Thu May 25 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ข้อบังคับ ก.อ.ร.ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ คำสั่งให้ออกจากราชการและคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง พ.ศ. 2566


ข้อบังคับ ก.อ.ร.ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ คำสั่งให้ออกจากราชการและคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง พ.ศ. 2566

ข้อบังคับ ก.อ.ร. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ คำสั่งให้ออกจากราชการและคาสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง พ.ศ. 2566 โดยที่ข้อบังคับ ก.อ.ร. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ คำสั่งให้ออกจากราชการ และคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง พ.ศ. 2560 ได้ประกาศใช้มาเป็นเวลาพอสมควร จึงเห็นควรมี การปรับปรุงเพื่อให้มีประสิทธิภายมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติระเบียบ ข้ำราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 ที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบของคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ อาศัยอานาจตามความในมาตรา 17/4 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ (ก.อ.ร.) จึงออกข้อบังคับ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับ ก.อ.ร. ว่าด้วยการอุทธรณ์แล ะการพิจารณาวินิจฉัย อุทธรณ์ คำสั่งให้ออกจากราชการและคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อบังคับ ก.อ.ร. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุท ธรณ์ คำสั่งให้ออกจากราชการและคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง พ.ศ. 2560 ข้อ 4 ในข้อบังคับนี้ “ ก.อ.ร. ” หมายความว่า คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ “ สานักงาน ” หมายความว่า สานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม “ คณะอ นุกรรมการ ก.อ.ร. ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และ ร้องทุกข์ ที่ ก.อ.ร. แต่งตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ ก.อ.ร. มอบหมาย “ เจ้าหน้าที่ ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนสามัญ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ที่ปฏิบัติงานในกองกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม “ สานวนการสอบสวน ” หมายความว่า สานวนการสอบสวนกรณีมีคาสั่งให้ออกจากราชการ หรือคาสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง และให้รวมถึงรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชา ติ หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในภาครัฐ มีมติชี้มูล ข้อ 5 ให้ประธาน ก.อ.ร. เป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้ ก.อ.ร. มีอำนาจตีความ และวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับตามข้อบังคับนี้ ้ หนา 138 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 121 ง ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤษภาคม 2566

ข้อ 6 ในกรณีที่ข้อบังคับนี้ มิได้กาหน ดไว้เป็นอย่างอื่นให้นาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด 1 การยื่นอุทธรณ์และการดาเนินการก่อนการพิจารณา ข้อ 7 ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกสั่งลงโทษ ทางวิ นัยอย่างร้ายแรง ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.อ.ร. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับนี้ ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับการถูกสั่งให้ออกจากราชการ ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) สมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ (2) เมื่อมีการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตาแหน่งที่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ปฏิบัติหน้าที่หรือดารงอยู่ (3) ไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร (4) ถูกจำคุกในความผิดที่ไม่ใช่การกระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ข้อ 