ระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ว่าด้วยหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน พ.ศ. 2566
ระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ว่าด้วยหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน พ.ศ. 2566
ระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ว่า ด้วย หลักเกณฑ์ การดาเนินโครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน พ.ศ. 2566 โดยเป็นการสมควรส่งเสริมให้ชุมชนชายฝั่ง ได้มีส่วนร่วมกับรัฐในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการ บารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าชายเลนอย่างสมดุลและยั่งยืน อันเป็นการส่งเสริม ให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการ อันส่งผลให้ทรัพยากรป่าชายเลน ของประเทศมีความสมบูรณ์และยั่งยืน เสริมสร้างความมั่นคงทางสังคม และเศรษฐกิจของปร ะเทศ อาศัยอานาจตามมาตรา 16 (2) และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหาร จัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จึงวางระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ ง ว่าด้วยหลักเกณฑ์ การดาเนินโครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน พ.ศ. 2566” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ในระเบียบนี้ “ ป่าชายเลนสำหรับชุมชน ” หมายถึง ป่าหรือที่ดินอื่นใด ซึ่งกรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งได้อนุมัติให้เป็นโครงการป่าชายเลนสาหรับชุมชนตามแนวทางของกรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง ภายใต้กฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่ ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในการควบคุม ดูแล รักษา ปลูก ฟื้นฟู หรื อบำรุงป่า เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ ชุมชนได้ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน “ โครงการ ” หมายถึง โครงการป่าชายเลนสาหรับชุมชนที่กรมทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่งอนุมัติ “ ชุมชน ” หมายถึง ชุมชน ชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเล หรือเกาะ ที่ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นชุมชนชายฝั่งกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแล้ว “ ผู้แทนชุมชน ” หมายถึง กานัน ผู้ใหญ่บ้าน ประธานเครือข่าย หรือประธานชุมชนชายฝั่ง ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นชุมชนชายฝั่งกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแล้ว และประธานคณะกรรมการ “ เจ้าหน้าที่ ” หมายถึง เจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ตามโครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน “ สมาชิก ” หมายถึง ราษฎรในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน “ คณะกรรมการโครงการ ” หมายถึง คณะกรรมการโครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 128 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
“ คณะกรรมการ ” หมายถึง คณะกรรมการป่าชายเลนสำหรับชุมชน ซึ่งเป็นคณะบุคคลที่ได้รับ การคัดเลือกจากสมาชิก ให้ทาหน้าที่ในการดาเนินงานโครงการป่าชายเลนสาหรับชุมชน โดยมีผู้แทน จากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นที่ปรึกษา “ ประธานคณะกรรมการ ” หมายถึง ประธานคณะกรรมกำรป่าชายเลนสำหรับชุมชน ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการหรือสมาชิก อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่กรณี “ หน่วยงานรับผิดชอบ ” หมายถึง หน่วยงานในสังกัดกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่อธิบดีสั่งการเป็นหนังสือ “ พนักงานเจ้าหน้าที่ ” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ พนักงาน เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติส่งเสริม การบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 และเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง “ อธิบดี ” หมายความว่า อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง “ กรม ” หมายความว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ข้อ 4 อธิบดีเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอานาจตีความวินิจฉัยปัญหาหรือ ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ คำวินิจฉัยของอธิบดีให้ถือเป็นที่สุ ด หมวด 1 คณะกรรมการ ข้อ 5 ให้มีคณะกรรมการโครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน ประกอบด้วย ( 1 ) อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการ ( 2 ) รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธาน ( 3 ) ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้เชี่ยวชาญที่อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแต่งตั้ง ( 4 ) กรรมการโดยตาแหน่ง ได้แก่ ผู้อานวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ผู้อานวยการ กองกฎหมาย ผู้อานวยการสานักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 - 10 ที่รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์และ ฟื้นฟูทรัพยากรป่าชายเลน (กปล.) ผู้อำนวยการส่วนแผนงานและ จัดการคาร์บอนเครดิต (กปล.) ผู้อานวยการส่วนส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลน (กปล.) และผู้อำนวยการส่วนสำรวจและวิเคราะห์ทรัพยากรป่าชายเลน (กปล.) ให้ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน (กปล. ) เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการตามความจำเป็น ข้อ 6 ให้คณะกรรมการโครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่ออธิบดี เกี่ยวกับนโยบาย มาตรการ แนวทางและ สนับสนุนการดาเนินโครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 128 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
