ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 - 2570
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 - 2570
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 25 66 - 25 70 โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีการประกาศใช้แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 - 2570 เพื่อใช้เป็นแผนปฏิบัติการในการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนด ตามนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จึงประกาศกาหนด แผนจัดการคุณภาพ สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 25 66 - 25 70 ดังที่ ปรากฏตามเอ กสารแนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 256 5 วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ้ หนา 9 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 307 ง ราชกิจจานุเบกษา 29 ธันวาคม 2565
แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 – 2570 สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
คํานํา ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) มีเป้าหมายการพัฒนาประเทศคือ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” โดยด้านที่ 5 การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้ทุกภาคีการ พัฒนาเข้ามามีส่วนร่วมในการดําเนินการ บนพื้นฐานการเติบโต ร่วมกัน ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต อันจะนําไปสู่การบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ รวมทั้งยังเป็นกรอบระยะยาวในการกําหนดนโยบายและแผนทุกระดับ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 35 - 36 กําหนดให้มี การจัดทําและประกาศใช้แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อปฏิบัติตามนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งกําหนดขึ้นตามมาตรา 13 (1) โดย ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา ได้มีการประกาศใช้ แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมมาแล้วรวม 5 ฉบับ แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 - 2570 เป็นการดําเนินการต่อเนื่องจากฉบับที่ผ่านมา เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานปฏิบัติการตามอํานาจหน้าที่ ส่งผลให้ การขับเคลื่อนแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อ ม เป็นไปในทิศทางเดียวกับยุทธศาส ตร์ ชาติ ซึ่งเป็นแผนระดับที่ 1 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคง แห่งชาติ ซึ่งเป็นแผนระดับที่ 2 รวมถึงการ นําหลักการ 12 หลักการ ที่ สําคัญ ได้แก่ การพัฒนาที่ยั่งยืน การบริหารจัดการเชิงระบบนิเวศ การระวังไว้ก่อน ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย ผู้ได้รับ ผลประโยชน์เป็นผู้จ่าย ความเป็นหุ้นส่วนของรัฐ - เอกชน ธรรมาภิบาล การขยายความรับผิดชอบแก่ผู้ผลิต การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ สิทธิ มนุษยชน การบูรณาการ และความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม และ น้อมนํา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการจัดทําแผน กระบวนการจัดทําแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 - 2570 ได้ให้ความสําคัญต่อกระบวนการ มีส่วนร่วมของภาคีพัฒนาที่เกี่ยวข้อง โดยผ่านการจัดประชุมสัมมนาที่เปิดเวทีการรับฟังความคิดเห็นให้ กับ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้แทนของ ทุกภาคส่วนที่หลากหลาย รวมทั้งให้ความสําคัญต่อบทบาทและสิทธิของชุมชน ในการ บริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้ อม นอกจากนี้ ยังได้กําหนดแนวทางการขับเคลื่อนและติดตามประเมินผล ไว้ในแผน จัดการฯ พ.ศ. 2566 - 2570 ด้วย เพื่อให้การบริหารแผนเป็นไปตามวงจรบริหารงานคุณภาพ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ วางแผน ( Plan) ปฏิบัติ (Do) ตรวจสอบ (Check) และปรับปรุง (Act) อันจะนําไปสู่การบรรลุเป้าหมายของแผนฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 - 2570 ผ่านกลไกการ กํากับดูแลของคณะอนุกรรมการแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก . วล.) โดย กก .วล. ในการประชุมครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบแผนจัดการคุณภาพ สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 – 2570 จากนั้นนําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป สํานักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หวังเป็นอย่างยิ่งว่า แผนจัดการคุณภาพ สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 – 2570 จะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการดําเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการตามอํานาจหน้าที่ เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของประเทศ เป็ นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านที่ 5 การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเป้าหมายการ พัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงท รัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สารบัญ เรื่อง หน้า บทนํา ก - ข ส่วนที่ 1 ทิศทางการพัฒนา บทบาท ความสําคัญ และสถานะของแผนจัดการคุณภาพ สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 - 2570 1 1 . 1 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ( Sustainable Development Goals : SDGs) 1 1 . 2 อนุสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดกา ร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3 1 . 3 แผน 3 ระดับ ที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อ ม 8 ส่วนที่ 2 ผลการติดตามประเมินผลนโยบายและแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สถานการณ์ และการคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และภาพฉายอนาคต การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทยในระยะ 5 ปีข้างหน้า 12 2 . 1 ผลการติดตามประเมินผลนโยบายและแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 12 2 . 2 สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 21 2 . 3 การคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และกําหนดประเด็นปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มี ความสําคัญเร่งด่วน 3 3 ส่วนที่ 3 ยุทธศาสตร์ภายใต้แผนจัดการ คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 - 2570 39 3 . 1 แนวคิด 39 3 . 2 หลักการ 39 3 . 3 วิสัยทัศน์ 4 1 3 . 4 พันธกิจ 41 3 . 5 วัตถุประสงค์ 41 3 . 6 เป้าประสงค์ 41 3 . 7 ยุทธศาสตร์ 41 ยุทธศาสตร์ที่ 1 กำรจัดการทรัพยากรธรรมชาติบกและความหลากหลาย ทางชีวภาพให้เติบโตและมีความเป็นธรรมบนความสมดุล ของฐานทรัพยากรธรรมชาติ 5 4 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลเพื่อการพัฒนาศักยภาพ การใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน 6 2 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการเพื่อสร้างสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ 7 8 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดการสภาพแวดล้อมเมืองและมลพิษที่ส่งผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ 8 8 ยุทธศาสตร์ที่ 5 การยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ 10 2
สารบัญ (ต่อ) เรื่อง หน้า ส่วนที่ 4 การขับเคลื่อนและติดตามประเมินผล 11 2 4 .1 การขับเคลื่อนแผนจัดการฯ พ.ศ. 2566 – 2570 11 2 4 . 2 การติดตามและประเมินผลแผนจัดการฯ พ.ศ. 2566 – 2570 11 3 ภาคผนวก คําอธิบายและข้อมูลตัวชี้วัด ( Baseline data) 11 4 ยุทธศาสตร์ที่ 1 11 4 ยุทธศาสตร์ที่ 2 12 7 ยุทธศาสตร์ที่ 3 1 39 ยุทธศาสตร์ที่ 4 1 49 ยุทธศาสตร์ที่ 5 1 79 อักษรย่อชื่อหน่วยงาน 199
สารบัญตาราง ตาราง หน้า ตารางที่ 1 - 1 การวิเคราะห์ PESTEL 34 ตารางที่ 3 - 1 ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และตัวชี้วัดภายใต้แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 - 2570 4 4 ตารางที่ 3 - 2 หน่วยงานรับผิดชอบตามกลยุทธ์และตัวชี้วัดภายใต้แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 – 2570 4 8 ตารางที่ ผ - 1 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด สัดส่วนพื้นที่สีเขียวที่เป็นป่า ร้อยละ 45 โดยเป็นพื้นที่ ป่าธรรมชาติ ร้อยละ 33 และพื้นที่ป่าเพื่อเศรษฐกิจเพื่อการใช้ประโยชน์ ร้อยละ 12 ของพื้นที่ทั้งประเทศ (ร้อยละ) 11 5 ตารางที่ ผ - 2 พื้นที่ป่าไม้และร้อยละของพื้นที่ป่าไม้ต่อพื้นที่ประเทศ 11 5 ตารางที่ ผ - 3 ร้อยละของพื้นที่ป่าธรรมชาติและพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ 11 5 ตารางที่ ผ - 4 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ดัชนีบัญชีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่เสี่ยง ต่อการถูกคุกคามในบริบทของประเทศไทย ( Thailand Red List Index) ( 0 - 1) 11 8 ตารางที่ ผ - 5 ข้อมูลสถานภาพของชนิดพันธุ์สัตว์ทั้งที่มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง (ข้อมูลเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564) 11 8 ตารางที่ ผ – 6 ผลทดสอบการคํานวณค่าดัชนี ( Red List Index (RLI)) ของกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลัง และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ปี พ.ศ. 2563 1 19 ตารางที่ ผ - 7 ข้อูมลประกอบตัวชี้วัด จํานวนพื้นที่ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ไม่เหมาะสม ภายใต้โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม ( Zoning by Agri - Map) ( ไร่) 12 2 ตารางที่ ผ – 8 ผลการดําเนินงานปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ไม่เหมาะสม ปี พ.ศ. 2560 - 2564 12 2 ตารางที่ ผ - 9 สถานประกอบการเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานได้รับการรับรองมาตรฐาน ความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแร่ ( CSR - DPIM) และ เหมืองแร่สีเขียว ( Green mining) ( จํานวน) 12 3 ตารางที่ ผ – 10 จํานวนสถานประกอบการเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานประกอบการอุตสาหกรรมแร่ ( CSR - DPIM) และ เหมืองแร่สีเขียว ( Green mining) 12 4 ตารางที่ ผ - 11 กลไกทางการเงินและโครงการภายใต้กลไกทางการเงินที่สนับสนุนในการอนุรักษ์ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ (จํานวน) 12 5 ตารางที่ ผ - 12 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด พื้นที่ที่ได้รับการผลักดันเป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่ง เพิ่มขึ้น (ร้อยละ) 12 7 ตารางที่ ผ - 13 พื้นที่คุ้มครองทางทะเลในประเทศไทย 1 29 ตารางที่ ผ - 14 พื้นที่ที่ได้รับการผลักดันเป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลตามแผนการจัดตั้งพื้นที่คุ้มครอง ทางทะเลระหว่างปี พ.ศ. 2559 - 2568 13 0 ตารางที่ ผ - 15 พื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 13 1 ตารางที่ ผ – 16 พื้นที่ที่อยู่ระหว่างการดําเนินการประกาศให้เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม 13 2
สารบัญตาราง ( ต่อ) ตาราง หน้า ตารางที่ ผ - 17 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด เขตพื้นที่สมดุลได้รับการประกาศเพิ่มขึ้น (พื้นที่) 13 2 ตารางที่ ผ - 18 ข้อมูลการดําเนินงานการประกาศเขตพื้นที่สมดุลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 - 2565 13 3 ตารางที่ ผ - 19 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด พื้นที่ที่ปะการังคงสถานภาพสมบูรณ์ ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 30 (ร้อยละ) 13 4 ตารางที่ ผ - 20 พื้นที่แนวปะการังในสถานภาพต่าง ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 - 2563 13 5 ตารางที่ ผ - 21 ร้อยละของพื้นที่ที่ปะการังคงสถานภาพสมบูรณ์ดีถึงดีมาก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 - 2563 12 5 ตารางที่ ผ - 22 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้น (ไร่) 13 5 ตารางที่ ผ - 23 ข้อมูลพื้นที่ป่าชายเลน ปี พ.ศ. 2560 - 2561 และปี พ.ศ. 2563 13 6 ตารางที่ ผ - 24 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ขยะทะเลได้รับการบริหารจัดการไม่น้อยกว่า 250 ตันต่อปี (ตันต่อปี) 13 7 ตารางที่ ผ - 25 ปริมาณขยะทะเลที่จัดเก็บได้จากกิจกรรมต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2564 13 8 ตารางที่ ผ - 26 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมลดลงอย่างน้อยร้อยละ 21 จากกรณีปกติ ภายในปี พ.ศ. 2573 (ร้อยละ) 1 39 ตารางที่ ผ - 27 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย เพิ่มขึ้น (ร้อยละ) 14 1 ตารางที่ ผ - 28 สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย ปี พ.ศ. 2561 - 2564 14 2 ตารางที่ ผ - 29 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด อัตราการเสียชีวิตและจํานว นผู้ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย ต่อประชากร 100 , 000 คน ลดลง (คนต่อ 100 , 000 คน) 14 3 ตารางที่ ผ - 30 อัตราการเสียชีวิตและจํานวนผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย วาตภัย และภัยแล้ง 14 4 ตารางที่ ผ - 31 อัตราการเสียชีวิตและจํานวนผู้ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยต่อประชากร 100 , 000 คน ปี พ.ศ. 2560 - 2563 14 5 ตารางที่ ผ - 32 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ร้อยละของแผนพัฒนาท้องถิ่นที่มีการบูรณาการการจัดการ ภัยพิบัติเพิ่มขึ้น (ร้อยละ) 14 5 ตารางที่ ผ - 33 ร้อยละจํานวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบูรณาการการป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยเข้าสู่แผนพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ. 2563 14 6 ตารางที่ ผ - 34 ร้อยละของแผนพัฒนาท้องถิ่นที่มีการบูรณาการการจัดการภัยพิบัติ ปี พ.ศ. 2563 14 8 ตารางที่ ผ - 35 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัดย่อย คุณภาพน้ําในแหล่งน้ําผิวดินอยู่ในเกณฑ์ดีร้อยละ 85 15 0 ตารางที่ ผ - 36 ร้อยละของคุณภาพน้ําผิวดินที่อยู่ในเกณฑ์ดี (สถานภาพพอใช้จนถึงดีมาก) 15 1 ตารางที่ ผ - 37 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัดย่อย แหล่งน้ําทะเลอยู่ในเกณฑ์ดีร้อยละ 89 15 2 ตารางที่ ผ - 38 ร้อยละของคุณภาพน้ําทะเลที่อยู่ในเกณฑ์ดี (ระดับพอใช้จนถึงดีมาก) 15 3 ตารางที่ ผ - 39 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด จํานวนจังหวัดที่มีค่าสารมลพิษที่เป็นปัญหาหลักของแต่ละพื้นที่ ลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา 15 3 ตารางที่ ผ - 40 สถานการณ์คุณภาพอากาศในพื้นที่วิกฤต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 - 2564 15 4
สารบัญตาราง ( ต่อ) ตาราง หน้า ตารางที่ ผ - 41 ค่าเฉลี่ยรายปีของฝุ่นละออง PM 2.5 บริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงปี พ.ศ. 2560 - 2564 15 5 ตารางที่ ผ - 42 ค่าเฉลี่ยรายปีของฝุ่นละออง PM 2.5 บริเวณพื้นที่ต่างจังหวัด ในช่วงปี พ.ศ. 2560 - 2564 15 6 ตารางที่ ผ - 43 ระดับเสียงเฉลี่ย ( L eq ) 24 ชั่วโมง ที่ตรวจวัดรายปีบริเวณพื้นที่ริมถนนทั้งในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑลและในเขตต่างจังหวัด ในปี พ.ศ. 2562 - 2564 1 59 ตารางที่ ผ - 44 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด จํานวนวันที่มีข้อมูลระดับเสียง 16 0 ตารางที่ ผ - 45 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้องร้อยละ 80 (ร้อยละ) 16 1 ตารางที่ ผ - 46 ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น การนํากลับไปใช้ประโยชน์ การกําจัดถูกต้องและ ไม่ถูกต้อง ปี พ.ศ. 2560 – 2564 16 1 ตารางที่ ผ - 47 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ปริมาณของเสียอันตรายชุมชน 16 3 ตารางที่ ผ - 48 ปริมาณของเสียอันตรายชุมชนที่เกิดขึ้น และที่ได้รับการรวบรวมและส่งไปกําจัด อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ปี พ.ศ. 2560 - 2564 16 3 ตารางที่ ผ - 49 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด มูลฝอยติดเชื้อได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ร้อยละ 100 (ร้อยละ) 16 5 ตารางที่ ผ - 50 ร้อยละของปริมาณมูลฝอยติดเชื้อจากแหล่งกําเนิดตามกฎหมายได้รับการจัดการ อย่างถูกต้องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 - 2564 16 5 ตารางที่ ผ - 51 ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายการจัดทําแผนผังภูมินิเวศระดับภาค พ.ศ. 2561 - 2580 ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็น (6) พื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ 16 6 ตารางที่ ผ - 52 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด มีการจัดทําแผนผังภูมินิเวศระดับภาคเพิ่มขึ้น 1 ภาค (จํานวนภาค) 16 7 ตารางที่ ผ - 53 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด มีเมืองต้นแบบที่พัฒนาบนพื้นฐานภูมินิเวศเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 22 เมือง (จํานวนเมือง) 16 8 ตารางที่ ผ - 54 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด มีพื้นที่สีเขียวเพื่อการบริการสาธารณะในภาพรวมของประเทศ ไม่น้อยกว่า 10 ตารางเมตรต่อคน 17 0 ตารางที่ ผ - 55 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัดย่อย ร้อยละของแหล่งธรรมชาติมีผลการประเมินอยู่ในระดับดี ตามเกณฑ์การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (ร้อยละ) 17 2 ตารางที่ ผ - 56 เป้าหมายระยะ 5 ปีของการประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ของแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ตามแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2580 17 2 ตารางที่ ผ - 57 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัดย่อย จํานวนกลไกและ/หรือเครื่องมือในการบริหารจัดการ แหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรมตามหลักวิชาการเพิ่มขึ้นและ/หรือได้รับ การปรับปรุงทบทวน 17 4 ตารางที่ ผ - 58 กลไกและเครื่องมือในการบริหารจัดการแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรมตามหลัก วิชาการ ปี พ.ศ. 2565 17 5
สารบัญตาราง ( ต่อ) ตาราง หน้า ตารางที่ ผ - 59 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัดย่อย จํานวนพื้นที่ที่มีการบริหารจัดการแหล่งธรรมชาติ และแหล่งศิลปกรรมตามหลักวิชาการเพิ่มขึ้น (จํานวน) 17 6 ตารางที่ ผ - 60 เป้าหมายระยะ 5 ปีของการติดตามพื้นที่ที่มีการบริหารจัดการแหล่งธรรมชาติ และแหล่งศิลปกรรมตามหลักวิชาการ ตามแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2566 – 2580 17 6 ตารางที่ ผ - 61 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัดย่อย ฐานข้อมูลแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ได้รับการปรับปรุง หรือพัฒนาให้เป็นปัจจุบัน สามารถใช้ประกอบการบริหารจัดการ สิ่ งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพร้อยละ 100 17 7 ตารางที่ ผ - 62 เป้าหมายระยะ 5 ปีของการติดตามฐานข้อมูลแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศิลปกรรม ได้รับการปรับปรุงหรือพัฒนาให้เป็นปัจจุบัน สามารถใช้ประกอบการบริหาร จัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามแผนปฏิบัติการ ด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแ วดล้อมศิลปกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2580 17 8 ตารางที่ ผ - 63 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด การบริโภควัสดุในประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ มีปริมาณลดลง (กิโลกรัมต่อดอลลาร์สหรัฐ) 1 79 ตารางที่ ผ - 64 ข้อมูลการดําเนินงานการบริโภควัสดุในประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 - 2563 18 0 ตารางที่ ผ - 65 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด มีจังหวัด/พื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 39 จังหวัด 54 พื้นที่ (จํานวนจังหวัด/พื้นที่) 18 1 ตารำงที่ ผ - 66 กลุ่มจังหวัดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 1 ใน 15 จังหวัด 18 พื้นที่ 18 1 ตารางที่ ผ - 67 ผลการประเมินความเป็นเมืองอุตสาหกรรมนิเวศ ปี พ.ศ. 2561 - 2565 18 2 ตารางที่ ผ - 68 กลุ่มจังหวัดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 2 ใน 11 จังหวัดเดิม และ 4 จังหวัด SEZ 18 3 ตารางที่ ผ - 69 กลุ่มจังหวัดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 3 ใน 20 จังหวัดใหม่ 18 3 ตารางที่ ผ - 70 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด สัดส่วนพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนต่อพื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศ เพิ่มขึ้น 18 5 ตารางที่ ผ - 71 พื้นที่เกษตรอินทรีย์ ปี พ.ศ. 2560 - 2564 18 6 ตารางที่ ผ - 72 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด อันดับการพัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยวของประเทศไทย ด้านความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม อยู่ 1 ใน 67 18 7 ตารางที่ ผ - 73 อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว ( TTCI) ของประเทศไทย และอันดับ การพัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยว ( TTDI) ของประเทศไทย ด้านความยั่งยืนของ สิ่งแวดล้อม 18 7 ตารางที่ ผ - 74 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัดย่อย สัดส่วนของหน่วยงานที่เข้าร่วมดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างสินค้า และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น (ร้อยละ) 18 8 ตารางที่ ผ - 75 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัดย่อย สัดส่วนมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมเ พิ่มขึ้น (ร้อยละ) 1 89 ตารางที่ ผ - 76 สัดส่วนของหน่วยงานที่เข้าร่วมดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2551 - 2563 19 0
สารบัญตาราง ( ต่อ) ตาราง หน้า ตารางที่ ผ - 77 สัดส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างสินค้า และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2551 - 2563 19 0 ตารางที่ ผ - 78 สัดส่วนมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2563 19 1 ตารางที่ ผ - 79 รายชื่อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 - 2564 19 2 ตารางที่ ผ - 80 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด การรับรู้และความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น (จํานวน) 19 5 ตารางที่ ผ - 81 ข้อมูลการส่งเสริมการรับรู้และความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ปี พ.ศ. 2561 - 2564 19 5 ตารางที่ ผ - 82 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด มีการนํากระบวนการ SEA ไปใช้ในพื้นที่สําคัญด้านการพัฒนา ระดับนโยบาย (มี/ไม่มี) 19 6 ตารางที่ ผ - 83 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด การดําเนินการภายใต้ความตกลงระดับทวิภาคี พหุภาคี และระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแว ดล้อมเพิ่มขึ้น 19 7
สารบัญรูป ภาพ รูปภาพ หน้า รูปภาพที่ 2 - 1 ผลการประเมินสถานะของเป้าหมายที่ 6 12 13 14 และ 15 15 รูปภาพที่ 2 - 2 ดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพของโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ถึง 2014 23 รูปภาพที่ 2 - 3 สัดส่วนสภาพพื้นผิวและการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นผิวโลก 24 รูปภาพที่ 2 - 4 การสร้างแกนวิเคราะห์ความไม่แน่นอน ( Axes of uncertainties) และฉากทัศน์ อนาคต ( Scenario building) 3 6 รูปภาพที่ 3 - 1 ความเชื่อมโยงของแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 - 2570 กับแผนระดับที่ 1 - 3 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 4 4 รูปภาพที่ 3 - 2 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติบกและความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เติบโตและมีความเป็นธรรมบนความสมดุลของฐานทรัพยากรธรรมชาติ 5 4 รูปภาพที่ 3 - 3 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลเพื่อการพัฒนา ศักยภาพการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน 62 รูปภาพที่ 3 - 4 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการเพื่อสร้างสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ 7 8 รูปภาพที่ 3 - 5 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดการสภาพแวดล้อมเมืองและมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมทั้งระบบ 8 8 รูปภาพที่ 3 - 6 ยุทธศาสตร์ที่ 5 การยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ 10 2 รูปภาพที่ ผ - 1 การคํานวณดัชนีบัญชีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่เสี่ยง ต่อการถูกคุกคาม 118 รูปภาพที่ ผ - 2 เกณฑ์ WQI 15 0 รูปภาพที่ ผ - 3 สถานการณ์คุณภาพน้ําของแหล่งน้ําผิวดินทั่วประเทศ ปี พ.ศ. 2555 - 2564 15 1 รูปภาพที่ ผ - 4 เกณฑ์ MWQI 15 2 รูปภาพที่ ผ - 5 สถานการณ์คุณภาพน้ําของแหล่งน้ําทะเล ปี พ.ศ. 2555 - 2564 15 3
บทนํา
ก บทนํา สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วประกอบกับการพัฒนาประเทศแบบก้าวกระโดด ล้วนส่งผลกระทบ ต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับโลก ภูมิภาค และภายในประเทศ อาทิ สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID - 19) หรือโรคโควิด 19 เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว สังคมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ความมุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อุปสรรคจากการค้าและการลงทุน วิกฤติเศรษฐกิจของโลก การเติบโตของสังคมเมืองอ ย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ ในด้านสิ่งแวดล้อมที่ทุกประเทศกําลังเผชิญกับสถานการณ์และวิกฤติทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ลดจํานวนลงหรือถูกคุกคาม ปัญหาน้ําเสีย ขยะ มลพิษทางอากาศ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ตลอดระยะเวลาในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา การอนุรักษ์ ฟื้นฟูและรักษาฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเรื่องสําคัญและเร่งด่วน เนื่องด้วย ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยพื้นฐานสําคัญยิ่งในการผลิตและเป็นมิติ หนึ่งของการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ควบคู่ไปกับมิติเศรษฐกิจ และมิติสังคม นานาประเทศจึงร่วมมือกันเตรียมความพร้อมกับปัญหาดังกล่าว เพื่อให้เกิด ความสมดุลและยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการกําหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อให้ทุกประเทศ ดําเนินการร่วมกัน การตั้งเป้าหมำยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป้าหมายความเป็นกลางทาง คาร์บอน ( Carbon Neutrality ) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ( Net Zero Greenhouse Gas Emission ) แนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว ( Green Economy ) รวมไปถึงข้อตกลงระหว่างประเทศและมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อาทิ European Green Deal มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน ( Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM ) อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ประเทศไทย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักและร่วมมือกันเพื่อสร้างความพร้อมในการป้องกันแบบเชิงรุก และพร้อมตั้งรับในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอย่างเข้มข้นและยั่งยืน โดยมีการควบคุม กําหนด กลไก มาตรการและมาตรฐานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความมั่นคงของฐานทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อมของประเทศ ประเทศไทยกําหนดแผน 3 ระดับ โดยมียุทธศาสตร์ชาติเป็นแผนระดับที่ 1 เป็นกรอบในการจัดทําแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตาม หลักธรรมาภิบาล และแผนระดับที่ 2 เพื่อถ่ายทอดเป้าหมายและประเด็นยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วย แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แ ผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผน ระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ และแผนระดับที่ 3 ประกอบด้วย แผนปฏิบัติการในด้านต่าง ๆ แผนปฏิบัติราชการ ราย 5 ปี และรายปี เพื่อให้การดําเนินการต่าง ๆ มีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมถือเป็นแผนในระดับที่ 3 ซึ่งเป็นแผนหลักด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่บูรณาการ ประเด็นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้อย่างครอบคลุมทุกรา ยสาขา เพื่อให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องมีทิศทาง และเป้าหมายที่ชัดเจน และถือเป็นเป้าหมายร่วมกันในการดําเนินงานด้านการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทํา นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2540 - 2559 (ระยะยาว 20 ปี) ขึ้นเป็นฉบับแรก ซึ่งปัจจุบันได้มีการประกาศใช้นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม แห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2580 เป็นฉบับที่สอง โดยจัดทําขึ้นตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ในมาตรา 13 ( 1 ) ที่กําหนดให้สํานักงานฯ ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทํานโยบายและแผนดังกล่าว เพื่อนําเสนอต่อคณะกรรมการ
ข สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามลําดับ ซึ่งนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมฯ จะถ่ายทอดเป็นแผนปฏิบัติการระยะกลาง 5 ปี คือ แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา 3 5 แห่ง พระราชบัญญัติฯ พ.ศ. 25 3 5 และที่ผ่านมา สํานักงานฯ ได้มีการจัดทํามาแล้วรวม 5 ฉบับ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กําหนดให้แผนจัดการคุณภาพ สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 - 2570 มีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกับแผนระดับที่ 1 และระดับที่ 2 โดยเชื่อมโยงแผนระดับที่ 3 อื่น ๆ ที่อยู่ในระดับเดียวกันให้สามารถขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมด้านต่าง ๆ ของประเทศ ไปสู่การปฏิบัติในระดับภารกิจพื้นฐาน ( Function ) และระดับพื้นที่ ( Area ) มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ในการดําเนินการในระยะ 5 ปี เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยการนํายุทธศาสตร์ ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ โ ดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิต ที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 18 การเติบโตอย่างยั่งยืน ที่ครอบคลุม มิติการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย และแผนแม่บท ฯ ประเด็นที่ เกี่ยวข้อง อาทิ ประเด็น ( 6 ) พื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ ประเด็น ( 19 ) การบริหารจัดการน้ําทั้งระบบ ประเด็น ( 20 ) การบริการ ประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ รวมทั้ง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) เป็นแนวทางหลักในการจัดทําแผนจัดการฯ พ.ศ. 2566 – 2570 อีกทั้งยังให้ความสําคัญกับแนวทาง การพัฒนาทั้งในระดับสากลและภายในประเทศ อาทิ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ประเทศสมาชิกของ สหประชาชาติให้การรับรอง และโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว ( Bio - Circular - Green Economy: BCG Model ) ซึ่งเป็นนโยบายในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยเพื่อความยั่งยืน ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาทรัพยำกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและพัฒนาศักยภาพของประเทศ ผ่านการประสานพลังและสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
ส่วนที่ 1 ทิศทางการพัฒนา บทบาท ความสําคัญ และสถานะของแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 – 2570
1 ส่วนที่ 1 ทิศทางการพัฒนา บทบาท ความสําคัญ และสถานะของแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 – 2570 1 . 1 เป้าหมายการพัฒนา ที่ ยั่งยืน ( Sustainable Development Goals : SDGs) เป้าหมายการพัฒนา ที่ ยั่งยืน ( Sustainable Development Goals : SDGs) เป็นเป้าหมาย ระดับนานาชาติ ที่ต่อยอดโดยองค์การสหประชาชาติ เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงและต่อเนื่องในการพัฒนาระดับชาติและระดับ สากลที่ทุกประเทศดําเนินการร่วมกันหลังจากที่เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ( Millennium Development Goals : MDGs ) สิ้นสุดลง โดยมีกรอบความคิดที่มองความเชื่อมโยงของการพัฒนาในมิติของเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม ให้ความสําคัญกับการปรับสมดุลทั้งในมิติของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ( Economic growth) ความครอบคลุมทางสังคม ( Social inclusion) และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ( Environmental protection) อย่างยั่งยืน ในรูปแบบบูรณาการและอาศัยกระบวนการการมีส่วนร่วม ซึ่งเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนนี้จะใช้เป็นกรอบ ทิศทางการพัฒนาตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2558 จนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2573 ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปี ประกอบไปด้วย 17 เป้าหมาย ( SDG goals) 169 เป้าหมายย่อย ( SDG targets) มีตัวชี้วัด ( SDG indicators) ทั้งสิ้น 247 ตัวชี้วัด เพื่อใช้ติดตามและประเมินความก้าวหน้าการพัฒนาของแต่ละประเทศ โดยเป้าหมายการ พัฒนา ที่ ยั่งยืนที่มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้ อม มี 9 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 2 3 6 8 11 12 13 14 และ 15 ซึ่งมีประเด็นและองค์ประกอบการพัฒนา ในแต่ละเป้าหมายที่เชื่อมโยงและสอดคล้องกัน อีกทั้งการพัฒนาในด้านหนึ่งจะส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมาย ในด้านอื่น ๆ เช่นกัน โดยเฉพาะการพัฒนาเสาหลักของความยั่งยืนที่ประกอบด้วยมิติด้านคนและสังคม ความมั่งคั่ง และการเติบโตทางเศรษฐกิจ และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป้าหมายการพัฒนา ที่ ยั่งยืนได้ให้ความสําคัญ กับทั้งสามเสาหลักเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่าง สมดุลและยั่งยืน สู่สันติภาพและ ความสงบสุข ผ่านการสร้างหุ้นส่วน ความร่วมมือ และในทางกลับกัน การกําหนดนโยบายหรือแผนใด ๆ ยังสามารถนําไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนา ที่ ยั่งยืนได้หลายเป้าหมายพร้อม ๆ กัน โดยแต่ละเป้าหมายมีรายละเอียดสําคัญ ได้แก่ เป้าหมายที่ 2 ขจัดความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน ( Zero h unger ) มีเป้าหมายที่จะขจัด ความหิวโหย และความอดอยากทุกรูปแบบภายในปี พ.ศ. 2573 เพื่อให้ทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและผู้ด้อยโอกาส จํานวนมาก ได้เข้าถึงอาหารที่เพียงพอและมีคุณค่าทางโภชนาการตลอดทั้งปี เป้าหมายนี้ยังเกี่ยวข้อง กับการส่งเสริมการเกษตร อย่างยั่งยืน การปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่และกําลังการผลิตของเกษตรกรรมขนาดเล็ก ที่ช่วยให้เข้าถึงแหล่ง ที่ดินทํากิน เทคโนโลยีและการตลาดอย่างเท่าเทียม นอกจากนี้ ความร่วมมือระหว่างประเทศก็เป็นสิ่งสําคัญที่สร้าง ความเชื่อมั่นในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เป้าหมายที่ 3 รับรองการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนในทุกช่วงอายุ ( Good h ealth and W ell - being) มีเป้าหมาย ที่ จะยุติการระบาดของโรคเอดส์ วัณโรค มาลาเรียและโรคติดต่ออื่น ๆ ภายในปี พ.ศ. 2573 บรรลุหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้าและจัดให้มีการเข้าถึงยา และวัคซีนอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสําหรับทุกคน การสนับสนุน การวิจัยและพัฒนาวัคซีนก็เป็นส่วนสําคัญ ของกระบวนการนี้เ ช่นเดียวกับการเข้าถึงยาในราคาที่เหมาะสม เป้าหมายที่ 6 รับรองการมีน้ําใช้ การจัดการน้ําและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน ( Clean w ater and Sanitation) มีเป้าหมาย ให้ทุกคนมีน้ําใช้ภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งการทําให้มีน้ําดื่มที่ปลอดภัยและราคาเหมาะสม จําเป็นต้องมีการ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม มีการจัดให้มีสิ่งอํานวยความสะดวกด้านสุขอนามัยและส่งเสริมสุขอนามัย ในทุกระดับ ปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับน้ํา เช่น ป่าไม้ ภูเขาและแม่น้ํา พื้นที่ชุ่มน้ํา นอ กจากนี้ ความร่วมมือระหว่างประเทศ ยังเป็นสิ่งจําเป็นที่จะส่งเสริมให้มีการใช้น้ําอย่างมีประสิทธิภาพและสนับสนุน เทคโนโลยีการบําบัดน้ําในประเทศที่กําลังพัฒนา เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเติบโตทาง เศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง
2 ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานที่มีคุณค่า ( Decent w ork and e conomic g rowth) มีเป้าหมาย เพื่อ ต้องการให้เกิดการจ้างงานเต็มรูปแบบและมีประสิทธิภาพ และการทํางานที่เหมาะสมสําหรับผู้หญิงและผู้ชาย ทุกคนภายในปี พ.ศ. 2573 ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนโดยบรรลุเป้าหมายการผลิตในระดับ ที่สูงขึ้นและผลิตผ่านนวัต กรรมทางเทคโนโลยี สนับสนุนนโยบายที่ส่งเสริมผู้ประกอบการและการสร้างงาน เช่นเดียวกับมาตรการที่มีประสิทธิภาพที่จะกําจัดการบังคับใช้แรงงานทาสและการค้ามนุษย์ เป้าหมายที่ 11 ทําให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัยทั่วถึง พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และการพัฒนา อย่างยั่งยืน ( Sustainable c ities and c ommunities) มีเป้าหมายในการทําให้ผู้คนเข้าถึงที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย และเหมาะสมและพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของชุมชนแออัด เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากรในพื้นที่เหล่านั้น นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับการลงทุนด้านการขนส่งสาธารณะ การสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวและการปรับปรุง การวางผังเมืองและการจัดการในลักษณะแบบมีส่วนร่วม เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการ ผลิตและการบริโภ คที่ ยั่ งยืน ( Responsible c onsumption and p roduction ) มีเป้าหมายการจัดการ และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ลดของเสียหรือการสูญเสียในการผลิตและการบริโภค รวมทั้งสนับสนุนขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและพัฒนาเครื่องมืออันนําไปสู่รูปแบบการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน ยิ่งขึ้นของผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เป้าหมายที่ 13 ดําเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบ ( Climate a ction) มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างการร่วมมือในการสร้างความเข้มแข็ง ความยืดหยุ่น และความสามารถในการปรับตัวของภูมิภาคที่มีความเสี่ยง สร้างความตระหนักรู้และบูรณาการมาตรการในนโยบาย และกลยุทธ์ระดับชาติเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ( Life b elow w ater) มีเป้าหมาย เพื่อสร้างกรอบการทํางานในการจัดการอย่างยั่งยืนและปกป้องระบบนิเวศทางชายฝั่งและทางทะเลจากภาวะ มลพิษจากแหล่งบนบก ตลอดจนจัดการปัญหา ผลกระทบของ ความ เป็นกรด ใน มหาสมุทร เสริมสร้างการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของทรัพยากรทะเลผ่านกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหา ที่เกิดขึ้นกับมหาสมุทร และ เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก อย่างยั่งยืน ( Life on l and) มีเป้าหมายในการอนุรักษ์และ ฟื้นฟูประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก อาทิ ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ํา พื้นที่กึ่งแห้งแล้ง และภูเขา ภายในปี พ.ศ. 2573 นอกจากนี้ ยังรวมถึงการส่งเสริมการจัดการป่า อย่างยั่งยืนและแก้ไขการตัดไม้ทําลายป่าเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบ ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และมีการ ดําเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อที่จะลดการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ สําหรับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพั ฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ( กพย. ) ในการประชุมครั้งที่ 1 / 2558 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2558 ได้มีมติมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานรับผิดชอบและประสานงานหลักมี 5 เป้าหมายจาก 17 เป้าหมาย ที่เกี่ยวข้อง โดยตรงกับประเด็นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (SDG Planet) ได้แก่ เป้าหมายที่ 6 สร้างหลักประกัน ว่าจะมีการจัดให้มีน้ําและสุขอนามัยสําหรับทุกคน และมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกัน ให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 13 ดําเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศและผลกระทบ เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ จากระบบนิเวศ ทางบกอย่างยั่งยืน พร้อมเน้นย้ําถึงการกําหนดเป้าหมายของการดําเนินงานที่ชัดเจน เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม นําไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับแนวทางการขั บเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยไปปฏิบัติ ต่อมา ภายหลังได้มีการ ส่งมอบ เป้าหมายที่ 6 ให้สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบและประสานงานหลัก เนื่องจากมีภารกิจ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําของประเทศ หลังจากนั้น ในการประชุม กพย. ครั้งที่ 1 / 2563 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563 มีมติเห็นชอบการกําหนดหน่วยงานรับผิดชอบและประสานงานหลักการขับเคลื่อน
3 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 เป้าหมายหลัก และ 169 เป้าหมายย่อย ( Target s ) และมอบหมายให้สํานักงาน สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กพย. ประสานหน่วยงานรับผิดชอบ และ ประสานงานหลัก (C 1 ) และระดับเป้าหมายย่อย ( C 2 ) ดําเนินการขับเคลื่อนตามภารกิจที่กําหนด และรายงาน ความคืบหน้าการดําเนินงานให้ กพย. ทราบเป็นระยะ สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้วิเคราะห์ ความ เชื่อมโยง ระหว่างแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไว้ ซึ่งเป็นไปตามแผน การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย ( Thailand’s SDG Roadmap) ที่เป็นการพัฒนา ประเทศตามกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับยุทธศาสตร์ชาติ โดยมี ความเชื่อมโยงใน ระดับเป้าหมายย่อย ( C 2 ) และระดับตัวชี้วัดย่อยของแผนแม่บทฯ ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานรับผิดชอบและประสานงานหลัก รวมทั้งสิ้น 4 เป้าหมายหลัก คือ เป้าหมายที่ 12 13 14 และ 15 และ 30 เป้าหมายย่อย 1 . 2 อนุสัญญา และความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม นอกจากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เป็นข้อตกลงและข้อสัญญาร่วม กัน กั บ นานาประเทศในการพัฒนาโลกใบนี้ ไปสู่ความยั่งยืนแล้ว ยังมีพันธสัญญาระดับนานาชาติอื่น ๆ ที่ถูกจัดทําขึ้นในรูปของอนุสัญญาและความตกลง ระหว่าง ประเทศเพื่อช่วยส่งเสริมและผลักดันการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้ อนุสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติบกและ ความหลากหลาย ทางชีวภาพ ประกอบด้ วย อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ํา ( Ramsar Convention on Wetlands) ได้รับการรับรองเมื่อ พ.ศ. 2514 ณ เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน เป็นอนุสัญญาที่มีความสําคัญระหว่างประเท ศ จากการที่ประเทศต่าง ๆ ได้ตระหนักถึงความสําคัญของบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ํา ( W etlands) ซึ่งกําลังถูกคุกคาม เพื่อเป็นกรอบการดําเนินงานในการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ําอันเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของนกน้ํา โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการอนุรักษ์และยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ําใ นโลก และสนับสนุนให้มีการใช้ ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ําอย่างชาญฉลาด ประเทศที่เข้าร่วมในข้อตกลงจะต้องคัดเลือกพื้นที่ชุ่มน้ําที่มีความสําคัญ ระดับชาติหรือนานาชาติอย่างน้อย 1 แห่ง บรรจุในทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ําที่มีความสําคัญ ระหว่างประเทศตามเกณฑ์ ในข้อตกลงของอนุสัญญา รวมถึงการกําหนดและวางแผนการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ําทุกแห่งในประเทศ ไม่ว่าจะ ขึ้นทะเบียนหรือไม่ก็ตาม อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและ ธรรมชาติ ( Convention Concerning the Protection of the World Cultu ral and Natural Heritage or The World Heritage Convention) เป็นความตกลงระหว่างรัฐภาคีในการยอมรับและให้ความร่วมมือในการดําเนินการต่าง ๆ เพื่อการคุ้มครองและ อนุรักษ์แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติทั้งที่มีอยู่ในประเทศตนและประเทศอื่น โดยคํานึงถึง ประเด็นด้า นกฎหมาย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การบริหารจัดการ และการสนับสนุนงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสงวนรักษา คุ้มครอง และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่มีความสําคัญต่อมวลมนุษยชาติ ให้คงอยู่ ต่อไป โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2530 อนุสัญญาว่าด้วยการอารักขาพืช ระหว่างประเทศ ( International Plant Protection Convention: IPPC) เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการควบคุมและการป้องกัน การแพร่ระบาดของศัตรูพืช มีการกําหนดมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วย มาตรการสุ ขอนามั ยพื ช ( International Stan dards Phytosanitary Measures: ISPMS) เพื ่ อให้ การดําเนิน มาตรการด้านสุขอนามัยพืชของประเทศต่าง ๆ มีความสอดคล้องกัน อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้าน การแปรสภาพเป็นทะเลทราย ( United Nations Convention to Combat Desertification : UNCCD) ได้รับการ รับรอง ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2537 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2539 โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญา UNCCD ในลําดับที่ 174 เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2544
4 ซึ่งอนุสัญญาฯ นี้มุ่งหลีกเลี่ยง ลดขนาดและ พลิกกลับการกลายเป็นทะเลทรายและการเกิดความเสื่อมโทรม ของ ที่ดิน รวมทั้งบรรเทาผลกระทบจากความแห้งแล้งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในทุกระดับในรูปแบบการบูรณาการ ความร่วมมือระหว่างประเทศและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยมีวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ ได้แก่ ปรับปรุงสภาพข องระบบนิเวศที่ได้รับผลกระทบต่อสู้กับการกลายเป็นทะเลทราย/ความเสื่อมโทรมของที่ดิน ด้วยการส่งเสริมการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน ปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของประชากรที่ได้รับผลกระทบ บรรเทา ปรับตัวและจัดการผลกระทบจากภัยแล้งเพื่อความสามารถในการรับมือและฟื้นตัวของประ ชากรและ ระบบนิเวศที่เปราะบาง สร้างประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลกด้วยการนํา UNCCD ไปใช้อย่างมีประสิทธิผล และระดมทรัพยากรทางการเงินและที่ไม่ใช่ทางการเงินจํานวนมาก เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติตามอนุสัญญา โดยการสร้างความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพในระดับโลกและ ระดับประเทศ อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ( The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora : CITES) หรืออนุสัญญาวอชิงตัน ( Wa shington Convention) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 จากการลงนามรับรองอนุสัญญาและการให้สัตยาบัน ในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 ทําให้ประเทศไทยเป็นสมาชิกลําดับที่ 80 ในอนุสัญญา ซึ่งอนุสัญญา CITES มี วัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าโลก โดยเน้นทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ หรือถูกคุกคามผ่านการ สร้างเครือข่ายระดับโลกในการควบคุม การค้าระหว่างประเทศ ( I nternational trade) ที่ครอบคลุมสัตว์ป่า พืชป่า และผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ดี ความร่ วมมือ ดังกล่าวไม่ครอบคลุมการค้าภายในประเทศสําหรับชนิดพันธุ์อื่น ๆ ( N ative species) อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ( Convention on Biological Diversity : CBD) ถือกําเนิด ขึ้น ในปี พ.ศ. 2535 เป็นอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม ระหว่างประเทศที่มีเจตนารมณ์ให้รัฐบาลของ ทุกประเทศสมาชิกขับเคลื่อนการพัฒนาโดยไม่ละเลยการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยกําหนดวัตถุประสงค์หลักไว้ 3 ประการ คือ เพื่ออนุรักษ์ความห ลากหลาย ทางชีวภาพ เพื่อใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และเพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้ จาก การใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม พิธีสารนาโงยาว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม และ การแบ่งปันผลประโยชน์ที่ เกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม ( Nagoya protocol) ซึ่งประเทศไทย ได้ลงนามรับรองเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555 โดยพิธีสาร ดังกล่าวเป็นการแปลง อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพมาสู่การปฏิบัติ และเป็นเครื่องมือทางกฎหมาย ระหว่ำงประเทศ ที่ สามารถใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทํากฎหมายภายในประเทศในประเด็นการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ รวมถึงเพื่อให้เกิดผลบังคับใช้ทางกฎหมายเมื่อทรัพยากรพันธุกรรมที่มีการเข้าถึงถูกนําออกนอกประเทศ และเมื่อ ทรัพยากรดังกล่าวอยู่ในขอบเขตอํานาจของประเทศผู้นําไปใช้ ประโยชน์ พิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความ ปลอดภัย ทางชี วภาพ (Cartagena Protocol on Biosafety to Convention on Biological Diversity) เป็นความตกลง ระหว่างประเทศ ในการให้คํายืนยันร่วมกันที่จะควบคุมดูแลการเคลื่อนย้าย การบรรจุหีบห่อ การจําแนกระบุ และการใช้ประโยชน์สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมอย่างปลอดภัย และสะท้อนความต้องการของประชาคมโลก ในการปกป้องคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม โดยพิธีสารดังกล่าวได้รับการรับรองในการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้ วยความหลากหลายทางชีวภาพ วาระพิเศษ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 อนุสัญญาว่าด้วยชนิดพันธุ์ ที่ มีการเคลื่อนย้ายถิ่น ( Convention on Migratory Species : CMS) มีวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์สัตว์ป่า บนบก สัตว์ทะเล และนกที่ อพยพย้ายถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2547 สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพยากรพันธ ุ ์ พืชเพื่ออาหารและการเกษตร ( International Treaty on Plant Genetic Resources for Food and Agricultural: ITPGR) เพื่อการอนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและเกษตรยั่งยืน และการแบ่งปันผลประโยชน์ซึ่งเกิดจากการใช้ ทรัพยากรนั้นอย่างเป็นธรรมและเท่า เทียม และ ร่างกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ. 2020
5 (Post - 2020 Global Biodiversity Framework) ซึ่งเป็นกรอบในการดําเนินงานด้านความหลากหลาย ทางชีวภาพ ระดับโลกที่ต่อเนื่องจากแผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 2011 - 2020 และเป้าหมายไอจิ ที่สิ้นสุดลง เมื่อปี ค.ศ. 2020 ( พ.ศ. 2563 ) อนุสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล ประกอบด้วย อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล ( United Nations Convention on Law of the Sea : UNCLOS) เป็นข้อตกลงเพื่อกําหนดระเบียบกฎหมายทางทะเลและมหาสมุทรโดยคํานึงถึงอํานำจ อธิปไตยของแต่ละรัฐตามความเหมาะสม ซึ่งการดําเนินงานภายใต้อนุสัญญาดังกล่าวจะมุ่งเน้นการอํานวยความ สะดวกการสื่อสารระหว่างประเทศและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางทะเลและมหาสมุทรอย่างสันติและเหมาะสม โดยกําหนดว่าการใช้ประโยชน์ทรัพยากรจากทะเลและมหาสมุทรจะต้องเป็นไปอย่าง เที่ยงธรรมและมีประสิทธิผล ตลอดจนต้องมีการอนุรักษ์ การศึกษา และการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลควบคู่ไป กับการใช้ประโยชน์ด้วย โดยประเทศไทยได้ลงนามรับรองอนุสัญญาดังกล่าวเมื่อ ปี พ.ศ. 2525 เข้าเป็นภาคีลําดับ ที่ 162 และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554 อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน มลพิษจากเรือ ( International Convention for the Prevention of Pollution from Ships : MARPOL 73 / 78 ) เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศที่กําหนดขึ้นภายใต้องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมลพิษ ทางทะเลที่เกิดจากเรือ ทั้งที่เกิดจากการเดินเรือและจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเรือ และครอบคลุมสิ่งที่ก่อมลพิษ แก่ สิ่งแวดล้อมทางทะเล ซึ่งอนุสัญญาฉบับนี้จะกําห นดกฎระเบียบให้รัฐภาคีต้องดําเนินการเพื่อลดและป้องกัน มลพิษจากเรือ และมีมาตรการลงโทษเรือที่ละเมิดกฎเกณฑ์ โดยประเทศไทยได้ลงนามในภาคยานุวัติสาร เข้า เป็นอัครภาคีอนุสัญญา MARPOL 73 / 78 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550 และมีผลบังคับใช้กับประเทศ ไทยตั้งแต่วันที่ 2 กุมภำพันธ์ พ.ศ. 2551 ปฏิญญากรุงเทพว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน ( Bangkok Declaration on Combating Marine Debris in ASEAN Region) ได้มีการลงนามรับรองโดยสมาชิกอาเซียน ณ การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 34 ที่กรุงเทพมหานคร วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2562 โดยมุ่งเน้นการแก้ไข ปัญหาขยะทะเลอย่างจริงจังและยั่งยืน โดยประเทศในภูมิภาคจะสนับสนุนนวัตกรรมแนวคิด เสริมสร้างศักยภาพ งานวิจัย การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ และ กรอบการปฏิบัติ งาน อาเซียนว่าด้วยขยะทะเล (ASEAN Framework of Action on Marine Debris) โดยมีการจัดทําแผนปฏิบัติการ ซึ่งครอบคลุมการลดการนําพลาสติกเข้าสู่ระบบ การส่งเสริมการจัดเก็บและลดการรั่วไหลออกจากระบบ และการ สร้างมูลค่าให้กับพลาสติกที่ถูกนํามาใช้ซ้ํา อนุสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเพื่อสร้างสังคมที่เป็นมิตรต่อ สภาพภูมิอากาศ ประกอบด้วย อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( United Nations Framework Convention on Clim ate Change : UNFCCC) เป็นอนุสัญญาที่เป็นกรอบในการ ดําเนินการ ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศเพื่อกําหนด มาตรการและกลยุทธ์ในการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีการเรียกร้องให้ ประเ ทศอุตสาหกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อรักษาระดับความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ ให้คงที่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อระบบสภาวะอากาศ ซึ่งวัตถุประสงค์นี้ควรที่จะบรรลุภายในระยะเวลาอันพอเหมาะ กับการให้ระบบนิเวศปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่า งเป็นธรรมชาติและเพื่อเป็นการป้องกัน ผลกระทบที่รุนแรงต่อห่วงโซ่การผลิตอาหาร ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน โดยประเทศ ไทยได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ความตกลงปารีส ( Paris Agreement) เป็นตราสารกฎหมายภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( UNFCCC) ที่ผ่านการรับรองเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ในการประชุมภาคีสมาชิกของ UNFCC ครั้งที่ 21 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพื่อกําหนดกฎกติการะหว่างประเทศที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นสําหรับการมีส่วนร่วมของภาคี
6 ในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างการตอบสนองของโลก ต่อภัยคุกคาม ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบริบทของการพัฒนาที่ยั่ง ยืนและความพยายามในการขจัด ความยากจน ได้แก่ ควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ํากว่า 2 องศาเซลเซียส และมุ่งพยายามควบคุม การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1 . 5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม โดยคํานึงว่าการดําเนินการ ตามนี้ จะลดความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีนัยสําคัญ เพิ่มความสามารถ ในการปรับตัวให้เข้ากับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและส่งเสริม ความสามารถในการฟื้นตัว จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ํา โดยไม่ส่งผลกระทบ ต่อการผลิตอาหาร และทําให้กระแสการเงินสอดคล้องกับแนวทางที่นําไปสู่การพัฒนาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ํา และการพัฒนาให้มี ความสามารถในการฟื้นตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พิธีสารเกียวโต ( Kyoto Protocol) เป็นข้อตกลง ระหว่างประเทศที่เชื่อมโยงกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ ซึ่งกําหนดให้ประเทศภาคีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายโดยมีผล ผูกพันตามกฎหมา ย โดยต้องมีการลดปริมาณ ก๊าซเรือนกระจกที่สําคัญ 6 ชนิด ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO 2 ) ก๊าซมีเทน ( CH 4 ) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ( N 2 O) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน ( HFCs) ก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ( CFCs) และก๊าซ ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ ( SF 6 ) ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่อพิธีสารเกียวโต เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2545 อย่างไรก็ดี แม้ว่าประเทศไทย จะไม่ได้อยู่ในกลุ่มประเทศที่ มีชื่ออยู่ในภาคผนวกที่ 1 จึงไม่มีพันธกรณีในการลด ก๊าซเรือนกระจกในช่วงแรก แต่ประเทศไทยร่วมรับผิดชอบในดําเนินการด้านการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมี ส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดําเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด ( Clean development Mechanism : CDM) อนุสัญญาเวียนนา ( Vienna Convention) เป็นข้อตกลงในรูปสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อให้นานาประเทศร่วมกันแก้ไขปัญหาการทําลายชั้นบรรยากาศโอโซน และร่วมกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจาก รูโหว่ของชั้นโอโซน โดยสนับสนุนให้เกิดการวิจัยและความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างประเทศต่าง ๆ นอกจากนี้ อนุสัญญาดังกล่าวยังประกอบด้วยข้อตกลงระหว่างประเทศในการลดและเลิกการใช้สารเคมีที่ก่อให้เกิด การทําลายชั้นโอโซน โดยประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญานี้โดยภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาค ม พ.ศ. 2532 พิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทําลายชั้นบรรยากาศโอโซน ( Montreal Protoc ol) เป็นสนธิสัญญาสากลที่กําหนดขึ้น เพื่อ วางแนวทางมาตรการระหว่างประเทศในการลดและเลิกใช้สารทําลายชั้นบรรยากาศโอโซนผ่านการควบคุม การ ผลิตและการบริโภคของประเทศภาคีสมาชิก ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกพิธีสารมอนทรีออล ในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2532 และ กรอบการดําเนินงาน เซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (พ.ศ. 2558 - 2573 ) (Sendai Framework for Disaster Risk Reduction 2015 - 2530 ) เป็นกรอบการดําเนินงานสําหรับการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ กว่า 187 ประเทศ ให้การรับรองเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558 ในการประชุมระดับโลกว่าด้วยการลดความเสี่ยง จากภัยพิบัติ ครั้งที่ 3 ณ เมืองเซนได ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกรอบการดําเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ มีระยะเวลาในการดําเนินงาน 15 ปี โดยมีผลลัพธ์ที่คาดหวังคือ ต้องการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและลด การสูญเสียชีวิต วิถีชีวิต และสุขภาพ รวมถึงความสูญเสียทางเศรษฐกิจ โครงสร้างทางก ำยภาพ วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมของบุคคล ธุรกิจ ชุมชน และประเทศ อนุสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการมลพิษ ประกอบด้วย อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายและการกําจัดของเสียอันตรายข้ามแดน ( Basel Convention on the Control of Transboundary Movements of Hazardous Wastes and Their Disposal) เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่จัดทําขึ้นโดยสหประชาชาติ ( The United Nations Environ ment Programme : UNEP) ร่วมกับ ผู้แทนจากประเทศสมาชิก โดยได้เปิดให้ประเทศต่าง ๆ เข้าร่วม ลงนาม เป็นภาคีได้ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2533 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเป็นภาคี
7 สมาชิกอนุสัญญาบาเซล เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และอนุสัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้กับ ประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 อนุสัญญานี้ถูกจัดทําขึ้นบนพื้นฐานของความตระหนัก ถึงความเสี่ยงและความเสียหายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมที่มีสา เหตุจากของเสียอันตราย และของเสียประเภทอื่น รวมไปถึงการเคลื่อนย้ายของเสียเหล่านั้นข้ามแดน โดยจุดมุ่งหมายสําคัญของอนุสัญญาบาเซล คือ การลดปริมาณและความเป็นพิษของของเสียที่ก่อกําเนิดขึ้น รวมถึงควบคุมการนําเข้า การส่งออก การนําผ่าน แดน ของเสียอันตราย โดยเฉพาะการถ่ายโอนของเสียอันตรายจากประเทศพัฒนาแล้วไปยังประเทศด้อยพัฒนา พร้อมทั้ง สร้างความเชื่อมั่นว่าของเสียจะได้รับการบริหารจัดการอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนใช้วิธีการที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมช่วยเหลือประเทศด้อยพัฒนาในการบริหารจัดการของเสียอันตรายแ ละของเสียอื่นที่ประเทศเหล่านั้น ก่อขึ้นด้วย อนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งชื่อข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสําหรับสารเคมีอันตราย และสารเคมีป้องกันจํากัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้า ระหว่างประเทศ ( Rotterdam Convention on the Prior Informed Consent Procedure for Certain Hazardous Chemicals and Pesticides in International Trade : PIC) เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศในการควบคุมการนําเข้า และการส่งออกสารเคมีอันตรายต้องห้าม หรือจํากัดการใช้อย่างเข้มงวดและสูตรผสมของสารเคมีป้องกันกําจัดศัตรูพืชและสัตว์ที่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรง ซึ่งวัตถุประสงค์ของอนุสัญญานี้คือ ส่งเสริมความพยายามร่วมมือ และรับผิดชอบร่วมกันในหมู่ภาคีในเรื่องสารเคมี อันตรายบางชนิดในการค้าระหว่างประเทศเพื่อปกป้องสุขภา พอนามัย ของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากอันตรายของ สารเคมีและเพื่อส่งเสริมการใช้สารเคมีอย่างไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โดยการอํานวยความสะดวกในการ แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของสารเคมี โดยการแจ้งให้ผู้มีอํานาจตัดสินใจ ระดับชาติได้ทราบถึงการนําเข้า และส่งออกและกระจำยข่าวการตัดสินใจนี้ไปในหมู่ภาคีสมาชิก โดยประเทศไทย เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญานี้ โดยภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 อนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษ ที่ตกค้างยาวนาน ( Persistent Organic Pollutants: POPs) เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศได้พัฒนาขึ้น โดยโครงการสิ่งแวดล้อม แห่งสหประชาชาติ ( United Nations Environment Programme : UNEP) ร่วมกับคณะกรรมการ รัฐบาลว่าด้วย ความปลอดภัยของสารเคมี ( Intergovernmental Forum of Chemical Safety : IFCS) มีจุดมุ่งหมาย เพื่อคุ้มครอง สุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ( Persistent Organic Pollutants : POPs) โดยการลดและเลิกการผลิต การใช้ และการปลดปล่อยสารมลพิษดังกล่าว ซึ่งเป็นกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งถูก ย่อยสลายได้ยาก มีคุณสมบัติเป็นพิษ สะสมในสิ่งมีชีวิต ตกค้างยาวนานและสามารถเคลื่อนย้ายได้ไกล ใน สิ่งแวดล้อม ในส่วนของประเทศไทยได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 และได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2548 ซึ่งมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 อนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท ( The Minamata Convention on Mercury) เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศพัฒนาขึ้นโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ( United Nations Environment Programme : UNEP) ร่วมกับรัฐบาลประเทศต่าง ๆ องค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรเอกชน โดยมุ่งเน้นการ ควบคุม และลดการใช้และการปลดปล่อยปรอทจากแหล่งกําเนิด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสุขภาพของ มนุษย์และสิ่งแวดล้อม จากการปลดปล่อยปรอทและสารประกอบปรอทจากกิจกรรมของมนุษย์สู่อากาศ แหล่งน้ํา แ ละดิน ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญามินามาตะ ว่าด้วยปรอท เมื่อปี พ.ศ. 2556 และ ความตกลง อาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน ( ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution) เป็นความตกลงทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ลงนามในปี พ.ศ. 2545 ระหว่างประเทศสมาชิกในกลุ่มสมาคมประชาชาติ แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีวัตถุประสงค์ในการลดมลพิษจากหมอกควันข้ามแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการเสริมสร้างความร่วมมือ การป้องกัน ติดตามและตรวจสอบมลพิษจากห มอกควันข้ามแดน รวมถึงการ จัดตั้งศูนย์ประสานงานและการเปิดให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่าง เหมาะสม ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามในข้อตกลงดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2545 และให้ สัตยาบันเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2546
8 อ นุสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย กรอบความร่วมมือด้านการผลิต และ การบริโภคที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียใต้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ . 2030 นอกจากนี้ ประเด็นการยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพยังถูก ผนวกกับประเด็นภายใต้อนุสัญญาอื่น ๆ อาทิ อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ( Convention on Biological Diversity: CBD ) อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างปร ะเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ( The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora: CITES) อนุสัญญาว่าด้วยการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าอพยพ ( Convention on the Conservation of Migratory Species of Wild Animals: CM S) อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและ การกําจัด ( Basel Convention on the Control of Transboundary Movements of Hazardous Wastes and Their Disposal) อนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ ตกค้างยาวนาน ( Persistent Organic Pollutants: POPs) อนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท ( The Minamata Convention on Mercury) และ อนุสัญญาเวียนนา ( Vienna Convention) 1 . 3 แผน 3 ระดับที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แผน 3 ระดับที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถแสดงความ สอดคล้องของการกําหนดแผนตั้งแต่แผนระดับที่ 1 ได้แก่ยุทธศาสตร์ชาติซึ่งเป็นกรอบในการจัดทําแผนต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องและบูรณาการกัน โดยการถ่ายทอดเป้าหมายและประเด็นการพัฒนาไปสู่แผน ระดับที่ 2 ซึ่งเป็นแนวทางการขับเคลื่อนประเทศในมิติต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ ทําหน้าที่เชื่อมโยงการ ถ่ายทอดไปสู่แผนระดับหน่วยงานหรือแผนระดับที่ 3 ซึ่งเป็นแผนในเชิงปฏิบัติที่มีความชัดเจนตามภารกิจ ส่วนราชการที่สอดคล้องและสนับสนุนการดําเนินงานตามแผนระ ดับที่ 1 และแผนระดับที่ 2 โดยประเด็นการ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้บรรจุอยู่ใน แผนระดับที่ 1 ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ในยุทธศาสตร์ชาติด้านที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย ประเด็นที่ 1 สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว ประเด็นที่ 2 สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล ประเด็นที่ 3 สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็น มิตรต่อสภาพภูมิอากาศ ประเด็นที่ 4 พัฒนาพื้นที่เมือง ชนบท เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ประเด็นที่ 5 พัฒนาความมั่นคงน้ํา พลังงาน และเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และประเด็นที่ 6 ยกระดับกระบวนทัศน์ เพื่อกําหนดอนาคตประ เทศ แผนระดับที่ 2 ได้แก่ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580 ) ประกอบด้วย ประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ประเด็น ( 3 ) การเกษตรในแผนย่อยเกษตรอัจฉริยะ ประเด็น ( 4 ) อุตสาหกรรม และบริการแห่งอนาคตในแผนย่อยอุตสาหกรรมชีวภาพ ประเด็น ( 6 ) พื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะในแผนย่อย การพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ และแผนย่อยการพัฒนาพื้นที่เมือง ชนบท เกษตรกรรม และอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ที่มีการบริหารจัดการตามแผนผังภูมินิเวศอย่างยั่งยืน ประเด็น ( 7 ) โครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล ในแผนย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ ประเด็น ( 9 ) เขตเศรษฐกิจพิเศษในแผนย่อย การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก แผนย่อยการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ และแผนย่อยการพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ประเด็ น ( 13 ) การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี ในแผนย่อยการพัฒนาและ สร้างระบบรับมือและปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ําที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเด็น ( 18 ) การเติบโตอย่างยั่งยืน ในแผนย่อยการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว แผนย่อยการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล แผนย่อยการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน บนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ แผนย่อยการจัดการมลพิษที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสารเคมี ในภาคเ กษตรทั้งระบบให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และแผนย่อยการยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกําหนด
9 อนาคต ประเทศ ประเด็น ( 19 ) ประเด็นการบริหารจัดการน้ําทั้งระบบ ในแผนย่อยการพัฒนาการจัดการน้ําเชิงลุ่มน้ํา ทั้งระบบเพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านน้ําของประเทศ และแผนย่อยการอนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ ําลําคลองและแหล่งน้ํา ธรรมชาติ ทั่วประเทศ และ ประเด็น ( 23 ) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ในแผนย่อยการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังได้บูรณาการเข้าสู่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) ในหมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน หมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ํา และหมุดหมายที่ 11 ไทยสามารถลดความเสี่ยง และผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึง แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านที่ 6 แผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในกิจกรรมปฏิรูปที่ 1 เพิ่มและพัฒนา พื้นที่ป่าไม้ให้ได้ตามเป้าหมาย กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 การบริหารจัดการเขตทางทะเลและชายฝั่งรายจังหวัด กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 การบริหารจัดการน้ําเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่นอกเขตชลประทาน และกิจกรรมปฏิรูปที่ 4 ปฏิรูประบบการบริหารจัดการเขตควบคุมมลพิษ กรณีเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด ในส่วนของ แผนระดับที่ 3 เป็นแผนเชิงปฏิบัติที่มีความชัดเจนตามภารกิจของหน่วยงานและสอดคล้องกับแผนระดับที่ 1 และ 2 โดยประเด็น การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในภาพรวมปรากฏอยู่ใน นโยบายและแผนการส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2580 ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ในนโยบายที่ 1 จัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างมั่นคงเพื่อความสมดุลเป็นธรรมและยั่งยืน นโยบายที่ 2 สร้างการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อความมั่งคั่งและยั่งยืน นโยบายที่ 3 ยกระดับมาตรการในการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนโยบายที่ 4 สร้างความเป็นหุ้นส่วนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม แผนปฏิบัติการอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2568 ( ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562 ) ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 - 2569 ในยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างความยั่งยืนของฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพด้วยการจัดสมดุล ระหว่างการอนุรักษ์และ การ ใช้ประโยชน์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งด้วย ทุนทรัพยากร อัตลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับการพัฒนา อุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจ BCG ให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน และยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้าง ความสามารถ ในการ ตอบสนองต่อกระ แสการเปลี่ยนแปลงของโลก และแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วย โมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 - 2570 และแผนระดับที่ 3 อื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถจําแนกกลุ่มของแผนระดับที่ 3 เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติบกและความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่ นโยบายและแผนการส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2580 แผนแม่บท อุทยานแห่งชาติแบบบูรณาการ พ.ศ. 2560 - 2564 ในยุทธศาสตร์ที่ 1 การคุ้มครองดูแลรักษาทรัพยากร แผนแม่บทบูรณาการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2558 - 2564 และแผนปฏิบัติการ จัดการ ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2560 – 256 5 ยุทธศาสตร์กรมป่าไม้ พ.ศ. 2560 - 2579 นโยบายป่าไม้ แห่งชาติ ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เห็นชอบ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 แผนบริหารจัดการทรัพยากรดิน ปัญหาของ ประเทศไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580 ) ( ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากร ดินของประเทศ (พ.ศ. 2566 - 2580 ) แผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของ ประเทศ (พ.ศ. 2566 - 2570) ซึ่งคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเห็นชอบและรับทราบ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580 ) และ ( ร่าง ) แผนแม่บทบริหาร จัดการแร่ ฉบับที่ 2 ( พ.ศ. 256 6 – 25 70) ยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579 ) แผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม พ.ศ. 2560 - 2564 และ แนวทางการขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียว อย่างยั่งยืน
