Mon Jan 16 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 294/2565 เรื่อง แบบหรือลักษณะของเครื่องหมาย และวิธีการแสดงเครื่องหมายสำหรับภาชนะที่ใช้บรรจุสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้


ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 294/2565 เรื่อง แบบหรือลักษณะของเครื่องหมาย และวิธีการแสดงเครื่องหมายสำหรับภาชนะที่ใช้บรรจุสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้

ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 294 / 25 65 เรื่อง แบบหรือลักษณะของเครื่องหมาย และวิธีการแสดงเครื่องหมาย สำหรับภาชนะที่ใช้บรรจุสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ อาศัยอานาจตามความในข้อ 6 และข้อ 17 ของกฎกระทรวงการดาเนินการสาหรับสิ่งของ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ พ.ศ. 2564 ประกอบกับมาตรา 190 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือ ในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อกาหนดแบบหรือลักษณะของ เครื่องหมาย และวิธีการแสดงเครื่ องหมายสาหรับภาชนะที่ใช้บรรจุสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติของประมวลข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ทางน้ำ ระหว่างประเทศ ( International Maritime Dangerous Goods Code ( IMDG Code )) ซึ่งกาหนด โด ยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ อธิบดีกรมเจ้าท่า จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ในประกาศนี้ “ เครื่องหมาย ” หมายความว่า ตรา ฉลาก ป้าย หรือการพ่นสีลายฉลุเพื่อบ่งบอกสภาพ การเป็นอันตรายของสิ่งของที่บรรจุในภาชนะ “ ภาชนะ ” หมายความว่า ถัง ถุง กล่อง หรือสิ่งที่ใช้บรรจุสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ และหมายความรวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุภาชนะดังกล่าวด้วย “ แสดงเครื่องหมาย ” หมายความว่า การติด พิมพ์ พ่นสี ฉลุลาย หรือการดาเนินการอย่างใด ๆ เพื่อให้เครื่องหมายที่เป็น ตรา ฉลาก ป้าย หรือลายฉลุ ติดที่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ข้อ 3 การทาเครื่องหมาย ( Marking ) ที่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ให้เป็นไป ตามแบบหรือลักษณะ และวิธีการ ดังต่อไปนี้ 3.1 ถ้าประมวลข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ทางน้า ระหว่างประเทศ ( IMDG Code ) มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้แสดงเครื่องหมายด้วยตัวอักษร “ UN ” และตามด้วยหมายเลข UN ตามประกาศกรมเจ้าท่าว่าด้วยประเภทของภาชนะ มาตรฐานของภาชนะ การ จัดให้มีและการรับรองการใช้รหัสสหประชาชาติ ( United Nation Mark ) และข้อปฏิบัติในการ บรรจุสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ ที่มีลักษณะคงทนถาวรและสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ตามชนิดของสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ที่บรรจุไว้ในแต่ละภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ 3.2 สำหรับสิ่งของที่ไม่ได้บรรจุภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อตาม 3.1 ต้องทำเครื่องหมายไว้ที่สิ่งของนั้น ๆ และที่แคร่สำหรับยก หรืออุปกรณ์จัดเก็บและขนย้าย ้ หนา 26 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 11 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มกราคม 2566

3.3 การทำเครื่องหมายที่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ต้องสามารถมองเห็น ได้ชัดเจน อ่านออกได้ง่าย และต้องสามารถทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศกลางแจ้งได้โดยไม่ทำให้ ประสิทธิผลลดลง 3.4 ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อที่ใช้ในการ SALVAGE จะต้องมี เครื่องหมายที่เป็ นคาว่า “ SALVAGE ” ติดไว้ที่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อด้วย 3.5 ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ แบบ IBCs ที่มีความจุมากกว่า 450 ลิตร ต้องทำเครื่องหมายที่ด้านข้างซึ่งตรงข้ามกันทั้ง 2 ด้าน 3.6 เครื่องหมายเฉพาะสาหรับสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 7 ตามประกาศกรมเจ้าท่าว่าด้วยการกำหนดชั้นของสิ่งของและสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ให้เป็นไป ดังนี้ 3.6.1 ให้ติดเครื่องหมายที่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ บริเวณ ที่มองเห็นได้ ง่าย มีความชัดเจน และติดตรึงถาวร รวมทั้งระบุผู้รับของหรือผู้ส่งของหรือทั้งสองฝ่ายกำกับไว้ ด้านนอกของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ในแต่ละภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อด้วย 3.6.2 หากมิได้เป็นภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อแบบ excepted ตามประมวล ข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ทางน้าระหว่างประเทศ ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อแต่ละชิ้น จะต้องแสดงเครื่องหมายที่เป็นหมายเลขสหประชาชาติ ที่มีอักษร UN นาหน้า และชื่อของสิ่งของที่บรรจุอยู่ในภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ บริเวณ ที่มองเห็นได้ง่าย มีความชัดเจน และติดตรึงถาวร โดยให้แสดงไว้ด้านนอกของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นหีบห่อ สาหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อแบบ excepted ตามประมวล ข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ทางน้าระหว่างประเทศ ให้แสดงเฉพาะ หมายเลขสหประชาชาติที่มีอักษร UN นำหน้า 3.6.3 กรณีสิ่งของที่บรรจุในภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ มีน้าหนัก รวมกันเกินกว่า 50 กิโลกรัม จะต้องแสดงห มายเลขจำนวนน้าหนักรวมดังกล่าว บริเวณที่มองเห็นได้ง่าย มีความชัดเจน และติดตรึงถาวร กากับไว้ด้านนอกของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ในแต่ละ ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ 3.6.4 ในแต่ละภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ จะต้องแสดงเครื่องหมาย ดังต่อไป นี้ (ก) กรณีสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้อยู่ในภาชนะและบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นหีบห่อ แบบ Industrial Type IP - 1 , Industrial Type IP - 2 หรือ Industrial Type IP - 3 ตามที่กำหนดในประมวลข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ทางน้ำระหว่างประเทศ ้ หนา 27 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 11 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มกราคม 2566