( 2 ) พิจารณาการขอจัดตั้งหรือเพิกถอน การขยายขอบเขตหรือลดพื้นที่โครงการป่าชายเลน สำหรับชุมชน ( 3 ) ติดตาม เสนอแนะแนวทางการดาเนินงาน ( 4 ) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่อธิบดีมอบหมาย ข้อ 7 ให้มีคณะกรรมการป่าชายเลนสำหรับชุมชน ประกอบด้วย ( 1 ) ประธานคณะกรรมการ ( 2 ) กรรมการป่าชายเลนสำหรับชุมชน ไม่เกิน 10 คน โดยให้คณะกรรมการเป็นผู้เลือกรองประธาน (ถ้ามี) เลขานุการ เหรัญญิก และตาแหน่งอื่น ๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสม ข้อ 8 คุณสมบัติของคณะกรรมการป่าชายเลนสำหรับชุมชน และวาระการดารงตาแหน่ง ( 1 ) ต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในชุมชนหรือได้รับการรับรองจากผู้นำท้องถิ่น ว่ามีถิ่นที่อยู่ในชุมชนมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 6 เดือน ( 2 ) มีสัญชาติไทย ( 3 ) อายุไม่ต่ากว่า 20 ปีบริบูรณ์ ( 4 ) เป็นผู้สมัครใจที่จะอาสาดาเนินกิจกรรมทางด้านอนุรักษ์ สงวน คุ้มครอง และฟื้นฟู ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง คณะกรรมการ มีวาระการดารงตาแหน่ง คราวละ 5 ปี นอกจากการพ้นตาแหน่งตามวาระแล้ว คณะกรรมการจะพ้นจากตาแหน่งเมื่อ ( 1 ) ตาย ( 2 ) ลาออก ( 3 ) เป็นคนไร้ความสามา รถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ( 4 ) ได้รับโทษจาคุก โดยคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำ โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ( 5 ) คณะกรรมการมีมติให้ออก ข้อ 9 คณะกรรมการป่าชายเลนสำหรับชุมชน มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ดาเนินการเกี่ ยวกับการขอจัดตั้งหรือเพิกถอน การขยายขอบเขตหรือลดพื้นที่โครงการ ป่าชายเลน สำหรับชุมชน ( 2 ) จัดทำโครงการและดาเนินงานที่เกี่ยวข้อง ( 3 ) ร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการออกกฎ กติกา ข้อบังคับ และแนวทางการจัดการพื้นที่โครงการ ( 4 ) ควบคุม ดูแลการจัดการโครงการป่าชายเลนสาหรับชุมชนให้เป็นไปตามกฎ กติกา ข้อบังคับ และแนวทางการจัดการในพื้นที่โครงการ ( 5 ) ขับเคลื่อนการดาเนินงานให้เป็นไปตามแผนงาน/โครงการที่ได้รับอนุมัติ ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 128 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
( 6 ) ประสานการดาเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายโครงการ ( 7 ) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดาเนินงานโครงการ ซึ่งไม่ขัดหรือแย้งกับ โครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว ข้อ 10 สมาชิกป่าชายเลนสำหรับชุมชน ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ ( 1 ) มีภูมิลำเนาอยู่ในชุมชนหรือได้รับการรับรองจากผู้นาท้องถิ่น ว่ามีถิ่นที่อยู่ในชุมชนมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 6 เดือน ( 2 ) มีสัญชาติไทย ( 3 ) อายุไม่ต่ากว่า 15 ปีบริบูรณ์ ( 4 ) เป็นผู้สมัครใจที่จะอาสาดาเนินกิจกรรมทางด้านอนุรักษ์ สงวน คุ้มครอง และฟื้นฟู ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ( 5 ) สมาชิก จะพ้นจากตาแหน่งเมื่อ 1 ) ตาย 2 ) ลาออก 3 ) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ 4 ) ได้รับโทษจาคุกโดยคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุก เว้นแต่เป็นโทษสาหรับความผิด ที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ 5 ) คณะกรรมการมีมติให้ออก หมวด 2 การจัดตั้งโครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน ข้อ 11 พื้นที่ที่กำหนดให้เป็นโครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน ต้องเป็นพื้นที่ป่าหรือที่ดินอื่นใด ที่เป็นป่าชายเลนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ข้อ 12 โครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชนที่จัดตั้งขึ้น ต้องมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) เพื่อประโยชน์ในการควบคุม ดูแล รักษา ปลูก ฟื้นฟู หรือบำรุงป่า เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ ชุมชนได้ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ( 2 ) เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน รวมทั้งพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์น้ำ พันธุ์สัตว์ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ และสภาพแวดล้อม ( 3 ) เพื่อปลูก ฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนในเขตป่าชายเลนสำหรับชุมชน ให้มีความสมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต ( 4 ) เพื่อจัดการป่าชายเลนสำหรับชุมชนให้มีการใช้ประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืนตามความเหมาะสม กับสภาพพื้นที่ตามที่คณะกรรมการกำหนด ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 128 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
( 5 ) เพื่อการส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณีที่หลากหลายของชุมชน ในการสงวน การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน ( 6 ) เพื่อประโยชน์อื่น ๆ ที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย ระเบียบ กฎ กติกา ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง ข้อ 13 กระบวนการจัดทำโครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน 13.1 พนักงานเจ้าหน้าที่สำรวจและกาหนดพื้นที่ป่าชายเลนเป้าหมายการดาเนินโครงการ ทั้งในส่วนที่เป็นป่าชุมชนเดิมที่เคยได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ และในพื้นที่ใหม่ที่มีความเหมาะสม 13.2 พนักงานเจ้า หน้าที่ ผู้นาชุมชน และราษฎรในชุมชนจัดประชุมอย่างเปิดเผย เพื่อชี้แจงทาความเข้าใจวัตถุประสงค์การจัดทาโครงการ โดยที่ประชุมต้องมีมติร่วมกันเกินกึ่งหนึ่งของ ผู้เข้าร่วมประชุมให้จัดทาโครงการ โดยให้แนบสาเนารายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมและภาพถ่ายการประชุม (อย่างน้ อย 2 ภาพ) เมื่อมติที่ประชุมเห็นสมควรจัดทาโครงการ ให้รับสมัครสมาชิก และสมาชิก คัดเลือกประธานคณะกรรมการและกรรมการ โดยให้แนบสาเนารายชื่อคณะกรรมการและภาพถ่าย การประชุม (อย่างน้อย 2 ภาพ) รวมถึงแผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งโครงการ พร้อมเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง เสนอหน่วยงานรับผิดชอบ 13.3 การขอจัดทำโครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน ต้องเป็นชุมชนชายฝั่งที่ขึ้นทะเบียน กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแล้ว และต้องมีสมาชิก ไม่น้อยกว่า 15 คน ซึ่งมีสภาพพื้นที่เหมาะสม โดยให้ประธานคณะกรรมการป่ำชายเลนสำหรับชุมชนหรือผู้ที่ได้รับมอบอานาจยื่นแบบคำขอจัดทำโครงการ ป่าชายเลนสำหรับชุมชน ตามแบบ ปลช.1 การยื่นคาขอเข้าร่วมโครงการให้ยื่นได้ที่ 1) สานักงานทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง 2) ศูนย์บริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลน และ 3) ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ในท้องที่ที่ป่านั้นตั้งอยู่ 13.4 เมื่อได้รับคำขอตามข้อ 13.3 แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ร่วมกับผู้แทนชุมชน ดำเนินการตรวจสอบสภาพภูมิประเทศจริง ข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ให้มีความถูกต้อง ชัดเจน โดยประธานคณะกรรมการหรือผู้ได้รับมอ บหมายเป็นผู้นาตรวจ และให้ราษฎรในชุมชนเป็นพยาน พร้อมทั้งจัดทำแผนที่แสดงขอบเขตหรือพื้นที่โครงการ และให้เหตุผลประกอบการจัดทารายงาน ตามแบบ ปลช.2 เสนอหน่วยงานที่รับผิดชอบ 13.5 หลังจากดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ ตามแบบ ปลช.2 แล้ว ให้จัดทำ แผนการจัดการป่าชายเลนสาหรับชุมชน และจัดทาแผนการจัดการ/โครงการป่าชายเลนสาหรับชุมชน ตามแบบ ปลช.3 แล้วให้ผู้อานวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนในพื้นที่ตรวจสอบ เมื่อเห็นว่า ครบถ้วนถูกต้อง ให้เสนอผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้ นที่รับผิดชอบลงนาม ในฐานะผู้เสนอโครงการ และรวบรวมเอกสารฉบับจริงที่เกี่ยวข้อง เสนอผู้อานวยการกองอนุรักษ์ ทรัพยากรป่าชายเลนพิจารณาให้ความเห็น เพื่อเสนอรองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้ความเห็นชอบ และเสนอให้อธิบดีพิจารณาอนุมัติโครงการ พร้อมสั่งการใ ห้เจ้าหน้าที่ร่วมปฏิบัติงาน ทำหน้าที่หัวหน้าโครงการ โดยมีกำหนดระยะเวลาดาเนินการ 10 ปี นับตั้งแต่วันที่อธิบดีอนุมัติโครงการ ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 128 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
13.6 ภายหลังจากที่ได้รับการอนุมัติโครงการ ให้เจ้าหน้าที่ร่วมกับคณะกรรมการ และสมาชิกดาเนินโครงการตามแผนงานและกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติ และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน ตามแบบ ปลช.4 รายงานให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทราบ ภายใน 30 วันหลังสิ้นสุด ปีงบประมาณนั้น ๆ พร้อมภาพถ่ายกิจกรรม และรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน ที่หน่วยงาน ปีละ 1 ครั้ง ข้อ 14 การต่ออายุโครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน เมื่อคณะกรรมการมีมติให้มีการขอต่ออายุโครงการ ให้ประธานคณะกรรมการยื่นหนังสือ เพื่อต่ออายุโครงการ ภายใน 90 วันก่อนวันครบกำหนดระยะเวลาดาเนินโครงการ ตามแบ บ ปลช.5 ข้อ 15 การสิ้นสุดโครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน 15.1 ครบกำหนดระยะเวลาดาเนินโครงการ 15.2 การสิ้นสุดโครงการก่อนครบกำหนดระยะเวลาดาเนินโครงการ 15.2.1 กรณีคณะกรรมการ/สมาชิก ขอยกเลิกโครงการ ให้ดาเนินการ ดังนี้ 1 ) ประธานคณะกรรมการป่าชายเลนสาหรับชุมชน เชิญกรรมการ และสมาชิกประชุมร่วมกัน พร้อมลงชื่อเป็นหลักฐาน โดยมีมติให้ยกเลิกโครงการ 2 ) จัดทำหนังสือ โดยมอบหมายให้ผู้แทนชุมชนยื่นเสนอผ่าน เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบตามลำดับ 3 ) ให้หน่วยงานรับผิดชอบรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ระบุเหตุผล ความจำเป็น พร้อมความเห็นเสนออธิบดี เพื่อพิจารณายกเลิกโครงการ 15.2.2 กรณีส่วนราชการขอยกเลิกโครงการ ด้วยเหตุผลว่า การดาเนินโครงการ มีสิ่งบ่งชี้ว่าไม่เป็นไปตามที่อธิบดีอนุมัติ และก่อให้เกิดความเสียหายต่อป่าชายเลนและสภาพแวดล้อม ความสงบเรียบร้อยของชุมชน ให้ดาเนินการ ดังนี้ 1 ) รายงานอธิบดี เพื่อสั่งการให้หน่วยงานรับผิดชอบ ประสาน คณะกรรมการ ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ได้ข้อสรุปพร้อมข้อเสนอแนะ 2 ) หากมีข้อเสนอร่วมกันว่าสมควรยกเลิกโครงการ ให้รวบรวมเอกสาร ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเสนออธิบดี เพื่อพิจารณายกเลิกโครงการ ข้อ 16 เมื่อคณะกรรมการ/สมาชิก ร้องขอให้ปรับปรุงแก้ไขโครงการในประเด็น ซึ่งเป็นสาระสาคัญ ของโครงการหรือมีเหตุผลความจาเป็นอย่างยิ่ง เช่น การเปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ดาเนินโครงการ (เพิ่ม/ลดจำนวนแปลง จำนวนเนื้อที่โครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน) หรือการดาเนินการใด ๆ นอกเหนือจาก ที่อธิบดีอนุมัติไว้ในโครงการแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขโครงการ ตามแบบ ปลช.3 ดังนี้ 1 ) หน่วยงานที่รับผิดชอบพิจารณาความเหมาะสมและให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดาเนินการ ปรับปรุงแก้ไขโครงการ เสนออธิบดีเพื่ออนุมัติแก้ไขโครงการ ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 128 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
