ระเบียบคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ว่าด้วยการสอบสวนข้อเท็จจริงทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2566
ระเบียบคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ว่าด้วยการสอบสวนข้อเท็จจริงทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2566
ระเบียบคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ว่าด้วยการสอบสวนข้อเท็จจริงทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสอบสวนข้อเท็จจริงทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออานวยความสะดวกแก่คู่กรณี คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และผู้ที่เกี่ยวข้องอันจะทาให้ได้ ข้อเท็จจริงนาไปสู่การพิจารณาวินิจฉัยและชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน การพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดการกระทา อันไม่เป็นธรรมตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์เป็นไปด้วยความรวดเร็ว มีประ สิทธิภาพ และมีความมั่นคงปลอดภัยสอดคล้องกับการให้บริการภาครัฐอันจะนำไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 41 (6) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ร ะเบียบคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าด้วยการสอบสวน ข้อเท็จจริงทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในระเบียบนี้ “ คณะกรรมการ ” หมายความว่า คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ “ คณะอนุกรรมการ ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ “ กรรมการ ” หมายความว่า กรรมการแรงงานสัมพันธ์ “ อนุกรรมการ ” หมายความว่า อนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ “ สำนักงาน ” หมายความว่า สำนักแรงงานสัมพันธ์ “ ข้อพิพาทแรงงาน ” หมายความว่า ข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ตามมาตรา 2 2 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 “ คู่กรณี ” หมายความว่า ผู้กล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหา ผู้แจ้งข้อเรียกร้อง หรือผู้รับข้อเรียกร้อง “ พยาน ” หมายความว่า พยานบุคคลหรือพยานผู้เชี่ยวชาญที่คู่กรณีหรือคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ นำมาอ้างหรือให้ความเห็นเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณา วินิจฉัยชี้ขาด “ อิเล็กทรอนิกส์ ” หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอนไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธี การทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์วิธีการต่าง ๆ เช่นว่านั้น “ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ” หมายความว่า ระบบรับส่งควบคุมการสอบสวนข้อเท็จจริงทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ 4 ให้ประธานกรรมการแรงงานสัมพันธ์รักษาการตามระเบียบนี้ ้ หนา 2 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 117 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 พฤษภาคม 2566
หมวด 1 บททั่ วไป ข้อ 5 กรณีคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการพิจารณาสภาพการณ์แล้วเห็นว่า มีเหตุ สมควรสอบสวนข้อเท็จจริงโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ แจ้งคู่กรณีทราบถึงระบบอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์การสื่อสาร และสถานที่ที่คู่กรณีหรือพยานจะใช้ ระบบด้วย ข้อ 6 ในการดาเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้อานวยการสานักแรงงาน สัมพันธ์จะกำหนดวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้คู่กรณีหรือพยานปฏิบัติเพิ่มเติมก็ได้ แต่ต้องเป็นไปเพื่อ อำนวยความสะดวกหรือเพื่อยืนยันตัวตน โดยให้คู่กรณีหรือพยานสามารถเข้ำถึงใช้ได้สะดวก และไม่เพิ่ม ภาระหรือเพิ่มค่าใช้จ่าย ข้อ 7 ในกรณีระเบียบนี้มิได้กาหนดไว้ ให้นาระเบียบคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าด้วย การพิจารณาวินิจฉัยและชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน การพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดการกระทาอันไม่เป็นธรรม กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ มาบังคับใช้โดยอนุโลม หมวด 2 การสอบสวนข้อเท็จจริงทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ 8 สถานที่ที่คู่กรณีหรือพยานใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์นอกสานักงานต้องเป็นสถานที่ ที่เหมาะสม ไม่มี เสียงรบกวน ไม่ใช่ที่สาธารณะ และเป็นพื้นที่ปิดที่ไม่มีบุคคลอื่นเข้าออกในบริเวณ ดังกล่าว ระหว่างการสอบสวนข้อเท็จจริงทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ หากมีเหตุอันสมควรสงสัยว่า การดาเนินการสอบสวนไม่เป็นไปโดยสุจริต คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการอาจสั่งให้ทาการตรวจสอบ สภาพแวดล้อมของสถานที่ที่คู่กรณีหรือพยานใช้ระบบหรือมีคาสั่งอื่นใดตามที่เห็นสมควร ข้อ 9 ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการถ่ายทอดภาพและเสียงของคู่กรณีหรือพยานในระหว่าง การสอบสวนข้อเท็จจริงต้องมีสัญญาณถ่ายทอดภาพและเสียงได้อย่างชัดเจนและต่อเนื่องตลอดระยะเวลา การสอบ สวนข้อเท็จจริง หมวด 3 การบันทึกภาพและเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 117 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 พฤษภาคม 2566
ข้อ 10 การแสดงตนของคู่กรณีหรือพยานในการสอบสวนข้อเท็จจริงให้ดาเนินการโดยให้ คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการหรือเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบบุคคลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ว่าตรงกับคู่กรณีหรือพยานหรือไม่ โดยให้บุคคลดังกล่าวแสดงบัตรประจาตัวประชาชนหรือหนังสือ เดินทางให้ปรากฏทางจอภาพของระบบ และให้คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ บันทึกภาพใบหน้าบุคคลนั้นพร้อมบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางที่ปรากฏข้อมูล อย่างชัดเจนเพื่อเป็นหลักฐานรวมไว้ในสำนวน ข้อ 11 ในระหว่างการสอบสวนข้อเท็จจริงทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ คณะกรรมการหรือ คณะอนุกรรมการอาจใช้ระบบบันทึกภาพและเสียงระหว่างการสอบสวนข้อเท็จจริงทั้งหมดหรือบางส่วน ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และนาไปจัดเก็บไว้ในระบบการจัดทาสารบบและสานวนอิเล็กทรอนิกส์ ของสำนักงาน ห้ามมิให้คู่กรณี พยาน หรือบุคคลใดบันทึก เผยแพร่ หรือแพร่เสียงแพร่ภาพ ภาพหรือเสียง การสอบสวนข้อเท็จจริงทางระบบอิเล็กทรอนิกส์เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการหรือ คณะอนุกรรมการ การขอตรวจดูภาพและเสียงของบันทึกการสอบสวนข้อเท็จจริงทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้ สามารถกระทาได้ภายในการควบคุมดูแลของกรรมการหรืออนุกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ โดยมิให้มี การบันทึกภาพหรือเสียงหรือทำซ้าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว ในกรณีที่มีเหตุขัดข้องระหว่างการสอบสวนข้อเท็จจริงทางอิเล็กทรอนิกส์ ทาให้ไม่อาจดาเนินการ สอบสวนข้อเท็จจริงได้อย่างต่อเนื่อง กรรมการหรืออนุกรรมการหรือเจ้าหน้าที่อาจกาหนดวิธีการเท่าที่ ไม่ขัดกับระเบียบนี้เพื่อให้สามารถดาเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงคู่กรณีหรือพยานได้จนกว่าจะเสร็จสิ้น โดยให้บันทึกเหตุขัดข้องและวิธีการดังกล่าวไว้ในบันทึกการสอบสวนข้อ เท็จจริงทางอิเล็กทรอนิกส์ไว้ด้วย ข้อ 12 เมื่อการสอบสวนข้อเท็จจริงทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ของคู่กรณีหรือพยานสิ้นสุดลง ให้กรรมการหรืออนุกรรมการหรือเจ้าหน้าที่บันทึกการสอบสวนข้อเท็จจริงโดยให้อนุกรรมการหรือ เจ้าหน้าที่อ่านบันทึกการสอบสวนข้อเท็จจริงให้คู่กรณีหรือพยำนฟัง เมื่อคู่กรณีหรือพยานรับว่าถูกต้อง แล้วให้อนุกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ส่งไฟล์บันทึกการสอบสวนข้อเท็จจริงทางอิเล็กทรอนิกส์ให้คู่กรณี หรือพยานลงชื่อในบันทึกการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วก็ส่งบันทึกการสอบสวนข้อเท็จจริงทางไปรษณีย์ ให้กรรมการหรืออนุกรรมการหรือเจ้าหน้ำที่เก็บไว้ในสำนวน กรณีไม่อาจส่งไฟล์บันทึกการสอบสวนข้อเท็จจริงทางอิเล็กทรอนิกส์ให้คู่กรณีหรือพยาน เพื่อลงลายมือชื่อในบันทึกได้ ให้บันทึกเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อนั้นไว้แทนการลงลายมือชื่อ ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 117 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 พฤษภาคม 2566
ข้อ 13 การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ของคู่กรณีหรือพยานในบันทึกการสอบ สวนข้อเท็จจริง และเอกสารที่กรรมการหรืออนุกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ทาขึ้น อาจกระทาโดยให้บุคคลดังกล่าวพิมพ์ชื่อ เพื่อแสดงรับรู้หรือรับรองลงในเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เจ้าหน้าที่ส่งไปทางระบบ และให้ใช้ระบบบันทึกภาพต่อเนื่องของขั้นตอนการลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน ประกาศ ณ วันที่ 2 2 มีนาคม พ.ศ. 256 6 กิตติพงษ์ เหล่านิพนธ์ ประธานกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 117 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 พฤษภาคม 2566