ให้แสดงเครื่องหมายเป็นอักษร “ แบบ IP - 1 ” “ แบบ IP - 2 ” หรือ “ แบบ IP - 3 ” ที่บริเวณที่มองเห็นได้ง่าย มีความชัดเจน และติดตรึงถาวร กำกับไว้ด้านนอกของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ (ข) กรณีสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้อยู่ในภาชนะและบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นหีบห่อ แบบ A ตามที่กาหนดในประมวลข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตราย ขึ้นได้ ทางน้ำระหว่างประเทศ ให้แสดงเครื่ องหมายเป็นอักษร “ แบบ A ” ที่บริเวณที่มองเห็นได้ง่าย มีความชัดเจน และติดตรึงถาวร กากับไว้ด้านนอกของบรรจุภัณฑ์และหีบห่อ ในแต่ละภาชนะและบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นหีบห่อ (ค) กรณีสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้อยู่ในภาชนะและบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นหีบห่อ แบบ Industrial Type IP - 2 หรือ Industrial Type IP - 3 หรือแบบ A ให้แสดงรหัสสากล ว่าด้วยชื่อขึ้นทะเบียนการขนส่งของประเทศต้นทางการขนส่งที่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ได้รับการออกแบบและชื่อผู้ผลิต หรือเครื่องหมายเฉพาะของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อนั้น ตามที่กำหนดในประมวลข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ทางน้ำ ระหว่างประเทศ บริเวณที่มองเห็นได้ง่าย มีความชัดเจน และติดตรึงถาวร กากับไว้ด้านนอกของ ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่ เป็นหีบห่อ ในแต่ละภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ 3.6.5 ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อสำหรับสิ่งของที่อาจทำให้เกิด อันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 7 ซึ่งเป็นไปตามแบบและได้รับรองตามประกาศกรมเจ้าท่าว่าด้วยการออก หนังสือรับรองเครื่องหมายภาชนะสาหรับสิ่งของที่อำจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ ให้ติดเครื่องหมาย ดังต่อไปนี้ในบริเวณที่มองเห็นได้ง่าย มีความชัดเจน และติดตรึงถาวร กำกับไว้ด้านนอกของภาชนะและ บรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ในแต่ละภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ดังนี้ (ก) เครื่องหมายเฉพาะของสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 7 ที่แสดงถึงแบบของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ซึ่งเป็นไปตามแบบและได้รับรองตามประกาศ กรมเจ้าท่าว่าด้วยการออกหนังสือรับรองเครื่องหมายภาชนะสำหรับสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ ( ข) ลาดับหมายเลข ( Serial number ) ที่ระบุจำเพาะของแต่ละภาชนะและ บรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ซึ่งบ่งบอกถึงแบบของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ นั้น (ค) “ แบบ B ( U )” หรือ “ แบบ B ( M )” ในกรณีที่แบบภาชนะและบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นหีบห่อ เป็นชนิด B ( U ) หรือ แบบ B ( M ) (ง) “ แบบ C ” ในกรณีที่แบบภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ เป็นแบบ C 3.6.6 แต่ละภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อแบบ B ( U ) , ชนิด B ( M ) หรือแบบ C จะต้องมีผิวด้านนอกของภาชนะบรรจุ ดังนี้ (ก) ทาหรือติดเครื่องหมายที่มีลักษณะเป็นใบพัดสามแฉกโดยทาเป็นตัวนูน หรือประทับหมายไว้ที่ชั้นนอกสุด ซึ่งต้องมีคุณสมบัติที่ทนไฟ ความร้อนสูง และกันน้ำ หรือ ้ หนา 28 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 11 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มกราคม 2566

