ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย ว่าด้วยองค์ประกอบ คุณสมบัติและวิธีการได้มาและอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2566
ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย ว่าด้วยองค์ประกอบ คุณสมบัติและวิธีการได้มาและอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2566
ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย ว่าด้วยองค์ประกอบ คุณสมบัติและวิธีการได้มาและอำนาจหน้าที่ ของคณะอนุกรรมการการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย ว่าด้วยองค์ประกอบ คุณสมบัติและวิธีการได้มา และอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 24 (2) และ (4) (ด) มาตรา 26 และตามมาตรา 30 ( 1) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 คณะกรรมการสภาการแพทย์แผนไทย โดยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษ จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย ว่าด้วยองค์ประกอบคุณสมบัติ และวิธีการได้มา และอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2566” ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย ว่าด้วยองค์ประกอบ คุณสมบัติและ วิธีการได้มาและอำนาจหน้า ที่ของคณะอนุกรรมการการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2 56 3 ข้อ 4 ในข้อบังคับนี้ “ คณะกรรมการ ” หมายความว่า คณะกรรมการสภาการแพทย์แผนไทย “ คณะอนุกรรมการ ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย “ อนุกรรมการ ” หมายความว่า อนุกรรมการการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย “ เลขาธิการ ” หมายความว่า เลขาธิการสภาการแพทย์แผนไทย “ สถาบัน ” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐหรือสถานศึกษาของเอกชนที่สภาการแพทย์แผนไทย รับรอง โดยมีผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยซึ่งได้รับอนุญาตให้ถ่ายทอดความรู้เป็ นผู้ให้การอบรม ตามมาตรา 12 (2) (ก) หรือตามมาตรา 12 (2) (ข) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 “ สถานพยาบาล ” หมายความว่า สถานพยาบาลของรัฐหรือสถานพยาบาลของเอกชน ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งตามกฎหมาย ข้อ 5 ให้คณะอนุกรรมการการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วย (1) อนุกรรมการโดยตาแหน่ง ได้แก่ นายกสภาการแพทย์แผนไทย ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เลขาธิกา รคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม อธิบดีกรมพัฒนาชุมชน อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และปลัดกรุงเทพมหานคร ้ หนา 47 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 108 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤษภาคม 2566
(2) อนุกรรมการซึ่งสภาการแพทย์แผนไทย แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านเวชกรรมไทย ด้านเภสัชกรรมไทย ด้านการผดุงครรภ์ไทย ด้านการนวดไทย และด้านการแพทย์พื้นบ้านไทย ด้านละหนึ่งคน (3) อนุกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนคณะ หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่า คณะ หรือภาควิชาที่ผลิตบัณฑิตสาขาการ แพทย์แผนไทยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษา ของเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ผ่านการรับรองจากสภาการแพทย์แผนไทย แห่งละหนึ่งคน โดยผ่านการสรรหาเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการให้พิจารณาแต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการ จำนวนรวมไม่เกินสี่ คน (4) อนุกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนสถาบันหรือสถานพยาบาลที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง ที่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ด้านเวชกรรมไทย ซึ่งได้รับอนุญาตให้ถ่ายทอดความรู้ เป็นผู้ให้การฝึกอบรม โดยผ่านการสรรหาเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการให้พิจารณาแต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการ จำนวนรวมไม่เกินสี่คน (5) อนุกรรมการซึ่งสภาการแพทย์แผนไทย แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการสรรหา จากด้านต่าง ๆ เช่น ด้านกฎหมาย ด้านการเงินและบัญชี ด้านการตลาดและการประชาสัมพั นธ์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านธุรกิจความงาม ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ หรือด้านอื่น ๆ ที่มีความจาเป็นต่อการพัฒนาการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยให้บรรลุเป้าหมายตามกฎหมาย หรือนโยบายที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น โดยมีจำนวนรวมไม่เกินสี่คน (6) อนุกรรมการและเลขานุการ จำนวนหนึ่งคน ข้อ 6 กาหนดให้ นายกสภาการแพทย์แผนไทย ดารงตาแหน่ง เป็นประธานคณะอนุกรรมการ โดยตำแหน่ง ข้อ 7 ให้นายกสภาการแพทย์แผนไทย ดาเนินการสรรหารายชื่ออนุกรรมการที่เหมาะสม ตามที่กาหนดไว้ในข้อ 5 เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการให้พิจารณาแ ต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการต่อไป ข้อ 8 ให้อนุกรรมการตามข้อ 5 (2) (3) (4) ( 5) และ (6) มีวาระการดารงตาแหน่ง ตามวาระของกรรมการสภาการแพทย์แผนไทย และอาจได้รับเลือกใหม่ได้แต่จะดารงตาแหน่งเกินสองวาระ ติดต่อกันไม่ได้ ให้อนุกรรมการที่พ้นจากตาแหน่งตามวาระ ปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการเลือก หรือแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นใหม่ ข้อ 9 นอกจากพ้นตาแหน่งตามวาระ อนุกรรมการตามข้อ 5 (2) (3) (4) ( 5) และ (6) พ้นจากตาแหน่งเมื่อ ( 1 ) ตาย ( 2 ) ลาออก ( 3 ) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 11 หรือข้อ 12 แล้ วแต่กรณี ้ หนา 48 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 108 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤษภาคม 2566
