ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับบริการพื้นฐาน จ่ายตามรายการบริการ พ.ศ. 2566
ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับบริการพื้นฐาน จ่ายตามรายการบริการ พ.ศ. 2566
ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับบริการพื้นฐาน จ่ายตามรายการบริการ พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสาหรับบริการพื้นฐาน จ่ายตามรายการบริการในระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้การจ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติดา เนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพ อาศัยอานาจตามความในข้อ 4 และข้อ 86.1 แห่งประกาศคณะกรรมการหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการ สาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. 2565 สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่าย ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบ ริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสาหรับบริการพื้นฐาน จ่ายตามรายการบริการ พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ข้อ 3 ในประกาศนี้ “ สานักงาน ” หมายความว่า สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้ ไม่ หมายความ รวมถึงสำนักงานสาขา “ หน่วยบริการ ” หมายความว่า สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามกฎหมายว่าด้วย หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ “ ผู้รับบริการ ” หมายความว่า ผู้มีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ “ ค่าใช้จ่าย ” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขที่หน่วยบริการมีสิทธิได้รับจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน จ่ายตามรายการบริการ “ ญาติสายตรง ” หมายความว่า บิดา มารดา บุตร พี่น้องที่เกิดจากบิดามารดาเดียวกัน ข้อ 4 ให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรักษาการตามประกาศนี้ ้ หนา 22 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 117 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 พฤษภาคม 2566
หมวด 1 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ข้อ 5 การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับบริการพื้นฐาน จ่ายตามรายการบริการ 5.1 เป็นการให้บริการแก่ผู้รับบริการโดยกลุ่มเป้าหมายของแต่ละรายการเป็นไป ตามเอกสารหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศนี้ 5.2 หน่วยบริการที่มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่าย เป็นหน่วยบริการที่สามารถให้บริการ ตามรายการที่กำหนดตามเอกสารหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศนี้ หมวด 2 วิธีกำรเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ข้อ 6 ให้หน่วยบริการที่ให้บริการบันทึกและส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่าย หรือส่งข้อมูล ตามชุดข้อมูลมาตรฐาน ตามที่สานักงานกาหนดผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform (ผ่าน Hospital Portal ทาง Website KTB https :// www . healthplatform . krungthai . com ) หรือ Application หมอพร้อม หรือผ่านระบบบูรณาการการตรวจคัดกรองหญิงตั้งครรภ์และ ทารกแรกเกิด ( National Perinatal Registry Portal http / / : nprp . nhso . go . th ) หรือผ่านระบบ บันทึกข้อมูลและประมวลผลข้อมูลการบริกำรทางการแพทย์ ( e - Claim ) หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบ ข้อมูลของหน่วยบริการกับสานักงาน หรือผ่านระบบโปรแกรมอื่นตามที่สานักงานกาหนด กรณีการคัดกรอง วัณโรคในกลุ่มเสี่ยง บันทึกข้อมูลผ่านโปรแกรม NTIP และประมวลผลเบิกจ่ายด้วยโปรแกรม TB Data Hub รายละเอียดแต่ละบริการเป็นไปตามเอกสารหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศนี้ หมวด 3 เงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ข้อ 7 ในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ให้หน่วยบริการจัดให้มีหรือมีข้อมูลยืนยันตัวตนของผู้รับบริกำรเพื่อยืนยันการใช้สิทธิในการเข้ารับบริการ ตามแนวทางที่สำนักงานกาหนด ยกเว้น บริการป้องกันและควบคุมภาวะพร่องฮอร์โมน ( TSH ) และโรคฟินิลคีโตนูเรีย ( PKU ) ในเด็กแรกเกิด บริการป้องกันการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย บริการตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคพันธุกรรมเม ตาบอลิก ด้วยเครื่อง Tandem Mass Spectrometry ( TMS ) ข้อ 8 สำนักงานจะดำเนินการประมวลผลและแจ้งรายงานการจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่ หน่วยบริการเป็นรายเดือน โดยรายงานการจ่ายค่าใช้จ่ายจะต้องแสดงสถานะข้อมูล ดังนี้ ้ หนา 23 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 117 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 พฤษภาคม 2566
8.1 ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลตามเงื่อนไขที่กาหนด (ข้อมูล Y ) สานักงาน จะนาเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบก่อนการจ่ายค่าใช้จ่าย 8.2 ข้อมูลที่ประมวลผลไม่ผ่านตามเงื่อนไขที่กำหนด : ข้อมูลปฏิเสธการจ่าย (ข้อมูล N ) หน่วยบริการสามารถขอทบทวนเพื่อขอรับค่าใช้จ่ายตามที่สำ นักงานกำหนด ข้อ 9 สำนักงานจะตรวจสอบก่อนการจ่ายค่าใช้จ่าย ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล ตามเงื่อนไขที่กำหนด (ข้อมูล Y ) ทุกรายการด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ และระบบการกาหนดเงื่อนไข ข้อมูลที่ต้องสงสัยว่าผิดปกติ โดยรายงานการจ่ายค่าใช้จ่ายต้องแสดงสถานะข้อมูล และดาเนิ นการ ดังนี้ 9.1 ข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบจะนาไปประมวลผลจ่ายค่าใช้จ่าย 9.2 ข้อมูลที่ไม่ผ่านการตรวจสอบด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือระบบการกาหนด เงื่อนไขข้อมูลที่ต้องสงสัยว่าผิดปกติ ข้อมูลรายการนั้นจะถูกชะลอการจ่ายค่าใช้จ่าย เพื่อให้มีการ ตรวจสอบเอกสารหลักฐำนการให้บริการจากหน่วยบริการอีกครั้ง หรือสอบถามผู้รับบริการทางโทรศัพท์ เพิ่มเติม รายละเอียดตามเอกสารหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ 9.3 สานักงานกาหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบตามเอกสารหมายเลข 2 แนบท้าย ประกาศนี้ โดยสำนักงานจะรายงานผลการตรวจสอบเอกสารหลักฐานและดาเนินการ ดังนี้ 9.3.1 ข้อมูลที่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบหลักฐานการให้บริการ จะนาไป ประมวลผลจ่ายค่าใช้จ่าย 9.3.2 ข้อมูลที่ไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบหลักฐานการให้บริการ เนื่องจาก ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย หรือให้บริการไม่ครบตามที่หลักเกณฑ์กาหนด สานักงาน จะแจ้งผลการตรวจสอบหลักฐานการให้บริการให้หน่วยบริการทราบ โดยหน่วยบริการสามารถขอให้ สานักงานทบทวนผลการตรวจสอบภายในระยะเวลา 10 วัน นับแต่วันที่หน่วยบริการได้ รับรายงาน แจ้งผลการตรวจสอบหลักฐานการให้บริการ ทั้งนี้ สำนักงานอาจพิจารณาขยายระยะเวลาได้ตามเหตุผล และความจำเป็น เมื่อหน่วยบริการร้องขอ 9.3.3 ในกรณีที่ข้อมูลไม่ผ่านการตรวจสอบเนื่องจากไม่พบหลักฐาน การให้บริการ และหน่วยบริการไม่ขอให้สำนักงานทบทวนผลการตรว จสอบดังกล่าว หรือเมื่อสำนักงาน พิจารณาข้อเสนอขอทบทวนแล้วยังตรวจสอบไม่พบหลักฐานการให้บริการ หรือให้บริการไม่ครบตามที่ หลักเกณฑ์กำหนด สำนักงานจะแจ้งให้หน่วยบริการรับทราบ และพิจารณาจ่ายค่าใช้จ่ายตามข้อเท็จจริง ของบริการที่เกิดขึ้น ้ หนา 24 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 117 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 พฤษภาคม 2566
ข้อ 10 หากพบความผิดปกติอื่น ใดของข้อมูลผลงานหรือการเบิกจ่ายของหน่วยบริการนั้น ๆ สานักงานจะตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการ โดยตรวจสอบหลักฐาน การให้บริการ และกำหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบ ตามเอกสารหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ 11 สำนักงานจะพิจารณาปฏิเสธการจ่ายค่ำใช้จ่าย ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 11.1 การให้บริการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ตามหมวด 1 11.2 ตรวจสอบไม่พบการพิสูจน์ตัวตนของผู้ป่วยเพื่อยืนยันการใช้สิทธิในการเข้ารับ บริการตามแนวทางที่สำนักงานกำหนด 11.3 กรณีที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการแล้วพบว่าไม่ผ่านเกณฑ์ การตรวจสอบหลักฐานการให้บริการตามเอกสารหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 20 มกรา คม พ.ศ. 25 6 6 จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ้ หนา 25 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 117 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 พฤษภาคม 2566
เอกสารหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสําหรับบริการพื้นฐาน จ่ายตามรายการบริการ พ . ศ . 2566 ลงวันที่ 20 มกราคม พ . ศ . 2566 แนวทาง เงื่อนไข และอัตราการจ่ายการให้บริการ รายการ กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ หน่วยบริการ แนวทาง เงื่อนไข และอัตราการจ่าย 1 . บริการฝากครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ หน่วยบริการที่สามารถให้ บริการฝากครรภ์ได้ หน่วยบริการมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเมื่อให้บริการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ตามรายการ บริการหรือกิจกรรมสําหรับบริการฝากครรภ์ ตามประกาศคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุข 1 . ค่าบริการดูแลการฝากครรภ์ จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 360 บาทต่อครั้ง ตาม มาตรฐานการดูแลผู้รับบริการของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ การเบิกค่าบริการฝากครรภ์ตั้งแต่ครั้งที่ 9 เป็นต้นไป สํานักงานจะขอ รายละเอียดหลักฐานการให้บริการเพิ่มเติมจากหน่วยบริการ เพื่อใช้ประกอบการ พิจารณาจ่าย 2 . ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตามรายการบริการและอัตราดังนี้ 2 . 1 การตรวจทางห้องปฏิบัติการชุดแรก ประกอบด้วย : VDRL, HIV Antibody, Hepatitis B surface antigen (HBs Ag), CBC + MCV และ / หรือ DCIP และ Blood group: ABO/Rh ( ครบทุกรายการ ) จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 600 บาทต่อการตั้งครรภ์ 2 . 2 การตรวจทางห้องปฏิบัติการชุดที่สอง ประกอบด้วย : VDRL และ HIV Antibody โดยตรวจอีกครั้งเมื่ออายุครรภ์ใกล้ครบกําหนด จ่ายแบบเหมาจ่าย ในอัตรา 190 บาทต่อการตั้งครรภ์ 3 . บริการตรวจอัลตราซาวด์ จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 400 บาทต่อการตั้งครรภ์
รายการ กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ หน่วยบริการ แนวทาง เงื่อนไข และอัตราการจ่าย 4 . บริการตรวจสุขภาพช่องปากและบริการขัดทําความสะอาดฟัน จ่ายแบบเหมา จ่ายในอัตรา 500 บาทต่อการตั้งครรภ์ ทั้งนี้ การให้บริการดังกล่าวไม่จําเป็น ต้องให้บริการในวันเดียวกันก็ได้ กรณีหญิงตั้งครรภ์ไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อหรือยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญาที่แก้ไขตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา ( ฉบับที่ 28 ) พ . ศ . 2564 หญิงตั้งครรภ์นั้นมีสิทธิได้รับ บริการสาธารณสุข เช่นหญิงตั้งครรภ์ทั่วไป หน่วยบริการที่ให้บริการสาธารณสุข แก่หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อหรือยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ มีสิทธิได้รับ ค่าใช้จ่าย 1 . ค่าบริการดูแลการฝากครรภ์ สําหรับบริการซักประวัติ ตรวจร่างกายและให้ คําปรึกษาทางเลือก รวมถึงการประสานส่งต่อ จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 360 บาทต่อครั้ง ตามข้อ 1 . และ 2 . บริการตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อดูอายุครรภ์ จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 400 บาท ต่อการตั้งครรภ์ตามข้อ 3 . ทั้งนี้ หากหน่วยบริการไม่สามารถให้บริการยุติการตั้งครรภ์ตามรายการ ที่ 10 . บริการป้องกันการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยให้หน่วยบริการประสาน และส่งต่อพร้อมผลการตรวจอัลตราซาวด์ไปยังหน่วยบริการที่มีบริการต่อไป 2 . บริการป้องกันและ ควบคุมโรคโลหิต หญิงตั้งครรภ์ และสามีหรือคู่ ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีผลการ หน่วยบริการที่สามารถ ให้บริการตรวจทางห้อง 1 . การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยยืนยัน สําหรับหญิงตั้งครรภ์และสามีหรือ คู่ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีผลการคัดกรองผิดปกติ
รายการ กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ หน่วยบริการ แนวทาง เงื่อนไข และอัตราการจ่าย จางธาลัสซีเมียในหญิง ตั้งครรภ์ คัดกรองธาลัสซีเมียผิดปกติทั้ง สองฝ่าย ปฏิบัติการ หรือตรวจวินิจฉัย ทารกในครรภ์ หรือยุติการ ตั้งครรภ์ 1 . 1 . Hemoglobin typing จ่ายแบบเหมาจ่าย ในอัตรา 270 บาทต่อการ ตั้งครรภ์ต่อคน 1 . 2 . ถ้าผลการตรวจ Hemoglobin typing ไม่ชัดเจน สามารถดําเนินการตรวจ 1 . 2 . 1 Alpha–thalassemia 1 (PCR) จ่ายแบบเหมาจ่าย ในอัตรา 800 บาท ต่อการตั้งครรภ์ต่อคน และหรือ 1 . 2 . 2 Beta–thalassemia (Mutation analysis) จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 3 , 000 บาทต่อการตั้งครรภ์ต่อคน 2 . การตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ เมื่อผลการตรวจยืนยันตาม ข้อ 1 . เป็นคู่เสี่ยง 2 . 1 การทําหัตถการเพื่อตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ จ่ายแบบเหมาจ่าย ในอัตรา 2 , 500 บาทต่อการตั้งครรภ์ ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้ 2 . 1 . 1 การตัดชิ้นเนื้อรก (Chorionic villus sampling) 2 . 1 . 2 การเจาะน้ําคร่ํา (Amniocentesis) 2 . 1 . 3 การเจาะเลือดทารกจากสายสะดือ (Cordocentesis) 2 . 2 การตรวจสิ่งส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยทารกในครรภ์ 2 . 2 . 1 DNA Based Analysis จ่ายแบบเหมาจ่าย ในอัตรา 3 , 000 บาทต่อ การตั้งครรภ์ หรือ 2 . 2 . 2 Hemoglobin typing จ่ายแบบเหมาจ่าย ในอัตรา 270 บาทต่อ การตั้งครรภ์ 3 . การยุติการตั้งครรภ์ จ่ายแบบเหมาจ่าย ในอัตรา 3 , 000 บาทต่อการตั้งครรภ์ 3 . บริการคัดกรอง ธาลัสซี เมียและคัดกรองซิฟิลิส สามีหรือคู่ของหญิงตั้งครรภ์ที่ เป็นชาย หน่วยบริการที่สามารถ ให้บริการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ 1 . การคัดกรองธาลัสซีเมีย ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ CBC + MCV และ / หรือ DCIP/HbE screening จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 120 บาทต่อการตั้งครรภ์ ของภรรยา กรณีผลการตรวจผิดปกติทั้งหญิงตั้งครรภ์และสามีหรือคู่ของหญิง
รายการ กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ หน่วยบริการ แนวทาง เงื่อนไข และอัตราการจ่าย ในสามีหรือคู่ของหญิง ตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์ สามารถดําเนินการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยยืนยันตาม รายการบริการที่ 2 . บริการป้องกันและควบคุมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในหญิง ตั้งครรภ์ ได้ 2 . การคัดกรองซิฟิลิส ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดังนี้ 2 . 1 ค่าตรวจ VDRL จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 50 บาทต่อการตั้งครรภ์ของ ภรรยา 2 . 2 ค่าตรวจ TPHA กรณีผลการตรวจ VDRL ผิดปกติ จ่ายแบบเหมาจ่ายใน อัตรา 100 บาทต่อการตั้งครรภ์ของภรรยา 4 . บริการป้องกันและ ควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ หน่วยบริการที่สามารถ ให้บริการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ การตรวจ วินิจฉัยทารกในครรภ์ และ การยุติการตั้งครรภ์ 1 . ค่าบริการจัดเก็บเลือดเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดังนี้ 1 . 1 การเจาะเลือดปั่นซีรั่ม จ่ายแบบเหมาจ่าย ในอัตรา 100 บาทต่อ การตั้งครรภ์ หรือ 1 . 2 การเจาะเลือดปั่นซีรั่มพร้อมจัดส่งเลือดเพื่อไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 200 บาทต่อการตั้งครรภ์ 2 . ค่าบริการตรวจ Quadruple test (Beta-HCG, unconjugated estriol, alpha fetoprotein (AFP), inhibin A) 2 . 1 การตรวจ Quadruple test จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 1 , 200 บาทต่อ การตั้งครรภ์ หรือ 2 . 2 การตรวจ Quadruple test โดยจัดบริการไปรับเลือดจากหน่วยบริการ ที่เจาะเลือด จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 1 , 300 บาทต่อการตั้งครรภ์ 3 . การทําหัตถการเพื่อตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ เมื่อผลการตรวจ Quadruple test พบว่ามีความเสี่ยงสูง จ่ายในอัตรา 2 , 500 บาทต่อการตั้งครรภ์ ด้วยวิธีการ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
รายการ กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ หน่วยบริการ แนวทาง เงื่อนไข และอัตราการจ่าย 3 . 1 การเจาะน้ําคร่ํา (Amniocentesis) 3 . 2 การเจาะเลือดทารกจากสายสะดือ (Cordocentesis) 4 . การตรวจสิ่งส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยทารกในครรภ์ โดยการตรวจโครโมโซม จ่ายใน อัตรา 2 , 500 บาท ต่อการตั้งครรภ์ 5 . การยุติการตั้งครรภ์ จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 3 , 000 บาทต่อการตั้งครรภ์ 5 . บริการป้องกันและ ควบคุมภาวะพร่อง ฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH) และโรคฟินิลคีโตนูเรีย (PKU) ในเด็กแรกเกิด เด็กแรกเกิด หน่วยบริการที่สามารถ ให้บริการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ 1 . ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการคัดกรองภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH) และ โรคฟีนิลคีโตนูเรีย (PKU) จ่ายแบบเหมาจ่าย ในอัตรา 135 บาทต่อครั้ง ( รวมค่าส่งสิ่งส่งตรวจ ) 2 . กรณีทารกที่คลอดอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ หรือน้ําหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2 , 500 กรัม หรือคลอดเป็นทารกแฝด หรือเป็นเป็นทารกป่วย ให้ตรวจเพิ่ม อีก 1 ครั้งเมื่ออายุ 2 - 3 สัปดาห์ จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 135 บาทต่อครั้ง ( รวมค่าส่ง ) 3 . ค่าติดตามและค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH) และโรคฟีนิลคีโตนูเรีย (PKU) 3 . 1 รายที่มีผลการตรวจคัดกรอง TSH ผิดปกติ ให้ติดตามและเจาะเลือดตรวจ Free T4 และ TSH เพื่อวินิจฉัยยืนยัน จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 350 บาทต่อครั้ง 3 . 2 รายที่มีผลการตรวจคัดกรอง PKU ผิดปกติ ให้ติดตามและส่งต่อเข้าสู่ระบบ การดูแลโรคหายาก (rare disease)
