ระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัย เรื่อง การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2566
ระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัย เรื่อง การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2566
ระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัย เรื่อง การให้คาปรึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2566 โดยที่มาตรา 38 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อให้คาแนะนาและคาปรึกษาเกี่ยวกับ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว และนายกรัฐมนตรี ได้มีคาสั่งสานักนายกรัฐม นตรี ที่ 318/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัย ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ดังนั้น เพื่อให้การให้คาแนะนาและคาปรึกษาของคณะกรรมการ ว่าด้วยการปรับเป็นพินัยเป็นไปอย่างเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามข้อ 2 (5) ของคำสั่งสำนักนายกรัฐมน ตรี ดังกล่าว คณะกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัย จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัย เรื่อง การให้ คำปรึกษา เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ในระเบียบนี้ “ คณะกรรมการ ” หมายความว่า คณะกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัยที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง ตามมาตรา 38 “ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน นายทะเบียน คณะบุคคล และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่น บรรดาที่กฎหมายบัญญัติให้ มีอานาจปรับเป็นพินัย หรือที่รัฐมนตรี ประกาศกาหนดให้เป็นผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัยตามมาตรา 14 “ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ” หมายความว่า (1) ปลัดสานักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง หรือปลัดทบวง ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ สังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง หรือสำนักงานปลัดทบวง แล้วแต่กรณี (2) อธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากรม ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ ของรัฐสังกัดกรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากรม แล้วแต่กรณี (3) ผู้ว่าราชการ จังหวัด ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐสังกัดราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัด (4) ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐสังกัดรัฐวิสาหกิจ (5) ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานอื่นของรัฐ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐสังกัดหน่วยงานอื่นของรัฐ (6) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกเมืองพัทยา หรือนายกองค์การบริหารส่วนตาบล ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา หรือองค์การบริหารส่วนตาบล แล้วแต่กรณี (7) น ำ ย ก ส ภำ วิ ชำ ชี พ ใ น ก ร ณี ที่ พ นั ก งำ น ห รื อ ลู ก จ้ำ ง ข อ ง ส ภำ วิ ชำ ชี พ มีอำนาจปรับเป็นพินัย ้ หนา 1 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 121 ง ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤษภาคม 2566
ข้อ 3 เพื่อประโยชน์ในการดาเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 ของเจ้าหน้าที่ของรัฐในบังคับบัญ ชาหรือกำกับดูแลของรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายให้เป็นแนวทาง เดียวกัน รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายอาจขอคาปรึกษาคณะกรรมการเพื่อวางแนวทางการปฏิบัติ ตามกฎหมายได้ ข้อ 4 เพื่อประโยชน์ในการดาเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 ขององค์กรปกค รองส่วนท้องถิ่นให้เป็นแนวทางเดียวกันทั่วประเทศ รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมาย หรือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอาจขอคำปรึกษาคณะกรรมการเพื่อวางแนวทางการปฏิบัติ ตามกฎหมายได้ ในกรณีที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายขอคำปรึกษาคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง และคาปรึกษานั้นมี ผลต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย ให้รัฐมนตรีแจ้งคาปรึกษาของคณะกรรมการ ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นทราบเพื่อแจ้งเวียนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้เป็นแนวทาง ในการปฏิบัติงานโดยไม่ต้องขอคำปรึกษาจากคณะกรรมการอีก ข้อ 5 การขอคาปรึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเสนอเรื่องที่จะขอปรึกษานั้นต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่ตนสังกัด เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเห็นสมควร ให้ส่งเรื่องให้เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาต่อไป ข้อ 6 ในก รณีที่เคยมีการให้คาปรึกษาในประเด็นเดียวกันหรือในประเด็นที่อยู่ในลักษณะเดียวกัน มาก่อนแล้ว เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาจะส่งคำปรึกษาที่เคยมีมาแล้วนั้น ไปให้หน่วยงานของรัฐ ที่ขอคาปรึกษา โดยไม่ต้องเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาใหม่ก็ได้ ข้อ 7 ในการพิจารณาให้คาปรึกษา คณะกรรมการหรือสานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา อาจเชิญบุคคลดังต่อไปนี้ ไปชี้แจงแถลงข้อเท็จจริงหรือให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณา (1) ผู้แทนหน่วยงานของรัฐที่ขอคาปรึกษา (2) ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่พิจารณาตามที่คณะกรรมการหรื อสำนักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกาเห็นสมควร ในกรณีที่การพิจารณาเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิของเอกชนและคณะกรรมการเห็นว่าการฟังความคิดเห็น ของเอกชนจะเป็นประโยชน์ คณะกรรมการจะขอให้สานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเชิญผู้แทนของ สถาบันฝ่ายเอกชนหรือบุคคลอื่นที่คณะกรรมการเห็นสมควร เข้าร่วมชี้แจงให้ข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้ ข้อ 8 คณะกรรมการจะไม่พิจารณาให้คาปรึกษาในเรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาล ้ หนา 2 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 121 ง ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤษภาคม 2566
ข้อ 9 เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาและมีการให้คาปรึกษาแล้ว ให้สานักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกาส่งเรื่องดังกล่าวให้หน่วยงานของรัฐที่ขอคาปรึกษาทราบโดยเร็ว ในกรณีที่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่ขอคำปรึกษาเป็นหัวหน้าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาส่งคาปรึกษาตามวรรคหนึ่งให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นทราบ เพื่อแจ้งเวียนให้องค์ กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานโดยไม่ต้องขอคาปรึกษา จากคณะกรรมการอีก ข้อ 10 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 256 6 บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัย ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 121 ง ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤษภาคม 2566