ระเบียบกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ว่าด้วยการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2566
ระเบียบกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ว่าด้วยการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2566
ระเบียบกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ว่าด้วยการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเกี่ยวกับการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับรูปแบบการฝึกอบรมและสภาพการณ์ปัจจุบัน อาศัยอานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จึงออ กระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบกรมพัฒนาฝีมือแรงงานว่าด้วยการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2566” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 บรรดาระเบียบ คาสั่งหรือแนวปฏิบัติที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 4 ให้ยกเลิก ( 1 ) ระเบียบกรมพัฒนาฝีมือแรงงานว่าด้วยวุฒิบัตร พ.ศ. 2537 ( 2 ) ระเบียบกรมพัฒนาฝีมือแรงงานว่าด้วยการฝึกอบรมฝีมือแรงงานภายนอกสถานที่ พ.ศ. 2538 ( 3 ) ระเบียบกรมพัฒนาฝีมือแรงงานว่าด้วยการคัดเลือกบุคคลภายนอกเป็นวิทยากรดาเ นินการสอน ในหลักสูตรการฝึกเตรียมเข้าทำงาน พ.ศ. 2541 ( 4 ) ระเบียบกรมพัฒนาฝีมือแรงงานว่าด้วยการฝึกเตรียมเข้าทำงาน พ.ศ. 2547 ( 5 ) ระเบียบกรมพัฒนาฝีมือแรงงานว่าด้วยการฝึกเตรียมเข้าทำงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 ( 6 ) ระเบียบกรมพัฒนาฝีมือแรงงานว่าด้วยการฝึกยกระดับฝีมือ พ.ศ. 2547 ( 7 ) ระเบียบกรมพัฒนาฝีมือแรงงานว่าด้วยการฝากฝึกในกิจการ พ.ศ. 2547 ข้อ 5 ในระเบียบนี้ “ หน่วยฝึก ” หมายความว่า หน่วยงานในสังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่มีภารกิจในการ ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน หรือหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน “ หลักสูตรการฝึก ” หมายความว่า หัวข้อวิชา เนื้อหา วิธีการ การวัดและประเมินผล การฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่ได้รับอนุมัติจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน “ การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ” หมายความว่า การฝึกเตรียมเข้าทางาน การฝึ กยกระดับฝีมือ และการฝึกอาชีพเสริม ้ หนา 1 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 108 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤษภาคม 2566
“ การฝึกเตรียมเข้าทางาน ” หมายความว่า การฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาฝีมือ ความรู้ ความสามารถในสาขาอาชีพต่าง ๆ รวมทั้งสร้างเสริมทัศนคติที่ดีต่อการทางานหรือการประกอบอาชีพ ให้แก่แรงงานที่จะเข้าสู่การทำงาน เพื่อ ให้สามารถทำงานได้ตามมาตรฐานที่กำหนด “ การฝึกยกระดับฝีมือ ” หมายความว่า การฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่จัดขึ้นเพื่อยกระดับฝีมือ ความรู้ ความสามารถ รวมทั้งสร้างเสริมทัศนคติในการทำงานให้แก่กำลังแรงงาน ให้สามารถปฏิบัติงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี “ การฝึกอาชีพเสริม ” หมายความว่า การฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่จัดขึ้นเพื่อเพิ่มความรู้ ความสามารถในสาขาอาชีพอื่นนอกเหนือจากที่ผู้รับการฝึกทำงานอยู่ตามปกติ หรือนอกเหนือจากความรู้ ที่ผู้รับการฝึกมีอยู่เดิม “ ครูฝึก ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งกรมมอบหมายให้ทาหน้าที่ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ให้แก่ผู้รับการฝึก หรือผู้ฝึกอาชีพในกิจกรรมการฝึก “ ผู้รับการฝึก ” หมายความว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมฝีมือแรงงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน “ ผู้เข้ารับการฝึกในกิจการ ” หมายความว่า ผู้เข้ารับการฝึกใ นสถานประกอบการหรือกิจการ ของการฝึกเตรียมเข้าทำงาน “ กรม ” หมายความว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ข้อ 6 ให้อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด 1 การฝึกเตรียมเข้าทำงาน ส่วนที่ 1 หลักเกณฑ์การสมัครเข้ารับการฝึก ข้อ 7 ผู้สมัครเข้ารับการฝึกต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) มีอายุไม่ต่ากว่าสิบห้าปีบริบูรณ์ เว้นแต่ในกรณีที่หลักสูตรการฝึกได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ( 2 ) จบการศึกษาไม่ต่ากว่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่สามหรือเทียบเท่า เว้นแต่ในกรณีที่หลักสูตร การฝึกได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่ น ( 3 ) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นอุปสรรคต่อการฝึก และสามารถเข้ารับการฝึกได้ตลอด หลักสูตรการฝึก ( 4 ) ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ และไม่เป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง ข้อ 8 เอกสารหรือหลักฐานที่ผู้สมัครเข้ารับการฝึกต้องนามาแสดงในการสมัครเข้ารับการฝึก ( 1 ) บัต รประจำตัวประชาชน หรือเอกสารหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ ( 2 ) เอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับการศึกษา ้ หนา 2 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 108 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤษภาคม 2566
ข้อ 9 ให้หน่วยฝึกดำเนินการคัดเลือกผู้สมัครเข้ารับการฝึก โดยวิธีการสอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ สอบสัมภาษณ์ หรือวิธีอื่น ๆ ทั้งนี้ ให้พิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละหลักสูตรการฝึก ข้อ 10 เมื่อผ่านการคัดเลือกแล้ว ให้หน่วยฝึกประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารับการฝึก บันทึกข้อมูลผู้รับการฝึกในแต่ละรุ่นในระบบตามที่กรมกำหนด ในกรณีที่ผู้ผ่านการคัดเลือกยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องมีหนังสือ ให้ความยินยอมจากผู้ปกครอง หรือผู้อุปการะตามแบบที่กรมกำหนด ส่วนที่ 2 หลักเกณฑ์การฝึก ข้อ 11 การฝึก อาจดาเนินการภายในหน่วยฝึก ภายนอกหน่วยฝึก และการฝากฝึกในกิจการ ข้อ 12 ระยะเวลาการฝึกแต่ละหลักสูตรการฝึก ให้เป็นไปตามที่กาหนดไว้ในหลักสูตรการฝึก ข้อ 13 ให้หน่วยฝึกจัดให้มีกิจกรรมเสริมหลักสูตรในระหว่างการฝึก ดังนี้ ( 1 ) การปฐมนิเทศผู้รับการฝึกก่อนเข้ารับการฝึกเตรียมเข้าทำงาน ( 2 ) การอบรมทางวิชาการต่าง ๆ อันเป็นการเสริมความรู้เพื่อความสมบูรณ์ในการประกอบอาชีพ และมีทัศนคติในการทางานที่ดีต่อไปในอนาคต เช่น ประสบการณ์ ธุรกิจอุตสาหกรรม วินัยและ จรรยาบรรณในการทำงาน มนุษยสัมพันธ์ การสื่อข้อความ ทักษะด้านดิจิทัล