8 การอุทธรณ์คำสั่งให้ออกจากราช การหรือคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง เป็นเรื่องเฉพาะตัวต้องกระทำด้วยตนเอง ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์เจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บจนไม่สามารถอุทธรณ์ด้วยตนเองได้ ผู้อุทธรณ์ จะมอบหมายให้ทายาทโดยธรรมหรือบุคคลอื่นในกรณีที่ไม่มีทายาทโดยธรรม ทาการอุทธรณ์แทนได้ ทั้งนี้ การมอบหมายต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร เว้นแต่ผู้อุทธรณ์ไม่สามารถที่จะมอบหมาย เป็นลายลักษณ์อักษรได้ โดยมีหลักฐานประกอบ ในกรณีที่ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงถึงแก่ความตาย ไปก่อนที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธ รรม ทายาทผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอด หรือทายาทคนหนึ่งคนใดของผู้นั้น มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งแทนได้ ข้อ 9 ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง ต้องยื่นอุทธรณ์ ภายในกำหนดระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง ในกรณีที่ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง ยังไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ แต่ถึงแก่ความตายในระยะเวลาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้ทายาทของผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือ ถูกสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ภายในกาหนดระยะเวลาสี่สิบ ห้าวันนับแต่วันที่ ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ข้อ 10 การอุทธรณ์ต้องทาเป็นหนังสือถึงประธาน ก.อ.ร. โดยใช้ถ้อยคาสุภาพและมีสาระสาคัญ ดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ ตาแหน่ง สังกัด และที่อยู่สำหรับการติดต่อเกี่ยวกับการอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์ (2) คำสั่งที่เป็นเหตุแห่งการอุท ธรณ์ ้ หนา 139 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 121 ง ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤษภาคม 2566

(3) วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งที่เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์ (4) ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ผู้อุทธรณ์ยกขึ้นเป็นข้อคัดค้านคำสั่งที่เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์ (5) คำขอของผู้อุทธรณ์ (6) ลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์ หากผู้อุทธรณ์ประสงค์จะแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นการพิจารณาของ ก.อ.ร. ให้แสดง ความประสงค์ไว้ในหนังสืออุทธรณ์ หรือทาเป็นหนังสือถึงประธาน ก.อ.ร. ต่างหากก็ได้ แต่ต้องยื่น หรือส่งหนังสือขอแถลงการณ์ด้วยวาจาต่อสำนักงานก่อนที่ ก.อ.ร. จะเริ่มพิจารณา ข้อ 11 การ ยื่นอุทธรณ์ตามข้อ 9 ให้ยื่นหนังสืออุทธรณ์พร้อมกับสำเนารับรองถูกต้อง หนึ่งฉบับต่อสำนักงานหรือยื่นต่อสถาบันอุดมศึกษาที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการหรือคำสั่งลงโทษทางวินัย อย่างร้ายแรง โดยสามารถยื่นอุทธรณ์ด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ในกรณียื่นต่ อสถาบันอุดมศึกษา ให้นับวันที่สถาบันอุดมศึกษาประทับตรารับหนังสือไว้เป็นหลักฐาน ตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณเป็นวันยื่นอุทธรณ์ กรณีที่ผู้อุทธรณ์ส่งหนังสืออุทธรณ์ทางไปรษณีย์ ให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางออกใบรับฝาก เป็นหลักฐานฝากส่ง หรือวันที่ที่ทำกา รไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับที่ซองหนังสือเป็นวันยื่นอุทธรณ์ ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ประสงค์จะยื่นหรือส่งคาแถลงการณ์หรือเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้ทาเป็น หนังสือถึงประธาน ก.อ.ร. หาก ก.อ.ร. พิจารณาเรื่องอุทธรณ์นั้นแล้วเสร็จก่อน ให้คาแถลงการณ์นั้นตกไป ข้อ 12 เมื่ อสานักงานได้รับหนังสืออุทธรณ์ ให้เลขานุการ ก.อ.ร. รายงานให้ ก.อ.