกักกันตามข้อ 97 จัดให้ (3) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมผู้ถูกกักกันตรวจสอบและควบคุมการรับประทานอาหาร ให้เป็นไปตามที่สถานที่รักษาผู้ถูกกักกันตามข้อ 97 จัดใ ห้ การรับประทานอาหารส่วนตัวนอกจาก ที่จัดให้ ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมผู้ถูกกักกันและผ่านการตรวจ ของแพทย์หรือพยาบาลแล้ว และให้บันทึกรายละเอียดของอาหารและผู้ทำอาหารให้ครบถ้วน และสามารถตรวจสอบได้ ้ หนา 20 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
(4) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมผู้ถูกกักกันจดบันทึกข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมและเวลา เข้าเยี่ยมโดยละเอียด และดูแลให้ผู้เข้าเยี่ยมปฏิบัติตามลักษณะ 4 การเยี่ยมและการติดต่อ ในการควบคุมตัวผู้ถูกกักกันตามวรรคหนึ่ง ผู้อานวยการสถานกักกันอาจใช้อุปกรณ์อิเล็ กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์อื่นใดตามความเหมาะสมก็ได้ ข้อ 99 ผู้ถูกกักกันซึ่งได้รับอนุญาตให้ออกไปรักษาตัวนอกสถานกักกันต้องปฏิบัติตัว ดังต่อไปนี้ (1) อยู่ภายในเขตที่กาหนด เว้นแต่การออกนอกเขตเป็นกรณีจาเป็นเร่งด่วนตามคาสั่งแพทย์ หรือกรณีมีเหตุฉุกเฉินอื่นอันอาจเป็ นอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือความปลอดภัยของผู้ถูกกักกัน (2) ใช้สิทธิของผู้ถูกกักกันตามที่ทางราชการจัดให้และห้ามเข้าอยู่ในห้องพักพิเศษแยกจาก ผู้ป่วยทั่วไป เว้นแต่ต้องพักรักษาตัวในห้องควบคุมพิเศษตามที่สถานที่รักษาผู้ถูกกักกันตามข้อ 9 7 จัดให้ (3) รับประทานอาหารตำมที่สถานที่รักษาผู้ถูกกักกันตามข้อ 9 7 จัดให้ การรับประทานอาหาร ส่วนตัวนอกจากที่จัดให้ ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมผู้ถูกกักกันและ ผ่านการตรวจของแพทย์หรือพยาบาลแล้ว ข้อ 10 0 ในกรณีที่ผู้ถูกกักกันเจ็บป่วยร้ายแรงหรือประสบอุบัติเหตุขณะอยู่นอกสถานกักกัน และหากผู้ถูกกักกันไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือทุพพลภาพได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมผู้ถูกกักกันรายงานผู้อำนวยการสถานกักกันเพื่อพิจารณำ โดยให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ถูกกักกัน อาการป่วยเจ็บ และโรงพยาบาลที่จะทาการตรวจรักษา เมื่อผู้อานวยการสถานกักกันอนุญาต ให้จัดพนักงานเจ้าหน้าที่ดูแลและควบคุมผู้ถูกกักกันในโรงพยาบาล หากเป็นกรณีที่ผู้ถูกกักกันไปศาล ให้รายงานศาลเพื่อทราบด้วย ใน กรณีเร่งด่วนอันอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือความปลอดภัยของผู้ถูกกักกัน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมผู้ถูกกักกันนำตัวผู้ถูกกักกันคนนั้นส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจรักษาก่อน และรายงานผู้อำนวยการสถานกักกันโดยทันที ข้อ 10 1 กรณีผู้ถูกกักกันต้องพัก รักษาตัวที่สถานที่รักษาผู้ถูกกักกันตามข้อ 97 เป็นเวลานาน ให้ผู้อำนวยการสถานกักกันดาเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) พักรักษาตัวเกินกว่าสามสิบวัน ให้มีหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดี พร้อมกับ ความเห็นของแพทย์ผู้ทาการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง (2) พักรักษาตัวเกินกว่าหกสิบวัน ให้มีหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดี พร้อมกับ ความเห็นของแพทย์ผู้ทาการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง และรายงานให้ปลัดกระทรวงทราบ (3) พักรักษาตัวเกินกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ให้มีหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดี พร้อมกับ ความเห็นของแพทย์ผู้ทาการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง และรายงานให้รัฐมนตรีทราบ ในกรณีที่ผู้อำนวยการสถานกักกันเห็นเป็นการสมควรเพื่อความปลอดภัยของผู้ถูกกักกัน มาตรการควบคุม หรือเหตุผลในการรักษา ให้รายงานอธิบดีเพื่อขอย้ายผู้ถูกกักกันเข้ารับการรักษา ในโร งพยาบาลสังกัดกรมราชทัณฑ์หรือสถานพยาบาลอื่นที่เหมาะสม ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