10 กลุ่มที่ 2 ที่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล ในส่วนของกฎหมาย และ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ ง อาทิ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 ในปี พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติส่งเสริม การบริหาร จัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 พระราชกําหนดการประมง พ.ศ. 2558 และ พระราชกําหนดการประมง (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2560 พระราช บัญญัติ อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติ การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ. 2562 และด้านนโยบายของประเทศ มีประเด็นที่เกี่ยวข้อง กับ การรักษาความมั่นคงในมิติของทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม แห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2580 แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 - 2565 ในนโยบายที่ 1 จัดการ ฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างมั่นคงเพื่อความสมดุล เป็นธรรมและยั่งยืน และนโยบายที่ 2 สร้างการเติบโต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อความมั่งคั่งและยั่งยืน แผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล พ.ศ. 2558 - 2564 แผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 - 2565 แผนแม่บทกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) นโยบายและแผนบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง แห่งชาติ พ.ศ. 2564 - 2565 แนวทางการ บริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ พ.ศ. 2566 - 2570 แผนการพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 - 2564 ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวอาเซียน พ.ศ. 2559 - 2568 และแม่บทบูรณาการการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2558 - 2564 แผนแม่บท แก้ไขปัญหาการทําลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อย่างยั่งยืน ระยะ 10 ปี พ.ศ. 2558 - 2567 แผนแม่บทรองรับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558 - 2593 แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ของประเทศ (พ.ศ. 2559 - 2564 ) และ อนุสัญญาว่าด้วยความ หลากหลายทางชีวภาพ ( Convention on Biological Diversity: CBD) กลุ่มที่ 3 มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ ทั้งระบบ ได้แก่ แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558 - 2593 แผนที่นําทางการลดก๊าซเรือนกระจก ของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 – 2573 แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ําของประเทศ นโยบายและแผน การส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2580 ในนโยบายที่ 2 สร้างการเติบโตที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมเพื่อความมั่ง คั่งและยั่งยืน แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 – 2570 ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2561 – 2580 แผนพัฒนา พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561 - 2580 และ แผนพลังงานชาติ กลุ่มที่ 4 ที่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นการจัดการสภาพแวดล้อมเมืองและมลพิษ ได้แก่ นโยบายและแผน การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2580 ในนโยบายที่ 2 สร้างการเติบโต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อความมั่งคั่งและยั่งยืน ยุทธศาสตร์การจัดการมลพิษ 20 ปี และ แผนจัดการ มลพิษ พ.ศ. 2560 - 2564 แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580 ) ในด้านที่ 4 การจัดการคุณภาพน้ําและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ํา ด้านที่ 5 การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ําที่เสื่อมโทรม และป้องกัน การพังทลายของดิน และด้านที่ 6 การบริหารจัดการ ยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ําบาดาล ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579 ) แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่น ละออง” พ.ศ. 2562 - 2567 แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอย (พ.ศ. 2559 - 2564 ) แผนปฏิบัติการ ด้านการ จัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 - 2565 ) ภายใต้ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 - 2573 แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนเพื่อส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2563 - 2580 ในยุทธศาสตร์ที่ 1 อนุรักษ์และฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติตามแนวศาสตร์พระราชา ที่มีการใช้ตัวชี้วัด ท้องถิ่นมี แผนการจัดการความเสี่ยง การปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติ โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง คู่มือแนวทางการปฏิบัติเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชนอย่างยั่งยืน
11 การวางแผนและการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชนอย่างยั่งยืน ร่างนโยบายและแผนแม่บทการบริหาร จัดการถ้ําของประเทศไทย เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรภายในถ้ํา ควบคู่กับส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และปลอดภัยกับนักท่องเที่ยว แผนปฏิบัติการเชิงนโยบายด้านการจัดการพื้นที่ สีเขียวชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน แนวทางการขับเคลื่อนการจัดการ พื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และศิลปกรรมแห่งชาติ ระยะ 20 ปี ( 2561 - 2580 ) และ แผนแม่บทการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมระยะ 20 ปี ( 2561 - 2580 ) กลุ่มที่ 5 ที่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นการยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4 . 0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579 ) แผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พ.ศ. 2555 - 2574 แผนขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภค ที่ยั่งยืน พ.ศ. 2560 - 2580 นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 25 80 ในนโยบายที่ 1 จัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างมั่นคงเพื่อความสมดุล เป็นธรรมและยั่งยืน นโยบายที่ 3 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนโยบายที่ 4 สร้างความเป็นหุ้นส่วน ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นทิศทำง การขับเคลื่อนการดําเนินงานของประเทศไทย ในระยะ 20 ปี แผนปฏิบัติการอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2568 ( ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562 ) ในยุทธศาสตร์ที่ 7 สิ่งแวดล้อมศึกษาและการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้าน การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (พ.ศ. 2566 - 2570) (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2566 - 2570 ( ร่าง) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2570) แผนปฏิบัติการด้าน การส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้ อม พ.ศ. 2565 - 2570 ยุทธศาสตร์การ ขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2569 ในยุทธศาสตร์ที่ 1 การ สร้างความยั่งยืน ของฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพด้วยการจัดสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ และ แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วย โมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 - 25 70
1 ส่วนที่ 2 ผลการติดตามประเมินผลนโยบายและแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สถานการณ์และการคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และภาพฉายอนาคตการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของไทยในระยะ 5 ปีข้างหน้า
12 ส่วนที่ 2 ผลการติดตามประเมินผลนโยบายและแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สถานการณ์และการคาดการณ์ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และภาพฉายอนาคตการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทยในระยะ 5 ปีข้างหน้า 2 . 1 ผลการติดตามประเมินผลนโยบายและแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประเทศไทยดําเนินการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และขับเคลื่อนการดําเนินงานเพื่อให้บรรลุ เป้าหมายของประเทศไทยตามกรอบแผนทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ แผนระดับที่ 1 คือ ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580 ) แผนระดับที่ 2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ แผนการ ปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนระดับที่ 3 คือ แผนที่จัดทําขึ้นเพื่อสนับสนุน การดําเนินงานของแผนระดับที่ 1 และ 2 ให้บรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้ ห รือจัดทําขึ้นตามที่กฎหมายกําหนด หรือตามพันธกรณีระหว่าง ประเทศ ในการนี้ พระราชบัญญัติ การจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 และ พระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดําเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 กําหนดให้หน่วยงานของรัฐรายงาน ผล การดําเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ตามระยะเวลาและรายการที่สํานักงานสภาพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กําหนด ซึ่ง สศช. ได้จัดทําระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ ( eMENSCR) เพื่อใช้ในการรายงานผลการดําเนินการตามแผนระดับต่าง ๆ ของประเทศ นอกจากนี้ สํานักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะผู้จัดทําแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแผนตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และเป็นแผนระดับที่ 3 ได้มีการติดตามประเมินผลการ ดําเนินงานตามแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 - 2565 เพื่อทราบถึงปัญหาอุปสรรค และจัดทํา ข้อเสนอแนะการดําเนินการ เผยแพร่ให้หน่วยงานนําไปพิจารณาใช้ประโยชน์ต่อไป ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้า สถานการณ์ การพัฒนาที่จะนําไปสู่การบรรลุเป้ำหมาย ตลอดจนนําไปสู่การพิจารณาปรับปรุงการดําเนินการของ ทุก ภาคส่วนให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ ข้อเท็จจริง และบริบทของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ต่อไป โดยมีผลการติดตามประเมินผลนโยบายและแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้ 2 . 1 . 1 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ( Sustainable Development Goals: SDGs ) รายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2559 – 2563 จัดทําโดย สศช. พบว่า ประเทศไทยยังอยู่ระหว่างการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ( SDGs ) ให้เป็นไปตาม เป้าหมายที่กําหนด โดยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือกลุ่ม Planet ไม่มีเป้าหมายใดมีสถานะต่ํากว่าค่าเป้าหมายขั้นวิกฤต (สี แดง) โดยแต่ละเป้าหมายมีสถานะดังนี้ เป้าหมายที่ 6 สร้างหลักประกันเรื่องน้ําและการสุขาภิบาล ให้มี การจัดการอย่างยั่งยืนและมีสภาพพร้อมใช้สําหรับทุกคน มีสถานะต่ํากว่าค่าเป้าหมายระดับเสี่ยง (สีส้ม) โดยคนไทยสามารถเข้าถึงน้ําเพื่อการอุปโภคบริโภคมากขึ้น แต่ยังพบว่า คุณภาพน้ํายังเป็นปัญหาสําคัญที่ต้องได้รับการปรับปรุง รวมทั้งการบําบัดน้ําเสียที่ไม่มีประสิทธิภาพส่งผ ลให้ แหล่งน้ําบางส่วนอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม อย่างไรก็ดี แนวโน้มสถานการณ์คุณภาพน้ําในแหล่งน้ําผิวดินดีขึ้นในปี พ.ศ. 2562 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2559 แต่ในด้านการจัดการน้ําพบว่า ระดับความเครียดน้ําสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ โลก และภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้ ขณะที่ประสิทธิภาพการใช้น้ําปรับตัวเพิ่มขึ้น และมีกลไกเชิงสถาบัน และการมีส่วนร่วมด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง - สูง ความท้าทาย คือ การ ควบคุมคุณภาพน้ําให้ได้มาตรฐานยังจํากัดในพื้นที่ที่มีระบบประปา การใช้ทรัพยำกรน้ําเกินศักยภาพ และปล่อย น้ําเสียที่ไม่ได้ผ่านการบําบัดลงสู่แหล่งน้ํา รวมทั้งหน่วยงานระดับพื้นที่มีศักยภาพจํากัด ทั้งในการจัดเก็บ ข้อมูล และการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําอย่างเต็มประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะ คือ การพัฒนา
13 ระบบประปาที่ได้มาตรฐานทุกหมู่บ้าน กา รบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ควบคู่กับมาตรการสร้าง แรงจูงใจใน การบําบัดน้ําเสียก่อนปล่อยลงสู่ธรรมชาติ นอกจากนี้ ควรยกระดับศักยภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพัฒนาระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรน้ําให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม ทันสมัย แล ะเข้าถึงได้ง่าย เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน มีสถานะต่ํากว่า ค่าเป้าหมายระดับเสี่ยง (สีส้ม) โดยประเทศไทยได้จัดทําแผนขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน พ.ศ. 2560 – 2580 เพื่อเป็นกรอบการดําเนินงานของประเทศไทย รวมทั้งส่งเสริมการจัดการศึกษาตามแผนการ ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ภาคเอกชนให้ความสําคัญกับการดําเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและจัดทํา รายงานที่เปิดเผย ข้อมูลมิติสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล ( Environmental, Social and Govern ance: ESG) การส่งเสริม อุตสาหกรรมสีเขียว การลดการอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลและสนับสนุนการใช้พลังงาน หมุนเวียน รวมทั้งส่งเสริม การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เตรียมการจัดทําบัญชีต้นทุนด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ( System of Environmental - Economic Accounting: SEEA) ร่วมกั บบัญชีประชาชาติด้านการ ท่องเที่ ยว ( Tourism Satellite Account) ความท้าทาย คือ การขับเคลื่อนการนําแนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่ตั้งอยู่บน พื้นฐานของเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio - Circular - Green Economy: BCG Economy ) ไปสู่การปฏิบัติ การจัดการขยะและของเสียในระดับท้องถิ่นยังมีศักยภาพไม่เพียงพอ กฎระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวไม่เอื้อให้พิจารณาสินค้าและบริ การที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากราคา ค่อนข้างสูง รวมทั้งฐานข้อมูลด้านการผลิต และการบริโภคที่ยั่งยืนยังไม่สมบูรณ์ อาทิ ดัชนีการสูญเสียอาหารและ ขยะอาหาร ข้อเสนอแนะ คือ การถ่ายทอด รูปแบบการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืนสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม การให้ สิทธิประโยชน์ ด้านภาษี การแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติอันเป็นเลิศจากผู้ประกอบการ รวมทั้งการปรับปรุงระเบียบ การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ทําให้การดําเนินงานง่ายขึ้น การเร่งรัดจัดทํา ฐานข้อมูลด้านขยะและของเสียของประเทศ ให้สมบูรณ์ การเสริมสร้างศักยภาพชุมชน ในการบริหารจัดการของ เสียควบคู่กับการพัฒนาระบบจัดการของเสียใน ภาคอุตสาหกรรม เพิ่มสัดส่วน การผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน ทดแทนและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทั้งด้านการผลิตและการใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง เป้าหมายที่ 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่ เกิดขึ้น มีสถานะต่ํากว่าค่าเป้าหมาย (สีเหลือง) ประเทศไทยได้จัดส่งข้อเสนอการมีส่วนร่วมของ ประเทศในการ ลดก๊าซเรือนกระจก และการดําเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายหลังปี ค.ศ. 202 0 (พ.ศ. 2563 ) ( Nationally Determined Contribution: NDC) ต่อ สํานักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC ) โดย กําหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขั้นต่ําที่ร้อยละ 20 จากกรณีปกติ และเป้าหมายขั้นสูงที่ร้อยละ 25 จากกรณีปกติ ภายในปี พ.ศ. 2573 และ ได้บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใน นโยบายและแผนระดับชาติ ซึ่งประเทศไทยมีแนวโน้ม ว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายขั้ นต่ําที่กําหนดไว้ภายในปี พ.ศ. 2573 นอกจากนี้ ได้ดําเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการและการลดความเสี่ยงจาก ภัยพิบัติ ซึ่งในปี พ.ศ. 2563 ร้อยละ 50 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้จัดทําและดําเนินการตาม ยุทธศาสตร์ การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับ ท้องถิ่นที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับประเทศ และประเทศ ไทยได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ ประเทศ กําลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุดในด้านการจัดการภัย พิบัติ และการเสริมสร้างขีดความสามารถในการรับมือ และปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ ผ่านการฝึกอบรมและการให้ทุนการศึกษา รวมทั้งประเทศไทยได้รับการสนับสนุนนจากกองทุนภูมิอากาศ สีเขียว ( Green Climate Fund: GCF) ในการดําเนิน กิจกรรมด้านการเพิ่มศักยภาพและเตรียมความพร้อม ของ หน่วยประสานงานหลักของประเท ศ ความท้าทาย คือ ข้อจํากัดในการเข้าถึงข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ ภาคเอกชนและการจัดเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือน กระจกที่ไม่เป็นระบบ ส่งผลต่อการติดตามผลการดําเนินงาน ที่แม่นยําและเป็นไปตามมาตรฐานสากล อีกทั้งการดําเนินการตามมาตรการและ แนวปฏิบัติที่กําหนดไว้ใน NDC
14 ต้ องใช้การลงทุนสูง นอกจากนี้ ความเสี่ยงและความรุนแรงจากภัยพิบัติแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ส่งผลต่อการ จัดทําและดําเนินการตามแผนการป้องกันและลดความเสี่ยงจากอันตรายและภัย พิบัติระดับท้องถิ่น และการมี ระบบติดตาม พยากรณ์ และเตือนภัยระดับพื้นที่ที่แม่นยํา ข้อเสนอแนะ คือ ควรเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่าง หน่วยงานภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ ทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น ใน การเตรียมความพร้อมรับมือกับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ควรใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารความเสี่ยงและสร้างความตระหนักรู้ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เร่งพัฒนำและบูรณาการฐานข้อมูลเกี่ยวกับภัยพิบัติที่ครบถ้วนและ เป็นปัจจุบัน เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะเพื่อให้ประชาชน มีการรับรู้ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติมากขึ้นและมีการ เตรียมความพร้อมที่เหมาะสม พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับภาคส่วนอื่น ๆ ในการเร่งรัดการดําเนินการ ตาม แผนการลดก๊ำซเรือนกระจกของประเทศ เป้าหมายที่ 14 การอนุรักษ์ ใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มี สถานะต่ํากว่าค่าเป้าหมายระดับเสี่ยง (สีส้ม) ประเทศไทยจัดทําคู่มือการวางแผนเชิงพื้นที่ทางทะเล เพื่อ ให้ การบริหารจัดการพื้นที่ท ะเลและชายฝั่ง ครอบคลุมทุกมิติ และดําเนินการแก้ไขปัญหาการทําประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ( Illegal, U nreported and Unregulated fishing: IUU Fishing ) จนสามารถ ปลดใบเหลืองได้อย่างเป็นทางการ ใน ปี พ.ศ. 2562 การประเมินดัชนีคุณภาพ มหาสมุทร ( Ocean Health Index: OHI) ปี พ.ศ. 25 64 ประเทศไทย มี คะแนน 72 คะแนน จาก 100 คะแนน ซึ่ง ค่าเฉลี่ยของโลก อยู่ที่ 70 คะแนน และอยู่อันดับที่ 79 จาก 221 เขตเศรษฐกิ จจําเพาะ ( Exclusive Economic Zones: EEZs) นอกจากนี ้ ข้ อมู ลจาก UN Global SDG Database พบว่า ปริมาณขยะทะเลของประเทศไทยจากปี พ.ศ. 2559 – 2561 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 79 . 65 และมีความเข้มข้นของคลอโรฟิลล์ - เอ ที่ผิดปกติจากการสํารวจระยะไกล ( Chlorophyl - a Anomaly, Remote Sensing) อยู่ในระดับที่สูง บ่งชี้ถึงสถานการณ์การเกิดปรากฏการณ์ ยูโทรฟิเคชัน (Eutrophication) ในท้องทะเลไทย ความท้าทาย คือ ปัญหาขยะในทะเล ปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชั่นของพื้นที่แนวชายฝั่ง ความเป็นกรด ของทะเลและ มหาสมุทร รวมทั้งการบังคับใช้ กฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อการพัฒนาการประมงอย่างยั่งยืน ข้อเสนอแนะ คือ การบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ที่เกี่ ยวข้องเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา ทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่ง พัฒนา ฐานข้อมูลด้านทรัพยากรทางทะเล ตลอดจนนําเทคโนโลยีและข้อมูลภูมิสารสนเทศที่ทันสมัยมา สนับสนุนการ กําหนดนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เร่งสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการทําประมงและประชาชนทั่วไปให้เห็นถึงความสําคัญของการทําประมงอย่าง ยั่งยืน รวมทั้งดําเนินมาตรการ ที่สนับสนุนการปรับตัวของผู้ประกอบการทําประมงขนาดเล็กควบคู่ไปกับการบังคับใช้ กฎหมาย และ เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุน การใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้ที่ ยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นฟูสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการ สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ มีสถานะต่ํากว่าค่าเป้าหมาย (สีเหลือง) ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ป่าไม้ ของประเทศมีระดับคงที่อยู่ที่ประมาณร้อยละ 32 ของพื้นที่ประเทศ โดยในปี พ.ศ. 2563 มีพื้นที่ป่าไม้ 102 . 35 ล้านไร่ ซึ่งภาครัฐได้ส่งเสริมการจัดตั้งป่าชุมชน นอกจากนี้ สถานการณ์ความเสื่อมโทรมของทรัพยากร ดินมีแนวโน้มที่ดีขึ้น การลักลอบล่าและ ค้าสัตว์ป่ามีแนวโน้มลดลง และประเทศไทยให้ความสําคัญด้านระดม และเพิ่มทรัพยากรทางการเงินเพื่อสนับสนุนการดําเนินการด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี สถานการณ์ด้ ำนความหลากหลายทางชีวภาพมีแนวโน้มแย่ลง ความท้าทาย คือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่ไม่ยั่งยืน การขยายตัว ของเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม การลักลอบล่าและค้าชนิดพันธุ์พืชและสัตว์คุ้มครองอย่างผิดกฎหมาย ตลอดจน พฤติกรรมการบริโภคของมนุษย์ที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม มีข้อจํากัดในการจัดการองค์ความรู้และการพัฒนา ฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการติดตามสถานการณ์เฝ้าระวังและสนับสนุนการกําหน ด มาตรการในการแก้ไขปัญหา ที่แม่นยําและทันท่วงที ขาดข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าของระบบนิเวศและทรัพยากรที่ครอบคลุมทุกมิติ และไม่มี การ กําหนดกรอบการดําเนินงานที่ชัดเจนในการร่วมระดมทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ข้อเสนอแนะ คือ ควรดําเนินการ ให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการจัดกำรป่าไม้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เร่งรัดปรับปรุงและบังคับ
15 ใช้กฎหมายเพื่อสนับสนุนการหยุดยั้งการทําลายทรัพยากรป่าไม้ จัดระเบียบและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับ การครอบครอง หรือใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ มีมาตรการเร่งด่วนในการยุติการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่ผิดกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายด้านการคุ้มครองสัตว์ป่าและพันธุ์พืชอย่างเข้มงวดมากขึ้น อีกทั้งยังควรเร่งพัฒนาฐานข้อมูล ให้ครอบคลุมและเชื่อมโยง รวมถึงควรจัดทําบัญชีบริวารด้านสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุม โดยสรุปเ ป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือกลุ่ม Planet ทั้ง 5 เป้าหมาย ถูกจัดอยู่ในสถานะต่ํากว่า ค่า เป้าหมายและต่ํากว่าค่าเป้าหมายในระดับเสี่ยง แสดงดังรูป ภาพ ที่ 2 - 1 รูป ภาพ ที่ 2 - 1 ผลการประเมินสถานะของเป้าหมายที่ 6 12 13 14 และ 15 2 . 1 . 2 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580 ) ผลการดําเนินตามยุทธศาสตร์ชาติ ทําให้เห็นถึงสถานการณ์การพัฒนาในมิติต่าง ๆ ของประเทศ ตามกรอบแนวทางการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นความเป็นไปได้ของการบรรลุเป้าหมาย ตามที่กําหนด และจากรายงานสรุปผลการดําเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจําปี พ.ศ. 2564 ซึ่งจัดทํา โดย สศช. ได้ประเมินผลสัมฤทธิ์ การบรรลุ เ ป้าหมายของ 6 ยุทธศาสตร์ชาติในปี พ.ศ. 2564 แ ละพบว่า ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการฟื้นฟูของระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นจากปี พ.ศ. 2563 เนื่องจากกิจกรรม ทาง เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวลดลง อันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของ โรคโควิด 19 ประกอบกับประเทศไทย ได้มี การดําเนินการเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การฟื้นฟูคุณภาพ ของแม่น้ําลําคลอง พื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง การใช้พลังงานทดแทน และการบริหารจัดการมลภาวะ และขยะ ของประเทศ ส่งผลให้ผลกระทบทางลบที่ เกิดจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศในหลายประเด็น ได้รับการ ควบคุมและจัดการที่ดี มากขึ้น เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์และการสร้างสมดุลของทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อมอย่าง ยั่งยืนต่อไป อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังต้องให้ความสําคัญกับการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวม ถึงควบคุม คุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่จะฟื้นตัว ในอนาคตภายหลัง สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคโควิด 19 คลี่คลายลง 2 . 1 . 3 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ ประเด็น ( 18 ) การเติบโตอย่างยั่งยืน แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น ( 18 ) การเติบโตอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 1 เป้าหมาย ระดับประเด็น และ 8 เป้าหมายระดับแผนแม่บทย่อย โดยเป้าหมายระดับประเด็น คือ สภาพแวดล้อมของ ประเทศไทย มีคุณภาพดีขึ้นอย่างยั่งยืน และมีค่าเป้าหมายที่ต้องการบรรลุในปี พ.ศ. 256 5 คือ การจัดอันดับของ Sustainable Development Report อยู่ระดับต่ํากว่า 50 ประเทศแรกของโลก และจากรายงานสรุปผลการ ดําเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจําปี พ.ศ. 2564 ซึ่งจัดทําโดย สศช. พบว่า สามารถบรรลุค่าเป้าหมายที่ กําหนดไว้ ในปี พ.ศ. 2565 แล้ว โดยพิจารณาจากการจัดอันดับของ Sustainable Development Report ในปี พ.ศ. 256 5 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 4 4 จาก 16 3 ประเทศทั่วโลก สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยมี ความก้าวหน้าดีขึ้นในด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนตามมิติ 5 P ของ สหประชาชาติ ได้แก่ คุณภาพชีวิตของผู้คน ( People) ความเจริญทางเศรษฐกิจ (Prosperity) ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (Planet) สันติภาพ ( Peace) และ
16 หุ้นส่วนการพัฒนา ( Partnership ) ซึ่งถือเป็นรากฐานสําคัญในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ในระยะยาวต่อไป รวมทั้งการรักษาระดับของค่าเป้าหมายไม่ให้ตกลงจากเดิมและเพื่อเตรียมการในการบรรลุ เป้าหมายในระยะ ต่อไป ที่กําหนดไว้อยู่ในระดับต่ํากว่า 40 ประเทศแรกของโลกในปี พ.ศ. 2570 และ ในส่วนของ 8 เป้าหมาย ระดับแผนแม่บทย่อย มีสถานะดังนี้ ( 1 ) การบริโภคและการผลิตของประเทศมีความยั่งยืนสูงขึ้น กําหนด ค่าเป้าหมายที่ต้องการบรรลุในปี พ.ศ. 2565 คือ ดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อม (คะแนน) ถึง 50 คะแนน ผลการ ดําเนินการพบว่า ในปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีคะแนนด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคะแนนด้านคุณภาพระบบ นิเวศ อยู่ที่ 48 . 40 และ 43 . 50 ตามลําดับ ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยที่ 45 . 40 ลดลงจาก ปี พ.ศ. 2561 ที่มีค่า คะแนน อยู่ที่ 49 . 88 ทําให้มีสถานะการบรรลุเป้าหมายยังคงอยู่ใน ระดับต่ํากว่าค่าเป้าหมายระดับเสี่ยง ( 2 ) พื้นที่สี เขียว ทุกประเภทเพิ่มขึ้น กําหนดค่าเป้าหมายที่ต้องการบรรลุในปี พ.ศ. 2565 คือ สัดส่วนของพื้นที่สีเขียวที่เป็น ป่าธรรมชาติ ป่าเศรษฐกิจเพื่อการใช้ประโยชน์ และพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและชนบท เป็นร้อยละ 32 ร้อยละ 10 และร้อยละ 2 ตามลําดับ ผลการดําเนินการพบว่า ในปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีพื้นที่สีเขียวส่วนที่เป็น ป่าธรรมชาติ 102 . 48 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 31 . 68 พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ 26 . 78 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 8 . 28 ในส่วนพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและชนบทยังไม่มีข้อมูลในการสํารวจ ซึ่ง ค่าสถานการณ์บรรลุเป้าหมายไม่มี การเปลี่ยนแปลงและยังคงอยู่ใน ระดับต่ํากว่าค่าเป้าหมาย ( 3 ) ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเลเพิ่มขึ้น กําหนดค่าเป้าหมายที่ต้องการบรรลุในปี พ.ศ. 2565 คือ ดัชนีคุณภาพมหาสมุทร (คะแนน) ถึง 70 ผลการ ดําเนินการพบว่า ในปี พ.ศ. 2564 ยังไม่มีการเผยแพร่ข้อมูลรายงานผลประจําปี พ.ศ. 2564 ดังนั้น การพิจารณา สถานะการบรรลุเป้าหมายของประเทศไทยจึงยังเป็นการรายงานผลโดยใช้ข้อมูลคะแนนดัชนีคุณภาพมหาสมุทร ( Ocean Health Index: OHI) ประจําปี พ.ศ. 2563 ซึ่ง ไทยได้คะแนน OHI ที่ 74 คะแนน จากผลการดําเนินงาน ดังกล่าว ส่งผลให้มีสถานะการ บรรลุค่าเป้าหมายตามที่กําหนดไว้ ( 4 ) การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของประเทศไทย ลดลง กําหนดค่าเป้าหมายที่ต้องการบรรลุในปี พ.ศ. 2565 คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงอย่างน้อยร้อยละ 12 จากกรณีปกติ ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยจะลดก๊าซเรือนกระจก ภายใต้กรอบการดําเนินงาน NDC ผลการดําเนินการพบว่า ปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทยสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในสาขาหลัก คือ สาขาพลังงานและการขนส่ง ได้ถึงร้อยละ 15 . 76 ซึ่งจากผลการดําเนินงานดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าประเทศไทย สามารถ บรรลุค่าเป้าหมายตามที่กําหนดไว้ แล้ว ทั้งนี้ ประเทศไทยอยู่ระหว่างการดําเนินการลดการปล่อย ก๊าซเรือน กระจกภายใต้กรอบการดําเนินงานตาม NDC โดยมีเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกที่ร้อยละ 20 – 25 ภายในปี พ.ศ. 257 3 ( 5 ) คุณภาพน้ําในแหล่งน้ําผิวดิน แหล่งน้ําใต้ดิน และแหล่งน้ําทะเลมีคุณภาพเหมาะสมกับ ประเภทการใช้ประโยชน์ กําหนดค่าเป้าหมายที่ต้องการบรรลุในปี พ.ศ. 2565 คือ คุณภาพของแหล่งน้ําผิวดิน แหล่งน้ําทะเล และแหล่งน้ําใต้ดิน อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมกับประเภทการใช้ประโยชน์ร้อยละ 35 ของพื้นที่เป้าหมาย ผลการดําเนินการพบว่า ในปี พ.ศ. 2563 คุณภาพน้ําในแหล่งน้ําผิวดินอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ดี และดีมาก คิดเป็นร้อยละ 82 คุณภาพแหล่งน้ําทะเลส่วนใหญ่มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ดี และดีมาก คิดเป็นร้อยละ 91 และคุณภาพ แหล่งน้ําใต้ดินมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ําบาดาลที่สามารถใช้อุปโภคบริโภคได้ ตามพระราชบัญญัติ น้ํา บาดาล พ.ศ. 2520 ซึ่งจากผลการตรวจสอบและประเมินคุณภาพแหล่งน้ําทั้งสามแหล่งพบว่า คุณภาพอยู่ใน เกณฑ์พอใช้ ดี และดีมาก เป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 80 – 90 ของพื้นที่เป้าหมาย ส่งผลให้มีสถานะการ บรรลุค่า เป้าหมายตามที่กําหนดไว้ ( 6 ) คุณภาพอากาศ เสียง และความสั่นสะเทือนอยู่ระดับมาตรฐานของประเทศไทย กําหนดค่าเป้าหมายที่ต้องการบรรลุในปี พ.ศ. 2565 คือ คุณภาพอากาศ เสียง และความสั่นสะเทือนอยู่่ในระดับ มาตรฐานของประเทศ ไทย ร้อยละ 35 ของพื้นที่เป้าหมาย ผลการดําเนินการพบว่า การเทียบเคียงข้อมูลการ รายงานผลการดําเนินงาน ที่สะท้อนสถานการณ์ด้านคุณภาพอากาศและเสียง โดยข้อมูลปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2 . 5 ไมครอน ( PM 2.5 ) และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ( PM 10 ) เฉลี่ยรายปีและค่าเฉลี่ย รายพื้นที่พบว่า ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ลดลงจาก 45 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ( มคก./ลบ.ม.) ในปี พ.ศ. 2562 เป็น 43 มคก./ลบ.ม. ในปี พ.ศ. 2563 และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2 . 5 ไมครอน มีค่าเฉลี่ยรายปี
17 อยู่ในช่วง 8 – 42 มคก./ลบ.ม. (ค่ามาตรฐาน 25 . 0 มคก./ลบ.ม. ) ด้านข้อมูลระดับเสียงบริเวณพื้นที่ริม ถนน ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ในปี พ.ศ. 2563 พบว่า ค่าเฉลี่ยของระดับเสียงเฉลี่ย (L eq ) 24 ชั่วโมง เท่ากับ 68 . 5 เดซิเบลเอ ลดลงเล็กน้อยจาก 68 . 6 เดซิเบลเอ ในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ ทั้งนี้ ค่าสถานะการบรรลุเป้าหมายไม่มีการเปลี่ยนแปลงและยังคงอยู่ใน ระดับต่ํากว่าค่าเป้าหมาย ( 7 ) การจัดการขยะมูลฝอย มูลฝอยติดเชื้อ ของเสียอันตราย สารเคมีในภาคการเกษตรและการอุตสาหกรรม มี ประสิทธิภาพมากขึ้น กําหนดค่าเป้าหมายที่ต้องการบรรลุในปี พ.ศ. 2565 คือ ดัชนีประสิทธิภาพการจัดการขยะ ถึง 0 . 74 ผลการดําเนินการพบว่า ในปี พ.ศ. 2563 มีปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 25 . 37 ล้านตัน หรือ ลดลงร้อยละ 12 จากปี พ.ศ. 2562 ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อประมาณ 49 , 451 ตัน หรือลดลงร้อยละ 7 . 45 จากปี พ.ศ. 2562 การนําเข้าสารอันตรายภาคอุตสาหกรรม 3 . 06 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 7 . 90 จากปี พ.ศ. 2562 และการนําเข้าสารอันตรายภาคเกษตรกรรมหรือวัตถุอันตรายทางเกษตร 89 , 486 ตัน หรือลดลง ร้อยละ 32 จากปี พ.ศ. 2 562 ซึ่งค่าสถานะการบรรลุเป้าหมายไม่มีการเปลี่ยนแปลงและยังคงอยู่ใน ระดับต่ํา กว่าค่าเป้าหมาย และ ( 8 ) คนไทยมีคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดี กําหนดค่าเป้าหมายที่ต้องการบรรลุในปี พ.ศ. 2565 คือ ดัชนี การตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ถึงร้อยละ 20 ผลการดําเนินการพบว่า ปัจจุบันยังไม่มีการจัดทําข้อมูลดัชนีการ ตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นทางการ ส่งผลให้ ต้องนําข้อมูลเทียบเคียงที่แสดงให้เห็นถึงการดําเนินการที่เกี่ยวข้องกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมใน พื้นที่ของตนเองมาประกอบการพิจารณา ซึ่งเมื่อพิจารณาจากข้อมูลความตระหนักรู้ของภาคประชาชน จากการให้ความสนใจและการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชน ที่ รวบรวม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พบว่า เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน ในปี พ.ศ. 2564 มีจํานวน 258 , 910 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2563 ขณะที่องค์กรเอกชน ด้านสิ่งแวดล้อมมีจํานวนเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยในปี พ.ศ. 2564 มีจํานวน 290 องค์กร เพิ่มขึ้นร้อยละ 1. 4 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2563 และ จากการรายงานข้อมูลการศึกษาของกรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อมในกรณีความ ตระหนักรู้ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ (Climate Change Awareness Index: CCAI) พบว่า ประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลที่ผ่านเข้ารอบการประเมินเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนระดับประเทศ มีค่าดัชนี CCAI อยู่ในระดับ 0 . 78 ซึ่งสูงกว่าประชาชนที่อาศัยในพื้นที่อื่น ๆ ที่มีค่าเฉลี่ยดัชนี CCAI อยู่ในระดับ 0 . 5 อย่างไรก็ตาม สถานการณ์บรรลุเป้าหมายยังคงอยู่ใน ระดับต่ํากว่า ค่าเป้าหมาย 2 . 1 . 4 แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ประกอบด้วย 13 ด้าน และด้านที่ 6 คือ ด้านทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายอันพึงประสงค์คือ ให้สิ่งแวดล้อมได้รับการดูแลรักษาอย่างเป็นระบบและ มีประสิทธิภาพเพื่อลดมลพิษและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและระบบนิเวศ ลดความเหลื่อมล้ํา สร้างความเป็นธรรม สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และข้อตกล งระหว่างประเทศที่ประเทศไทย เป็นภาคีสมาชิกโดยยึดถือผลประโยชน์ของประเทศ โดยมุ่งเน้นให้ทรัพยากรธรรมชาติได้รับการรักษาและฟื้นฟู ให้มีความสมบูรณ์และยั่งยืน เป็นฐานการพัฒนาประเทศทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยให้เกิด ความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประ โยชน์ ลดความขัดแย้งของการพัฒนาที่ใช้ฐานทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบด้วย 4 เป้าหมาย ซึ่งจากรายงานสรุปผลการดําเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศ ประจําปี พ.ศ. 2564 จัดทําโดย สศช. แต่ละเป้าหมายมีระดับการบรรลุเป้าหมายดังนี้ ( 1 ) สิ่งแวดล้อมได้รับการดูแล รักษาอย่าง เป็นระบบและ มีประสิทธิภาพ เพื่อลดมลพิษและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและระบบนิเวศ มีระดับ บรรลุเป้าหมายแล้ว เมื่อเทียบค่าเป้าหมายปี พ.ศ. 2564 และปี พ.ศ. 2565 ( อันดับของประเทศด้านความ ยั่งยืนและคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับโลก ไทยอยู่ในอันดับต่ํากว่า 50 ประเทศแรกของโลก) โดยที่ผ่านมา จาก รายงานผลการจัดอันดับของไทยในรายงาน การพัฒนาที่ยั่งยืน ( Sustainable Development Report) ในปี
