ประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เรื่อง การพิจารณาอุทธรณ์การขึ้นทะเบียนหนี้และการจัดการหนี้ของเกษตรกร พ.ศ. 2565
ประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เรื่อง การพิจารณาอุทธรณ์การขึ้นทะเบียนหนี้และการจัดการหนี้ของเกษตรกร พ.ศ. 2565
ประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เรื่อง การพิจารณาอุทธรณ์การขึ้นทะเบียนหนี้และการจัดการหนี้ของเกษตรกร พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดวิธีการอุทธรณ์ และการพิจารณาอุทธรณ์การขึ้นทะเบียนหนี้ และการจัดการหนี้ของเกษตรกร ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบันและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อให้กระบวนการอุทธรณ์ของเกษตรกรเป็นไปด้วย ความโปร่งใส เป็นธรรม ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเป็นแนวปฏิบัติในทิศทาง เดียวกัน อาศัยอานาจตามความในมาตรา 37/3 (4) และมาตรา 37/6 แห่งพระราชบัญญัติ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมติคณะกรรมกำร จัดการหนี้ของเกษตรกร ในคราวประชุมครั้งที่ 14/2565 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เรื่อง การพิจารณา อุทธรณ์การขึ้นทะเบียนหนี้ และการจัดการหนี้ของเกษตรกร พ.ศ. 2565 ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เรื่อง หลักเกณฑ์การอุทธรณ์ และการพิจารณาอุทธรณ์การขึ้นทะเบียนหนี้และการจัดการหนี้ ของเกษตรกร พ.ศ. 2563 ข้อ 4 ในประกาศนี้ “ คณะกรรมการจัดการหนี้ ” หมายความว่า คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร “ คณะอนุกรรมการ ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัด “ เลขาธิการ ” หมายความว่า เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร “ นายทะเบียน ” หมายความว่า เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร หรือพนักงานที่ได้รับการแต่งตั้งจากเลขาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่นายทะเบียน “ สำนักงานสาขาจังหวัด ” หมายความว่า สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัด “ ผู้อุทธรณ์ ” หมายความว่า เกษตรกรที่ไม่ได้รับการอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนหนี้ หรือจัดการหนี้ จากนายทะเบียน “ อุทธรณ์ ” หมายความว่า การอุทธรณ์เพื่อขอขึ้นทะเบียนหนี้และการอุทธรณ์เพื่อขอรับ การจัดการหนี้ตามประกา ศคณะกรรมการจัดการหนี้ “ ทะเบียนหนี้ ” หมายความว่า ทะเบียนเกษตรกรที่เกษตรกรซึ่งเป็นหนี้ในระบบได้ยื่นและ ได้รับการอนุมติจากนายทะเบียนรวมถึงหนี้ที่ผ่านการอุทธรณ์การขึ้นทะเบียนหนี้ตามกฎหมายว่าด้วย กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ้ หนา 50 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 11 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มกราคม 2566
“ การจัดการหนี้ ” หมายความว่า กระบว นการจัดการหนี้ให้แก่เกษตรกรที่มีขั้นตอนตั้งแต่ การเจรจาขอผ่อนผันกับสถาบันเจ้าหนี้ การออกหนังสือบรรเทาทุกข์ชะลอการดาเนินการทางกฎหมาย กับสถาบันเจ้าหนี้และการชำระหนี้แทนเกษตรกร “ หนังสือแจ้งจากนายทะเบียน ” หมายความว่า หนังสือที่นายทะเบียนแจ้งแก่เกษตรกร กรณีไม่อนุมัติให้ขึ้นทะเบียนหนี้ หรือไม่รับจัดการหนี้ ซึ่งหนังสือดังกล่าวต้องจัดให้มีการแจ้งสิทธิ ในการอุทธรณ์ หมวด 1 การยื่นอุทธรณ์ ข้อ 5 ผู้อุทธรณ์จะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อนายทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็น หนังสือจากนายทะเบียนเพื่อเสนอคณะอนุกรรมการให้ความเห็นก่อนเสนอคณะกรรมการจัดการหนี้ พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ข้อ 6 การอุทธรณ์ต้องยื่นคาอุทธรณ์เป็นหนังสือตามแบบที่สานักงานกองทุนฟื้นฟูและ พัฒนาเกษตรกรกาหนด โดยอย่างน้อยต้องมีรายการ ดั งต่อไปนี้ (1) วัน เดือน ปี ที่ยื่นอุทธรณ์ (2) ชื่อและที่อยู่ของผู้อุทธรณ์ที่สามารถติดต่อได้ (3) หนังสือแจ้งการไม่อนุมัติจากนายทะเบียนอันเป็นเหตุให้อุทธรณ์พร้อมทั้งข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง หรือคำคัดค้าน หรือข้อกฎหมาย และเหตุผลที่ยกขึ้นอ้างอิงในคำอุทธร ณ์โดยชัดแจ้ง (4) ความประสงค์หรือคาขอของผู้อุทธรณ์ (5) ลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์ ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ประสงค์จะยื่นเอกสารหรือหลักฐานประกอบการพิจารณาอุทธรณ์เพื่อโต้แย้ง หรือคัดค้านหนังสือแจ้งการไม่อนุมัติจากนายทะเบียนให้ผู้อุทธรณ์ยื่นพร้อมคาอุทธรณ์ ในกรณีที่ผู้อุ ทธรณ์ไม่สามารถเขียนคำอุทธรณ์ได้ด้วยตนเองโดยที่ไม่รู้หรือไม่เข้าใจ ให้สำนักงาน สาขาจังหวัดให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่เกษตรกร ข้อ 7 ผู้อุทธรณ์อาจขอแก้ไขเพิ่มเติมคาอุทธรณ์ได้โดยทาเป็นหนังสือ และลงลายมือชื่อ ผู้อุทธรณ์ พร้อมทั้งชี้แจงข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน แล ะเหตุผลประกอบการแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อเกษตรกรที่ได้ยื่นขึ้นทะเบียนหนี้ และถูกปฏิเสธไม่รับขึ้นทะเบียนหนี้หากตรวจพบหลักฐานใหม่ ในภายหลังว่าเป็นหนี้ตามมาตรา 37/1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ให้เกษตรกรได้สิทธิยื่นอุทธรณ์ด้วย ข้อ 8 ในการยื่นคาอุทธรณ์หรือคาอุทธรณ์แก้ไขเพิ่มเติมอาจยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทาการ สำนักงานสาขาจังหวัดในวันเวลาราชการหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ้ หนา 51 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 11 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มกราคม 2566
ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาอุทธรณ์ กรณียื่นคาอุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ให้ถือวันที่ ลงทะเบียนรับหนังสือ ของสำนักงานสาขาจังหวัดเป็นวันที่ยื่นคำอุทธรณ์ ส่วนกรณีส่งคำอุทธรณ์ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับที่ซองเอกสารอุทธรณ์เป็นวันที่ ยื่นคำอุทธรณ์ หมวด 2 การรับอุทธรณ์ ข้อ 9 เมื่อได้รับคำอุทธรณ์ให้สำนักงานสาขาจังหวัดลงทะเบี ยนรับเรื่องอุทธรณ์และให้ถือว่า วันที่ลงทะเบียนเป็นวันรับเรื่องอุทธรณ์พร้อมทั้งให้ออกใบรับคาอุทธรณ์และแจ้งการรับเรื่องอุทธรณ์ ให้ผู้อุทธรณ์ทราบด้วย ข้อ 10 ให้สำนักงานสาขาจังหวัดสรุปข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเสนอคำอุทธรณ์ต่อ คณะอนุกรรมการเพื่อให้ความเห็นภายในระย ะเวลาที่กาหนดไว้ไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่รับเรื่อง อุทธรณ์ (1) กรณีตรวจคาอุทธรณ์ในเบื้องต้นแล้วหากเห็นว่าคาอุทธรณ์มีรายการไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ตามข้อ 6 ให้สานักงานสาขาจังหวัดมีหนังสือแจ้งต่อผู้อุทธรณ์ให้แก้ไขคาอุทธรณ์ให้ครบถ้วนภายใน ระยะเวลาที่กาหนด ทั้ง นี้ ต้องไม่เกิน 30 วัน หากผู้อุทธรณ์ไม่แก้ไขภายในระยะเวลาที่กาหนดให้บันทึก ไว้ในใบรับอุทธรณ์ และปกอุทธรณ์ และนาเสนอต่อคณะอนุกรรมการให้ความเห็นต่อไป (2) กรณีสำนักงานสาขาจังหวัดเห็นว่าคำอุทธรณ์ใดมิได้ยื่นภายในระยะเวลาที่กำหนด ตามข้อ 5 หรือผู้อุทธรณ์ไม่มีสิทธิในการยื่นอุทธรณ์ หรือมีเหตุจาเป็นอื่น ให้สานักงานสาขาจังหวัด เสนอความเห็น พร้อมคำอุทธรณ์ต่อคณะอนุกรรมการให้ความเห็นต่อไป ข้อ 11 สาหรับคาอุทธรณ์ที่ได้ยื่นไว้ถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กาหนดแล้ว ให้สานักงาน สาขาจังหวัดจัดทำบันทึก สรุปนาเสนอคณะอนุกรรมการให้ความเห็นต่อไป บันทึกสรุปต้องประกอบด้วย (1) สรุปประเด็นข้ออุทธรณ์หรือข้อโต้แย้งที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยและประเด็นที่เป็นเนื้อหาของ การอุทธรณ์ (2) สรุปข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน (3) สรุปข้อกฎหมายที่ต้องใช้ในการพิจารณาอุทธรณ์ หมวด 3 การ พิจารณาอุทธรณ์ ข้อ 12 เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการจัดการหนี้ หรือคณะทางาน ที่คณะกรรมการจัดการหนี้มอบหมายให้กลั่นกรองอุทธรณ์ หรือคณะอนุกรรมการอาจขอให้ผู้อุทธรณ์ ้ หนา 52 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 11 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มกราคม 2566
มาให้ถ้อยคาหรือชี้แจงข้อเท็จจริง หรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา เพิ่มเติมได้ ในการพิจารณาว่าผู้ใดมีส่วนได้เสียหรือถูกคัดค้านในการออกคาสั่งตามประกาศนี้ ให้ใช้ บทบัญญัติเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ผู้ออกคาสั่งทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ในกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์นี้ ให้คณะกรรมการจัดการหนี้เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ การอุทธรณ์ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการจัดการหนี้ถือเป็นที่สุด ข้อ 13 เมื่อคณะอนุกรรมการเห็นว่าข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง เพียงพอแก่การพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามคาอุทธ รณ์แล้ว ให้สำนักงานสาขาจังหวัดทำบันทึกสรุปรายงาน การประชุมพร้อมความเห็นของคณะอนุกรรมการเสนอต่อคณะกรรมการจัดการหนี้เพื่อพิจารณา ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คณะอนุกรรมการพิจารณาและมีความเห็น ในกรณีที่คณะอนุกรรมการเห็นว่ามีประเด็นข้อสงสัย ให้มอบหมายตัวแทนคณ ะอนุกรรมการ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง รวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติมจากเดิม ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง ประกอบการพิจารณาอุทธรณ์จนสิ้นสงสัยได้ตามขั้นตอนตามวรรคแรก ข้อ 14 เมื่อสานักจัดการหนี้ของเกษตรกรได้รับบันทึกสรุปความเห็นของคณะอนุกรรมการแล้ว ใ ห้นาเสนอต่อคณะกรรมการจัดการหนี้พิจารณาโดยประกอบความเห็นของคณะอนุกรรมการให้แล้วเสร็จ ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับบันทึกสรุปความเห็นจากคณะอนุกรรมการ และให้สานักจัดการหนี้ ของเกษตรกร มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้สานักงานสาขาจังหวัดทราบภายใน 15 วันทาการ นับแต่วันที่คณะกรรมการจัดการหนี้วินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ให้สำนักงานสาขาจังหวัดมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้อุทธรณ์ทราบ ภายใน 15 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลจากสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร ข้อ 15 คาวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการจัดการหนี้ให้จัดทาเ ป็นหนังสือและอย่างน้อย ต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้ (1) วัน เดือน ปี ที่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ (2) ข้อเท็จจริงที่นามาใช้ประกอบคำวินิจฉัย (3) ข้อกฎหมายและเหตุผลในการวินิจฉัย ข้อ 16 ผู้อุทธรณ์อาจขอถอนคำอุทธรณ์ในเวลาใด ๆ ก่อนที่คณะกรรมการจัดการหนี้ จะมีคาวินิจฉั ยก็ได้ โดยให้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์ยื่นต่อสำนักงานสาขาจังหวัด เมื่อมีการถอนคำอุทธรณ์แล้วให้การพิจารณาอุทธรณ์เป็นอันระงับและให้สำนักงานสาขาจังหวัด จาหน่ายคาอุทธรณ์นั้นเสีย พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ และเสนอรายงานให้คณะกรรมการ จั ดการหนี้ทราบ ข้อ 17 แบบคำขออุทธรณ์และแบบที่ใช้ในประกอบในกระบวนการอุทธรณ์ให้เป็นไปตามแบบ ที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรกำหนด ้ หนา 53 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 11 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มกราคม 2566
ข้อ 18 ประกาศ เรื่อง การอุทธรณ์การขึ้นทะเบียนหนี้และการอุทธรณ์การจัดการหนี้ ของเกษตรกร ฉบับอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับประกาศ ฉบับนี้ ให้นาบทบัญญัติในประกาศฉบับนี้บังคับใช้ ข้อ 19 การดาเนินการอื่นใดอันเกี่ยวข้องกับการอุทธรณ์ซึ่งไม่ได้กาหนดเป็นหลักเกณฑ์ไว้ ในประกาศฉบับนี้ให้นากฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม บทเฉพาะกาล ข้อ 20 กรณีที่เกษตรกรได้ยื่นอุทธรณ์แล้วและยังไม่ได้รับการพิจารณา หรือพิจารณายังไม่ แล้วเสร็จไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จตามประกาศฉบับนี้ กรณีที่เกษตรกรรายใดยังไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์อันเนื่องจากปัญหาความไม่ชัดเจนของประกาศ หรือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกั บการอุทธรณ์ ให้ได้สิทธิยื่นอุทธรณ์ตามประกาศฉบับนี้ กรณีที่เกษตรกรได้รับการปฏิเสธอุทธรณ์แล้วหากพบว่ามีข้อเท็จจริงหรือหลักฐานใหม่ ให้ได้สิทธิ ยื่นอุทธรณ์ตามประกาศฉบับนี้ ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 256 5 จารึก บุญพิมพ์ ประธานกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร ้ หนา 54 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 11 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มกราคม 2566