ร. เพื่อทราบ ในการประชุมครั้งถัดไป พร้อมทั้งจัดส่งสำเนาอุทธรณ์และแจ้งให้สถาบันอุดมศึกษาจัดส่งเอกสาร ให้ ก.อ.ร. เพื่อพิจารณาภายในเจ็ดวัน ดังต่อไปนี้ (1) สำเนาหลักฐานการรับทราบคำสั่งให้ออกจากราชการหรือคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง (2) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (3) คำคัดค้านกรรมการสอบสวน (ถ้ามี) (4) สานวนการสอบสวนและหลักฐานการสอบสวนทั้งหมด ในกรณีตามมาตรา 49 หรือ เอกสารหลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ การพิจารณาดาเนินการตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 พร้อมบัญชีเอกสาร (5) รายงานการประชุมของสภาสถาบันอุดมศึกษา และคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย ในการพิจารณาสั่งให้ออกจากราชการหรือสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแร ง (6) ข้อบังคับสถาบันอุดมศึกษาที่เกี่ยวกับการสอบสวนและการพิจารณาให้ออกจากราชการ หรือลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง กรณีการยื่นอุทธรณ์ต่อสถาบันอุดมศึกษา ให้สถาบันอุดมศึกษาส่งหนังสืออุทธรณ์และเอกสาร ตามวรรคหนึ่งภายในระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันได้รับอุทธรณ์ ้ หนา 140 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 121 ง ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤษภาคม 2566

ข้อ 13 ให้เลขานุการ ก.อ.ร. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเป็นผู้รับผิดชอบสำนวน เพื่อสนับสนุนการดาเนินงานของ ก.อ.ร. เกี่ยวกับการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ และการปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย เมื่อสานักงานได้รับเอกสารตามข้อ 12 จากสถาบันอุดมศึกษาครบถ้วนแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบสำนวน สรุปสำนวนเสนอต่อ ก.อ.ร. เพื่อพิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเอกสาร หมวด 2 การพิจารณาอุทธรณ์ ข้อ 14 อุทธรณ์ที่ ก.อ.ร. จะรับไว้พิจารณาได้ต้องเป็นไปตามข้อ 10 และยื่นหรือส่งภายใน กำหนดเวลาตามข้อ 9 ในกรณีที่ ก.อ.ร. เห็นว่าหนังสืออุทธรณ์ที่ยื่นไว้ตามวรรคหนึ่งนั้น อ่านไม่ออก อ่านไม่เข้าใจ มีสาระสาคัญไม่ครบถ้วนถูกต้อง หรือไม่ลงลายมือชื่อและที่อยู่ของผู้อุทธรณ์ ก.อ.ร มีอานาจสั่งให้ ผู้อุทธรณ์แก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าผู้อุ ทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามก็ให้มีมติไม่รับอุทธรณ์ ข้อ 15 การนับระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ (1) กรณีที่ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์ต่อสำนักงาน ให้นับแต่วันที่สำนักงานได้รับอุทธรณ์ (2) กรณีที่ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์ต่อสถาบันอุดมศึกษา ให้นับแต่วันที่ประธาน ก.อ.ร. ได้รับอุทธรณ์ พร้อมเอกสารตามข้อ 12 ครบถ้วน จากสถาบันอุดมศึกษา ข้อ 16 ผู้อุทธรณ์มีสิทธิคัดค้านกรรมการ ก.อ.ร. โดยทาเป็นหนังสือแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุ แห่งการคัดค้านยื่นต่ อประธาน ก.อ.ร. ภายในระยะเวลาอุทธรณ์ ถ้ากรรมการ ก.อ.ร. ผู้นั้นมีเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) รู้เห็นเหตุการณ์ในการกระทาที่ผู้อุทธรณ์ถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือการกระทาผิดวินัย ที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง (2) มีส่วนได้ส่วนเสียในการกระทาผิดวินัยที่ผู้อุทธรณ์ถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกลงโทษ ทางวินัยอย่างร้ายแรง (3) มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้อุทธรณ์ (4) เป็นผู้กล่าวหาหรือเป็นหรือเคยเป็นผู้สั่งให้ออกจากราชการหรือสั่งลงโทษทางวินัย (5) เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการดาเ นินการสั่งให้ออกจากราชการหรือการดาเนินการทางวินัย (6) มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติหรือทางการสมรสกับบุคคลตาม (1) (2) (3) หรือ (4) อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้อุทธรณ์ เมื่อประธาน ก.อ.ร. ได้รับหนังสือคัดค้าน ให้แจ้งกรรมการ ก.อ.ร. ทราบก่อนเริ่มพิจารณาอุทธรณ์ เพื่อให้พิจารณาว่าสมควรถอนตัวหรือไม่ กรรมการ ก.อ.ร. ซึ่งมีกรณีตามวรรคหนึ่ง อาจขอถอนตัว ้ หนา 141 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 121 ง ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤษภาคม 2566