รายการ กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ หน่วยบริการ แนวทาง เงื่อนไข และอัตราการจ่าย 6 . บริการตรวจคัดกรอง ผู้ป่วยโรคพันธุกรรมเมตา บอลิกด้วยเครื่อง Tandem mass spectrometry (TMS) เด็กแรกเกิด หน่วยบริการที่สามารถ ให้บริการตรวจคัดกรองผู้ป่วย โรคพันธุกรรมเมตาบอลิก ด้วยเครื่อง TMS 1 . ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการคัดกรองโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก ด้วยเครื่อง TMS รวมค่าขนส่ง จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 500 บาทต่อครั้งต่อคน 2 . กรณีทารกที่คลอดอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ หรือ น้ําหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2 , 500 กรัม หรือคลอดเป็นทารกแฝด หรือเป็นทารกป่วย ให้ตรวจเพิ่มอีก 1 ครั้ง เมื่ออายุ 2 - 3 สัปดาห์ จ่ายแบบเหมาจ่ายเพิ่มในอัตรา 500 บาทต่อครั้ง 7 . บริการตรวจหลังคลอด หญิงหลังคลอด หน่วยบริการที่สามารถ ให้บริการตรวจหลังคลอด 1 . ค่าบริการตรวจหลังคลอด จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 150 บาทต่อครั้ง ตามแนวทางที่กรมอนามัยกําหนด ดังนี้ 1 . 1 ครั้งที่ 1 หลังคลอดไม่เกิน 7 วัน 1 . 2 ครั้งที่ 2 บริการตรวจหลังคลอดระหว่างวันที่ 8 - 15 นับถัดจากวันคลอด 1 . 3 ครั้งที่ 3 บริการตรวจหลังคลอดระหว่างวันที่ 16 - 42 นับถัดจากวันคลอด 2 . ค่าบริการยาเสริมธาตุเหล็ก กรดโฟลิก ไอโอดีน จ่ายแบบเหมาจ่ายอัตรา 135 บาทต่อครั้ง ตามมาตรฐานการดูแลผู้รับบริการ ครั้งละ 3 เดือน จ่ายไม่เกิน 2 ครั้งต่อการคลอด 8 . บริการทดสอบการ ตั้งครรภ์ หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่สงสัย ตั้งครรภ์หรือประจําเดือน ไม่มาตามกําหนด หน่วยบริการที่สามารถ ให้บริการทดสอบการตั้งครรภ์ หรือบริการชุดทดสอบการ ตั้งครรภ์ บริการตรวจปัสสาวะทดสอบการตั้งครรภ์หรือบริการชุดทดสอบการตั้งครรภ์ด้วย ตัวเอง สําหรับผู้ที่สงสัยตั้งครรภ์ ( อาการแพ้ท้อง ) หรือประจําเดือนไม่มาตามกําหนด ( ประจําเดือนขาด ) จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 75 บาทต่อครั้ง จ่ายไม่เกิน 4 ครั้ง ต่อคนต่อปี 9 . บริการวางแผน ครอบครัว และการป้องกัน การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ หญิงวัยเจริญพันธุ์ หน่วยบริการที่สามารถ ให้บริการวางแผนครอบครัว หน่วยบริการมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเมื่อให้บริการวางแผนครอบครัวและการป้องกัน การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ตามรายการบริการหรือกิจกรรม ดังนี้ 1 . ค่าบริการยาเม็ดคุมกําเนิด รวมค่าบริการให้คําปรึกษา โดยจ่ายครั้งละไม่เกิน 3 แผง และไม่เกิน 13 แผงต่อคนต่อปี
รายการ กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ หน่วยบริการ แนวทาง เงื่อนไข และอัตราการจ่าย 1 . 1 จ่ายเหมาจ่ายในอัตรา 40 บาทต่อแผง สําหรับยาเม็ดคุมกําเนิด ชนิดฮอร์โมนรวม (Combined Oral Contraceptive – COC) ที่ให้แก่ หญิงปกติทั่วไป 1 . 2 จ่ายเหมาจ่ายในอัตรา 80 บาทต่อแผง สําหรับยาเม็ดคุมกําเนิด ชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (Progestogen-only pill – POP) ที่ให้แก่หญิงให้นม บุตรไม่เกิน 1 ปี 6 เดือนและผู้ที่มีประวัติไมเกรนแบบมีออร่า 2 . ค่าบริการยาฉีดคุมกําเนิด รวมค่าบริการให้คําปรึกษา จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 60 บาทต่อครั้ง ไม่เกิน 5 ครั้งต่อปี 3 . ค่าบริการใส่ห่วงอนามัย จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 800 บาทต่อครั้งต่อปี 4 . ค่าบริการฝังยาคุมกําเนิด จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 2 , 500 บาทต่อครั้ง ทุก 3 ปี อัตรานี้รวมค่าถอดยาฝังคุมกําเนิดออก 5 . ค่าบริการยาเม็ดคุมกําเนิดฉุกเฉิน รวมค่าบริการให้คําปรึกษา จ่ายแบบเหมาจ่าย ในอัตรา 50 บาทต่อแผง ไม่เกิน 2 แผงต่อคนต่อปี วัยเจริญพันธุ์ 1 . หน่วยบริการที่ได้รับงบ เหมาจ่ายรายหัวบริการ สร้างเสริมสุขภาพและป้องกัน โรคสําหรับบริการพื้นฐาน (PP-Capitation) ให้บริการถุงยางอนามัย ครั้งละไม่เกิน 10 ชิ้นต่อคน ไม่เกิน 365 ชิ้นต่อคนต่อปี พร้อมบริการให้คําปรึกษา โดย 1 . สปสช . สนับสนุนเป็นถุงยางอนามัยตามการบันทึกข้อมูลและให้บริการจริงผ่าน เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ 2 . ค่าจัดบริการพร้อมให้คําปรึกษาหรือคําแนะนํา สปสช . จ่ายชดเชยรวมอยู่ในงบ เหมาจ่ายรายหัว แล้ว วัยเจริญพันธุ์ 2 . หน่วยบริการที่ไม่ได้รับงบ เหมาจ่ายรายหัวบริการ สร้างเสริมสุขภาพและป้องกัน ให้บริการถุงยางอนามัย ครั้งละไม่เกิน 10 ชิ้นต่อคน ไม่เกิน 365 ชิ้นต่อคนต่อปี พร้อมบริการให้คําปรึกษา โดย
รายการ กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ หน่วยบริการ แนวทาง เงื่อนไข และอัตราการจ่าย โรคสําหรับบริการพื้นฐาน (PP-Capitation) 1 . สปสช . สนับสนุนเป็นถุงยางอนามัยตามการบันทึกข้อมูลและให้บริการจริงผ่าน เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ 2 . ค่าจัดบริการพร้อมให้คําปรึกษาหรือคําแนะนํา สปสช . จ่ายชดเชยเป็นเงิน ชิ้นละ ไม่เกิน 1 บาท ไม่เกิน 10 บาทต่อครั้ง 10 . บริการป้องกันการยุติ การตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย หญิงที่จําเป็นต้องยุติการ ตั้งครรภ์ตามเงื่อนไขของ ประมวลกฎหมายอาญาและ ข้อบังคับแพทยสภา หน่วยบริการที่ให้บริการ ต้องมีผู้ประกอบวิชาชีพ เวชกรรม สามารถให้บริการ ยุติการตั้งครรภ์ และขึ้น ทะเบียนเป็นหน่วยบริการ ที่มีศักยภาพในการให้บริการ ยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา กับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข หากให้บริการยุติการตั้งครรภ์ ด้วยยา หน่วยบริการมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเมื่อให้บริการยุติการตั้งครรภ์แก่หญิงตั้งครรภ์ที่ จําเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์ โดยเป็นค่าบริการยุติการตั้งครรภ์ซึ่งจ่ายเพิ่มเติมจากการ จ่ายในระบบปกติ ทั้งกรณีผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 3 , 000 บาทต่อการตั้งครรภ์ ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้ 1 . วิธีใช้ยามิฟิพริสโตนและไมโซพรอสตอลชนิดบรรจุในแผงเดียวกัน (Misoprostol 200 mcg + Mifepristone 200 mg combination pack) 2 . วิธีศัลยกรรม ได้แก่ การใช้กระบอกดูดสูญญากาศ (Manual Vacuum Aspiration: MVA), การใช้เครื่องดูดสูญญากาศไฟฟ้า (Electric Vacuum Aspiration: EVA) การจ่ายค่าใช้จ่ายบริการยุติการตั้งครรภ์ จะไม่รวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ 1 . การยุติการตั้งครรภ์จากกรณีคัดกรองพบว่าทารกในครรภ์มีความผิดปกติ ในกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม หรือโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย 2 . การรักษาภาวะ Blighted ovum, Molar pregnancy, Dead fetus in utero 3 . ผู้ป่วยที่มารักษาในกรณี Incomplete abortion 4 . ค่ายามิฟิพริสโตนและไมโซพรอสตอล ซึ่งหน่วยบริการเบิกได้ตามแนวทาง ที่กรมอนามัยกําหนด โดยเบิกยาผ่านโปรแกรมระบบบัญชียา
รายการ กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ หน่วยบริการ แนวทาง เงื่อนไข และอัตราการจ่าย 11 . บริการแว่นตาเด็กที่มี สายตาผิดปกติ เด็กอายุ 3 – 12 ปี หรือกําลังศึกษาใน ชั้นอนุบาล 1 ถึง ประถมศึกษาปีที่ 6 หน่วยบริการที่สามารถ ให้บริการแว่นตาสําหรับเด็ก ที่มีสายตาผิดปกติ หน่วยบริการมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเมื่อให้บริการจ่ายแว่นตาแก่เด็กที่มีสายตาผิดปกติ คนละไม่เกิน 1 อันต่อปี และมีการตรวจติดตามหลังจ่ายแว่นตา 6 เดือน สํานักงานจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สําหรับเป็นค่าเลนส์ ค่ากรอบแว่น รวมอุปกรณ์และค่าประกอบแว่นตา โดยอิงตามประเภทของเลนส์ที่ใช้ 1 . เลนส์สายตาผิดปกติทั่วไป (Stock lens) ใช้สําหรับเด็กที่มีค่าสายตา ช่วง - 6 . 0 ถึง + 6 . 0 หรือ สายตาเอียงไม่เกิน - 2 . 0 D จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 600 บาทต่อคนต่อปี 2 . เลนส์สายตาผิดปกติที่ต้องสั่งตัดพิเศษ (Lab Lens) ใช้สําหรับเด็กที่มีค่าสายตา ผิดปกติ ที่มีกําลังเลนส์เกินช่วงเลนส์สายตาผิดปกติทั่วไป ( ตาม 1 .) หรือมีปัญหา ความผิดปกติทางตาด้านอื่นที่สามารถแก้ไขได้ด้วยแว่นตา จ่ายแบบเหมาจ่าย ในอัตรา 600 บาทต่อคนต่อปี 12 . บริการตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก หญิง อายุ 30 - 59 ปี หรือ อายุ 15 - 29 ปี ที่มีความ เสี่ยงสูง ได้แก่ มีเพศสัมพันธ์ ตั้งแต่อายุน้อย มีคู่นอนหลาย คน ไม่ใช้ถุงยางอนามัย 1 . หน่วยบริการที่สามารถ ให้บริการตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก 2 . หน่วยบริการที่ให้บริการ ตรวจคัดกรองด้วยวิธี VIA ต้องเป็นหน่วยบริการเดิม ที่เคยดําเนินการอยู่ใน 32 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด ร้อยเอ็ด หนองคาย บึง กาฬ อํานาจเจริญ ยโสธร หน่วยบริการมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเมื่อให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่ กลุ่มเป้าหมายคนละ 1 ครั้งทุก 5 ปี ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง (HPV DNA test, Pap smear, VIA) เว้นแต่กลุ่มเป้าหมายต้องการตรวจคัดกรองด้วยวิธี HPV DNA test ถ้า ไม่เคยตรวจด้วยวิธีนี้มาก่อน ให้สามารถตรวจได้เลยหรือในปีถัดไปหลังจากการตรวจ ด้วยวิธีอื่น ดังนี้ 1 . บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA test รวมถึงการเก็บสิ่ง ส่งตรวจจากช่องคลอดด้วยตัวเอง (HPV self-sampling) จ่ายตามรายการบริการ หรือกิจกรรม ดังนี้ 1 . 1 ค่าบริการเก็บตัวอย่าง จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 50 บาทต่อครั้ง