ความปลอดภัย ในการทำงาน จริยธรรมในสังคม และทัศนศึกษา เป็นต้น ( 3 ) มัชฌิมนิเทศก่อนการฝากฝึกในกิจการ ( 4 ) การปัจฉิมนิเทศ เพื่อเป็นแนวทางการประ กอบอาชีพภายหลังจากสำเร็จการฝึก ( 5 ) กิจกรรมอื่นตามความเหมาะสมของแต่ละหลักสูตรหรือหน่วยฝึก ส่วนที่ 3 ความปลอดภัยและความเรียบร้อย ข้อ 14 ผู้รับการฝึกต้องปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการฝึกที่หน่วยฝึกกาหนด โดยเคร่งครัด ในกรณีที่ผู้รับการฝึกไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการฝึก ให้ผู้อานวยการหน่วยฝึก พิจารณาดาเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม ( 1 ) ว่ากล่าวตักเตือน ( 2 ) ภาคทัณฑ์ ( 3 ) ให้พ้นสภาพการเป็นผู้รับการฝึก ข้อ 15 ผู้รับการฝึ กต้องแต่งกายสุภาพและเหมาะสมกับการฝึกในแต่ละหลักสูตร หรือแต่งกายตามรูปแบบที่หน่วยฝึกกำหนด ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 108 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤษภาคม 2566
ข้อ 16 การฝึกในหลักสูตรการฝึกที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือ เครื่องจักร หรือสารเคมี ที่อาจเป็นอันตรายได้ ครูฝึก วิทยากร และผู้รับการฝึกต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หรือเครื่องแต่งกายเพื่อความปลอดภัยตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ข้อ 17 ห้ามผู้รับการฝึกใช้เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปก รณ์ต่าง ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต และเมื่อฝึกเสร็จสิ้นแล้ว ต้องจัดเก็บเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ไว้ในที่ที่กำหนด ข้อ 18 ให้หน่วยฝึกจัดให้มีห้องปฐมพยาบาล เวชภัณฑ์ ยา และสิ่งของที่จาเป็นเพื่อใช้ ในการปฐมพยาบาล ในกรณีที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในระหว่าง การฝึก ต้องรีบแจ้งให้ครูฝึกหรือเจ้าหน้าที่ของ หน่วยฝึกทราบ และทำการปฐมพยาบาลหรือนาส่งโรงพยาบาลทันที ทั้งนี้ หน่วยฝึกอาจจัดทำประกันอุบัติเหตุจากการฝึก ให้แก่ผู้รับการฝึก ส่วนที่ 4 การวัดและประเมินผลการฝึก ข้อ 19 การวัดและประเมินผลการฝึกจะต้องสอดคล้ องกับวัตถุประสงค์การฝึกแต่ละหัวข้อวิชา และให้หน่วยฝึกดำเนินการวัดและประเมินผลการฝึกให้เป็นไปตามที่กาหนดไว้ในแต่ละหลักสูตรการฝึก ข้อ 20 ผู้รับการฝึกต้องเข้ารับการฝึกไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของระยะเวลาตามหลักสูตรการฝึก จึงจะมีสิทธิเข้ารับการวัดและประเมินผลการฝึก ข้อ 21 วิธีการวัดและประเมินผลการฝึก ( 1 ) ให้มีการวัดและประเมินผลระหว่างการฝึกเป็นระยะหรือสิ้นสุดการฝึก ตามความเหมาะสม และความสอดคล้องกับเนื้อหาของหลักสูตรที่ดำเนินการฝึก ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ในกรณีที่ไม่ผ่านการฝึกจะต้องมีการวัดและประเมินผลการฝึกใหม่ และเมื่อผลการประเมินผ่านแล้ว ให้ถือว่าผ่านการฝึก ( 2 ) การวัดและประเมินผลรายวิชาให้คิดอัตราส่วน ของคะแนนภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ เท่ากับยี่สิบต่อแปดสิบ ( 3 ) ถ้าผู้รับการฝึกทุจริตการสอบ ให้พิจารณาผล การฝึกเป็น “ ไม่จบการฝึก ” ข้อ 22 ในกรณีที่มีเหตุจาเป็น ทาให้ผู้รับการฝึกไม่สามารถเข้ารับการวัดและประเมินผล การฝึกได้ตามวันและเวลาที่หน่วยฝึกกาหนด ให้ผู้รับการฝึกแจ้งให้หน่วยฝึกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า