2 ) โครงการที่ปรับปรุงแก้ไข จะสิ้นสุดระยะเวลาดาเนินการเท่ากับระยะเวลา ตามโครงการเดิมที่ได้รับอนุมัติ หมวด 3 การจัดการโครงการป่ำชายเลนสำหรับชุมชน ข้อ 17 ให้คณะกรรมการร่วมกับสมาชิกป่าชายเลนชุมชน ดาเนินการ ดังนี้ ( 1 ) ดาเนินโครงการตามแผนงานและกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติ และมาตรการที่กาหนด ( 2 ) ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการจัดให้มีหลักเขต ป้าย หรือเครื่องหมายอื่น ๆ ( 3 ) ดูแล รักษา บารุง ปลูก ฟื้นฟู ส่งเสริมการวิจัย ศึกษาเรียนรู้ สร้างจิตสานึกเกี่ยวกับ การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ป่าชายเลนสำหรับชุมชน ( 4 ) ร่วมกับเจ้าหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่กาหนดมาตรการในการสงวน การอนุรักษ์ และ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตามความเหมาะสมแก่สภาพพื้นที่นั้น ( 5 ) แจ้งเบาะแสการบุกรุกทาลายทรัพยากรป่าชายเลน และช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีที่มีการจับกุมปราบปรามผู้กระทำความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 ในพื้นที่ป่าชายเลนสำหรับชุมชน ( 6 ) การดาเนินการใด ๆ ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ โครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน ( 7 ) การดาเนินกิจกรรมอื่นใดที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการ ที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย ระเบียบ กฎ กติกา ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง หมวด 4 การควบคุมดูแลพื้นที่โครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน ข้อ 18 ภายในพื้นที่ป่าชายเลนสำหรับชุมชน ห้ามมิให้บุคคลใดกระทำการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ยึดถือ ครอบครอง หรือใช้เป็นที่อยู่อาศัย ( 2 ) ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ขุดหาแร่ ล่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามกฎหมาย ว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าหรือกระทาการด้วยป ระการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียสภาพป่าชายเลน หรือระบบนิเวศ เว้นแต่เป็นการกระทำของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อประโยชน์ในการควบคุม ดูแล ปลูก ฟื้นฟู บำรุงรักษา และป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายแก่พื้นที่โครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 128 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
( 3 ) ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง เว้นแต่ดาเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อประโยชน์ในการควบคุม ดูแล รักษา หรือบำรุงป่าชายเลน ประกาศ ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 256 6 อภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 128 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
แบบ ปลช .1 คําขอจัดทําโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน เขียนที่ วันที่ เดือน พ . ศ . ข้าพเจ้า ตําแหน่ง อายุ ปี สัญชาติ ภูมิลําเนาอยู่ชุมชน / หมู่บ้าน เลขที่ หมู่ที่ . ตําบล อําเภอ จังหวัด โทร . ขอยื่นคําขอจัดทําโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชนต่อกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดังมีข้อความต่อไปนี้ 1. ข้าพเจ้าขอจัดทําโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชนในบริเวณ ( ระบุประเภทที่ดิน ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติ หรือ ป่าชายเลนในความรับผิดชอบของกรม ทช .) หมู่ที่ . ตําบล อําเภอ จังหวัด เนื้อที่ ไร่ งาน ตารางวา มีอาณาเขตโดยสังเขปดังนี้ ด้านทิศเหนือ จด . ด้านทิศตะวันออก จด . ด้านทิศใต้ จด . ด้านทิศตะวันตก จด . 2. ในการยื่นคําขอนี้ ข้าพเจ้าเป็นผู้แทนของชุมชน ดังต่อไปนี้ 2.1 ชื่อชุมชน / หมู่บ้าน หมู่ที่ ตําบล อําเภอ . 2.2 ชื่อชุมชน / หมู่บ้าน หมู่ที่ ตําบล อําเภอ . 2.3 ชื่อชุมชน / หมู่บ้าน หมู่ที่ ตําบล อําเภอ . รวม หมู่บ้าน 3. ข้าพเจ้าขอรับรองว่าจะเป็นผู้นําหรือมอบให้ผู้แทนเป็นผู้นําเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบ สภาพป่าในพื้นที่ที่ขอจัดทําโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน ตามวัน เวลาที่เจ้าหน้าที่ได้นัดหมาย 4. เมื่อข้าพเจ้าได้รับแจ้งการอนุมัติให้จัดทําโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชนแล้ว ขอรับรอง ว่าจะร่วมกับสมาชิกในชุมชนแห่งนี้จัดการป่าชายเลน โดยดําเนินโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และ ข้อบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องภายใต้เงื่อนไขตามที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งกําหนดให้ถูกต้อง ทุกประการ 5. พร้อมกับคําขอนี้ ข้าพเจ้าได้แนบหลักฐานต่างๆ มาด้วย ดังนี้ 5.1 สําเนาบัตรประจําตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเอกสารรับรองความเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ( กรณีประธานคณะกรรมการเป็นผู้ยื่นคําขอ ให้แนบสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนและหลักฐานรับรองแสดง ความเป็นประธานคณะกรรมการ ) 5.2 สําเนาทะเบียนบ้าน 5.3 หนังสือร้องขอเข้าร่วมจัดทําโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน ซึ่งสมาชิกมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีภูมิลําเนาอยู่ในชุมชนหรือได้รับการรับรองจากผู้นําท้องถิ่น ว่ามีถิ่นที่อยู่ในชุมชนมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 6 เดือน จํานวนตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป ร่วมกันลงชื่อ