ข้อ 10 2 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้ผู้ถูกกักกันที่เจ็บป่วยหรือมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต หรือเป็นผู้ถูกกักกันหญิงที่มีครรภ์ ได้รับการรักษาพยาบาลตามสมควร ข้อ 10 3 ในกรณีที่ผู้ถูกกักกันฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ตามเงื่อนไขที่กำหนดหรือขัดคำสั่ง พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมผู้ถูกกักกัน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตักเตือนให้ปฏิบัติตามเงื่อนไข หรือคาสั่งนั้นก่อน หากผู้ถูกกักกันยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ให้รายงานผู้อานวยการสถานกักกัน และรายงานให้แพทย์ผู้ทาการตรวจรักษาพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควร ข้อ 10 4 ในกรณีที่ผู้ถูกกักกันตาย ป่วยหนัก บาดเจ็บสาหัส วิกลจริต หรือจิตไม่ปกติ ให้ผู้อำนวยการสถานกักกันแจ้งเรื่องดังกล่าวให้ญาติ หรือบุคคลที่ผู้ถูกกักกันระบุไว้ทราบโดยไม่ชักช้า หมวด 5 การจัดเลี้ยงอาหารผู้ถูกกักกัน ข้อ 105 ห้ามมิให้ผู้ถูกกักกันประกอบอาหารเป็นการส่วนตัว หรือนาอาหารไปรับประทานนอกเขต ที่สถานกักกันกาหนดโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการสถานกักกัน ข้อ 106 ผู้ถูกกักกันจะต้องรับประทานอาหารซึ่งทางสถานกักกันจัดให้ จะรับประทานอาหาร ส่วนตัวได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ (1) เจ็บป่วยและต้องรับประทานอาหารตามคาแนะนำของแพทย์ (2) ในเทศกาลปีใหม่หรือเทศกาลทางศาสนา และได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการสถานกักกันแล้ว (3) ผู้ถูกกักกันชาวต่างประเทศที่ได้รับการร้องขอจากสถานทูตเป็นครั้งคราว (4) กรณีอื่นตามที่ผู้อำนวยการสถานกักกันอนุญาต ข้อ 107 ให้สถานกักกันจัดให้ผู้ถูกกักกันได้รับประทานอาหารอย่างน้อย 2 มื้อ คือ เช้า และเย็น อาหารมื้อหนึ่ง ๆ ให้ประกอบด้วยข้าวหรือสิ่งอื่นแทนข้าว และกับข้าวหรือสิ่งอื่นแทนกับข้าว ในการจัดเลี้ยงอาหาร ให้สถานกักกันจัดเลี้ยงอาหารอย่างเดียวกันสาหรับผู้ถูกกักกันทุกคน แห่งสถานกักกันนั้น เว้นแต่ (1) อาหารที่จะจัดเลี้ยงขัดต่อลัทธิศาสนาของผู้ถูกกักกัน (2) เมื่อมีคนป่วยเจ็บซึ่งแพทย์แนะนาให้จัดอาหารอย่างอื่นเลี้ยง (3) กรณีอื่นตามที่ผู้อำนวยการสถานกักกันอนุญาต ข้อ 108 ให้สถานกักกันจัดให้มีน้าดื่มน้าใช้ที่สะอาด จานวนเพียงพอ และจัดหาภาชนะน้าดื่ม ที่ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งมีการเฝ้าระวังและปรับปรุงคุณภาพน้ำตามแนวทางที่กรมราชทัณฑ์กำหนด ข้อ 109 ผู้ถูกกักกันที่ทางานหนักหรือตรากตรำ ผู้อำนวยการสถานกักกันจะสั่งให้จัด อาหำรเพิ่มให้ตามความเหมาะสมก็ได้ ้ หนา 22 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
ข้อ 110 เพื่อประโยชน์ด้านสุขอนามัย อาหารที่สถานกักกันจัดให้ต้องให้แพทย์ พยาบาล หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมด้านการพยาบาลหรือโภชนาการตรวจก่อน หากบุคคลดังกล่าว มาตรวจไม่ได้ให้เจ้าพนักงานกักกันเป็นผู้ตรวจ อาหารซึ่งตรวจพบว่าเน่าเสียไม่เป็นสิ่งที่พึงจะรับประทานนั้น ห้ามจัดให้ผู้ถูกกักกันรับประทาน ข้อ 111 โดยปกติอาหารที่สถานกักกันจะให้ผู้ถูกกักกันรับประทานนั้นให้ปรุงขึ้นในสถานกักกัน ให้จัดพนักงานเจ้าหน้าที่และผู้ถูกกักกันดาเนินการปรุงอาหารเป็นการเฉพาะ ผู้ปรุง อาหารต้องผ่านการตรวจโรคและความเห็นชอบของแพทย์ และต้องได้รับการตรวจสุขภาพ อย่างสม่ำเสมอ หมวด 6 การสุขาภิบาล ข้อ 112 ให้สถานกักกันดูแลการสุขาภิบาลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถูกกักกันในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (1) เรือนนอนให้มีสภาพมั่นคงแข็งแรง สะอาด ห้องนอนมีการระบายอากาศที่ดี แสงสว่างเพียงพอ เครื่องนอนสะอาด จัดเป็นระเบียบจานวนเพียงพอ มีน้าดื่มสะอาดถูกสุขลักษณะให้ผู้ถูกกักกันบนเรือนนอน และส้วมบนเรือนนอนสะอาด ไม่มีกลิ่นรบกวน (2) สูทกรรม หรือบริเวณที่ใช้เตรี ยม ปรุง ประกอบอาหารต้องสะอาดเป็นระเบียบ โต๊ะที่ใช้ สาหรับเตรียมปรุงหรือประกอบอาหารต้องสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร ภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้เตรียม ปรุง ประกอบอาหาร ต้องสะอาด ได้รับการล้างและเก็บอย่างถูกสุขลักษณะ อาหารสด แห้ง เครื่องปรุง และอาหารปรุงเสร็จต้องจัดเก็บถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร และผู้ถูกกักกัน