รายการ กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ หน่วยบริการ แนวทาง เงื่อนไข และอัตราการจ่าย สุราษฎร์ธานี อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช น่าน เพชรบูรณ์ ตาก กระบี่ ลพบุรี สระแก้ว สมุทรปราการ สระบุรี แม่ฮ่องสอน ตรัง สตูล สมุทรสาคร ชัยนาท พิษณุโลก นครสวรรค์ นครราชสีมา ราชบุรี ชลบุรี อุบลราชธานี ขอนแก่น ยะลา กําแพงเพชร และจังหวัด มุกดาหารเฉพาะอําเภอ นิคมคําสร้อย 1 . 2 ค่าชุดน้ํายาตรวจ อุปกรณ์ชุดเก็บสิ่งส่งตรวจโดยผู้ให้บริการ หรือผู้รับบริการ เก็บด้วยตัวเอง รวมการวางระบบดําเนินงานการออกรายงานผล กรณีใช้น้ํายาตรวจชนิดสองสายพันธุ์ (HPV 16 18 and other types) จ่ายแบบเหมาจ่าย ในอัตรา 280 บาทต่อครั้ง 1 . 3 ค่าชุดน้ํายาตรวจ อุปกรณ์ชุดเก็บสิ่งส่งตรวจโดยผู้ให้บริการ หรือผู้รับบริการ เก็บด้วยตัวเอง รวมการวางระบบดําเนินงานการออกราย งานผล กรณีใช้ น้ํายาตรวจชนิด 14 สายพันธุ์ (HPV 14 high risk types) จ่ายแบบเหมา จ่าย ในอัตรา 370 บาทต่อครั้ง 2 . บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear หรือวิธี VIA ( เฉพาะ อายุ 30 - 45 ปี ) จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 250 บาทต่อครั้ง 3 . ค่าบริการตรวจทางเซลล์วิทยาด้วยวิธี Liquid based cytology ถ้าผลตรวจ HPV เป็นชนิด non 16/18 จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 250 บาทต่อครั้ง 4 . ค่าบริการตรวจติดตามซ้ําด้วยวิธี Pap smear ภายใน 1 ปีหลังผลตรวจ Liquid based cytology เป็นลบ จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 250 บาทต่อครั้ง 5 . ค่าบริการตรวจยืนยันด้วยวิธี Colposcopy รวมการตัดชิ้นเนื้อ (Biopsy หรือ LEEP) และตรวจทางพยาธิวิทยา จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 900 บาทต่อครั้ง 13 . บริการคัดกรองรอย โรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็ง ช่องปาก (CA Oral Screening) ผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไป หน่วยบริการ ที่สามารถ ให้บริการคัดกรองรอยโรค เสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก โดยแพทย์ หรือทันตแพทย์ บริการตัดและตรวจชิ้นเนื้อ ซึ่งประกอบด้วยค่า biopsy และค่าตรวจทางพยาธิ วิทยา โดยจ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 600 บาทต่อครั้ง
รายการ กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ หน่วยบริการ แนวทาง เงื่อนไข และอัตราการจ่าย 14 . บริการตรวจคัดกรอง และค้นหาวัณโรคในกลุ่ม เสี่ยงสูง ผู้มีความเสี่ยงสูงต่อการติด เชื้อวัณโรค 7 กลุ่ม ได้แก่ 1 . ผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคปอด 2 . ผู้ต้องขัง ผู้อาศัยในสถาน คุ้มครองและพัฒนาคนพิการ / สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 3 . ผู้ติดเชื้อเอชไอวี 4 . ผู้ป่วยโรคที่ทําให้ภูมิคุ้มกัน ลดลง ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวานที่ ควบคุมระดับน้ําตาลไม่ได้ (HbA1C มากกว่าหรือ เท่ากับ 7 mg %) ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง หรือ ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน 5 . ผู้สูงอายุมากกว่าหรือ เท่ากับ 65 ปี ที่สูบบุหรี่ หรือ มีโรคร่วมปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือ มีโรคร่วมเบาหวาน 6 . ผู้ใช้สารเสพติด ติดสุรา เรื้อรัง 7 . บุคลากรสาธารณสุข หน่วยบริการ ที่สามารถ ให้บริการคัดกรองและค้นหา วัณโรค 1 . บริการตรวจคัดกรองวัณโรคด้วยวิธีการถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest-X-ray: CXR) จ่ายในอัตรา 100 บาทต่อครั้ง ไม่เกิน 1 ครั้งต่อคนต่อปี 2 . บริการตรวจคัดกรองวัณโรค ในกลุ่มผู้มีอาการสงสัยวัณโรค ด้วยวิธีอณูชีววิทยา (Molecular testing) ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ไม่เกิน 1 ครั้ง ต่อคนต่อปี ตามข้อ 2 . 1 - 2 . 4 2 . 1 TB-LAMP จ่ายในอัตรา 200 บาทต่อครั้ง หรือ 2 . 2 Real-time PCR (Xpert MTB/RIF) จ่ายในอัตรารวม 500 บาทต่อครั้ง - วินิจฉัยวัณโรค / ตรวจหาเชื้อ MTB อัตรา 400 บาทต่อครั้ง - ตรวจหาเชื้อดื้อยา Rifampicin ( ชนิดเดียว ) อัตรา 100 บาทต่อครั้ง 2 . 3 Real-time PCR MTB/MDR จ่ายในอัตรารวม 600 บาทต่อครั้ง - วินิจฉัยวัณโรค / ตรวจหาเชื้อ MTB อัตรา 400 บาทต่อครั้ง - ตรวจหาเชื้อดื้อยา INH + Rifampicin ( 2 ชนิด ) อัตรา 200 บาทต่อครั้ง 2 . 4 Line Probe Assay (LPA) จ่ายในอัตรารวม 600 บาทต่อครั้ง - วินิจฉัยวัณโรค / ตรวจหาเชื้อ MTB อัตรา 400 บาท ต่อครั้ง - ตรวจหาเชื้อดื้อยา INH + Rifampicin ( 2 ชนิด ) อัตรา 200 บาทต่อครั้ง 3 . กรณีที่พบผลตรวจ TB-LAMP เป็นผู้ป่วยวัณโรค ให้ตรวจหาเชื้อดื้อยา Rifampicin ( ชนิดเดียว ) หรือ INH+ Rifampicin ( 2 ชนิด ) เพื่อวินิจฉัยวัณโรคดื้อ ยา First- line drugs 4 . หากตรวจพบผลดื้อยา First - line drugs ให้บริการตรวจวินิจฉัยวัณโรคดื้อยา Second - line drugs กรณีเป็นผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา (RR/MDR-TB) จ่ายในอัตรา 700 บาทต่อครั้ง โดยเลือกวิธีใดวิธีหนึ่ง จากรายการดังนี้ 4 . 1 Line Probe Assay (FQ และ AG/CP) หรือ
รายการ กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ หน่วยบริการ แนวทาง เงื่อนไข และอัตราการจ่าย 4 . 2 Real-time PCR MTB/XDR (FQ และ AG/CP) 5 . กรณีไม่สามารถวินิจฉัยวัณโรคตามข้อ 2 ให้ตรวจด้วย AFB และ / หรือตรวจ เพาะเลี้ยงเชื้อวัณโรค (Culture) 5 . 1 ตรวจด้วยวิธี AFB อัตรา 20 บาทต่อครั้ง ไม่เกิน 3 ครั้งต่อคนต่อปี 5 . 2 ตรวจด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเชื้อ Culture ไม่เกิน 1 ครั้งต่อคนต่อปี - เทคนิค Solid media อัตรา 200 บาทต่อครั้ง - เทคนิค Liquid media อัตรา 300 บาทต่อครั้ง 15 . บริการคัดกรองและ ประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อ สุขภาพกาย / สุขภาพจิต ผู้มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป หน่วยบริการ ที่สามารถ ให้บริการคัดกรองและ ประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ กาย / สุขภาพจิต หน่วยบริการมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเมื่อให้บริการคัดกรองและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อ สุขภาพกาย / สุขภาพจิต ตามช่วงอายุและรายการบริการหรือกิจกรรม ดังนี้ 1 . ผู้มีอายุ 15 - 34 ปี จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 100 บาทต่อครั้งต่อคนต่อปี โดยให้บริการครบทุกรายการ ดังนี้ 1 . 1 ประเมินดัชนีมวลกาย ( ชั่งน้ําหนัก วัดส่วนสูง เส้นรอบเอว ) 1 . 2 ตรวจวัดความดันโลหิต 1 . 3 คัดกรองความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการเสพ สารเสพติด 1 . 4 ประเมินภาวะเครียด - ซึมเศร้า 1 . 5 การให้คําปรึกษาและแนะนําปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายบุคคล หากเป็นกลุ่ม เสี่ยงให้ประสานส่งต่อหรือนัดหมายพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและสั่งการ รักษา หรือแนะนําการเข้ารับบริการตามสิทธิ ( รายละเอียดการประเมินตามเอกสารหมายเลข 4 แนบท้ายประกาศนี้ ) 2 . ผู้มีอายุ 35 - 59 ปี จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 150 บาทต่อครั้งต่อคนต่อปี โดยให้บริการครบทุกรายการ ดังนี้
รายการ กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ หน่วยบริการ แนวทาง เงื่อนไข และอัตราการจ่าย 2 . 1 ประเมินดัชนีมวลกาย ( ชั่งน้ําหนัก วัดส่วนสูง เส้นรอบเอว ) 2 . 2 ตรวจวัดความดันโลหิต 2 . 3 คัดกรองความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการเสพ สารเสพติด 2 . 4 ประเมินภาวะเครียด - ซึมเศร้า 2 . 5 ตรวจประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และหรือเจาะเลือดปลาย นิ้วตรวจระดับน้ําตาล (FCG) 2 . 6 ตรวจประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (Thai CV score) 2 . 7 การให้คําปรึกษาและแนะนําปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายบุคคล หากเป็น กลุ่มเสี่ยงให้ประสานส่งต่อหรือนัดหมายพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและ สั่งการรักษา หรือแนะนําการเช้ารับบริการตามสิทธิ ( รายละเอียดการประเมินตามเอกสารหมายเลข 4 แนบท้ายประกาศนี้ ) 3 . ค่าบริการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดําและตรวจวัดระดับน้ําตาล ภายหลังอด อาหาร 8 ชั่วโมง (Fasting Plasma Glucose: FPG) จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 40 บาทต่อครั้งต่อปี สําหรับผู้มีอายุ 35 - 59 ปี ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ตามการประเมินความเสี่ยงในข้อ 2 . 5 หรือเป็นกลุ่มเสี่ยงตามหมายเหตุ ใน ประกาศ ฯ ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข ( ยกเว้นรายที่มีประวัติการ รักษาโรคเบาหวาน ) 4 . ค่าบริการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดําและตรวจวัด Total Cholesterol และ HDL ภายหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 160 บาทต่อครั้ง คนละ 1 ครั้งทุก 5 ปี สําหรับผู้มีอายุ 45 - 70 ปี ( ยกเว้น รายที่มีประวัติการรักษาโรคไขมันผิดปกติ )