- 2 - 5.4 สําเนาเอกสารหลักฐานหรือรายงานการประชุมของราษฎรในชุมชนหรือหมู่บ้าน แห่งนั้นๆ พร้อมภาพถ่ายสีประกอบอย่างน้อย 2 รูป 5.5 แผนที่สังเขปแสดงบริเวณพื้นที่โครงการ มีอาณาเขตหรือเขตติดต่อบริเวณข้างเคียง อนึ่ง เมื่อได้รับการอนุมัติโครงการและดําเนินการไปแล้ว แต่ต่อมามีการตรวจสอบและปรากฏว่า การดําเนินการโครงการไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือกิจกรรมที่กําหนดและก่อให้เกิดความเสียหายต่อป่าชาย เลนและสภาพแวดล้อม ขอให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งพิจารณาดําเนินการยกเลิกโครงการตามที่ เห็นสมควรต่อไป ลงชื่อ ผู้ยื่นคําขอ ( ) ตําแหน่ง หมายเหตุ : 1. กรณีพื้นที่ดําเนินโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน มีมากกว่า 1 ชุมชน / หมู่บ้าน ชุมชนสามารถ ร่วมกันหรือแยกกันยื่นคําขออนุญาตจัดทําโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชนได้ กรณีแยกกัน ให้ทําความตกลงร่วมกันเกี่ยวกับพื้นที่ที่ขอจัดทําโครงการก่อน 2. กรณีมีการยื่นคําขอจัดทําโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชนในพื้นที่ป่าแห่งเดียวกันมากกว่า 1 คําขอ โดยแต่ละคําขอระบุเขตป่าชายเลนที่จะขอจัดทําโครงการซ้อนพื้นที่กันทั้งหมดหรือ บางส่วน ให้หน่วยงานรับผิดชอบระงับการพิจารณาคําขอจัดทําโครงการที่มีพื้นที่ซ้อนกันนั้น และแจ้งให้ผู้ยื่นจัดทําโครงการดังกล่าว ทําความตกลงร่วมกันเกี่ยวกับพื้นที่ที่ขอจัดทําโครงการ
หนังสือร้องขอเข้าร่วมจัดทําโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน แนบท้ายคําขออนุญาตจัดทําโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน ( แบบ ปลช .1) วันที่ เดือน พ . ศ . เรียน ผู้อํานวยการสํานักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ …/ ผอ . ศูนย์บริหารจัดการทรัพยากร ป่าชายเลนจังหวัด / ผอ . ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ ด้วยข้าพเจ้าผู้มีรายชื่อท้ายหนังสือนี้ เป็นผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีภูมิลําเนาอยู่ใน ท้องที่ชุมชน / หมู่บ้านแห่งนี้ และมีศักยภาพที่สามารถเข้าไปดูแลรักษาป่าที่จะขอจัดทําโครงการป่าชายเลน สําหรับชุมชน จํานวนตั้งแต่ 15 คน ขึ้นไป ได้ร่วมกันลงลายมือชื่อร้องขอจัดทําโครงการป่าชายเลนสําหรับ ชุมชนในบริเวณ ชุมชน / หมู่บ้าน หมู่ที่ ตําบล . อําเภอ จังหวัด จึงเรียนมาเพื่อโปรดดําเนินการต่อไป ลําดับที่ ชื่อ - นามสกุล เลขประจําตัวประชาชน อายุ ลายมือชื่อ หมายเหตุ : หากผู้ประสงค์ลงชื่อร่วมกันร้องขอเข้าร่วมจัดทําโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชนมีจํานวนมาก สามารถสร้างตารางเพิ่มเติมได้
แบบ ปลช .2 รายงานการตรวจสอบพื้นที่ตามคําขอจัดทําโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน 1. ชื่อผู้ยื่นคําขอ ตําแหน่ง อายุ ปี สัญชาติ ภูมิลําเนาอยู่ชุมชน / หมู่บ้าน เลขที่ . หมู่ที่ ตําบล อําเภอ จังหวัด . 2. ค่าพิกัดหมู่บ้านที่ขอจัดทําโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน ( ให้จับค่าพิกัดที่ทําการผู้ใหญ่บ้าน ) 2.1 ชุมชน / หมู่บ้าน หมู่ที่ ค่าพิกัด . 2.2 ชุมชน / หมู่บ้าน ( ถ้ามี ) หมู่ที่ ค่าพิกัด . 2.3 ชุมชน / หมู่บ้าน ( ถ้ามี ) หมู่ที่ ค่าพิกัด . 3. พื้นที่ดําเนินการ พื้นที่ป่าชายเลนในความรับผิดชอบของกรม ทช . 3.1 ป่าสงวนแห่งชาติป่า . 3.2 ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 4. ที่ตั้งพื้นที่ดําเนินการ ชุมชน / หมู่บ้าน หมู่ที่ ตําบล . อําเภอ จังหวัด ( ค่าพิกัด GPS ป่าชายเลนสําหรับชุมชน ควรจับทุกมุมของพื้นที่ เพื่อความชัดเจนของข้อมูลแผนที่ที่จะต้องจัดทําเป็น “ หนังสือแสดงโครงการป่าชายเลน สําหรับชุมชน ” และควรมีค่าพิกัดอย่างน้อย 4 จุด 4 มุม ) ได้แก่ ( แปลงที่ 1 เนื้อที่ ไร่ งาน ตารางวา ( กรณีจัดทําโครงการมากกว่า 1 แปลง ให้ระบุค่าพิกัดเป็นรายแปลง ค่าพิกัดสามารถทําเป็นเอกสารแนบได้ ) จุดที่ 1 พิกัด . จุดที่ 2 พิกัด . จุดที่ 3 พิกัด . จุดที่ 4 พิกัด . จุดที่ 5 พิกัด . จุดที่ 6 พิกัด . 5. เนื้อที่ ไร่ งาน ตารางวา 6. อาณาเขตพื้นที่ ด้านทิศเหนือ จด . ด้านทิศตะวันออก จด . ด้านทิศใต้ จด . ด้านทิศตะวันตก จด . 7. ลักษณะภูมิประเทศ . . 8. สภาพป่า .
- 2 - 9. การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ . 10. ทําการตรวจสอบสภาพพื้นที่ป่าเมื่อวันที่ . 11. แนบภาพถ่ายสี ( ไม่น้อยกว่า 4 ภาพต่อ 1 แปลง ภาพถ่ายระบุพิกัด ) 12. แผนที่ระวางของกรมแผนที่ทหาร มาตราส่วน 1 : 50,000 ที่มีหมายเลขแสดงค่าพิกัดกริด ชัดเจนพร้อมรายละเอียดเลขระวางและแสดงรูปแปลงจุดที่ตั้ง หากดําเนินการมากกว่า 1 แปลง ให้นําทุกแปลง ใส่ในแผนที่แผ่นเดียวกันทั้งหมด ใส่สัญลักษณ์หมายเลขแปลงที่ 1 แปลงที่ 2 โดยผ่านการตรวจสอบจาก เจ้าหน้าที่ในพื้นที่นั้นๆ ลงนามกํากับด้วย 13. กรณีพื้นที่โครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชนอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แนบสําเนาแผนที่ ท้ายกฎกระทรวง พร้อมระบุจุดที่ตั้งโครงการ 14. ความเห็นของผู้ตรวจสอบสภาพพื้นที่ป่า ให้ระบุว่า ( เห็นควรให้จัดทําโครงการป่าชายเลน สําหรับชุมชน ) . ลงชื่อ ผู้นําตรวจ * ลงชื่อ ผู้ตรวจสอบ ** ( ) ( ) ตําแหน่ง ตําแหน่ง ลงชื่อ ผู้ร่วมตรวจสอบ *** ลงชื่อ ผู้ร่วมตรวจสอบ **** ( ) ( ) ตําแหน่ง ตําแหน่ง ลงชื่อ พยาน ***** ลงชื่อ พยาน ***** ( ) ( ) ตําแหน่ง ตําแหน่ง หมายเหตุ * ประธานคณะกรรมการ ** ข้าราชการที่ได้รับมอบหมาย *** ข้าราชการ / ลูกจ้างประจํา / พนักงานราชการของหน่วยงานรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย ให้ร่วมปฏิบัติ **** ผู้แทนชุมชน ***** ราษฎรในชุมชน / หมู่บ้าน
แบบ ปลช .3 โครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน ชุมชน / หมู่บ้าน หมู่ที่ ตําบล อําเภอ จังหวัด . 1. ชื่อโครงการ โครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน . 2. ที่ตั้งโครงการ ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ชุมชน / หมู่บ้าน หมู่ที่ . ตําบล อําเภอ จังหวัด . 3. พื้นที่ดําเนินโครงการ ป่าชายเลนในความรับผิดชอบของกรม ทช . รวมทั้งสิ้น แปลง เนื้อที่ ไร่ ดังนี้ ป่าสงวนแห่งชาติป่า แปลงที่ เนื้อที่ ไร่ ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 แปลงที่ เนื้อที่ ไร่ 4. หลักการและเหตุผล ด้วย ชุมชน / หมู่บ้าน . มีความประสงค์ที่จะให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและฟื้นฟูป่าชายเลน เพื่อให้ป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์ เกิดประโยชน์ต่อชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการป่าชายเลนร่วมกับ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน จึงได้ร่วมกันจัดทําโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน เสนอกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อขออนุมัติให้เจ้าหน้าที่ร่วมกับชุมชนดําเนินโครงการดังกล่าว โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้การสนับสนุน และร่วมดําเนินการเพื่อให้ทรัพยากร ป่าชายเลนในท้องถิ่นเกิดความอุดมสมบูรณ์ และเกิดประโยชน์กับชุมชนอย่างยั่งยืนสืบไป . 5. วัตถุประสงค์ 5.1 เพื่อประโยชน์ในการควบคุม ดูแล รักษา ปลูก ฟื้นฟูหรือบํารุงป่า เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ ชุมชน ได้ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน 5.2 เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน รวมทั้งพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์น้ํา พันธุ์สัตว์ป่าความหลากหลาย ทางชีวภาพ และสภาพแวดล้อม 5.3 เพื่อปลูก ฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนในเขตป่าชายเลนสําหรับชุมชน ให้มีความสมบูรณ์และมีความหลากหลาย ทางชีวภาพ รวมทั้งเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต 5.4 เพื่อจัดการป่าชายเลนสําหรับชุมชนให้มีการใช้ประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืนตามความเหมาะสม กับสภาพพื้นที่ 5.5 เพื่อการส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณีที่หลากหลายของชุมชน ในการสงวน การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์อย่างสมดุล และยั่งยืน 5.6… ฯลฯ …
-
2 - 6. แผนงาน / กิจกรรม ในการดําเนินโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน 6.1 ด้านเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้สมาชิกในชุมชนและบุคคลทั่วไปได้ทราบภารกิจด้านการ จัดการป่าชายเลนสําหรับชุมชน ผู้รับผิดชอบโครงการ ขอบเขตการดําเนินงาน และขอบเขตพื้นที่ป่าชายเลน สําหรับชุมชน โดยผ่านทางสื่อชนิดต่างๆ เช่น สื่อเอกสารสิ่งพิมพ์ ป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ ( ป้ายโครงการ ป่าชายเลนสําหรับชุมชน ) รวมทั้งป้ายแสดงแนวเขตป่าชายเลนสําหรับชุมชน เป็นต้น 6.2 ด้านการป้องกันรักษาป่า เพื่อเป็นการดูแลรักษาป่ามิให้ถูกบุกรุกทําลายหรือยึดทําลายโดยมนุษย์ หรือภัยธรรมชาติ ให้ทรัพยากรป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นกว่าเดิม 6.3 ด้านการบํารุงและฟื้นฟูป่า เพื่อเป็นการปรับปรุงพื้นที่ป่าที่เคยถูกบุกรุกทําลายให้มีความอุดม สมบูรณ์ขึ้น หรือเป็นการพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลนให้มีความหลากหลายทั้งจํานวนและชนิดพันธุ์พืชให้เหมาะสม เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ต่อชุมชน รวมทั้งการจัดการเพื่อให้ป่าชายเลนสําหรับชุมชนเกิดประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การจัดการเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศหรือการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ฯลฯ 6.4 ด้านการศึกษาและถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อเป็นการจัดการทรัพยากรป่าไม้ เช่น แหล่งศึกษา เรียนรู้ทางชุมชน หรือเป็นการจัดการองค์ความรู้เรื่องการบริหารจัดการป่าให้กับสมาชิกชุมชน 6.5 ด้านการจัดการ การปลูก การบํารุง เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต 6.6 ด้านอํานวยการและอื่นๆ ที่สนับสนุนการดําเนินโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน 7. ระยะเวลาดําเนินการ 7.1 กําหนดระยะเวลาดําเนินการ 10 ปี ( นับตั้งแต่วันที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอนุมัติ โครงการ ) ( วันที่ ) 7.2 โครงการที่ขอปรับปรุงแก้ไข จะสิ้นสุดระยะเวลาดําเนินการเท่ากับระยะเวลาตามโครงการเดิมที่ ได้รับอนุมัติ 8. ผู้รับผิดชอบโครงการ 8.1 ผู้รับผิดชอบหลัก 1) พนักงานเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2) คณะกรรมการ 8.2 ผู้สนับสนุน 1) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) อําเภอ / จังหวัด 4) หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ 5) หน่วยงานภาคเอกชน 9. งบประมาณ ( โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณได้จากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ ) 9.1 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 9.2 องค์การบริหารส่วนจังหวัด / องค์การบริหารส่วนตําบล / เทศบาลตําบล … 9.3 องค์กร / บริษัทเอกชน 9.4 หน่วยงานอื่นๆ
-
3 - 10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 10.1 ราษฎรในชุมชนมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากการดูแลรักษาพื้นที่โครงการป่าชายเลน สําหรับชุมชน 10.2 ทรัพยากรป่าชายเลนได้รับการดูแลรักษาโดยชุมชนให้มีความอุดมสมบูรณ์และพัฒนาป่าชายเลน สําหรับชุมชนให้ตอบสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างยั่งยืน 10.3 เกิดการบูรณาการในการบริหารจัดการ ดูแล รักษา ฟื้นฟู ทรัพยากรป่าชายเลน โดยกระบวนการ มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 11. แผนที่ประกอบโครงการ 11.1 แผนที่ระวางของกรมแผนที่ทหาร มาตราส่วน 1: 50,000 ที่มีหมายเลขแสดงค่าพิกัดกริด ชัดเจนพร้อมรายละเอียดเลขระวางและแสดงรูปแปลง ตามแบบ ปลช . 2 ( พนักงานเจ้าหน้าที่ลงนามกํากับทุกฉบับ )** 11.2 แผนที่แสดงขอบเขตป่าชายเลนสําหรับชุมชนบนแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข มาตราส่วน 1 : 4,000 ( พนักงานเจ้าหน้าที่ลงนามกํากับทุกฉบับ )** 12. ผู้เขียนโครงการ ลงชื่อ ผู้เขียนโครงการ ( ) ตําแหน่ง . ลงชื่อ ผู้ร่วมเขียนโครงการ ( ) ตําแหน่ง ( ลงชื่อ ) ผู้ร่วมเขียนโครงการ ( ) ตําแหน่ง . 13. ผู้ตรวจสอบโครงการ ( ลงชื่อ ) ผู้ตรวจสอบโครงการ ( ) ตําแหน่ง .