ที่ปฏิบัติงานสูทกรรมต้องมีสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ (3) การจัดเลี้ยงอาหารผู้ถูกกักกัน ต้องมีสถานที่จัดเลี้ยงเป็นสัดส่วน สะอาด อุปกรณ์จัดเลี้ ยง เพียงพอและบริเวณจัดเลี้ยงมีน้าดื่มสะอาดสาหรับผู้ถูกกักกัน หากมีการล้างภาชนะต้องมีที่ล้าง บ่อดักไขมัน และชั้นคว่าภาชนะที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล (4) เฝ้าระวังและป้องกันโรคทางสุขาภิบาลอาหาร โดยติดตามเรื่องความสะอาด ความปลอดภัยและการปนเปื้อนของอาหาร จัดเลี้ยงผู้ถูกกักกันตามแนวทางที่กรมราชทัณฑ์กาหนด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดต่อของโรคที่มีอาหารและน้าเป็นสื่อ รวมทั้งประสานหน่วยงานภายนอก ที่เกี่ยวข้องกับงานสุขาภิบาลอาหารในพื้นที่เพื่อประเมินและรับรองคุณภาพในเรื่องดังกล่าวด้วย (5) จัดสภาพแวดล้อมภายใน สถานกักกันให้มีการสุขาภิบาลที่ดี ไม่ให้มีแหล่งอาหาร หรือแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์หรือแมลงนาโรคในสถานกักกัน ตลอดจนมีการควบคุมสัตว์หรือแมลงนาโรคต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคและเกิดความเดือดร้อนรำคาญ ้ หนา 23 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
(6) การกำจัดขยะต้องถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล มีที่รองรับขยะ (ถังขยะ) เพียงพอ มีการแยกประเภทขยะ และมีการกาจัดขยะที่ถูกวิธี โดยนาไปกาจัดอย่างสม่าเสมอไม่ให้เป็นแหล่งอาหาร หรือแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์หรือแมลงนาโรค (7) มูลฝอยติดเชื้อในสถานกักกัน เช่น มูลฝอยจากสถานพยาบาล ห้องแยกโรค ห้องพักผู้ป่วย ห รือมูลฝอยที่เกิดขึ้นหรือใช้ในกระบวนการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ การรักษาพยาบาล การให้ภูมิคุ้มกันโรค การทดลองเกี่ยวกับโรค และการตรวจชันสูตรศพหรือซากสัตว์ ต้องได้รับการจัดเก็บ ขนย้าย และส่งกาจัดอย่างถูกวิธีด้วยการประสานกับสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ หรือหน่วยงาน ส่วนท้องถิ่นหรือเอกชนผู้ได้รับอนุญาตรับไปดาเนินการกาจัด (8) การกำจัดปฏิกูล ต้องมีส้วมที่สะอาด จำนวนเพียงพอ มีการระบายอากาศที่ดี ระบบเก็บกักอุจจาระไม่ชารุด ไม่มีการปล่อยหรือตักอุจจาระหรือปล่อยน้าจากบ่อเกรอะสู่ภายนอกโดยตรง ต้องมีการกาจัดสิ่งปฏิกูลด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่น ใช้รถสูบออกไปกาจัดหรือมีกระบวนการบาบัด ให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก (9) มีวิธีการบาบัดและกาจัดน้าเสียที่ถูกต้องเหมาะสม โดยน้าจากครัวหรือสูทกรรมให้ผ่านตะแกรง เพื่อดักเศษอาหารออกแล้วต้องผ่านบ่อดั กไขมัน น้าจากส้วมให้ผ่านบ่อเกรอะแล้วเข้าสู่ระบบบาบัด นอกจากนี้ ท่อหรือรางระบายน้ำต้องอยู่ในสภาพดี ไม่อุดตัน รวมทั้งมีการบารุงรักษาระบบบำบัดน้าเสีย อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ใช้งานได้ ลักษณะ 7 ทรัพย์สินของผู้ถูกกักกัน ข้อ 113 สิ่งของต่อไปนี้ ถ้ามีจาน วนไม่มากเกินสมควร จะอนุญาตให้ผู้ถูกกักกันนาเข้ามา หรือเก็บรักษาไว้ในสถานกักกันก็ได้ (1) เสื้อผ้า (2) ของใช้ที่เกี่ยวกับการรักษาอนามัย เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน หวี สบู่ ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น (3) อาหารที่ปรุงเสร็จ การนำเข้ามาและเก็บรักษาไว้ในสถานกักกันซึ่งสิ่งของที่อนุญาตดังระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัย วิธีการเก็บรักษา สุขลักษณะ และความสงบเรียบร้อยเป็นสำคัญ ข้อ 114 บรรดาสิ่งของอย่างอื่นที่มิใช่เป็นสิ่งของต้องห้าม และมิใช่สิ่งของที่ได้รับอนุญำต หากผู้ถูกกักกันมีติดตัวมา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้ผู้ถูกกักกันมอบหมายไว้กับญาติหรือบุคคลอื่น ที่อยู่นอกสถานกักกัน หากไม่อาจกระทาดังกล่าวได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เก็บรักษาไว้ในที่ซึ่งทางการกำหนดไว้ หรือถ้าเป็นเงินตราให้รับฝากไว้ตามระเบียบ ข้อบั งคับที่ทางราชการกำหนด ข้อ 115 สิ่งของที่มีขนาด น้ำหนัก หรือสภาพอันจะเก็บรักษาไว้ในสถานกักกันไม่ได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้ผู้ถูกกักกันมอบหมายไว้กับญาติ หรือบุคคลอื่นที่อยู่นอกสถานกักกัน ้ หนา 24 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