สามวันทำการก่อนวันทำการวัดและประเมินผลการฝึก หากหน่วยฝึ กพิจารณาแล้ว เห็นว่ามีความจาเป็น อาจจัดให้มีการวัดและประเมินผลการฝึกสำหรับผู้รับการฝึกนั้นใหม่ได้ ตามที่หน่วยฝึกกำหนด ข้อ 23 การวัดและประเมินผลการฝึก ( 1 ) ผู้รับการฝึกต้องผ่านการฝึกครบทุกหัวข้อวิชาตามที่กาหนดไว้ในแต่ละหลักสูตรการฝึก ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 108 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤษภาคม 2566
( 2 ) ผู้รับการฝึกจะต้องได้คะแนนการฝึกในหน่วยฝึก ไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของการวัด และประเมินผลการฝึก จึงถือว่า ผ่านการวัดและประเมินผลการฝึกในหน่วยฝึก และมีสิทธิเข้ารับ การฝึกในกิจการ ส่วนที่ 5 การฝากฝึกในกิจการ ข้อ 24 ผู้มีสิทธิเข้ารับการฝากฝึกในกิจการ จะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) เป็นผู้รับการฝึกหลักสูตรการฝึกเตรียมเข้าทำงานของหน่วยฝึก ( 2 ) เป็นผู้ผ่านการวัดและประเมินผลการฝึกที่กำหนด (3) เป็นผู้ได้รับการฝึกและผ่านการมัชฌิมนิเทศจากเจ้าหน้าที่ก่อนการไปฝึกในกิจการ (4) ไม่เป็นผู้ที่อยู่ในโครงการพิเศษ ที่มีข้อกำหนดหรือข้อตกลงให้ยกเว้นการฝึกในกิจการ ข้อ 25 ผู้ ที่ขาดคุณสมบัติตามข้อ 24 ให้ผู้อำนวยการหน่วยฝึก พิจารณาผ่อนผันได้เป็นกรณีไป ข้อ 26 ระยะเวลาการฝากฝึกในกิจการ ให้เป็นไปตามที่กาหนดไว้ในหลักสูตรการฝึก ข้อ 27 ให้หน่วยฝึกเป็นผู้กาหนดสถานที่ฝึกงานหรือผู้รับการฝึกในกิจการประสงค์หาที่ฝึกงานเอง ต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยฝึกก่อน และเมื่อผู้รับการฝึกในกิจการเลือกสถานที่ฝึกแล้ว จะเปลี่ยนแปลงสถานที่ฝึกด้วยตนเองมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากหน่วยฝึก ในกรณีที่หน่วยฝึก อนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสถานที่ฝึกงานตามวรรคหนึ่ง หากปรากฏว่าสถานที่ ฝึกงานเดิมรับรองการเข้าฝึกในช่วงเวลาดังกล่าว ให้นับระยะเวลาการฝากฝึกในกิจการ ณ สถานที่ ฝึกงานใหม่ต่อเนื่องจนครบตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ข้อ 28 ให้ผู้รับการฝึกในกิจการปฏิบัติตามกฎ ข้ อบังคับของหน่วยฝึกและคำแนะนำ ของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการฝากฝึกในกิจการโดยเคร่งครัด ข้อ 29 ให้ผู้รับการฝึกในกิจการปฏิบัติตามกฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่สถานที่ฝึกงานกาหนดไว้ และเคารพเชื่อฟังผู้ควบคุมการฝึกของสถานที่ฝึกงานนั้นโดยเคร่งครัด ข้อ 30 ห้ามผู้รับการฝึ กในกิจการเรียกร้องค่าตอบแทนหรือผลประโยชน์อื่นใดจากเจ้าของ สถานที่ฝึกงาน หรือผู้ควบคุมการฝึก เว้นแต่หน่วยฝึกจะได้ตกลงกับเจ้าของสถานที่ฝึกงานนั้นไว้ ข้อ 31 ในกรณีที่สถานที่ฝึกงานแจ้งหน่วยฝึกส่งผู้รับการฝึกในกิจการคืนก่อนครบกาหนด การฝึกในกิจการ ให้ผู้รับการฝึกรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่หน่วยฝึกภายในเจ็ดวันทำการ มิฉะนั้นจะถือว่า ผู้รับการฝึกในกิจการขาดการฝึกและพ้นสภาพการเป็นผู้เข้ารับการฝึกในกิจการ ข้อ 32 การลากิจและลาป่วยของผู้รับการฝึกในกิจการระหว่างฝึกงานต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (1) การลากิจให้ยื่น ใบลาต่อผู้ควบคุมการฝึกของสถานที่ฝึกงานและต้องได้รับอนุญาตจาก ผู้มีอำนาจก่อนจึงจะหยุดฝึกงานได้ ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 108 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤษภาคม 2566