(ข) ทาหรือติดเครื่องหมายที่มีลักษณะเป็นใบพัดสามแฉกด้วยวิธีการอื่นใด ซึ่งต้องมีคุณสมบัติที่ทนไฟ ความร้อนสูง และกันน้ำ ตามรูปต่อไปนี้ เครื่องหมายที่มีลักษณะเป็นใบพัดสามแฉก มี ฐานของระยะและขนาดตามสัดส่วนของวงกลม คือ หากให้วงกลมตรงกลางของเครื่องหมายมีรัศมีเท่ากับระยะ X ค่าอื่น ๆ เป็นไปตามสัดส่วนตามภาพเมื่อเทียบกับค่ารัศมีวงกลม X โดยรัศ มีวงกลมต้องมีค่าอย่างน้อย 4 มิลลิเมตร ( X ≥ 4 mm .) 3.6.7 กรณีภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อที่มีลักษณะปิดซึ่งบรรจุสิ่งของ ที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ ที่เป็น LSA - I หรือ SCO - I หรือใช้วัสดุพันหุ้มห่อด้วยวัสดุ LSA - I หรือ SCO - I หากต้องมีการขนส่งให้ดาเนินการระบุที่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อว่า “ RADIOACTIVE LSA - I ” หรือ “ RADIOACTIVE SCO - I ” 3.6.8 กรณีภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ที่มีลักษณะเปิดหรือไม่ได้ บรรจุในภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ให้ปฏิบัติ ดังนี้ (ก) กรณีสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ ซึ่งเป็นวัสดุกัมมันตรังสี ที่ไม่บรรจุภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อทั้งหมดที่ไม่ใช่สินแร่ซึ่งมีเพียงนิวไคลด์รังสีธรรมชาติอยู่ในนั้น จะทาการขนส่งได้ภายใต้สภาวะการขนส่งประจา ต้องไม่มีการเล็ดลอดออกไปของวัสดุกัมมันตรังสี ที่บรรจุอยู่จากสิ่งที่ใช้บรรทุก รวมทั้งไม่เกิดการสูญเสียการป้องกันและการกาบังรังสีต่าง ๆ (ข) สิ่งที่ใช้บรรทุกในแต่ละครั้งต้องดาเนินการภายใต้การใช้งานเฉพาะรายเดียว ยกเว้นเพียงเมื่อทำการขนส่ง SCO - I ที่มีกำรเปรอะเปื้อนบนพื้นผิวด้านที่เข้าถึงได้ง่ายและไม่สามารถ เข้าถึงได้ง่ายไม่สูงมากกว่า 10 เท่าของระดับที่ระบุไว้การมีสารกัมมันตรังสีบนพื้นผิวในปริมาณ เกินกว่า 0.4 เบ็กเคอเรลต่อตารางเซนติเมตร สาหรับสารกัมมันตรังสีที่แผ่รังสีบีตา รังสีแกมมา และ ้ หนา 29 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 11 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มกราคม 2566

รังสีแอลฟาที่มีค่าความเป็นพิษต่ำ หรือ 0.04 เบ็กเคอเรลต่อตารางเซนติเมตร สำหรับสารกัมมันตรังสี ที่แผ่รังสีแอลฟาอื่น ๆ ทั้งหมด (ค) สาหรับ SCO - I ที่สงสัยว่าการเปรอะเปื้อนแบบไม่ติดแน่นมีจริงบนพื้นผิว ด้านที่ไม่สามารถเข้าถึง สูงมากกว่าค่าที่ระบุไว้ว่า SCO - I : วัตถุของแข็งซึ่งมีการเปรอะเปื้อนแบบไม่ติดแน่น บนพื้นผิวที่เข้าถึงได้ง่ายจากพื้นที่เฉลี่ย 300 ตารางเซนติเมตร (หรือใช้พื้นที่ทั้งหมดหากมีพื้นที่ น้อยกว่า 300 ตารางเซนติเมตร) สาหรับสารกัมมันตรังสีที่แผ่รังสีรังสีแกมมา และรังสีแอลฟาที่มีค่า ความเป็นพิษต่าไม่เกิน 4 เบ็กเคอเรลต่อตารางเซนติเมตร หรือสาหรับสารกัมมันตรังสีที่แผ่รังสี แอลฟาอื่น ๆ ไม่เกิน 0.4 เบ็กเคอเรลต่อตารางเซนติเมตร ต้องมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่า ไม่เกิดการรั่วไหลของวัสดุกัมมันตรังสีเข้าสู่ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง ผิวนอกของภาชนะปิดหรือวัสดุ ที่ใช้พันหุ้มนี้จะต้องติดเครื่องหมาย “ กัมมันตรังสี LSA - I ” หรือ “ กัมมันตรังสี SCO - I ” ที่เหมาะสม 3.6.9 กรณีที่การขนส่งสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ตามข้อ 3.6.7 และ 3.6.8 ไปต่างประเทศหรือนาเข้าจากต่างประเทศ ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สานักงานปรมาณูเพื่อสันติ และหน่วยงานที่มีอานาจหน้าที่ของประเทศที่นาเข้าหรือส่งออก มีภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อและวิธีการขนส่งตามที่ประเทศผู้นำเข้าหรือส่งออกกำหนด ทั้งต้องทา หรือติดเครื่องหมายตามที่ ประเทศนั้นกาหนดด้วย 3.7 เครื่องหมายพิเศษสาหรับสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ที่มีคุณสมบัติ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3.7.1 ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อที่บรรจุสิ่งของที่อาจทำให้เกิด อันตรายขึ้นได้ที่มีคุณสมบัติที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้ อมทางน้า (สารที่ทาให้เกิดมลพิษทางน้า) ต้องติดเครื่องหมายสาหรับสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ที่มีคุณสมบัติที่อาจส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความคงทนถาวร ตามข้อ 3.7.3 เว้นแต่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อเดี่ยวและ ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหี บห่อรวมที่มีภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อเดี่ยวหรือภาชนะและบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นหีบห่อหลายอย่างรวมกัน ซึ่งภายในของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อรวมดังกล่าว ต้องมีสัดส่วนของเหลวหรือของแข็ง ดังนี้ (ก) มีสัดส่วนของเหลวปริมาณ 5 ลิตร หรือน้อยกว่า หรือ (ข) มีสัดส่วนของแข็งมีมวลสุทธิ 5 กิโลกรัม หรือน้อยกว่า 3.7.2 เครื่องหมายสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ต่อสิ่งแวดล้อมต้องติด ใกล้กับเครื่องหมายที่กำหนดในข้อ 3.1 และต้องเป็นไปตามที่กาหนดในข้อ 3 .3 และข้อ 3 .5 ้ หนา 30 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 11 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มกราคม 2566