-
4 - 14. ผู้เสนอโครงการ ( ลงชื่อ ) ผู้เสนอโครงการ ( ) ตําแหน่ง . 15. ผู้พิจารณาโครงการ ( ลงชื่อ ) ผู้พิจารณาโครงการ ( ) ตําแหน่ง . 16. ผู้เห็นชอบโครงการ ( ลงชื่อ ) ผู้เห็นชอบโครงการ ( ) ตําแหน่ง . 17. ผู้อนุมัติโครงการ ( ลงชื่อ ) ผู้อนุมัติโครงการ ( ) ตําแหน่ง . หมายเหตุ : เนื้อหาในโครงการสามารถเพิ่มเติมแก้ไขได้
คณะกรรมการ แนบท้ายโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน ชุมชน / หมู่บ้าน หมู่ที่ ตําบล อําเภอ จังหวัด . ลําดับที่ ชื่อ - สกุล ทําหน้าที่ เบอร์โทรศัพท์ 1 ประธาน 2 รองประธาน 3 รองประธาน ( ถ้ามี ) 4 เลขานุการ 5 เหรัญญิก 6 กรรมการ 7 กรรมการ 8 กรรมการ 9 กรรมการ 10 กรรมการ 11 กรรมการ 12 กรรมการอื่น ( ถ้ามี ) 13 14 15 หมายเหตุ : 1. เอกสารฉบับนี้เป็นการแสดงโครงสร้างคณะกรรมการ ได้รับการยอมรับจากราษฎรในชุมชน เพื่อช่วยทําหน้าที่ในการดําเนินโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชนร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยแต่ละโครงการจะมีกลุ่มราษฎรเหล่านี้ร่วมสนับสนุนการดําเนินการ 2. กรณีมีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการ ให้ผู้ยื่นคําขอรวบรวมรายชื่อแจ้งสํานักงานทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่งที่ … ที่รับผิดชอบ เพื่อปรับปรุงข้อมูลแแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทราบ
แบบ ปลช .4 รายงานผลการปฏิบัติงาน 1. โครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน เนื้อที่ ไร่ 2. ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ชุมชน / หมู่บ้าน หมู่ที่ … ตําบล อําเภอ จังหวัด . 3. สรุปผลการปฏิบัติงาน . 4. ปัญหาอุปสรรคในการดําเนินงาน และแนวทางการแก้ไข . 5. ความคิดเห็น . ( ลงชื่อ ) ( ) ตําแหน่ง ผู้อํานวยการสํานักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ .
แบบ ปลช .5 แบบคําขอต่ออายุโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน ข้าพเจ้า ตําแหน่ง . อายุ ปี ที่อยู่ . มีความประสงค์ขอต่ออายุโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน . ที่ตั้งป่าชายเลนสําหรับชุมชน ชุมชน / หมู่บ้าน หมู่ที่ ตําบล . อําเภอ จังหวัด พิกัดบ้าน . โดยได้รับอนุมัติจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เมื่อ . พื้นที่ดําเนินโครงการป่าชายเลนในความรับผิดชอบของกรม ทช . รวมทั้งสิ้นแปลง . รวมเนื้อที่ ไร่ ดังนี้ ป่าสงวนแห่งชาติป่า แปลงที่ เนื้อที่ ไร่ ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 แปลงที่ เนื้อที่ ไร่ โดยส่งเอกสารประกอบการพิจารณา ตามกรณีต่างๆ ดังนี้ 1.1 กรณีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการและพื้นที่ดําเนินการ (1) แบบ ปลช .5 (2) สําเนาแบบ ปลช .3 ฉบับเดิม (3) สําเนาบัตรประจําตัวเจ้าหน้าที่รัฐหรือสําเนาบัตรประชาชนผู้ยื่นคําขอ (4) แผนที่แสดงขอบเขตป่าชายเลนสําหรับชุมชนบนแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข มาตราส่วน 1 : 4,000 (5) แบบ ปลช .4 1.2 กรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ( หรือแบบ ปลช .3 เดิมชํารุดเสียหาย ) แต่ไม่เปลี่ยนแปลงพื้นที่ดําเนินการ (1) แบบ ปลช .5 (2) สําเนาแบบ ปลช .3 ฉบับเดิม (3) สําเนาบัตรประจําตัวเจ้าหน้าที่รัฐหรือสําเนาบัตรประชาชนผู้ยื่นคําขอ (4) แผนที่แสดงขอบเขตป่าชายเลนสําหรับชุมชนบนแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข มาตราส่วน 1 : 4,000 (5) แบบ ปลช .4 1.3 กรณีมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ดําเนินการ เพิ่มหรือลดจํานวนแปลงป่าชายเลนสําหรับชุมชน เพิ่มหรือลดขนาดพื้นที่ป่าชายเลนสําหรับชุมชน (1) แบบ ปลช .5 (2) แบบ ปลช .5.1 (3) แบบ ปลช .5.2 (4) สําเนาบัตรประจําตัวเจ้าหน้าที่รัฐหรือสําเนาบัตรประชาชนผู้ยื่นคําขอ
-
2 - (5) แผนที่ระวางมาตราส่วน 1 : 50,000 (6) แผนที่แสดงขอบเขตป่าชายเลนสําหรับชุมชนบนแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข มาตราส่วน 1 : 4,000 (7) แบบ ปลช .4 กําหนดระยะเวลาดําเนินการ 10 ปี ( นับตั้งแต่วันที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอนุมัติ ) ( วันที่ ) งบประมาณ ( โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณได้จากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ ) 1. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2. องค์การบริหารส่วนจังหวัด / องค์การบริหารส่วนตําบล / เทศบาลตําบล 3. องค์กร / บริษัทเอกชน 4. หน่วยงานอื่นๆ ( ลงชื่อ ) ผู้ยื่นคําขอ ( ) ตําแหน่ง . ( ลงชื่อ ) พนักงานเจ้าหน้าที่ ( ) ตําแหน่ง ( ลงชื่อ ) ผู้ตรวจสอบโครงการ ( ) ตําแหน่ง ( ลงชื่อ ) ผู้เสนอโครงการ ( ) ตําแหน่ง
-
3 - ( ลงชื่อ ) ผู้พิจารณาโครงการ ( ) ตําแหน่ง ( ลงชื่อ ) ผู้เห็นชอบโครงการ ( ) ตําแหน่ง ( ลงชื่อ ) ผู้อนุมัติโครงการ ( ) ตําแหน่ง
แบบ ปลช .5.1 โครงการป่าชุมชนที่ขอต่ออายุ 1. ชื่อโครงการ . 2. ที่ตั้งโครงการ 3. พื้นที่ดําเนินโครงการ ป่าชายเลนในความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งสิ้น แปลง เนื้อที่ ไร่ ดังนี้ ป่าสงวนแห่งชาติป่า แปลงที่ เนื้อที่ ไร่ ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 แปลงที่ เนื้อที่ ไร่ 4. หลักการและเหตุผล ด้วย ( ระบุชื่อชุมชน / หมู่บ้าน หมู่ที่ อําเภอ จังหวัด ) . ได้รับอนุมัติโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชนจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ปัจจุบันสิ้นสุดระยะเวลา ดําเนินโครงการแล้ว โดยตลอดระยะเวลาดําเนินโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชนมาจนถึงปัจจุบัน ราษฎร รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ร่วมกันดูแลรักษาและฟื้นฟูป่าไม้ให้มีความอุดม สมบูรณ์ ช่วยดูแลรักษาระบบนิเวศของชุมชน อีกทั้งราษฎรยังได้รับประโยชน์จากการมีส่วนร่วมในการดูแล รักษาป่าชายเลนสําหรับชุมชน ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าชายเลนอย่างต่อเนื่อง