(2) การลาป่วยให้ยื่นใบลาต่อผู้ควบคุมการฝึกของสถานที่ฝึกงานในวันแรกที่กลับเข้าฝึกงาน ในกรณีที่ป่วยติดต่อกันตั้งแต่สามวันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองแพทย์มาแสดงด้วย ข้อ 33 ให้ผู้อำนวยการหน่วยฝึกหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายดำเนินการติดตามตรวจเยี่ยม การฝึกงานของผู้รับการฝึกในกิจการเพื่อให้คาปรึกษาแนะนาแก่ผู้รับการฝึกในกิจการรับทราบปัญหา ข้อเสนอแนะ จากผู้ควบคุมและเจ้าของสถานที่ฝึกงานอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อแห่ง ตามวิธีการที่หน่ วยฝึก กำหนด ข้อ 34 ให้ผู้รับการฝึกในกิจการเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการจัดส่งใบลงเวลา ใบประเมินผลการฝึกในกิจการจากสถานที่ฝึกงาน และผลการมีงานทาให้แก่หน่วยฝึกภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่สิ้นสุดการฝึกในกิจการ ข้อ 35 ผู้รับการฝึกในกิจการต้องมีเวลาการฝึกงานใน กิจการไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบ ของเวลาฝึกงานในกิจการทั้งหมด และมีผลการประเมินว่าผ่านจากสถานที่ฝึกนั้น จึงจะถือว่าเป็น ผู้ผ่านการฝึกในกิจการ ข้อ 36 ให้ผู้รับการฝึกในกิจการ สิ้นสุดการฝึกในกิจการ ดังนี้ (1) เมื่อผู้รับการฝึกในกิจการมารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ฝากฝึกพร้อมทั้งนาหลักฐานใบลงเวลา ใบประเมินผลการฝึกในกิจการและผลการมีงานทำจากสถานที่ฝึกงานให้แก่เจ้าหน้าที่ฝากฝึก ภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ครบกำหนดการฝึกงาน (2) ในกรณีที่สถานที่ฝึกงานจัดส่งผลการฝึกและผ ลการมีงานทาของผู้รับการฝึกในกิจการ ให้หน่วยฝึกในภายหลัง ให้ผู้รับการฝึกมารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ฝากฝึกภายในเจ็ดวันทำการ นับแต่วันที่ครบกำหนดการฝึกงาน ข้อ 37 ให้หน่วยฝึกจัดให้มีการปัจฉิมนิเทศผู้ผ่านการฝึกในกิจการ เพื่อประโยชน์ในการ เตรียมตัวเข้าสู่การทำงา นตามรูปแบบวิธีการที่หน่วยฝึกกำหนด ส่วนที่ 6 การพ้นสภาพจากการเป็นผู้รับการฝึก ข้อ 38 ผู้รับการฝึกพ้นสภาพจากการเป็นผู้รับการฝึก โดยเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ต่อไปนี้ ( 1 ) ตาย ( 2 ) ลาออก ( 3 ) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 7 ( 4 ) ผู้อานวยการหน่วยฝึกให้พ้นสภาพ เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับ การฝึกที่หน่วยฝึกกำหนดซึ่งเป็นกรณีร้ายแรง ( 5 ) ต้องโทษคดีอาญา โดยคาพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้จาคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท ้ หนา 6 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 108 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤษภาคม 2566