3.7.3 เครื่องหมายสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ต่อสิ่งแวดล้อมต้อง เป็นไปตามรูปข้างล่าง ขนาด 100 X 100 มิลลิเมตร ยกเว้นในกรณีที่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นหีบห่อที่มีขนาดดังกล่าวสามารถติดเครื่องหมายที่เล็กลงได้เท่านั้น เครื่องหมายที่เป็นสัญลักษณ์ (ปลาและต้นไม้) : สีดาบนพื้นสีขาว หรือพื้นสีอื่นที่ตัดกัน 3.8 เครื่องหมายลูกศรชี้ขึ้น 3.8.1 เว้นแต่ตามที่ได้กาหนดในข้อ 3.8.2 ให้ใช้เครื่องหมายลูกศรชี้ขึ้น สำหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ดังต่อไปนี้ (ก) ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อรวมที่มีภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ภายในบรรจุของเหลว (ข) ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อเดี่ยวที่ติดตั้งช่องระบายอากาศ และ (ค) ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อปิดแบบอุณหภูมิต่ำที่ใช้ขนส่งก๊าซเหลว ที่มีอุณหภูมิต่ำ การติดหรือทาเครื่องหมายลูกศรชี้ขึ้นต้องติดหรือทาเครื่องหมายในบริเวณ ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อซึ่งสามารถสังเกตุเห็นได้ชัดเจน โดยทาเครื่องหมายดังเช่นที่แสดงใน รูปด้านล่าง หรือเป็นไปตามที่กาหนดใน ISO 780:1997 โดยเครื่องหมายลูกศรชี้ขึ้นต้องปรากฏ ด้าน ข้างในแนวตั้งของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อทั้งสองด้านตรงข้ามกัน โดยมีลักษณะเป็น ลูกศรชี้ขึ้นตรงภายในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีขนาดเห็นได้อย่างชัดเจนและเหมาะสมกับขนาดของ ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อและอาจตีกรอบล้อมรอบลูกศรก็ได้ หรือ เครื่องหมายลูกศรชี้ขึ้นลูกศรสีดำหรือแดงบนพื้นสีขาว หรือพื้นอื่น ๆ ที่ตัดกัน โดยอาจมีกรอบล้อมรอบก็ได้ ้ หนา 31 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 11 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มกราคม 2566