หากผู้ถูกกักกันไม่สามารถจัดการฝากไว้แก่บุคคลภายนอกได้ หรือจัดการไม่สาเร็จเกินเวลาที่กาหนด ให้ถึงสองคราวแล้ว อาจจาหน่ายแล้วมอบเงินให้แก่ผู้ถูกกักกันภายหลังหักค่าใช้จ่ายในการจาหน่าย แต่ถ้าของนั้นมีสภาพเป็นของสดเสียง่าย ของอันตราย หรือโสโครก ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทาลายเสีย และแจ้งให้ผู้ถูกกักกันทราบด้วย ข้อ 116 ทรัพย์สินที่เป็นสิ่งของอนุญาตให้เก็บรักษาไว้ในสถานกักกัน ได้แก่ (1) สิ่งของเกี่ยวกับการรักษาอนามัย เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน หวี สบู่ ผ้าเช็ดตัว (2) อาหารที่ปรุงแล้วเสร็จโดยสถานกักกันหรือร้านของสถานกักกัน และเครื่องบริโภคที่จัดซื้อ มาเพื่อจำหน่าย ในร้านค้าของสถานกักกัน ซึ่งยอมให้ผู้ถูกกักกันรับประทานได้ (3) ทรัพย์สินอื่น ๆ ตามที่กรมราชทัณฑ์กำหนด ปริมาณหรือจำนวนทรัพย์สินใน (1) (2) และ (3) ให้เป็นไปตามที่กรมราชทัณฑ์กำหนด สิ่งของอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เก็บไว้ในที่ที่สถานกักกันจัดให้ ข้อ 117 ทรัพย์สินหรือสิ่งของที่ผู้ถูกกักกันนำติดตัวมา ดังต่อไปนี้ (1) สิ่งของที่อนุญาตให้เก็บรักษาไว้ในสถานกักกัน แต่มีปริมาณหรือจำนวนเกินกว่า ที่กรมราชทัณฑ์กำหนด (2) สิ่งของที่เมื่อนำเข้าไปแล้วเป็นความผิดเกี่ยวกับสถานกักกัน (3) สิ่งของอื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งญาติมารับคืนแต่หากญาติไม่ประสงค์จะรับคืนภายในเวลา ที่สถานกักกันกาหนด ให้สถานกักกันจัดจำหน่ายตามวิธีการที่เหมาะสมและราคาที่เป็นธรรมที่ผู้ถูกกักกัน พึงได้รับ สาหรับเงินที่ได้จากการจาหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวภายหลังหักค่าใช้จ่ายในการดา เนินการ ให้สถานกักกันรับฝากไว้แก่ผู้ถูกกักกัน ในกรณีผู้ถูกกักกันไม่มีญาติหรือไม่สามารถติดต่อญาติได้ ให้ดาเนินการตามวิธีการในวรรคหนึ่ง โดยอนุโลม กรณีผู้ถูกกักกันต่างชาติไม่มีญาติหรือไม่สามารถติดต่อญาติได้ ให้สถานกักกันติดต่อ สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุล แต่หากติดต่อแล้วไม่มีผู้มารับภายในเวลาที่สถานกักกันกาหนด ให้ดาเนินการตามวิธีการในวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ข้อ 118 ในกรณีที่ผู้ถูกกักกันมีเงินติดตัวมาและไม่สามารถมอบไว้กับญาติได้ ให้สถานกักกัน รับฝากไว้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ก รมราชทัณฑ์กำหนด ข้อ 119 ทรัพย์สินหรือสิ่งของที่มีสภาพเป็นของสดเสียง่าย ของอันตรายหรือโสโครก ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำบันทึกไว้เป็นหลักฐานแล้วทำลายเสีย ข้อ 120 สิ่งของซึ่งเข้าใจว่าจะได้มาจากการกระทาผิดกฎหมาย หรือมีไว้เป็นการผิดกฎหมาย ให้รีบรายงานผู้อำ นวยการสถานกักกันสั่งการ ้ หนา 25 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
ข้อ 121 ทรัพย์สินของผู้ถูกกักกันที่ตกค้างอยู่ในสถานกักกัน ในกรณีต่อไปนี้ ให้ตกเป็น ของแผ่นดิน (1) ผู้ถูกกักกันหลบหนีพ้นกาหนดสามเดือนนับแต่วันที่หลบหนี (2) ผู้ถูกกักกันถูกปล่อยตัวไปแล้วและไม่มารับทรัพย์สินของตนไปภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับ การปล่อยตัว ลักษณะ 8 ชนิดอาวุธประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อ 122 อาวุธที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะพึงถือพึงใช้ในการปฏิบัติหน้าที่มี 4 ชนิด คือ (1) อาวุธปืน (2) ตะบองไม้ กลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 2.5 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 3 เซนติเมตร มีความยาวไม่เกิน 70 เซนติเมตร มีลักษณะผิวเรียบและมีขนาดเท่ากันตลอด จากด้ามจับถึงปลาย (3) ตะบองโลหะชนิดยืดหดได้ มีความยาวยืดสุดไม่เกิน 70 เซนติเมตร (4) ตะบองพลาสติกหรือไฟเบอร์หรือทาจากวัสดุสังเคราะห์อื่นที่คล้ายกัน มีความยาวไม่เกิน 70 เซนติเมตร มีลักษณะกลมและมีผิวเรียบ จะมีกิ่งสำหรับจับหรือไม่ก็ได้ ลักษณะ 9 วินัยผู้ถูกกักกัน ข้อ 123 ผู้ถูกกักกันผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคาสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ระเบียบ คาสั่ง ข้อบังคับสถานกักกัน ระเบียบกรมราชทัณฑ์ หรือระเบียบของทางราชการ ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย ข้อ 124 ผู้ถูกกักกันกระทำผิดวินัยให้ลงโทษสถานหนึ่งหรือหลายสถาน ดังต่อไปนี้ (1) ภาคทัณฑ์ (2) ตัดการอนุญาตให้ได้รับการเยี่ยมเยียนหรือติดต่อไม่เกิน 1 เดือน เว้นแต่เป็นกรณี การติดต่อกับทนายความตามที่กฎหมายกำหนด หรือเป็นการติดต่อของผู้ถูกกักกันหญิงกับบุตรผู้เยาว์ (3) แยกกักกันไว้ในสถานที่อันจำกัดภายในเขตของสถานกักกันได้ไม่เกินครั้งละ 15 วัน ข้อ 125 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พบเห็นหรือทราบว่าผู้ถูกกันกันกระทาผิดวินัย ให้ทาบันทึก รายงานพฤติการณ์แห่งการกระทำที่กล่าวหา หรือเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิด ชื่อตัว และชื่อสกุล ของผู้กระทาผิด วัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุ และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเท่าที่มีหรือรวบรวมได้ เสนอผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปทราบ และเสนอผู้อำนวยการสถานกักกันพิจารณา ้ หนา 26 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
ข้อ 126 เมื่อผู้อานวยการสถานกักกันได้รับบันทึกรายงานพฤติการณ์ตามข้อ 125 แล้ว ให้แต่งตั้งเจ้าพนักงานกักกันจานวนไม่น้อยกว่าสามคนแ ต่ไม่เกินห้าคน เพื่อสอบสวนการกระทาผิดวินัย เว้นแต่การกระทำผิดนั้นมีกระบวนการในการพิจารณาลงโทษเป็นการเฉพาะ ข้อ 127 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามข้อ 126 แจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกักกัน ซึ่งถูกกล่าวหาทราบ พร้อมทั้งสอบถามว่าจะให้การรับสาร ภาพหรือปฏิเสธ และให้จัดทำบันทึกคำให้การ ดังกล่าวไว้ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกักกันชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และนำพยานหลักฐานมาแสดง เพื่อประกอบคาให้การต่อสู้ได้อย่างเต็มที่ โดยให้สอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเสนอ ความเห็นต่อผู้อำนวยการสถานกักกันถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำผิดวินัย รวมทั้งโทษที่จะลงแก่ผู้ถูกกักกัน การดาเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานกักกันดาเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา ตามที่เห็นสมควร โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการ และผู้ถูกกักกันเป็นสำคัญ ข้ อ 128 ผู้อานวยการสถานกักกันมีอานาจลงโทษทางวินัยผู้ถูกกักกันซึ่งกระทาผิดวินัย ตามที่บัญญัติไว้ในข้อ 123 โดยคำสั่งลงโทษทางวินัยให้มีผลนับแต่วันที่ผู้ถูกกักกันได้รับแจ้งคำสั่ง ข้อ 129 ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าผู้ถูกกักกันซึ่งจะได้รับโทษหรืออยู่ร ะหว่าง การลงโทษทางวินัยตามข้อ 12 4 เจ็บป่วยหรือมีเหตุจาเป็นอื่นใดที่สมควรเพิกถอน เปลี่ยนแปลง งด หรือชะลอการบังคับโทษ ให้รายงานไปยังผู้อำนวยการสถานกักกัน เมื่อผู้อานวยการสถานกักกันได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง อาจเรียกพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ถูกกักกัน มาชี้แจงเพื่อประกอบการพิจารณาเพิกถอน เปลี่ยนแปลง งด หรือชะลอการบังคับโทษก็ได้ และเมื่อผู้อานวยการสถานกักกันได้พิจารณาและมีคาสั่งประการใดแล้ว ให้เจ้าพนักงานกักกันปฏิบัติ ตามคาสั่งและบันทึกเหตุแห่งการเพิกถอน เปลี่ยนแปลง งด หรือชะลอการบังคับโทษ คำสั่ งของผู้อำนวยการสถานกักกันตามวรรคสองให้เป็นที่สุด ข้อ 130 ให้ผู้อำนวยการสถานกักกันภาคทัณฑ์ผู้ถูกกักกันซึ่งกระทาผิดวินัยไม่ร้ายแรง และได้สำนึกถึงความผิดที่ได้กระทำไปแล้ว การภาคทัณฑ์ตามวรรคหนึ่งเมื่อออกคาสั่งเป็นหนังสือแล้ว ให้เรียกตัวผู้ถูกกักกันมาว่ากล่ำวสั่งสอน ให้ประพฤติตัวอยู่ในวินัย ข้อ 131 ให้ผู้อำนวยการสถานกักกันตัดการอนุญาตให้ได้รับการเยี่ยมเยียนหรือติดต่อ กับบุคคลภายนอกแก่ผู้ถูกกักกันซึ่งกระทำผิด ดังต่อไปนี้ (1) ประพฤติผิดระเบียบหรือข้อบังคับอันมีไว้สำหรับการเยี่ยมเยียนหรือติดต่อ กับบุคคลภายนอก (2) นำสิ่งของซึ่งมิใช่ของตนเข้าหรือออกจากสถานกักกัน โดยไม่ได้รับอนุญาต (3) ทำให้เกิดเหตุติดขัดในกิจการงานของสถานกักกันและกิจกรรมของผู้ถูกกักกันอื่น (4) ละทิ้งหรือเพิกเฉยต่อการงานอันเป็นหน้าที่ ้ หนา 27 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
