Fri May 19 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง รายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอันเป็นสาระสำคัญที่ใช้เป็นพื้นฐานในการวินิจฉัย เกี่ยวกับการทบทวนความจำเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบด้วยสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี และเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบด้วยโลหะเจือของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี ที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พ.ศ. 2566


ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง รายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอันเป็นสาระสำคัญที่ใช้เป็นพื้นฐานในการวินิจฉัย เกี่ยวกับการทบทวนความจำเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบด้วยสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี และเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบด้วยโลหะเจือของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี ที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พ.ศ. 2566

ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง รายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอันเป็นสาระสำคัญที่ใช้เป็นพื้นฐานในการวินิจฉัย เกี่ยวกับการทบทวนความจาเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบด้วยสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี และเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบ ด้วยโลหะเจือของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี ที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พ.ศ. 2566 ตามที่ได้มีประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง เปิดการทบทวนความจาเป็นในการใช้บังคับ อากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบด้วยสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี และเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบด้วยโลหะเจือของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้ วทาสี ที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2565 และประกาศคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน เรื่อง ให้เรียกเก็บหลักประกันการชาระอากรตอบโต้การทุ่มตลาดในระหว่างการพิจารณาทบทวนความจาเ ป็น ในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบด้วยสังกะสีแบบจุ่มร้อน แล้วทาสี และเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบด้วยโลหะเจือของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อน แล้วทาสี ที่มีแหล่งกาเนิดจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2565 เพื่อเปิดการทบทวนความจาเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป และเรียกเก็บหลักประกันการชาระอากรในระหว่างการพิจารณาทบทวนจนกว่าผลการพิจารณาทบทวน จะใช้บังคับ และต่อมาคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและกำรอุดหนุนได้มีคาวินิจฉัยว่าการยุติ การเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทาให้มีการทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีก และให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจากการนาเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบด้วยสังกะสี แบบจุ่มร้อนแล้วทาสี และเหล็กแผ่นรีดเย็นชุ บหรือเคลือบด้วยโลหะเจือของอะลูมิเนียมและสังกะสี แบบจุ่มร้อนแล้วทาสีต่อไป ในอัตราเดิม เป็นระยะเวลา 5 ปี ตามประกาศคณะกรรมการพิจารณา การทุ่มตลาดและการอุดหนุน เรื่อง ผลการพิจารณาทบทวนความจาเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้ การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณี สินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบด้วยสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี และเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบด้วยโลหะเจือของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี ที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พ.ศ. 2566 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2566 นั้น ้ หนา 33 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 116 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 พฤษภาคม 2566

เพื่อให้เป็นไปตามความในข้อ 2 ข้อ 4 และข้อ 8 ของกฎกระทรวง การแสดงข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน และการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้ การทุ่มตลาดและการอุดหนุน พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มต ลาด และการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการตอบโต้ การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25 6 2 อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ จึงออกประกาศแสดงรายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอันเป็นสาระสาคัญที่ใช้เป็นพื้นฐานในการวินิจฉัย เกี่ยวกับการทบทวนความจำเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไปไว้ ดังเอกสารท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 256 6 รณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ้ หนา 34 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 116 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 พฤษภาคม 2566