18 พ.ศ. 256 5 พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 44 จากทั้งหมด 163 ประเทศ มีอันดับลดลง 1 อันดับ จากปี พ.ศ. 256 4 ที่อยู่ในอันดับ 4 3 จาก ทั้งหมด 16 5 ประเทศทั่วโลก ( 2 ) มีระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนตามแนวทางประชารัฐ เพื่อลด ความเหลื่อมล้ํา สร้างความเป็นธรรม สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และข้อตกลง ระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็น ภาคีสมาชิก โดยยึดถือผลประโยชน์ของประเทศ มีระดับ บรรลุเป้าหมายแล้ว เมื่อเทียบค่าเป้าหมายปี พ . ศ. 2564 และปี พ.ศ. 2565 ( อันดับของประเทศด้านความยั่งยืนและคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ในระดับโลก ( SDGs ) ไทยอยู่ในอันดับต่ํากว่า 50 ประเทศแรกของโลก) โดยพิจารณาจากข้อมูลการ จัดอันดับของประเทศด้านความยั่งยืนและคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับโลกจากรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน ( Sustainable Development Report) ในปี พ.ศ. 2564 พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 43 จาก 165 ประเทศทั่วโลก มีอันดับลดลงจากปี พ.ศ. 2563 ที่อยู่ในอันดับ 41 จาก 166 ประเทศทั่วโลก ถือได้ว่าบรรลุ ตามค่าเป้าหมายที่กําหนดไว้แล้ว ( 3 ) ทรัพยากรธรรมชาติได้รับการรักษาและฟื้นฟูให้มีความสมบูรณ์ และยั่งยืน เป็นฐานการพัฒนาประเทศทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีระดับ ใกล้เคียงในการบรรลุเป้าหมาย เมื่อเทียบค่าเป้าหมายปี พ.ศ. 2564 และปี พ.ศ. 2565 (ไทยอยู่ในอันดับต่ํากว่า 114 ประเทศแรก ของโลก) โดยในปี พ.ศ. 2564 ความหลากหลายทางพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และถิ่นที่อยู่ในระดับโลก ( Biodiversity Health Index: BHI) ซึ่งมีการรายงานอยู่ภายใต้ดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อม (Environmental Performance Index: EPI) จัดทําขึ้น โดย Yale Center for Environmental Law and Policy โดยปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทย มีคะแนนเฉลี่ย 53 คะแนน อยู่ในลําดับที่ 114 จากประเทศทั้งหมด 180 ประเทศ (ซึ่งค่า BHI รายงานทุก 2 ปี จึงยังไม่มี ค่าคะแนน ปี พ.ศ. 2564 ) โดยหากพิจารณาผลสัมฤทธิ์ภายใต้การบรรลุเป้าหมายให้ทรัพยากรธรรมชาติได้รับการ รักษาและฟื้นฟูให้มีความสมบูรณ์และยั่งยืน เป็นฐานการพัฒนาประเทศ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อาจกล่าวได้ว่า ยังไม่บรรลุผลสําเร็จ และ ( 4 ) เกิดความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ ประโยชน์ ลด ความขัดแย้ง ของการพัฒนาที่ใช้ฐานทรัพยากรธรรมชาติ บรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และลดภัยพิบัติ ทางธรรมชาติ มีสถานะ ใกล้เคียงในการบรรลุเป้าหมาย เมื่อเทียบค่าเป้าหมายปี พ.ศ. 2564 และปี พ.ศ. 2565 โดยในปี พ.ศ. 2564 ความหลากหลาย ทางพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และถิ่นที่อยู่ในระดับโลก ( Biodiversity Health Index: BHI) ซึ่งมีการรายงานอยู่ภายใต้ดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อม ( Environmental Performance Index: EPI) จัดทําขึ้นโดย Yale Center for Environmental Law and Policy โดยปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีคะแนนเฉลี่ย 53 คะแนน อยู่ในลําดับที่ 114 จากประเทศทั้งหมด 180 ประเทศ (ซึ่งค่า BHI รายงานทุก 2 ปี จึงยังไม่มี ค่าคะแนน ปี พ.ศ. 2564 ) โดยหากพิจารณาเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการ ใช้ประโยชน์ ลดความขัดแย้งของการพัฒนาที่ใช้ฐานทรัพยากรธรรมชาติ ที่ผ่านมา ประเทศให้ความสําคัญกับการ สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว โดยละเลยการสร้างการเติบโตที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อ ม มีการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการอย่างสิ้นเปลืองและขาดความสมดุลจนทําให้ ทรัพยากรธรรมชาติลดลงเป็นจํานวนมาก อาจกล่าวได้ว่า ยังไม่บรรลุผลสําเร็จ 2 . 1 . 5 แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 – 2565 รายงานการติดตามประเมินผลแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 - 2565 (ประจําปี งบประมาณ พ.ศ. 2564 ) จัดทําโดย สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับ ความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุน ข้อมูลการดําเนินงานและข้อคิดเห็น ทําให้ ทราบความก้าวหน้าของตัวชี้วัด และการดําเนินงานตามแนวทาง การปฏิบัติภายใต้แผนจัดการฯ รวมทั้งปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ โดยมีรายละเอียด ผลการติดตามประเมินผลฯ ตั้ งแต่ พ.ศ. 2560 - 2565 (กรกฎาคม 2565) ดังนี้
19 ( 1 ) ผลการติดตาม ประเมินผลการดําเนินงานตามตัวชี้วัด ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและเป็นธรรม มี 11 + 1 ตัวชี้วัด (มี 1 ตัวชี้วัดที่มีตัวชี้วัดย่อย 2 ตัวชี้วัด) ซึ่งมี ตัวชี้วัดที่บรรลุตามเป้าหมายของแผนจัดการฯ จํานวน 7 ตัวชี้วัดคือ 1) จํานวนพื้นที่จัดที่ดินทํากินให้ชุมชน เพิ่มขึ้น 2) ร้อยละของพื้นที่การถือครองที่ดินแต่ละประเภทเทียบกับพื้นที่ทั้งประเทศ เพิ่มขึ้น 3) ระดับการ ดําเนินงานการจัดการทรัพยากรน้ําแบบบูรณาการ IWRM เพิ่มขึ้น 4) ชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะได้รับการจัดการตาม แนวทางและมาตรการ หรือมีโครงสร้างที่เหมาะสม (เป้าหมายคือ ระยะทาง 50 กิโลเมตร) เพิ่มขึ้น 5) ปะการัง ที่มีชีวิตมีปริมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 – 9 6) อัตราการจับสัตว์น้ําต่อการลงแรงประมงทะเล ( Catch Per Unit Effort: CPUE) ใน 1 ชั่วโมง ในน่านน้ําไทย เพิ่มขึ้น และ 7) ยุทธศาสตร์ นโยบายและแผนการบริหารจัดการ ทรัพยากรแร่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ตัวชี้วัดที่อยู่ระหว่างการขับเคลื่อน จํานวน 1 ตัวชี้วัด คือ ประกาศใช้แผนที่แนวเขตพื้นที่ป่าที่มีแนวเขตเดียวกัน ( One Map) ตัวชี้ วัดที่ไม่บรรลุค่าเป้าหมาย จํานวน 2 ตัวชี้วัดคือ 1) พื้นที่ที่มีสภาพป่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ แบ่งเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ร้อยละ 25 และพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ ร้อยละ 15 และ 2) สัดส่วนเรื่องร้องเรียนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับการดําเนินการ เพิ่ มขึ้น และตัวชี้วัดที่ข้อมูลไม่เพียงพอ จํานวน 2 ตัวชี้วัดคือ 1) ร้อยละของพื้นที่ดิน ที่ถูกทําให้เสื่อมโทรมเทียบกับพื้นที่ดินทั้งหมด ลดลง และ 2) อัตราการสูญเสียชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม ชนิดพันธุ์ เฉพาะถิ่น และแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ ลดลง ยุทธศาสตร์ที่ 2 กา รจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ได้รับ การป้องกัน บําบัดและฟื้นฟู มี 6+1 ตัวชี้วัด (มี 1 ตัวชี้วัดที่มีตัวชี้วัดย่อย 2 ตัวชี้วัด) ซึ่งมีตัวชี้วัดที่บรรลุ ตามเป้าหมายของแผนจัดการฯ จํานวน 3 ตัวชี้วัดคือ 1) คุณภาพน้ําในแหล่งน้ําผิวดินอยู่ในเกณฑ์ดีร้อยละ 80 2) อัตรากำรนําขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ ( Recycle) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณขยะมูลฝอย ทั่ว ประเทศ และ 3) มาตรฐานคุณภาพของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมได้รับการพัฒนา ตัวชี้วัด ที่อยู่ระหว่างการขับเคลื่อน จํานวน 2 ตัวชี้วัดคือ 1) คุณภาพอากาศมีจํานวนวันที่ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน ( PM 10 ) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 99 และ 2) ประกาศใช้กฎระเบียบเกี่ยวกับการเข้าถึง และแบ่งปันผลประโยชน์ที่ครอบคลุมทรัพยากรชีวภาพ และตั วชี้วัดที่ไม่บรรลุค่าเป้าหมาย จํานวน 3 ตัวชี้วัด คือ 1) ขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 2) ของเสียอันตรายชุมชนได้รับ การรวบรวมและส่งไปกําจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 30 และ 3) จํานวนพื้นที่สีเขียวในเมือง ไม่น้ อยกว่า 10 ตารางเมตรต่อคน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน มี 8+2 ตัวชี้วัด ( มี 2 ตัวชี้วัดที่มีตัวชี้วัดย่อย 2 ตัวชี้วัด ) ซึ่งมีตัวชี้วัดที่ บรรลุตามเป้าหมาย ของแผนจัดการฯ จํานวน 7 ตัวชี้วัดคือ 1) กำรบริโภคพื้นฐานต่อการใช้ทรัพยากร ( Material Footprint: MF) ของประเทศและการบริโภคพื้นฐานต่อการใช้ทรัพยากรต่อคน ลดลง 2) สัดส่วนของหน่วยงาน ที่เข้าร่วมดําเนินการ จัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มขึ้น 3) สัดส่วนการใช้พลังงาน ต่อจีดีพี ลดลง 4) ร้อยละของจํานวนฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับพืช เพิ่มขึ้น 5) จํานวน โรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครง การอุตสาหกรรมสีเขียวเพิ่มขึ้น และผ่านเกณฑ์ระดับสี่ขึ้นไป เพิ่มขึ้น 6) พื้นที่ที่ ได้รับการพัฒนาสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จํานวน 15 พื้นที่ และ 7) จํานวนแหล่งท่องเที่ยวและสถานประกอบการ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย เพิ่มขึ้น ตัวชี้วัดที่อยู่ระหว่า งการขับเคลื่อน จํานวน 1 ตัวชี้วัด คือ สัดส่วนปริมาณการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (เพิ่มขึ้น) และตัวชี้วัด ที่ไม่บรรลุ ค่าเป้าหมาย จํานวน 1 ตัวชี้วัดคือ ร้อยละของพื้นที่เกษตรอินทรีย์ เพิ่มขึ้น ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างศักยภาพ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ และการส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศ มี 6 ตัวชี้วัด ซึ่งมีตัวชี้วัดที่บรรลุตามเป้าหมายของแผนจัดการฯ จํานวน 3 ตัวชี้วัดคือ 1) ปริมาณการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ของประเทศในภาคพลังงานและคมนาคมขนส่งลดลงร้อยละ 7 - 20 ภายในปี พ.ศ. 2563 (เทียบเคียงกับกรณีพื้นฐาน ( Business as Usual: BAU) โดยใช้ปี พ.ศ. 2548 เป็นปีฐาน) 2) จํานวนองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบูรณาการการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่น
20 เพิ่มขึ้น และ 3) องค์กรหรือเครือข่ายรองรับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติในพื้นที่ชุมชน เพิ่มขึ้น และตัวชี้วัดที่ไม่บรรลุค่าเป้าหมาย จํานวน 3 ตัวชี้วัด คือ 1) สัดส่วนพลังงานหมุนเวียนต่อการใช้ พลังงาน ขั้นสุดท้ายเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ร้อยละ 25 2) จํานวนประชากรที่เสียชีวิต สูญหาย ได้รับบาดเจ็บ หรื อต้อง โยกย้าย/อพยพ เนื่องมาจากผลของภัยพิบัติทางธรรมชาติต่อประชากร 100 , 000 คน ลดลง และ 3) จํานวน ความร่วมมือกับต่างประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีกิจกรรมดําเนินงานในแต่ละปี เพิ่มขึ้น ( 2 ) ผลการติดตามการดําเนินงานตามแนวทางการปฏิบัติ พบว่า หน่วยงานดําเนินโครงการ/ กิจกรรมสอดคล้องกับ 4 ยุทธศาสตร์ของแผนจัดการฯ และมีโครงการ/กิจกรรม จํานวน 2 , 129 โครงการ/ กิจกรรม จากภาคีเครือข่าย 61 หน่วยงาน และมีแนวทาง การปฏิบัติที่มีการดําเนินการที่เกี่ยวข้อง จํานวน 218 แนวทาง จากแนวทางการปฏิบัติทั้งหมด 221 แนวทาง คิดเป็นร้อยละ 98.64 โดยมีโครงการ/กิจกรรม ตามแนวทาง การปฏิบัติที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและเป็นธรรมมากที่สุด จํานวน 961 โครง การ/กิจกรรม และมีโครงการ/กิจกรรม ตามแนวทางการปฎิบัติที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ที่ 4 การสร้างศักยภาพเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ และการส่งเสริมความร่วมมือ กับต่างประเทศน้อยที่สุด จํานวน 111 โครงการ/กิจกรรม ( 3 ) ปัญหา - อุปสรรค และข้อจํากัด ในการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติของภาคีเครือข่าย พบว่ามี ปัญหา - อุปสรรค และข้อจํากัด อาทิ การดําเนินการตามแผนจัดการฯ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายต้องใช้เวลาในการ ดําเนินการ ขาดการบูรณาการร่วมกันกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการจัดการที่ปลายเหตุ กลไก ท้องถิ่นมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายและบุคลากรในการทํางานค่อนข้างบ่อย ทําให้เกิดความไม่ต่อเนื่องในการ ดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม ที่หน่วยงานดําเนินการไม่สามารถเชื่อมโยงกับแนวทางการปฏิบัติในแผนจัดการฯ เนื่องจากหน่วยงานดําเนินโคร งการตามภารกิจของหน่วยงาน มำกกว่าการดําเนินการตามแนวทางการ ปฏิบั ติ ที่กําหนดในแผนจัดการฯ ขาดงบประมาณและบุคลากร รวมถึงขาดข้อมูลการเชื่อมโยงข้อมูล และฐานข้อมูล ภูมิสารสนเทศต่าง ๆ ที่เป็นปัจจุบัน ( 4 ) ข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนาและขับเคลื่อนแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระยะต่อไป มีข้อเสนอแนะ อาทิ ควรมีการวางแผนการดําเนินโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ที่จะดําเนินการในแต่ละปีล่วงหน้า และผลักดันให้เป็นแผนระยะยาวของหน่วยงาน เพื่อให้สามารถดําเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ควรมีการบูรณาการ ใน การทํางานร่วมกันอย่างแท้จริงของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนในการจัดทํา โครงการ/กิจกรรม ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ต้นทาง เป็นต้น ข้อเสนอแนะต่อการกําหนดตัวชี้วัด ในแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น ควรพิจารณาตัวชี้วัดโดยคํานึงถึงความเป็นไปได้ของตัวชี้วัด ในช่วง ระยะ 5 - 6 ปีของแผน เพื่อสามารถติดตามประเมินผลแผน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และควรระบุหน่วยงาน ที่รับผิดชอบตัวชี้วัดให้ชัดเจน เนื่องจากบางตัวชี้วัดไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบหลัก หรือมีหลายหน่วยงาน ที่จั ดเก็บในรูปแบบ วิธีการ หรือหน่วยวัดที่แตกต่างกัน เป็นต้น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เช่น การเร่งรัดผลักดัน การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้มีการประกาศและบังคับใช้ เพื่อให้เกิด การจัดการในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อมให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน ได้อย่างทันสถานการณ์ และการขับเคลื่อนนโยบายและแผนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปสู่การปฏิบัติ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างบูรณาการ และต่อเนื่องในทุกระดับ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นต้น
21 2 . 2 สถานการณ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2 . 2 . 1 สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบัน การดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมของโลก ภูมิภาค และประเทศ ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ประกอบกับในช่วงระยะเวลาของการใช้แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 – 2565 เป็นช่วง ที่ทั่วโลก ต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลงที่สําคัญหลายประการ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ไม่ ว่าจะมีเหตุ มาจากปัจจัยที่เราคาดการณ์และเตรียมการรองรับไว้แล้ว อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลง โครงสร้างประชากร สัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง วัยแรงงานลดลง การขยายตัวของความเป็นเมือง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล หรือเหตุ จากปัจจัยที่เราไม่คาดคิด โดยเฉพาะ สถานการณ์ การแพร่ระบาดของ โรคโควิด 19 ที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของประชาชน ทั้งในเรื่องของรูปแบบการใช้ชีวิตและการทํางาน รวมทั้งความพยายามในการดําเนินงานตามความร่วมมือ และพันธกรณีระหว่างประเทศในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นแรงผลักดัน และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีรายละเอียดของสถานการณ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยสรุปดังนี้ 1 ) สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อมระดับโลก 1.1) การทบทวนเอกสาร Global Environment Outlook (GEO) ฉบับที่ 6 ( ฉบับ ล่าสุด ) ที่จัดทํา และ เผยแพร่โดย โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme, 2019 ) ได้ รายงาน สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับโลกใน 6 หัวข้อหลัก ได้แก่ ( 1 ) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) จาก ข้อมูลทางสถิติ พบว่าในปี ค . ศ . 2020 มีประชากรโลกประมาณ 7 . 7 พันล้านคน และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1 หมื่นล้านคน ในปี ค . ศ . 2050 และ 1 . 1 หมื่นล้านคนในปี ค . ศ . 2100 สถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าประชากรโลกยังคงมี แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น นําไปสู่การขยายตัวของสังคมเมือง (Urbanization) อย่างรวดเร็ว รวมถึงความต้องการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติที่เพิ่มสู งขึ้นตามลําดับ นับตั้งแต่ปี ค . ศ . 1990 เป็นต้นมา นวัตกรรมและเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทําให้อัตราการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO 2 ) ออกสู่ชั้น บรรยากาศของโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ดังกล่าวทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในช่วง 5 ปีที่ ผ่านมา หลายพื้นที่ทั่วโลกได้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างรุนแรง เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพ ภูมิอากาศ เช่น ในปี พ . ศ . 2561 และ พ . ศ . 2563 ได้เกิดไฟป่ารุนแรงในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา โดยความ เสียหายที่เกิดขึ้นจากไฟป่าเมื่อปี พ . ศ . 2563 ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 470 , 000 เอเคอร์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นความ เสียหายที่รุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ ในช่วงปลายปี พ . ศ . 2562 ถึงต้นปี พ . ศ . 2563 ได้เกิดไฟป่า อย่างรุนแรงในรัฐนิวเซาท์เวลล์และรัฐวิกตอเรีย เครือรัฐออสเตรเลีย และล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม พ . ศ . 2564 ได้เกิดหิมะตกในรอบหลายสิบปีใน ทะเลทรายซาฮารา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย และทาง ตะวันตกเฉียงใต้ของ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย นอกจากนี้ ผลกระทบที่สําคัญอีกประการหนึ่งจากการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือการเพิ่มขึ้นของระดับน้ําทะเล แม้ว่าระดับน้ําทะเ ลโดยเฉลี่ยทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น น้อยกว่า 1 เซนติเมตร / ปี แต่เมื่อพิจารณาข้อมูลทางสถิติย้อนหลังเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ําทะเล ในช่วงราวศตวรรษที่ผ่านมา ( ประมาณปี ค . ศ . 1900 ) พบว่า อัตราการการเพิ่มขึ้นของระดับน้ําทะเลในปัจจุบัน สูงขึ้นกว่าในอดีต โดยระดับน้ําทะเลในช่วงปี ค . ศ . 1900 - 1990 สูงขึ้นเฉลี่ยเพียง 1 . 2 - 1 . 7 มิลลิเมตร / ปี แต่ในปี ค . ศ . 2000 ระดับน้ําทะเลเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 3 . 2 มิลลิเมตร และเพิ่มเป็น 3 . 4 มิลลิเมตร / ปี ในปี ค . ศ . 2016 ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ําทะเลทําให้เกิดน้ําท่วมบ่อยครั้งมากขึ้นและรุนแรงขึ้น
22 จากรายงานข้อมูลทางสถิติของรอยเตอร์สเมื่อปี ค . ศ . 2014 พบว่าก่อนปี ค . ศ . 1971 ระดับน้ําทะเลที่สูงขึ้นใน หลายเมืองบนพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาส่งผลให้เกิดน้ํา ท่วมเฉลี่ยน้อยกว่า 5 วัน / ปี แต่ตั้งแต่ปี ค . ศ . 2001 เป็นต้นมา จํานวนวันที่เกิดน้ําท่วมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 20 วัน / ปี นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของระดับน้ําทะเล ยังทําให้เส้นแนวเขตทะเลชายฝั่งเข้ามาใกล้แผ่นดินมากขึ้น ส่งผลให้คลื่นลมและพายุพัดเข้าสู่ชายฝั่งและเกิด น้ําท่วมในพื้นที่ชุมชนได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังเกิดปัญหาการรุกล้ําของน้ําเค็มอันจะส่งผลกระทบหลายด้าน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม รายงาน สถานการณ์สิ่ งแ วดล้อมระดับโลก Global Environment Outlook ฉบับที่ 6 ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมสําคัญระดับโลก ที่จําเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระดับนานาชาติในการแก้ไขหรือบรรเทาความรุนแรงของปัญหาดังกล่าว ไม่เว้น แม้แต่ประเทศไทย ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบรรณเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมื่อปี พ . ศ . 2537 พิธีสารเกียวโตเมื่อปี พ . ศ . 2545 และล่าสุดในปี พ . ศ . 2563 ประเทศไทยได้เข้าร่วมความตกลงปารีส (Paris Agreement) ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 21 (Conference of the Parties 21 : COP 21 ) เมื่อ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยเป็นตราสารกฎหมายที่รับรองภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) ฉบับล่าสุดต่อจากพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) และข้อแก้ไขโดฮา (Doha Amendment) เพื่อกําหนด ข้อตกลงระหว่างประเทศสําหรับการมีส่วนร่วมของภาคีในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ โดยมุ่งเสริมสร้างการตอบสนองต่อภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับโล ก สําหรับ ประเทศไทยได้กําหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (Nationally Determined Contribution: NDC) ที่จะดําเนินการภายใต้ความตกลงปารีส โดยจะลดก๊าซเรือนกระจกลง ร้อยละ 20 - 25 จากกรณีปกติ ภายในปี พ . ศ . 2573 ในสาขาพลังงาน คมนาคมขนส่ง กระบวนการทางอุตสาหกรรม และการจัดการของเสีย และเป้าหมายการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประกอบด้วย การ ส่งเสริม การบริหารจัดการน้ํา แบบผสมผสาน การ สร้างความมั่นคงทางอาหารภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การ ส่งเสริม การเกษตรอย่างยั่งยืน และ การผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม การ สร้างศักยภาพในการจัดการผลกระทบต่อสุขภาพ การ เพิ่มพื้นที่ ป่า เป็นร้อยละ 40 การ ป้องกันผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและฟื้นคืนความยั่งยืนทางนิเวศ การ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการท่องเที่ยวยั่งยืน การ ลดความรุนแรงจากภัยพิบัติและความเปราะบาง ของประชากร การ เสริมสร้างศักยภาพในการใช้แบบจําลองระบบภูมิอากาศ การ ติดตั้ง ระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่มี ประสิทธิภาพ และการ ตั้งศูนย์ความรู้ในระดับภูมิภาค ( 2 ) มลพิษทางอากาศ (Air Pollution) เป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สําคัญระดับโลก โดยมีสาเหตุหลักมาจากการปลดปล่อยของเสียจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ ผลกระทบ ทางลบจากมลพิษทางอากาศที่สําคัญ ได้แก่ การเสียชีวิตของประชากรโลกก่อนถึงวัยอันควร ซึ่งมีจํานวนมากถึง 6 - 7 ล้านคน อีกทั้งยังทําให้สูญเสียงบประมาณในจัดการกับปัญหาดังกล่าวปี ละไม่ต่ํากว่า 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัญหามลพิษทางอากาศที่สําคัญในปัจจุบัน ประกอบด้วย ( 1 ) การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ อันเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ ( 2 ) ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (Fine Particulate Matter) ซึ่งพบในปริมาณสูงในเขตเมืองของหลายประเทศทั่วโลก จากข้อมูลทางสถิติพบว่า ประชากรโลกกว่า 3 พันล้านคน ยังจําเป็นต้องพึ่งพาอาศัยการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ( เช่น ไม้ฟืน ถ่านหิน เศษซากพืช มูลสัตว์ และน้ํามันก๊าซ เป็นต้น ) เพื่อการดํารงชีวิต อันเป็นสาเหตุสําคัญของการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก
23 ( 3 ) การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ( Biodiversity Loss) ความหลากหลาย ทางชีวภาพ (Biodiversity) หมายรวมถึงความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตซึ่งครอบคลุมใน 3 ระดับ คือ พันธุกรรม ( Genetic ) ชนิดพันธุ์ (Species) และระบบนิเวศ (Ecosystem) อันเป็นผลทําให้การทํางานของระบบนิเวศนั้น ๆ (Ecosystem Functions) เป็นปกติ ในปัจจุบันจํานวนประชากรของสิ่ งมีชีวิตหลายชนิดกําลังลดลง อีกทั้ง อัตราการสูญพันธุ์ของสิ่ง มี ชีวิตเพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 42 ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบนบก ร้อยละ 34 ของ สัตว์ไม่มี กระดูกสันหลังในแหล่งน้ําจืด และร้อยละ 25 ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเลกําลังถูกคุกคาม และเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ในอนาคต นอกจากนี้ จากรายงานของกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wide Fund For Nature) และสมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (Zoological Society Of London) ในปี ค . ศ . 2018 พบว่า ในช่วง ปี ค . ศ . 1970 - 2014 ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Global Living Planet Index) ลดลงกว่า ร้อยละ 60 ดังรูปภาพที่ 2 – 2 รูป ภาพ ที่ 2 - 2 ดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพของโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ถึง 2014 (เส้นสีดํา แสดงถึง ดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพของโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 - 2014 โดยกําหนดให้ค่าดัชนี ความหลากหลายทางชีวภาพในปี ค.ศ. 1970 มีค่าเท่ากับ 1 . 0 ส่วนเส้นสีฟ้าและสีเขียวแสดงความเชื่อมั่น ของข้อมูลที่ระดับร้อยละ 95 ( 95 % Confidence Limits) ทั้งนี้ ค่าดัชนีดังกล่าวคํานวณจากประชากรสัตว์มี กระดูก สัน หลัง 4 , 005 ชนิด ครอบคลุมถิ่นที่อยู่ (Habitats) ทั้งบนบก ในแหล่งน้ําจืด และในทะเล ( ที่มา : กองทุนสัตว์ ป่าโลกสากล , 2018 ) สาเหตุสําคัญของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ คือ การเปลี่ยนแปลง ถิ่นที่อยู่ ความเสื่อมโทรมของถิ่นที่อยู่ และการสูญเสียถิ่นที่อยู่ (Habitat Change, Degradation, a nd Loss) การเข้ามาของสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นรุกราน (Invasive Species) และกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ ทําลายป่า (Deforestation) การใช้ประโยชน์ทรัพยากรเกินขีดจํากัด ( Over Exploitation ) เกษตรกรรม รวมทั้ง การปลดปล่อยมลพิษต่าง ๆ ออกสู่สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะไมโครพลาสติ ก เป็นต้น ( 4 ) มหาสมุทรและ ชายฝั่ง ( Coastal and Ocean) มหาสมุทรและชายฝั่งมี ความสําคัญ ต่อเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก โดยในแต่ละปีรายได้จาก การประมง (Fisheries) และการเพาะเลี้ยง สัตว์น้ํา (Aquaculture) มีมูลค่าสูงถึง 252 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การประมงขนาดเล็ก (Small - Scale Fisheries) สร้างรายได้ให้กับชาวประมงพื้นบ้านกว่า 58 - 120 ล้านคน อย่างไรก็ตาม สภาพของมหาสมุทร และชายฝั่งในปัจจุบันได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ หนึ่งในสาเหตุสําคัญของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว คือการปลดปล่อยก๊าซเรื อนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ ส่งผลทําให้ความเป็นกรด อุณหภูมิ และระดับของน้ํา ในมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังมีการใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและชายฝั่ง เพื่อการผลิตอาหาร การเดินทาง การตั้งถิ่นฐาน การพักผ่อนหย่อนใจ และการผลิต / สร้างพลังงาน นําไปสู่การเสื่อมสภาพ (Degr adation) หรือการ
24 ล่มสลาย (Loss) ของระบบนิเวศทางทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตายหรือการเสื่อมโทรมของปะการัง ซึ่งมี ความสําคัญต่อห่วงโซ่อาหารของระบบนิเวศทางทะเลเป็นอย่างมาก นอกเหนือจากปัญหาข้างต้นยังพบการ ปนเปื้อนของพลาสติกและไมโครพลาสติกในมหาสมุทรทุกแห่งในทุกระดับความลึกอีกด้วย ( 5 ) ระบบนิเวศป่าและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ( Forest Ecosystem and Land Use) ในปัจจุบันเมื่อพิจารณาพื้นที่ป่าทั่วโลก พบว่าอัตราการลดลงของพื้นที่ป่าจากการตัดไม้ ทําลายป่าเกิดขึ้นช้าลง นอกจากนี้ ในหลายประเทศได้กําหนดเป้าหมายและดําเนินการเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกป่า (Plantation) และการฟื้นฟูป่า (Reforestation) อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในแง่การให้บริการของระบบนิเวศ (Ecosystem Services) บริการของระบบนิเวศป่าปลูกหรือระบบนิเวศป่าที่ได้รับการฟื้นฟูไม่สามารถเทียบเท่ากับบริการ ของระบบนิเวศป่าธรรมชาติได้ จากรายงานขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food a nd Agriculture Organization o f The United Nations) เมื่อปี ค . ศ . 2017 พบว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินของ มนุษย์ เพื่อการผลิตอาหารนับเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินในสัดส่วนที่สูงที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 50 ของแผ่นดิน ที่มนุษย์สามารถอยู่อาศัยได้ ( Habitable land ) แสดง ดัง รูป ภาพที่ 2 - 3 ทั้งนี้ มีการคาดการณ์การเพิ่มขึ้นของ จํานวนประชากรโลกเป็น 1 หมื่นล้านคนในปี ค . ศ . 2050 ซึ่งในการผลิตอาหารเพื่อรองรับกับจํานวนประชากร โลก ที่เพิ่มขึ้นนี้ จําเป็นต้องใช้พื้นที่เกษตรกรรมเพิ่มขึ้นอีกกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่เกษตรกรรมในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 33 ของปริมาณอาหารที่ผลิตขึ้นในปัจจุบันเป็นอาหารที่ถูกทิ้งหรือขยะอาหาร ( F ood waste) โดยในปริมาณนี้พบในประเทศพัฒนาแล้วกว่าร้อยละ 56 รูป ภาพ ที่ 2 - 3 สัดส่วนสภาพพื้นผิวและการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นผิวโลก ที่มา : องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ , 2017 . นอกเหนือจากปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้ว ยังพบปัญหาการ เสื่อมโทรมของพื้นแผ่นดิน (Land Degradation) และการเปลี่ยนสภาพเป็นทะเลทราย (Dese rtification) ซึ่งใน ปัจจุบันการเสื่อมโทรมของพื้นแผ่นดินครอบคลุมพื้นที่กว่าร้อยละ 29 ของพื้นแผ่นดินทั้งหมด ส่งผลกระทบต่อ ประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวกว่า 3 . 2 พันล้านคน
25 ( 6 ) ระบบนิเวศแหล่งน้ําจืดและทรัพยากรน้ําจืด (Water Resources and Fresh Water Ecosystem) ระบบนิเวศ แหล่งน้ําจืดเป็นถิ่นที่อยู่สําคัญของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี ค . ศ . 1970 เป็นต้นมา พื้นที่ชุ่มน้ํา (Wetlands) กว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ชุ่มน้ําทั่วโลกได้ถูกทําลาย จากการพัฒนาทางเกษตรกรรม (Agricultural Development) การขยายตัวของสังคมเมือง (Urbanization) การพัฒนา โครงสร้างพื้ นฐานต่าง ๆ (Infrastructure Development) และการใช้ทรัพยากรน้ําจืดเกินขีดจํากัด (Overexploitation o f Water Resources) การสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ําดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการทําประมงในแผ่นดิน (Inland Fisheries) ทําให้ประชากรทั่วโลกหลายล้านคนสูญเสียรายได้ ทั้งนี้ ได้มีการประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Cost) จากการสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ําในช่วงปี ค . ศ . 1996 - 2011 คิดเป็น 2 . 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ / ปี การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างต่อเนื่อง การขยายตัวของสังคมเมือง มลพิษทางน้ํา การพัฒนาอย่างไม่ยั่งยืน (Unsustainable Development) และการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ การละลาย ของธารน้ําแข็ง (Glacier) และกองหิมะ (Snowpack) ล้วนส่งผลกระทบต่อแหล่งทรัพยากรน้ําจืดทั้งในเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่น้ําสายต่าง ๆ ในทวีปเอเชียและลาตินอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งผลิตทรัพยากร น้ําจืดให้กับประชากรโลกกว่าร้อยละ 20 นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี ค . ศ . 1990 เป็นต้นมา แหล่งน้ําจืดในหลายภูมิภาค ของ โลกได้ประสบปัญหาการปนเปื้อนของสารอินทรีย์และสารเคมีต่าง ๆ เช่น เชื้อโรค ยาฆ่าแมลง โลหะหนัก ขยะพลาสติกและไมโครพลาสติก และความเค็ม ทั้งนี้ ในแต่ละปีประชากรโลกกว่า 1 . 4 ล้านคน เสียชีวิตจากโรค ที่ เกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อโรคในน้ําดื่ม 1.2) การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID - 19) หรือโรคโควิด 19 ใน ปี พ.ศ. 2563 เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ ของมนุษย์ ธุรกิจ และเศรษฐกิจทั่วโลก ทําให้ผู้คนเสียชีวิตจํานวนมาก รวมถึงทําให้เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจและด้านสุขภาพ ในระยะยาวตามมา ทั่วโลกมีมาตรการห้ามการเดินทาง พร้อมมาตรการอื่น ๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขการแพร่ระบาด ของโรคโควิด 19 แต่ส่งผลให้เกิดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ําของคนเพิ่มขึ้น อาทิ ความแตกต่างด้าน การดูแลสุขภาพ โอกำสได้รับการศึกษา การสูญเสียงาน ความมั่นคงทางการเงิน นอกจากนี้ ผลกระทบของ โรคระบาดทําให้ความร่วมมือของคนในสังคม และความร่วมมือระหว่างประเทศลดลง รวมถึงส่งผลต่อการ เปลี่ยนแปลงของตลาดการค้าทั่วโลก เกิดความแตกแยกทางการเมือง และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ของ ประเ ทศต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การป้องกันและควบคุม การแพร่ระบาดของ โรคโควิด 19 สามารถทําได้โดยการสวม หน้ากากอนามัย และการเว้นระยะห่างทางสังคม รวมถึงรัฐบาลในประเทศต่าง ๆ หลายประเทศได้เร่งป้องกัน ความ เจ็บป่วยและเสียชีวิตของประชาชนโดยการเร่งฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นมาตรการที่ได้ผลอย่างชัดเจน สามารถลดการ ติดเชื้อ และลดอัตราการตายจากเชื้อไวรัสลงได้ แต่อีกด้านหนึ่งผลกระทบจาก การแพร่ระบาดของ โรคโควิด 19 ต่อ สิ่งแวดล้อมโดยตรง ได้แก่ การเพิ่มของเสียที่เกิดจากการดูแล ป้อ งกัน และรักษาการติดเชื้อโรคโควิด 19 การบริโภค ที่ไม่ยั่งยืนจากการเพิ่มการใช้วัสดุที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง และการจัดการขยะมูลฝอยที่ไม่มีประสิทธิภาพ มีของเสียที่เกิดขึ้นจากการจัดการโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้น จากเดิมก่อนหน้าที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคได้มี ปริมาณ ขยะประมาณ 40 ตันต่อวัน แต่เพิ่มขึ้นมาเป็น 247 ตันต่อวัน ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาด สําหรับด้าน ผลกระทบจาก การแพร่ระบาดของ โรคโควิด 19 ต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พบว่า ในช่วงที่มีการระบาด ของโรคโควิด 19 หลายประเทศลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีนัยสําคัญ เนื่องจากมีมาตรการล็อกดาวน์ หรืองดการเดินทางและงดกิจกรรมการรวมตัวกัน อาทิ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐอินเดีย และ สหพันธรัฐรัสเซีย แต่ภายหลังการยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์ โดยเฉพาะในสาธารณรัฐประชาชนจีน พ บว่าการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใน ปี พ.ศ. 2563 กลับเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงเดือนเดียวกันของ ปี พ.ศ. 2562 ซึ่งเห็น ว่า ในช่วง การแพร่ระบาดของ โรคโควิด 19 ทําให้มีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เพียงชั่วคราว ระยะเวลาหนึ่ง
26 2 ) สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาคอาเซียน อาเซียนเป็นภูมิภาคหนึ่งที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลาย ทางชีวภาพสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ปัจจุบัน ประเทศ สมำชิกในอาเซียนกําลังเผชิญกับปัญหาความเสื่อมโทรม ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ หมอกควันข้ามแดน การเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แม้ประเทศสมาชิก จะตระหนักถึงความสําคัญของปั ญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันปัญหา ดังกล่าวก็ทวีความรุนแรงและมีความซับซ้อนมากขึ้น จึงได้เกิดความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ สมาชิกอาเซียนขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 8 หัวข้อ ได้แก่ 2 . 1 ) การอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ( Nature c onservation and b iodiversity) อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง แม้จะมีพื้นที่ตั้งอยู่บนผืนแผ่นดิน เพียงร้อยละ 3 ของผืนแผ่นดินทั่วทั้งโลกก็ตาม แต่พื้นที่ดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทาง ชีวภาพในโลกจํานวน 4 แห่ง และ พื้นที่ที่มีความหลากหลายอีก 17 แห่ง ในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงของโลก เป็น แหล่งที่อยู่อาศัยของนก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ํานมหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น ๆ ของโลก นอกจากนี้ อาเซียนยั งมีความหลากหลายทางชีวภาพในมหาสมุทรสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความหลากหลาย ทางชนิดพันธุ์ของปะการัง ในส่วนของความพยายามในการคงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพในภูมิภาคนั้น ประเทศสมาชิกอาเซียนได้กําหนดมาตรการเชิงกลยุทธ์ในการตอบสนองต่อการอนุรักษ์และการจัดการความหลากหลาย ทำงชีวภาพอย่างยั่งยืน ด้วยการบรรจุแนวทางดังกล่าวไว้ในพิมพ์เขียวประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียนปี พ.ศ. 2568 ( ASEAN Socio - Cultural Community Blueprint 2025 ) และจัดตั้งคณะทํางานว่าด้วยการอนุรักษ์ ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของอาเซียน ( ASEAN Working Group on Nature Conservation and Biodiversity: AWGNCB) โดยมีภารกิจสําคัญในการสร้างความตระหนักรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่สะ อาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ อาเซียนยังได้ร่วมกันจัดตั้ง ศูนย์อาเซียนเพื่ อความหลากหลายทางชีวภาพ ( ASEAN Centre for Biodiversity: ACB) ขึ้น เพื่อสนับสนุน ให้ประเทศสมาชิกหันมาให้ความสนใจในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น การเกษตร และความมั่นคงด้านอาหาร การเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างยุติธรรม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การคุ้มครองสัตว์ป่า การจัดการชนิดพันธุ์สัตว์ต่างถิ่น ที่ถูกรุกราน การจัดการป่าพรุ และการจัดการข้อมูลและความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น 2 . 2 ) การควบคุมมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน ( Transboundary h aze p ollution c ontrol) จาก เหตุไฟไหม้ป่าและที่ดินอย่างรุนแรงในปี พ . ศ . 2540 ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมกันลงนาม ในความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษหมอกควันข้ามแดน (ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution: AATHP) เมื่อ 10 มิถุนายน พ . ศ . 2545 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกัน ติดตาม และบรรเทาไฟไหม้แผ่นดินและป่าไม้ ตลอดจนควบคุมมลพิษจากหมอกควันข้ามแดนผ่าน ความร่วมมือระดับประเทศ ภูมิภาค และนานาชาติ โดยในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญา สหประชาชาติ (Conference of Parties: COP) ว่าด้วยมลพิษหมอกควันข้ามแด น ได้มีการนําแผนการความร่วมมืออาเซียน ด้านการ ควบคุมมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน มาเป็นกรอบยุทธศาสตร์และกรอบเวลาในการดําเนินงาน ร่วมกัน เพื่อควบคุมมลพิษหมอกควันข้ามแดนในภูมิภาคอาเซียนให้ได้ภายในปี พ . ศ . 2563 2 . 3 ) สิ่ งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ ง ( Coastal and m arine e nvironment) อาเซียน มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลยาว 173 , 000 กิโลเมตร และมีการสร้างสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางทะเลคิดเป็น ร้อยละ 14 ของสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางทะเลทั้งหมดของโลก ระบบนิเวศป่าชายเลนและแนวปะการังของทั้งโลก อยู่ในภูมิภาคอาเซียนกว่าร้อยละ 35 และร้อยละ 30 ตามลําดับ ในปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนใช้ประโยชน์
27 จากระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยกิจกรรมที่เกิดขึ้นต่าง ๆ ได้ส่งผลกระทบ ทางลบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง และจะก่อให้เกิดผลกระท บทางลบกลับสู่มนุษย์อย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งผู้คนที่ใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ให้ความสําคัญ ในประเด็นดังกล่าว จึงร่วมกันกําหนดแนวทางในการอนุรักษ์และการจัดการระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง โดยบรรจุแนวทางดังกล่าวไว้ในพิมพ์เขียวประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียนปี พ . ศ . 2568 เพื่อเป็นคู่มือในการ ปฏิบัติงาน ของ คณะทํางานด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งของอาเซียน (ASEAN Working Group on Coastal and Marine Environment: AWGCME) ต่อไป หลายประเทศในอาเซียนหรือ 6 ใน 10 ประเทศสมาชิกของอาเซียนที่ทิ้งขยะพลาสติก ลงสู่ทะเล มีการคาดการณ์ว่า มีถึง 31 ล้านตันต่อปี ทําให้พลาสติกเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล ทําลายแหล่ง ที่อยู่ อาศัยของสิ่งมีชีวิต ในทะเล ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและสุขภาพของมนุษย์ และอาเซียนจัดทํา แผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคอาเซียน เพื่อจัดการปัญหาขยะทะเลของประเทศสมาชิกอาเซียน ระหว่าง พ.ศ. 2564 - 2568 เพื่อสร้างความร่วมมือกันกําหนดกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกทางทะเลตลอดทั้ง ภูมิภาคให้มี ประสิทธิภาพ 2 . 4 ) การจัดการทรัพยากรน้ํา ( Water r esource m anagement) อาเซียนเป็นภูมิภาค ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันยังคงมีประเทศสมาชิกบางประเทศที่ประสบปัญหา การ ขาดแคลนและการจัดการทรัพยากรน้ําจืด โดยสาเหตุของการขาดแคลนน้ําจืดประกอบด้วยปัจจัย อาทิ การพัฒนาและการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษต รกรรม และการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ และด้วย ความตระหนักในประเด็นปัญหาดังกล่าว อาเซียนจึงได้บรรจุแนวทางในการจัดการทรัพยากรน้ํา ลงในพิมพ์เขียวประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียนปี พ . ศ . 2568 เช่นเดียวกับแนวทางในการจัดการประเด็น ปัญหาอื่น ๆ เพื่อเป็นคู่มือในการปฏิบัติงานให้กับคณะทํางานด้านการจัดการทรัพยากรน้ําของอาเซียน (ASEAN Working Group on Water Resources Management: AWGWRM) 2 . 5 ) เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ( Environmentally s ustainable c ity) ปัจจุบัน ภู มิภาค อาเซียนมีจํานวนประชากรทั้งสิ้นกว่า 600 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยร้อยละ 48 . 2 ของประชากรทั้งหมดอาศัยอยู่ในเขตเมือง นําไปสู่การโยกย้ายถิ่นของประชาชนเข้ามาอยู่อาศัยในเขตเมือง เพื่อแสวงหาโอกาสด้านการประกอบอาชีพและการศึกษา โดยกิจกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้หลายเมืองในภูมิภาคอาเซียนเผชิญปัญหาการอยู่อาศัยของประชากรที่มีความหนาแน่นสูง รวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเป้าหมายของการ เป็นเมืองที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดี ที่เกิดขึ้น พร้อมบรรจุแนวทางในการจัดการเมืองให้ยั่งยืนลงในพิมพ์เขียวประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน ปี พ . ศ . 2568 อีกด้วย 2 . 6 ) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( Climate c hange) ผล กระทบการเปลี่ยนแปลง ทางสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาสําคัญสําหรับภูมิภาคอาเซียน คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ (Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) เปิดเผย รายงานในปี พ . ศ . 2557 ว่ามนุษย์มีอิทธิพลอย่างชัดเจนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในช่วง 5 ทศวรรษ ที่ผ่านมา ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 0 . 1 - 0 . 3 องศาเซลเซียส ต่อทศวรรษ และมี แนวโน้ม จะเพิ่มสูงขึ้นมากถึง 2 - 4 องศาเซลเซียส ในช่วงปลายศตวรรษนี้ โดยหลายพื้นที่ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กําลังเผชิญความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณหมู่เกาะของประเทศอินโดนีเซียที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น สามเหลี่ยม ปากแม่น้ํา เจ้าพระ ยาของประเทศไทย สามเหลี่ยมปากแม่น้ําอิรวดีของประเทศ พ ม่ำ สามเหลี่ยมปากแม่น้ําโขง ในประเทศ กัมพูชาและเวียดนาม และชายฝั่งตะวันออกของประเทศเวียดนาม เป็นต้น นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของ
28 อุณหภูมิโลกยังก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางอาหาร และความหลากหลายทางชีวภาพ อีกทั้งยังอาจส่งผล กระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ อันส่งผลให้เกิดภาวะความยากจนเพิ่มมากขึ้น 2 . 7 ) เคมีภัณฑ์และของเสีย ( Chemicals and w aste s ) จํานวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วของประเทศในกลุ่มอาเซียน ส่งผลให้เกิดปัญหาเคมีภัณฑ์ และของเสีย โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมี ที่ผ่านมาหลายฝ่ายแสดงความกังวลว่าสารเคมี จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ เช่น การใช้สารกําจัดศั ตรูพืชอย่างเข้มข้นในภาคเกษตรกรรม อันเป็นผลมาจากการขาดความเข้มงวดในการบังคับใช้นโยบายควบคุมการใช้สารเคมี ดังนั้น การส่งเสริมการ จัดการสารเคมีและของเสียจึงเป็นประเด็นสําคัญอันดับต้น ๆ ในความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมของอาเซียน ทั้งนี้ อาเซียนได้บรรจุแนวทางในการจั ดการเคมีภัณฑ์และของเสียลงในพิมพ์เขียวประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน ปี พ . ศ . 2568 พร้อมทั้งจัดตั้งคณะทํางานว่าด้วยการจัดการ เคมีภัณฑ์และของเสียของอาเซียน (ASEAN Working Group on Chemicals and Waste: AWGCW) เพื่อขับเคลื่อน การดําเนินงานในประเด็นดังกล่าว โดยมีภารกิจ การกําหนดนโยบายและกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีในเวทีระหว่างประเทศ การแบ่งปันความรู้และ ประสบการณ์เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสารเคมีและการจัดการ ของเสียข้ามพรมแดน และผลักดันให้เกิดงาน ศึกษาวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้ อง 2 . 8 ) การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ( Environmental e ducation) อาเซียน กําลังเผชิญหน้า กับความท้าทายในการรักษาสมดุลที่ยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อมและ การพัฒนาเศรษฐกิจ แม้จะมีทรัพยากรธรรมชาติ ที่อุดมสมบูรณ์ แต่ยังมีหลายปัจจัยที่นําไปสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น จํานวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเติบโตทางเศรษฐกิจ และการขยายตัวทางอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาเซียนได้เล็งเห็นถึงความสําคัญ ของประเด็นปัญหาดังกล่าว และต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงโดยเริ่มจากกำรส่งเสริมให้บุคคลมีความรู้ ทักษะ ค่านิยม และทัศนคติที่ก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้น การสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม จึงเป็นสิ่งสําคัญในความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมของอาเซียน ทั้งนี้ การดําเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียน ของประเทศไทยได้กําหนดให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลักในการดําเนินงาน ภายใต้เสาหลักประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และประเทศไทยมีพันธกรณีต้องดําเนินการตามความร่วมมือ ด้านสิ่งแวดล้อมกับประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมทําหน้าที่ เป็นประธานเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย รวมทั้งมีการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้รัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อมของอาเซียนได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และหารือในประเด็นปัญหาที่สํา คัญด้านสิ่งแวดล้อม และเป็นศูนย์กลางการประสานงานทั้งหมด ของภารกิจอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีกลไกโดยคณะทํางานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม 7 คณะทํางาน 3 ) สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในประเทศ จากการทบทวนรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่ งแวดล้อม พ.ศ. 2565 ที่ จัดทําโดย สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า สถานการณ์ คุณภาพสิ่งแวดล้อมรายสาขา ของประเทศไทย ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2564 - 2565 มีสถานการณ์โดยสรุปดังนี้ 3 . 1 ) ทรัพยากรดิน (Soil r esource s ) ดินเป็นทรัพยากรที่มีความสําคัญต่อการดํารงชีวิต ของมนุษย์ พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิต รวมทั้งยังมีความสําคัญต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ เนื่องจาก ทรัพยากรดินส่วนใหญ่ใช้เพื่อการเกษตรกรรม หากขาดการจัดการที่ดีจะก่อให้เกิดสภาวะดินเสื่อมโทรม ส่งผล กระทบต่อระบบการผลิต ทํา ให้ความสามารถในการผลิตของดินลดลง จากรายงานสถานภาพทรัพยากรดินของ ประเทศไทย พบว่า ดินปัญหา สามารถจําแนกตามสาเหตุของการเกิดได้ 2 ประเภท คือ (1) ดินปัญหาที่เกิด ตามสภาพธรรมชาติได้แก่ ดินตื้น ดินทรายจัด ดินเปรี้ยวจัด ดินเค็ม และดินอินทรีย์ (2) ดินปัญหาที่เกิดจาก กา รใช้ประโยชน์ที่ดินได้แก่ ดินดาน ดินปนเปื้อน ดินเหมืองแร่ร้าง และดินในพื้นที่นากุ้งร้าง ทั้งนี้ ประเทศไทย
29 มีเนื้อที่ทั้งหมด 320 , 696 , 8875 ไร่ หรือ 320.70 ล้านไร่ ดินส่วนใหญ่เป็นเขตดินที่มีศักยภาพสําหรับ การเกษตร คิดเป็นร้อยละ 46.35 แต่ดินในบางพื้นที่มีความอุดม สมบูรณ์ต่ํา ทั้งจากสภาพธรรมชาติและจากการใช้ ที่ดินไม่เหมาะสม โดยเฉพาะการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม มีดินที่ปนเปื้อนสารเคมีทางการเกษตร ซึ่งในปี พ.ศ. 2564 มีการนําเข้าปุ๋ยเคมีและนําเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรเพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2563 เพื่อทดแทน วัตถุอันตรายที่มีการยกเลิกและจํากัดการใช้ ส่วนการใช้ที่ดินของประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ เกษตรกรรม พบว่า มีพื้นที่ลดลงในช่วงปี พ.ศ. 2562 - 2564 ขณะที่พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้ำง และพื้นที่อื่น ๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 3 . 2 ) ทรัพยากรแร่ ( Mineral resource) แร่เป็นทรัพยากรธรรมชาติชนิดหนึ่ง ที่มีความสําคัญ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และ เป็นวัตถุดิบพื้นฐานของอุตสาหกรรมทั้งต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา จากรายงานการประเมินปริมาณทรัพยากรแร่ของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2564 พบว่า มีแร่มากกว่า 40 ชนิด ครอบคลุมพื้นที่ 99 , 730 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 19 ของเนื้อที่ประเทศ ปริมาณทรัพยากรแร่ ทั้งหมด รวม ประมาณ 30 ล้านล้านเมตริกตัน ประเมินมูลค่าแร่เบื้องต้นรวมมากกว่า 49 , 000 ล้านล้านบาท ทรัพยากรแร่ของประเทศไทยมีการกระจายตัวอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยจําแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป็น 10 กลุ่ม ได้แก่ แร่เชื้อเพลิงและพลังงาน หินอุตสาหกรรม หินประดับ แร่เพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต์ โลหะมีค่า โลหะพื้นฐาน เหล็กและโลหะผสมเหล็ก แร่อุตสาหกรรมเซรามิก แร่อุตสาหก รรมอื่น ๆ และโลหะเบาและแร่หายาก เมื่อพิจารณาเป็นรายชนิดแร่ พบว่า แร่เกลือหินมีมากที่สุดประมาณ 18 ล้านล้านตัน รองลงมา 5 อันดับ ได้แก่ ( 1 ) หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างประมาณ 8 ล้านล้านเมตริกตัน ( 2 ) หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต์ประมาณ 1 ล้านล้านเมตริกตัน ( 3 ) หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมอื่น ๆ ประมาณ 7 แสนล้านล้านเมตริกตัน ( 4 ) แร่โพแทช ประมาณ 4 แสนล้านล้านเมตริกตัน ( 5 ) หินทรายประมาณ 2 แสนล้านล้านเมตริกตัน การส่งออกแร่ในปี พ.ศ. 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.6 เช่นเดียวกับการนําเข้าแร่ เพิ่ มขึ้ น ร้อยละ 7.35 จากปี พ.ศ. 2563 ส่วนใหญ่เป็นถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้ อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าและใช้ ภาคอุตสาหกรรม ส่วนการประกอบกิจการเหมืองแร่ในประเทศมีแนวโน้มลดลง ซึ่งอาจทําให้การนําเข้าแร่เพิ่มขึ้น ในอนาคต และ ในปี พ.ศ. 2565 จากระบบฐานข้อมูลประทานบัตรของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ พบว่า มีการอนุญาตประทานบัตรทั้งสิ้น จํานวน 914 แปลง โดยกระจายตัวอยู่ในภาคกลางจํานวน 324 แปลง ภาคเหนือ จํานวน 162 แปลง ภาคใต้ จํานวน 144 แปลง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จํานวน 123 แปลง ภาคตะวันออก จํานวน 90 แปลง และภาคตะวันตก จํานวน 71 แปลง ซึ่งจําแนกออกเป็น ( 1 ) ประทาน บัตร ที่มีอายุและเปิด ดําเนินการ จํานวน 897 แปลง ( 2 ) ประทานบัตรที่มีอายุ แต่อยู่ระหว่างการต่ออายุจํานวน 4 แปลง ( 3 ) ประทานบัตรที่มีอายุ แต่ขอคืนสิทธิการทําเหมือง จํานวน 12 แปลง และ ( 4 ) ประทานบัตรที่สิ้นอายุ จํานวน 1 แปลง 3 . 3 ) พลังงาน (Energy) การผลิตพลังงานขั้นต้น ใน ปี พ.ศ. 2564 ลดลงร้อยละ 3 . 73 จาก ปี พ.ศ. 2563 โดยลดลงทุกประเภท ยกเว้นลิกไนต์ที่เพิ่มขึ้นจากการผลิตเหมืองแม่เมาะ ส่วนการนําเข้า (สุทธิ) พลังงานขั้นต้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.53 โดยเพิ่มขึ้นทุกประเภท ยกเว้นการใช้น้ํามันสําเร็จรูปลดลงร้อยละ 3.8 เนื่องจากการเดินทางและกิจกรรมลดลง รวมถึงการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียน ลดลงร้อยละ 12.25 และ 19.07 ตามลําดับ ส่วนการใช้พลังงานในภาพรวมมีประสิทธิภาพดีขึ้น ส่งผลให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในภาคพลังงาน ใน ปี พ.ศ. 2564 ลดลงร้อยละ 0.63 จาก ปี พ.ศ. 2563 3 . 4 ) ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ( Forest and wildlife resources) ในปี พ.ศ. 2516 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมด 138,566,875 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 43.21 ของพื้นที่ประเทศ และลดลงต่ําสุด เหลือร้อยละ 25.28 ในปี พ.ศ. 2541 ต่อมาประเทศไทยได้ให้ความสําคัญในการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้อย่างต่อเนื่อง และในช่วงปี พ.ศ. 2557 – 2560 จํานวนพื้นที่ป่ามีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ จากการสํารวจและวิเคราะห์ สถานภาพของทรัพยากรป่าไม้ที่มีอยู่ในปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ 102,488,302.19 ไร่ คิดเป็น ร้อยละ 31.68 ของพื้นที่ประเทศ ซึ่งมีพื้นที่เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2560 แต่ในปี พ.ศ. 2564
30 มีพื้นที่ลดลง ร้อยละ 0.16 จากปี พ.ศ. 2563 ขณะที่สัตว์ ป่ายังคงถูกคุกคาม โดยเฉพาะสัตว์ป่าคุ้มครอง มีสถานภาพถูกคุกคามถึงร้อยละ 21.65 อย่างไรก็ตาม พบการกระทําผิดกฎหมายเกี่ยวกับเกี่ยวกับการบุกรุก พื้นที่ป่าและการค้าสัตว์ป่ามีแนวโน้มลดลง 3 . 5 ) ทรัพยากรน้ํา ( W ater r esources) ในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยมีปริมาณฝนเฉลี่ย ทั่วประเทศ เท่ากับ 1 , 759 . 3 มิลลิเมตร สูงกว่าค่าปกติหรือปริมาณฝนเฉลี่ยคาบ 30 ปี (พ.ศ. 2524 - 2553 ) คิดเป็นร้อยละ 11 . 0 เพิ่มขึ้นจาก ปี พ.ศ. 2563 ที่มีปริมาณฝนเฉลี่ย 1 , 527 . 3 มิลลิเมตร โดยภาคใต้ฝั่งตะวันตก มี ปริมาณฝนสูงสุด 3 , 174 . 2 มิลลิเมตร รองลงมาคือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง เท่ากับ 2 , 261 . 8 1 , 759 . 1 1 , 457 . 6 1 , 402 . 6 และ 1 , 387 . 7 มิลลิเมตร ตามลําดับ เมื่อพิจารณาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่า ปริมาณฝนเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลง โดยมีปริมาณสูงที่สุดใน ปี พ.ศ. 2560 ซึ่ง ในปี พ.ศ. 2563 ปริมาณน้ําท่าในประเทศไทยทั้ง 22 ลุ่มน้ํา พบว่า มีปริมาณน้ําท่าโดยธรรมชาติเฉลี่ยทั้งปี รวม 199 , 939 . 09 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 31 . 36 จาก ปี พ.ศ. 2562 ที่มีปริมาณน้ําท่าเฉลี่ยทั้งปี รวม 152 , 209 . 73 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ใน ปี พ.ศ. 2564 ปริมาณน้ําฝนเฉลี่ยสูงกว่า พ.ศ. 2563 และ สูงกว่าค่าปกติ ร้อยละ 11 ปริมาณน้ําท่าใน ปี พ.ศ. 2563 / 2564 มีปริมาณ 213 ,447 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.23 ส่วนศักยภาพแหล่งน้ําบาดาลที่สามารถนํามาใช้ได้อย่างปลอดภัยมีปริมาณ 45,386 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งคุณภาพของแหล่งน้ําบาดาลโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนปริมาณน้ําคาดการณ์ ในอ่างเก็บน้ํา ขนาดใหญ่และขนาดกลาง ในปี พ.ศ. 2565 พบว่า อ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่มีปริมาตรน้ํา 40 , 503 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีปริมาตรน้ําใช้การ 16 , 961 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 41 . 88 ของปริมาตรน้ํา ในอ่าง ส่วนอ่างเก็บน้ําขนาดกลางมีปริมาตรน้ํา 3 , 567 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีปริมาตรน้ําใช้การ 3 , 187 ล้าน ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 89 . 35 ของปริมาตรน้ําในอ่าง และ ในปี พ.ศ. 2564 แหล่งน้ําบาดาล ในประเทศ จากข้อมูลบ่อสังเกตการณ์ จํานวน 1 , 164 สถานี 1 , 944 บ่อ กระจายอยู่ใน 27 แอ่งน้ําบาดาล มีปริมาณน้ําบาดาล กักเก็บรวมทั้งประเทศ 1 , 137 , 713 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งเป็นปริมาณน้ําบาดาลที่สามารถนํามาใช้ได้อย่าง ปลอดภัย 45 , 386 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี คิดเป็นร้อยละ 3 . 98 ของปริมาณน้ําบาดาลที่กักเก็บทั้งหมด 3 . 6 ) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ ง ( Marine and coastal resources) การใช้ ประโยชน์ของพื้นที่และทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในประเทศไทย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น เช่น การทํา ประมง ทางทะเล ที่มีการทําประมงที่ผิดกฎหมาย การอุตสาหกรรมตามแนวชายฝั่งและในทะเล การขนส่งทาง ทะเลและพาณิชย์นาวี การท่องเที่ยวทางทะเล รวมถึงเกิดชุมชนและเมืองชายฝั่ง เป็นต้น สถานการณ์ของ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่ามีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น โดย สถานการณ์ของทรัพยากรประมง เมื่อพิจารณา ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมงจากปริมาณการจับสัตว์น้ําต่อหน่วยการลงแรงประมง ( C atch P er U nit of E ffort: CPUE ) ในแหล่งทําการประมง ปี พ.ศ. 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 . 47 จาก ปี พ.ศ. 2563 สําหรับ การทําประมงทะเล ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2554 - 2563) มีผลผลิตสัตว์น้ํา เฉลี่ย 1,445,005 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่า 56,961 ล้านบาทต่อปี โดยผลผลิตมีแนวโน้มลดลงในอัตราร้อยละ 0.78 ต่อปี และ มูลค่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.96 ต่อปี โดยในปี พ.ศ. 2564 ปริมาณและมูลค่าสัตว์น้ําที่จับได้จาก การทําการประมงพาณิชย์ 1,029,061 ตัน คิดเป็นมูลค่า 40,539,032 พั นบาท โดยส่วนใหญ่จับได้ในพื้นที่ ฝั่งอ่าวไทย 737,268 ตัน คิดเป็น ร้อยละ 71.65 คิดเป็นมูลค่า 29,329,500 พันบาท คิดเป็น ร้อยละ 72.35 และฝั่งอันดามัน 288,996 ตัน คิดเป็น ร้อยละ 28.08 คิดเป็นมูลค่า 11,114,710 พันบาท คิดเป็น ร้อยละ 27.42 ส่วนที่เหลือเป็นปริมาณการจั บสัตว์น้ํานอกน่านน้ําไทย 2,797 ตัน คิดเป็น ร้อยละ 0.27 คิดเป็นมูลค่า 94,820 พันบาท คิดเป็น ร้อยละ 0.23 โดยเป็นปริมาณการจับสัตว์น้ําในบริเวณ มหาสมุทรอินเดีย สถานการณ์ป่าชายเลน จากการแปลภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูงของกรมทรัพยากรทาง ทะเลและชายฝั่งร่วมกับสํานักงานพัฒนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ( Geo - Informatics and Space Technology Development Agency (Public Organization) : GISTDA ) ในปี พ.ศ. 2563
31 พบว่าประเทศไท ยมีพื้นที่ป่าชายเลน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 . 93 จากปี พ.ศ. 2561 พื้นที่ป่าชายเลน คงสภาพ ทั้งหมดประมาณ 1 , 737 , 020 ไร่ กระจายตัวอยู่ใน 24 จังหวัด โดย จังหวัดที่มีพื้นที่ป่าชายเลนคงสภาพ มากที่สุด คือ จังหวัดพังงา สําหรับพื้นที่ป่าชายหาดที่อยู่ในความรับผิดชอบ ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบใน 18 จังหวัดชายฝั่งทะเล มีพื้นที่จ ํา นวน 47 , 149 ไร่ และพื้นที่ป่าพรุ จํานวน 37 , 139 ไร่ พบใน 12 จังหวัดชายฝั่งทะเล ในส่วน สถานการณ์ปะการั ง ในปี พ.ศ. 2564 แนวปะการังของประเทศไทยมีพื้นที่รวม ทั้งสิ้น 149 , 183 ไร่ อย่างไรก็ตาม จากการติดตามสถานการณ์ปะการังฟอกขาว ใน ปี พ.ศ. 2564 พบว่า มีลักษณะคล้ายกับ ปี พ.ศ. 2563 คือ บริเวณฝั่งอ่าวไทย พบปะการังเริ่มมีสีจางลงและฟอกขาวในบางพื้นที่ช่วง ปลายเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะพื้นที่ที่แนวปะการังโผล่เหนือพื้นน้ําในช่วงน้ําลง ได้แก่ หาดเจ้าหลาว จังหวัดจันทบุรี (สํารวจเฉพาะปะการังที่โผล่พ้นน้ํา) เกาะมันใน หาดพลา จังหวัดระยอง แหลมแสมสาร หาดค่ายเจษฎาราชเจ้า จังหวัดชลบุรี ซึ่งส่งผลให้ปะการังส่วนที่โผล่พ้นน้ําดังกล่าวตายลงไปบางส่วน แต่ปะการังที่อยู่ใต้น้ําตลอดเวลา ฟอกขาวเพียงเล็กน้อย ส่วนแนวปะการังบริเวณฝั่งอันดามัน ไม่มีรายงานสถานีที่พบปะการังฟอกขาว พบเพียง ปะการังมีสีจำงลงเล็กน้อยในบางพื้นที่ นอกจากนี้ ได้มีการตรวจสอบข้อมูลอุณหภูมิน้ําทะเลจากสถานีติดตาม อุณหภูมิน้ําทะเลบริเวณชายฝั่ง ทั้งฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน พบว่า อุณหภูมิน้ําเฉลี่ยในเดือนมิถุนายน ลดลงอย่างชัดเจนทั้งสองฝั่งทะเล หลังจากที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงปลา ยเดือนพฤษภาคม สถานการณ์ สัตว์ทะเลหายาก ในน่านน้ําไทย มี 4 กลุ่ม ได้แก่ เต่าทะเล พะยูน โลมา และวาฬ และ ปลากระดูกอ่อน 2 ชนิด คือ ฉลามวาฬและกระเบนแมนต้า ซึ่งทั้งหมดเป็นสัตว์ทะเลที่มีสถานะ ถูกคุกคามและมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ และเป็นสัตว์ป่าสงวนและคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครอง สัตว์ป่า ในปี พ.ศ. 2562 นอกจากนี้ ยังได้รับการคุ้มครองตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่ งชนิด สัตว์ป่าและพืชป่าที่ ใกล้สูญพันธุ์ หรืออนุสัญญาไซเตส (The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora: CITES) สําหรับสถิติการเกยตื้นสัตว์ทะเลหายาก ปี พ.ศ. 2564 พบการเกยตื้นของสัตว์ทะเลหายากลดลง โดยพบการเกยตื้นรวมทั้งสิ้ น 818 ตัว จําแนกเป็นซากเกยตื้น จํานวน 592 ตัว และเกยตื้นที่มีชีวิต จํานวน 226 ตัว ลดลงจาก ปี พ.ศ. 2563 ที่มีสัตว์ทะเลหายากเกยตื้น 905 ตัว จําแนกเป็น ซากเกย ตื้น 592 ตัวและเกยตื้นที่มีชีวิต 313 ตัว ส่วนมากเป็นเต่าทะเล รองลงมาคือ โลมา วาฬ และพะยูน ตามลําดับ สถานการณ์หญ้าทะเล จากการสํารวจสถานภาพแหล่งหญ้าทะเลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2546 - 2564 พบว่า พื้นที่การกระจายของหญ้าทะเลมีการเคลื่อนย้ายตามความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม อีกทั้ง หญ้าทะเลสามารถแพร่พันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ จึงสามารถเจริญเติบโตในพื้นที่ห่างไกลจากแหล่ง หญ้าทะเลเดิม พื้นที่ที่เคยมีการรายงานการพบหญ้าทะเลจึงถือเป็นพื้นที่ที่ มีศักยภาพที่หญ้าทะเลสามารถ เจริญเติบโตได้ และจากข้อมูลการสํารวจหญ้าทะเล ในปี พ.ศ. 2564 พบหญ้า ทะเลใน 17 จังหวัดชายฝั่งทะเล มีพื้นที่รวม 99 , 325 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 62 ของพื้นที่มีศักยภาพเป็นแหล่งหญ้าทะเลของประเทศ ส่วนใหญ่ มีสถานภาพสมบูรณ์ปานกลาง และพบว่าความสมบูรณ์ของแหล่งหญ้าทะเลมีแนวโน้มสมบูรณ์ขึ้น สถานการณ์ขยะทะเล ในปี พ.ศ. 2563 คาดการณ์ว่าบริเวณ 23 จังหวัดชายทะเล มีปริมาณขยะมูลฝอย 11 ล้านตัน เป็นขยะที่กําจัดไม่ถูกต้อง 2 . 86 ล้านตัน โดยเป็นขยะพลาสติกประมาณ 343 , 183 ตัน ซึ่งคิดเป็นปริมาณขยะทะเลประมาณ 34 , 318 - 51 , 477 ตัน ส่วนใหญ่เป็นขยะพลาสติก ที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธีและไหลลงสู่ทะเล โดยมีแหล่งกําเนิดจากบนบกร้อยละ 80 และในทะเลร้อยละ 2 0 เมื่อพิจารณาในช่วง ปี พ.ศ. 2559 - 2563 พบว่า ปริมาณขยะมูลฝอยที่มีการกําจัดไม่ถูกต้องมีแนวโน้ม เพิ่มสูงขึ้น
32 3 . 7 ) ความหลากหลายทางชีวภาพ ( Biodiversity) การสํารวจและประเมินสถานภาพ ชนิดพันธุ์ ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ในปี พ.ศ. 2563 จํานวน 5 , 005 ชนิด แบ่งออกเป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จํานวน 345 ชนิด นก จํานวน 1 , 075 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน จํานวน 461 ชนิด สัตว์สะเทินน้ํา สะเทินบก จํานวน 184 ชนิด และปลาจํานวน 2 , 940 ชนิด พบชนิดพันธุ์ที่อยู่ในสถานภาพถูกคุกคาม จํานวน 676 ชนิด และ ประเมินสถานภาพชนิดพันธุ์พืช จํานวน 1 , 185 ชนิด พบชนิดพั นธุ์พืชที่ถูกคุกคาม จํานวน 999 ชนิด ซึ่งจําแนกเป็นชนิดพืชที่อยู่ในสถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ จํานวน 647 ชนิด พืชที่อยู่ในสถานภาพใกล้ สูญพันธุ์ จํานวน 259 ชนิด และพืชที่อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ อย่างยิ่ง จํานวน 93 ชนิด สําหรับสถานการณ์ ความหลากหลายทางชีวภาพใน ช่วงปี พ.ศ. 2564 - 2565 ได้มีการสํารวจและค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ใหม่ใน ประเทศไทย ได้แก่ สัตว์ชนิดพันธุ์ใหม่ของโลกเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง จํานวน 2 ชนิด ได้แก่ กะท่างน้ําอุ้มผาง และตุ๊ กแกประดับดาว และเป็นการค้นพบสัตว์ที่ พบครั้ งแรกของประเทศไทย จํานวน 1 ชนิด ได้แก่ กบอกหนามน่าน รวมถึงการ ค้นพบสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จํานวน 10 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่สํารวจพบบริเวณถ้ําและ พื้นที่ภูเขาหินปูนซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และ มีกำรสํารวจพบจุลินทรีย์ ชนิดใหม่ของโลกในประเทศไทย จํานวน 2 ชนิด ได้แก่ Savitreella phatthalungensis และ Goffeauzyma siamensis m ซึ่งเป็นยีสต์ที่พบจากผิวใบสับปะรดในบริเวณจังหวัดพัทลุงและชลบุรี 3 . 8 ) สถานการณ์มลพิษ ( State of pollutions) ใน ปี พ.ศ. 2564 คุณภาพอากาศ ภาพรวม มีแนวโน้มดีขึ้น พบค่าฝุ่นละออง PM 10 และ PM 2.5 มีค่าเฉลี่ยรายปีทั้งประเทศไม่เกินมาตรฐาน ยกเว้น ในพื้นที่จังหวัดสระบุรีและในบางจังหวัด ส่วนสถานการณ์หมอกควันในภาคเหนือมีแนวโน้มดีขึ้น ระดับเสียง ในเมืองใหญ่ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพแห ล่งน้ําโดยรวมมีคุณภาพน้ําดีขึ้นเล็กน้อย แหล่งน้ําที่อยู่ ในเกณฑ์เสื่อมโทรมลดลง เมื่อพิจารณาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าคุณภาพแหล่งน้ําผิวดินที่อยู่ในเกณฑ์พอใช้ ถึงดีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนคุณภาพน้ําทะเลชายฝั่ง ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี ขยะมูลฝอย ในปี พ.ศ. 2564 ปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นในประเทศไทยประมาณ 24.98 ล้านตัน มีปริมาณลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของ โรคโควิด 19 ที่ต่อเนื่องจากปี พ.ศ. 2563 ส่งผลให้จํานวน นักท่องเที่ยวลดลงและมีการจํากัดการใช้ชีวิตประจําวัน ปริมาณขยะมูล ฝอยทั้งหมดถูกจําแนกออกตามวิธีการ จัดการ ดังนี้ ปริมาณขยะมูลฝอย 7.89 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 32 ถูกคัดแยกและนํากลับไปใช้ประโยชน์ ส่วนที่เหลืออีก 17.09 ล้านตัน ถูกนําไปกําจัด โดยปริมาณขยะมูลฝอย 9.28 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 37 ของ ปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด ถูกนําไปกําจัดอย่ำงถูกต้องตามหลักวิชาการ ณ สถานที่กําจัดขยะมูลฝอย จํานวน 116 แห่ง ซึ่งมีการกําจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล การฝังกลบ แบบกึ่งใช้อากาศ เตาเผาผลิตพลังงาน เตาเผาที่มีระบบบําบัดมลพิษอากาศ การหมักทําปุ๋ย และการผลิต เชื้อเพลิงจากขยะมูลฝ อย ( Refuse Derived Fuel: RDF) และปริมาณมูลฝอย 7.81 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 31 ของปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด ถูกกําจัดในครัวเรือนหรือถูกกําจัด ณ สถานที่กําจัดขยะมูลฝอยอย่าง ไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล จํานวน 2,021 แห่ง โดยการเทกอง การเผากลางแจ้ง และเตาเผาไหม้มีระบบ บําบัดมลพิษอากาศ และในส่วนของขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2564 มีขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ( Single - use plastics) ประมาณ 2.76 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 11 ของปริมาณขยะทั้งหมด มีการคัดแยกและ นํากลับไปใช้ประโยชน์เพียงประมาณร้อยละ 19 ส่วนที่ เหลือร้อยละ 78 จะถูกนําไปกําจัดกับขยะทั่วไป อีกร้อยละ 3 ไม่ได้รับการจัดการและตกค้างในสิ่งแวดล้อม ใน ส่วนปริมาณของเสียอันตรายจากชุมชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.65 และปริมาณกากของเสียอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.88 ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อ เพิ่มขึ้นร้อยละ 87.67 ในขณะที่ ปริมำณสารอันตรายภาคอุตสาหกรรมที่ มีการนําเข้า 10 อันดับแรก เพิ่ มขึ้ นร้อยละ 5.23 เช่นเดียวกับปริมาณสารอันตรายภาคเกษตรกรรมที่มีการนําเข้า 10 อันดับแรก เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 . 69
33 3 . 9 ) สิ่งแวดล้อมชุมชน ( Community environment) การรายงานสถานการณ์คุณภาพ สิ่งแวดล้อมในสาขาสิ่งแวดล้อมชุมชนเป็นการรายงาน ข้อมูล ในส่วนของประชากรในเขตเมือง และพื้นที่สีเขียว โดย ใน ปี พ.ศ. 2564 มีจํานวนประชากรในเขตเมือง ร้อยละ 35 . 79 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งจํานวน ประชากร เพิ่มขึ้นจาก ปี พ.ศ. 2563 และ มี ข้อมูลชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานครเพียงแห่งเดียว ที่ มีจํานวนคงเดิม ส่วน ใน ด้านพื้นที่สีเขียวในเมืองต่าง ๆ ใน ปี พ.ศ. 2564 มีสัดส่วนพื้นที่สีเขียวสาธารณะต่อประชากรอยู่ระหว่าง 4.27 - 8.59 ตารางเมตรต่อคน ซึ่ง พบว่าสัดส่วนพื้นที่สีเขียวสาธารณะต่อประชากร ยังต่ํากว่ามาตรฐำน ตามที่ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ที่กําหนดค่าเฉลี่ยอัตราพื้นที่สีเขียวต่อจํานวน ประชากรในเมืองควรอยู่ที่ 9.00 ตารางเมตรต่อคน 3 . 10 ) สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และศิลปกรรม ( Natural and cultural environment) คุณภาพสิ่งแวดล้อม ในแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ ใน พ.ศ. 2564 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี มีการขึ้นทะเบียน กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก ไม้กลายเป็นหินที่ยาวที่สุดในโลก ในบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสอย - มาลัย (เตรียมการ) จังหวัดตาก ได้รับการบันทึกสถิติโลก Guinness World Record ส่วนสิ่งแ วดล้อมศิลปกรรม ได้ประกาศ เขตพื้นที่เมืองเก่าเพิ่มเติม 3 แห่ง ทําให้มีเมืองเก่าที่ได้รับการประกาศรวม 36 เมือง และมีย่านชุมชนเก่า ที่ได้สํารวจจัดทําทะเบียนข้อมูล รวม 613 แห่ง 3 . 11 ) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ ( Climate c hange and disasters) ในปี พ . ศ . 2564 ประเทศไทยมีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 27.5 องศาเซลเซียส สูงกว่าค่าปกติ 0.4 องศาเซลเซียส ลดลงจาก พ.ศ. 2563 ( ค่าปกติในคาบ 30 ปีในช่วงปี พ . ศ . 2524 – 2553 เท่ากับ 27 . 1 องศาเซลเซียส ) ทั้งนี้ อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากค่าปกติในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ในส่วนปริมาณ ฝนเฉลี่ยสูงกว่าค่าปกติ ร้อยละ 11 ค่าเฉลี่ยของระดับน้ําทะเลในประเทศไทยที่ตรวจวัด ณ สถานีเกาะหลัก จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 0 . 17 เมตร และค่าเฉลี่ ยของระดับน้ําทะเลที่ตรวจวัด ณ สถานีเกาะ ตะเภาน้อย จังหวัดภูเก็ต ต่ํากว่าระดับทะเลปานกลาง 0 . 03 เมตร ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับน้ําทะเลสถานีเกาะหลัก มีแนวโน้มคงที่ และสถานีเกาะตะเภาน้อย มีแนวโน้มสูงขึ้นเล็กน้อย และเกิดเหตุการณ์ดินไหลและแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้น ในส่วนของการปล่อยก๊าซเรือ น กระจก ในปี พ . ศ . 2559 ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งสิ้น 354 . 36 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยภาคพลังงานปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมากที่สุด ( 253 . 90 ล้านตันคาร์ บอนไดออกไซด์เทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 72 ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยทั้งหมด ) และภาคเกษตรกรรมปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปริมาณมากที่สุดเป็นอันดับที่สอง (52.16 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 15 ของปริมาณ ก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยทั้งหมด) ในปี พ.ศ. 2564 ข้อมูลล่าสุดพบว่า การปล่อยก๊าซเรือ น กระจกส่วนใหญ่มาจาก ภาคพลังงาน คิดเป็นร้อยละ 71.65 แต่ใน พ.ศ. 2563 - 2564 การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จาก ภาคพลังงานต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศโดยรวมลดลง 2 . 3 การคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกําหนดประเด็นปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีความสําคัญเร่งด่วน ในการคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ การกําหนดประเด็นปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำมารถดําเนินการผ่านการกวาดสัญญาณแนวโน้ม ( Horizontal Scanning ) โดยการวิเคราะห์เชิงการเมือง - เศรษฐกิจ - สังคม - เทคโนโลยี - สิ่งแวดล้อม - กฎหมาย ( Political - Economic - Social - Technological - Environmental - Legal analysi s : PESTEL) สามารถ แบ่งรูปแบบ การกวาดสัญญาณเป็น 2 รูปแบบหลัก ได้แก่ ( 1 ) การรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน โดย ดําเนินการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารรายงาน แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ และการทวนสอบผลการ วิเคราะห์ PESTEL เบื้องต้นโดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ประกอบด้วย สาขาการเมือง สาขาเศรษฐกิจ สาขาสังคม
34 สาขาเทคโนโลยี สาขาสิ่งแวดล้อม และสาขากฎหมาย และ ( 2 ) การ นําเสนอผลการรวบรวมข้อมูลและผลการ วิเคราะห์ในการ ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทําการวิเคราะห์ภาพอนาคตผ่านการ รวบรวมความเห็นจากผู้ เข้าร่วม การประชุมซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงทวนสอบผลการวิเคราะห์ PESTEL เพื่อยืนยัน แนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ให้มีความสมบูรณ์ ยิ่งขึ้น ผ่านการ เสนอความคิดเห็น การตั้งประเด็นคําถาม และการอภิปราย ซึ่งผลลัพธ์จากการสอบทานผลวิเคราะห์ PESTEL นี้ จะนําไปสู่ขั้นตอนการเลือกปัจจัยขับเคลื่อนและปัจจัยที่มี ความไม่แน่นอน สูงซึ่งจะเป็นส่วนสําคัญในการนําไปสร้าง ฉากทัศน์อนาคตและกําหนดแนวนโยบายต่อไป โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว จัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง แต่ละด้านที่จะมีผลต่อการ บริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแว ดล้อม ผ่านการวิเคราะห์ PESTEL สรุป ผล ได้ ดังตารางที่ 1 - 1 ดังนี้ ตารางที่ 1 - 1 การวิเคราะห์ PESTEL ด้าน ประเด็น การเมือง ( Political ) 1 . การใช้อํานาจของภาครัฐที่อาจไม่ได้คํานึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน 2 . ความขัดแย้งของอุดมการณ์ทางการเมืองที่หลากหลายและช่องว่างระหว่างวัย 3 . ข่าวปลอมหรือเฟคนิวส์ที่ทําให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการดําเนินนโยบายในด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4 . ปัญหาเสถียรภาพทางกา รเมือง ภายในทําให้การดําเนินนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมไม่ต่อเนื่อง 5 . สถานการณ์โรคระบาดที่ส่งผลต่อกิจกรรมทางการเมืองและความเชื่อมั่นต่อภาครัฐ รวมทั้งทํา ให้เกิดข้อจํากัดในการรวมตัวเพื่อแสดงออก/ทํากิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม 6 . ความขัดแย้งและการจํากัดสิทธิ เสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน ทําให้การมีส่วน ร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการสิ่งแวดล้อมลดลง 7 . ขาดการส่งเสริมการออกแบบนโยบายเพื่อการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม แบบ B ottom - up 8 . ภาครัฐสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อจัดเก็บข้อมูลและออกแบบนโยบายด้าน สิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น 9 . การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายที่ให้ ความสําคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมากกว่า 10 . ภาครัฐจะมีความชัดเจนเชิงนโยบายในการส่งเสริม circular economy เศรษฐกิจ ( Economic ) 1 . การเติบโตของเศรษฐกิจบริการและการท่องเที่ยวที่ทําให้เกิดความเสื่อมโทรมของ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2 . การขยายฐานการผลิตในประเทศเพื่อส่งออก ส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติใน ประเทศมากขึ้น 3 . เศรษฐกิจดิจิทัลที่เติบโต รวมถึงธุรกิจออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ ส่งผลให้เกิ ดการบริโภคที่ สะดวก รวดเร็ว แต่จะมีความต้องการ ใช้บรรจุภัณฑ์และการขนส่งมากขึ้น 4 . การเติบโตของธุรกิจการให้บริการทางการแพทย์และสุขภาพ ส่งผลให้ปริมาณของเสียที่ ยากต่อการกําจัดเพิ่มมากขึ้น 5 . ข้อกําหนดทางการค้าระหว่างประเทศ ที่ทําให้การจัดการสิ่งแวดล้อมภายในประเทศต้องมี ความเข้มงวดมากขึ้น
