Fri Apr 28 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ระเบียบกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีในโควตา ตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) สำหรับสินค้ามะพร้าวและมะพร้าวฝอย ปี 2566 ถึงปี 2568 พ.ศ. 2566


ระเบียบกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีในโควตา ตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) สำหรับสินค้ามะพร้าวและมะพร้าวฝอย ปี 2566 ถึงปี 2568 พ.ศ. 2566

ระเบียบกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีในโควตา ตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก ( WTO ) สำหรับสินค้ามะพร้าวและมะพร้าวฝอย ปี 256 6 ถึงปี 256 8 พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกหนังสือรับรอง แสดงการได้รับสิทธิชาระภาษีในโควตาตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก ( WTO ) สาหรับการนำเข้าสินค้ามะพร้าวและมะพร้าวฝอย ปี 2566 ถึงปี 2568 ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ที่เห็นชอบมติคณะกรรมการพืชนามันและนามันพืช ในการประชุมครั งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565 และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 ที่รับทราบมติคณะกรรมการ พืชนามันและนามันพืช ในการประชุมครังที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 และเพื่อให้ เป็นไปตามพระราชกาหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกาหนด พิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2564 อาศัยอานาจตามความในข้อ 4 วรรคสาม ของประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการนาสินค้า เข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 111) พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการนาสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 115) พ.ศ. 2539 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี ข้อ 1 ระเบียบนี เรียกว่า “ ระเบียบกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการออกหนังสือรับรอง แสดงการได้รับสิทธิชาระภาษีในโควตาตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก ( WTO ) สำหรับสินค้ามะพร้าวและมะพร้าวฝอย ปี 256 6 ถึงปี 256 8 พ.ศ. 2566” ข้อ 2 ระเบียบนีให้ใช้บังคับตังแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในระเบียบนี “ หนังสือรับรอง ” หมายความว่า หนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชาระภาษีในโควตา ตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก ( WTO ) สาหรับการนำเข้าสินค้ามะพร้าว และมะพร้าวฝอย ตามระเบียบนี “ มะพร้าว ” หมายความว่า มะพร้าวผลจะปอกเปลือกหรือไม่ก็ตามและมะพร้าวอื่น ๆ ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย 0801.12.00 0801.19.10 และ 0 801.19 .9 0 “ มะพร้าวฝอย ” หมายความว่า มะพร้าวฝอยทำให้แห้ง ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย 0801.11.00 ้ หนา 1 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 100 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 เมษายน 2566