1 เอกสารท้ายประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง รายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอันเป็นสาระสาคัญ ที่ใช้เป็นพื้นฐานในการวินิจฉัยเกี่ยวกับการทบทวนความจาเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบด้วยสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี และเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบ หรือเคลือบด้วยโลหะเจือของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี ที่มีแหล่งกาเนิดจากสาธารณรัฐสังคม นิยมเวียดนาม พ.ศ. 2566 ข้อ 1 ความเป็นมา คณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน (คณะกรรมการ ทตอ.) ซึ่งเป็นคณะกรรมการ ตามพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ. การตอบโต้ การทุ่มตลาดฯ) ได้ออกประกาศคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน เรื่อง การตอบโต้ การทุ่มตลาดสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบด้วยสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี และเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบด้วย โลหะเจือของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี ที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พ.ศ. 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 มีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2560 ถึงวันที่ 24 มีนาคม 2564 กาหนดให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจากการนาเข้าสินค้า เหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบด้วยสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี และเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบด้วยโลหะเจือ ของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี ที่มีแหล่งกาเนิดจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในอัตราร้อยละ 4.30 – 60.26 ของราคา ซี ไอ เอฟ และให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดในอัตราร้อยละ 0 ของราคา ซี ไอ เอฟ สาหรับการนาเข้าสินค้าดังกล่าวในกรณี ดังนี้ (1) เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตกระดานไวท์บอร์ด ( White Board) ในปริมาณไม่เกิน 30 ตันต่อปี (2) สินค้าที่มีการเคลือบสีแบบ Silicon Modified Polyester (SMP) เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม การผลิตห้องเย็น ในปริมาณไม่เกิน 2,000 ตันต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี (3) เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นระยะเวลา 2 ปี และ (4) เพื่อนามาผลิตเพื่อการส่งออกภายใต้กฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ข้อ 2 การเปิดทบทวนความจำเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรมการค้าต่างประเทศได้ออกประกาศ เรื่อง เปิดการทบทวนความจาเป็นในการใช้บังคับอากร ตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบด้วยสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี และเหล็กแผ่นรีดเย็น ชุบหรือเคลือบด้วยโลหะเจือของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี ที่มีแหล่งกาเนิดจากสาธารณรัฐสังคม นิยมเวียดนาม พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2565 และได้เผยแพร่ประกาศดังกล่าวลงโฆษณา ในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับภาษาไทยและฉบับภาษาอังกฤษ ได้แก่ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจและหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ เพื่อให้สาธารณชนรับรู้และให้ผู้มีส่วนได้เสียสามารถดาเนินการตามที่กฎหมายและกฎระเบียบกาหนด ด้วยความถูกต้องครบถ้วน ข้อ 3 การพิจารณาทบทวนความจำเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรมการค้าต่างประเทศได้ดาเนินการพิจารณาทบทวนความจาเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้ การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 ตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดตามพระราชบัญญัติกำรตอบโต้การทุ่มตลาด และการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาด

2 และการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ. การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีรายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอันเป็นสาระสำคัญที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณา ดังนี้ 3.1 สินค้าที่ถูกพิจารณา ได้แก่ สินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบด้วยสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี และเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบด้วยโลหะเจือของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี ภายใต้พิกัด ศุลกากร ตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2564 และรหัสสถิติ ตามรหัสสถิติสินค้า ที่แก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติม ฉบับปี พ.ศ. 2565 ตามประกาศกรมศุลกากร ที่ 194/2564 เรื่องแก้ไขเพิ่มเติมรหัสสถิติ สินค้า ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2564 จำนวน 39 รายการ ได้แก่ 7210.7012.012 7210.7012.013 7210.7012.014 7210.7012.090 7210.7013.032 7210.7013.033 7210.7013.034 7210.7013.042 7210.7013.043 7210.7013.044 7210.7013.090 7210.7021.020 7210.7021.030 7210.7021.040 7210.7021.090 7210.7091.020 7210.7091.030 7210.7091.040 7210.7091.090 7212.4011.09 0 7212.4012.090 7212.4013.000 7212.4014.000 7212.4091.090 7212.4099.090 7225.9990.052 7225.9990.053 7225.9990.05 4 7225.9990.059 7225.9990.072 7225.9990.073 7225.9990.074 7225.9990.076 7225.9990.077 7225.9990.078 7225.9990.079 7225.9990.090 7226.9919.090 7226.9999.090 ที่ มี แ ห ล่ ง กำ เ นิ ด จากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยสินค้าที่อุตสาหกรรมภายในผลิตได้เป็นสินค้าชนิดเดียวกันกับสินค้า ที่ถูกพิจารณา ( Like Product) เนื่องจากมีองค์ประกอบ เช่น ลักษณะทางกายภาพ ขั้นตอนการผลิต การนาไปใช้ เหมือนกันทุกประการ หรือคล้ายคลึงกันอย่างมาก 3.2 ผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่เกี่ยวข้อง 3.2.1 ผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันภายในประเทศ 1) บริษัท เอ็นเอส บลูสโคป (ประเทศไทย) จำกัด 2) บริษัท เอ็นเอส - สยามยูไนเต็ดสตีล จำกัด 3) บริษัท ซิน เคอ หยวน จากัด 4) บริษัท เคจี สตีล (ประเทศไทย) จำกัด 5) บริษัท พีซีเอ็ม โพรเซ็สซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด 6) บริษัท กรุงเทพผลิตเหล็ก จำกัด (มหาชน) 3.2.2 ผู้ผลิตและผู้ส่งออกจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 1) Hoa Sen Group 2) Nam Kim Steel Joint Stock Company 3) Hoa Phat Steel Sheet Company 4) Vnsteel Thang Long Coated Sheets Joint Stock Company 5) Maruichi Sun Steel Joint Stock Company 6) Ton Dong A Corporation 7) Dai Thien Loc Corporation 8) NS BlueScope Vietnam 9) Southern Steel Sheet Co. Ltd.