35 ด้าน ประเด็น 6 . การกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับปัจเจกของภาครัฐ (เช่น โครงการคนละครึ่ง) ทําให้เกิดการ อุปโภคบริโภคมากขึ้น 7 . การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐบางโครงการ ทําให้สูญเสียพื้นที่ ธรรมชาติที่มีความสําคัญ 8 . การขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการส่งออกผลผลิตทาง การเกษตรทําให้เกิดการใช้ ทรัพยากรสูงขึ้นและสร้างมลพิษ 9 . การขาดการวิเคราะห์และพิจารณามูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมจากการ ลงทุนหรือการดําเนินนโยบายต่าง ๆ สังคม ( Social ) 1 . สังคมอายุยืนที่เพิ่มความต้องการการใช้ทรัพยากร 2 . รูปแบบ S haring business ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ทําให้การผลิตสินค้าลดลง 3 . การขยายตัวของเมือง ( U rbanisation ) ทําให้พื้นที่ธรรมชาติ ลดลงและเสื่อมโทรมลง 4 . การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรทําให้พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป 5 . การกระจุกตัวของประชากรในเมืองทําให้ต้องมีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการอยู่อาศัยให้เพียงพอ 6 . การขาดรายได้จากข้อจํากัดด้าน การแพร่ระบาดของ โรคโควิด 19 ทําให้ความสนใจใน การซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมลดลง 7 . การขาดค่านิยมและความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง เพียงพอ และต่อเนื่อง 8 . การขาดการส่งเสริมการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร เทคโนโลยี ( Technological ) 1 . การเติบโตของเทคโนโลยี เช่น ระบบอัตโนมัติ ทําให้การบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรมี ประสิทธิภาพ มากขึ้น 2 . ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีวัสดุที่เอื้อต่อการเกิดวงจรเศรษฐกิจหมุนเวียน 3 . การใช้เทคโนโลยีในด้านการเกษตร เช่น S mart farming ทําให้สามารถเพิ่มผลผลิตทาง การเกษตรได้โดยลดการใช้ปัจจัยการผลิต 4 . การใช้งา นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่แพร่หลายขึ้นในหลากหลายอุตสาหกรรมส่งผลให้มี ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่ง ยากต่อการจัดการ เพิ่มขึ้น 5 . เทคโนโลยีการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น B lockchain ที่ทําให้การติดตามข้อมูลด้าน สิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพสูงขึ้น 6 . การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลาย ทําให้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและ การเคลื่อนไหว ด้านสิ่งแวดล้อม ได้มากขึ้นและรวดเร็วขึ้น 7 . การเติบโตของพลังงานสะอาด สิ่งแวดล้อม ( Environmental ) 1 . ปัญหามลพิษในทุกด้านที่รุนแรงขึ้น 2 . ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้น 3 . ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งเสื่อมโทรมลง 4 . แนวคิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนได้รับความนิยมมากขึ้น 5 . ความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมกลายเป็นบรรทัดฐาน ( N orm) ใหม่ 6 . ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศและมลพิษข้ามแดน และ การแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน ยังไม่ได้รับความร่วมมือจากประเทศข้างเคียง
36 ด้าน ประเด็น 7 . ปัญหาน้ําหลาก/น้ําแล้งยังขาดการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ 8 . ปัญหาการทรุดตัวของพื้นดินจากการสูบน้ําบาดาลมาใช้มากเกินไป ด้านกฎหมาย ( Legal ) 1 . กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อมกระจายอยู่ในกฎหมายหลายฉบับ ทําให้การ ทํางานไม่เป็นเอกภาพ 2 . กระบวนการร่างกฎหมายขาดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 3 . กระบวนการทํางานที่กําหนดตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องไม่เอื้อให้เกิดการนําไป ปฏิบัติได้จริง 4 . กฎหมายภายในประเทศไม่รองรับกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง 5 . การชดเชยเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ/โรคระบาดไม่พอสมควรแก่เหตุ 6 . โครงสร้างของระบบราชการทําให้ขา ดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานของภาครัฐ 7 . การละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม 8 . กฎหมายสิ่งแวดล้อมไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น 9 . การขาดข้อมูลพื้นฐานและหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ใช้ประก อบการออกแบบกฎหมาย ปัจจัยขับเคลื่อน ( K ey drivers) ที่สําคัญที่จะส่งผลต่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใน อนาคต ถูกวิเคราะห์เพื่อจัดลําดับความสําคัญผ่านกรอบการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเชิงลึก โดยดําเนินการ ผ่าน การลงคะแนนและการอภิปรายของผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ จากผลการจัดลําดับ ความสําคัญ ทั้ง 2 รอบ ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นร่วมกันว่าปัจจัยที่มีความสําคัญสูงแล ะมีความไม่แน่นอนสูง ประกอบด้วย ค่านิยมการให้ความสําคัญด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่เพียงพอและไม่ต่อเนื่อง และ D isruptive technology ที่มีผลต่อการ จัดการสิ่งแวดล้อมในอนาคต โดยทั้งสองปัจจัยจะถูกนํามาวิเคราะห์คู่กับด้านตรง ข้าม เช่น หากเป็นกรณีที่ปัจจัย ขับเคลื่อนสามารถเกิ ดขึ้นได้ ขั้วตรงข้ามอาจเป็นกรณีที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เป็นต้น ซึ่งการสร้างปัจจัย ขับเคลื่อนตรงข้ามนี้จะสามารถสร้างแกนวิเคราะห์ความไม่แน่นอน ( A xes of uncertainties ) ซึ่งจะนําไปสู่การ สร้างฉากทัศน์อนาคต แสดงดัง รูปภาพที่ 2 - 4 รูป ภาพ ที่ 2 - 4 การสร้างแกนวิเคราะห์ความไม่แน่นอน ( A xes of uncertainties ) และฉากทัศน์อนาคต ( Scenario building ) ที่มา : F oresight workshop , คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .
37 จากการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ แกนหลักที่จะนํามาใช้ในการสร้างฉากทัศน์อนาคต ( Scenario building ) ได้แก่ Disruptive technology ทําให้การจัดการสิ่งแวดล้อมดีขึ้น คู่ตรงข้ามกับ Disruptive technology ทําให้ การจัดการสิ่งแวดล้อมยากขึ้น และค่านิยมการให้ความสําคัญด้านสิ่งแวดล้อมเพียงพอและต่อเนื่อง คู่ตรงข้าม กับค่านิยมการให้ความสําคัญด้านสิ่งแวดล้อมไม่เพียงพอและขาดความต่อเนื่อง เมื่อนําปัจจัยทั้ งหมด มาประกอบกันจะเกิดเงื่อนไขในการสร้างฉากทัศน์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การสร้างฉากทัศน์อนาคต ( S cenario building ) ฉากทัศน์อนาคตสร้างขึ้นบนเงื่อนไขที่ ได้จากการจัดลําดับความสําคัญของปัจจัยขับเคลื่ อนและ การวิเคราะห์ความไม่แน่นอน โดยการสร้างฉากทัศน์อนาคตอาศัยการอ้างอิงข้อมูลปัจจุบัน ปัจจัยขับเคลื่อนอื่น ๆ ตลอดจนความน่าจะเป็นในรายละเอียดต่าง ๆ ของแต่ละฉากทั ศน์ โดยคํานึงถึงทั้งข้อดีและข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ ภายใต้เงื่อนไขของฉากทัศน์นั้น ๆ รวมถึงยึดหลักการสร้างฉากทัศน์โดยปราศจากอคติ และทําการเลือกฉากทัศน์ ที่จะเป็น รูปแบบ อนาคตที่พึงประสงค์ โดยทําการประเมินรูปแบบฉากทัศน์อนาคตที่พึงประสงค์ ( P referrable future ) ซึ่งจะเป็นการกําหนดเป้าหมายเพื่อออกแบบแนวนโยบายหรือแนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้จริง ฉากทัศน์ ที่พิจารณาเลือกเป็นฉากทัศน์อนาคตที่พึงประสงค์ คือ ฉากทัศน์ที่ 4 (สวยนะ แต่เหนื่อยหน่อย) แ สดงให้เห็นว่า ในปัจจุบันยังมีความไม่แน่นอนในประเด็นการพึ่งพาเทคโนโลยีในการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งแม้จะมีแนวโน้ม ว่าจะสามารถช่วยให้การจัดการสิ่งแวดล้อมดีขึ้น เช่น ระบบการจัดการขยะ ระบบการเฝ้าระวังการเกิดภัยพิบัติ แต่ก็ยังไม่มีความแน่ชัดเพียงพอถึงผลของการพัฒนา ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด เช่น การเข้ามามีบทบาทของ เทคโนโลยีใหม่ ๆ อาจทําให้การคัดแยกสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ มีความซับซ้อนยิ่งขึ้นหรือมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นมาก ทั้งในสภาวะ ปัจจุบันยังมีค่านิยมการให้ความสําคัญด้านสิ่งแวดล้อมตามกระแสสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด โดยเฉพาะอย่ำงยิ่งกระแสในโซเชียลมีเดีย ซึ่งส่งผลให้เกิดการขาดความต่อเนื่องในด้านการดําเนินการจากหลาย ภาคส่วน อีกทั้งค่านิยมดังกล่าวยังไม่เพียงพอต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลง โดยหากไม่มีการดําเนินการใด เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาวะปัจจุบัน ภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า อนาคตฐาน ( Baseline f uture ) ของประเทศไทย จะขยับเข้าใกล้กับส่วนกลางของฉากทัศน์ที่ 1 ซึ่งอาจต้องเผชิญปัญหาในด้านค่านิยมการให้ความสําคัญ ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ยากและเป็นข้อท้าทายต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยสรุป ผล จากการวิเคราะห์และประ มวลผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ พบว่า เป้าหมายหรืออนาคตอันพึงประสงค์ ในอีก 5 ปีข้างหน้า ได้แก่ สังคมที่มีค่านิยมและการให้ความสําคัญต่อสิ่งแวดล้อมในระดับสูงขึ้น มีความรู้ความเข้าใจ ในประเด็นสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและส่งเสริม การพัฒนาอย่างยั่งยืนมากขึ้นผ่านความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถแบ่ง ข้อเสนอแนะตามภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ดังต่อไปนี้ 1 ) ภาครัฐ 1 . 1 ) รัฐควรสร้าง/เพิ่มแรงจูงใจให้กับภาคส่วนอื่น ๆ ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การลดหย่อน ภาษีสําหรับการซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการสนับสนุนและลดหย่อนภาษีให้ภาคธุรกิจที่ดําเนิน ธุรกิจโดยคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม 1 . 2 ) รัฐควรมีการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง 1 . 3 ) รัฐควรมีบทบาทในการจัดหาหรือจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนกิจกรรม ที่ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การคมนาคม ระบบขนส่ง การผลิตหรือจัดหาพลังงานที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาระบบสาธารณสุขและผลักดันความเป็นอยู่ที่ดี (Well - Being) ของประชาชน
38 ในด้านต่าง ๆ เช่น การเพิ่มค่าแรงขึ้นต่ําเพื่อใ ห้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อระดับความใส่ใจ สิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น 1 . 4 ) ควรมีการจัดตั้งหน่วยงานร่วมด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะหน่วยงานด้านการจัดการข้อมูลข่าวสาร เพื่อแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างและทําให้การทํางานของภาครัฐเป็นไปอย่างบูรณาการและมีเอกภาพยิ่ งขึ้น 1 . 5 ) ควรเน้นการจัดทําฐานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและการสื่อสารให้ประชาชนรับทราบข้อมูล ข่าวสารจากภาครัฐเพิ่มขึ้น รวมถึงผลักดันการมีส่วนร่วมและสร้างจิตสํานึกด้านสิ่งแวดล้อมแบบ Bottom - Up ผ่านสื่อหรือการเป็นแบบอย่างให้กับประชาชน 1 . 6 ) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างจิตสํานึ กในระดับท้องถิ่นให้ประชาชนในพื้นที่ผ่านการ กระจายอํานาจในการจัดการสิ่งแวดล้อมไปสู่หน่วยงานส่วนท้องถิ่น 2 ) ภาคเอกชน 2 . 1 ) ควรมีการทําการวิจัยและพัฒนา รวมถึงเผยแพร่องค์ความรู้ในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม 2 . 2 ) ควรมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เนื่องจากภาคเอกชนมีทรัพยากรที่มี ความพร้อมและมีศักยภาพด้านการทําการตลาดและการโฆษณา รวมถึงสามารถสนับสนุนให้บุคคลที่เป็นผู้นํา ทาง ความคิด ( O pinion leader) เข้ามามีส่วนในการส่งเสริม สร้างแรงจูงใจต่อสังคมและสร้างความร่ วมมือกับ ภาคส่วนต่าง ๆ 3 ) ภาคประชาชน 3.1) จําเป็นต้องมีการลงมือปฏิบัติและมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในระดับปัจเจก ไปจนถึงระดับชุมชน 3.2) สามารถรวมกลุ่มเคลื่อนไหวด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้
12 ส่วนที่ 3 ยุทธศาสตร์ ภายใต้แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 – 2570
39 ส่วนที่ 3 ยุทธศาสตร์ ภายใต้แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 – 2570 3 . 1 แนวคิด การจัดทําแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 – 2570 ได้น้อมนําหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจ พอเพียง ( Sufficiency Economy Philosophy : SEP ) ในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและเหมาะสมกับฐานทรัพยากร รวมทั้งได้นําแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจ หมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว ( Bio - Circular - Green Economy: BCG Model ) ที่เป็นการนําองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ใน การลดการใช้ทรัพยากร สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม การนําวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ และมุ่งเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อม ได้นําบริบท ปัจจัยที่เกี่ยวข้องจากหลากหลายทิศทางทั้งภายในและภายนอกประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อการแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ โดยบูรณาการการ จัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ผสมผสาน กับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ในการดําเนินงาน ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามกรอบสากลที่สหประชาชาติกําหนด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพั ฒนาที่ยั่งยืน และคํานึงถึงสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงที่มีความซับซ้อนวิวัฒนาการใหม่ ๆ ทั้งเทคโนโลยี สภาพอากาศ โรคอุบัติใหม่ ที่ส่งผลต่อการดําเนินชีวิตของผู้คนในสังคม และเศรษฐกิจ เพื่อใช้เป็น กรอบชี้นําให้ภาคีการพัฒนานําไปใช้เป็นแนวทางในการ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในช่วงเวลา 5 ปี ในการดําเนินงานตามภารกิจ รวมถึงยังให้ความสําคัญกับการขับเคลื่อนการดําเนินงานในระดับพื้นที่ อย่างเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ โดยมุ่งเน้นการบูรณาการกับความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน แล ะภาคประชาสังคม 3 . 2 หลักการ หลักการสําคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 12 หลักการดังนี้ 3 . 2 . 1 การพัฒนาที่ยั่งยืน ( Sustainable Development : SD ) เป็นหลักการที่ให้ความสําคัญกับ การพัฒนาประเทศอย่างมีดุลยภาพ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องเกื้อกูล และไม่ก่อให้เกิด ความขัดแย้งต่อกัน โดยการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีการพัฒนาอย่างมีคุณภาพและแข่งขันได้ต้องคํานึงถึง ขีดจํากัดของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อมที่จําเป็นต้องสงวน และรักษาไว้ใช้ประโยชน์ได้อย่างยาวนาน โดยมีการใช้ทรัพยากรทุกชนิดอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพสูงสุด และไม่ส่งผลกระทบต่อความต้องการของ สังคมทั้งในปัจจุบันและอนาคต 3 . 2 . 2 การบริหารจัดการเชิงระบบนิเวศ ( Ecosystem Approach) เป็นหลักการที่คํานึงถึ งความสัมพันธ์ เชิงระบบหรือองค์รวม ( Holistic a pproach) เพื่อการดํารงอยู่ของระบบนิเวศอย่างสมดุลและตอบสนองต่อ ความต้องการของมนุษย์ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยมี การบูรณาการด้านการจัดการที่ดิน นํ้า และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นให้เกิดความสมดุล ทั้งการอนุรักษ์ ความ หลากหลาย ทางชีวภาพ การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และการแบ่งปันผลประโยชน์อ ย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม 3 . 2 . 3 การระวังไว้ก่อน ( Precautionary Principle) เป็นหลักการจัดการเชิงรุกที่เน้นการป้องกัน ผลกระทบล่วงหน้า โดยสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะพื้นที่ที่มี ระบบนิเวศที่เปราะบางและพื้นที่เสี่ยง เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น และคํานึงถึงกิจกรรมที่จะก่อให้เกิด ความเสี่ยงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อม
40 3 . 2 . 4 ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย ( Polluters Pay Principle: PPP) เป็นหลักการของการนําเครื่องมือ ทางเศ รษฐศาสตร์มาใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยผู้ก่อมลพิษหรือผู้ก่อความเสียหาย ต่อสิ่งแวดล้อมต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพของมนุษย์หรือ สิ่งแวดล้อม 3 . 2 . 5 ผู้ได้รับผลประโยชน์เป็นผู้จ่าย ( Beneficiaries Pay Principle: BPP) เป็นหลักการการส่งเสริม ความรับผิดชอบ โดยสร้างแรงจูงใจให้ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์เป็นผู้จ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้ให้บริการด้านระบบนิเวศ ทั้งที่อยู่ต้นทางและปลายทาง รวมถึงสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้เสียประโยชน์ เพื่อลดความขัดแย้งทางสังคม อันเกิดจากการนําทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ประโยชน์และทําให้เกิดผลลัพธ์ที่ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์ ร่วมกัน 3 . 2 . 6 ความเป็นหุ้นส่วนของรัฐ - เอกชน ( Public - Private Partnership: PPP) เป็นหลัก การที่ ใช้สร้างการร่วมรับผิดชอบ และควรนํามาใช้ควบคู่กับหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย เพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชน เข้ามาลงทุนและมีบทบาทในการจัดการสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมทั้งเป็นหลักการการดําเนินโครงการแบบการ บริการสาธารณะให้เกิดความสําเร็จ รวมถึงเกิดการจัดการทรัพยำกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระหว่างรัฐและ ภาคส่วนอื่นที่ไม่ใช่รัฐ 3 . 2 . 7 ธรรมาภิบาล ( Good Governance) เป็นหลักการการบริหารจัดการที่ดีที่ทุกหน่วยงานควรนํามาใช้ เป็นแนวทางในการบริหารงาน ทั้งในด้านศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชน พึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติเพื่อส่งผลให้องค์กรมีความสร้างสรรค์มีศักยภาพและประสิทธิภาพ และทําให้ บุคคลภายนอกศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์กร โดยองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลมี 6 ประการคือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า 3 . 2 . 8 การขยายความรับผิดชอบแก่ผู้ผลิต ( Extended Producer Responsibility: EPR) เป็นหลักการ เพิ่มขอบเขตความรับผิดชอบของผู้ผลิตให้ครอบคลุมในแต่ละช่วงของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์เพื่อให้ผู้ผลิตมีการ ปรับปรุงกระบวนการผลิตและส่งผลให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้น ตั้งแต่การรับคืน การรีไซเคิ ล และการกําจัด ซากผลิตภัณฑ์รวมทั้งมุ่งเน้นให้ผู้ผลิตมีการปรับปรุงและพัฒนาการอ อกแบบผลิตภัณฑ์และระบบการผลิต ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้ผลิตภัณฑ์มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3 . 2 . 9 การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ( Resource Decoupling/Resource Efficiency) เป็นหลักการ ลดอัตรา การใช้ทรัพยากรต่อหน่วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และเป็นการลดการใช้ปริมาณทรัพยากร ในส่วนของวัสดุ พลังงาน น้ ํา และทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะต้องนําไปใช้ในการด ํา เนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ เป็นไปในระดับปกติ ส่งผลให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แล ะลดปริมาณ การเกิดมลพิษโดยรวมจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าว 3 . 2 . 10 สิทธิมนุษยชน ( Human Rights) เป็นหลักการที่ ค ํา นึ ง ถึงสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของ ความเป็นมนุษย์มีความเสมอภาค เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติไม่ว่าจะแตกต่างกัน หรือมีความไม่เท่าเทียมกัน ทางเศรษฐกิจและสังคมมากน้อยเพียงใดก็ตาม หลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สิทธิและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงส่งเสริมและ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม สิทธิในการที่ จะด ํา รงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีคุณภาพ และสิทธิในการได้ใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ 3 . 2 . 11 การบูรณาการ ( Integration Principle) เป็นหลักการนําประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมไปพิจารณา ควบคู่กับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมเพื่อป้องกันผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้น เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืน
41 3 . 2 . 12 ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม ( Environmental Justice) เป็นหลักการที่ประกอบด้วย ความเป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อมในเชิงเนื้อหา ( Substantive e nvironmental j ustice) และความเป็นธรรม ทางสิ่งแวดล้อมในเชิงกระบวนการ ( Procedural e nvironmental j ustice) ซึ่งเมื่อมีการก ํา หนดกฎหมายต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อมขึ้น จ ํา เป็นต้องมีกระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่เหมาะสมควบคู่กันไปด้วย 3 . 3 วิสัยทัศน์ ทรัพยากรมั่งคั่ง สิ่งแวดล้อมปลอดภัยด้วยการบริหารจัดการข้ามมิติแบบองค์รวม 3 . 4 พันธกิจ 3.4.1 สร้างความตระหนักรู้ด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุล และยั่งยืน 3.4.2 สร้างการมีส่วนร่วมกับภาคีทุกภาคส่วนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่ อ การพัฒนาและการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3.4.4 พัฒนาแนวทาง เครื่องมือ ระบบ กลไก แ ละข้อมูลสนับสนุน เพื่อให้การบริหารจัดการให้มีประสิทธิผล 3 . 5 วัตถุประสงค์ 3.5.1 เพื่อเป็นแนวทางให้กับหุ้นส่วนการพัฒนานําไปใช้เป็นกรอบแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ เกิดการขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน และเกิดการ พัฒนาอย่างยั่งยืน 3.5. 2 เพื่อให้การผลิตและบริโภคทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างสมดุลกับฐาน ทรัพยากร และสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศและสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป 3 .5.3 เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3 . 6 เป้าประสงค์ สามารถขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ มีทิศทาง การปฏิบัติที่ชัดเจน และสามารถขับเคลื่อน ให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรมบนพื้นฐานการเติบโตที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม 3 . 7 ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ภายใต้แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นก รอบการดําเนินงานในระดับปฏิบัติที่มีทิศทาง ชัดเจน สามารถขับเคลื่อนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรมบนพื้นฐานการ เติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างให้เกิดการบูรณาการการดําเนินงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมตอบสนองต่อสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันและ รวดเร็วในหลายมิติ โดยกําหนดให้ความสําคัญกับประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ • ความสอดคล้องระหว่างแผนจัดการคุณภำพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 - 2565 กับแผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการเติบโตอย่างยั่งยืน • ความสอดคล้องระหว่างยุทธศาสตร์ภายใต้แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 - 2565 กับยุทธศาสตร์หรือพันธกิจของหุ้นส่วนการพัฒนาหลัก • แนวทางการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติใ นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับพื้นที่ • ความสอดคล้องกับปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอนาคต ทั้งนี้ ในการกําหนดแนวคิดหลักของการจัดทําแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 - 2570 มีดังนี้
42 3.7. 1 ปรับโครงสร้างแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้มีความสอดคล้องกับแผนแม่บทฯ เพื่อให้ การถ่ายทอดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การปรับยุทธศาสตร์ภายใต้แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้มี ความ สอดคล้อง โดยตรงกับประเด็นหรือแผนย่อยภายใต้แผนแม่บทฯ จะช่วยสร้างเอกภาพในการขับเคลื่อน การดําเนินงานตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผนแม่บทฯ จึงเพิ่มโอกาสในการบรรลุเป้าหมายให้สูงขึ้น อีกทั้งยังช่วย ลดความซ้ําซ้อนในการดําเนินงานของหน่วยงาน ทําให้หน่วยงานสามารถจัดสรรทรัพยากรในการดําเนินงาน เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายที่กําหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.7. 2 ปรับกลไกการดําเนินงานและบทบาทของหน่วยงาน โดย ให้ประสบความสําเร็จนั้น จําเป็นต้อง ให้หน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนการพัฒนาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นความสําคัญ และร่วมขับเคลื่อน แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อผลักดันให้การดําเนินงานของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยอาจ พิจารณาการเพิ่มบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานให้ครอบคลุมประเด็น ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานนั้น รวมทั้งการ บูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการผลักดัน การดําเนินงานให้ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแนวทางการปฏิบัติงานของแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม 3.7. 3 ปรับเปลี่ ยนทิศทางการบริหารจัดการตามแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยสาระสําคัญ ภายใต้แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมควรมีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของการ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจุบัน ซึ่ง เป็นปัจจัยสําคัญในการออกแบบการตัดสินใจ เชิงกลยุทธ์และนโยบายเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อให้แผนมีความทันสมัยและดําเนินการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาทิ การเพิ่มประเด็นการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมในภาคการศึกษา เพื่อปลูกฝัง สร้างจิตสํานึก สร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมทั้งตระหนักถึงความสําคัญของสิ่งแวดล้อม การทบทวน ข้อกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้มีความชัดเจน เพิ่ม กิจกรรมขับเคลื่อน ที่ให้ ความสําคัญด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการคํานึงถึงบริบททางสังคมและเศรษฐกิจ และเน้นการพัฒนา และ ประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3.7.4 บูรณาการการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในลักษณะการบริหาร แบบบนลงล่าง ( Top - down) ร่วมกับล่างขึ้นบน ( Bottom - up) โดยเพิ่มการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานปฏิบัติ และ ตัวแทน จากท้องถิ่นที่มีความรู้ ความเข้าใจในบริบทของพื้นที่นั้น ๆ มาประกอบการปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีมาตรฐานและดําเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อลดอุปสรรค ในการดําเนินงานตามแผนใน ระดับล่าง และควรมีการปรับปรุงและพัฒนาแผนอย่างต่อเนื่องจนสิ้นสุดระยะเวลา ของแผนเพื่อให้การปฏิบัติงานมีความยืดหยุ่น ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายของแผนเชิงยุทธศาสตร์น้อยที่สุด และไม่ละเมิดต่อข้อบังคับทางกฎหมาย เพื่อให้การถ่ายทอดแผนไปสู่การปฏิบัติมีประสิทธิภาพ สามารถนําไป ปฏิบัติได้จริง และนําไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้ได้ เนื่องจากการบริหารจัดการแบบบนลงล่างจะเป็น การวางแผนในภาพกว้าง ซึ่งอาจไม่ได้คํานึงถึงบริบททางสังคมและเศรษฐกิจของพื้นที่ที่มีความซับซ้อน และแตกต่ำงกัน จึงเกิดปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินการตามแผน อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงบริบท ของพื้นที่ จะส่งผลให้การปฏิบัติงานไม่สอดคล้องหรือไม่ครอบคลุมเป้าหมายที่ระบุไว้ในแผน รวมทั้ง เป็นการวางแผนที่ ผ่านกระบวนการทํางานที่ได้จากการประสบการณ์ของหน่วยงานและข้อเสนอแนะหรือข้อวิ เคราะห์ที่ผ่านการ กลั่นกรองจากนักวิชาการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการวางแผนป้องกันข้อผิดพลาดล่วงหน้า ทําให้ แผนครอบคลุมประเด็นสําคัญที่จําเป็นต่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 - 2570 ประกอบด้ วย 5 ยุทธศาสตร์หลัก 13 กลยุทธ์ และ 33 ตัวชี้วัด โดย แผนภาพแสดงความเชื่อมโยง (ร่าง) แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 - 2570 กับ แผนระดับที่ 1 และ 2 แสดง ดังรูปภาพที่ 3 – 1 รายละเอียดของยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และตัวชี้วัดภายใต้ แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 – 2570 แสดง ดังตารางที่ 3 - 1 และ หน่วยงานรับผิดชอบตาม กลยุทธ์และตัวชี้วัดภายใต้แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 – 2570 แสดงดังตารางที่ 3 - 2
43 รูปภาพที่ 3 - 1 ความเชื่อมโยงของแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 - 2570 กับแผนระดับที่ 1 - 3 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
44 ตารางที่ 3 - 1 ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และตัวชี้วัดภายใต้แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 - 2570 ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด 1. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ บก และความหลากหลาย ทางชีวภาพให้เติบโต และมี ความเป็นธรรมบนความสมดุล ของฐานทรัพยากรธรรมชาติ เป้าหมาย ให้ฐานทรัพยากร ธรรมชาติและความหลากหลาย ทางชีวภาพได้รับการส่งเสริม ทั้งการอนุรักษ์ฟื้นฟูและ ใช้ประโยชน์อย่างสมดุลเป็นธรรม และเกิดความมั่นคง 1 . 1 การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และ ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างยั่งยืน 1 . 2 การเตรียมความพร้อมเพื่อ รองรับการพัฒนาเศรษฐกิจ บนฐานทรัพยากรชีวภาพ อย่างยั่งยืน 1.1 สัดส่วน พื้นที่สีเขียว ที่เป็นป่า ร้อยละ 45 โดยเป็นพื้นที่ ป่าธรรมชาติ ร้อยละ 33 และ พื้นที่ป่าเศรษฐกิจเพื่อการ ใช้ประโยชน์ร้อยละ 12 ของพื้นที่ ทั้งประเทศ (ร้อย ละ ) 1.2 ดัชนีบัญชีการ เปลี่ยนแปลง สถานภาพพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ที่เสี่ยงต่อการถูกคุกคามในบริบท ของประเทศไทย ( Thailand Red List Index) ( 0 - 1) 1.3 จํานวนพื้นที่ปรับเปลี่ยน การใช ประโยชน ที่ดินในพื้นที่ ไม่เหมาะสมโครงการบริหาร จัดการพื้นที่เกษตรกรรม ( Zoning by Agri - Map) (ไร่) 1.4 สถานประกอบการเหมืองแร่ และอุตสาหกรรมพื้นฐานได้รับ การรับรองมาตรฐานความ รับผิดชอบต่อสังคมของ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแร่ ( CSR - DPIM) และเหมืองแร่สีเขียว ( Green mining) ( จํานวน) 1.5 กลไกทางการเงินและ โครงการภายใต้กลไกทางการเงิน ที่สนับสนุนในการอนุรักษ์ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากร ธรรมชาติและความหลากหลาย ทางชีวภาพ (จํานวน) 2. การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบ นิเวศทางทะเลเพื่อการพัฒนา ศักยภาพการใช้ทรัพยากรทาง ทะเลอย่างยั่งยืน เป้าหมาย ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งได้รับการรักษาฟื้นฟูให้ 2.1 การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และ ใช้ประโยชน์ ทรัพยากรและ ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ให้มีความสมบูรณ์ 2.2 การเตรียมความพร้อมเพื่อ รองรับการพัฒนาเศรษฐกิจ 2.1 พื้นที่ที่ได้รับการผลักดันเป็น พื้นที่คุ้มครองทางทะเลและ ชายฝั่งเพิ่มขึ้น ( ร้อยละ ) 2.2 เขตพื้นที่สมดุลได้รับการ ประกาศเพิ่มขึ้น (พื้นที่)
45 ตารางที่ 3 - 1 ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และตัวชี้วัดภายใต้แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 – 2570 (ต่อ) ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด มีความสมบูรณ์และยั่งยืน เป็นฐานการพัฒนาประเทศ ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม บน ฐานทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่งอย่างยั่งยืน 2.3 พื้นที่ปะการังสมบูรณ์ คงสถานภาพ ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 30 (ร้อยละ) 2.4 พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้น (ไร่) 2.5 ขยะทะเลได้รับการบริหาร จัดการไม่น้อยกว่า 250 ตันต่อปี ( ตันต่อปี) 3. การบริหารจัดการเพื่อสร้าง สังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพ ภูมิอากาศ เป้าหมาย การปล่อยก๊าซเรือน กระจกของประเทศไทยลดลง ทุกภาคส่วนมีศักยภาพในการ ปรับตัวและรับมือต่อผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ 3.1 การลดปริมาณการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกในทุกภาคส่วน 3.2 การส่งเสริมความพร้อม ในการปรับตัวและลดผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติ ทั้งระบบ 3.1 ปริมาณการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกโดยรวมลดลง อย่างน้อยร้อยละ 21 จากกรณีปกติ (ร้อยละ) 3.2 สัดส่วนการใช้พลังงาน ทดแทนต่อการใช้พลังงาน ขั้นสุดท้ายเพิ่มขึ้น (ร้อยละ) 3.3 อัตราการเสียชีวิตและ จํานวนผู้ได้รับผลกระทบจาก สาธารณภัยต่อประชากร 100 , 000 คนลดลง (คนต่อ 100 , 000 คน) 3.4 ร้อยละของแผนพัฒนา ท้องถิ่น ที่มีการบูรณาการ การจัดการภัยพิบัติเพิ่มขึ้น (ร้อยละ) 4. การจัดการสภาพแวดล้อม เมืองและมลพิษที่ส่งผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ เป้าหมาย ระบบบริหารจัดการ สภาพแวดล้อมเมือง และมลพิษ มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจถึง คุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพ ชีวิตที่ดีสําหรับประชาชน 4.1 การเพิ่มประสิทธิภาพการ ป้องกัน ลด ควบคุม และขจัดมลพิษ 4.2 การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม 4.3 การส่งเสริมความแข็งแกร่ง ของกลไกการควบคุมมลพิษ 4.1 คุณภาพน้ําในแหล่งน้ําผิวดิน อยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 85 และ แหล่งน้ําทะเลอยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 89 (ร้อยละ) 4.2 พื้นที่ ที่มีคุณภาพอากาศ ดีขึ้น ร้อยละ 80 (ร้อยละ) 4.3 ระดับเสียงริมถนนอยู่ใน เกณฑ์มาตรฐาน (ร้อยละ)
46 ตารางที่ 3 - 1 ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และตัวชี้วัดภายใต้แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 – 2570 (ต่อ) ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด 4.4 ขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการ จัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ 80 (ร้อยละ) 4.5 ของเสียอันตรายชุมชน ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ 50 (ร้อยละ) 4.6 มูลฝอยติดเชื้อได้รับการ จัดการอย่างถูกต้องตามหลัก วิชาการ ร้อยละ 100 (ร้อยละ) 4.7 มีการจัดทําแผนผังภูมินิเวศ เพิ่มขึ้น 1 ภาค (จํานวนภาค) 4.8 มีเมืองต้นแบบที่พัฒนา บนพื้นฐานภูมินิเวศ อย่างน้อย 22 เมือง (จํานวนเมือง) 4.9 มีพื้นที่สีเขียวสาธารณะ ในภาพรวมของประเทศ ไม่น้อยกว่า 10 ตารางเมตรต่อคน ( ตารางเมตรต่อคน) 4.10 มีระบบบริหารจัดการ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและ ศิลปกรรมที่มีประสิทธิภาพ 5. การยกระดับกระบวนทัศน์ เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างมี ประสิทธิภาพ เป้าหมาย ส่งเสริมคุณลักษณะ และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้าน สิ่งแวดล้อม และพัฒนากลไกที่ ช่วยยกระดับกระบวนทัศน์การ จัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างมี ประสิทธิภาพ 5.1 การส่งเสริมการผลิตและ การบริโภคที่ยั่งยืน 5.2 การส่งเสริมคุณลักษณะและ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้าน สิ่ งแวดล้อม 5.3 การส่งเสริมการพัฒนา เครื่องมือและโครงสร้างเพื่อ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม 5.4 การส่งเสริมการพัฒนา โครงการและเครือข่ายเพื่อ ยกระดับกระบวนทัศน์ด้าน 5.1 การบริโภควัสดุในประเทศ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ มีปริมาณลดลง (กิโลกรัมต่อ ดอลลาร์สหรั ฐ) 5.2 มีจังหวัด/พื้นที่ที่ได้รับการ พัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรม เชิงนิเวศ 39 จังหวัด 54 พื้นที่ (จํานวนจังหวัด/พื้นที่) 5.3 สัดส่วนพื้นที่เกษตรกรรม ยั่งยืนต่อพื้นที่เกษตรกรรม ทั้งประเทศเพิ่มขึ้น (ร้อยละ)
47 ตารางที่ 3 - 1 ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และตัวชี้วัดภายใต้แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 – 2570 (ต่อ) ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม 5.4 อันดับการพัฒนาการเดินทาง และการท่องเที่ยวของประเทศไทย ด้านความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม อยู่ 1 ใน 67 (อันดับ) 5.5 สัดส่วนของหน่วยงานที่ เข้าร่วมดําเนินการและสัดส่วน มูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและ บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มขึ้น (ร้อยละ) 5.6 การรับรู้และความร่วมมือ ด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น (จํานวน) 5.7 มีการนํากระบวนการ SEA ไปใช้ในพื้นที่สําคัญด้านการ พัฒนาระดับนโยบาย (มี/ไม่มี) 5.8 การด ําเนินการภายใต้ ความตกลง ระดับทวิภาคี พหุภาคี และระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น (จํานวน)
48 ตารางที่ 3 - 2 หน่วยงานรับผิดชอบตามกลยุทธ์และตัวชี้วัดภายใต้แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 – 2570 กลยุทธ์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด หน่วยงาน รับผิดชอบ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนบกและความหลากหลายทางชีวภาพให้เติบโตและมี ความเป็นธรรมบนความสมดุลของฐานทรัพยากรธรรมชาติ 1.1 การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ ทรัพยากรธรรมชาติอย่าง ยั่งยืน ปม. / อส. / ทช. / อ . อ . ป. / สพภ. / สผ. / พด. / กพร. / กษ. / ทธ. / ทด. / ส.ป.ก. / สคทช. / ทน. / ทบ. / สส. / สทนช. / อ.ส.พ. / กปม. / กวก. / พท. / สถ. / ตร. / ปค. / ศธ. / อสส. / ภาคเอกชน / ภาค การศึกษา / ภาคประชาชน 1.2 การเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการพัฒนา เศรษฐกิจบนฐาน ทรัพยากรชีวภาพอย่าง ยั่งยืน ทส. / สพภ. / สผ. / อ.ส.พ. / อว. / ศธ. / ส.อ.ท. / สวทช. / สอวช. / วช. / อปท. / ภาคเอกชน / ภาค ประชาชน / ภาคการศึกษา ให้ฐานทรัพยากร ธรรมชาติ และ ความหลากหลาย ทางชีวภาพได้รับการ ส่งเสริมทั้งการ อนุรักษ์ ฟื้นฟูและ ใช้ประโยชน์ อย่างสมดุล เป็นธรรม และเกิดความมั่นคง 1.1 สัดส่วน พื้นที่สีเขียว ที่เป็นป่า ร้อยละ 45 โดยเป็นพื้นที่ ป่าธรรมชาติ ร้อยละ 33 และ พื้นที่ป่าเศรษฐกิจเพื่อการใช้ ประโยชน์ร้อยละ 12 ของพื้นที่ ทั้งประเทศ (ร้อยละ) - ทส. ( ปม. / อส./ ทช./อ.อ.ป./ สพภ.) 1.2 ดัชนีบัญชีการเปลี่ยนแปลง สถานภาพพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ที่เสี่ยงต่อการถูกคุกคามในบริบท ของประเทศไทย ( Thailand Red List Index) ( 0 - 1) - ทส. ( สผ. / อส. ) 1.3 จํานวนพื้นที่ปรับเปลี่ยน การใช ประโยชน ที่ดินในพื้นที่ไม่ เหมาะสม ภายใต้โครง การ บริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม ( Zoning by Agri - Map) (ไร่) - กษ. ( พด. ) 1.4 สถานประกอบการเหมือง แร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ได้รับการรับรองมาตรฐานความ รับผิดชอบต่อสังคมของ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแร่ ( CSR - DPIM) และเหมืองแร่ สีเขียว ( Green mining) ( จํานวน) - อก . ( กพร. ) 1.5 กลไกทางการเงินและ โครงการภายใต้กลไก ทางการเงินที่สนับสนุนในการ อนุรั กษ์ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ ทรัพยากรธรรมชาติและ ความหลากหลายทางชีวภาพ (จํานวน) - ทส. ( สผ. / ปม./ อส./สป.ทส.)