รายการ กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ หน่วยบริการ แนวทาง เงื่อนไข และอัตราการจ่าย 16 . บริการตรวจคัดกรอง ยีนกลายพันธุ์โรคมะเร็งเต้า นม BRCA1/BRCA2 ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่เป็น ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความ เสี่ยงสูงและญาติสายตรงที่มี ประวัติครอบครัวตรวจพบ ยีนกลายพันธุ์ โดยคุณสมบัติ กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับบริการ ตรวจ เป็นไปตามเอกสาร หมายเลข 3 แนบท้าย ประกาศนี้ หน่วยบริการที่สามารถ ให้บริการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้า นมและหรือตรวจยีน BRCA1/BRCA2 1 . บริการประเมินความเสี่ยงทางพันธุกรรม บริการให้คําปรึกษาก่อนและหลังการ ส่งตรวจทางพันธุกรรม บริการเก็บตัวอย่าง ( เลือด ) และจัดส่งตัวอย่างไปยังหน่วย บริการที่ตรวจยีน จ่ายแบบเหมาจ่ายคนละ 1 ครั้ง ในอัตรา 500 บาท 2 . บริการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 2 . 1 ค่าบริการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 สําหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความ เสี่ยงสูง คนละ 1 ครั้ง จ่ายตามจริงไม่เกิน 10 , 000 บาท 2 . 2 ค่าบริการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 สําหรับญาติสายตรงของผู้ป่วยมะเร็ง เต้านมที่ตรวจพบความผิดปกติของยีน BRCA1/BRCA2 คนละ 1 ครั้ง จ่าย ตามจริงไม่เกิน 2 , 500 บาท 17 . บริการคัดกรองโลหิต จางจากการขาดธาตุเหล็ก หญิงอายุ 13 - 24 ปี หน่วยบริการที่สามารถ ให้บริการคัดกรองโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก ค่าบริการเจาะเลือดและตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (CBC) 1 ครั้ง จ่ายในอัตรา 65 บาทต่อคน 18 . บริการยาเม็ดเสริมธาตุ เหล็กและกรดโฟลิค หญิงอายุ 13 - 45 ปี หน่วยบริการที่สามารถ ให้บริการยาเม็ดเสริมธาตุ เหล็กและกรดโฟลิค ค่าบริการยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและกรดโฟลิค คนละ 1 ครั้งต่อปี ตามมาตรฐานการ ดูแลผู้รับบริการ จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 80 บาท / ครั้ง 19 . บริการวัคซีนคอตีบ - บาดทะยัก (dT) ในผู้ใหญ่ ผู้มีอายุ 25 ปีขึ้นไปที่ไม่เคย ได้รับวัคซีนนี้ในรอบ 10 ปีที่ ผ่านมา หน่วยบริการที่สามารถ ให้บริการฉีดวัคซีน ค่าบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยัก คนละ 1 ครั้งทุก 10 ปี จ่าย แบบเหมาจ่ายในอัตรา 20 บาทต่อครั้ง 20 . บริการเคลือบ ฟลูออไรด์ ( กลุ่มสี่ยง ) ผู้มีอายุ 25 - 59 ปี ที่เป็น กลุ่มเสี่ยงต่อโรคฟันผุ หน่วยบริการ ที่สามารถ ให้บริการทันตกรรมส่งเสริม ป้องกัน ค่าบริการเคลือบฟลูออไรด์ชนิดเข้มข้นสูงเฉพาะที่ ( มีปริมาณฟลูออไรด์ 22 , 600 ppm) รวมค่าบริการให้คําปรึกษา จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 100 บาทต่อครั้ง คนละไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี สําหรับกลุ่มเสี่ยงต่อโรคฟันผุ ได้แก่ ผู้ที่มีภาวะน้ําลายแห้ง จากการรักษามะเร็ง ด้วยการฉายแสงบริเวณใบหน้าและลําคอ หรือ จากการกินยา
รายการ กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ หน่วยบริการ แนวทาง เงื่อนไข และอัตราการจ่าย รักษาโรคทางระบบที่ส่งผลให้น้ําลายแห้งติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือ สาเหตุอื่นๆ รวมทั้งผู้ที่มีเหงือกร่น รากฟันโผล่ ที่ยากต่อการทําความสะอาด 21 . บริการตรวจคัดกรอง มะเร็งลําไส้ใหญ่และลําไส้ ตรง (Fit test) ผู้มีอายุ 50 - 70 ปี หน่วยบริการ ที่สามารถ ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็ง ลําไส้ใหญ่และลําไส้ตรง ด้วย วิธี FIT Test ค่าบริการตรวจคัดกรองมะเร็งลําไส้ใหญ่และลําไส้ตรง ด้วยวิธีการตรวจหาเลือดแฝง ในอุจจาระ (FIT Test) และให้คําปรึกษาแนะนํา จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 60 บาทต่อครั้ง คนละ 1 ครั้งทุก 2 ปี 22 . บริการฉีดวัคซีนวัคซีน ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง 7 กลุ่ม ดังนี้ 1 . หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป ( ให้บริการฉีด ได้ตลอดทั้งปี ) 2 . เด็กอายุ 6 เดือน - 2 ปี 3 . ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ( ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไต วายผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ ระหว่างการได้รับเคมีบําบัด และเบาหวาน ) 4 . ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป 5 . ผู้พิการทางสมองที่ช่วย เหลือตนเองไม่ได้ 6 . โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มี ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ( รวมผู้ติด หน่วยบริการ ที่สามารถ ให้บริการฉีดวัคซีน ค่าบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ สําหรับผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเสี่ยง จ่าย แบบเหมาจ่ายอัตรา 20 บาทต่อครั้ง
รายการ กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ หน่วยบริการ แนวทาง เงื่อนไข และอัตราการจ่าย เชื้อ HIV ที่มีอาการ ) 7 . โรคอ้วน ( น้ําหนัก ≥ 100 กิโลกรัม หรือ BMI ≥ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร )
เอกสารหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสําหรับบริการพื้นฐาน จ่ายตามรายการบริการ พ . ศ . 2566 ลงวันที่ 20 มกราคม พ . ศ . 2566 การบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่าย การกําหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบและตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการจากหน่วยบริการ รายการบริการ การบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่าย การกําหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบและตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการ จากหน่วยบริการ 1 . บริการฝากครรภ์ ผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบ ข้อมูลของหน่วยบริการกับสํานักงาน (Application Programming Interface : API) หรือผ่านระบบบันทึกข้อมูลและ ประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ (e-Claim) หรือส่งข้อมูลตามชุดข้อมูล มาตรฐาน ตามที่สํานักงานกําหนด 1 . บริการการฝากครรภ์ ตรวจสอบพบหลักฐานการให้บริการฝากครรภ์ 2 . บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการสําหรับการฝากครรภ์จะได้รับการจ่ายชดเชย ค่าบริการแบบเหมาจ่าย 600 บาท ตรวจสอบพบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และมีรายการครบทุกรายการ ดังนี้ ( ก ) CBC-Hb/Hct ( ข ) MCV และหรือ DCIP ( ค ) Blood group: ABO/Rh ( ง ) VDRL ( จ ) HIV antibody ( ฉ ) Hepatitis B 3 . บริการการตรวจทางห้องปฏิบัติการ HIV antibody และ VDRL ที่ส่งตรวจในช่วง ที่อายุครรภ์ใกล้ครบกําหนด โดยตรวจสอบพบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่มี วันที่ส่งตรวจ หรือรายงานผลตรวจสอดคล้องกับการตั้งครรภ์ ตามรายการที่เรียกเก็บ ค่าใช้จ่าย 4 . บริการการตรวจอัลตราซาวด์ทารกในครรภ์ ตรวจสอบพบผลการตรวจอัลตราซาวด์ ทารกในครรภ์
รายการบริการ การบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่าย การกําหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบและตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการ จากหน่วยบริการ 5 . บริการการตรวจสุขภาพช่องปาก ขัดและทําความสะอาดฟันในหญิงตั้งครรภ์ ตรวจสอบพบหลักฐานการให้บริการครบทุกข้อ ดังนี้ 5 . 1 หลักฐานการให้บริการตรวจสุขภาพช่องปาก 5 . 2 หลักฐานการให้บริการขัดและทําความสะอาดฟัน ทั้งนี้หลักฐานการให้บริการ ในข้อ 5 ที่ตรวจสอบพบ ไม่จําเป็นต้องเป็นการให้บริการ ในวันเดียวกัน 2 . บริการการป้องกันและ ควบคุมโรคโลหิตจางธาลัสซี เมียในหญิงตั้งครรภ์ ผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบ ข้อมูลของหน่วยบริการกับสํานักงาน (Application Programming Interface : API) หรือบันทึกข้อมูล ผ่านระบบบูรณาการ การตรวจคัดกรองหญิงตั้งครรภ์และทารก แรกเกิด National Perinatal Registry Portal) http//:nprp.nhso.go.th หรือส่ง ข้อมูลตามชุดข้อมูลมาตรฐาน ตามที่ สํานักงานกําหนด ตรวจสอบพบรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในวิธีต่าง ๆ ที่มีวันที่ส่งตรวจ หรือรายงานผลการตรวจที่สอดคล้องกับการตั้งครรภ์ และพบหลักฐานการทําหัตถการ การตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ หรือการยุติการตั้งครรภ์ ตามรายการที่เรียกเก็บ ค่าใช้จ่าย 3 . บริการการคัดกรองธาลัสซี เมียและการคัดกรองซิฟิลิส ใ น สำ มี ห รื อ คู่ ข อ ง ห ญิ ง ตั้งครรภ์ ผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบ ข้อมูลของหน่วยบริการกับสํานักงาน (Application Programming Interface : API) หรือบันทึกข้อมูล ผ่านระบบบูรณาการ 1 . ตรวจสอบพบหลักฐานหรือบันทึกการตั้งครรภ์ของภรรยา และพบผลการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการตามรายการที่หน่วยบริการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย โดยมีวันที่ส่งตรวจ หรือรายงานผลตรวจสอดคล้องกับการตั้งครรภ์ของภรรยา 2 . ตรวจสอบพบผลการตรวจคัดกรอง VDRL ผิดปกติร่วมด้วย ในกรณีที่หน่วยบริการ เรียกเก็บค่าใช้จ่ายค่าตรวจ TPHA