จึงได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจัดทําโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน เพื่อเสนอกรมทรัพยากรทางทะเลและพิจารณาต่ออายุโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน เพื่อให้ทรัพยากร ป่าชายเลนได้รับการดูแลรักษาจากชุมชนเกิดความอุดมสมบูรณ์ และเกิดประโยชน์กับชุมชนอย่างยั่งยืนสืบไป 5. วัตถุประสงค์ 5.1 เพื่อประโยชน์ในการควบคุม ดูแล รักษา ปลูก ฟื้นฟูหรือบํารุงป่า เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ ชุมชน ได้ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน 5.2 เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน รวมทั้งพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์น้ํา พันธุ์สัตว์ป่า ความหลากหลาย ทางชีวภาพ และสภาพแวดล้อม 5.3 เพื่อปลูก ฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนในเขตป่าชายเลนสําหรับชุมชน ให้มีความสมบูรณ์และมีความหลากหลาย ทางชีวภาพ รวมทั้งเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต 5.4 เพื่อจัดการป่าชายเลนสําหรับชุมชนให้มีการใช้ประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืนตามความเหมาะสม กับสภาพพื้นที่ 5.5 เพื่อการส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณีที่หลากหลายของชุมชน ในการสงวน การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์อย่างสมดุล และยั่งยืน
-
2 - 6. แผนงาน / กิจกรรม ในการดําเนินโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน 6.1 ด้านเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้สมาชิกในชุมชนและบุคคลทั่วไปได้ทราบภารกิจด้านการ จัดการป่าชายเลนสําหรับชุมชน ผู้รับผิดชอบโครงการ ขอบเขตการดําเนินงาน และขอบเขตพื้นที่ป่าชายเลน สําหรับชุมชน โดยผ่านทางสื่อชนิดต่างๆ เช่น สื่อเอกสารสิ่งพิมพ์ ป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ ( ป้ายโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน ) รวมทั้งป้ายแสดงแนวเขตป่าชายเลนสําหรับชุมชน เป็นต้น 6.2 ด้านการป้องกันรักษาป่า เพื่อเป็นการดูแลรักษาป่ามิให้ถูกบุกรุกทําลายหรือยึดทําลายโดยมนุษย์ หรือภัยธรรมชาติ ให้ทรัพยากรป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นกว่าเดิม 6.3 ด้านการบํารุงและฟื้นฟูป่า เพื่อเป็นการปรับปรุงพื้นที่ป่าที่เคยถูกบุกรุกทําลายให้มีความอุดม สมบูรณ์ขึ้น หรือเป็นการพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลนให้มีความหลากหลายทั้งจํานวนและชนิดพันธุ์พืชให้เหมาะสม เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ต่อชุมชน รวมทั้งการจัดการเพื่อให้ป่าชายเลนสําหรับชุมชนเกิดประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การจัดการเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศหรือการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ฯลฯ 6.4 ด้านการศึกษาและถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อเป็นการจัดการทรัพยากรป่าไม้ เช่น แหล่งศึกษาเรียนรู้ ทางชุมชน หรือเป็นการจัดการองค์ความรู้เรื่องการบริหารจัดการป่าให้กับสมาชิกชุมชน 6.5 ด้านการจัดการ การปลูก การบํารุง เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต 6.6 ด้านอํานวยการและอื่นๆ ที่สนับสนุนการดําเนินโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน 7. ผู้รับผิดชอบโครงการ 7.1 ผู้รับผิดชอบหลัก 1) พนักงานเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2) คณะกรรมการ 7.2 ผู้สนับสนุน 1) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) อําเภอ / จังหวัด 4) หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ 5) หน่วยงานภาคเอกชน 8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 8.1 ราษฎรในชุมชนมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากการดูแลรักษาป่าชายเลนสําหรับชุมชน 8.2 ทรัพยากรป่าชายเลนได้รับการดูแลรักษาโดยชุมชนให้มีความอุดมสมบูรณ์และพัฒนาป่าชายเลน สําหรับชุมชนให้ตอบสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างยั่งยืน 8.3 เกิดการบูรณาการในการบริหารจัดการ ดูแล รักษา ฟื้นฟู ทรัพยากรป่าชายเลน โดยกระบวนการ มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ( ลงชื่อ ) ผู้เขียนโครงการ ( ) ตําแหน่ง .
-
3 - ( ลงชื่อ ) ผู้ร่วมเขียนโครงการ ( ) ตําแหน่ง . ( ลงชื่อ ) ผู้ร่วมเขียนโครงการ ( ) ตําแหน่ง 3
แบบ ปลช .5.2 รายงานการตรวจสอบพื้นที่ตามคําขอต่ออายุโครงการป่าชุมชน 1. โครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน . 2. ที่ตั้ง . ค่าพิกัดหมู่บ้าน 3. พื้นที่ดําเนินโครงการ ป่าชายเลนในความรับผิดชอบของกรม ทช . รวมทั้งสิ้น . แปลง เนื้อที่ ไร่ ดังนี้ ป่าสงวนแห่งชาติป่า แปลงที่ เนื้อที่ ไร่ ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 แปลงที่ เนื้อที่ ไร่ 4. ค่าพิกัดขอบเขตพื้นที่ดําเนินโครงการป่าชายเลนสําหรับชุมชน 5. ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ด้านทิศเหนือ จด . ด้านทิศตะวันออก จด . ด้านทิศใต้ จด . ด้านทิศตะวันตก จด . 6. ลักษณะภูมิประเทศ 7. สภาพพื้นที่ป่าและลักษณะทางนิเวศวิทยา 8. ความเห็นของเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบสภาพพื้นที่ ( ให้ระบุว่าเห็นควรให้ต่ออายุโครงการป่าชุมชน ) 9. ทําการตรวจสอบสภาพพื้นที่ เมื่อวันที่ .
- 2 - ลงชื่อ ผู้นําตรวจ * ลงชื่อ ผู้ตรวจสอบ ** ( ) ( ) ตําแหน่ง ตําแหน่ง ลงชื่อ ผู้ร่วมตรวจสอบ *** ลงชื่อ ผู้ร่วมตรวจสอบ **** ( ) ( ) ตําแหน่ง ตําแหน่ง ลงชื่อ พยาน ***** ลงชื่อ พยาน ***** ( ) ( ) ตําแหน่ง ตําแหน่ง หมายเหตุ * ประธานคณะกรรมการ ** ข้าราชการที่ได้รับมอบหมาย *** ข้าราชการ / ลูกจ้างประจํา / พนักงานราชการของหน่วยงานรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย ให้ร่วมปฏิบัติ **** ผู้แทนชุมชน ***** ราษฎรในชุมชน / หมู่บ้าน