3 10) Fujiton Color Coating Steel Joint Stock Company 3.2. 3 ผู้นาเข้า 1) บริษัท เจ ที พี พลัส จำกัด 2) บริษัท เจ.เจ. คอยล์เซ็นเตอร์ จำกัด 3) บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด 4) บริษัท ไทยเมททัล แอนด์ สตีลคอยล์ จำกัด 5) บริษัท ไทยทวีพรค้าเหล็ก จำกัด 6) บริษัท คอยล์ เซ็นเตอร์ จำกัด 7) บริษัท นาสป้า เอเซีย จำกัด 8) บริษัท พานาโซนิค แมเนจเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด 9) บริษัท รุ่งเรืองอุตสาหกรรมเหล็ก จำกัด 10) บริษัท วี.เอ็น.สตีล อินเตอร์เทรด จำกัด 11) บริษัท สตีลแอนด์แมชชีน อิมพอร์ต จำกัด 12) บริษัท สหวิริยาพาณิชย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด 13) บริษัท หยางชิง เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด 14) บริษัท อาร์ซี สตีล จำกัด 15) บริษัท ฮานะ สตีล จำกัด 16) บริษัท ศูนย์บริการเหล็กสยาม จำกัด (มหาชน) 3.2. 4 สมาคมในทางการค้าและกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง 1) กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 2) สมาคมหลังคาเหล็กไทย 3) สมาคมการค้าผู้ผลิตหลังคาเหล็กไทย 3.2.5 สถานเอกอัครราชทูตในฐานะรัฐบาลของประเทศแหล่งกาเนิดหรือประเทศผู้ส่งออกสินค้า ที่ถูกพิจารณา ได้แก่ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามประจำประเทศไทย 3.3 ชวงเวลาของข อมูลที่ใชในการพิจารณาทบทวน 3.3.1 การพิจารณาว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทาให้มีการทุ่มตลาด ต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีก ใช้ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 (ช่วงระยะเวลา การทบทวนการทุ่มตลาด : POR ) 3.3.2 การพิจารณาว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทาให้มีความเสียหาย ต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีก ใช้ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม 256 0 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 3.4 การส่งแบบสอบถามเพื่อรับฟังข้อเท็จจริงและความเห็นต่อการเปิดทบทวน เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2565 กรมการค้าต่างประเทศได้ส่งแบบสอบถามไปยังผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องที่ปรากฏรายชื่อตามข้อ 3.2 เพื่อให้แจ้งข้อเท็จจริงและความเห็นสำหรับใช้ประกอบการพิจารณาทบทวน โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามภายในระยะเวลาที่กาหนด ดังนี้ 3.4.1 ผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันภายในประเทศ จำนวน 3 ราย

4 1) บริษัท เอ็นเอส บลูสโคป (ประเทศไทย) จำกัด 2 ) บริษัท เคจี สตีล (ประเทศไทย) จำกัด 3) บริษัท พีซีเอ็ม โพรเซ็สซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด 3.4.2 ผู้ผลิตและผู้ส่งออกจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม จำนวน 2 ราย 1) Hoa Sen Group 2) Nam Kim Steel Joint Stock Company 3.5 ข้อมูลที่ได้รับจากผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่เกี่ยวข้อง 3.5.1 ผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันในประเทศ เห็นด้วยกับการบังคับใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด กับสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบด้วยสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี และเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบด้วยโลหะเจือ ของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี ที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามต่อไป โดยเห็นว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดกับสินค้าดังกล่าวจะทำให้การทุ่มตลาดฟื้นคืนมาอีก ข้อชี้แจง การพิจารณาทบทวนความจาเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดในกรณีนี้ เป็นไปตามมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ. การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้บัญญัติและกาหนดไว้สอดคล้องกับหลักการของความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาดขององค์การ การค้าโลก (WTO Anti-Dumping Agreement: ADA) โดยคณะกรรมการ ทตอ. จะพิจารณาว่าการยุติการเรียกเก็บ อากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทำให้มีการทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีกหรือไม่ ซึ่งในกรณีที่คณะกรรมการ ทตอ. มีคาวินิจฉัยว่าการยุติการเรียกเก็บ อากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทาให้ มีการทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีกจะมีการกำหนดให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป 3.6 การตรวจสอบความเป็นจริงของข้อกล่าวอ้างและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาทบทวน กรมการค้าต่างประเทศได้เดินทางไปตรวจสอบความเป็นจริงของข้อกล่าวอ้างและเอกสาร ที่อุตสาหกรรมภายในแจ้งตามแบบสอบถาม ณ ที่ทาการของบริษัท ระหว่างวันที่ 1 3 ถึงวันที่ 20 กันยายน 2565 โดยพบว่าข้อมูลที่ได้รับตามแบบสอบถาม และเอกสารหลักฐานทางบัญชีที่ผ่านการรับรองแล้ว สามารถตรวจสอบได้ ตรงกับเอกสารหลักฐานต้นฉบับ จึงมีความน่าเชื่อถือในระดับที่สามารถยอมรับได้ 3.7 การแจ้งข้อมูลและข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นพื้นฐานในการวินิจฉัยเกี่ยวกับการทบทวน เพื่อรับฟังข้อโต้แย้งของผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 กรมการค้าต่างประเทศได้ส่งรายละเอียดข้อมูลและข้อเท็จจริง ที่จะใช้เป็นพื้นฐานในการวินิจฉัยเกี่ยวกับการทบทวนความจาเป็นในการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ. การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่คณะกรรมการ ทตอ. ได้มีมติเห็นชอบแล้ว ไปยังผู้มีส่วนได้เสียเพื่อให้โอกาสยื่นข้อโต้แย้งตามที่มาตรา 30 ประกอบมาตรา 60 แห่ง พ.ร.บ. การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติมกาหนด และจัดการประชุมผ่านระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นข้อโต้แย้ง ด้วยวาจา เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมีสรุปประเด็นข้อโต้แย้งและความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งทาง คณะกรรมการ ทตอ. ได้มีข้อชี้แจงดังกล่าว ดังนี้ 3.7.1 การต่ออายุมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด เห็นด้วยกับการต่ออายุมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดออกไปอีก 5 ปี และการเรียกเก็บ อากรตอบโต้การทุ่มตลาดในอัตราร้อยละ 0 ของราคา ซี ไอ เอฟ สำหรับการนาเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออก

5 และการนำเข้ามาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตกระดานไวท์บอร์ด ในปริมาณนำเข้าไม่เกิน 30 ตันต่อปี และขอให้ มีการรับรองโดยสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยตามแนวทางดำเนินการเดิม ข้อชี้แจง การพิจารณาทบทวนความจาเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดในกรณีนี้ เป็นไปตามมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ. การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติมประกอบกับอนุบัญญัติ ซึ่งบัญญัติและกาหนดไว้สอดคล้องกับหลักการของ ADA โดยคณะกรรมการ ทตอ. จะพิจารณาว่าการยุติการเรียกเก็บ อากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทำให้มีการทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีกหรือไม่ ซึ่งในกรณี ที่คณะกรรมการ ทตอ. มีคำวินิจฉัยว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทาให้มีการทุ่มตลาด และความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีกจะมีการกำหนดให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป 3.7.2 การคานวณส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาด (1) กรมการค้าต่างประเทศ ได้อาศัยเกณฑ์ข้อเท็จจริงเท่าที่มีอยู่ ( Best Information Available: BIA) ในการคานวณหาราคาส่งออกและส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดของบริษัท โดยนาราคาส่งออก เฉพาะที่ยื่นโดยบริษัท เอ็นเอส บลูสโคป (ประเทศไทย) จำกัด ในชั้นคำขอให้มีการทบทวนฯ มาใช้ และ พบอัตราส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดของบริษัทฯ ที่ร้อยละ 56.31 และนาข้อเท็จจริงดังกล่าวไปใช้เป็นพื้นฐานใน การสรุปว่ามีความเป็นไปได้ที่การทุ่มตลาดจะฟื้นคืนมา และมีมติเสนอให้มีการใช้บังคับมาตรการฯ ต่อไปอีก 5 ปี ( 2) การใช้เกณฑ์ข้อเท็จจริงเท่าที่มีอยู่ ( BIA) ในการคานวณหาราคาส่งออกของบริษัทผู้ส่งออก กรณีที่ไม่มีการส่งออกสินค้ามายังประเทศไทยในช่วง POR ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไม่สอดคล้องกับพฤติการณ์ที่กาหนดไว้ โดยเฉพาะในการใช้ BIA ตามที่ระบุไว้มาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และ Article 6.8 ของ ADA ( 3) เสนอให้นำข้อมูลราคาส่งออกไปยังตลาดที่ใหญ่ที่สุดทั้ง 5 แห่งของบริษัทผู้ส่งออกมาใช้ใน การคานวณหาราคาส่งออก ซึ่งจะทาให้เห็นภาพรวมสถานการณ์ส่งออกของบริษัทผู้ส่งออกในปัจจุบัน ที่มีความถูกต้อง และใกล้เคียงมากที่สุดในการประเมินความเป็นไปได้ที่จะเกิดการทุ่มตลาด ซึ่งหากใช้วิธีการดังกล่าวจะพบ ว่า ส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดของบริษัทผู้ส่งออก นั้นไม่มีนัยสาคัญ (อัตราส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดร้อยละ 0.90) ซึ่งแสดงให้ เห็นว่าไม่มีพฤติการณ์การทุ่มตลาดหากบริษัทผู้ส่งออกส่งออกสินค้าที่ถูกพิจารณามายังประเทศไทยในช่วงระยะเวลา ที่นำมาใช้พิจารณาการทุ่มตลาด (ช่วงระยะเวลาการทบทวนการทุ่มตลาด POR 