รายการบริการ การบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่าย การกําหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบและตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการ จากหน่วยบริการ การตรวจคัดกรองหญิงตั้งครรภ์และทารก แรกเกิด National Perinatal Registry Portal) http//:nprp.nhso.go.th หรือส่ง ข้อมูลตามชุดข้อมูลมาตรฐาน ตามที่ สํานักงานกําหนด 4 . บริการป้องกันและควบคุม กลุ่มอาการดาวน์ในหญิง ตั้งครรภ์ ผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบ ข้อมูลของหน่วยบริการกับสํานักงาน (Application Programming Interface : API) หรือบันทึกข้อมูล ผ่านระบบบูรณาการ การตรวจคัดกรองหญิงตั้งครรภ์และทารก แรกเกิด National Perinatal Registry Portal) http//:nprp.nhso.go.th หรือส่ง ข้อมูลตามชุดข้อมูลมาตรฐาน ตามที่ สํานักงานกําหนด ตรวจสอบพบรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการสําหรับการตรวจ Quadruple test หรือรายงานผลการตรวจโครโมโซมยืนยันทารกในครรภ์ ที่มีวันที่ส่งตรวจ หรือ รายงานผลการตรวจที่สอดคล้องกับการตั้งครรภ์ พบหลักฐานบันทึกการทําหัตถการ ของการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ หรือการยุติการตั้งครรภ์ ตามรายการที่เรียกเก็บ ค่าใช้จ่าย 5 . บริการป้องกันและควบคุม ภาวะพร่องฮอร์โมน ไทรอยด์ (TSH) และโรคฟิ นิลคีโตนูเรีย (PKU) ในเด็ก แรกเกิด ผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบ ข้อมูลของหน่วยบริการกับสํานักงาน (Application Programming Interface : API) หรือบันทึกข้อมูล ผ่านระบบบูรณาการ การตรวจคัดกรองหญิงตั้งครรภ์และทารก 1 . ตรวจสอบพบรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการตามรายการที่หน่วยบริการ เรียกเก็บค่าใช้จ่าย 2 . กรณีที่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 2 ครั้ง ต้องพบ หลักฐานทารกที่คลอดอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ หรือ มีน้ําหนักแรกเกิด น้อยกว่า 2 , 500 กรัม หรือคลอดเป็นทารกแฝด หรือเป็นทารกป่วย
รายการบริการ การบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่าย การกําหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบและตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการ จากหน่วยบริการ แรกเกิด National Perinatal Registry Portal) http//:nprp.nhso.go.th หรือส่ง ข้อมูลตามชุดข้อมูลมาตรฐาน ตามที่ สํานักงานกําหนด 3 . พบรายงานผลการตรวจ Free T4 และ TSH ในรายที่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายกรณี การตรวจติดตามและยืนยันภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ 6 . การตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรค พันธุกรรมเมตาบอลิกด้วย เครื่อง Tandem mass spectrometry (TMS) บันทึกและส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายผ่าน ระบบบูรณาการการตรวจคัดกรองหญิง ตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด (National Perinatal Registry Portal) http//:nprp.go.th หรือผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform หรือ เชื่อมต่อข้อมูลจากระบบข้อมูลของหน่วย บริการกับสํานักงาน (Application Programming Interface : API) หรือส่ง ข้อมูลตามชุดข้อมูลมาตรฐาน ตามที่ สํานักงานกําหนด 1 . พบรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการคัดกรองโรคพันธุกรรมเมตาบอลิค ด้วยเครื่อง Tandem mass spectrometry (TMS) ตามจํานวนครั้งที่เรียกเก็บ ค่าใช้จ่าย 2 . กรณีที่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 2 ครั้ง ต้องพบหลักฐาน ทารกที่คลอดอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ หรือ มีน้ําหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2 , 500 กรัม หรือคลอดเป็นทารกแฝด หรือเป็นทารกป่วย 7 . การตรวจหลังคลอด ผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบ ข้อมูลของหน่วยบริการกับสํานักงาน (Application Programming Interface : API) หรือผ่านระบบบันทึกข้อมูลและ ประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ 1 . ตรวจสอบพบหลักฐานหรือบันทึกวันที่คลอดบุตรและบริการการตรวจหลังคลอด ที่อยูในช่วง 1 . 1 หลังคลอดไม่เกิน 7 วัน 1 . 2 วันที่ 8 - 15 นับถัดจากวันที่คลอดบุตร 1 . 3 วันที่ 16 - 42 นับถัดจากวันที่คลอดบุตร
รายการบริการ การบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่าย การกําหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบและตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการ จากหน่วยบริการ (e-Claim) หรือส่งข้อมูลตามชุดข้อมูล มาตรฐาน ตามที่สํานักงานกําหนด 2 . ตรวจพบหลักฐานการจ่ายยาเสริมธาตุเหล็ก ไอโอดีนและกรดโฟลิก ตามจํานวน ครั้งที่หน่วยบริการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อการคลอด 8 . การทดสอบการตั้งครรภ์ ผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบ ข้อมูลของหน่วยบริการกับสํานักงาน (Application Programming Interface : API) หรือผ่านระบบบันทึกข้อมูลและ ประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ (e-Claim) หรือส่งข้อมูลตามชุดข้อมูล มาตรฐาน ตามที่สํานักงานกําหนด 1 . ตรวจสอบพบหลักฐานหรือบันทึกผลการตรวจปัสสาวะสําหรับการทดสอบการ ตั้งครรภ์ หรือหลักฐานการให้บริการชุดทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตนเอง ตาม จํานวนครั้งที่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย 2 . จํานวนครั้งของการให้บริการต่อปี เป็นไปตามที่สํานักงานกําหนด 9 . บริการวางแผนครอบครัว และการป้องกันการ ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบ ข้อมูลของหน่วยบริการกับสํานักงาน (Application Programming Interface : API) หรือผ่านระบบบันทึกข้อมูลและ ประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ (e-Claim) หรือส่งข้อมูลตามชุดข้อมูล มาตรฐาน ตามที่สํานักงานกําหนด 1 . ตรวจสอบพบหลักฐานการให้บริการตามรายการที่หน่วยบริการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย สําหรับการให้บริการยาเม็ดคุมกําเนิด ยาฉีดคุมกําเนิด บริการใส่ห่วงอนามัย บริการฝังยาคุมกําเนิดยาเม็ดคุมกําเนิดฉุกเฉิน และบริการจ่ายถุงยางอนามัย 2 . เงื่อนไขของการให้บริการเป็นไปตามที่สํานักงานกําหนด 10 . บริการป้องกันการยุติการ ตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย 1 . ค่าใช้จ่ายในการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ ปลอดภัยค่าใช้จ่ายในการยุติการตั้งครรภ์ ที่ไม่ปลอดภัย ผ่านระบบ Krungthai 1 . ตรวจสอบพบบันทึกการสั่งยาโดยแพทย์ และใช้ยามิฟิพริสโตนและไมโซพรอส ตอลชนิดบรรจุในแผงเดียวกัน (Misoprostol 200 mcg + Mifepristone 200
รายการบริการ การบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่าย การกําหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบและตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการ จากหน่วยบริการ Digital Health Platform หรือเชื่อมต่อ ข้อมูลจากระบบข้อมูลของหน่วยบริการ กับสํานักงาน (Application Programming Interface : API) หรือ ผ่านระบบบันทึกข้อมูลและประมวลผล ข้อมูลการบริการทางการแพทย์ (e-Claim) หรือส่งข้อมูลตามชุดข้อมูล มาตรฐาน ตามที่สํานักงานกําหนด 2 . กรณียามิฟิพริสโตนและไมโซพรอสตอล ชนิดบรรจุในแผงเดียวกันส่งข้อมูลผ่าน โปรแกรมระบบบัญชียา ( http :// drug . nhso . go . th / drugserver ) mg combination pack) ในกรณีขอเรียกเก็บค่าใช้จ่ายบริการยุติการตั้งครรภ์ ด้วยยามิฟิพริสโตนและไมโซพรอสตอลชนิดบรรจุในแผงเดียวกัน 2 . ตรวจสอบพบบันทึกการทําหัตถการตามรายการที่ขอเรียกเก็บค่าใช้จ่าย กรณีขอ เรียกเก็บค่าใช้จ่ายบริการยุติการตั้งครรภ์ด้วยวิธีทางศัลยกรรม (MVA, EVA) 3 . ไม่ได้เป็นบริการการยุติการตั้งครรภ์จากกรณีคัดกรองพบว่าทารกในครรภ์มีความ ผิดปกติในกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมและโลหิตจางธาลัสซีเมีย และไม่ได้เป็นการ รักษา blighted ovum, molar pregnancy, dead fetus in utero และ incomplete abortion 11 . บริการแว่นตาเด็กที่มี สายตาผิดปกติ ผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบ ข้อมูลของหน่วยบริการกับสํานักงาน (Application Programming Interface : API) หรือผ่านระบบโปรแกรมการส่งข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อ บริการสาธารณสุข (e-Claim) หรือส่งข้อมูล ตรวจสอบพบหลักฐานการให้บริการแว่นตา (Stock Lens/Lab Lens) อุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องตามรายการที่หน่วยบริการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย และสอดคล้องกับบันทึกผล การตรวจระดับสายตา ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด
รายการบริการ การบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่าย การกําหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบและตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการ จากหน่วยบริการ ตามชุดข้อมูลมาตรฐาน ตามที่สํานักงาน กําหนด 12 . บริการการตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก ผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบ ข้อมูลของหน่วยบริการกับสํานักงาน (Application Programming Interface : API) หรือผ่านระบบบันทึกข้อมูลและ ประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ (e-Claim) หรือส่งข้อมูลตามชุดข้อมูล มาตรฐาน ตามที่สํานักงานกําหนด 1 . บริการการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear ตรวจสอบพบ หลักฐานการให้บริการตรวจ Pap smear และรายงานผลการตรวจ Pap smear ที่เป็น official report 2 . บริการการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี VIA 2 . 1 หน่วยบริการที่ให้บริการต้องเป็นหน่วยบริการเดิมที่เคยดําเนินการอยู่ใน 32 จังหวัดตามที่กําหนด 2 . 2 พบบันทึกหลักฐานการให้บริการตรวจ VIA และพบการบันทึกผลการตรวจ VIA 3 . บริการการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA test 3 . 1 ตรวจสอบพบหลักฐานการให้บริการการเก็บตัวอย่างตรวจ HPV DNA test หรือให้ชุดเก็บสิ่งส่งตรวจจากช่องคลอดด้วยตนเอง (HPV self-sampling) ในกรณีที่ เรียกเก็บค่าใช้จ่ายค่าบริการเก็บตัวอย่าง 3 . 2 ตรวจสอบพบรายงานผลการตรวจ HPV DNA test ที่เป็น official report ในกรณีที่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ 3 . 3 ตรวจสอบพบบันทึกหลักฐานการให้บริการการตรวจ HPV DNA test และ รายงานผลการตรวจ HPV DNA test ที่เป็น official report ในกรณีที่เรียกเก็บ ค่าใช้จ่ายค่าบริการเก็บตัวอย่าง และค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ 4 . บริการการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Liquid based cytology ตรวจสอบพบรายงานผลการตรวจ Liquid based cytology ที่เป็น official report
รายการบริการ การบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่าย การกําหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบและตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการ จากหน่วยบริการ 5 . บริการการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Colposcope รวมตัดชิ้นเนื้อ (Biopsy/LEEP) และตรวจทางพยาธิวิทยา 5 . 1 ตรวจสอบพบหลักฐานการให้บริการการตรวจ colposcope และหรือตัด ชิ้นเนื้อ (Biopsy/LEEP) 5 . 2 ตรวจสอบพบรายงานผลการตรวจทางพยาธิที่เป็น official report ในกรณีที่ มีการตัดชิ้นเนื้อ 13 . การคัดกรองรอยโรคเสี่ยง มะเร็งและมะเร็งช่องปาก (CA Oral Screening) ผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบ ข้อมูลของหน่วยบริการกับสํานักงาน (Application Programming Interface : API) หรือผ่านระบบบันทึกข้อมูลและ ประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ (e-Claim) หรือส่งข้อมูลตามชุดข้อมูล มาตรฐาน ตามที่สํานักงานกําหนด ตรวจสอบพบหลักฐานการให้บริการตัดชิ้นเนื้อ (biopsy) และรายงานผลการตรวจ ทางพยาธิวิทยา ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด 14 . ตรวจคัดกรองและค้นหา วัณโรคในกลุ่มเสี่ยงสูง บันทึกข้อมูลผ่านโปรแกรม NTIP หรือนําเข้า ข้อมูลบริการและประมวลผลเบิกจ่ายด้วย โปรแกรม TB Data Hub หรือส่งข้อมูลตาม ชุดข้อมูลมาตรฐาน ตามที่สํานักงานกําหนด ตรวจสอบหลักฐานตามรายการที่หน่วยบริการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1 . ตรวจสอบพบผลการตรวจภาพรังสีทรวงอก Chest-X-ray (CXR) 2 . ตรวจสอบพบรายงานผลการตรวจวินิจฉัยวัณโรคและหาเชื้อวัณโรคดื้อยา First - line drugs ด้วยวิธีอณูชีววิทยา (Molecular assay) ตามรายการที่เรียกเก็บ ค่าใช้จ่าย
รายการบริการ การบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่าย การกําหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบและตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการ จากหน่วยบริการ 3 . ตรวจสอบพบรายงานผลการตรวจด้วย AFB และ / หรือตรวจเพาะเลี้ยงเชื้อวัณโรค (Culture) ตามรายการที่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย แต่ไม่สามารถตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีอณูชีววิทยา (Molecular assay) 4 . ตรวจสอบพบรายงานผลการตรวจหาเชื้อดื้อยา Rifampicin ( ชนิดเดียว ) หรือ INH+ Rifampicin ( 2 ชนิด ) เพื่อวินิจฉัยวัณโรคดื้อยา First- line drugs ตาม รายการที่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย ในกรณีที่พบผลตรวจ TB-LAMP เป็นผู้ป่วยวัณโรค 5 ตรวจสอบพบรายงานผลการตรวจวินิจฉัยวัณโรคดื้อยา Second - line drugs ตามรายการที่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย กรณีเป็นผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา (RR/MDR-TB) 15 . บริการคัดกรองและ ประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อ สุขภาพกาย / สุขภาพจิต ผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบ ข้อมูลของหน่วยบริการกับสํานักงาน (Application Programming Interface : API) หรือผ่านระบบบันทึกข้อมูลและ ประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ (e-Claim) หรือส่งข้อมูลตามชุดข้อมูล มาตรฐาน ตามที่สํานักงานกําหนด 1 . ผู้มีอายุ 15 - 34 ปี ตรวจพบหลักฐานการบันทึกการให้บริการที่ครบถ้วนทุกรายการ ดังนี้ 1 . 1 ประเมินดัชนีมวลกาย ( ชั่งน้ําหนัก วัดส่วน สูง เส้นรอบเอว ) 1 . 2 ตรวจวัดความดันโลหิต 1 . 3 คัดกรองความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการเสพสาร เสพติด 1 . 4 ประเมินภาวะเครียด - ซึมเศร้า 1 . 5 การให้คําปรึกษาและแนะนําปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายบุคคล หากเป็นกลุ่มเสี่ยง ให้ประสานส่งต่อหรือนัดหมายพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและสั่งการรักษา หรือ แนะนําการเช้ารับบริการตามสิทธิ 2 . ผู้มีอายุ 35 - 59 ปี ตรวจพบหลักฐานการบันทึกการให้บริการที่ครบถ้วนทุก รายการ ดังนี้ 2 . 1 ประเมินดัชนีมวลกาย ( ชั่งน้ําหนัก วัดส่วน สูง เส้นรอบเอว )
รายการบริการ การบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่าย การกําหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบและตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการ จากหน่วยบริการ 2 . 2 ตรวจวัดความดันโลหิต 2 . 3 คัดกรองความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการเสพสาร เสพติด 2 . 4 ประเมินภาวะเครียด - ซึมเศร้า 2 . 5 ตรวจประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และหรือเจาะเลือดปลายนิ้ว ตรวจระดับน้ําตาล (FCG) 2 . 6 ตรวจประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัว ใจและหลอดเลือด 2 . 7 การให้คําปรึกษาและแนะนํา 3 . หลักฐานการให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติสําหรับการตรวจเลือดจากหลอดเลือดดํา ที่ตรวจวัดระดับน้ําตาล (Fasting Plasma Glucose : FPG) ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด 4 . หลักฐานการให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติสําหรับการตรวจ Total Cholesterol และ HDL (high density lipoprotein) ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด 16 . การตรวจยีน BRCA1/BRCA2 ในกลุ่ม ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มี ความเสี่ยงสูงและญาติสาย ตรงที่มีประวัติครอบครัว ตรวจพบยีนกลายพันธุ์ ผ่านระบบบันทึกข้อมูลและประมวลผล ข้อมูลการบริการทางการแพทย์ (e-Claim) หรือส่งข้อมูลตามชุดข้อมูลมาตรฐาน ตามที่ สํานักงานกําหนด 1 . กรณีที่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการบริการประเมินความเสี่ยงทางพันธุกรรม บริการ ให้คําปรึกษาก่อนและหลังการส่งตรวจทางพันธุกรรม จ่ายแบบเหมาจ่ายคนละ 1 ครั้ง ในอัตรา 500 บาท 1 . 1 พบหลักฐานในการประเมินความเสี่ยงทางพันธุกรรม รวมทั้งบันทึก ความเห็นของแพทย์ 1 . 2 พบหลักฐานบันทึกคําสั่งของแพทย์ในการส่งตรวจยีน BRCA1/BRCA2 1 . 3 พบหลักฐานบันทึกการให้คําปรึกษาก่อนและหลังการส่งตรวจทางพันธุกรรม 2 . กรณีที่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายค่าบริการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็ง เต้านมที่มีความเสี่ยงสูง