3.8.2 เครื่องหมายลูกศรชี้ขึ้นไม่ต้องใช้กับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ดังนี้ (ก) ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อปิดรับความดัน ยกเว้นภาชนะและ บรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อปิดแบบอุณหภูมิต่า (ข) สิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ในภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ภายในที่ไม่เกินกว่า 120 มิลลิลิตรที่มีวัสดุดูดซับที่เพียงพอระหว่างภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ภายในและภาชนะและบรรจุภัณ ฑ์ที่เป็นหีบห่อภายนอกที่ดูดซับของเหลวได้ดี (ค) สารติดเชื้อประเภทที่ 6.2 ในภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อปิดหลัก ที่ไม่เกิน 50 มิลลิลิตร (ง) วัสดุกัมมันตรังสีประเภทที่ 7 ในหีบห่อ Type IP - 2 , Type IP - 3 , A, B ( U ) , B ( M ) หรือ C (จ) สิ่งของที่ไหลในทุกทิศทาง (เช่น แอลกอฮอล์ หรือปรอทในเทอรโมมิเตอร์ กระป๋องสเปรย์เป็นต้น) หรือ (ฉ) ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อรวมที่บรรจุภาชนะและบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นหีบห่อภายในที่ปิดสนิทที่แต่ละภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อบรรจุไม่เกิน 500 มิลลิลิตร 3.8.3 เครื่องหมายที่เป็นลูกศรสำหรับวัตถุประสงค์อื่นที่นอกเหนือจาก การแสดงทิศทางของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อที่ถูกต้อง ต้องไม่แสดงบนภาชนะและบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นหีบห่อที่ติดเครื่องหมายภายใต้ข้อย่อยนี้ ข้อ 4 การติดฉลาก ที่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นหีบห่อ ให้เป็นไปตามแบบหรือลักษณะ และวิธีการ ดังต่อไปนี้ 4.1 ข้อกาหนดในการติดฉลาก 4.1.1 สิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ตามประกาศกรมเจ้าท่าว่าด้วย การกำหนดชั้นของสิ่งของและสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ จะต้องมีการติดฉลากตามที่กำหนดใ นข้อนี้ 4.1.2 เครื่องหมายแสดงความเป็นอันตรายที่ไม่สามารถลบหรือล้างออกได้ ที่ตรงตามรูปแบบที่ได้กำหนดไว้อาจจะใช้แทนฉลากได้ 4.1 .3 ฉลากแต่ละชนิดจะต้อง (ก) ติดบนพื้นผิวเดียวกับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อถ้าขนาดของ ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อนั้นใหญ่พอที่จะติดได้สาหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อวัตถุ อันตรายประเภทที่ 1 และ 7 ตามประกาศกรมเจ้าท่าว่าด้วยการกาหนดชั้นของสิ่งของและสิ่งของ ที่อาจทำให้เกิ ดอันตรายได้ โดยต้องติดใกล้เครื่องหมายแสดงชื่อที่ถูกต้องในการขนส่ง ้ หนา 32 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 11 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มกราคม 2566

(ข) ต้องติดฉลากบนภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อในลักษณะที่ไม่ถูกปกปิด หรือบดบัง โดยส่วนหนึ่งส่วนใดหรือส่วนที่นามาติดกับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อหรือฉลาก หรือเครื่องหมายอื่น ๆ (ค) เมื่อมีการกาหนดให้ติดฉลากแสดงประเภทสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ มากกว่าหนึ่งฉลาก ฉลากทั้งหมดต้องติดอยู่ชิดกันในกรณีที่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อมีรูปทรง ไม่ปกติหรือมีขนาดเล็กและไม่สามารถติดฉลากได้ ฉลากอาจผูกติดกับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่ เป็นหีบห่อ โดยใช้ป้ายที่ผูกติดแน่น หรือวิธีอื่นที่เหมาะสม 4.1.4 ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อแบบ IBCs ที่มีความจุมากกว่า 450 ลิตร ต้องติดฉลากทั้งสองด้านที่ตรงข้ามกัน 4.1.5 ข้อกาหนดพิเศษสาหรับการติดฉลากของสารทาปฏิกิริยาด้วยตัวเอง และสารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ (ก) ฉลากตามรูปแบบที่ 4.1 บ่งชี้ว่าเป็นสินค้าไวไฟอยู่แล้ว จึงไม่ต้องติดฉลาก ที่เป็นไปตามรูปแบบที่ 3 นอกจากนี้สารที่ทาปฏิกิริยาด้วยตัวเองชนิด B ต้องติดฉลากตามรูปแบบที่ 1 เว้นแต่พนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้ยกเว้นการปิดฉลำกบนภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อแบบพิเศษ เนื่องจากข้อมูลการทดสอบได้พิสูจน์ว่าสารที่ทำปฏิกิริยาได้ด้วยตัวเองในภาชนะและบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นหีบห่อนี้ ไม่สามารถระเบิดออกมาได้ (ข) ฉลากตามรูปแบบที่ 5.2 บ่งชี้ว่าเป็นสินค้าไวไฟอยู่แล้ว จึงไม่ต้องติดฉลาก ที่เป็นไปตามรูปแบบที่ 3 และต้องติดฉลากดังต่อไปนี้เพิ่มเติม ( 1 ) ฉลากตามรูปแบบที่ 1 สาหรับสารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ชนิด B ยกเว้นพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้ใช้ฉลากนี้กับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อเฉพาะ เนื่องจาก ผลการทดสอบพิสูจน์ว่า สารเปอร์ออ กไซด์อินทรีย์ที่ทาปฏิกิริยาได้ด้วยตัวเองในภาชนะและบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นหีบห่อนี้ไม่มีคุณสมบัติเป็นสารระเบิด ( 2 ) ฉลากตามรูปแบบที่ 8 ใช้เมื่อเป็นไปตามเกณฑ์ของกลุ่มการบรรจุ I หรือ II ของสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 8 สำหรับสารที่ทำปฏิกิริยาได้ด้วยตัวเองและสารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ที่ระบุ โดยชื่อฉลากที่จะนำมาติดระบุไว้ในรายการรายชื่อของสารที่ทาปฏิกิริยาได้เอง และรายชื่อสารเปอร์ออกไซด์ อินทรีย์ที่กำหนดไว้ในปัจจุบันตามลำดับ 4.1.6 ข้อกาหนดพิเศษในการติดฉลากภาชนะและบรรจุภั ณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ที่บรรจุสารติดเชื้อ นอกจากต้องมีฉลากอันตรายหลัก (ฉลากหมายเลข 6.2) ของภาชนะและ บรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อที่บรรจุสารติดเชื้อแล้ว ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อที่บรรจุสารติดเชื้อดังกล่าว ต้องมีการติดฉลากอื่นตามลักษณะความเป็นอันตรายของ สารนั้น ๆ ด้วย ้ หนา 33 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 11 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มกราคม 2566