ข้อ 132 ให้ผู้อำนวยการสถานกักกันแยกกักกันผู้ถูก กักกันไว้ในสถานที่อันจำกัด ภายในเขตสถานกักกันได้ไม่เกินครั้งละ 15 วัน แก่ผู้ถูกกักกันซึ่งได้กระทำผิด ดังต่อไปนี้ (1) เล่นการพนัน (2) ทะเลาะวิวาท (3) เสพยาเสพติด ดื่มสุราหรือของมึนเมาทุกชนิด (4) กระทาผิดเกี่ยวกับสิ่งของต้องห้ามทั้งในฐานะตัวการ ผู้ ใช้ ผู้สนับสนุนหรือผู้ได้รับประโยชน์ จากสิ่งของดังกล่าว (5) พยายามหลบหนีหรือหลบหนีไปแล้วแต่ได้ตัวกลับคืนมา (6) พยายามทำร้ายหรือทำร้ายร่างกายผู้อื่น (7) กระด้างกระเดื่องหรือขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่ (8) ทำให้ทรัพย์สินของทางราชการหรือของผู้อื่นเสียหาย (9) ยุ่งเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์หรือเครื่องมือสื่อสารอื่น รวมทั้งอุปกรณ์ สำหรับสิ่งของดังกล่าว ผู้ถูกกักกันซึ่งถูกลงโทษทางวินัยตามวรรคหนึ่ง ห้ามพบปะติดต่อกับบุคคลภายนอก ภายในระยะเวลาที่ต้องแย กกักกันนั้นด้วย เว้นแต่เป็นกรณีการติดต่อกับทนายความตามที่กฎหมายกาหนด หรือเป็นการติดต่อของผู้ถูกกักกันหญิงกับบุตรผู้เยาว์ ข้อ 133 ถ้ามีการกระทาผิดอย่างอื่นนอกจากที่กาหนดในระเบียบนี้ ให้ผู้อานวยการสถานกักกัน พิจารณาลงโทษทางวินัยตามที่เห็นสมควร ข้อ 134 เมื่อผู้ถูกกักกันได้รับคำสั่งลงโทษทางวินัยแล้ว ไม่พอใจคำสั่งนั้น ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง โดยยื่นหนังสือต่อผู้ออกคำสั่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ถูกกักกันได้รับแจ้งคำสั่ง การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการปฏิบัติตามคาสั่งลงโทษของผู้อานว ยการ สถานกักกัน ข้อ 135 การออกคาสั่งลงโทษทางวินัย การเพิกถอน การอุทธรณ์ การพิจารณาอุทธรณ์ และการแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย ให้นาความในกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ 136 กรณีที่มีการเพิกถอนคาสั่งลงโทษผู้ถูกกักกันซึ่งกระทาผิดวินัย ให้ผู้อานวยการ สถานกักกัน ดาเนินการเยียวยาผู้ถูกกักกันซึ่งถูกลงโทษ ดังต่อไปนี้ (1) โทษตัดการอนุญาตให้ได้รับการเยี่ยมเยียน ให้จัดวันเยี่ยมเยียนทดแทนนอกจาก วันเยี่ยมเยียนปกติเท่ากับจำนวนวันที่ถู กตัด (2) โทษแยกกักกัน ให้จัดให้ได้รับการเยี่ยมเยียนเพิ่มขึ้นนอกจากวันเยี่ยมเยียนปกติ เป็นจานวนสองเท่าของวันที่ถูกแยกกักกัน หรือเพิ่มระยะเวลาการเยี่ยมเยียนเป็นสองเท่าของระยะเวลา ตามปกติ ้ หนา 28 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
เมื่อเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยแล้ว ให้บันทึกการเพิกถอนคำสั่งในทะเบี ยนประวัติ ผู้ถูกกักกันคนนั้น และให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่เป็นผลจากการถูกลงโทษนั้นคืนด้วย ข้อ 137 ในกรณีที่ผู้ถูกกักกันได้กระทาความผิดอาญาขึ้นภายในสถานกักกันและความผิดนั้น เป็นความผิดลหุโทษ ความผิดฐานทาให้เสียทรัพย์ของสถานกักกัน หรือความผิดฐานพยายามหลบหนีที่กักกัน ให้ผู้อานวยการสถานกักกันมีอานาจวินิจฉัยลงโทษฐานผิดวินัยตามระเบียบนี้ และจะนาเรื่องขึ้นเสนอ ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดาเนินการสอบสวนหรือฟ้องร้องตามกฎหมายด้วยก็ได้ ความผิดตามวรรคหนึ่งที่ผู้อำนวยการสถานกักกันจะใช้อำนาจวินิจฉั ยลงโทษทางวินัย ได้แก่ความผิด ดังต่อไปนี้ (1) ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้ (ก) มาตรา 367 ฐานไม่ยอมบอกชื่อหรือที่อยู่หรือแกล้งบอกชื่อหรือที่อยู่อันเป็นเท็จ เมื่อเจ้าพนักงานถาม (ข) มาตรา 368 ฐานไม่ปฏิบัติตามคาสั่งของเจ้าพนักงานตามอานาจที่กฎหมา ยให้ไว้ โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร (ค) มาตรา 369 ฐานกระทำให้ประกาศหรือเอกสารที่เจ้าพนักงานปิดไว้ฉีกหรือไร้ประโยชน์ (ง) มาตรา 370 ฐานส่งเสียงหรือทำให้เกิดเสียงอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันสมควร (จ) มาตรา 379 ฐานแสดงอาวุธในการวิวาทต่อสู้ (ฉ) มาตรา 383 ฐานไม่ช่วยระงับเพลิงไหม้เมื่อเจ้าพนักงานเรียกให้ช่วย (ช) มาตรา 384 ฐานแกล้งบอกเล่าความเท็จให้เลื่องลือจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นตกใจ (ซ) มาตรา 388 ฐานเปลือยหรือเปิดเผยร่ายกายหรือกระทาการลามกอันควรขายหน้า ต่อหน้าธารกานัล (ฌ) มาตรา 390 ฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ (ญ) มาตรา 391 ฐานใช้กาลังทาร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย แก่กายหรือจิตใจ (ฎ) มาตรา 392 ฐานทำให้ผู้อื่นกลัวหรือตกใจโดยการขู่เข็ญ (ฏ) มาตรา 393 ฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา (ฐ) มาตรา 397 ฐานรังแกข่มเหงคุกคามหรือทำให้ผู้อื่นอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ (2) กระทาความผิดตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2514) ออกตามความในพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักกันตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2510 ยกเว้ นข้อ 7 (1) (6) และ (7) ความในข้อนี้ไม่ตัดสิทธิของเอกชนที่จะเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาหรือคดีแพ่งตามกฎหมาย ข้อ 138 กรณีความผิดฐานทาให้เสียทรัพย์ของสถานกักกัน ให้ผู้อานวยการสถานกักกัน มีอานาจวินิจฉัยลงโทษฐานผิดวินัยโดยไม่จาต้องดาเนินคดีอาญา เฉพาะในกร ณีที่ผู้ถูกกักกันกระทาผิด ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจานวนตามความเสียหายแล้วเท่านั้น เว้นแต่กรณีการทาให้เสียหาย ทาลาย ้ หนา 29 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
ทาให้เสื่อมค่า หรือทาให้ไร้ประโยชน์ ด้วยวิธีการเผา ทุบ ทาลาย ให้สถานกักกันดาเนินคดีอาญา แก่ผู้ถูกกักกันนั้นด้วย หากความเสียหายของทรัพย์สินของสถานกักกัน ไม่ว่าจะเกิดจากการกระทาโดยความจงใจ หรือความประมาทของผู้ถูกกักกัน นอกจากจะดาเนินการทางวินัยแก่ผู้ถูกกักกันตามที่กาหนดในระเบียบนี้แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเรียกร้องให้ผู้ถูกกักกันนั้นชดใช้ค่าสินไหมทดแทนควำมเสียหายนั้นด้วย ประกาศ ณ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 25 6 6 อายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ้ หนา 30 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 131 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 มิถุนายน 2566
คําร้องขออนุญาตให้เด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกันอยู่ในสถานกักกัน เขียนที่ … วันที่ … เดือน … พ . ศ . … เรื่อง ขอให้เด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกันอยู่ในสถานกักกัน เรียน . ด้วยข้าพเจ้า . เลขประจําตัวประชาชน . เลขหมาย …/ 25 … วัน … เดือน … ปีเกิด … ปัจจุบันอายุ … ปี ซึ่งถูกกักกันอยู่ที่ . หมายเลขคดีดําที่ …/ 25 … หมายเลขคดีแดงที่ …/ 25 … ในข้อหา / ฐานความผิด . เนื่องจากมี . เลขประจําตัวประชาชน . อายุ . ปี . เดือน มีภูมิลําเนาอยู่ที่ . แขวง / ตําบล . เขต / อําเภอ . จังหวัด . รหัสไปรษณีย์ . เบอร์โทร . ซึ่งเป็น ของข้าพเจ้าและอยู่ในความดูแลของข้าพเจ้า การถูกกักกันของข้าพเจ้าทําให้ . ขาดผู้อุปการะเลี้ยงดูและข้าพเจ้าไม่สามารถหาผู้อื่นใด มาอุปการะเลี้ยงดูแทนได้ เพราะ … จึงขอความอนุเคราะห์ให้ อยู่ในสถานกักกันแห่งนี้ ในการนี้ข้าพเจ้า ขอมอบอํานาจการปกครอง โดยชอบด้วยกฎหมายของข้าพเจ้าให้อยู่ในอํานาจ การปกครองของผู้อํานวยการสถานกักกันและยินยอมอยู่ในกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของสถานกักกัน พร้อมทั้ง ยินดีที่จะปฏิบัติตามระเบียบที่กรมราชทัณฑ์วางไว้สําหรับการนี้ทุกประการ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา - ลายมือชื่อ - ( ) รูปถ่าย ของเด็ก
แบบหนังสือส่งรับมอบตัวเด็ก สถานกักกัน . วันที่ . เดือน . พ . ศ . . วันที่ถ่าย . หนังสือฉบับนี้เป็นข้อตกลง ในการส่งรับมอบตัว . อายุ ปี เดือน ตามรูปถ่าย ( ซึ่งต่อไปในหนังสือนี้เรียกว่า “ เด็ก ”) ไปอุปการะเลี้ยงดู ระหว่าง . ซึ่งเป็น . ของเด็ก ถูกกักกันตัวอยู่ที่ . ฝ่ายหนึ่ง ( ซึ่งต่อไปในหนังสือนี้เรียกว่า “ ผู้ส่งมอบ ”) กับ ฝ่ายหนึ่ง ( ซึ่งต่อไปในหนังสือนี้เรียกว่า “ ผู้รับมอบ ”) โดยผู้ส่งมอบและผู้รับมอบ ( ซึ่งต่อไปในหนังสือนี้เรียกว่า “ ทั้งสองฝ่าย ”) ได้ตกลงกันมีข้อความดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ผู้ส่งมอบยอมตกลงมอบเด็กซึ่งอยู่ในความดูแลปกครองของผู้ส่งมอบโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้แก่ผู้รับมอบไปอุปการะเลี้ยงดู ข้อ 2 