1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564) ข้อชี้แจง ในกรณีนี้ไม่พบข้อมูลการส่งออกสินค้าที่ถูกพิจารณามายังประเทศไทยในช่วง ระยะเวลาที่นาข้อมูลมาใช้พิจารณาการทุ่มตลาด (ช่วงระยะเวลาการทบทวนการทุ่มตลาด POR ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564) ทาให้ไม่มีข้อมูลราคาส่งออกที่จะนามาประกอบการพิจารณา อย่างไรก็ตาม ADA ไม่ได้กาหนดเป็นข้อบังคับให้ต้องคานวณราคาส่งออกขึ้นใหม่ โดย Article 2.3 ของ ADA บัญญัติว่า “the export price may be constructed” อย่างไรก็ตาม ในการทบทวนฯ ตามมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ. การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อพิจารณาว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทำให้มีการทุ่มตลาดและ ความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีกหรือไม่จะเป็นการพิจารณาการทุ่มตลาดและความเสียหายรวมทั้งแนวโน้มที่จะมี การทุ่มตลาดและความเสียหายในภาพรวม โดยไม่ได้พิจารณาจากข้อมูลส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดรายบริษัท และ การพิจารณาจะครอบคลุมถึงการวิเคราะห์ศักยภาพของประเทศผู้ส่งออกสินค้าทุ่มตลาดด้วย ดังนั้น ข้อเท็จจริงเฉพาะ ในส่วนที่ผู้โต้แย้งไม่ได้ส่งสินค้าทุ่มตลาดมายังประเทศไทยในช่วงระยะเวลาการทบทวนซึ่งมีปริมาณการนาเข้าสินค้าที่ถูก พิจารณาในสัดส่วนที่ไม่มีนัยสาคัญและยังไม่สามารถสะท้อนถึงการทุ่มตลาดและความเสียหายรวมทั้งการฟื้นคืนมาอีกได้ โดยหากมีการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ผู้ส่งออกแต่ละรายจะถูกเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด ในอัตราเดิม

6 3.8 การวินิจฉัยเกี่ยวกับการทบทวนความจำเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป กรมการค้าต่างประเทศได้นาข้อมูลข้อเท็จจริง ความเห็น และข้อโต้แย้ง ที่ได้รับจากผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่ได้รับตามแบบสอบถามและช่องทางอื่นที่กฎหมายกาหนดซึ่งผ่านกระบวนการตรวจสอบ ความเป็นจริงของข้อกล่าวอ้างและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องแล้ว มาดาเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดภายใต้ พ.ร.บ. การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ เพื่อจัดทาผลการทบทวน โดยในกรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียปฏิเสธที่จะนาพยานหลักฐาน มาแสดง ไม่นำพยานหลักฐานมาแสดงภายในเวลาที่กาหนด หรือไม่ให้ความร่วมมือเพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐาน หรือขัดขวางกระบวนการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาด การพิจารณา จะรับฟังเพียงข้อเท็จจริงเท่าที่มีอยู่ หรืออาจรับฟังไปในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ผู้นั้น ตามที่มาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ กาหนดไว้ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ BIA ตาม Article 6.8 และ Annex II (1) ของ ADA และเสนอต่อ คณะกรรมการ ทตอ. เพื่อพิจารณาวินิจฉัย ดังนี้ 3.8.1 การพิจารณาความเป็นไปได้ที่การยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทาให้ มีการทุ่มตลาดต่อไปหรือทาให้การทุ่มตลาดฟื้นคืนมาอีก การพิจารณาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่มาตรา 14 มาตรา 15 และมาตรา 18 ประกอบมาตรา 60 แห่ง พ.ร.บ. การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติมกาหนด โดยในกรณีนี้ไม่มีผู้ผลิตหรือผู้ส่งออก จากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามให้ความร่วมมือตอบแบบสอบถามภายในระยะเวลาที่กาหนด กรมการค้า ต่างประเทศจึงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลตามคาขอให้เปิดการทบทวนซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเท่าที่มีอยู่ในการพิจารณา โดยในการพิจารณาปรากฏส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ว่าการยุติการเรียกเก็บอากร ตอบโต้การทุ่มตลาดจะทำให้มีการทุ่มตลาดต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีก ดังนี้ 1) มูลค่าปกติ พิจารณาตามตามหลักเกณฑ์ที่มาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ. การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ กาหนด โดยคานวณจากราคาของสินค้าที่ถูกพิจารณาที่ขายในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม แล้วทอนเป็นราคา ณ หน้าโรงงาน 2) ราคาส่งออก พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่มาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ. การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ กาหนด โดยคานวณจากราคาส่งออกของสินค้าที่ถูกพิจารณาที่ส่งมายังประเทศไทยที่มีการอ้างอิงตามข้อมูลสถิติ การนำเข้าของกรมศุลกากร แล้วทอนเป็นราคา ณ หน้าโรงงาน 