4.1.7 ข้อกาหนดพิเศษสำหรับการติดฉลากวัสดุกัมมันตรังสี (ก) เว้นแต่ที่กาหนดสาหรับที่บรรจุสินค้าขนาดใหญ่หรือแท็งก์ แต่ละภาชนะ และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อภายนอกและตู้สินค้าที่บรรจุวัสดุ กัมมันตรังสีจะต้องติดฉลากอย่างน้อยสองอันตามรูปแบบฉลากหมายเลข 7 A, 7 B, และ 7 C ตามประเภทของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อภายนอก และตู้สินค้าอย่างเหมาะสม โดย ต้องติดฉลากตรงข้ามกันทั้งสองด้านของผิวนอกภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็น หีบห่อหรือผิวนอกทั้งสี่ด้านของตู้สินค้า ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อภายนอกแต่ละอันโดยต้อง ติดฉลากตรงข้ามกันทั้งสองด้านของผิวนอกภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อภายนอกนั้น นอกจากนี้ ภาชนะ และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อภายนอก และตู้สินค้าที่บรรจุวัสดุ ซึ่งสามารถแตกตัวได้อื่นใด ยกเว้นสำหรับวัสดุที่มิใช่วัสดุซึ่งสามารถแตกตัวได้จะต้องติดฉลาก ตามรูปแบบฉลากหมายเลข 7 E ใกล้กับฉลากแสดงว่าเป็นสารกัมมันตรังสีฉลากเหล่านี้ไม่จัดรวมเป็นประเภท เครื่องหมายตามที่ระบุไว้ตามข้อ 1 นี้ฉลากอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องตามสาระของข้อกาหนดนี้จะต้อง ปลดออกหรือปกปิดไว้ (ข) รูปแบบของฉลากตามแบบฉลากหมายเลข 7 A, 7 B, และ 7 C จะต้อง มีข้อสนเท ศที่สมบูรณ์ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) สิ่งที่บรรจุ 1 ) ชื่อของเรดิโอนิวไคลด์ให้ใช้ตามสัญลักษณ์ที่กำหนด เว้นแต่วัสดุ LSA - I สำหรับเรดิโอนิวไคลด์ผสมจะต้องแจงนิวไคลด์ที่เป็นรายการต้องห้ามที่สุดเท่าที่เนื้อที่จะอำนวย จะต้องแจกแจงกลุ่มของ LSA และ SCO โดยใช้เป็น “ LSA - II ” , “ LSA - III ” , “ SCO - I ” หรือ “ SCOII ” ท้ายชื่อของเรดิโอนิวไคลด์นั้น 2 ) สำหรับวัสดุ LSA - I เพียงใช้ข้อความ “ LSA - I ” โดยไม่จำเป็น ต้องระบุชื่อ เรดิโอนิวไคลด์ ( 2 ) กัมมันตภาพ ( activity ): ค่ากัมมันตภาพสูงสุดของวัสดุกัมมันตรังสี ที่บรรจุ ( radioactive contents ) ในระหว่างทาการขนส่งจะแสดงเป็นหน่วย เบ็กเคอเรล ( becquerels, Bq ) โดยมี SI เสริมนำ สำหรับวัสดุซึ่งสามารถแตกตัวได้นั้น มวลจะอยู่ในหน่วยของกรัมหรือหน่วยที่เพิ่มค่า มากขึ้น และอาจใช้แทนที่ค่ากัมมันตภาพได้ ( 3 ) ข้อความแสดง “ สิ่งที่บรรจุ ” และ “ กัมมันตภาพ ” บนฉลากติด ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อภายนอกและตู้สินค้าจะต้องให้ข้อสนเทศตามที่กาหนดใน ข (1) และ (2) ตามลาดับ ของทุกสิ่งที่บรรจุในภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่ อภายนอกและตู้สินค้านั้น ยกเว้นกรณีฉลากของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อภายนอกและตู้สินค้าที่เป็นระวางผสมของ ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อหลายอันที่บรรจุเรดิโอนิวไคลด์ต่างชนิดกัน อาจใช้ข้อความ “ ดูเอกสารกากับการขนส่ง ” แทน ้ หนา 34 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 11 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มกราคม 2566