ผู้รับมอบยอมตกลงว่าจะนําเด็กไปอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาสมควรแก่ฐานานุรูป แห่งตน ณ บ้านเลขที่ หมู่ที่ ถนน ตําบล / แขวง . อําเภอ / เขต จังหวัด และจะไม่มอบเด็กให้แก่บุคคลที่สาม รับไปอุปการะเลี้ยงดูอีกต่อหนึ่ง ข้อ 3 ในระหว่างที่เด็กอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้รับมอบ ผู้รับมอบยอมตกลงให้ผู้อํานวยการ สถานกักกันหรือเจ้าพนักงานกักกัน . เข้าติดต่อสอบถามเด็กหรือผู้รับมอบ ถึงการที่ได้อุปการะเลี้ยงดูไปแล้ว รวมตลอดจนเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอุปการะเลี้ยงดูเด็ก ข้อ 4 ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่า . . ข้อ 5 ผู้รับมอบตกลงว่าจะนําเด็กมาเยี่ยมผู้ส่งมอบ จํานวน ครั้ง / . หนังสือส่งรับมอบตัวเด็กไปอุปการะเลี้ยงดูภายนอกสถานกักกันฉบับนี้ ทําเป็น 3 ฉบับ มีข้อความ ตรงกันทุกฉบับ ผู้ส่งมอบยึดถือไว้ 1 ฉบับ ผู้รับมอบยึดไว้ 1 ฉบับ เก็บไว้ ณ สถานกักกัน . 1 ฉบับ ( ลงนาม ) . ผู้ส่งมอบ ( ลงนาม ) . ผู้รับมอบ ( ลงนาม ) . พยาน ( ลงนาม ) . พยาน ( ลงนาม ) . พยาน รูปถ่าย ของเด็ก
รูปพรรณสัณฐานของเด็ก เพศ ( ) หญิง ( ) ชาย อายุ … ปี … เดือน ลักษณะที่พบ ( ) ปกติ ( ) พิการ ( ) เจ็บป่วย ผิว ( ) ดําแดง ( ) ขาวเหลือง ( ) ขาว ( ) อื่นๆ . ผม ( ) ดํา ( ) น้ําตาล ( ) อื่นๆ … ตา ( ) ดํา ( ) น้ําตาล ( ) อื่นๆ … ความสมบูรณ์แห่งร่างกาย . สุขภาพ ( ) แข็งแรง ( ) อ่อนแอ ( ) อื่นๆ . ตําหนิ / แผลเป็น . บุคลิก ( ) นิ่งเงียบ ( ) ร่าเริง ( ) อื่นๆ .
คําร้องขอพบผู้ถูกกักกันของทนายความ ที่สถานกักกัน วันที่ เดือน พ . ศ . ข้าพเจ้า อายุ ปี สัญชาติ อยู่บ้านเลขที่ หมู่ที่ ตําบล / แขวง อําเภอ / เขต จังหวัด เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ ได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ เลขที่ / ออกให้เมื่อ หมดอายุ สถานที่ประกอบอาชีพ สํานักงาน เลขที่ หมู่ที่ ซอย ถนน ตําบล / แขวง อําเภอ / เขต จังหวัด โทร . ขอยื่นคําร้องต่อสถานกักกันแห่งนี้ โดยมีความประสงค์ขอพบผู้ถูกกักกัน เพื่อปรึกษาคดี ดังมีรายนามดังนี้ 1 . คดี 2 . คดี 3 . คดี 4 . คดี การยื่นคําร้องครั้งนี้ข้าพเจ้าขอยืนยันว่า ข้าพเจ้า ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นทนายความของผู้ถูกกักกันแล้ว ยังไม่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นทนายความของผู้ถูก กักกัน ข้าพเจ้า ขอนํานาย / นาง / นางสาว ซึ่งเป็นล่ามเข้าพบผู้ถูกกักกันด้วย เนื่องจากผู้ถูกกักกันนั้น เป็นชาวต่างประเทศ ไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทยได้ เป็นชาวไทยใช้ภาษาท้องถิ่น ไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทยได้ ไม่สามารถพูดหรือได้ยิน หรือสื่อความหมายได้
ในการขอพบผู้ถูกกักกันครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้รับคําแนะนําหรือติดต่อจากบุคคล ดังนี้ 1 . ซึ่งเกี่ยวข้องโดย 2 . ซึ่งเกี่ยวข้องโดย 3 . ซึ่งเกี่ยวข้องโดย ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ข้อความดังกล่าวข้างต้นเป็นความจริงทุกประการและข้าพเจ้าจะปฏิบัติตาม ระเบียบ ข้อบังคับที่กรมราชทัณฑ์กําหนดไว้โดยเคร่งครัด หากข้อความดังกล่าวเป็นเท็จไม่ว่าด้วยประการใดๆ ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบทุกประการ ลงชื่อ ทนายความ ( ) หมายเหตุ ให้แนบใบอนุญาตให้เป็นทนายความพร้อมคํารับรองสําเนาถูกต้องของทนายความด้วย
1 2 คํารับรองของผู้ถูกกักกัน ความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้าพเจ้า … เรียน … หมายเลขประจําตัว …/… ได้ตรวจสอบคําร้อง และเอกสารหลักฐานการเป็น คดี … สัญชาติ … ทนายความแล้ว เห็นว่า มีความสามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทย ได้ ไม่ได้ ถูกต้อง ควรอนุญาต ได้ทราบข้อความตามคําร้องดังกล่าวข้างต้นแล้ว ไม่ถูกต้อง ไม่ควรอนุญาต เพราะ … มีความประสงค์ … . … ต้องการพบทนายความ … ไม่ต้องการพบทนายความ เพราะ … … … … ลงชื่อ … ผู้ถูกกักกัน ลงชื่อ … . พนักงานเจ้าหน้าที่ (…) (…) …/…/… ตําแหน่ง … …/…/… 3 ความเห็นของผู้บังคับบัญชา 4 คําสั่ง อนุญาต รับทราบคําสั่ง ไม่อนุญาต เพราะ … ข้าพเจ้า … … ได้รับทราบคําสั่งโดยตลอดแล้ว ลงชื่อ … ลงชื่อ … ทนายความ (…) (…) ตําแหน่ง … …/…/…