3) ส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาด พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่มาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ. การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ กาหนด โดยเปรียบเทียบมูลค่าปกติกับราคาส่งออกที่ขั้นตอนทางการค้าเดียวกันและในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นราคา ณ หน้าโรงงาน ซึ่งปรากฏส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม อัตราร้อยละ 56.31 ของราคา ซี ไอ เอฟ 3.8.2 การพิจารณาความเป็นไปได้ที่การยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทาให้ มีความเสียหายต่อไปหรือทำให้ความเสียหายฟื้นคืนมาอีก การพิจารณาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่มาตรา 19 มาตรา 20 และมาตรา 21 ประกอบ มาตรา 60 แห่ง พ.ร.บ. การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติมกาหนด โดยพิจารณาจากข้อมูลปริมาณ

7 การนำเข้าสินค้าทุ่มตลาดและผลของการทุ่มตลาดที่มีต่อราคาของสินค้าชนิดเดียวกันในตลาดภายในประเทศ และผลกระทบจากสินค้านำเข้าที่ทุ่มตลาดที่มีต่ออุตสาหกรรมภายใน ดังนี้ 1) ปริมาณของสินค้าทุ่มตลาดและผลของการทุ่มตลาดที่มีต่อราคาของสินค้า ชนิดเดียวกันในตลาดภายในประเทศ (1) ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุ่มตลาด จากข้อมูลสถิติการนาเข้าของกรมศุลกากรในช่วงเวลาที่มีการใช้บังคับอากร ตอบโต้การทุ่มตลาด พบว่าปริมาณการนาเข้าสินค้าทุ่มตลาด ลดลงในปี 2561 หลังจากนั้นปริมาณนาเข้าค่อนข้าง มีความผันผวนโดยมีปริมาณเพิ่มขึ้นในปี 2562 ลดลงในปี 2563 (PPR) และเพิ่มขึ้นในปี 2564 ( POR) (2) ผลของการทุ่มตลาดที่มีต่อราคาของสินค้าชนิดเดียวกันในตลาดภายในประเทศ จากการเปรียบเทียบราคาของสินค้าทุ่มตลาดกับราคาขายของสินค้าชนิดเดียวกัน ของอุตสาหกรรมภายในที่ขั้นตอนการค้าเดียวกัน และช่วงเวลาเดียวกัน พบว่าสินค้าทุ่มตลาดยังคงมีการตัดราคา ในช่วงปี 2560 ถึงปี 2564 ( POR) การกดราคา ในช่วงปี 2561 ถึงปี 2563 ( PPR) และการยับยั้งการขึ้นราคา ในช่วงปี 2561 เทียบกับปี 2560 และในช่วงปี 2564 ( POR) เทียบกับปี 2563 ( PPR) 2) ผลกระทบของการทุ่มตลาดที่มีต่ออุตสาหกรรมภายใน พิจารณาโดยประเมิน จากปัจจัยและดัชนีทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อสภาวะของอุตสาหกรรมภายใน ดังนี้ (1) ยอดจำหน่าย ปริมาณการขาย และราคาขาย อุตสาหกรรมภายในมียอดจำหน่ายในประเทศลดลง ในปี 2561 และ ปี 2562 ต่อมาเพิ่มขึ้นในปี 2563 ( PPR) และปี 2564 ( POR) สาหรับปริมาณการขายในประเทศลดลง ในปี 2561 และเพิ่มขึ้นในปี 2562 และปี 2563 ( PPR) ก่อนที่จะปรับลดลงในปี 2564 ( POR) นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาราคาขายในประเทศพบว่าเพิ่มขึ้นในปี 2561 และลดลงในปี 2562 และปี 2563 ( PPR) ก่อนที่จะปรับเพิ่มขึ้นในปี 2564 ( POR) (2) กำไร/ขาดทุน อุตสาหกรรมภายในมีผลประกอบการกาไรจากการขายภายในประเทศลดลง ในปี 2561 ต่อมากลับมีกาไรเพิ่มขึ้น ในปี 2562 และปี 2563 (PPR) และปรับลดลงในปี 2564 (POR) (3) กำลังการผลิตและอัตราการใช้กำลังการผลิต กำลังการผลิตของสินค้าชนิดเดียวกันเพิ่มขึ้น ในช่วงปี 2561 ถึงปี 2563 ( PPR) ก่อนที่จะลดลงในปี 256 4 (POR) อัตราการใช้กาลังการผลิตลดลงในปี 2561 ถึงปี 2563 (PPR) ก่อนที่จะปรับ มาเพิ่มขึ้นในปี 256 4 (POR) (4) ผลผลิต ผลผลิตสินค้าชนิดเดียวกันของอุตสาหกรรมภายในมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2560 ถึงปี 2563 (PPR) อย่างไรก็ตาม ได้มีการปรับลดลงในปี 2564 (POR) (5) ผลิตภาพ อุตสาหกรรมภายในมีผลิตภาพค่อนข้างคงที่

8 (6) ส่วนแบ่งตลาด อุตสาหกรรมภายในประเทศมีส่วนแบ่งตลาดลดลงในปี 2561 ต่อมาปรับตัว เพิ่มขึ้นในปี 2562 ถึงปี 2563 (PPR) และปรับตัวลดลงในปี 2564 (POR) ( 7) ผลตอบแทนจากการลงทุน ( ROA) อุตสาหกรรมภายในมีผลตอบแทนจากการลงทุนลดลงในปี 2561 ต่อมา เพิ่มขึ้นในช่วงปี 2562 และปี 2563 (PPR) และปี 2564 (POR) (8) กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน กระแสเงินสดจากการดำเนินงานลดลงในปี 2561 ก่อนที่จะเพิ่มขึ้น ในปี 2562 และปี 2563 (PPR) อย่างไรก็ตาม กระแสเงินสดจากการดาเนินงานกลับมียอดติดลบในปี 2564 (POR) (9) สินค้าคงคลัง อุตสาหกรรมภายในมีสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น ในปี 2561 ต่อมาลดลง ในปี 2562 และปี 2563 (PPR) ก่อนที่จะปรับเพิ่มขึ้นในปี 2564 (POR) (10) การจ้างงาน อุตสาหกรรมภายในมีการจ้างงานลดลงในปี 2561 และปี 2562 ต่อมา เพิ่มขึ้นในปี 2563 (PPR) และลดลงในปี 2564 (POR) (11) ค่าจ้างแรงงาน อุตสาหกรรมภายในมีค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นในปี 2561 ต่อมาลดลง ในปี 2562 และปี 2563 (PPR) ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นในปี 2564 (POR) (12) อัตราการเจริญเติบโต เมื่อพิจารณาอัตราการเจริญเติบโตของสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบด้วย สังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี และเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบด้วยโลหะเจือของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบ จุ่มร้อนแล้วทาสี พบว่าในปี 2561 ปริมาณขายของอุตสาหกรรมภายในลดลง ในขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศ เพิ่มขึ้น ต่อมาในปี 2562 ปริมาณขายของอุตสาหกรรมภายในเพิ่มขึ้น ในขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศลดลง สาหรับปี 2563 (PPR) ปริมาณขายของอุตสาหกรรมภายในเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปทิศทางเดียวกันกับความต้องการใช้ ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในปี 2564 (POR) ปริมาณขายของอุตสาหกรรมภายในลดลง ในขณะที่ ความต้องการใช้ภายในประเทศเพิ่มขึ้น (13) ความสามารถในการระดมทุนหรือการลงทุน สินทรัพย์ของอุตสาหกรรมภายในเพิ่มขึ้นในปี 2561 และลดลงในปี 2562 ต่อมาเพิ่มขึ้นในปี 2563 (PPR) และปี 2564 (POR) (14) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าในประเทศ พบการตัดราคาในช่วงปี 2560 ถึงปี 2564 (POR) การกดราคาในช่วง ปี 2561 ถึงปี 2563 (PPR) และการยับยั้งการขึ้นราคาในปี 2561 เทียบกับปี 2560 และในช่วงปี 2564 (POR) เทียบกับปี 2563 (PPR) (15) ความมากน้อยของส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาด เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าปกติและราคาส่งออกที่ขั้นตอนทางการค้าเดียวกัน และในช่วงเวลาเดียวกัน คือ ราคา ณ หน้าโรงงานในช่วงระยะเวลาการทบทวน ( POR) พบส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาด

9 ของสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบด้วยสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี และเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบด้วยโลหะ เจือของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี ที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ยังคงมีข้อมูลหลักฐานแสดงความสามารถการทุ่มตลาดคิดเป็นร้อยละ 56.31 ของราคา ซี ไอ เอฟ 3) สรุปผลการพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะมีการทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไป หรือฟื้นคืนมาอีก ตามมาตรา 57 จากการพิจารณาข้อมูลข้อเท็จจริงและพยานพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องที่ได้รับจาก ผู้มีส่วนได้เสียในกระบวนการไต่สวน พบว่ามีมูลเพียงพอที่จะเชื่อได้ว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด จะทาให้มีการทุ่มตลาดและความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีก โดยในส่วนของการพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะมี การทุ่มตลาดต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีกนั้น พบส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบด้วยสังกะสีแบบ จุ่มร้อนแล้วทาสี และเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบด้วยโลหะเจือของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี จากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในอัตราร้อยละ 56.31 ของราคา ซี ไอ เอฟ และในส่วนของการพิจารณา ความเสียหายและความเป็นไปได้ที่ความเสียหายจะฟื้นคืนมาอีกนั้น พบว่ายังคงมีการนาเข้าสินค้าทุ่มตลาดดังกล่าว จากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และมีปริมาณการนาเข้าเพิ่มขึ้นในช่วง POR รวมทั้งพบว่ามีความเสียหายอย่าง สาคัญที่เกิดแก่อุตสาหกรรมภายในจากการนาเข้าสินค้าทุ่มตลาด โดยพบว่าปริมาณขายในประเทศลดลง กาไรจาก การขายในประเทศลดลง ผลผลิตลดลง ส่วนแบ่งตลาดลดลง ปริมาณสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น และพบการตัดราคาและ การยับยั้งการขึ้นราคาในช่วง POR ข้อ 4 คาวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน คณะกรรมการ ทตอ. ได้พิจารณาข้อมูลและพยานหลักฐานที่ได้รับในกระบวนการทบทวนตาม หลักเกณฑ์ที่ พ.ร.บ. การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติมกาหนดแล้ว และได้มีคาวินิจฉัยในการประชุม ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 ว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทาให้มีการทุ่มตลาด และความเสียหายต่อไปหรือฟื้นคืนมาอีก จึงให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจากการนาเข้าสินค้าเหล็กแผ่น รีดเย็นเคลือบด้วยสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี และเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบด้วยโลหะเจือของอะลูมิเนียมและ สังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี ที่มีแหล่งกาเนิดจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ต่อไปในอัตราเดิม เป็นระยะเวลา 5 ปี และได้ออกประกาศคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน เรื่อง ผลการพิจารณาทบทวนความ จาเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป ตามมาตรา 57 กรณีสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบด้วยสังกะสี แบบจุ่มร้อนแล้วทาสี และเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบด้วยโลหะเจือของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี ที่มี แหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พ.