49 ตารางที่ 3 - 2 หน่วยงานรับผิดชอบตามกลยุทธ์และตัวชี้วัดภายใต้แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 – 2570 (ต่อ) กลยุทธ์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด หน่วยงาน รับผิดชอบ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลเพื่อการพัฒนาศักยภาพการใช้ทรัพยากร ทางทะเลอย่างยั่งยืน 2.1 การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ ทรัพยากรและระบบนิเวศ ทางทะเลและชายฝั่งให้มี ความสมบูรณ์ ทช. / อส. / คพ. / สผ. / กปม. / อปท. / ศรชล. / ทธ. / สมช. / ภาคเอกชน / ภาค กำรศึกษา / ภาคประชาชน 2.2 การเตรียมความ พร้อมเพื่อรองรับการ พัฒนาเศรษฐกิจบนฐาน ทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่งอย่างยั่งยืน ทช. / อส. / สผ. / กปม. / จท. / ศร ชล. / ยผ. / อปท. / กทม. / สมช. / กทท./ ภาคเอกชน / ภาค การศึกษา / ภาคประชาชน ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งได้รับการ รักษาฟื้นฟูให้มีความ สมบูรณ์และยั่งยืน เป็นฐานการพัฒนา ประเทศทางเศรษฐกิจ และสังคมที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม 2.1 พื้นที่ที่ได้รับการผลักดัน เป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและ ชายฝั่งเพิ่มขึ้น (ร้อยละ) - ทส. ( ทช. / อส./ สผ. ) - กปม. 2.2 เขตพื้นที่สมดุลได้รับการ ประกาศเพิ่มขึ้น (พื้นที่) - ทส . ( ทช. ) 2. 3 พื้นที่ปะการังสมบูรณ์ คงสถานภาพ ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 30 (ร้อยละ) - ทส. ( ทช. / อส.) 2. 4 พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้น (ไร่) - ทส. ( ทช. / อส.) 2. 5 ขยะทะเลได้รับการบริหาร จัดการไม่น้อยกว่า 250 ตันต่อปี (ตันต่อปี) - ทส. ( คพ. / ทช.) - มท. (อปท.) - ก ทท . ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการเพื่อสร้างสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ 3.1 ลดปริมาณการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกใน ทุกภาคส่วน สผ. / พพ. / ปภ./ อบก./ปม./ อส./ทช./คพ./สส./ สป.ทส./กรอ./กนอ./ สนพ./กฟผ./สนข./สศช./ สวทช./สอวช./ก.ล.ต./ จท./กข./สศก./กสก./ กปศ./พด./กวก./ยผ./ ภาคเอกชน/ภาค การศึกษา/ภาคประชาชน ส่งเสริมศักยภาพการ ลดก๊าซเรือนกระจก ของทุกภาคส่วนและ การปรับตัวและ รับมือต่อผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอา กาศ 3.1 ปริมาณการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกโดยรวม ลดลงอย่างน้อย ร้อยละ 2 1 จากกรณีปกติ (ร้อยละ) - ทส. ( สผ. / คพ.) - พน. (สนพ.) - คค. (สนข.) - อก. (กรอ.) 3.2 สัดส่วนการใช้พลังงาน ทดแทนต่อการใช้พลังงาน ขั้นสุดท้ายเพิ่มขึ้น (ร้อยละ) - พน. ( พพ. ) 3.3 อัตราการเสียชีวิตและ จํานวนผู้ได้รับผลกระทบจาก สาธารณภัยต่อประชากร 100 , 000 คนลดลง (คนต่อ 100 , 000 คน) - มท. ( ปภ. / ปค.)
50 ตารางที่ 3 - 2 หน่วยงานรับผิดชอบตามกลยุทธ์และตัวชี้วัดภายใต้แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 – 2570 (ต่อ) กลยุทธ์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด หน่วยงาน รับผิดชอบ 3.2 ส่งเสริมความพร้อม มาตรการปรับตัวและ ลดผลกระทบจากภัยพิบัติ ทั้งระบบ ปภ. / ปค. / สถ. / อต. / สทนช. / สสน. / ทธ. / ยผ. / พด. / สทอภ. / ชป. / ทน. / ภาคเอกชน/ภาค การศึกษา/ภาคประชาชน 3.4 ร้อยละของแผนพัฒนา ท้องถิ่นที่มีการบูรณาการ การจัดการภัยพิบัติเพิ่มขึ้น (ร้อยละ) - มท. ( ปภ . ) ยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดการสภาพแวดล้อมเมืองและมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ 4.1 การเพิ่มประสิทธิภาพ การป้องกัน ลด และขจัด มลพิษ คพ. / กรอ. / อปท. / ก รม อ . / ขบ. / จท. / สนข./ คค.( ทช .) / สส. / ทช./ทน./ สป.ทส./อจน./ สถ./กทม./กพร./ส.อ.ท./ สปอ./กนอ./ คร. / ส.ป.ก./ พด. / กสก./กวก./กปศ./สวทช./ สอวช./ สทอภ./วช./สสส. / สทนช./สศช. / ภาคเอกชน / ภาคการศึกษา / ภาค ประชาชน 4.2 การจัดการสิ่งแวดล้อม ชุมชน สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม สผ. / อส./ทธ./ ยผ. / ส.ท.ท./ อปท./กทม./ สถ./ ศก./กรอ./ ส.อ.ท./สศช./ศธ./อว. / ภาคเอกชน / ภาคการศึกษา / ภาคประชาชน 4.3 การเสริมความแข็งแกร่ง ของกลไกการควบคุมมลพิษ คพ. / กรอ. / อปท. / ก รม อ . / ขบ. / จท./สนข./คค.(ทช.)/ ระบบบริหารจัดการ สภาพแวดล้อมเมือง และ มลพิษมี ประสิทธิภาพ เพื่อให้ มั่นใจถึงคุณภาพ สิ่งแวดล้อมและ คุณภาพชีวิตที่ดี สําหรับประชาชน 4.1 คุณภาพน้ําในแหล่งน้ําผิวดิน อยู่ในเกณฑ์ดีร้อยละ 85 และ แหล่งน้ําทะเลอยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 89 (ร้อยละ) - ทส. ( คพ. / ทน. / ทช. ) - มท. (อปท. / กทม./อจน. ) - อก. (กรอ.) 4.2 พื้นที่ที่มีคุณภาพอากาศ ดีขึ้น ร้อยละ 80 (ร้อยละ) - ทส. (คพ.) - คค. - อก. - มท. (อปท. / กทม. ) 4.3 ระดับเสียงริมถนนอยู่ใน เกณฑ์มาตรฐาน (ร้อยละ) - ทส. (คพ.) - คค. - อก. - มท. (อปท. / กทม. ) 4.4 ขยะมูลฝอยชุมชนได้รับ การจัดการอย่างถูกต้องร้อยละ 80 (ร้อยละ) - ทส. ( คพ. ) - มท. (อปท.) 4.5 ของเสียอันตรายชุมชน ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ 50 (ร้อยละ) - ทส. (คพ.) - มท. (อปท. / กทม./สถ. ) - อก. 4.6 มูลฝอยติดเชื้อได้รับการ จัดการอย่างถูกต้องตามหลัก วิชาการ ร้อยละ 100 (ร้อยละ) - สธ. ( กรม อนามัย ) - ทส . (คพ.) - มท. (อปท. / กทม./สถ. )
51 ตารางที่ 3 - 2 หน่วยงานรับผิดชอบตามกลยุทธ์และตัวชี้วัดภายใต้แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 – 2570 (ต่อ) กลยุทธ์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด หน่วยงาน รับผิดชอบ สส./ทช./ทน./สป.ทส./อจน./ สถ./ กทม. / กพร. / ส.อ.ท. / สปอ. / กนอ. / คร./ ส.ป.ก. / พด./ กสก. / กวก. / กปศ. / สวทช. / สอวช ./ สทอภ. / วช. / สสส. / สทนช. / สศช. / ศธ./อว. / ภาคเอกชน / ภาคการศึกษา / ภาคประชาชน 4.7 มีการจัดทําแผนผังภูมิ นิเวศ เพิ่มขึ้น 1 ภาค (จํานวนภาค) - ทส. (สผ.) - ส.ท.ท . - สศช. - มท. (อปท. / กทม./สถ. ) 4.8 มีเมืองต้นแบบที่พัฒนา บนพื้นฐานภูมินิเวศ อย่างน้อย 22 เมือง ( จํานวนเมือง) - ทส. ( สผ. ) 4. 9 มีพื้นที่สีเขียวสาธารณะ ในภาพรวมของประเทศ ไม่น้อยกว่า 10 ตารางเมตรต่อคน - ทส. (สผ.) - มท. ( อปท. / กทม./สถ. ) 4.10 มีระบบบริหารจัดการ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและ ศิลปกรรมที่มีประสิทธิภาพ - ทส. (สผ./ทธ.) - วธ. (ศก.) - มท. (อปท./ กทม./สถ. ) ยุทธศาสตร์ที่ 5 การยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมี ประสิทธิภาพ 5.1 การส่งเสริมการผลิต และการบริโภคที่ยั่งยืน สผ. / คพ. / กรอ. / สป.กษ. / สป.กก. / กทท. / สป.ทส. / สส. / อส./ ทช./ สศช. / สป.พณ. / สปอ. / กสก. / กวก. / ส.ป.ก. / ยผ. / บก. / สวทช. / อพท. / สกท./ ส.อ.ท. / อปท. / ภาคเอกชน / ภาคการศึกษา / ภาคประชาชน 5.2 การส่งเสริม คุณลักษณะและพฤติกรรม ที่พึงประสงค์ด้าน สิ่งแวดล้อม สส. / สป.ศธ. / สป.อว. / สป.ทส. / กศน. / กปส. / สถ. / อปท. / ภาคเอกชน / องค์กร พัฒนาเอกชน / ภาค การศึกษา / ภาคประชาชน ส่งเสริมคุณลักษณะ และพฤติกรรมที่ พึงประสงค์ด้าน สิ่งแวดล้อม และ พัฒนากลไกที่ช่วย ยกระดับกระบวนทัศน์ การจัดการด้าน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่าง มีประสิทธิภาพ 5.1 การบริโภควัสดุในประเทศ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ มีปริมาณลดลง (กิโลกรัมต่อ ดอลลาร์สหรัฐ) - ทส. ( สผ. ) - อว. (ส วทช .) 5.2 มีจังหวัด/พื้นที่ที่ได้รับการ พัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรม เชิงนิเวศ 39 จังหวัด 54 พื้นที่ (จํานวนจังหวัด/พื้นที่) - อก. ( กรอ. / สปอ. ) 5.3 สัดส่วนพื้นที่เกษตรกรรม ยั่งยืนต่อพื้นที่เกษตรกรรม ทั้งประเทศเพิ่มขึ้น (ร้อยละ) - กษ. ( สป.กษ. / กสก. / กวก. / ส.ป.ก. ) 5.4 อันดับการพัฒนาการเดินทาง และการท่องเที่ยวของประเทศไทย ด้านความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม อยู่ 1 ใน 67 (อันดับ) - กก. ( สป.กก. / กทท. / อพท.) 5.5 สัดส่วนของหน่วยงานที่ เข้าร่วมดําเนินการและสัดส่วน มูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างสินค้า และบริการที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น (ร้อยละ) - ทส. ( คพ. ) - กค. (บก.) - ทุกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง
52 ตารางที่ 3 - 2 หน่วยงานรับผิดชอบตามกลยุทธ์และตัวชี้วัดภายใต้แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 – 2570 (ต่อ) กลยุทธ์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด หน่วยงาน รับผิดชอบ 5.3 การส่งเสริมการ พัฒนาเครื่องมือและ โครงสร้างเพื่อจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม สผ. / สศช. / กค. / สป.ทส. / คพ. / สส. / สวทช. / สอวช. / วช. / อปท. / ภาคเอกชน / องค์กรพัฒนาเอกชน / ภาค การศึกษา / ภาคประชาชน 5 . 4 การส่งเสริมการ พัฒนาโครงการ และ เครือข่ายเพื่อยกระดับ กระบวนทัศน์ด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม สป.ทส. / สส. / กต. / สอวช. / วช. / สนช. / สถ. / อปท. / ภาคเอกชน / องค์กรพัฒนา เอกชน / ภาคการศึกษา / ภาคประชาชน 5.6 การรับรู้และความร่วมมือ ด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น (จํานวน) - ทส . ( สส. ) - ศธ . ( ส ป . ศธ. ) - อว . ( ส ป . อว. ) - นร . ( กปส. ) - มท . ( สถ. / อปท. ) 5.7 มีการนํากระบวนการ SEA ไปใช้ในพื้นที่สําคัญด้านการ พัฒนาระดับนโยบาย (มี/ไม่มี) - นร. ( สศช. ) - ทส. (สผ.) 5.8 การดําเนินการภายใต้ ความตกลงระดับทวิภาคี พหุภาคี และระดับภูมิภาค ที่เกี่ยวข้องเพื่อการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น (จํานวน) - ทส. ( สป.ทส. ) หมายเหตุ ___ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก
53 รูปภาพที่ 3 - 2 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติบกและความหลากหลายทางชีวภาพให้เติบโตและมีความเป็นธรรมบนความสมดุลของฐานทรัพยากรธรรมชาติ
54 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติบกและความหลากหลายทางชีวภาพให้เติบโตและมีความเป็นธรรม บนความสมดุลของฐานทรัพยากรธรรมชาติ เป้าหมาย ให้ฐานทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการส่งเสริม ทั้งการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์อย่างสมดุลเป็นธรรม และเกิดความมั่นคง ตัวชี้วัด 1.1 สัดส่วนพื้นที่สีเขียวที่เป็นป่า ร้อยละ 45 โดยเป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติ ร้อยละ 33 และพื้นที่ ป่าเศรษฐกิจเพื่อการใช้ประโยชน์ ร้อยละ 12 ของพื้นที่ทั้งประเทศ (ร้อยละ) 1.2 ดัชนีบัญชีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่เสี่ยงต่อการถูกคุกคามในบริบทของ ประเทศไทย ( Thailand Red List Index) ( 0 - 1 ) 1.3 จํานวนพื้นที่ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ไม่เหมาะสมภายใต้โครงการบริหาร จัดการพื้นที่เกษตรกรรม ( Zoning by Agri - Map) ( ไร่) 1.4 สถานประกอบการเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานได้รับการรับรองมาตรฐานความรับผิดชอบต่อ สังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแร่ ( CSR - DPIM) และเหมืองแร่สีเขียว ( Green mining) ( จํานวน ) 1.5 กลไกทางการเงินและโครงการภายใต้กลไกทางการเงินที่สนับสนุนในการอนุรักษ์ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ (จํานวน) ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยพื้นฐานของการดํารงชีวิต ทั้งดิน น้ํา ป่าไม้ สัตว์ อากาศ และแร่ธาตุ มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในหลากหลายด้านทั้งแหล่งอาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย รวมถึงการเดินทางที่ใช้พลังงานในการขับเคลื่อน การใช้ประโยชน์จึงควรคํานึงถึงปริมาณ และคุณภาพ ที่เหมาะสมเกิดความสมดุลไม่ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อความเป็นอยู่และความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ป่าทั่วโลกในปัจจุบัน พบว่า อัตราการลดลงของพื้นที่ป่าจากการตัดไม้ทําลายป่าเกิดขึ้นช้าลง ด้วยเหตุว่าในหลายประเทศได้ผนวกเป้าหมายและดําเนินการเพิ่มพื้นที่สีเขี ยวด้วยการปลูกป่า และการฟื้นฟูป่า เข้าสู่นโยบายและแผนระดับต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในแง่การให้บริการของระบบนิเวศ พบว่า บริการของระบบนิเวศป่าปลูกหรือระบบนิเวศป่าที่ได้รับการฟื้นฟูก็ยังคงไม่สามารถเทียบเท่ากับบริการของ ระบบนิเวศป่าธรรมชาติได้ นอกจากนี้ กว่ำครึ่งของแผ่นดินที่มนุษย์สามารถอยู่อาศัยได้ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการ ผลิตอาหาร โดยอาจจําเป็นต้องใช้พื้นที่เกษตรกรรมเพิ่มขึ้นอีกกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่เกษตรกรรมในปัจจุบัน เพื่อรองรับกับจํานวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรร มแล้ว ยังพบปัญหาการเสื่อมโทรมของพื้นแผ่นดิน และการเปลี่ยนสภาพเป็นทะเลทราย ซึ่งในปัจจุบันการเสื่อมโทรม ของแผ่นดินครอบคลุมพื้นที่กว่าร้อยละ 20 ของแผ่นดินทั้งหมด ส่งผลกระทบต่อประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ดังกล่าวกว่า 3.2 พันล้านคน ซึ่งสอดคล้องกับรายงานสิ่งแวดล้ อมโลก ประจําปี ค.ศ. 2020 ( The Living Planet Report 2020 ) ที่ระบุว่า จํานวนสัตว์ป่าทั่วโลกลดลงเนื่องจากกิจกรรมมนุษย์ จํานวนประชากรของ สิ่งมีชีวิตหลายชนิดกําลังลดลง อัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเพิ่มสูงขึ้น โดยค่าดัชนีชี้วัดความหลากหลายทาง ชีวภาพ ( Living Planet Index : LPI ) ลดลงกว่าร้อยละ 60 สําหรับสถานการณ์ระบบนิเวศแหล่งน้ําจืดและ ทรัพยากรน้ําจืดที่ถือได้ว่าเป็นถิ่นที่อยู่สําคัญ ของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด มีรายงานว่าตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา พื้นที่ชุ่มน้ํากว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ชุ่มน้ําทั่วโลกได้ถูกทําลายจากการพัฒนาทางเกษตรกรรม การขยายตัวของ สังคมเมือง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ และการใช้ทรัพยากรน้ําจืดเกินขีดจํากัด ส่งผลกระทบต่อกำรทํา ประมงน้ําจืด ทําให้ประชากรทั่วโลกหลายล้านคน สูญเสียรายได้ ทั้งนี้ ได้มีการประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ จากการสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ําในช่วงปี ค.ศ. 1996 - 2011 คิดเป็น 2.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
55 ดังนั้น เพื่อให้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติบกและความหลากหลายทางชีวภาพเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ จึงได้มีการกําหนดนโยบาย แผน รวมถึงข้อตกลงต่าง ๆ อาทิ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้ที่ยั่งยื น ต่อสู้ การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสีย ความหลากหลายทางชีวภาพ (Protect, restore and promote sustainable use of terrestrial ecosystems, sustainably manage forests, combat desertification, and halt and reverse land degradation and halt biodiversity loss) มีเป้า หมายย่อย ที่ครอบคลุมหลายประเด็น อาทิ การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ระบบนิเวศบนบก ภูเขา น้ําจืด และความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งการใช้บริการทางระบบนิเวศอย่างยั่งยืน เสริมสร้างการ รับมือเพื่อป้องกันการกลายสภาพ เป็นทะเลทราย มีการแบ่งปันผลประโยชน์จากความ หลากหลายทางชีวภาพ อย่างเท่าเทียมและยุติธรรม ลดความเสื่อมโทรมของถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติของสัตว์ต่าง ๆ บูรณาการมูลค่าของ ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพเข้าไปในกระบวนการกําหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ของประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถระดับท้องถิ่นและความร่วมมือระดับโลกในการอนุรักษ์และหยุดยั้งการค้าสัตว์และพืช คุ้มครองผิดกฎหมาย เป็นต้น นอกจากนี้ อนุสัญญาว่าด้วยการค้า ระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ ใกล้สูญพันธุ์ หรืออนุสัญญาไซเตส (The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora: CITES) หรืออนุสัญญากรุงวอชิงตัน (Washington Convention) มีวัตถุประสงค์ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่ำและพืชป่าโลก โดยเน้นทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือถูก คุกคาม ผ่านการสร้างเครือข่ายระดับโลกในการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ และ อนุสัญญาว่าด้วยความ หลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CBD) ผ่านพิธีสารนา โงยาว่าด้วยการเข้าถึง ท รัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากร พันธุกรรมอย่าง เท่าเทียมและยุติธรรม (Nagoya Protocol on Access to Genetic Resources and The Fair and Equitable Sharing of Benefit Arising from Their Utilization to The Convention on Biological Diversity) ที่เสริมสร้างความแข็งแกร่ง ให้เกิดโอกาสสําหรับการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างยุติธรรม และเท่าเทียม รวมถึงพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วย ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Cartagena Protocol on Biosafety to Convention on Biological Diversity ) ซึ่งเป็น พิธีสารต่อท้ายอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ครอบคลุมการควบคุม ดูแลการเคลื่อนย้ายสิ่งมีชีวิต ดัดแปลงพันธุกรรมข้ามพรมแดน รวมทั้งการนําผ่าน การขนส่ง และการใช้ ประโยชน์สิ่งมีชีวิตดัดแปลง พันธุกรรมที่มีการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนซึ่งอาจมีผลกระทบที่ไม่เอื้ ออํานวยต่อการ อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ํา หรืออนุสัญญาแรมซาร์ ( Ramsar Convention on Wetlands) ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการอนุรักษ์และยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ําในโลก และสนับสนุน ให้มีการใช้ประโยช น์จากพื้นที่ชุ่มน้ําอย่างชาญฉลาด อนุสัญญาว่าด้วยชนิดพันธุ์ที่มีการเคลื่อนย้ายถิ่น (Convention on Migratory Species : CMS) มีวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์สัตว์ป่าบนบก สัตว์ทะเล และนกที่อพยพ ย้ายถิ่น อย่างมีประสิทธิภาพ ( ร่าง) กรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ. 2020 ฉบับที่ 1 (The 1 st draft of the Post - 2020 Global Biodiversity Framework) ต่อเนื่องจากแผนกลยุทธ์ความหลากหลาย ทางชีวภาพ ค.ศ. 2011 - 2020 และเป้าหมายไอจิที่สิ้นสุดลง เมื่อปี ค.ศ. 2020 ซึ่งต้องการให้ภายในปี ค.ศ. 2050 ความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดและยั่งยืน ภูมิภาคอาเซียนถือได้ว่าเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ ความหลากหลายทางชีวภาพกําลังอยู่ภายใต้แรงกดดันต่าง ๆ รวมถึงการตัดไม้ทําลายป่าและการเปลี่ยนแปลง การใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมของแหล่งที่อยู่อาศัยและการเปลี่ยนแปลงชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ที่รุกราน ภูมิภาคอาเซียนได้สูญเสียพื้นที่ป่าไปแล้วกว่าร้อยละ 1 3 นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 ซึ่งคาดการณ์ว่า
56 3 ใน 4 ของพื้นที่ป่าเดิมในภูมิภาคอาจหายไปได้ภายในปี ค.ศ. 2100 โดยการสูญเสียพื้นที่ป่า เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่นําไปสู่การสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยที่สําคัญและการลดลงของชนิดพันธุ์ จึงได้มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน ด้ำนป่าไม้ ( ASEAN Senior Officials on Forestry : ASOF) รวมทั้งจัดทําแผนยุทธศาสตร์การดําเนินงานเพื่อความ ร่วมมือ อาเซียนด้านป่าไม้ ค.ศ. 2016 - 2025 ( Strategic Plan of Action for ASEAN Co - operation in Forestry (2016 - 2025) ) เพื่อส่งเสริมการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยื นเพื่อการผลิตสินค้าและบริการจากป่าอย่าง ต่อเนื่องและสมดุล รวมทั้งรับประกันการปกป้องป่าไม้และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนทางสังคมและนิเวศวิทยา การจัดทําแผนยุทธศาสตร์ อาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ค.ศ. 2 016 - 2025 ( ASEAN Strategic Plan on Environment 2016 – 2025 : ASPEN) เป็นแนวทางสนับสนุนการดําเนินงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมในกรอบการดําเนินงานหลากหลาย ประเด็นรวมถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และการจัดการทรัพยากรน้ํา การจัดตั้ง คณะทํางานว่าด้วยการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของอาเซียน ( ASEAN Working Gro up on Nature Conservation and Biodiversity : AWGNCB) ขึ้น โดยมีภารกิจสําคัญในการสร้างความ ตระหนักรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่สะอาดและเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนยั งได้ร่วมกันจัดตั้งศูนย์ อาเซียนเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ ( ASEAN Centre for Biodiversity : ACB) ขึ้น เพื่อสนับสนุนให้ ประเทศสมาชิกหันมาให้ความสนใจในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ อาทิ การเกษตร และ ความมั่ นคงด้านอาหาร การเข้าถึงและการแบ่งปั นผลประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างยุติธรรม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การคุ้มครองสัตว์ป่า การจัดการชนิดพันธุ์สัตว์ต่างถิ่น ที่ถูกรุกราน การจัดการป่าพรุ และการจัดการข้อมูลและความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น ประเทศไทยมีการเปลี่ยน แปลงพื้นที่ป่าไม้ที่มีแนวโน้ ม คงที่ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา โดย พ.ศ. 2564 มีพื้นที่ป่าประมาณ 102.21 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 31.59 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ ซึ่งยังคงต่ํากว่า เป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 3 ที่กําหนดไว้ร้อย ละ 4 5 ของพื้นที่ ประเทศ สัตว์ป่าหลายชนิดมีจํานวนประชากรลดลงและกําลังอยู่ในสถานภาพน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัตว์ป่าที่มีความอ่อนไหวต่อการถูกคุกคามและการเปลี่ยนแป ลงสภาพป่าจากการบุกรุกตัดไม้ทําลายป่าและ ปัญหาการลักลอบค้าสัตว์ป่า เป็นเหตุให้สัตว์ป่าบางชนิดสูญพันธุ์ไป รวมถึง พบ ชนิดพันธุ์พืชที่กําลังถูกคุกคาม จํานวน 991 ชนิด นอกจากนี้ ดินปัญหาที่เกิดตามธรรมชาติของประเทศไทยที่มีเนื้อที่มากที่สุด ในปี 2561 คือ ดินตื้น รองลงมา คือ ดินทรายจัด ด้านการใช้ที่ดินส่วนใหญ่ถูกนําไปใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมมากที่สุด ในส่วนของทรัพยากรแร่ มีการกระจายตัวอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ จําแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป็น 9 กลุ่ม ได้แก่ แร่เชื้อเพลิงและพลังงาน หินอุตสาหกรรมและหินประดับแร่เพื่่ออุตสาหกรรมซีเมนต์ โลหะมีค่า โลหะพื้นฐาน เหล็กและ โลหะผสมเหล็ก แร่อุตสาหกรรมเซรามิก แร่อุตสาหกรรมอื่นๆ และโลหะเบา และแร่หายาก ทําให้การประกอบกิจการ เหมืองแร่ไม่สามารถเลือกสถานที่ตั้งได้จึงจําเป็นต้องพิจารณาผลกระทบด้านต่างๆ ควบคู่ไปกับการดําเนินกิจกรรม เหมืองแร่ และการวางแผนฟื้นฟูภายหลัง การ ทําเหมืองอย่างเหมาะสม สําหรับทรัพยากรน้ํา ในช่วงปี พ.ศ. 2554 - 2563 พบว่าปริมาณฝนเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลง ปริมาณน้ําท่าในประเทศไทยทั้ง 22 ลุ่มน้ํา ใน ปี พ.ศ. 2563 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.36 จาก พ.ศ. 2562 ปริมาตรน้ําอ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่และขนาดกลาง พ.ศ. 2564 พบว่าเพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2563 ร้อยละ 0.35 และร้อยละ 31.51 ตามลําดับ น้ําบาดาลจากข้อมูลบ่อสังเกตการณ์ พ.ศ. 2563 จํานวน 1 , 175 สถานี 2 , 120 บ่อ กระจายอยู่ใน 27 แอ่งน้ําบาดาล มีปริมาณน้ําบาดาลกักเก็บ 1 , 137 , 587 ล้านลูกบาศก์เมตร ต่อปี ซึ่ง สามารถนําไปใช้ได้อย่างปลอดภัย 45 , 386 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี การบริหารจัดการน้ําทั้งระบบพิจารณา จากรายงานสรุปผลการดําเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจําปี 2 564 ยังคงมีความท้าทายในการดําเนินงานให้บรรลุ
57 เป้าหมายที่กําหนด ประเทศไทยได้เห็นถึงความสําคัญการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติบกและความหลากหลาย ทางชีวภาพจึงบรรจุประเด็นต่างๆ ไว้ในแผนระดับต่าง ๆ ทั้ง 3 ระดับ อาทิ ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 ด้านที่ 5 ด้านการสร้ำงการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม ประเด็นที่ 1 สร้างการเติบโตอย่าง ยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580 ) ประเด็น (18 ) การเติบโต อย่างยั่งยืน แผนย่อยการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (19 ) การบริหารจัดการน้ําทั้งระบบ แผนย่อยการพัฒนาการจัดการน้ําเชิงลุ่มน้ําทั้งระบบเพื่อเพิ่มความมั่นคง ด้านน้ําของประเทศ และแผนย่อยการอนุรักษ์และฟื้ นฟูแม่น้ําลําคลอง และแหล่งน้ําธรรมชาติทั่ วประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 - 2570 ) ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นนํา ด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง หมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ํา และหมุดหมายที่ 11 ไทยสามารถลดความ เสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการ เปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ และนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2580 ในนโยบายที่ 1 จัดการฐานทรัพ ยากรธรรม ชำติอย่างมั่นคงเพื่อความสมดุลเป็นธรรมและยั่งยืน 1 . ประเด็นพัฒนา ทรัพยากรป่าไม้ และทรัพยากรน้ํา ป่า ไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการอนุรักษ์น้ํา ดิน รักษาชั้นบรรยากาศของโลก และบํารุงรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ รวมถึงสามารถ นําไปผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่ช่วยให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อมนุษย์ ประเทศไทยได้เล็งเห็นถึง ความสําคัญของการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ และทรัพยากรน้ําจึงได้จัดทํานโยบายป่าไม้แห่งชาติ ซึ่งจัดทํา โดยคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ดําเนินการเพื่อส่งเสริม การอนุรักษ์ ฟื้นฟู รวมถึงการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน อาทิ พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 การจัดทํา แผนแม่บทพัฒนาป่าไม้แห่งชาติ รวมถึงการผนวกเข้ากับนโยบายและแผนต่างๆ อาทิ แผนแม่บทการบริหาร จัดการทรัพยากรน้ํา 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580 ) ในด้านที่ 4 การจัดการคุณภาพน้ําและอนุรักษ์ทรัพยากร น้ําในส่วนของการพื้นฟูแม่น้ํา ลําคลอง และแหล่งน้ําธรรมชาติที่มีความสําคัญในทุกมิติเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทั่วประเทศ ด้านที่ 5 การอนุรั กษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ําที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลาย ของดิน เป็นการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พื้นที่ป่าต้นน้ําที่เสื่อมโทรม การป้องกัน และลดการชะล้างพังทลายของดินใน พื้นที่ต้นน้ําและพื้นที่ลาดชัน และด้านที่ 6 การบริหารจัดการ ซึ่งเป็นการส่งเสริมความร่วมมือกับทุกภาคส่ วน ทั้งการจัดตั้งองค์กรด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา การปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย การศึกษาวิจัย ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสร้างจิตสํานึก ในการอนุรักษ์ทรัพยากรเพื่อยกระดับการจัดการน้ําในพื้นที่และลุ่มน้ํา ยุ ทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากร น้ําบาดาล ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579 ) แผนปฏิบัติการอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย พ.ศ.2561 - 2568 ( ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562 ) ในยุทธศาสตร์ที่ 1 การอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลาย ทางชีวภาพ และยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการทรัพยากรน้ํา ทรัพยากรดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทรัพยากรดินมีประโยชน์มากมายต่อทั้งมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ประกอบด้วยอินทรียวัตถุและ ธาตุอาหารรวมทั้งน้ําที่จําเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เป็นแหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ บางชนิด รวมทั้งเป็น ที่ตั้งของเมือง บ้านเรือน ทําให้เกิดวัฒนธรรมและอารยธรรมของชุมชนต่าง ๆ มากมาย นอกจากนี้ ดินยังเป็นแหล่งเก็บกักน้ํา ทั้งในรูปของน้ําผิวดินและน้ําใต้ดิน เป็นต้น สําหรับประเทศไทย