รายการบริการ การบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่าย การกําหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบและตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการ จากหน่วยบริการ 2 . 1 พบหลักฐานสนับสนุนการเป็นมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูงตามคุณสมบัติ กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับบริการตรวจ เป็นไปตามตามเอกสารหมายเลข 3 แนบ ท้ายประกาศ เช่น ผลตรวจพยาธิวิทยาและผลการตรวจ receptors ที่ เกี่ยวข้อง รวมทั้งการรักษาที่เกี่ยวข้อง 2 . 2 พบหลักฐานหรือการบันทึกประวัติมะเร็งในครอบครัว ตามหลักเกณฑ์การ จ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ตามเอกสารหมายเลข 3 แนบท้าย ประกาศ 2 . 3 พบรายงานผลการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 ที่เป็น official report 3 . กรณีที่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายค่าบริการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 ในกลุ่มญาติสาย ตรงที่มีประวัติครอบครัวตรวจพบยีนกลายพันธุ์ 3 . 1 พบหลักฐานหรือการบันทึกประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัวที่มีการตรวจพบ ความผิดปกติของยีน BRCA1/BRCA2 ตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อ บริการสาธารณสุข ตามเอกสารหมายเลข 4 แนบท้ายประกาศ 3 . 2 พบรายงานผลการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 ที่เป็น official report 17 . บริการคัดกรองโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก ผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบ ข้อมูลของหน่วยบริการกับสํานักงาน (Application Programming Interface : API) หรือผ่านระบบบันทึกข้อมูลและ ประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ ตรวจพบหลักฐานรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการสําหรับการตรวจนับเม็ด เลือดอย่างสมบูรณ์ (CBC)
รายการบริการ การบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่าย การกําหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบและตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการ จากหน่วยบริการ (e-Claim) หรือส่งข้อมูลตามชุดข้อมูล มาตรฐาน ตามที่สํานักงานกําหนด 18 . บริการยาเม็ดเสริมธาตุ เหล็ก ผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบ ข้อมูลของหน่วยบริการกับสํานักงาน (Application Programming Interface : API) หรือผ่านระบบบันทึกข้อมูลและ ประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ (e-Claim) หรือส่งข้อมูลตามชุดข้อมูล มาตรฐาน ตามที่สํานักงานกําหนด ตรวจพบหลักฐานการให้บริการยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและกรดโฟลิค ตามหลักเกณฑ์ ที่กําหนด 19 . บริการวัคซีนคอตีบ - บาดทะยัก (dT) ในผู้ใหญ่ ผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบ ข้อมูลของหน่วยบริการกับสํานักงาน (Application Programming Interface : API) หรือ Application หมอพร้อม หรือส่ง ข้อมูลตามชุดข้อมูลมาตรฐาน ตามที่ สํานักงานกําหนด ตรวจพบหลักฐานการให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยัก (dT) ตาม หลักเกณฑ์ที่กําหนด 20 . บริการเคลือบฟลูออไรด์ ( กลุ่มสี่ยง ) ผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบข้อมูลของ หน่วยบริการกับสํานักงาน (Application Programming Interface : API) หรือผ่าน ตรวจพบหลักฐานการให้บริการเคลือบฟลูออไรด์ สําหรับผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด
รายการบริการ การบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่าย การกําหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบและตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการ จากหน่วยบริการ ระบบบันทึกข้อมูลและประมวลผลข้อมูลการ บริการทางการแพทย์ (e-Claim) หรือส่ง ข้อมูลตามชุดข้อมูลมาตรฐาน ตามที่ สํานักงานกําหนด 21 . บริการตรวจคัดกรอง มะเร็งลําไส้ใหญ่และลําไส้ ตรง (Fit test) ผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบ ข้อมูลของหน่วยบริการกับสํานักงาน (Application Programming Interface : API) หรือผ่านระบบบันทึกข้อมูลและ ประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ (e-Claim) หรือส่งข้อมูลตามชุดข้อมูล มาตรฐาน ตามที่สํานักงานกําหนด ตรวจพบหลักฐานการให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งลําไส้ใหญ่และลําไส้ตรง (Fit test) ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด 22 . บริการฉีดวัคซีนป้องกัน โรคไข้หวัดใหญ่ ผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบ ข้อมูลของหน่วยบริการกับสํานักงาน (Application Programming Interface : API) หรือส่งข้อมูลตามชุดข้อมูลมาตรฐาน ตามที่สํานักงานกําหนด 1 . ตรวจพบหลักฐานการให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สําหรับกลุ่มเสี่ยง ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด
เอกสารหมายเลข 3 แนบท้ายประกาศสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สําหรับบริการพื้นฐาน จ่ายตามรายการบริการ พ . ศ . 2566 ลงวันที่ 20 มกราคม พ . ศ . 2566 คุณสมบัติกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับบริการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูง และญาติสายตรงที่มีประวัติครอบครัวตรวจพบยีนกลายพันธุ์ สําหรับผู้รับบริการ กลุ่มเป้าหมาย คุณสมบัติเงื่อนไขการพิจารณา 1. ผู้ป่วยมะเร็ง เต้านมที่มีความ เสี่ยงสูง 1.1 ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมเมื่ออายุไม่เกิน 45 ปี 1.2 ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมที่อายุ 46 - 50 ปี ร่วมกับข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้ 1.2.1 มีประวัติมะเร็งเต้านมปฐมภูมิมากกว่าหนึ่งตําแหน่ง อาจเป็นช่วงเวลาเดียวกันหรือ ช่วงเวลาที่ต่างกัน (second primary, bilateral, synchronous, metachronous) 1.2.2 มีประวัติโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งตับอ่อน หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก ในญาติ สายตรงอย่างน้อย 1 คน 1.3 ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมเมื่ออายุมากกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี ร่วมกับข้อใด ข้อหนึ่ง ดังนี้ 1.3.1 มีประวัติญาติสายตรงอย่างน้อย 1 คนที่เป็น 1) มะเร็งเต้านมที่ได้รับการวินิจฉัยเมื่ออายุไม่เกิน 50 ปี หรือมะเร็งเต้านมในผู้ชาย หรือ 2) มะเร็งรังไข่ หรือ 3) มะเร็งตับอ่อน หรือ 4) มะเร็งต่อมลูกหมาก (metastatic, intraductal/cribriform, high or very high risk group) 1.3.2 มีประวัติผู้ป่วยในครอบครัวอย่างน้อย 3 คนที่เป็นมะเร็งเต้านม 1.3.3 มีประวัติในครอบครัวสายตรงอย่างน้อย 2 คนที่เป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งต่อม ลูกหมาก 1.4 ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทุกช่วงอายุที่มีข้อใดข้อหนึ่งดังนี้ 1.4.1 เป็นมะเร็งเต้านมแบบ triple negative 1.4.2 เป็นมะเร็งเต้านมในผู้ชาย 2. ญาติสายตรง บิดา มารดา พี่น้อง หรือบุตรของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม (first degree relationship) ที่ตรวจพบการ กลายพันธุ์ของยีน BRCA1/BRCA2
เอกสารหมายเลข 4 แนบท้ายประกาศสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สําหรับบริการพื้นฐาน จ่ายตามรายการบริการ พ . ศ . 2566 ลงวันที่ 20 มกราคม พ . ศ . 2566 รายละเอียดบริการคัดกรองและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพกาย / สุขภาพจิต รายการประเมิน แนวทางการประเมิน 1. การประเมินดัชนีมวลกาย ( การชั่ง น้ําหนัก วัดส่วนสูง ) และรอบเอว คู่มือ Know Your Numbers & Know Your Risks รู้ตัวเลข รู้ความเสี่ยง สุขภาพ โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2. การตรวจวัดความดันโลหิต แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ . ศ . 2562 (2019 Thai Guidelines on The Treatment of Hypertension) สมาคมความดันโลหิตสูงแห่ง ประเทศไทย 3. การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิด โรคเบาหวาน แนวทางเวชปฏิบัติสําหรับโรคเบาหวาน 2560 (Clinical Practice Guideline for Diabetes 2017) สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย 4. การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจ และหลอดเลือด Thai CVD Risk พัฒนาโดยคณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่าน โปรแกรม Thai CVD risk score URL https://www.rama.mahidol.ac.th/cardio_vascular_risk/thai_cv_risk_score/ 5. การประเมินความเสี่ยงจากการสูบ บุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ สารเสพติด 1. การประเมินความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ ตามแบบประเมินระดับการเสพติดนิโคติน โดยกองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค สามารถเลือกใช้ แบบประเมิน ดังนี้ 1) แบบประเมิน Heaviness of Smoking Index (HSI) 2) แบบประเมิน The Fagerstrom Test for Nicotine Dependence (FTND) 2. การประเมินความเสี่ยงต่อดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพติด ตามแบบ ประเมิน ASSIST V3.1 ขององค์การอนามัยโ ลก ค . ศ . 2010 พัฒนาเป็นภาษาไทยโดย รศ . พญ . ดร . สาวิตรี อัษณางค์กรชัย และคณะ 6. การประเมินภาวะเครียด - ซึมเศร้า 1. การประเมินความเครียด ตามแบบประเมินความเครียด ( ST-5) โดยกรมสุขภาพจิต 2. การประเมินภาวะซึมเศร้าตามแบบคัดกรองของกรมสุขภาพจิต ดังนี้ 2.1) แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า 2 คําถาม ( 2Q ) กรณีคะแนน 2Q ≥ 1 ให้ประเมิ น 9Q และ 8Q ต่อไป 2.2) แบบคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย 9 คําถาม (9Q) กรณีคะแนน 9Q ≥ 7 ให้ประเมินแนวโน้มการฆ่าตัวตาย ด้ว ย 8Q 2.3) แบบประเมินการฆ่าตัวตายด้วย 8 คําถาม (8Q) ทั้งนี้ ให้หน่วยบริการบันทึกผลในเวชระเบียนหรือจัดทําฐานข้อมูล หรือระบบทะเบียนในรูปแบบเอกสาร หรือ ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ และเก็บหลักฐานการประเมินรายบุคคลเพื่อการตรวจสอบ ณ หน่วยบริการ