( 4 ) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 ( 5 ) อนุกรรมการ ตามข้อ 5 (3) และ (4) พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่จากสถาบันหรือ สถานพยาบาล หรือจากคณะหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าคณะ ซึ่งตนได้รับการเสนอรายชื่อ แล้วแต่กรณี ข้อ 10 เมื่อตาแหน่งอนุกรรมการตามข้อ 5 (2) (3) (4) ( 5) และ (6) ว่างลงก่อนครบวาระ ให้นายกสภาการแพทย์แผนไทย ดาเนินการสรรหารายชื่ออนุกรรมการที่เหมาะสมเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ ให้พิจารณาแต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการต่อไปให้ได้มาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตาแหน่งอนุกรรมการ นั้นว่างลง และให้ผู้ซึ่งเป็นอนุกรรมการแทนนั้นอยู่ในตาแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของอนุกรรมการ ที่ตนแทน ในกรณีที่วาระของอนุกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวัน สภาการแพทย์แผนไทยจะเลือก อนุกรรมการแทนหรือไม่ก็ได้ ในระหว่างที่อนุกรรมการพ้นจากตาแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด และยังมิได้มีการแต่งตั้งอนุกรรมการ ขึ้นใหม่ให้คณะอนุกรรมการประกอบด้วยอนุกรรมการเท่าที่เหลืออยู่ ข้อ 1 1 อนุกรรมการตามข้อ 5 (2) และ (3) ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ( 2 ) เป็นผู้ไม่เคยถูกสั่งพักใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย ( 3 ) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ( 4 ) ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่คณะกรรมการเห็นว่าจะนำมา ซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ข้อ 1 2 อนุกรรมการตามข้อ 5 (4) ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ด้านเวชกรรมไทย ซึ่งได้รับอนุญาตให้ถ่ายท อดความรู้ เป็นผู้ให้การอบรมจากสภาการแพทย์แผนไทย ( 2 ) เป็นผู้ไม่เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต ( 3 ) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ( 4 ) ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่คณะกรรมการเห็นว่าจะนำมา ซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ข้อ 1 3 ให้คณะอนุกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) พิจารณาให้ความเห็นการรับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในการประกอบ วิชาชีพการแพทย์แผนไทยของสถาบันหรือสถานพยาบาล หรือสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ต่อสภาการแพทย์แผนไทย ้ หนา 49 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 108 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤษภาคม 2566
( 2 ) พิจารณาให้ความเห็นการรับรองหลักสูตรสาหรั บการฝึกอบรมเป็นผู้ชานาญในด้านต่าง ๆ ของการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมตามมาตรา 9 (4) แห่งพระราชบัญญัติ วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 ต่อสภาการแพทย์แผนไทย ( 3 ) พิจารณาให้ความเห็นการรับรองวิทยฐานะของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมตามมาตรา 9 ( 5) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 ต่อสภาการแพทย์แผนไทย ( 4 ) สนับสนุนและให้ความเห็นในการดาเนินการจัดสอบความรู้ในวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ตามมาตรา 12 (2) (ก) และ (ข) ตามกฎหมายว่าด้วย วิชาชีพการแพทย์แผนไทย ( 5 ) พิจารณาให้ความเห็นการจัดตั้ง การดาเนินการ และการเลิกสถาบันที่ทาการฝึกอบรม เป็นผู้ชำนาญการของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ต่อสภาการแพทย์แผนไทย ( 6 ) สนับสนุนการดาเนินการเกี่ยวกับการศึกษาต่อเนื่องของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไท ย ( 7 ) พิจารณาให้ความเห็นการรับรองสถาบันหรือสถานพยาบาล หรือสถาบันอุดมศึกษา ที่ฝึกอบรมหรือจัดการเรียนการสอนการแพทย์แผนไทย ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย ต่อสภาการแพทย์แผนไทย ( 8 ) พิจารณาให้ความเห็นในการจัดทำเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ใช้ป ระกอบการดาเนินงาน ตามหน้าที่และอำนาจต่อสภาการแพทย์แผนไทย ดังต่อไปนี้ (ก) เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย (ข) เกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับรองสถาบันหรือสถานพยาบาลหรือสถาบันอุดมศึกษา ต่าง ๆ ที่จัดการศึกษาสาขาการแพทย์แผนไทย ระดับปริญญาตรี (ค) เกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสอบความรู้เพื่อขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาต เป็น ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย (ง) เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการในด้านต่าง ๆ ของการประกอบ วิชาชีพการแพทย์แผนไทย ( 9 ) แต่งตั้งคณะทางานเพื่อปฏิบัติการตามที่คณะอนุกรรมการมอบหมาย โดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการ ( 10 ) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของคณะอนุกรรมการหรือ ตามที่สภาการแพทย์แผนไทยมอบหมาย ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 256 6 ชนิญญา ชัยสุวรรณ นายกสภาการแพทย์แผนไทย ้ หนา 50 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 108 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤษภาคม 2566