จากการพิจาณาอุทธรณ์ เว้นแต่การถอนตัวนั้นจะมีผลกระทบต่อองค์ประชุม ก.อ.ร. อาจใช้ดุลพินิจ ในการพิจารณาขอให้กรรมการ ก.อ.ร. เข้าร่วมประชุ มต่อได้ กรณีที่กรรมการ ก.อ.ร. มิได้ขอถอนตัว ให้ที่ประชุม ก.อ.ร. พิจารณาข้อเท็จจริงที่คัดค้าน ถ้าที่ประชุมมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของกรรมการเห็นว่าข้อเท็จจริงนั้นน่าเชื่อถือ ให้แจ้งกรรมการผู้นั้นทราบ และไม่ให้ร่วมพิจารณาอุทธรณ์เรื่องนั้ น เว้นแต่การให้กรรมการผู้นั้น ร่วมพิจารณาอุทธรณ์จะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า เพราะจะทาให้ได้ความจริงและเป็นธรรม จะอนุญาต ให้ร่วมพิจารณาอุทธรณ์ด้วยก็ได้ การที่กรรมการ ก.อ.ร. ผู้ถูกคัดค้านที่ถูกสั่งไม่ให้ร่วมพิจารณาอุทธรณ์หรือถอนตัวเพราะมีเหตุ อันอาจถูกคัดค้ำนนั้น ย่อมไม่กระทบถึงการกระทาใด ๆ ที่ได้กระทาไปแล้วแม้ว่าจะได้ดาเนินการ หลังจากที่ได้มีการยื่นคาคัดค้าน ข้อ 17 ในกรณีมีเหตุผลความจาเป็น ก.อ.ร. อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ก.อ.ร. ขึ้นคณะหนึ่ง หรือหลายคณะ โดยแต่ละคณะให้มีอานาจหน้าที่เป็นผู้พิจารณากลั่นกร อง ตรวจสอบสานวนอุทธรณ์ ของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แล้วเสนอต่อ ก.อ.ร. เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของ ก.อ.ร. หรือปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายจาก ก.อ.ร. คณะอนุกรรมการ ก.อ.ร. ตามวรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานอนุกรรมการ แต่งตั้งจาก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.อ.ร. อนุกรรมการคนหนึ่งแต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.อ.ร. และ อนุกรรมการสองคนซึ่งแต่งตั้งจากเจ้าหน้าที่ในสำนักงานหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่พิจารณาตามความจาเป็น และในกรณีที่เ ป็นการตรวจสอบ กลั่นกรองสานวนอุทธรณ์ ให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวน เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ การคัดค้านอนุกรรมการ ก.อ.ร. ตามวรรคสอง ให้นาข้อ 16 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ 18 การพิจารณาอุทธรณ์ให้ ก.อ.ร. พิจารณาจากสานวนการสอบข้อเท็จจริงเบื้ องต้น และสำนวนการสอบสวนและให้มีอานาจ ดังต่อไปนี้ (1) ให้สถาบันอุดมศึกษาที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการ หรือคาสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง หรือสถาบันอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องชี้แจงข้อเท็จจริงและจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม (2) ให้บุคลากรของสถา บันอุดมศึกษาที่มีคาสั่งให้ออกจากราชการหรือคาสั่งลงโทษทางวินัย อย่างร้ายแรง หรือสถาบันอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคาเป็นพยานหรือชี้แจงข้อเท็จจริง และจัดส่ง เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (3) สั่งให้สถาบันอุดมศึกษาที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการหรือคำสั่งลงโทษทางวิ นัยอย่างร้ายแรง สอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติม ในกรณีที่ ก.อ.ร. เห็นว่าข้อเท็จจริงซึ่งได้มาจากการแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมตาม (1) ถึง (3) อาจเป็นผลร้ายหรือไม่เป็นคุณแก่ผู้อุทธรณ์ ให้เลขานุการ ก.อ.ร. มีหนังสือแจ้งผู้อุทธรณ์ ้ หนา 142 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 121 ง ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤษภาคม 2566