ส่วนที่ 7 การสำเร็จการฝึก ข้อ 39 ผู้รับการฝึกต้อง เข้ารับการฝึกครบตามระยะเวลาที่กาหนดไว้ในข้อ 20 ผ่านการวัด และประเมินผลการฝึกตามข้อ 23 และมีผลประเมินว่าผ่านการฝึกในกิจการ จึงจะถือว่าสำเร็จการฝึก และมีสิทธิได้รับวุฒิบัตร ผู้ผ่านการฝึกภายในหน่วยฝึกหรือผ่านการฝึกโดยใช้สถานที่ภายนอกหน่วยฝึกและผ่านการฝึก ในกิจการจะได้รับวุฒิบัตรจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ส่วนผู้ไม่ผ่านการฝึกในกิจการจะได้รับหนังสือ รับรองผลการฝึกจากหน่วยฝึกเท่านั้น วุฒิบัตรตามวรรคหนึ่งและหนังสือรับรองผลการฝึกตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามแบบ ที่กรมกำหนด ข้อ 40 ในกรณีที่วุฒิบัตรหรือหนังสือรับรองผลการฝึกชำรุดหรือสูญหาย ให้ผู้รับการฝึก ยื่นคาขอออกใบแทนต่อหน่วยฝึกของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่ออกวุฒิบัตรหรือหนังสือรับรองผลการฝึก ตามแบบที่กรมกำหนด ข้อ 41 เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกแล้ว ให้หน่วยฝึกดำเนินการ ดังนี้ ( 1 ) จัดทำเอ กสารการประเมินผลการฝึกตามแบบที่กรมกำหนด ( 2 ) รายงานผลการฝึกของผู้สำเร็จการฝึกตามแบบที่กรมกำหนด ( 3 ) ออกระเบียนแสดงผลการฝึกให้แก่ผู้สำเร็จการฝึก ในกรณีที่ผู้สำเร็จการฝึกได้ยื่นคำขอ หมวด 2 การฝึกยกระดับฝีมือ ข้อ 42 ผู้สมัครเข้ารับการฝึกต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) มีอายุไม่ต่ากว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ ( 2 ) มีประสบการณ์ทางาน การปฏิบัติงาน หรือมีความรู้ในการประกอบอาชีพตามที่กาหนด ในหลักสูตรการฝึก ( 3 ) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นอุปสรรคต่อการฝึก และสามารถเข้ารับการฝึก ได้ตลอดหลักสูตร ( 4 ) ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ และไม่เป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง ข้อ 43 ผู้สมัครเข้ารับการฝึกจะต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่น ที่ทางราชการออกให้ ข้อ 44 ให้หน่วยฝึกดำเนินการคัดเลือกผู้สมัครเข้ารับการฝึก โดยวิธีการสอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ สอบสัมภาษ ณ์ หรือวิธีอื่น ๆ ทั้งนี้ ให้พิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละหลักสูตรการฝึก ้ หนา 7 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 108 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤษภาคม 2566
ข้อ 45 การฝึก อาจดาเนินการภายในหน่วยฝึก หรือภายนอกหน่วยฝึกก็ได้ ข้อ 46 ระยะเวลาการฝึกยกระดับฝีมือ ให้เป็นไปตามที่กาหนดไว้ในแต่ละหลักสูตรการฝึก ผู้เข้ารับการฝึกจะต้องมีระยะเวลา การฝึกไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของระยะเวลาการฝึก ตามหลักสูตรการฝึก จึงจะมีสิทธิเข้ารับการวัดและประเมินผลการฝึก ข้อ 47 ผู้รับการฝึกพ้นสภาพจากการเป็นผู้รับการฝึก โดยเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ต่อไปนี้ ( 1 ) ตาย ( 2 ) ลาออก ( 3 ) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 42 ( 4 ) ผู้อานวยการหน่วยฝึกให้พ้นสภาพ เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับ การฝึกที่หน่วยฝึกกำหนดซึ่งเป็นกรณีร้ายแรง ข้อ 48 ให้หน่วยฝึกจัดให้มีการวัดและประเมินผลการฝึก โดยจะต้องสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์การฝึกแต่ละหัวข้อวิชา ตามที่กาหนดไว้ในแต่ละหลัก สูตรการฝึก ข้อ 49 ผู้รับการฝึกต้องเข้ารับการฝึกครบตามระยะเวลาที่กาหนดไว้ในข้อ 46 และผ่าน การวัดและประเมินผลการฝึกตามข้อ 48 โดยได้คะแนนรวมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่า ร้อยละหกสิบของคะแนนทั้งหมด จึงจะถือว่าสำเร็จการฝึก และมีสิทธิได้รับวุฒิบัตร วุฒิบัตรตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่กรมกำหนด