ข้อบังคับ ก.อ.ร. ว่าด้วยการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. 2566
ข้อบังคับ ก.อ.ร. ว่าด้วยการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. 2566
ข้อบังคับ ก.อ.ร. ว่าด้วยการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. 2566 โดยที่ข้อบังคับ ก.อ.ร. ว่าด้วยการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์และการเสนอเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. 2561 ได้ประกาศใช้มาเป็นเวลาพอสมควรทาให้ทราบสภาพปัญหา และแนวทางที่สามารถ ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 ที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงองค์ป ระกอบของ คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ อาศัยอานาจตามความในมาตรา 17/4 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ (ก.อ.ร.) จึงออกข้อบังคับ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับ ก.อ.ร. ว่าด้วยการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อบังคับ ก.อ.ร. ว่าด้วยการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์และ การเสนอเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. 2561 ข้อ 4 ในข้อบังคับนี้ “ ก.อ.ร. ” หมายความว่า คณะกรรมการพิจารณำวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ “ สานักงาน ” หมายความว่า สานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม “ คณะอนุกรรมการ ก.อ.ร. ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ และร้องทุกข์ ที่ ก.อ.ร. แต่งตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ ก.อ.ร. มอบหมาย “ เจ้าหน้าที่ ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนสามัญ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ที่ปฏิบัติงานในกองกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ข้อ 5 ให้ประธาน ก.อ.ร. เป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้ ก.อ.ร. มีอานาจตีความ และวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับตามข้อบังคับนี้ ้ หนา 146 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 121 ง ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤษภาคม 2566
ข้อ 6 ในกรณีที่ข้อบังคับนี้ มิได้กาหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้นาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด 1 บททั่วไป ข้อ 7 การร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่กำหนดในข้อบังคับ ก.อ.ร. นี้ ข้อ 8 ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา มีสิทธิร้องทุกข์ต่อ ก.อ.ร. ภายใต้หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับ ก.อ.ร. ในกรณีดังต่อไปนี้ (1 ) ไม่พอใจในผลการพิจารณาวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา หรือ (2) สภาสถาบันอุดมศึกษามิได้พิจารณาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในกาหนดระยะเวลาที่กำหนด ไว้ในข้อบังคับที่ออกตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 แก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน แล้วแต่กรณี ข้อ 9 การร้องทุกข์เป็นเรื่องเฉพาะตัวต้องกระทาด้วยตนเอง จะร้องทุกข์สาหรับผู้อื่นไม่ได้ และให้ทาคาร้องทุกข์เป็นหนังสือถึงป ระธาน ก.อ.ร. ภายในกาหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผล การพิจารณาวินิจฉัย หรือวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาการพิจารณาตามข้อ 8 แล้วแต่กรณี คำร้องทุกข์ ให้ใช้ถ้อยคำสุภาพและอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ ตาแหน่ง สังกัด และที่อยู่สำหรับการติดต่อเกี่ยวกับการร้องทุกข์ของผู้ร้องทุกข์ (2) วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาของสภาสถาบันอุดมศึกษา หรือวันที่พ้นกาหนดการพิจารณา ของสภาสถาบันอุดมศึกษา (3) การปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ (4) ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ผู้ ร้องทุกข์เห็นว่าเป็นปัญหาของเรื่อง (5) คำขอของผู้ร้องทุกข์ (6) ลายมือชื่อของผู้ร้องทุกข์ ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์เจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บจนไม่สามารถส่งคำร้องทุกข์ด้วยตนเองได้ ผู้นั้นจะมอบหมายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งส่งคาร้องทุกข์ดังกล่าวแทนก็ได้ ทั้งนี้ การมอบหมายต้องทำเป็น ลายลักษณ์อักษร เว้นแต่ ผู้ร้องทุกข์ไม่สามารถที่จะมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรได้ โดยมีหลักฐาน ประกอบ กรณีที่ ก.