( 4 ) ดัชนีการขนส่งสาหรับประเภท I - White ไม่จาเป็นต้องแสดงดัชนี การขนส่ง (ค) ฉลากตามรูปแบบฉลากหมายเลข 7 E จะต้องแสดงค่าดัชนีความปลอดภัย วิกฤต ( criticality safety index, CSI ) ตามที่กาหนดในใบรับรองสาหรับการขนส่งแบบการจัดการ แบบพิเศษ หรือใบรับรองการออกแบบภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อที่ออกให้โดยพนักงาน เจ้าหน้าที่ (ง) ค่าดัชนีความปลอดภัยวิกฤต ( CSI ) บนฉลากที่ปิดภาชนะและบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นหีบห่อภายนอกและตู้สินค้าจะต้องประกอบด้วยข้อสนเทศตามข้อ ค รวมทั้งหมดของวัสดุ ซึ่งสามารถแตกตัว ได้ในหีบห่อภายนอกและตู้สินค้านั้น (จ) ในกรณีที่การขนส่งภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อระหว่างประเทศ ต้องให้หน่วยงานที่มีอานาจหน้าที่รับรองแบบหรือรับรองการขนส่งสาหรับการรับรองแบบที่แตกต่างกัน ในประเทศที่ต่างกันในการขนส่ง การติดฉลากให้เป็นไปตามหนังสือรับ รองแบบที่ประเทศต้นทาง ของการออกแบบ ข้อ 5 การติดฉลากที่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อนอกจากต้องปฏิบัติตามข้อ 4 แล้ว ให้ดาเนินการตามที่กาหนดดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย 5.1 ฉลากต้องเป็นไปตามข้อกาหนดต่อไปนี้ และต้องตรงตามรูปแบบในข้อ 5.2 ทั้งในเรื่องสีสัญลักษณ์และรูปแบบทั่วไป แบบที่กาหนดในการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ อาจยอมรับได้ หากมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยที่ไม่มีผลต่อความหมายของฉลาก ทั้งนี้ การติดฉลากตามข้อ 5.2 หากมีลักษณะตามข้อ 5. 1.1 ต้องมีกรอบล้อมรอบ เป็นเส้นประ แต่ไม่รวมถึงการติดฉลาก ติดบนพื้นที่มีสีตัดกันระหว่างสีฉลากและสีพื้นผิวของภาชนะและ บรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ 5.1.1 ฉลากต้องเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส วางทามุม 45 ° ( diamond - shaped ) กับแนวระนาบ โดยมีขนาดไม่ต่ำกว่า 100 ม.ม. x 100 ม.ม. ฉลากต้องมีเส้นขอบสีเดียวกันกับ สัญลักษณ์ ห่างจากภายในขอบ 5 มม. และต้องเป็นแนวขนานกับขอบ ส่วนครึ่งบนของฉลาก เส้นต้องมีสีเดียวกับสัญลักษณ์และในส่วนครึ่งล่างต้องมีสีเดียวกับรูปที่อยู่มุมด้านล่าง ฉลากต้องแสดง บนพื้นสีที่ตัดกัน หรือต้องมีกรอบล้อมรอบเป็นเส้นประ หรือเส้นตรง หากขนาดของภาชนะแล ะบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นหีบห่อเล็กกว่าขนาดฉลากข้างต้น อาจลดขนาดฉลากลงได้โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องมองเห็นฉลาก ดังกล่าวได้อย่างชัดเจน 5.1.2 ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อแบบไซลินเดอร์สำหรับบรรจุสิ่งของ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 2 ต้องติดฉลากตามที่ได้ระบุไว้ในส่วนนี้โดยพิจารณา ตามลักษณะของรูปร่างการวางและกลไกที่ยึดเหนี่ยวสาหรับการขนส่ง ฉลากอาจมีขนาดเล็กลงได้ ตามขนาดที่ระบุไว้ใน ISO 7225:1994 “ ไซลินเดอร์สำหรับบรรจุก๊าซ - ฉลากเตือน ” ( Gas ้ หนา 35 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 11 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มกราคม 2566