ให้ทราบข้อเท็จจริงอย่าง เพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนภายในระยะเวลา ที่ ก.อ.ร. กำหนด ข้อ 19 ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ขอแถลงการณ์ด้วยวาจา ให้ ก.อ.ร. รับฟังคำแถลงการณ์ ด้วยวาจาของผู้อุทธรณ์ และผู้นั้นมีสิทธินาทนายความหรือที่ปรึกษาเข้ามาในกระบวนพิจารณาของ ก.อ.ร. ได้คนหนึ่ง การใดที่ทนายความหรือที่ปรึกษาได้กระทำลงต่อหน้าผู้อุทธรณ์หรือ ก.อ.ร. ให้ถือว่าเป็นการ กระทาแทนผู้นั้น เว้นแต่ผู้อุทธรณ์จะได้คัดค้านเสียในขณะนั้น และหาก ก.อ.ร. พิจารณาเห็นว่า การแถลงการณ์ด้วยวาจาไม่จำเป็นแก่การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ จะให้ง ดการแถลงการณ์ด้วยวาจาก็ได้ หากสถาบันอุดมศึกษาหรือสภาสถาบันอุดมศึกษาจะแถลงแก้ ก็ให้มาแถลงหรือมอบหมาย เป็นหนังสือให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสานวน หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้มาแถลงแก้ต่อที่ประชุม ครั้งนั้นได้ ทั้งนี้ ให้แจ้งล่วงหน้าตามควรแก่กรณี ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์หรือสถาบันอุดมศึกษาหรือสภาสถาบันอุดมศึกษามาแถลงการณ์ด้วยวาจาแล้ว ประสงค์จะยื่นเอกสารเพิ่มเติม ก.อ.ร. อาจอนุญาตให้ยื่นได้ แต่ต้องยื่นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ มาแถลงการณ์ด้วยวาจา ข้อ 20 เมื่อความปรากฏแก่ ก.อ.ร. ว่าผู้อุทธรณ์ถึงแก่ความตายก่อนการวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้รอการวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นออกไปจนกว่าทายาทตามข้อ 8 จะมีคำขอเข้ามาหรือโดยที่ ก.อ.ร. เรียกเข้ามาเพื่อเปิดโอกาสให้ทายาทเข้ามาแถลงชี้แจงประเด็นการอุทธรณ์ โดยให้ยื่นคาขอเป็นหนังสือ ต่อประธาน ก.อ.ร. ภายในกา หนดสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้อุทธรณ์ถึงแก่ความตาย และให้ ก.อ.ร. ดาเนินการพิจารณาอุทธรณ์ต่อไป ทั้งนี้ จะวินิจฉัยเป็นผลร้ายยิ่งกว่าแก่ผู้อุทธรณ์ที่ถึงแก่ความตายนั้นไม่ได้ ข้อ 21 ผู้อุทธรณ์จะขอถอนอุทธรณ์ในเวลาใด ๆ ก่อนที่ ก.อ.ร. จะพิจารณาเสร็จสิ้นก็ ได้ โดยทาเป็นหนังสือถึงประธาน ก.อ.ร. กรณีผู้อุทธรณ์ถอนอุทธรณ์ด้วยวาจา ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ สานวนบันทึกไว้และจัดให้ผู้อุทธรณ์ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน เมื่อถอนอุทธรณ์แล้วการพิจารณา อุทธรณ์ให้เป็นอันระงับ ทั้งนี้ การถอนอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ตัดสิท ธิผู้อุทธรณ์ที่ยื่นอุทธรณ์ใหม่ ภายในระยะเวลาอุทธรณ์ ข้อ 22 ให้ทาเป็นคาสั่งจาหน่ายเรื่อง โดยให้ประธาน ก.อ.ร. ลงนามแจ้งสถาบันอุดมศึกษา และผู้อุทธรณ์ ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ผู้อุทธรณ์ขอถอนอุทธรณ์ (2) ผู้อุทธรณ์ไม่ได้มีสถานะเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (3) เรื่องที่ยื่นอุทธรณ์เป็นกรณีเดิมที่ ก.อ.ร. ได้เคยพิจารณามีคำสั่งหรือคาวินิจฉัยแล้ว (4) สถาบันอุดมศึกษาแก้ไขเปลี่ยนแปลงคาสั่งที่เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์ให้เป็นไปตามคาขอ ในอุทธรณ์แล้ว (5) หนั งสืออุทธรณ์อ่านไม่ออก อ่านไม่เข้าใจ มีสาระสำคัญไม่ครบถ้วนถูกต้อง หรือไม่ลงลายมือชื่อ ที่อยู่ของผู้อุทธรณ์ ซึ่ง ก.อ.ร. ได้สั่งให้แก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว ผู้อุทธรณ์ไม่ปฏิบัติตาม ้ หนา 143 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 121 ง ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤษภาคม 2566

(6) ยื่นอุทธรณ์เกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด (7) เหตุอื่น ๆ ที่ ก .อ.ร. เห็นสมควรให้จำหน่ายเรื่อง ข้อ 23 คำสั่งจำหน่ายเรื่องอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (1) ชื่อผู้อุทธรณ์ (2) ชื่อคู่กรณีในอุทธรณ์ (3) เหตุแห่งการออกคาสั่ง ข้อ 24 เมื่อ ก.อ.