หมวด 3 การฝึกอาชีพเสริม ข้อ 50 ผู้สมัครเข้ารับการฝึกต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) มีอายุไม่ต่ากว่าสิบห้าปีบริบูรณ์ เว้นแต่ในกรณีที่หลักสูตรการฝึกได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ( 2 ) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นอุปสรรคต่อการฝึก และสามารถเข้ารับการฝึก ได้ตลอดหลักสูตรการฝึก ( 3 ) ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ และไม่เป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง ข้อ 51 ผู้สมัครเข้ารับการฝึกจะต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่น ที่ทางราชการออกให้ ข้อ 52 ให้หน่วยฝึกดำเนินการคั ดเลือกผู้สมัครเข้ารับการฝึก โดยวิธีการสอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ สอบสัมภาษณ์ หรือวิธีอื่น ๆ ทั้งนี้ ให้พิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละหลักสูตรการฝึก ข้อ 53 ระยะเวลาการฝึกอาชีพเสริม ให้เป็นไปตามที่กาหนดไว้ในแต่ละหลักสูตรการฝึก ผู้เข้ารับการฝึกต้องมีระยะเวลาการฝึกไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของระยะเวลาการฝึก ตามหลักสูตรการฝึก จึงจะมีสิทธิเข้ารับการวัดและประเมินผลการฝึก ข้อ 54 การฝึก อาจดาเนินการฝึกภายในหน่วยฝึก หรือฝึกภายนอกหน่วยฝึกก็ได้ ้ หนา 8 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 108 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤษภาคม 2566
ข้อ 55 ผู้รับการฝึกพ้นสภาพจากการเป็นผู้รับ การฝึก โดยเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ต่อไปนี้ ( 1 ) ตาย ( 2 ) ลาออก ( 3 ) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 50 ( 4 ) ผู้อานวยการหน่วยฝึกให้พ้นสภาพ เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับ การฝึกที่หน่วยฝึกกำหนดซึ่งเป็นกรณีร้ายแรง ข้อ 56 ให้หน่วยฝึกจัดให้มีการวัดและประเมินผลการฝึก โดยจะต้องสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์การฝึกแต่ละหัวข้อวิชา ตามที่กาหนดไว้ในแต่ละหลักสูตรการฝึก ข้อ 57 ผู้รับการฝึกต้องเข้ารับการฝึกครบตามระยะเวลาที่กาหนดไว้ในข้อ 53 และผ่าน การวัดและประเมินผลการฝึกตามข้อ 56 โด ยได้คะแนนรวมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่า ร้อยละหกสิบของคะแนนทั้งหมด จึงจะถือว่าสำเร็จการฝึก และมีสิทธิได้รับวุฒิบัตร วุฒิบัตรตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่กรมกำหนด หมวด 4 การดำเนินการฝึกอบรม ข้อ 58 การฝึกตามหมวด 1 หมวด 2 และหมวด 3 อาจดาเนินการฝึกตามความเหมาะสม ของแต่ละหลักสูตรการฝึก โดยวิธีการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) การฝึกอบรมปกติ เป็นการฝึกที่ผู้เข้ารับการฝึกและครูฝึกหรือวิทยากร อยู่ในสถานที่เดียวกัน ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ( 2 ) การฝึกอบรมทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นการฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่ได้กระทา ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้เข้ารับการฝึกและครูฝึกหรือวิทยากรไม่จาเป็นต้องอยู่ในสถานที่เดียวกัน แต่สามารถสื่อสารกันได้ทั้งภาพและเสียงตลอดระยะเวลาการฝึก ( 3 ) การฝึกอบรมด้วยตนเองผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นการฝึกอบรมแบ บศึกษาด้วยตนเอง ผ่านตัวกลางที่เป็นสื่อเทคโนโลยีออนไลน์ โดยมีระบบการบริหารจัดการการเรียนรู้ ลักษณะเป็นการ ฝึกอบรมผ่านระบบเครือข่าย ซึ่งครอบคลุมถึงระบบการวัดและประเมินผลการฝึก รวมถึงระบบจัดการ และบันทึกข้อมูลของผู้เข้ารับการฝึก หมวด 5 การคัดเลือกบุคคลภาย นอกเป็นวิทยากร ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 108 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤษภาคม 2566