cylinders - Precautionary labels ) สาหรับติดบนส่วนที่ไม่เป็นทรงกระบอก (บ่า) ของไซลินเดอร์นั้น ฉลากอาจติดเกยกันได้เท่าที่กาหนดไว้ใน ISO 7225 โดยไม่ต้องคานึงถึงข้อกาหนด ในบทที่ 5.1.6 อย่างไรก็ตามฉลากแสดงความเสี่ยงหลักและตัวเลขที่ปรากฏอยู่บนฉลากต้องสามารถมองเห็นได้ อย่างชัดเจน และม องเห็นรูปลักษณ์บนฉลากได้ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อปิดเปล่ารับความดันหรือ ภาชนะปิดรับความดันที่จะนาไปกาจัดที่ไม่ได้ทาความสะอาดของสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ ประเภทที่ 2 อาจขนส่งด้วยการใช้ฉลากเดิมหรือเสียหายได้ สาหรับวัตถุประสงค์ในการเติมซ้าห รือ การตรวจสภาพตามความเหมาะสม ให้ติดฉลากที่เป็นไปตามข้อกำหนดใหม่ 5.1.3 ยกเว้นฉลากสาหรับสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทย่อย 5.4 , 5.5 และ 5.6 ของสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 1 ครึ่งบนของฉลากแสดง สัญลักษณ์ที่เป็นรูปภาพ และสำหรับครึ่งล่างให้แสดง (ก) ตัวเลขประเภทสำหรับสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 1 , 2 , 3 , 5.1 , 5.2 , 7 , 8 และ 9 (ข) เลข “4” สาหรับสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 4.1 , 4.2 และ 4.3 (ค) เลข “6” สาหรับสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 6.1 และ 6.2 ทั้งนี้ ฉลากอาจข้อความอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย เช่น หมายเลข UN หรือ คาอธิบายความเป็นอันตราย (เช่น ไวไฟ) ตามข้อ 5.1.5 หากข้อความนั้นไม่ถูกปิดบังหรือดึงดูด ความสนใจจากฉลากอื่นที่ต้องติ ดมากจนเกินไป 5.1.4 ฉลากสำหรับสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 1 ครึ่งล่างของฉลากจะแสดงตัวเลขของประเภทย่อย และอักษรแสดงถึงกลุ่มที่เข้ากันได้ของสารหรือสิ่งของ ยกเว้นฉลากสาหรับสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทย่อย 1.4 , 1.5 และ 1.6 ที่ครึ่งบน จะแสดงตัวเลขประเภทย่อยและครึ่งล่างแสดงอักษรของกลุ่มที่เข้ากันได้ 5.1.5 การเพิ่มข้อความอื่นใดบนฉลาก (ยกเว้นประเภทของสิ่งของที่อาจทา ให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 7) ในช่องที่อยู่ด้านล่างสัญลักษณ์จะต้องตรงกับข้อความที่ระบุถึง ลักษณะความเสี่ยงและข้อควรระวังในการขนย้ายเท่านั้น 5.1.6 สัญลักษณ์ข้อความ และหมายเลขบนทุกฉลากต้องใช้สีดา ซึ่งต้องอ่านได้ อย่างชัดเจนและไม่สามารถล้างหรือลบออกได้ยกเว้น (ก) ฉลากสิ่งของที่อาจทา ให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 8 ที่ข้อความ (ถ้ามี) และหมายเลขประเภทจะต้องเป็นสีขาว (ข) ฉลากที่มีพื้นเป็นสีเขียว แดง หรือน้ำเงินทั้งหมด อาจใช้สีขาวได้ ้ หนา 36 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 11 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มกราคม 2566

(ค) ฉลากสิ่งของที่อาจทาให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 5.2 สัญลักษณ์ อาจแสดงเป็นสีขาว และ (ง) ฉลากตามรูปแบบที่ 2.1 ติดไว้ที่ไซลินเดอร์และภาชนะบรรจุก๊าซ หมายเลข UN 1011 , 1075 , 1965 และ 1978 ซึ่งอาจจะแสดงไว้บนภาชนะปิด โดยที่ สัญลักษณ์ข้อความ และหมายเลขบนฉลากต้องมีสีที่ตัดกับสีพื้นของภาชนะ 5.1.7 ฉลากต้องทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศภายนอก ได้โดยที่ไม่ทำให้ ประสิทธิผลในการใช้งานด้อยลง 5.2 รูปแบบฉลาก 5.2.1 รูปแบบฉลากสาหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อซึ่งบรรจุสิ่งของ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 1 สารหรือสิ่งของที่ระเบิดได้ ้ หนา 37 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 11 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มกราคม 2566

5.2.2 รูปแบบฉลากสาหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อซึ่งบรรจุสิ่งของ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 2 ก๊าซ 5.2.3 รูปแบบฉลากสำหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อซึ่งบรรจุ 5 . 2 . 3 รูปแบบฉลากสาหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อซึ่งบรรจุสิ่งของ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 3 ของเหลวไวไฟ 5.2.4 ฉลากสำหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อซึ่งบรรจุสิ่งของ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 4 ้ หนา 38 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 11 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มกราคม 2566

5.2.5 รูปแบบฉลากสาหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อซึ่งบรรจุสิ่งของ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 5 5.2.6 รูปแบบฉลากสาหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อซึ่งบรรจุสิ่งของ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 6 (ก) ประเภทที่ 6.1 สารพิษ (ข) ประเภทที่ 6.2 สารติดเชื้อ ้ หนา 39 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 11 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มกราคม 2566

5.2.7 รูปแบบฉลากสาหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อซึ่งบรรจุสิ่งของ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 7 วัสดุกัมมันตรังสี ้ หนา 40 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 11 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มกราคม 2566

5.2.8 รูปแบบฉลากสาหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อซึ่งบรรจุสิ่งของ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 8 สารกัดกร่อน 5.2.9 ฉลากสำหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อซึ่งบรรจุสิ่งของ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 9 สารและสิ่งของอันตรายเบ็ดเตล็ด ประกาศ ณ วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 25 6 5 สรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมเจ้าท่า ้ หนา 41 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 11 ง ราชกิจจานุเบกษา 17 มกราคม 2566