อ.ร. เห็นว่าหนังสือร้องทุกข์ที่ยื่นไว้ตามวรรคหนึ่งนั้น อ่านไม่ออก อ่านไม่เข้าใจ มีสาระสาคัญไม่ครบถ้วนถูกต้อง หรือไม่ลงลำยมือชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องทุกข์ ให้เลขานุการ ก.อ.ร. แจ้งผู้ร้องทุกข์แก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าผู้ร้องทุกข์มิได้ปฏิบัติตามก็ให้มีมติไม่รับคำร้องทุกข์ ้ หนา 147 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 121 ง ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤษภาคม 2566
หากผู้ร้องทุกข์ประสงค์จะแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นการพิจารณาของ ก.อ.ร. ให้แสดง ความประสงค์ไว้ในห นังสือร้องทุกข์ หรือทำเป็นหนังสือถึงประธาน ก.อ.ร. ต่างหากก็ได้ แต่ต้องยื่นหรือ ส่งหนังสือขอแถลงการณ์ด้วยวาจาต่อสำนักงานก่อนที่ ก.อ.ร. จะเริ่มพิจารณา ข้อ 10 ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ขอแถลงการณ์ด้วยวาจา ให้ ก.อ.ร. รับฟังคำแถลงการณ์ ด้วยวาจาของผู้ร้องทุกข์ และผู้นั้นมีสิทธินาทนายความหรือที่ปรึกษาเข้ามาในกระบวนพิจารณาของ ก.อ.ร. ได้คนหนึ่ง การใดที่ทนายความหรือที่ปรึกษาได้กระทาลงต่อหน้าผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์หรือ ก.อ.ร. ให้ถือว่าเป็นการกระทาแทนผู้นั้น เว้นแต่ผู้ร้องทุกข์จะได้คัดค้านเสียในขณะนั้น และหาก ก.อ.ร. พิจารณาเห็นว่าการแถลงการณ์ด้วยวาจาไม่จำเป็นแก่การพิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์ จะให้งด การแถลงการณ์ด้วยวาจาก็ได้ หากสถาบันอุดมศึกษาหรือสภาสถาบันอุดมศึกษาจะแถลงแก้ ก็ให้มาแถลงหรือมอบหมาย เป็นหนังสือให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสานวน หรือเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้มาแถลงแก้ต่อที่ประชุม ครั้งนั้นได้ ทั้งนี้ ให้แจ้งล่วงหน้าตามควรแก่กรณี ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์หรือสถาบันอุดมศึกษาหรือสภาสถาบันอุดมศึกษามาแถลงการณ์ด้วยวาจาแล้ว ประสงค์จะยื่นเอกสารเพิ่มเติม ก.อ.ร. อาจอนุญาตให้ยื่นได้ แต่ต้องยื่นภาย ในสิบห้าวันนับแต่ วันที่มาแถลงการณ์ด้วยวาจา ข้อ 11 การร้องทุกข์ ตามข้อ 8 ให้ยื่นหนังสือร้องทุกข์พร้อมกับสำเนารับรองถูกต้อง หนึ่งฉบับให้สำนักงานหรือยื่นต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ โดยสามารถยื่นด้วยตนเอง หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ กรณีที่ผู้ร้องทุกข์ส่งหนังสือร้องทุกข์ทางไปรษณีย์ให้ถือวันที่ที่ทาการไปรษณีย์ต้นทางออกใบรับฝาก เป็นหลักฐานฝากส่ง หรือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับที่ซองหนังสือเป็นวันยื่นร้องทุกข์ ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ประสงค์จะยื่นหรือส่งคาแถลงการณ์หรือเอกสำรเพิ่มเติมให้ทาเป็นหนังสือ ถึงประธาน ก.อ.ร. หาก ก.อ.ร. พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์เรื่องนั้นเสร็จก่อน ให้คาแถลงการณ์นั้นตกไป ข้อ 12 เมื่อสำนักงานได้รับหนังสือร้องทุกข์ ให้เลขานุการ ก.อ.ร. รายงานให้ ก.อ.ร. เพื่อทราบในการประชุมครั้งถัดไป พร้อมทั้งจัดส่งสำเนาคาร้องทุกข์และแจ้งให้สถาบันอุดมศึกษา จัดส่งเอกสารให้ ก.อ.ร. เพื่อพิจารณาภายในเจ็ดวัน ดังต่อไปนี้ (1) สำเนาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ (2) รายงานการประชุมของสภาสถาบันอุดมศึกษาและคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย ในการพิ จารณาเรื่องร้องทุกข์ (3) ข้อบังคับสถาบันอุดมศึกษาที่เกี่ยวกับการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ กรณีการยื่นร้องทุกข์ต่อสถาบันอุดมศึกษา ให้สถาบันอุดมศึกษาส่งหนังสือร้องทุกข์และเอกสาร ตามวรรคหนึ่งภายในระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันได้รับคำร้องทุกข์ ข้อ 13 ก.อ.ร. จะไม่รับ พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ในกรณีดังต่อไปนี้ ้ หนา 148 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 121 ง ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤษภาคม 2566