ศ. 2566 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 57 และ มาตรา 73 (1) แห่ง พ.ร.บ. การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติมกาหนดให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด ต่อไปในอัตราเดิม เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ 4.1 ให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจากการนาเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบด้วยสังกะสี แบบจุ่มร้อนแล้วทาสี และเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบด้วยโลหะเจือของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี ซึ่งเป็นสินค้าภายใต้พิกัดศุลกากร ตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2564 และรหัสสถิติ ตามรหัสสถิติสินค้าที่แก้ไขปรับปรุง

10 เพิ่มเติม ฉบับปี พ.ศ. 2565 ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 194/2564 เรื่องแก้ไขเพิ่มเติมรหัสสถิติสินค้า ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2564 จำนวน 39 รายการ ได้แก่ 7210.7012.012 7210.7012.013 7210.7012.014 7210.7012.090 7210.7013.032 7210.7013.033 7210.7013.034 7210.7013.042 7210.7013.043 7210.7013.044 7210.7013.090 7210.7021.020 7210.7021.030 7210.7021.040 7210.7021.090 7210.7091.020 7210.7091.030 7210.7091.040 7210.7091.090 7212.4011.09 0 7212.4012.090 7212.4013.000 7212.4014.000 7212.4091.090 7212.4099.090 7225.9990.052 7225.9990.053 7225.9990.05 4 7225.9990.059 7225.9990.072 7225.9990.073 7225.9990.074 7225.9990.076 7225.9990.077 7225.9990.078 7225.9990.079 7225.9990.090 7226.9919.090 และ 7226.9999.090 ที่มีแหล่งกาเนิด จากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในอัตรา ดังต่อไปนี้ 1) สินค้าที่ผลิตจาก Hoa Sen Group อัตราร้อยละ 6.63 ของราคา ซี ไอ เอฟ 2) สินค้าที่ผลิตจาก Nam Kim Steel Joint Stock Company อัตราร้อยละ 4.30 ของราคา ซี ไอ เอฟ 3) สินค้าที่ผลิตจาก Dai Thien Loc Corporation อัตราร้อยละ 34.05 ของราคา ซี ไอ เอฟ 4) สินค้าที่ผลิตจาก Southern Steel Sheet Company อัตราร้อยละ 46.35 ของราคา ซี ไอ เอฟ 5) สินค้าที่ผลิตจาก TVP Steel Joint Stock Company อัตราร้อยละ 53.20 ของราคา ซี ไอ เอฟ 6) สินค้าที่ผลิตจาก Ton Dong A Corporation อัตราร้อยละ 60.26 ของราคา ซี ไอ เอฟ 7) สินค้าที่ผลิตจากรายอื่น อัตราร้อยละ 60.26 ของราคา ซี ไอ เอฟ 4.2 ให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจากการนาเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบด้วยสังกะสี แบบจุ่มร้อนแล้วทาสี และเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบด้วยโลหะเจือของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อน แล้วทาสี ที่มีแหล่งกาเนิดจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ภายใต้พิกัดศุลกากรที่ระบุตามข้อ 4.1 ในอัตราร้อยละ 0 ของราคา ซี ไอ เอฟ ในกรณีต่อไปนี้ 4.2.1 การนำเข้ามาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตกระดานไวท์บอร์ด ( White Board) ในปริมาณไม่เกิน 30 ตันต่อปี ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศประกาศกาหนด 4.2.2 ผู้ประกอบอุตสาหกรรมและผู้ประกอบพาณิชยกรรมเพื่อส่งออกนำสินค้าเข้ามา ในราชอาณาจักรและนำเข้าไปในเขตประกอบการเสรี เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือเพื่อการพาณิชยกรรม เพื่อการส่งออก ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเพื่อการส่งออกตามกฎหมาย ว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 4.2.3 ผู้ได้รับการส่งเสริมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนนาสินค้าเข้ามาผลิต เพื่อการส่งออก ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเพื่อการส่งออกตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน 4.2.4 การนำสินค้าเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออก ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเพื่อการส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร