ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ การมีผู้ช่วยคนพิการ การช่วยเหลือคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลคนพิการ และสิทธิของผู้ดูแลคนพิการ พ.ศ. 2566
ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ การมีผู้ช่วยคนพิการ การช่วยเหลือคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลคนพิการ และสิทธิของผู้ดูแลคนพิการ พ.ศ. 2566
ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ การมีผู้ช่วยคนพิการ การช่วยเหลือคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลคนพิการ และสิทธิของผู้ดูแลคนพิการ พ.ศ. 2566 โดยที่เห็นสมควรให้มีการปรับปรุงระเบียบเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการให้แก่คนพิการในเรื่อง การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ การให้บริการผู้ช่วยคนพิการ การคุ้มครองสิทธิ คนพิการ ที่ไม่มีผู้ดูแลคนพิการ และการส่งเสริมสิทธิผู้ดูแลคนพิการ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว เหมาะสม ทั่วถึง และเป็นธรรม อาศัยอานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 11 วรรคสอง และมาตรา 20 วรรคหนึ่ง (10) วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการแห่งชำติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ การมีผู้ช่วยคนพิการ การช่วยเหลือคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลคนพิการ และสิทธิของผู้ดูแลคนพิการ พ.ศ. 2566” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้น ไป ข้อ 3 ให้ยกเลิก (1) ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ การมีผู้ช่วยคนพิการ การช่วยเหลือคนพิการ ที่ไม่มีผู้ดูแล และสิทธิของผู้ดูแลคนพิการ พ.ศ. 2552 (2) ระเ บียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ การมีผู้ช่วยคนพิการ การช่วยเหลือคนพิการ ที่ไม่มีผู้ดูแล และสิทธิของผู้ดูแลคน พิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “ ผู้ช่วยคนพิการ ” หมายความว่า บุคคลซึ่งให้ความช่วยเหลือคนพิการเฉพาะบุคคลเพื่อให้ สามารถปฏิบัติกิจวัตรที่สำคัญในการดารงชีวิต “ ผู้ดูแลคนพิการ ” หมายความว่า บิดา มารดา บุตร สามี ภรรยา ญาติ พี่น้อง หรือบุคคลอื่นใด ที่รับดูแลหรืออุปการะคนพิการ “ คนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลคนพิการ ” หมายความว่า คนพิการที่ไม่มีบิดา มารดา บุตร สามี ภรรยา ญาติ พี่น้อง หรือบุคคลในครอบครัวที่รับคนพิการไว้ดูแลหรืออุปการะเลี้ยงดู หรือมีแต่ไม่สามารถ ดูแลอุปการะเลี้ยงดูได้ ้ หนา 7 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 113 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 พฤษภาคม 2566
“ กิจวัตรที่สาคัญในการดารงชีวิต ” หมายความว่า การใช้ชีวิตประจาวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วม ทางสังคมของคนพิการตามความต้องการจำเป็นพิเศษเฉพาะบุคคล “ การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ” หมายความว่า การก่อสร้าง การเพิ่มเติม การปรับปรุง การซ่อมแซม หรือดัดแปลงที่อยู่อาศัยบางส่วน หรือทั้งหมด โดยอาศัยการออกแบบ การซ่อมแซม การก่อสร้าง การใช้เทคโนโลยีหรือวิธีการอื่นใด เพื่อขจัดอุปสรรคหรือจัดให้คนพิการสามารถดารงชีวิต ในที่อยู่อาศัยนั้นให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพความพิการ รวมถึง ความปลอดภัยและสุขอนามัยของคนพิการสู่การมีสุ ขภาวะที่ดี “ หน่วยบริการในพื้นที่ ” หมายความว่า เทศบาล องค์การบริหารส่วนตาบล เมืองพัทยา ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป หรือองค์กรอื่นตามที่อธิบดี หรือผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครกำหนด แล้วแต่กรณี “ สถานสงเคราะห์เอกชน ” หมายความว่า สถานสงเคราะห์ที่องค์กรภาคเอกชนจัดตั้งขึ้น เพื่อจัดที่อยู่อาศัยและสวัสดิการให้แก่คนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลคนพิการ ทั้งนี้ อาจใช้ชื่ออื่นใด แต่ดาเนินการ ในรูปแบบ สถานสงเคราะห์ “ คณะอนุกรรมการ ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการส่งเสริมสิทธิและสวัสดิการให้แก่คนพิการ แล ะผู้ดูแลคนพิการ “ กรม ” หมายความว่า กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ “ อธิบดี ” หมายความว่า อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ “ ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ” หมายความว่า ศูนย์บริการคนพิการที่จัดตั้งและดาเนินการ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒ นาคุณภาพชีวิตคนพิการ ข้อ 5 ให้อธิบดีรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอานาจกาหนดแบบคาขอ เอกสารแบบฟอร์ม คู่มือการปฏิบัติและการดาเนินการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือดาเนินการอื่น ตามระเบียบนี้ หมวด 1 คณะอนุกรรมการส่งเสริมสิทธิสวัสดิการให้แก่คนพิการและผู้ดูแลคนพิการ ข้อ 6 ให้มีคณะอนุกรรมการส่งเสริมสิทธิสวัสดิการให้แก่คนพิการและผู้ดูแลคนพิการ ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้ง ประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ได้รับมอบหมาย เป็ นประธาน อนุกรรมการ ผู้แทนสานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสานักงบประมาณ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้แทนคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนสานักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้ แทนสานักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้แทนสานักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ และผู้แทน กรุงเทพมหานคร เป็นอนุกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งจากผู้แทนองค์กรของคนพิการแต่ละประเภท ้ หนา 8 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 113 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 พฤษภาคม 2566
จานวนเจ็ดคน และแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญภาคเอกชนด้ำนกฎหมาย ด้านสุขภาพ ด้านสังคมสงเคราะห์ จำนวนสามคน เป็นอนุกรรมการ ให้อธิบดีเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้อธิบดีแต่งตั้งข้าราชการในกรม จานวนสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ข้อ 7 ให้นาบทบัญญัติในมาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาบังคับใช้กับวาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตาแหน่งและการประชุมของคณะอนุกรรมการ โดยอนุโลม ข้อ 8 ให้คณะอนุกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) จัดทาและเสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการเกี่ยวกับการส่งเสริมสิทธิสวัสดิการ ให้แก่คนพิการและผู้ดูแลคนพิการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว เหมาะสม เป็นธรรมและทั่วถึง (2) ให้คาแนะนา นิเทศ ติดตามผล ประเมินผล การดาเนินงานตามมาตรการเกี่ยวกับ การส่งเสริมสิทธิสวัสดิการให้แก่คนพิการแล ะผู้ดูแลคนพิการ (3) จัดทารายงานเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการให้แก่คนพิการและผู้ดูแลคนพิการประจำปี เพื่อเสนอคณะกรรมการ (4) ให้ความเห็นเกี่ยวกับอัตราวงเงินและรายการให้ความช่วยเหลือตามระเบียบนี้ (5) พิจารณากลั่นกรองและให้ความเห็นเกี่ยวกับโครงการที่สถานสงเค ราะห์เอกชนยื่นขอรับ เงินอุดหนุนตามระเบียบนี้ (6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย ข้อ 9 ให้คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจาจังหวัดทาหน้าที่ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามระเบียบนี้ รวมทั้งส่งเสริมสนับส นุน การดาเนินงานของหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการให้แก่คนพิการในจังหวัด หมวด 2 การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการ ข้อ 10 คนพิการมีสิทธิได้รับการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยต้องมีคุณสมบัติ ดังต อไปนี้ (1) มีบัตรประจำตัวคนพิการ (2) อาศัยอยู่ในสถานที่แห่งนั้นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน ยกเว้นกรณีเกิดความพิการ ในภายหลัง (3) ที่อยู่อาศัยไม่มั่นคงหรือไม่เหมาะสมกับสภาพความพิการ (4) มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ (5) ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐแห่งอื่นหรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 113 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 พฤษภาคม 2566
(6) ในกรณีคนพิการไม่มีกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง หรือสิทธิอยู่อาศัยในพื้นที่แห่งนั้น ต้องมี หลักฐานความยินยอมเป็นหนังสือจากบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้มีสิทธิครอบครอง ผู้มีสิทธิอยู่อาศัย หรือผู้มีอานาจหน้าที่ปกครองดูแลสถานที่แห่งนั้น และจะไม่เพิกถอนความยินยอมตราบใดที่คนพิการ ยังอยู่อาศัยในพื้นที่แห่งนั้น กรณีเป็นบ้านเช่าหรือห้องเช่าจะต้องมีหลักฐานให้คนพิการได้เช่าอยู่อาศัยไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และยินยอมให้มีการปรับสภาพแ วดล้อมที่อยู่อาศัย โดยที่อยู่อาศัยควรออกแบบในลักษณะเคลื่อนย้ายได้ ข้อ 11 วิธีการยื่นคาขอหรือการแจ้งเรื่องการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ให้คนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ หรือบุคคลอื่นใดที่พบเห็นคนพิการมีสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยไม่มั่นคงหรือไม่เหมาะสม กับสภาพค วามพิการรวมถึงพิจารณาจากผลการสำรวจและจัดทำแผนปฏิบัติการด้านที่อยู่อาศัย ของเจ้าหน้าที่ ดาเนินการยื่นคาขอหรืออานวยความสะดวกให้คนพิการในการแจ้งเรื่องการปรับสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการได้ ดังต่อไปนี้ (1) ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นหรือแจ้งต่อกรม อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ (อพม.) ประธานชุมชน องค์กรเอกชน หรือหน่วยบริการในพื้นที่ตามที่อธิบดี หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศกาหนด (2) ในจังหวัดอื่นให้ยื่นคาขอต่อสานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ศูนย์บริการคนพิการประจา จังหวัด อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) กานัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือประธานชุมชน องค์กรเอกชน หรือหน่วยบริการในพื้นที่ ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ประกาศกาหนด อธิบดีอาจประกาศกาหนดให้มีการยื่นคาขอหรือการแจ้งเรื่อง รวมถึงการอนุมัติผ่านช่อง ทาง อิเล็กทรอนิกส์ได้ ข้อ 12 เมื่อได้รับคำขอหรือการแจ้งเรื่องตามข้อ 11 แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ดาเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและความเหมาะสม พร้อมทั้งอาจขอให้ส่งเอกสารเพิ่มเติมเท่าที่จาเป็น เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาช่วยเหลือคนพิการให้เป็นไปอย่างมีป ระสิทธิภาพ เหมาะสม การอานวย ความสะดวกและรวดเร็วต่อคนพิการ รวมทั้งประสานงานกับผู้มีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการช่างก่อสร้าง เพื่อประมาณการรายการและราคาที่ต้องมีการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ ข้อ 13 การพิจารณาอนุมัติให้คนพิการได้รับสิทธิในกำรปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดีเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ในท้องที่ จังหวัดอื่นให้ผู้วำราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ สำหรับวิธีการเบิกจ่ายเงินให้ เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ ข้อ 14 การดาเนินการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ขอความร่วมมือหน่วยบริการในพื้นที่ หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน ผู้นาชุมชน หรืออาสาสมัคร ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 113 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 พฤษภาคม 2566
ร่วมกันดาเนินการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่ คนพิการแล้วจัดทารายงานผลต่อผู้มีอำนาจอนุมัติ เพื่อเบิกจ่ายเงินงบประมาณต่อไป ข้อ 15 อัตราวงเงินและรายการค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เป็นไป ตามที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ อาจมีค่าตอบแทน ให้ผู้มีความรู้ หรือประสบการณ์ด้านการก่อสร้าง หรือผู้มาช่วยงานก่อสร้าง และการจัดทำป้ายด้วยก็ได้ หมวด 3 การมีผู้ช่วยคนพิการ ข้อ 16 บุคคลใดประสงค์จะเป็นผู้ช่วยคนพิการให้ยื่นคำขอเพื่อเข้ารับการอบรมต่อหน่วยงาน ดังต่อไปนี้ (1) ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคาขอต่อกรม หรือหน่วยบริการในพื้นที่ หรือหน่วยงานอื่น ตามที่อธิบดีประกาศกาหนด (2) ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคาขอต่อสานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หน่วยบริการในพื้นที่ หรือหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกาหนด คุณสมบัติและลัก ษณะต้องห้ามของบุคคลที่จะเป็นผู้ช่วยคนพิการ ให้เป็นไปตามที่อธิบดี ประกาศกาหนด ข้อ 17 เมื่อได้รับคาขอตามข้อ 16 แล้วให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตรวจสอบคุณสมบัติและ ลักษณะต้องห้ามของผู้ยื่นความประสงค์เป็นผู้ช่วยคนพิการแล้วเสนอความเห็นต่ออธิบดีหรือผู้ว่าราชการจั งหวัด แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาคัดเลือกและส่งเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ช่วยคนพิการและให้ยื่นคาขอรับ จดแจ้งผู้ช่วยคนพิการต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย เมื่อกรมรับจดแจ้งแล้วให้แจ้งรายชื่อ และสถานที่ติดต่อของผู้ช่วยคนพิการ ที่รับจดแจ้งต่อหน่วยบริการในพื้นที่ หรือประกาศผ่านทางเว็บไซต์ และช่องทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นต่อไป การฝึกอบรมหลักสูตรผู้ช่วยคนพิการตามวรรคหนึ่ง กรมอาจจัดฝึกอบรมเอง หรือมอบหมาย ให้หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนจัดฝึกอบรมแทน ทั้งนี้ ตามหลักสูตรและวิธีการที่อธิบดีประกาศกาหนด รวมทั้งอาจยื่นคาขอเพื่อเสนออธิบดีพิจารณาอนุมัติให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรใกล้เคียงหรือสาเร็จ การศึกษาด้านคนพิการไม่ต้องเข้ารับฝึกอบรมหลักสูตรผู้ช่วยคนพิการอีกก็ได้ หลักเกณฑ์ และวิธีการรับจดแจ้ง ประเภทผู้ช่วยคนพิ การ และมาตรฐานการปฏิบัติงานของ ผู้ช่วยคนพิการ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกาหนด ข้อ 18 เพื่อประโยชน์ในการให้บริการด้านการมีผู้ช่วยคนพิการให้เป็นไปอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม อธิบดีอาจประกาศกาหนดให้หน่วยงานของรัฐ ศูนย์บริการคนพิการ หรือองค์กรเอกชนซึ่งได้รับ การรับรองมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้เป็นหน่วย ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 113 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 พฤษภาคม 2566
จัดบริการหรือจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้ช่วยคนพิการได้ ทั้งนี้ อาจได้รับการอุดหนุนงบประมาณ วิชาการ และเรื่องอื่น ๆ จากกรม หรือจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ข้ อ 19 คนพิการมีสิทธิได้รับบริการจากผู้ช่วยคนพิการ ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (1) มีบัตรประจำตัวคนพิการ (2) มีความจาเป็นต้องมีผู้ช่วยคนพิการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจวัตรที่สาคัญในการดารงชีวิต ประจำวัน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป (3) ไม่มีผู้ดูแลคนพิการ หรือผู้ดูแลคนพิการไม่สามารถดูแลคนพิการในขณะนั้นได้ ข้อ 20 วิธีการยื่นคำขอหรือการแจ้งเรื่องการมีผู้ช่วยคนพิการให้นาความในข้อ 11 และข้อ 12 มาใช้บังคับโดยอนุโลมและให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดาเนินการสารวจและขึ้นบัญชีคนพิการที่สมควรได้รับ สิทธิการมีผู้ช่วยคนพิการเพื่อเสนอต่อกรมเป็นรายปี ข้อ 21 การจัดให้มีบริการผู้ช่วยคนพิการ โดยให้ผู้ช่วยคนพิการปฏิบัติงานเป็นรายชั่วโมง หรือรายวันก็ได้ ทั้งนี้ ให้พิจารณาตามความต้องการจาเป็นของคนพิการเป็นรายกรณี และสามารถ ยื่นคำขอต่อเนื่องได้ กรณีคนพิการยื่นคาขอเกี่ยวกับการเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม เช่น การพบแพทย์ การสมัครงาน การเข้าร่วมประชุมสัมมนา ให้ยื่นคำขอเป็นรายชั่วโมงตามความจำเป็น ข้อ 22 ให้ผู้ช่วยคนพิการซึ่งปฏิบัติงานตามข้อ 21 มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายอื่น ตามอัตราวงเงินและรายการค่าใช่จ่ายที่อธิบดีประกาศกาหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ข้อ 23 เมื่อผู้ช่วยคนพิการได้ปฏิบัติงานแล้ว ให้รายงานผลการปฏิบัติงานเป็นรายเดือน หรือ เป็นรายครั้งตามลักษณะของงาน โดยให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการและบุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก หัวหน้าหน่วยงานที่จัดบริการผู้ช่วยคนพิการให้เป็นผู้ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้ช่วยคนพิการ ลงนามรับรองตามแบบที่อธิบดีกำหนดเพื่อเบิกจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นใ ห้แก่ผู้ช่วยคนพิการต่อไป ข้อ 24 ให้ผู้ช่วยคนพิการปฏิบัติงานตามหลักจรรยาบรรณ ดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความศรัทธาโดยเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเป็นธรรม เสมอภาค โดยไม่เลือกปฏิบัติ และมีมนุษยธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ มีจิตมุ่งบริการประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ด้วยความเต็มใจ เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริตตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย . (2) รักษาความลับของผู้รับบริการ เว้นแต่เป็นกรณีที่ข้อมูลนั้นเป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ กระบวนการให้บริการ หรือเป็นข้อมูลที่ได้รับอนุญาตจากผู้รั บบริการเพื่อเป็นข้อมูลทางสังคม (3) ประพฤติตนให้อยู่ในกรอบแห่งศีลธรรม วัฒนธรรมอันดีงาม และปฏิบัติตนให้เป็นที่นับถือ ของประชาชน (4) ไม่เรียกร้องหรือแสวงหาประโยชน์ส่วนตนโดยอาศัยตำแหน่งหรือบทบาทหน้าที่ (5) เสริมสร้างความสามัคคีระหว่างผู้ร่วมงาน ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 113 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 พฤษภาคม 2566