ข้อ 4 มะพร้าวและมะพร้าวฝอยที่จะออกหนังสือรับรองตามระเบียบนี ต้องมีถิ่นกาเนิด และส่งมาจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก ( WTO ) ข้อ 5 ผู้มีสิทธิขอหนังสือรับรองต้องมีคุณสมบัติ ดังนี ( 1 ) เป็นผู้ได้รับการจัดสรรตามข้อ 6 (5) ( 2 ) ไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างถูกระงับการออกหนังสือรับรองตามข้อ 15 วรรคสอง ข้อ 6 การจัดสรรปริมาณการนำเข้ามะพร้าวและมะพร้าวฝอยสำหรับการออกหนังสือรับรอง ปี 2566 ถึ งปี 2568 ( 1 ) ปริมาณที่จะจัดสรร มีปริมาณรวมไม่เกินปีละ 2,427 เมตริกตัน โดยเป็นมะพร้าว ไม่เกินปีละ 2,317 เมตริกตัน และมะพร้าวฝอย ไม่เกินปีละ 110 เมตริกตัน ( 2 ) ผู้ขอรับการจัดสรรต้องมีคุณสมบัติ ดังนี (ก) เป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุที่ประสงค์ครอบคลุมการประกอบกิจการค้าสินค้าที่ใช้มะพร้าว หรือมะพร้าวฝอย แล้วแต่กรณี เป็นวัตถุดิบใน การผลิต (ข) ประกอบกิจการโรงงานที่ใช้มะพร้าว หรือมะพร้าวฝอย แล้วแต่กรณี เป็นวัตถุดิบ ในการผลิตตามกฎหมายว่าด้วยโรงงำนและดาเนินกิจกา รอยู่ในปัจจุบัน (ค) ไม่เป็นผู้ที่ถูกตัดสิทธิขอรับการจัดสรรตามข้อ 8 ( 3 ) ให้ผู้ขอรับการจัดสรรยื่นคาขอรับการจัดสรรต่อกรมการค้าต่างประเทศ โดยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบที่รองรับการจัดสรรปริมาณการนาเข้ามะพร้าวและมะพร้าวฝอยของ กรมการค้าต่างประเทศไม่เกิน กว่าปริมาณที่จะจัดสรรในแต่ละครัง พร้อมเอกสาร ดังนี (ก) ต้นฉบับหรือสาเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ที่ออกโดยกรมพัฒนา ธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ไม่เกิน 6 เดือน (ข) สาเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง. 4) สาเนาใบรับแจ้งการประกอบกิจการ โรงงานจาพวกที่ 2 (ร.ง. 2) หรือเอกสารอื่นที่แสดงว่าเป็นโรงงานที่ใช้มะพร้าว หรือมะพร้าวฝอย แล้วแต่กรณี เป็นวัตถุดิบในการผลิตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโรงงาน กรณีที่ กรมการค้าต่างประเทศเชื่อมโยงฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว หรือกรณีมีฐานข้อมูลตามรายการเอกสารที่กาหนดไว้ตาม (ก) หรือ (ข) กรมการค้าต่างประเทศ จะกำหนดยกเว้นรายการเอกสารดังกล่าว ( 4 ) ให้มีการจัดสรรปีละ 3 ครัง โดยมีกำหนดเวลาสำหรับการยื่นคาขอรับการจัดสรร ดังนี (ก) การจัดสรรครังที่ 1 เพื่อการออกหนังสือรับรองสาหรับปี 2566 ให้ยื่นคาขอ ภายใน 10 วันทาการนับตังแต่วันถัดจากวันที่ระเบียบนีประกาศในราชกิจจานุเบกษา และการจัดสรร เพื่อการออกหนังสือรับรองสาหรับปี 2567 และ ปี 2568 ให้ยื่นคาขอภายใน 10 วันทาการ นับตังแต่วันที่ 1 ธันวาคม ของปีก่อนหน้าปีที่จัดสรร ้ หนา 2 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 100 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 เมษายน 2566

(ข) การจัดสรรครังที่ 2 เพื่อการออกหนังสือรับรองสาหรับปี 2566 ถึงปี 2568 ให้ยื่นคำขอภายใน 10 วันทำการนับตังแต่วันที่ 10 มิถุนายนของปีที่จัดสรร (ค) การจัดสรรครังที่ 3 เพื่อการออกหนังสือรับรองสาหรับปี 2566 ถึงปี 2568 ให้ยื่นคำขอภายใน 10 วันทำการนับตังแต่วันที่ 10 ตุลาคมของปีที่จัดสรร ( 5 ) ให้กรมการค้าต่างประเทศจัดสรรปริมาณตาม (1) ให้กับผู้ขอรับการจัดสรรตาม ( 2) ที่ยื่นคำขอรับการจัดสรรครบถ้วนถูกต้องตาม (3) และ (4) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังนี (ก) หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรร 1 ) กรณีที่ปริมาณที่ขอรับการจัดสรรของทุกรายรวมกันไม่เกินกว่าปริมาณที่จะจัดสรร ให้จัดสรรแก่ผู้ขอรับการจัดสรรแต่ละรายตามปริมาณที่ยื่นขอ 2 ) กรณีที่ปริมาณที่ขอรับการจัดสรรของทุกรายรวมกันเกินกว่าปริมาณที่จะจัดสรร ให้จัดสรรแก่ผู้ขอรับการจัดสรรแต่ละรายในปริมาณที่เท่ากัน ด้วยวิธีหารเฉลี่ย ไม่เกินปริมาณที่ แต่ละรายยื่นขอ หากมีปริมาณใ นส่วนที่เกินจากที่ยื่นขอให้นาปริมาณดังกล่าวไปจัดสรรให้กับผู้ขอรับ การจัดสรรแต่ละรายที่ยังคงได้รับจัดสรรน้อยกว่าปริมาณที่ยื่นขอในปริมาณที่เท่ากัน ด้วยวิธีหารเฉลี่ย ไม่เกินปริมาณที่แต่ละรายยื่นขอ จนกว่าผู้ขอรับการจัดสรรทุกรายจะได้รับจัดสรรครบถ้วนตามปริมา ณ ที่ยื่นขอ หรือจนกว่าจะครบปริมาณที่จะจัดสรร โดยในกรณีที่มีการหักปริมาณที่ได้รับจัดสรร ตามข้อ 10 ให้นาปริมาณที่หักออกดังกล่าวไปจัดสรรให้กับผู้ขอรับการจัดสรรที่ได้รับจัดสรรน้อยกว่า ปริมาณที่ยื่นขอและไม่ถูกหักปริมาณที่ได้รับจัดสรรในปีการจัดสรรปัจจุบัน ดั งนี ก) กรณีที่ปริมาณในส่วนที่ยังไม่ครบตามปริมาณที่ยื่นขอของทุกรายรวมกัน ไม่เกินกว่าปริมาณที่หักออก ให้จัดสรรแก่ผู้ขอรับการจัดสรรแต่ละรายตามปริมาณที่ยังไม่ครบตามปริมาณ ที่ยื่นขอ ข) กรณีที่ปริมาณในส่วนที่ยังไม่ครบตามปริมาณที่ยื่นขอของทุกรายรวมกัน เกินกว่าปริมาณที่หักออก ให้จัดสรรแก่ผู้ขอรับการจัดสรรแต่ละรายในปริมาณที่เท่ากัน ด้วยวิธีหารเฉลี่ย ไม่เกินปริมาณที่แต่ละรายยื่นขอ หากมีปริมาณในส่วนที่เกินจากที่ยื่นขอให้นาไปจัดสรรให้กับผู้ขอรับ การจัดสรรแต่ละรายที่ยังคงได้รับจัดสรรน้อยกว่าปริมาณที่ยื่น ขอในปริมาณที่เท่ากัน ด้วยวิธีหารเฉลี่ย ไม่เกินปริมาณที่แต่ละรายยื่นขอ จนกว่าผู้ขอรับการจัดสรรทุกรายจะได้รับจัดสรรครบถ้วนตามปริมาณ ที่ยื่นขอ หรือจนกว่าจะครบปริมาณที่จะจัดสรร (ข) ปริมาณที่จะจัดสรร 1 ) การจัดสรรครั งที่ 1 ให้นำปริมาณมะพร้าวและมะพร้าวฝอยตาม (1) ไปจัดสรรให้แก่ผู้ขอรับการจัดสรรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตาม (ก) 2 ) การจัดสรรครังที่ 2 ให้นาปริมาณที่คงเหลือจากการจัดสรรครังที่ 1 และปริมาณ ที่ ผู้ได้รับการจัดสรรแจ้งคืนครังที่ 1 ไปจัดสรรให้แก่ผู้ขอรับการจัด สรรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตาม (ก) ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 100 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 เมษายน 2566

3 ) การจัดสรรครังที่ 3 ให้นาปริมาณที่คงเหลือจากการจัดสรรครังที่ 2 และปริมาณ ที่ ผู้ได้รับการจัดสรรแจ้งคืนครังที่ 2 ไปจัดสรรให้แก่ผู้ขอรับการจัดสรรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตาม (ก) ( 6 ) ให้กรมการค้าต่างประเทศออกประกาศผ ลการจัดสรรให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ ข้อ 7 ให้ผู้ได้รับการจัดสรรตามข้อ 6 (5) ที่ประสงค์จะแจ้งคืนปริมาณที่ได้รับจัดสรรทั งหมด หรือบางส่วนแจ้งคืนปริมาณที่ได้รับจัดสรรต่อกรมการค้าต่างประเทศ โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบที่รองรับการแจ้งคืนปริมาณมะพร้าวและมะพร้าวฝอยที่ได้รับจัดสรรของกรมการค้าต่างประเทศ ตามหลักเกณฑ์ ดังนี ( 1 ) กำหนดเวลาการแจ้งคืน (ก) การแจ้งคืนครังที่ 1 ภายในเดือนพฤษภาคมของปีที่จัดสรร (ข) การแจ้งคืนครังที่ 2 ภายในเดือนกันยายนของปีที่จั ดสรร (ค) การแจ้งคืนครังที่ 3 ภายในเดือนธันวาคมของปีที่จัดสรร ( 2 ) ผู้ได้รับการจัดสรรที่ประสงค์จะแจ้งคืนในการแจ้งคืนครังที่ 3 ต้องระบุเหตุผลข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี (ก) ปริมาณที่ได้รับจัดสรรน้อยเกินกว่าที่จะนาไปใช้ประโยชน์ในเชิงการค้าเฉพาะกรณี ผู้ ได้รับการจัดสรรจากการจัดสรรครั งที่ 3 เพียงครั งเดียว ผู้ได้รับการจัดสรรจากการจัดสรรครังที่ 1 หรือครังที่ 2 ที่ถูกหักปริมาณตามข้อ 10 จนไม่เหลือปริมาณที่ได้รับจัดสรร ให้ถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับการจัดสรรแล้ว (ข) ถูกปฏิเสธการซื อขาย หรือคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามสัญญาในส่วนที่เป็นเหตุของ การขอรับการจัดสรร (ค) เหตุสุดวิสัย เช่น วาตภัย อุทกภัย อัคคีภัย (ง) เหตุจากสภาวะของการประกอบกิจการ หรือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การระบุเหตุผลกรณี (ข) และ (ค) จะต้องแสดงเอกสารหลักฐานประกอบด้วย และกรณี (ง) จะระบุติดต่อกันไม่ได้ ข้อ 8 ผู้ได้รับการจัดสรรที่ไม่ใช้ปริมาณที่ได้รับจัดสรรตามข้อ 6 (5) และไม่แจ้งคืนปริมาณ ที่ ได้รับจัดสรรทังหมดหรือบางส่วนตามข้อ 7 ภายในเดือนธันวาคมของปีที่จัดสรร จะถูกตัดสิทธิ ขอรับการจัดสรรในปีถัดไป ข้อ 9 ผู้ได้รับการจัดสรรไม่สามารถโอนสิทธิที่ได้รับจัดสรรให้แก่บุคคลอื่น ข้อ 10 ผู้ได้รับการจัดสรรต้องใช้ปริมาณที่ได้รับจัดสรรไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของปริมาณ ที่ได้รับจัดสรรตามข้อ 6 (5) หรือปริมาณที่คงเหลือจากการแจ้งคืนตามข้อ 7 โดยกรณีที่ผู้ได้รับ การจัดสร รใช้ปริมาณที่ได้รับจัดสรรน้อยกว่าร้อยละ 95 ของปริมาณดังกล่าว ให้หักปริมาณที่ได้รับจัดสรร ในปีถัดไปออกในปริมาณเท่ากับส่วนที่ใช้ไม่ถึงร้อยละ 95 จนกว่าจะครบปริมาณ ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 100 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 เมษายน 2566

ข้อ 11 ให้ผู้ได้รับการจัดสรรยื่นคำร้องขอหนังสือรับรองต่อกรมการค้าต่างประเทศ โดยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบที่รองรับการออกหนังสือรับรองการส่งออก - นาเข้าสินค้าของกรมการค้า ต่างประเทศ พร้อมเอกสารหลักฐาน ดังนี (1) สำเนาใบกำกับสินค้า ( Invoice ) (2) สาเนาใบตราส่งสินค้าทางเรือ ( Bill of Lading : B / L ) หรือสาเนาใบตราส่งสินค้าทางอากาศ ( Air Waybill ) หรือเอกสารหลักฐานอื่นที่แสดงการขนส่งสินค้า (3) สำเนาหนังสือรับรองถิ่นกาเนิดสินค้า ( Certificate of Origin : C / O ) หรือเอกสาร ห ลักฐานอื่นที่แสดงว่ามะพร้าวหรือมะพร้าวฝอยที่นาเข้ามีถิ่นกำเนิดจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก ( WTO ) ข้อ 12 ให้กรมการค้าต่างประเทศออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้มีสิทธิตามข้อ 5 ที่ยื่นคาร้อง ครบถ้วนถูกต้องตามข้อ 11 ไม่เกินปริมาณที่ได้รับจัดสรร ข้อ 13 ผู้ได้รับหนังสือรับรองต้องนาเข้าภายในช่วงเวลาที่กำหนด ดังนี ( 1 ) มะพร้าว ตังแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงสินเดือนกุ มภาพันธ์ และตังแต่วันที่ 1 กันยายน ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่จัดสรร ( 2 ) มะพร้าวฝอย ตังแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่จัดสรร ข้อ 14 หนังสือรับรองมีอายุ 30 วันนับตังแต่วันที่ออก แต่ไม่เกินวันสุดท้ายของแต่ละช่วงเวลา กา รนาเข้าที่กำหนดตามข้อ 13 ข้อ 15 ผู้ได้รับหนังสือรับรองต้องรายงานการนาเข้าต่อกรมการค้าต่างประเทศ โดยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบที่รองรับการรายงานการนาเข้ามะพร้าวและมะพร้าวฝอยของกรมการค้า ต่างประเทศ ภายใน 30 วันนับตังแต่วันที่นาเข้าสินค้าในแต่ละครัง กรณีผู้ได้รับหนังสือรับรองไม่รายงานการนาเข้าตามวรรคหนึ่ง ให้กรมการค้าต่างประเทศ ระงับการออกหนังสือรับรองสำหรับการนาเข้าในครังถัดไป จนกว่าจะรายงานการนำเข้าครบถ้วนถูกต้อง ข้อ 1 6 ให้อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศรั กษาการตามระเบียบนี ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 256 6 จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 100 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 เมษายน 2566