(1) เป็นกรณีที่กฎหมายกาหนดการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยหรือคำสั่งให้ออกจากราชการ ไว้เป็นการเฉพาะ (2) เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ (3) เป็นเรื่องที่มีข้อเท็จจริงเดียวกันกับเรื่องที่เคยมีคาวินิจ ฉัยหรือการดาเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว (4) เป็นเรื่องที่ผู้ร้องทุกข์พ้นจากสภาพการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ของสถาบันอุดมศึกษานั้นไปแล้ว ข้อ 14 ให้ทาเป็นคาสั่งจาหน่ายเรื่อง โดยให้ประธาน ก.อ.ร. ลงนามแจ้งสถาบันอุดมศึกษา และผู้ร้องทุกข์ ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ผู้ร้องทุกข์ตายก่อนการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (2) ผู้ร้องทุกข์ถอนร้องทุกข์ก่อนที่ ก.อ.ร. พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์เสร็จสิ้น (3) ผู้ร้องทุกข์เพิกเฉยไม่ดาเนินการตามมติ ก.อ.ร. (4) เหตุแห่งการร้องทุกข์นั้นสิ้นสุดลง ข้อ 15 คำสั่งจำหน่ายเรื่องอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (1) ชื่อผู้ร้องทุกข์ (2) ชื่อคู่กรณีในการร้องทุกข์ (3) เหตุแห่งการออกคาสั่ง ข้อ 16 ผู้ร้องทุกข์มีสิทธิคัดค้านกรรมการ ก.อ.ร. โดยทาเป็นหนังสือแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุ แห่งการคัดค้านยื่นต่อประธาน ก.อ.ร. ภายในร ะยะเวลาร้องทุกข์ ถ้ากรรมการ ก.อ.ร. ผู้นั้นมีเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ (2) มีส่วนได้เสียในเรื่องที่ร้องทุกข์ (3) มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ร้องทุกข์ (4) มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติหรือทางการสมรสกั บบุคคลตาม (1) (2) หรือ (3) อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้องทุกข์ เมื่อประธาน ก.อ.ร. ได้รับหนังสือคัดค้าน ให้แจ้งกรรมการ ก.อ.ร. ทราบก่อนเริ่มพิจารณา วินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ เพื่อให้พิจารณาว่าสมควรถอนตัวหรือไม่ กรรมการ ก.อ.ร. ซึ่งมีกรณีตามวรรคหนึ่ง อาจขอถอนตัวจากการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ เว้นแต่การถอนตัวนั้นจะมีผลกระทบต่อ องค์ประชุม ก.อ.ร. อาจใช้ดุลพินิจในการพิจารณาขอให้กรรมการ ก.อ.ร. เข้าร่วมประชุมต่อได้ กรณีที่กรรมการ ก.อ.ร. มิได้ขอถอนตัว ให้ที่ประชุม ก.อ. ร. พิจารณาข้อเท็จจริงที่คัดค้าน ถ้าที่ประชุมมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของกรรมการเห็นว่าข้อเท็จจริงนั้นน่าเชื่อถือ ให้แจ้งกรรมการผู้นั้นทราบ และไม่ให้ร่วมพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์เรื่องนั้น เว้นแต่การให้กรรมการผู้นั้น ้ หนา 149 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 121 ง ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤษภาคม 2566
ร่วมพิจารณาวินิจ ฉัยเรื่องร้องทุกข์จะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า เพราะจะทาให้ได้ความจริงและเป็นธรรม จะอนุญาตให้ร่วมพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ด้วยก็ได้ การที่กรรมการ ก.อ.ร. ผู้ถูกคัดค้านที่ถูกสั่งไม่ให้ร่วมพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์หรือถอนตัว เพราะมีเหตุอันอาจถูกคัดค้ำนนั้น ย่อมไม่กระทบถึงการกระทาใด ๆ ที่ได้กระทาไปแล้วแม้ว่าจะได้ ดาเนินการหลังจากที่ได้มีการยื่นคาคัดค้าน ข้อ 17 ในกรณีมีเหตุผลความจำเป็น ก.อ.ร. อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ก.อ.ร. ขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะ โดยแต่ละคณะให้มีอานาจหน้าที่เป็นผู้พิจารณากลั่นกรอง ตรวจสอบ สานวนเรื่องร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แล้วเสนอต่อ ก.อ.ร. เพื่อประโยชน์ ในการปฏิบัติงานของ ก.อ.ร. หรือปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายจาก ก.อ.ร. คณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานอนุกรรมการ แต่งตั้งจากกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.อ.ร. อนุกรรมการคนหนึ่งแต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.อ.ร. และอนุกรรมการสองคนซึ่งแต่งตั้งจากเจ้าหน้าที่ในสานักงานหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ซึ่งมีความรู้ ควำมเชี่ยวชาญในเรื่องที่พิจารณาตามความจาเป็น และในกรณีที่เป็นการตรวจสอบ กลั่นกรองสานวน เรื่องร้องทุกข์ ให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวน เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ การคัดค้านอนุกรรมการ ก.อ.ร. ตามวรรคสอง ให้นาข้อ 16 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ 18 ใ ห้เลขานุการ ก.