Sun Jan 15 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง คุณสมบัติของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการประจำสถานที่ที่ได้รับใบอนุญาตผลิตหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรประเภทวัตถุดิบตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2565


ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง คุณสมบัติของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการประจำสถานที่ที่ได้รับใบอนุญาตผลิตหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรประเภทวัตถุดิบตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2565

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง คุณสมบัติของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการประจาสถานที่ที่ได้รับใบอนุญาตผลิตหรือนาเข้าผลิตภัณฑ์สมุนไพร ประเภทวัตถุดิบตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรกำหนดคุณสมบัติของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการประจำสถานที่ที่ได้รับใบอนุญาตผลิต หรือนำเข้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรประเภทวัตถุดิบให้สอดคล้องกับลักษณะหรือประเภทของวัตถุดิบ เพื่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์สมุนไพร และความปลอดภัยของผู้บริโภค อาศัยอานาจตามความในข้อ 4 (5) วรรคสอง แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กาหนด คุณสมบัติ จานวน หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ในสถานที่ผลิต นำเข้า ขาย และเก็บรักษาผลิตภัณฑ์สมุ นไพร พ.ศ. 2565 เลขาธิการคณะกรรมการ อาหารและยา ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง คุณสมบัติ ของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการประจาสถานที่ที่ได้รับใบอนุญาตผลิตหรือนาเข้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรประเภท วัตถุดิบตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2565 ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในประกำศนี้ “ วัตถุดิบ ” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามความใน (3) ของบทนิยามคาว่า “ ผลิตภัณฑ์ สมุนไพร ” ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ข้อ 4 ให้สถานที่ที่ได้รับใบอนุญาตผลิตหรือนาเข้าผลิตภัณฑ์สมุนไพร ประเภทวัตถุดิบ แต่ละประเภทต้องมี ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการประจาสถานที่ที่ได้รับใบอนุญาตผลิตหรือนาเข้าวัตถุดิบ ที่มีคุณสมบัติ และจำนวน ดังนี้ ( 1 ) วัตถุดิบที่เป็นผงจากการบด วัตถุดิบที่ผ่านการสตุ หรือวัตถุดิบอื่นใดที่ผลิตขึ้นสอดคล้อง ตามองค์ความรู้การแพทย์แผนไทย หรือการแพทย์แผนจีน สารสกัดสมุนไพรที่ใช้น้าหรือเอธิลแอลกอฮอล์ เป็นตัวทาละลายในการสกัด หรือสารสกัดสมุนไพรแห้งที่ใช้น้าหรือเอธิลแอลกอฮอล์เป็นตัวทาละลาย ในการสกัดและทำให้แห้งโดยการอบแห้งหรือการทำให้แห้งด้วยวิธีการที่ไม่ซับซ้อน โดยการสกัดสมุนไพร และทำให้แห้งให้คำนึงถึงประเภทและช นิดของวัตถุดิบนั้นด้วย (ก) ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยด้านเภสัชกรรมไทยหรือด้านเวชกรรมไทย ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย อย่างน้อยหนึ่งคน หรือ (ข) ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย อย่างน้อยหนึ่งคน หรือ ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 10 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 มกราคม 2566

(ค) ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ อย่างน้อยหนึ่งคน หรือ (ง) ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเภสัชกรรม อย่างน้อยหนึ่งคน หรือ (จ) นักวิทยาศาสตร์สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาเทคโนโ ลยีการอาหาร สาขาวิทยาศาสตร์เครื่องสาอาง หรือสาขาอื่นที่มีคุณสมบัติเทียบเท่ากันโดยความเห็นชอบของสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา อย่างน้อยหนึ่งคน ( 2 ) วัตถุดิบที่ใช้กรรมวิธีผลิตอื่นนอกจาก (1) (ก) ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเภสัชกรรม อย่างน้อยหนึ่งคน หรือ (ข) นักวิทยาศาสตร์สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิทยาศาสตร์เครื่องสาอาง หรือสาขาอื่นที่มีคุณสมบัติเทียบเท่ากันโดยความเห็นชอบของสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา อย่างน้อยหนึ่งคน ทั้งนี้ สานักงานคณะก รรมการอาหารและยาอาจกาหนดให้ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามวรรคหนึ่ง ต้องผ่านการอบรมความรู้ตามความจำเป็นและเหมาะสมสำหรับการผลิตวัตถุดิบแต่ละประเภทด้วยก็ได้ ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 25 6 5 ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนพิเศษ 10 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 มกราคม 2566