ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย พ.ศ. 2566
ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย พ.ศ. 2566
ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย พ.ศ. 2566 โดยที่การจัดการงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นการสร้างความปลอดภัยสำหรับ การทางานในสถานประกอบกิจการ จาเป็นต้องมีการส่งเสริม พัฒนา และควบคุมผู้ปฏิบัติหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินงานทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ให้มีความรู้ ทักษะ สมรรถนะ แล ะความรับผิดชอบตามมาตรฐานสากล อาศัยอานาจตามความในมาตรา 10 (6) (ค) (ง) และ (ช) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริม วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2551 สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยความ เห็นชอบจากสภานายกพิเศษแห่งสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีออกข้ อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าด้วย การประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย พ.ศ. 2566” ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ข้อบังคับนี้ไม่ใช้บังคับต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทางานต่อบุคลากรที่ขึ้นทะเบียน ต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในกา รทางาน ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ข้อ 4 ในข้อบังคับนี้ “ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ” หมายความว่า การจัดการเพื่อให้เกิดการกระทำ สภาวะการ ทางาน และสภาพแวดล้อมในการทางาน ซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทาให้เกิดการประสบ อันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ สุขภาพอนามัย รวมถึงทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อม อันเนื่องจาก การทำงานหรือเกี่ยวเนื่องกับการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในสถานประกอบกิจการ “ สถานประกอบกิจการ ” หมายความว่า สถานที่ประกอบกิจการใด ๆ หรือสถานที่ปฏิบัติงาน ที่มีการกาหนดขอบเขตที่ตั้งไว้ชัดเจน และมีจานวนคนงานหรือลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป และมีการลงทุน ตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป โดยไม่รวมค่าที่ดิน หรือสถานประกอบกิจการที่มีความเสี่ยงสูง ก่อให้ เกิดผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนงานหรือลูกจ้างหรือชุมชน และมีคนงาน หรือลูกจ้างตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป ยกเว้นสถานที่ประกอบกิจการหรือสถานที่ปฏิบัติงานตามที่ คณะกรรมการประกาศกำหนด “ สถานประกอบกิจการที่มีความเสี่ยงสูง ” หมายความว่าสถานประกอบกิจการที่ มีความเสี่ยง การเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง หรือมีการใช้ ครอบครองสารเคมีอันตรายร้ายแรงตามชนิดและปริมาณ ้ หนา 47 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 130 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
ที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ( International Labour Organization : ILO ) สานักงานบริหาร ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา ( Occupation al Safety and Health Administration : OSHA ) สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกา ( Environmental Protection Agency : EPA ) สหภาพยุโรป ( European Standard : EN ) หรือการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย กาหนดให้ต้องทาการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต ( Process Safety Management : PSM ) หรือที่ต้องมีการประเมินความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพตามที่กาหนดไว้ใน พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561 “ สภาวะการทางาน ” หมายความว่า สภาวะแวดล้อม ซึ่งปรากฏอยู่ในบริเวณการทางาน ของคนงานหรือลูกจ้าง ซึ่งรวมถึงสภาพต่าง ๆ ในบริเวณการทำงาน เช่น เครื่องจักร อาคาร สถานที่ การระบายอากาศ ตลอดจนสภาพและลักษณะงานของคนงานหรือลูกจ้าง “ สภาพแวดล้อมในการทางาน ” หมายความว่า สภาพแวดล้อมทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ จิตวิทยาสังคม และการยศาสตร์ “ การประสบอันตราย ” หมายความว่า การที่คนงานหรือลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจหรือสุขภาพอนามัย เนื่องจากการทำงานหรือเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน ข้อ 5 ให้นายกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรักษาการตามข้อบังคั บนี้ หมวด 1 มาตรฐานการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อ 6 ลักษณะงานของวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมสาขาอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ มีดังต่อไปนี้ (1) การศึกษาตรวจสอบ หมายถึง การศึกษา จัดทารายงานและรับรองผลการตรวจวัด การทดสอบ การวิเคราะห์ตามหลักสถิติหรือวิชาการ และการประเมินความเสี่ยงขั้นสูง โดยนำเสนอต่อ บุคคลหรือหน่วยงานภายนอกสถานประกอบกิจการเพื่อใช้สาหรับการป้องกันและจัดการ รวมทั้ง การเฝ้าระวังเกี่ยวกับสภาวะการทางานและสภาพแวดล้อมในการทางานที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัย การประสบอันตราย และสุขภาพอนามัยของลูกจ้างหรือคนงานตามหลักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2) การออกแบบและคำนวณ หมายถึง การใช้หลักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการจำลอง สถานการณ์ด้ำนอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (3) การอำนวยการ หมายถึง การกากับดูแลและดาเนินการเพื่อให้เกิดการกระทำด้านสภาวะ การทางานหรือสภาพแวดล้อมในการทางานที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัย การประสบอันตราย และสุขภาพอนามัยของคนงานหรือลูกจ้าง ้ หนา 48 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 130 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
(4) การให้คำปรึกษา หมายถึง กา รออกเอกสารเพื่อให้ข้อแนะนำ การตรวจวินิจฉัย การตรวจรับรองงาน ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมแก่สถาน ประกอบกิจการ เพื่อประโยชน์และผลสัมฤทธิ์ในการตรวจประเมินภายนอก ( External audit ) ข้อ 7 ประเภทงานของวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโน โลยีควบคุมสาขาอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ มีดังต่อไปนี้ (1) งานศึกษาตรวจสอบตาม ข้อ 6 (1) ก. สารเคมี กายภาพ ชีวภาพ และการยศาสตร์ ตามวิธีการที่ได้มาตรฐานของมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทางานแห่งชาติป ระเทศสหรัฐอเมริกา ( The National Institute for Occupational Safety and Health : NIOSH ) สานักงานบริหาร ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา ( Occupational Safety and Health Administration : OSHA ) มาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล ( International Organization for Standardization : ISO ) มาตรฐานสหภาพยุโรป ( European Standard : EN ) หรือมาตรฐานอื่น ที่เทียบเท่า ข. การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ ด้วยวิธีการประเมินความเสี่ยงสุขภาพเชิงคุณภาพ กับการประเมินความเสี่ยงสุขภาพเชิงปริมาณโดย ใช้วิธีการเฝ้าคุมการสัมผัส หรือแบบจำลอง ทางคณิตศาสตร์ ( Mathematical model ) ค. การวิเคราะห์ความเสี่ยงอันตรายด้วยเทคนิคขั้นสูง อาทิ HAZOP ( Hazards and Operability Studies ) , FTA ( Fault Tree Analysis ) , FMEA ( Failure Modes and Effects Analys is ) , ETA ( Event Tree Analysis ) การประเมินการรั่วไหลด้วยแบบจาลองทางคณิตศาสตร์ ( Mathematical model ) เช่น BREEZE ( Accidental Hazardous Release Modeling ) , PHAST ( Consequence analysis model ) หรือวิธีอื่นที่เทียบเท่า ง. การประเมินความเสี่ยงเครื่ องจักร ด้วยวิธี SIL ( Safety Integrity Level ) , หรือ วิธีอื่นที่เทียบเท่าตามมาตรฐานของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา ( American National Standards Institute : ANSI ) องค์การมาตรฐานสากล ( International Organization for Standardization : ISO ) และคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอนิกส์ ( International Electrotechnical Commission : IEC ) มาตรฐานสหภาพยุโรป ( European Standard : EN ) จ. การประเมินทางการยศาสตร์อาชีวอนามัย ด้วยวิธี REBA ( Rapid Entire Body Assessment ) , RULA ( Rapid Upper Limb Assessment ) หรือวิธีอื่นที่เทียบเท่า ฉ. การเฝ้าระวังทางด้านอาชีวอนามัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม การยศาสตร์อาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน (2) งานออกแบบและคำนวณตามข้อ 6 (2) ้ หนา 49 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 130 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
การใช้หลักวิชาการ การคำนวณขั้นสูง หรือการใช้ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ( Mathematical model ) ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ได้มาซึ่งทางเลือกและ รายละเอียดสำหรับการออกแบบการจัดการ สถานการณ์ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยมีรายการคำนวณ แสดงผลเป็นรูป แบบ และการประมาณการเพื่อการป้องกัน แล ะควบคุมสภาวะ การทางานและสภาพแวดล้อมในการทางานที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัย การประสบอันตราย และสุขภาพอนามัยในการทำงาน (3) งานอำนวยการตามข้อ 6 (3) ก. การกำกับดูแลและดาเนินการด้านสภาวะการทำงานหรือสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ความปลอดภัย การประสบอันตรายของคนงานหรือลูกจ้างในสถาน ประกอบกิจการที่มีจานวนคนงานหรือลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป แต่น้อยกว่า 200 คน และ มีการลงทุนตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป แต่น้อยกว่า 200 ล้านบาท โดยไม่รวมค่าที่ดิน ข. การกำกับดูแลและดาเนินการด้ำนสภาวะการทำงานหรือสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ความปลอดภัย การประสบอันตรายของคนงานหรือลูกจ้าง ในสถานประกอบกิจการที่มีจำนวนคนงานหรือลูกจ้างตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป และมีการลงทุน ตั้งแต่ 200 ล้านบาทขึ้นไป โดยไม่รวมค่าที่ดิน หรือส ถานประกอบกิจการที่มีความเสี่ยงสูง รวมทั้ง การตัดสินใจแก้ไขปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (4) งานให้คำปรึกษาตามข้อ 6 (4) การให้คาปรึกษาโดยให้ข้อแนะนา การตรวจวินิจฉัยงาน หรือการตรวจรับรองงาน เพื่อการกำหนดนโยบายและแผนด้านการบริหารจัดการด้านอาชีวอน ำมัยและความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และการยศาสตร์อาชีวอนามัยตามข้อ 7 ( 1) (2) และ (3) ข้อ 8 ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอาชีวอนามัย และความปลอดภัย สามารถประกอบวิชาชีพได้ตามการแบ่งระดับของลักษณะงานและประเภทงำน ที่ได้รับอนุญาต ดังต่อไปนี้ (1) ระดับปฏิบัติการให้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมได้ตามลักษณะงาน ในข้อ 6 ( 1) ถึง (2) และประเภทงานในข้อ 7 ( 1) ถึง (3) ก. (2) ระดับชานาญการให้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมได้ตามลักษณะงาน ในข้อ 6 ( 1) ถึง (3) และประเภทงานในข้อ 7 ( 1) ถึง (3) (3) ระดับเชี่ยวชาญให้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมได้ทุกลักษณะงาน และทุกประเภทงานตามที่กาหนดไว้ในข้อ 6 และข้อ 7 ้ หนา 50 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 130 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