ร. ได้พิจารณาอุทธรณ์แล้ว ให้มีคำวินิจฉัย ดังนี้ (1) หากเห็นว่าการสั่งให้ออกจากราชกา ร หรือการสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงชอบด้วย กฎหมายและเหมาะสมกับความผิดแล้ว ให้มีคาวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ แต่หากเห็นว่าคาสั่งให้ออกจาก ราชการหรือคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติม ให้มีคำวินิจฉัยให้แก้ไข เปลี่ยนแปลงคาสั่งนั้นได้ (2) หากเห็นว่าการสั่งให้ออกจากราชการ หรือการสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้มีคำวินิจฉัย ดังนี้ (ก) หากการสั่งให้ออกจากราชการหรือการสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง ไม่ชอบด้วย กฎหมายสารบัญญัติ ให้ผู้ออกคำสั่งสั่งให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการตามเดิม และในกรณีที่อุทธรณ์ใด เป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้ออกคำสั่งลงโทษในความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงนั้น (ข) หากการสั่งให้ออกจากราชการหรือการสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงนั้นไม่ชอบด้วย กฎหมายวิธี สบัญญัติ ให้ผู้ออกคำสั่งดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่กฎหมายกำหนดให้ครบถ้วน เมื่อดาเนินการครบถ้วนแล้ว หากผู้ออกคาสั่งยังคงยืนยันคาสั่งให้ออกจากราชการ หรือคาสั่งลงโทษ ทางวินัยอย่างร้ายแรงดังกล่าว ก็ให้ผู้ออกคำสั่งยืนยันคาสั่งให้ออกจากราชการหรือคาสั่งลงโทษทำงวินัย อย่างร้ายแรงนั้น แต่หากผู้ออกคำสั่งมีความเห็นอย่างอื่นก็ให้ดำเนินการเพิกถอนคำสั่งเดิมและ อาจมีคาสั่งใหม่ตามรูปคดี (3) หากเห็นว่าโทษที่ผู้อุทธรณ์ได้รับไม่เหมาะสมกับความผิด ผู้ออกคาสั่งสั่งลงโทษตามมติ ของ ก.อ.ร. ข้อ 25 คำวินิจฉัยอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (1) ชื่อผู้อุทธรณ์ (2) ชื่อคู่กรณีในอุทธรณ์ (3) สรุปอุทธรณ์และคำขอของผู้อุทธรณ์ (4) สรุปคาแก้อุทธรณ์ (5) ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย (6) คำวินิจฉัยแต่ละประเด็นพร้อมเหตุผล (7) สรุปคาวินิจฉัยที่กำหนดให้คู่กรณีปฏิบัติหรือดาเนินกำรต่อไป ้ หนา 144 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 121 ง ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤษภาคม 2566

คาวินิจฉัยตามวรรคหนึ่ง ต้องลงลายมือชื่อของ ก.อ.ร. ที่นั่งพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นด้วย ถ้าผู้ใดมีเหตุจำเป็นไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้ผู้นั้นจดแจ้งเหตุดังกล่าวไว้ในคำวินิจฉัย นั้นด้วย หมวด 3 การดำเนินการตามมติ คาสั่งและคำวินิจฉัยของ ก.อ.ร. ข้อ 26 ในกรณีที่ ก.อ.ร. มีมติให้ผู้ออกคาสั่งดาเนินการตามข้อ 18 แล้ว ให้เลขานุการ ก.อ.ร. แจ้งมติให้ผู้ออกคำสั่งทราบโดยเร็ว ให้ผู้ออกคาสั่งดาเนินการออกคาสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามมตินั้นภายในสิบห้าวันนับแต่ วันที่ได้รับแจ้งมติจากเลขานุการ ก.อ.ร. และเมื่อได้มีการดาเนินการตามมติ ก.อ.ร. เสร็จสิ้นแล้ว ให้รายงานผลการดาเนินการและจัดส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปยังเลขานุการ ก.อ.ร. โดยเร็ว ข้อ 27 เมื่อ ก.อ.ร. ได้มีคาสั่งหรือคาวินิจฉัยตามข้อ 22 และข้อ 2 4 แล้ว ให้เลขานุการ ก.อ.ร. แจ้งคาสั่งหรือคาวินิจฉัยให้ผู้อุทธรณ์ทราบเป็นหนังสือ และแจ้งให้ผู้ออกคาสั่งและส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้องทราบโดยเร็ว เมื่อ ก.อ.ร. มีคำวินิจฉัย ตามข้อ 24 (2) (ก) และ (3) ให้ผู้ออกคาสั่งดาเนินการ ออกคาสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคาสั่งหรือคาวินิจฉัยอุทธรณ์ จากเลขานุการ ก.อ.ร. และเมื่อได้ออกคำสั่งหรือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวแล้ว ให้แจ้ง ก.อ.ร. ทราบภายในเจ็ดวัน ข้อ 28 ในกรณีที่ผู้ออกคำสั่งมีคำสั่ งตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.อ.ร. ให้ผู้อุทธรณ์ กลับเข้ารับราชการ ทั้งนี้ ให้มีสิทธิได้รับเงินเดือน สิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ ระหว่างถูกสั่งให้ ออกจากราชการด้วย บทเฉพาะกาล ข้อ 29 ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้ยื่นอุทธรณ์ไว้ก่อนวันที่ข้อ บังคับนี้ มีผลใช้บังคับ ให้ ก.อ.ร. ดาเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อบังคับฉบับนี้ ประกาศ ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25 6 6 ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ ประธาน ก.อ.ร. ้ หนา 145 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 121 ง ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤษภาคม 2566