อ.ร. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเป็นผู้รับผิดชอบสำนวน เพื่อสนับสนุนการดาเนินงานของ ก.อ.ร. เกี่ยวกับการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์และปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 19 เมื่อสำนักงานได้รับเอกสารตามข้อ 1 2 จากสถาบันอุดมศึก ษาครบถ้วนแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวน สรุปสำนวนเสนอต่อ ก.อ.ร. เพื่อพิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ได้รับเอกสาร ข้อ 20 การนับระยะเวลาการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ ให้นับตั้งแต่วันที่สานักงาน ได้รับเอกสารตามข้อ 1 2 จากสถาบันอุดมศึกษาครบถ้ วนแล้ว หมวด 2 การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ ส่วนที่ 1 การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ กรณีไม่พอใจผลการพิจารณาของสภาสถาบันอุดมศึกษา ข้อ 21 ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ไม่พอใจผลการพิจารณาวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา มีสิทธิเสนอเรื่องร้องทุกข์นั้นต่อ ก.อ.ร. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในข้อบังคับนี้ โดยให้ยื่น ้ หนา 150 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 121 ง ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤษภาคม 2566
หรือส่งภายในกาหนดเวลาตามข้อ 9 และต้องเป็นประเด็นที่ได้ว่ากล่าวกันมาในชั้นการพิจารณา ของสภาสถาบันอุดมศึกษา ข้อ 22 การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ของ ก .อ.ร. ให้พิจารณาจากผลการพิจารณา วินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นเหตุแห่งร้องทุกข์นั้น และให้ ก.อ.ร. มีอำนาจ ดังนี้ (1) ให้สถาบันอุดมศึกษาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ชี้แจงข้อเท็จจริงและจัดส่งเอกสารหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม (2) ให้สภาสถาบันอุดมศึ กษาส่งผู้แทนมาให้ถ้อยคำเป็นพยานหรือชี้แจงข้อเท็จจริง (3) ให้เรียกบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษามาให้ถ้อยคาเป็นพยาน หรือชี้แจงข้อเท็จจริง และจัดส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.อ.ร. เห็นสมควร ในกรณีที่ ก.อ.ร. เห็นว่าข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการแสวงหาเพิ่ มเติมตามข้อ (1) (2) และ (3) อาจเป็นผลร้ายหรือไม่เป็นคุณแก่ผู้ร้องทุกข์ ให้เลขานุการ ก.อ.ร. มีหนังสือแจ้งผู้นั้นให้ทราบ ข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนภายในเวลาที่ ก.อ.ร. กำหนด ข้อ 23 ในกรณีที่ ก.อ.ร. มีมติตาม ข้อ 22 แล้ว ให้เลขานุการ ก.อ.ร. แจ้งมติให้ สถาบันอุดมศึกษาทราบโดยเร็ว และให้สถาบันอุดมศึกษาดาเนินการหรือปฏิบัติให้เป็นตามมตินั้น ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติจากเลขานุการ ก.อ.ร. ส่วนที่ 2 การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ กรณีสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ข้อ 24 ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์เสนอเรื่องร้องทุกข์ต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาและสภาสถาบัน อุดมศึกษา มิได้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์นั้นให้แล้วเสร็จภายในกาหนดระยะเวลาเก้าสิบวัน ผู้นั้นมีสิทธิ เสนอเรื่องร้องทุกข์ต่อ ก.อ.ร. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับนี้ โดยให้ยื่นหรือ ส่งภายในกาหนดเวลาตามข้อ 9 ข้อ 25 ให้ เลขานุการ ก.อ.ร. แจ้งให้สภาสถาบันอุดมศึกษาชี้แจงเหตุแห่งความล่าช้าและ เร่งพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ให้แล้วเสร็ จและรายงานให้ ก.อ.ร. ทราบเพื่อประกอบการพิจารณาภายใน สามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งจาก ก.อ.ร. หากพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกาหนดให้ขยายเวลาได้อีก ไม่เกินสิบห้าวัน ในกรณีที่สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กาหนดตามวรรคหนึ่ง หากผู้ร้องเห็นว่า เหตุแห่งการร้องทุกข์นั้นยังไม่สิ้นไป ให้ ก.อ.ร. พิจารณาเรื่องต่อไป แต่หากเหตุ แห่งการร้องทุกข์นั้นสิ้นไปแล้ว ให้ ก.อ.ร. จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ ้ หนา 151 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 121 ง ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤษภาคม 2566