ข้อ 25 การให้ บริการผู้ช่วยคนพิการสิ้นสุดลง เมื่อ (1) คนพิการถึงแก่ความตายหรือขาดคุณสมบัติตามที่กาหนดไว้ในระเบียบนี้ (2) ยื่นใบลาออก (3) คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการขอยกเลิกการให้บริการ (4) สัญญาการให้บริการสิ้นสุดลง (5) กรณีผู้มีอานาจพิจารณาอนุมัติเห็นว่า การมีผู้ช่วยคนพิการไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนพิการ เท่าที่ควร กรณีผู้ช่วยคนพิการลาออกให้กรมจัดให้ผู้ช่วยคนพิการคนใหม่เข้าปฏิบัติหน้าที่แทนโดยไม่ชักช้า ข้อ 26 เมื่อมีกรณีอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้อธิบดีเพิกถอนการรับจดแจ้งการเป็นผู้ช่วย คนพิการได้หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดีหรือจากการแต่งตั้งคณะกรรมการ ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ไม่มาปฏิบัติงานสามครั้งขึ้นไปภายในหนึ่งปี โดยไม่มีเหตุอันสมควร (2) ปฏิบัติงานไม่ได้มาตรฐานที่กำหนดฝ่าฝืนหลักกา รจรรยาบรรณ หรือไม่ปฏิบัติตาม ข้อกาหนดของหน่วยจัดบริการ ซึ่งได้แจ้งเป็นหนังสือให้ปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลากำหนดแล้ว (3) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดที่กระทำโดยประมาท แต่ความผิดเกี่ยวกับการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพหรือก่อความรุนแรงต่ อคนพิการ เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และคนเปราะบางไม่จำเป็นต้องมีการจำคุกจริง (4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่อธิบดีประกาศกาหนด การเพิกถอนการรับจดแจ้งตาม (1) (2) (3) หรือ (4) ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย จากอธิบดีแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้ อเท็จจริงแล้วทำความเห็นประกอบการพิจารณาของอธิบดีด้วย และคำสั่งเพิกถอนการรับจดแจ้งให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ข้อ 27 ให้ผู้ช่วยคนพิการมีสิทธิได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะความชานาญด้านงานผู้ช่วย คนพิการหรือด้านอื่นที่ เกี่ยวข้องจากกรมหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากกรมอย่างต่อเนื่องด้วย ข้อ 28 ผู้ช่วยคนพิการมีสิทธิได้รับประกาศเกียรติคุณ โล่ประกาศเกียรติคุณ หรือเข็ม เชิดชูเกียรติของกรมหรือกระทรวงภายใต้เงื่อนไข ดังนี้ (1) ปฏิบัติงานดีเด่นอย่างต่อเนื่องสม่าเสมอไม่น้อยกว่ำสามปี มีสิทธิได้รับการพิจารณาคัดเลือก เพื่อรับประกาศเกียรติคุณผู้ช่วยคนพิการดีเด่นประจำปี (2) ได้รับประกาศเกียรติคุณผู้ช่วยคนพิการดีเด่นประจำปีตาม (1) และยังคงปฏิบัติงานดีเด่น อย่างต่อเนื่องสม่าเสมอรวมระยะเวลาติดต่อกันได้ไม่น้อยกว่าห้าปี มีสิทธิได้รับการพิจารณาคัดเลือก เพื่อขอรับโล่ประกาศเกียรติคุณผู้ช่วยคนพิการดีเด่นพิเศษประจำปี กรณีตามวรรคหนึ่งไม่ให้ใช้บังคับกับผู้ช่วยคนพิการ ผู้ปฏิบัติงานดีเด่น และที่ประสบภัย อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด ตามประกาศกระทรว งการคลัง ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 113 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 พฤษภาคม 2566
หมวด 4 การคุ้มครองสิทธิคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลคนพิการ ข้อ 29 คนพิการจะได้รับการคุ้มครองสิทธิ ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (1) มีบัตรประจำตัวคนพิการ (2) ไม่มีผู้รับอุปการะหรือดูแลคนพิการหรือมีแต่ไม่สามารถรับอุปการะหรือดูแลคนพิการได้ (3) ประสบสภาวะยากลำบากในการดาเนินชีวิต (4) ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐอื่นหรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ ข้อ 30 ให้นาความในข้อ 11 และข้อ 12 มาใช้บังคับโดยอนุโลมกับการยื่นคาขอคุ้มครองสิทธิ และการพิจารณาให้คนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลคนพิการรายใดได้เข้าถึงการ คุ้มครองสิทธิตามระเบียบนี้ ข้อ 31 เมื่ออนุมัติให้คนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลคนพิการคนหนึ่งคนใดได้รับการคุ้มครองสิทธิตามข้อ 29 ให้คนพิการรายนั้นได้รับความช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ ตามความจาเป็นและเหมาะสมให้สามารถ พึ่งพาตนเองได้ ดังต่อไปนี้ (1) การช่วยเหลือเ ป็นเงินหรือสิ่งของเพื่อการยังชีพ เงินทุนประกอบอาชีพ หรือการให้คาปรึกษา แนะนา การเสริมสร้างศักยภาพ การฝึกอาชีพ ส่งเสริมให้มีงานทำ การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ผู้ช่วยคนพิการ หรือสิทธิอื่น ๆ ตามความต้องการจำเป็นเฉพาะราย (2) การจัดหาครอบครัวอุปการะใ นชุมชนที่มีความพร้อมที่จะรับดูแลหรืออุปการะคนพิการ โดยรับค่าตอบแทนร่วมกับการช่วยเหลือตาม (1) (3) การส่งเข้าอุปการะในสถานสงเคราะห์ของรัฐ หรือสถานสงเคราะห์เอกชน หรือหน่วยงานอื่นใด ที่ให้อุปการะหรือจัดสวัสดิการที่อยู่อาศัยให้กับคนพิการชุมชน (4) การคุ้มครองสิทธิเรื่องอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด อัตราวงเงินและรายการค่าใช้จ่าย ตาม (1) (2) หรือ (3) ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกาหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังหรือได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการตามที่คณะอนุกรรมการบริ หารกองทุนประกาศกาหนด ข้อ 32 สถานสงเคราะห์เอกชนที่รับคนพิการตามข้อ 29 ไว้อุปการะหรือเลี้ยงดูมีสิทธิ ได้รับความช่วยเหลือเป็นเงินอุดหนุนค่าอุปการะเลี้ยงดูตามอัตรารายหัวหรือการอุดหนุนรูปแบบอื่น ทั้งนี้ ตามอัตราที่อธิบดีประกาศกาหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวง การคลัง และในกรณีงบประมาณ ไม่เพียงพอตามความจาเป็นให้กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการสนับสนุนตามอัตราและรายการ ที่คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนประกาศกาหนดรวมทั้งยินยอมให้กรมหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย ทำหน้าที่กำกับดูแล ให้คำแนะนำส่งเสริมสนับสนุนการดา เนินงานด้วย ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 113 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 พฤษภาคม 2566
สถานสงเคราะห์เอกชนตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้รับการรับรองมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือตามวรรคหนึ่งต่อเนื่องได้และ ให้กรมหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องส่งเสริมสนับสนุนให้เข้าถึงแหล่งทุนอื่นหรือ ความช่วยเหลืออื่น ตามที่กฎหมายกำหนด หมวด 5 สิทธิของผู้ดูแลคนพิการ ข้อ 33 ให้นาความในข้อ 11 และข้อ 12 มาใช้บังคับโดยอนุโลมกับการยื่นคาขอรับสิทธิ และการพิจารณาอนุมัติให้ผู้ดูแลคนพิการรายใดได้เข้าถึงการช่วยเหลือตามระเบียบนี้ หรือตามกฎหมาย กำหนด ข้อ 34 เมื่อได้รับการอนุมัติตามข้อ 33 ทาให้ผู้ดูแลคนพิการได้เข้าถึงสิทธิในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (1) การบริการให้คำปรึกษา แนะนำ หรือฝึกอบรมทักษะ การเลี้ยงดูคนพิการ (2) การบริการให้คาปรึกษา หรือการดาเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องในทางคดีด้านถูกกระทา ความรุ นแรง หรือการแก้ไขปัญหาครอบครัวหรือการดูแลคนพิการ (3) การได้รับการสนับสนุนเทคโนโลยีสิ่งอานวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศ บริการโทรคมนาคมและบริการสื่อสาธารณะ เครื่องช่วยหรืออุปกรณ์ที่จำเป็น เพื่อสนับสนุน การฝึกทักษะทางพัฒนาการแก่คนพิการในกำรดูแลตามความจำเป็นพิเศษของคนพิการรายกรณี (4) การได้รับความรู้ด้านอาชีพ การส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ หรือผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือบริการ หรือการสนับสนุน ส่งเสริม ให้สามารถดาเนินการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุแบบเจาะจง ตามประเภทการส่งเสริมวิสาหกิจและการประกอบอาชี พ หรือการส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็ง ในการประกอบอาชีพอิสระสู่การเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม ที่กรมหรือองค์กรคนพิการส่งเสริมหรือสนับสนุน การรวมกลุ่มเพื่อประกอบอาชีพคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ หรือที่กรมรับรอง การใช้สิทธิในการทำงาน ในสถานประกอบการ การฝึกอาชีพ การสนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพ การมีงานทา การได้รับสิทธิ ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัตินี้ เพื่อประโยชน์ในการอุปการะเลี้ยงดูและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (5) การช่วยเหลือคนพิการและผู้ดูแลคนพิการเป็นเงินหรือสิ่งของ หรือการเข้าพักในศูนย์พักพิง ศูนย์พักคอย โรงพยาบาลสนาม ซึ่งได้รับผลกระทบจากการประสบสาธารณภัย หรือภัยโรคติดต่ออันตราย หรือภัยจากสถานการณ์วิกฤติต่าง ๆ หรือมีฐานะความเป็นอยู่อย่างยากจน ที่ส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ที่รับดูแลหรืออุปการะคนพิการ (6) การได้รับความสะดวก การยกเว้น หรือการลดหย่อนค่าโ ดยสารยานพาหนะตามความเหมาะสม หรือการเข้าร่วม เข้าชม สถานที่ของรัฐ เช่น กิจกรรมการกีฬา และนันทนาการ หรือ การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมโดยจะต้องมีการจัดช่องทางพิเศษในการเข้าถึงสาหรับคนพิการและผู้ดูแล ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 113 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 พฤษภาคม 2566
คนพิการ ตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนเจ้าของกิจ การแห่งนั้นประกาศกาหนดและ การลดหย่อนภาษีตามประมวลรัษฎากร อัตราวงเงิน และรายการให้ความช่วยเหลือตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่อธิบดีกาหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ข้อ 35 ให้กรมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ขอตั้งงบป ระมาณประจำปี เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการตามระเบียบนี้ กรณีจำนวนงบประมาณที่ได้รับตามวรรคหนึ่งไม่เพียงพอตามความจำเป็นหรือไม่ได้รับ การสนับสนุนในรายการใด ให้กรมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอรับสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุนส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามที่คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนประกาศกาหนด ข้อ 36 ให้กรมจัดให้มีฐานข้อมูลระดับรายบุคคลที่สามารถเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นเพื่อให้ ทราบผลการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ ลดความซ้ำซ้อน และจัดทำแผนปฏิบัติการ ตลอดจน การรายงานผลการจัดสวัสดิกำรตามระเบียบนี้และภาพรวมต่อคณะอนุกรรมการประจาปีเพื่อพิจารณา ก่อนรายงานผลต่อคณะกรรมการ ข้อ 37 วิธีการปฏิบัติอื่นใดที่ไม่ได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้นำระเบียบของทางราชการ ว่าด้วยการนั้นมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ 38 ให้ประกาศ คาสั่ง หรือคู่มือแนวปฏิบัติ ที่ ออกตามความในระเบียบคณะกรรมการ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปรับสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ การมีผู้ช่วยคนพิการ การช่วยเหลือคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล และสิทธิของผู้ดูแล คนพิการ พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ การมีผู้ช่วยคนพิการ การช่วยเหลือคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล และสิทธิของผู้ดูแลคนพิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 ใช้บังคับได้ ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 25 6 6 จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 113 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 พฤษภาคม 2566