ข้อ 59 บุคคลภายนอกที่จะเป็นวิทยากรต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีในสาขาอาชีพที่เกี่ยวกับการฝึก และมี ประสบการณ์ในการสอนเกี่ยวกับวิชาชีพนั้นไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือมีประสบการณ์ในการทำงาน เกี่ยวกับวิชาชีพนั้นไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (2) จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า ในสาขาที่เกี่ยวกับการฝึก และมีประสบการณ์ในการสอนเกี่ยวกับวิชาชีพนั้นไม่น้อยกว่าสองปี หรือ มีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับวิชาชีพนั้นไม่น้อยกว่าสองปี (3) จบการศึกษาไม่ต่ากว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่าในสาขา ที่เกี่ยวกับการฝึก และมีประสบการณ์ในการสอนเกี่ยวกับวิชาชีพนั้นไม่น้อยกว่าสามปี หรือ มีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับวิ ชาชีพนั้นไม่น้อยกว่าสามปี ( 4 ) ผ่านการฝึกหลักสูตรเทคนิคการสอนงานไม่น้อยกว่าสามสิบชั่วโมง และมีประสบการณ์ ในการสอนในสาขาอาชีพที่เกี่ยวกับการฝึกไม่น้อยกว่าสองปี หรือมีประสบการณ์ในการทางานเกี่ยวกับ สาขาอาชีพนั้นไม่น้อยกว่าสี่ปี ( 5 ) ได้รับหนังสือรับรองว่าเป็น ผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาอาชีพ ที่เกี่ยวกับการฝึก และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ( 6 ) เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในการทางานหรือการประกอบอาชีพในสาขาอาชีพ ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่าแปดปี ( 7 ) เป็นผู้มีประสบการณ์ และมีความเชี่ ยวชาญในสาขาอาชีพที่ฝึก โดยสาขาอาชีพนั้น ต้องเป็นสาขาอาชีพที่ขาดแคลน ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบจากอธิบดี ข้อ 60 ให้ผู้อำนวยการหน่วยฝึกเป็นผู้แต่งตั้งเป็นวิทยากรตามข้อ 59 (1) - (6) หมวด 6 อื่น ๆ ข้อ 61 การฝึกตามระเบียบนี้ให้ดำเนินการตามระบบการประกันคุณภาพการฝึกอบรม ฝีมือแรงงานตามที่กรมกำหนด ข้อ 62 กรณีที่หน่วยงานอื่นประสงค์ให้กรมดาเนินการฝึกต่อเนื่อง กรมอาจดาเนินการฝึกได้ ต่อเมื่อมีการทำข้อตกลงความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ข้อ 63 กรณีที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้ผู้อำนวยการหน่วยฝึกพิจารณา เป็นกรณีไป ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 108 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤษภาคม 2566
ข้อ 64 ในกรณีที่หน่วยฝึกได้ดาเนินการฝึกก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้ปฏิบัติตามระเบียบเดิม จนกว่าจะเสร็จสิ้นการฝึก ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 25 6 6 บุปผา เรืองสุด รองปลัดกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 108 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤษภาคม 2566