ในกรณีที่สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาที่ ก.อ.ร. กาหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้ สภาสถาบันอุดมศึกษารายงานข้อเท็จจริงการพิจารณาพร้อมจัดส่งเรื่องร้องทุกข์ และสานวนการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ให้ ก.อ.ร. ภายในสามวันทาการนับแต่วันครบกำหนดระยะเวลา ดังกล่าว และให้สภาสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมในการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์นั้นกับ ก.อ.ร. ด้วย ข้อเท็จจริงรวมถึงพยานหลักฐานที่สภาสถาบันอุดมศึกษาใช้ในการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ให้ถือเสมือนเป็นสานวนการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของ ก.อ.ร. แต่ทั้งนี้ เป็นดุลพินิจของ ก.อ.ร. ที่จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานหรือให้มีการสอบสวนใหม่ก็ได้ ข้อ 26 การพิจารณาวินิจฉัย เรื่องร้องทุกข์ของ ก.อ.ร. กรณีสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณา ไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กฎหมายกาหนดให้นาข้อ 21 ข้อ 22 และข้อ 23 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม หมวด 3 คำวินิจฉัย ก.อ.ร. ข้อ 27 เมื่อ ก.อ.ร. ได้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์แล้ว ให้มีคำวินิ จฉัย ดังนี้ (1) ถ้าเห็นว่าการที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ ต่อผู้ร้องทุกข์นั้นถูกต้อง ตามกฎหมายแล้ว ให้มีคำวินิจฉัยให้ยกคาร้องทุกข์ แล้วแต่กรณี (2) ถ้าเห็นว่าการที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ ต่อผู้ร้องทุกข์นั้น ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้มีคาวินิจฉัยสั่งให้สถาบันอุดมศึกษาแก้ไข เพิกถอนหรือยกเลิกการปฏิบัติ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายนั้น หรือให้ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย (3) ถ้าเห็นว่าสมควรดาเนินการโดยประการอื่น เพื่อให้มีความถูกต้องตา มกฎหมายและเป็นธรรม หรือสมควรเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้ร้องทุกข์ ให้มีคำวินิจฉัยให้ดาเนินการได้ตามสมควรแก่กรณี ข้อ 28 คำวินิจฉัยอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (1) ชื่อผู้ร้องทุกข์ (2) ชื่อคู่กรณี (3) สรุปคาร้องทุกข์ และคำขอ (4) สรุปคาแก้คำร้องทุกข์ (5) ประเด็นที่จะต้องพิจารณา (6) คำแนะนำแต่ละประเด็นพร้อมเหตุผล (7) สรุปคาวินิจฉัยที่กำหนดให้คู่กรณีปฏิบัติหรือดาเนินการต่อไป คำวินิจฉัยตามวรรคหนึ่งต้องลงลายมือชื่อของ ก.อ.ร. ที่มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์นั้น ถ้าผู้ใดมีเหตุจำเป็นไม่สามารถลงลายมือชื่ อได้ ให้จดแจ้งเหตุดังกล่าวไว้ในคำวินิจฉัยด้วย ้ หนา 152 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 121 ง ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤษภาคม 2566
ข้อ 29 เมื่อ ก.อ.ร. ได้มีคาวินิจฉัย ตามข้อ 27 ให้เลขานุการ ก.อ.ร. แจ้งคาวินิจฉัย ให้ผู้ร้องทุกข์ทราบเป็นหนังสือ และแจ้งให้อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ ทราบโดยเร็ว เมื่อ ก.อ.ร. มีคาวินิจฉัย ตามข้อ 27 (2) และ (3) ให้ผู้ออกคาสั่งที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ ดาเนินการออกคาสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคาวินิจฉัยจาก เลขานุการ ก.อ.ร. และเมื่อได้ออกคำสั่งหรือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยแล้ว ให้แจ้ง ก.อ.ร. ทราบภายในเจ็ดวัน ข้อ 30 ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษามีเหตุขัด ข้องหรือมีเหตุอื่นอันมิอาจก้าวล่ วงได้ ให้สถาบันอุดมศึกษาหารือมายัง ก.อ.ร. ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยจาก ก.อ.ร. บทเฉพาะกาล ข้อ 31 ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้เสนอเรื่องร้องทุกข์ไว้ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ มีผลใช้บังคับ ให้ ก.อ.ร. ดาเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อบังคับฉบับนี้ ประกาศ ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25 6 6 ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ ประธาน ก.อ.ร. ้ หนา 153 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 121 ง ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤษภาคม 2566