หมวด 2 คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต ข้อ 9 ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอาชีวอนามัย และความปลอดภัยมี 3 ระดับ ดังต่อไปนี้ (1) ระดับปฏิบัติการ (2) ระดับชำนาญการ (3) ระดับเชี่ยวชาญ ข้อ 10 ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอาชีวอนามัย แ ละความปลอดภัย ระดับปฏิบัติการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (1) สาเร็จการศึกษาไม่ต่ากว่าปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีความรู้ พื้นฐานทางด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และการยศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 41 หน่วยกิต และฝึกปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต ทั้งนี้ องค์ความรู้พื้นฐานให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด (2) ไม่อยู่ระหว่างการถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายอื่น (3) ไม่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสต ร์และเทคโนโลยีควบคุมตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายอื่น ซึ่งยังไม่ครบห้าปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าว ข้อ 1 1 ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอาชีวอนามัย และความปลอดภัย ระดับชำนาญการต้องได้รับใบอนุญาตในระดับปฏิบัติการมาไม่น้อยกว่า 5 ปี ข้อ 1 2 ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอาชีวอนามัย และความปลอดภัย ระดับเชี่ยวชาญต้องได้รับใบอนุญาตในระดับชำนาญการมาไม่น้อยกว่า 5 ปี ข้อ 1 3 ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตไม่มีคุณสมบัติตามข้อ 10 ( 1) ให้ผู้ขอรับใบอนุญาต เข้ารับการฝึกอบรมและทดสอบความรู้ในแต่ละประเภทงาน ตามที่คณะกรรมการกาหนด โดยให้ถือว่า การฝึกอบรมและการผ่านการทดสอบความรู้ดังกล่าวเป็นผลการศึกษาสำหรับการขอรับใบอนุญาต ข้อ 1 4 ผู้ ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมสาขาอาชีวอนามัย และความปลอดภัยทุกระดับต้องผ่านการประเมินจากคณะกรรมการ และผ่านการอบรมจรรยาบรรณ แห่งวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ้ หนา 51 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 130 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
หมวด 3 การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การพักใช้และการเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ 1 5 ในการยื่นคาขอรับใบอนุญาต ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีควบคุมดาเนินการตามประกาศสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการยื่นขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตของผู้ประกอบวิชาชีพ วิทยาศา สตร์และเทคโนโลยีควบคุม ข้อ 1 6 คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ควบคุม สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยให้มีหน้าที่และอานาจพิจารณากลั่นกรองเกี่ยวกับ การออกใบอนุญาต ต่ออายุใบอนุญาต พักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาต รวม ถึงกาหนด หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผู้ขอรับใบอนุญาตเพื่อเสนอคณะกรรมการพิจารณาอนุญาต ตามมาตรา 28 (1) ต่อไป ข้อ 1 7 ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอาชีวอนามัย และความปลอดภัย มีอายุห้าปี เว้นแต่การออกใบอนุญาตครั้งแรกให้มีอายุสามปี ข้ อ 1 8 ในการต่ออายุใบอนุญาต ผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม จะต้องเข้ารับการอบรมเพิ่มพูนความรู้ตามที่คณะกรรมการ กำ หนด บทเฉพาะกาล ข้อ 19 ในวาระเริ่มแรก มิให้นาความในข้อ 10 ( 1) ข้อ 11 และข้อ 12 แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับแก่ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอาชีวอนามัย และความปลอดภัย ในกรณีดังต่อไปนี้ ( 1 ) ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ 8 (1) ซึ่งมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานตามข้อ 6 และข้อ 7 มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ( 2 ) ผู้ขอรับใบอนุ ญาตตามข้อ 8 (2) ซึ่งมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานตามข้อ 6 และข้อ 7 มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ( 3 ) ผู้ ขอรับใบอนุญาตตามข้อ 8 (3) ซึ่งมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานตามข้อ 6 และข้อ 7 มาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี การยื่นคาขอรับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้ดาเนิ นการภายในห้าปีนับแต่วันที่ข้อบังคับนี้ ใช้บังคับ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 25 6 6 บุญส่ง ไข่เกษ นายกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ้ หนา 52 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 130 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566