58 จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2561 พื้นที่ดินปัญหาที่เกิดตามธรรมชาติของประเทศไทยมีเนื้อที่ 60 , 02 5 , 262 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 18.71 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ โดยดินปัญหาที่มีเนื้อที่มากที่สุด ได้แก่ ดินตื้น คิดเป็นร้อยละ 11.90 รองลงมา คือ ดินทรายจัด คิดเป็นร้อยละ 3.71 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2564 แสดงข้อมูลกา รใช้ประโยชน์ที่ดินในช่วง พ.ศ. 2560 - 2561 ส่วนใหญ่มีการใช้ที่ดินเป็นพื้นที่เกษตรกรรมมากที่สุดมีเนื้อที่ 178.74 ล้านไร่ รองลงมา คือ พื้นที่ป่าไม้ มีเนื้อที่ 104.66 ล้านไร่ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มีเนื้อที่ 18.74 ล้านไร่ พื้นที่แหล่งน้ํา มีเนื้อที่ 9.37 ล้านไร่ และพื้นที่เบ็ดเตล็ด มีเนื้อที่ 9.19 ล้านไร่ ตามลําดับ นอกจากนี้ ปัญหาการปนเปื้อนของทรัพยากรดินจากการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับปริมาณ การนําเข้าสารเคมีอันตรายทางการเกษตรที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงได้จัดทํานโยบายและแผนที่เกี่ยวข้องเพื่อหยุดการเสื่อมโทรมของ ที่ดินและฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสม อาทิ แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากร น้ํา 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ในด้านที่ 5 การอนุรักษ์ฟื้นฟู สภาพป่าต้นน้ําที่เสื่อมโทรมและป้องกัน การพังทลายของดินเป็นการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พื้นที่ป่าต้นน้ําที่เสื่อมโทรม การป้องกัน และลด การชะล้างพังทลาย ของดินในพื้นที่ต้นน้ําและพื้นที่ลาดชัน แผนบริหารจัดการทรัพยากรดินปัญหาของประเทศไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) รวมถึ งได้มีการดําเนินการต่าง ๆ อาทิ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากการ ประกาศพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในพื้นที่ต่าง ๆ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทํา โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม ( Zoning by Agri - Map) เพื่อปรับเปลี่ยนการใช้พื้นที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น ทรัพยากรแร่ ทรัพยากรแร่มีความสําคัญต่อความมั่นคงและมั่งคั่งของประเทศจากการนําไปใช้แปรรูปเป็นผลผลิต ต่าง ๆ ที่ทําประโยชน์ต่อมนุษย์ อาทิ การเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม การผลิตพลังงานไฟฟ้า การสร้างอาวุธ เป็นต้น สําหรับประเทศไทยปริมาณทรัพยากรแร่พบมากกว่า 40 ชนิด ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 96 , 730 ตารางกิโลเมตร (60 ล้านไร่) หรือคิดเป็นร้อยละ 19 ของประเทศ โดยแร่เกลือหินเป็นแร่ที่มีปริมาณมากที่สุด ในประเทศมีประมาณ 18 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 92.08 ของปริมาณทรัพยากรแร่ทั้งประเทศ สําหรับปริมาณ และมูลค่าการผลิต การใช้ การนําเข้ำ และการส่งออกทรัพยากรแร่ พ.ศ. 2563 พบว่าการผลิตแร่มีปริมาณ รวมทั้งสิ้นประมาณ 243.27 ล้านเมตริกตัน คิดเป็นมูลค่าแร่รวมทั้งสิ้นประมาณ 70 , 708 ล้านบาท ซึ่งแร่ที่มี ปริมาณการผลิตสูงสุดและใช้มากที่สุด คือ หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง แร่ที่มีปริ มาณ การนําเข้าสูงสุด คือ ถ่านหินสําหรับนํามาใช้เป็นเชื้อเพลิง แร่ที่มีปริมาณการส่งออกสูงสุด คือ แร่ยิปซัม โดยได้ มีการผนวกประเด็นการบริหารจัดการแร่เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรแร่อย่างยั่งยืนผ่าน การบริหารจัดการแร่อย่างมีประสิทธิภาพเข้าสู่แผน นโ ยบายต่าง ๆ อาทิ ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ซึ่งมีเป้าหมายให้การบริหารจัดการแร่ของประเทศมุ่งเข้าสู่การพัฒนาบนฐานของ ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตในภาพรวมเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว การทําเหมือง ตามหลักธรรมาภิบาลและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ( Green and Smart Mining) มีความยั่งยืนภายใต้ดุลยภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน เป็นช่วงที่ประเทศมีความมั่นคงด้านแหล่งแร่ วัตถุ ดิบ จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมภายในประเทศเป็นหลัก ประชาชนได้รับประโยชน์จากการพัฒนาแหล่งแร่อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม สร้างความมั่งคั่งต่อ เศรษฐกิจ ของประเทศ และมีการบริหารจัดการแร่ของประเทศแบบองค์รวมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิ จพอเพียง และการ พัฒนาอย่างยั่งยืน
59 ความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายรวมถึงสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ทั้งพืช สัตว์ จุลินทรีย์ และมนุษย์ ดําเนินชีวิตอยู่ภายในระบบนิเวศที่หลากหลาย ทรัพยากรชีวภาพเป็นรากฐานของการพัฒนา ผลผลิตจากธรรมชาติ ถูกนํามาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพจะก่อให้เกิด ผลกระทบโดยตรงต่อกลไกการทํางานของระบบนิเวศ โดยประเทศไทย ได้ให้ความสําคัญกับการดําเนินการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพจึงได้มีการจัดทําแผนปฏิบัติการ อาเซียนด้ำนสิ่งแวดล้อม ของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2568 ( ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562 ) ในยุทธศาสตร์ที่ 1 การอนุรักษ์ธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ และยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2570 ในยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างความยั่งยืนของฐานทรัพยากร และความหลากหลาย ทางชีวภาพด้วยการจัดสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ อีกทั้งจัดทํา ร่างพระราชบัญญัติความหลากหลาย ทางชีวภาพ พ.ศ. … เพื่อให้เป็นกฎหมายกลางที่ยกระดับและเติมเต็มช่องว่างของการบริหารจัดการความหลากหลาย ทางชีวภำพของประเทศไทยในทุกภาคส่วนและทุกระดับ และยังเสนอชื่ออุทยานแห่งชาติของประเทศไทย เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน ได้แก่ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม - เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ได้รับการรับรองจากที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซี ยนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 15 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2562 ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา ให้ขึ้นทะเบียนอุทยานแห่งชาติทั้ง 2 แห่ง เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียนลําดับที่ 45 และ 46 ตามลําดับ 2 . รายละเอียดยุทธศาสตร์ จากการวิเคราะห์สถานการณ์การพัฒนารวมถึงนโยบายและแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ ยุทธศาสตร์ที่ 1 จึงมุ่งให้ความสําคัญต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ โดยคํานึงถึงขีดจํากัดและศักยภาพในการฟื้ นตัวของระบบนิเวศธรรมชาติ เพื่ อรักษาความมั่ นค งของ ฐานทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความสมดุลและเป็นธรรม มีการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม โดยเฉพาะคนยากจนและผู้ด้อยโอกาสเพื่อลด ข้อขัดแย้ง ลดความเหลื่อมล้ําของสังคม รวมทั้งผลักดันให้มีการปรับปรุง พัฒนา และจัดทํากฎหมายที่จะนํา มาใช้ ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ มีการกระจายอํานาจ และสร้างความเป็นหุ้นส่วน มีกระบวนการ ยุติธรรม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เน้นการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิผล มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ที่สามา รถเชื่อมโยงกันทั้งประเทศ ตลอดจนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิผล โดยตั้งเป้าหมายให้ฐานทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการส่งเสริมทั้งการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์อย่างสมดุล เป็นธร รม และเกิดความมั่นคง ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 . 1 การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยคํานึงถึงขีดจํากัดและศักยภาพในการฟื้นตัวของระบบนิเวศธรรมชาติ เพื่อรักษา ความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความสมดุลและเป็นธรรม โดยให้ความสําคัญ 6 ประเด็น ได้แก่ ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรสัตว์ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ ทรัพยากรน้ําผิวดินและน้ําบาดาล ทรัพยากรดิน และทรัพยากรธรณี โดยมีกิจกรรมการดําเนินการที่สําคัญ ได้แก่ การป้องกัน ฟื้ นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากร การคุ้มครอง ซากดึกดําบรรพ์ การบริหารจัดการไม่ให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสัตว์ป่า และการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ การบริหาร จัดการพื้นที่ป่าต้นน้ํา การจัดการน้ําท่วมและอุทกภัย การรักษาสมดุลระบบนิเวศ การสร้างกลไกที่ถูกต้องตามหลัก วิชาการและกฎหมา ย ส่งเสริมการอนุรักษ์วิถีใหม่ เป็นต้น และมีกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุน ได้แก่ การพัฒนา กลไกและกฎระเบียบ มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ และมาตรการจูงใจ การพัฒนาระบบฐานข้อมูล งานวิจัย องค์ความรู้
60 และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมและสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมใ นการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ ทรัพยากรอย่างยั่งยืน การบูรณาการข้อมูลและการดําเนินงานระหว่างหน่วยงาน เป็นต้น หน่วยงานรับผิดชอบหลัก ปม. อส. ทช. อ . อ . ป. สพภ. สผ. พด. กพร. หน่วยงาน สนับสนุน กษ. ทธ. ทด. ส.ป.ก. สคทช. ทน. ทบ. สส. สทนช. อ.ส.พ. กปม. กวก. พท. สถ. ตร. ปค. ศธ. อสส. ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาชน กลยุทธ์ที่ 1 . 2 การเตรียมความพร้อมเพื่ อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากร ชีวภาพอย่างยั่งยืน ปรับโครงการและพัฒนาระบบบริหารการจัดการฐานทรัพยากรชีวภาพ ให้รองรับ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน โดยคํานึงถึงขีดจํากัดและศักยภาพในการ ฟื้นตัว ของระบบนิเวศธรรมชาติ โดยให้ความสําคัญ 2 ประเด็น ได้แก่ ( 1 ) การปรับปรุงเชิงโครงสร้างและกฎระเบียบ เพื่ อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรชีวภาพและคํานึงถึงขีดจํากัดของทรัพยากรธรรมชาติที่จําเป็น ต้อง สงวนรักษาไว้ใช้ประโยชน์ในระยะยาว และ ( 2 ) ระบบบริหารจัดการฐานทรัพยากรชีวภาพ เพื่อการส่งต่อไปใช้ประโยชน์ ในเชิงเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยมีกิจกรรมการดําเนินการที่สําคัญ ได้แก่ การเร่งผลักดันให้มีการศึกษา สํารวจ และวิจัย เพื่อติดตามสถานภาพด้านทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพที่สําคัญ และต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์ ในภาคอุตสาหกรรม และการเตรียมกา รภายในประเทศเพื่อรองรับข้อกําหนดการกีดกันระหว่าง ประเทศ ส่งเสริม และสร้างความตระหนักรู้ในภาคการศึกษา เป็นต้น และกิจกรรมที่ส่งเสริมและ สนับสนุน ได้แก่ การปรับปรุง ระเบียบ และมาตรการที่คํานึงถึงขีดจํากัดของทรัพยากรธรรมชาติการพัฒนาฐานข้อมูลและเชื่อมโยงเครือข่าย กา รส่งเสริมความรู้และขีดความสามารถของบุคลากรในด้านการนําทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ตามแนวทาง เศรษฐกิจชีวภาพ เป็นต้น หน่วยงานรับผิดชอบหลัก ทส. สพภ. สผ. อ.ส.พ. หน่วยงาน สนับสนุน อว. ศธ. ส.อ.ท. สวทช. สอวช. วช. อปท. ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคการศึกษา
61 รูปภาพที่ 3 - 3 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลเพื่อการพัฒนาศักยภาพการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน
62 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลเพื่อการพัฒนาศักยภาพการใช้ทรัพยากร ทางทะเลอย่างยั่งยืน เป้าหมาย ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้รับการรักษาฟื้นฟูให้มีความสมบูรณ์และยั่งยืน เป็นฐาน การพัฒนาประเทศทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตัวชี้วัด 2 . 1 พื้นที่ที่ได้รับการผลักดันเป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่งเพิ่มขึ้น ( ร้อยละ ) 2.2 เขตพื้นที่สมดุลได้รับการประกาศเพิ่มขึ้น (พื้นที่) 2.3 พื้นที่ปะการังสมบูรณ์คงสถานภาพ ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 30 (ร้อยละ) 2.4 พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้น (ไร่) 2.5 ขยะทะเลได้รับการบริหารจัดการไม่น้อยกว่า 250 ตันต่อปี ( ตันต่อปี) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ถือเป็นฐานขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่มีความสําคัญของประเทศไทย และ ยังมีความสําคัญอย่างยิ่งที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคจนถึงระดับโลก ปัจจุบันสภาพของมหาสมุทร และชายฝั่งได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ สาเหตุสําคัญของการเปลี่ยนแป ลงดังกล่าว อาทิ การเปลี่ยนแปลง ของสภาพภูมิอากาศของโลก ส่งผลทําให้ความเป็นกรด อุณหภูมิ และระดับของน้ําในมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้น การใช้ ประโยชน์จากมหาสมุทรและชายฝั่ง เพื่อการผลิตอาหาร การตั้งถิ่นฐาน การท่องเที่ยว การผลิต และการ สร้าง พลังงาน จึงนําไปสู่การเสื่อมสภาพ ( Degradation) หรือการล่มสลาย ( Loss) ของระบบนิเวศทางทะเล โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการตายหรือการเสื่อมโทรมของปะการัง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารของระบบนิเวศทางทะเลเป็น อย่างมาก รวมทั้งมนุษย์ที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในการดํารงชี วิต อีกทั้งพบว่าสัตว์น้ําในทะเล กําลังถูกคุกคามและเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ในอนาคต นอกจากนี้ ปัญหามลพิษที่ก่อผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเล อาทิ ปัญหาขยะทะเลและการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในทะเล ภาวะน้ํามันรั่วไหลในทะเลยังส่งผลโดยตรงต่อ คุณภาพน้ําทะเลและระบบนิเวศ ผลของ การ เ ปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล ได้แก่ ป่า ชายเลน ป่าชายหาด ปะการัง แหล่งหญ้าทะเล แนวปะการัง สัตว์น้ํา และพืชทะเล รวมถึงปัญหาการกัดเซาะ ชายฝั่ง ซึ่งมีผลโดยตรงต่อความเสียหายที่เกิดผลกระทบต่อความสมดุลทางระบบนิเวศ และความหลากหลาย ทางชีวภาพของทรั พยากรทางทะเลและชายฝั่ง การดําเนินงาน เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ และยั่งยืน ในระดับโลก นานาประเทศต่างให้ความสําคัญต่อประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งมีการกําหนดแผน นโยบาย รวมถึงข้อตกลงต่าง ๆ ที่เน้นให้ความสําคัญต่อการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อาทิ เป้าหมายการ พัฒนาที่ยั่งยืน ( Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จาก มหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ( Conserve and s ustainably use the oceans, seas and marine resources for sustainable development) มี เป้าหมายย่อย ในการสร้างกรอบ การทํางาน ในการ จัดการอย่างยั่งยืนและปกป้องระบบนิเวศทางทางทะเลและชายฝั่ง อาทิ เ ป้าหมายย่อย ที่ 14.1 ป้องกันและลด มลพิษทางทะเลทุกประเภทอย่างมีนัยสําคัญ โดยเฉพาะจากกิจกรรมบนแผ่นดิน รวมถึงเศษซากขยะ ในทะเลและ มลพิษจากธาตุอาหาร ( N utrient pollution) ภายในปี พ.ศ. 2568 เป้า หมายย่อย ที่ 14.2 บริหารจัดการและ ปกป้องระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืนเพื่อหลีกเลี่ยงผลก ระทบที่ร้ายแรง รวมถึงการเสริมภูมิคุ้มกัน และปฏิบัติการเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศอันจะส่งผลให้มีมหาสมุทรที่อุดมสมบูรณ์และมีผลิตภาพ ภายในปี พ.ศ. 2563 เป้า หมายย่อย ที่ 14.3 ลดและแก้ปัญหาผลกระทบจากภาวะการเป็นกรดในมหาสมุทร โดยรวมถึงผ่าน ทางการเพิ่มพูนความร่วมมือทางวิทยา ศาสตร์ในทุกระดับ เป้า หมายย่อย ที่ 14.5 ภายในปี พ.ศ. 2563 อนุรักษ์
63 พื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งอย่างน้อยร้อยละ 10 โดยให้เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศและภายในประเทศ และอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดที่มีอยู่ เป้า หมายย่อย ที่ 14. เอ เพิ่มความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พัฒนาขีดความสามารถในการวิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีทางทะเล โดยคํานึงถึงหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติ เกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางทะเลของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยสมุทรศาสตร์ เพื่อจะปรับปรุง คุณภาพของมหาสมุทรและเพิ่มพูนให้ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลมีส่วนสนับสนุนการพัฒนาของ ประเทศกําลังพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะในรัฐกําลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็กและ ประเท ศพัฒนาน้อยที่สุด และเป้า หมายย่อย ที่ 14. ซี เพิ่มพูนการอนุรักษ์และการใช้มหาสมุทรและทรัพยากรอย่างยั่งยืน อนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ( United Nations Convention on the Law of the Sea: UNCLOS) เป็นข้อตกลงเพื่อกําหนดระเบียบกฎหมายทางทะเลและมหาสมุทร สําหรับการอนุรักษ์และการใช้ มหาสมุทร และทรัพยากรเหล่านั้นอย่างยั่งยืน ตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 158 ของเอกสาร The Future We Want เป็นต้น โดยคํานึงถึงอํานาจอธิปไตยของแต่ละรัฐตามความเหมาะสม ซึ่งการดําเนินงานจะเป็นการอํานวยความสะดวก ต่อการสื่อสารระหว่างประเทศและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางทะเลและมหาสมุทรอย่างสันติและเหมาะสม โดยกําหนดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทะเลและมหาสมุทรจะต้องเป็นไปอย่างเที่ยงธรรมและมีประสิทธิผล ตลอดจนต้องมีการอนุรักษ์ การศึกษา การคุ้ มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลควบคู่ไปกับ การใช้ประโยชน์ด้วย และ อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ ( International Convention for the Prevention of Pollution from Ships : MARPOL 73 / 78 ) เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศ ที่กําหนดขึ้นภายใต้ องค์การทางทะเล ระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมลพิษทางทะเลที่เกิดจากเรือ ทั้งที่เกิดจากการ เดินเรือและจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเรือ และครอบคลุมสิ่งที่ก่อมลพิษแก่สิ่งแวดล้อมทางทะเล ซึ่งอนุสัญญา ฉบับนี้จะวางกฎระเบียบให้รัฐภาคีต้องดําเนินการเพื่อลดและป้องกันมลพิษจาก เรือ และมีมาตรการลงโทษเรือ ที่ละเมิดกฎเกณฑ์ ใน ภูมิภาคอาเซียน ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีความหลากหลายทางระบบนิเวศที่อุดม สมบูรณ์ รวมพื้นที่ชายฝั่งทะเลของภูมิภาคอาเซียนมีความยาว 173,000 กิโลเมตร มีระบบนิเวศป่าชายเลน และแนวปะการังกว่าร้อยละ 35 และร้อยละ 30 ของระบบนิเวศป่าชายเลนและแนวปะการังทั้งหมดของโลก ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนมีการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สูง มาก โดยมีสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางทะเลของภูมิภาค คิดเป็ นร้อยละ 14 ของสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางทะเล ทั้งหมดของโลก ดังนั้น กิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จึงส่งผลกระทบ ทางลบต่อทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งเป็นอย่างมาก เกิดปัญหาความเสื่อมโทรม ด้านชายฝั่งและทะเลภาพรวมในภูมิ ภาคอาเซียนที่มีแนวโน้มความเสื่อมโทรมลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อการจัดการ และปกป้องระบบนิเวศทางชายฝั่งและทางทะเลอย่างยั่งยืน มีการผนวกประเด็นต่าง ๆ ผ่านนโยบายและแผน รวมทั้งกรอบความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ขึ้น อาทิ ปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเลในภูมิภาคอาเซี ยน ( The Bangkok Declaration on Combating Marine Debris in the ASEAN Region) ได้ลงนามรับรองโดยสมาชิก อาเซียน ใน การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อ วันที่ 22 มิถุนายน พ .ศ. 2 562 โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาขยะทะเลอย่างจริงจังและยั่งยืน โดยประเทศในภูมิภาคจะสนับสนุนนวัตกรรมแนวคิด เสริมสร้างศักยภาพงานวิจัย การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ โดยมี กรอบการปฏิบัติงานอาเซียนว่าด้วยขยะทะเล ( ASEAN Framework of Action on Marine Debris) ได้รับ การพัฒนาตามข้อเสนอแนะจากการประชุมอาเซียนว่าด้วยการลดปริมาณ ขยะทะเลในกลุ่ม ประเทศอาเซียน ( ASEAN Conference on Reducing Marine Debris in ASEAN Region 2017 ) ณ จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 - 24 พฤศจิกายน 2 560 ที่ ได้ดําเนินการทบทวนสถานะของมลพิษจากขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน ทั้งจากมุมมองในระดับโลก ระดับภูมิภาค และ ระดับท้องถิ่น รวมทั้งผนวกพันธกรณีของสหประชาชาติ คือ เป้าหมาย
64 การพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 14 และกลุ่มอาเซียน ได้จัดทํา พิมพ์เขียวประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ปี ค.ศ. 2025 ผนวก เข้ากับแผนและนโยบายระดับชาติ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ ในการปกป้อง ฟื้นฟู และการ ใช้ประโยชน์สิ่งแว ดล้อมทางทะเลและอย่างยั่งยืน ตอบสนองและจัดการกับความเสี่ยง ของมลพิษและภัยคุกคาม ต่อระบบนิเวศทางทะเลและสิ่งแวดล้อมชายฝั่ง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความอ่อนไหว ทางนิเวศวิทยา อีกทั้งมีการ แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายระดับชาติ แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด รวมถึงระบุช่องว่ำง และอุปสรรคที่เกิดขึ้น โดยเน้นการหารือถึงแนวทางหลัก 2 แนวทาง ในการแก้ไขปัญหา ได้แก่ แนวทางด้านนโยบาย และการจัดการ และแนวทางด้านเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ซึ่งรายละเอียดของกรอบการปฏิบัติงานอาเซียน ว่าด้วยขยะทะเล ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ( 1 ) การสนับสนุนนโยบายและการวางแผน เน้นการส่งเสริมการเจรจานโยบาย ระดับภูมิภาค ในการป้องกันและลดขยะทะเลจากกิจกรรมบนบกและในทะเลด้วยการแบ่งปันข้อมูลและความรู้ และเสริมสร้างการประสานงานระดับภูมิภาค รวมทั้งเสริมสร้างมาตรการนโยบายหลายภาคส่วน เพื่อจัดการ กับขยะทะเลในวาระและลําดับความสําคัญของการพัฒนาระดับชาติและอาเซียน เป็นต้น ( 2 ) การวิจัย นวัตกรรม และการพัฒนาศักยภาพ เน้นการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานระดับภูมิภาคเกี่ยวกับสถานะและผลกระทบของขยะทะเล ในภูมิภาคอาเซียนและส่งเสริมการบูรณาการและการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศำสตร์ เพื่อส่งเสริมการตัดสินใจ ทางวิทยาศาสตร์และนโยบายเกี่ยวกับการป้องกันและการจัดการขยะทะเล เป็นต้น ( 3 ) การสร้างความตระหนักรู้ การศึกษา และการประชาสัมพันธ์ เน้นการเร่งรัดกลยุทธ์/โครงการรณรงค์เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพื่อต่อสู้กับขยะทะเล ผนวกปัญหาขยะทะเลเข้าไว้ในโครงการริเริ่มด้านวัฒนธรรมของอาเซียน และส่งเสริม แพลตฟอร์มสําหรับการแบ่งปันความรู้ รวมถึงแนวทางการดําเนินงานที่เป็นนวัตกรรมและแนว ปฏิบัติที่ดีที่สุดในการ ต่อสู้กับขยะในทะเล เป็นต้น และ ( 4 ) การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน เน้นการบูรณาการการมีส่ วนร่วมของภาคเอกชน และอุตสาหกรรมในการดําเนินมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาขยะทะเล รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนในการต่อสู้กับขยะ ในทะเล เป็นต้น แผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคอาเซียนเพื่อการต่อต้านขยะทะเลในประเทศสมาชิกอาเซียน (พ.ศ. 2564 - 2568) ( ASEAN Regional Action Plan for Com bating Marine Debris 2021 - 2025 ) ที่จัดทําขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางการดําเนินงานของภูมิภาคอาเซียน มุ่งส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกร่วมมือกันและแสวงหาแนวทาง แก้ปัญหาในระยะยาวเกี่ยวกับการใช้และบริหารจัดการขยะทางทะเลของภูมิภาค โดยเน้นย้ําถึงสถานะปัจจุบัน และความท้าทายที่ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องเผชิญ ตลอดจนระบุแนวทางการจัดการตลอดห่วงโซ่คุณค่า ( Value chains) เพื่อต่อสู้กับการใช้ พลาสติกที่ไม่ยั่งยืน การจัดการขยะพลาสติ ก และมลพิษจากขยะในทะเลในอีก 5 ปีต่อจากนี้ ภายในแผนปฏิบัติการฯ กลยุทธ์ในการจัดการกับขยะพลาสติกในทะเลประกอบด้วยการจัดการ ใน 3 ขั้นตอนสําคัญของห่วงโซ่คุณค่าของขยะพลาสติก ประกอบด้วยการลดปัจจัยการผลิตเข้าสู่ระบบ การยกระดับ การจัดเก็บและลดการรั่วไหล และการสร้างมูล ค่าการนําขยะกลับมาใช้ใหม่ โดยแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว ครอบคลุมประเด็นสําคัญ 4 ด้าน เช่นเดียวกับกรอบการปฏิบัติงานอาเซียนว่าด้วยขยะทะเล การจัดการประชุม รัฐมนตรีอาเซียนสมัยพิเศษ ด้านขยะทะเล ( Special ASEAN Ministerial Meeting on Marine Debris : SAMM - MD) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2562 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้อาเซียนเป็นเวทีในการสํารวจและดําเนินการอย่างเป็น รูปธรรมในการต่อสู้กับปัญหาขยะในทะเลและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนและพันธมิตรที่สนับสนุน เพื่อแก้ไขปัญหาขยะในทะเลในภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพ ขยายการสนับสนุ นเพื่อผลักดันความเป็นหุ้นส่วน ที่ยั่งยืน ส่งเสริมการผนึกกําลัง ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน โดยเฉพาะการป้องกันขยะทะเลในภูมิภาค อาเซียน ตลอดจนหารือถึงแนวทาง ในอนาคตในการดําเนินการเพื่อการป้องกันและลดขยะใน ทะเล รวมถึง เห็นชอบที่จะส่งต่อปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการต่อ ต้านขยะทางทะเลในภูมิภาคอาเซียนที่ช่วยตอกย้ํา ความมุ่งมั่น ของอาเซียนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลและเสริมสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคในการแก้ไขปัญหา ขยะในทะเล เพื่อพิจารณาและรับรองโดยผู้นําอาเซียนในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 ณ กรุงเทพ มหานคร
65 ประเทศไทย การผลักดันการดําเนินความร่วมมือด้านขยะทะเลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศคู่เจรจา และหน่วยงานองค์การระหว่างประเทศ โดยร่วมดําเนินโครงการสําคัญ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการ Strengthening Capacity for Marine Debris Reduction in ASEAN Region through Formul ation of National Action Plans for ASEAN Member States and Integrated Land - to - Sea Policy Approach (Phase 1 ) และโครงการ ASEAN Proposal on Marine Debris เป็นต้น นอกจากนี้ มีการดําเนินงานร่วมกันของอาเซียนภายใต้กรอบความร่วมมือ Coordinating Body on the Seas of East Asia: COBSEA) ซึ่ง เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล โดยประเทศไทยเป็น หนึ่งใน 5 ประเทศที่ร่วมก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2524 เพื่อกําหนดนโยบายและทิศทางการดําเนินงานทางด้านทะเล ในภูมิภาค โดยการ ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเลและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง อย่างยั่งยืน ร่วมกัน ปัจจุบันมีสมาชิกรวม 10 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประเทศ มาเลเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธา รณรัฐเกาหลี ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐสิงคโปร์ และ ประเทศออสเตรเลีย ในการขับเคลื่อนการดําเนินงาน ของ COBSEA ที่สืบเนื่องจากการประชุม COBSEA IGM 25.1 ฝ่ายเลขาฯ ( COBSEA Secretariat) ได้มีการนําเสนอ ร่างเอกสารร่าง TOR ของ East Asian Seas Regional Node of the Global Partnership on Marine Litter (GPML) ซึ่งจัดตั้งขึ้นจากความร่วมมือ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลายฝ่าย และเป็นกลไกลระดับโลกในการป้องกันและแก้ไข ปัญหาขยะทะเลและไมโครพลาสติก โดยมีวั ตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันความรู้และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้านขยะทะเล และไมโครพลาสติก สร้างเครือข่ายและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในระดับภูมิภาค รวมทั้งสนับสนุนการดําเนินงาน ตามแผนงาน COBSEA Regional Action Plan on Marine Litter (COBSEA RAP MALI) สําหรับการดําเนินงาน COBSEA ของประเทศไทย มีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นหน่วยงานกลางประสานการดําเนินงาน ที่ผ่านมา ได้ร่วม รับรองร่างยุทธศาสตร์ COBSEA ด้านขยะทะเล ซึ่ง ยุทธศาสตร์ COBSEA ปี พ.ศ. 2561 - 2565 (COBSEA Strategic Direction 2018 - 2022) ได้นํามติที่ประชุม United Nations General Assembly (UNGA) ในหัวข้อ Transforming Our World: The 2030 Agenda for Sustainable Development ซึ่งมีการนํา SDG 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร และทรัพยากรทางทะเลมาเป็นกรอบในการดําเนินงาน โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าว เป็นกรอบการดําเนินงานในการปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ระยะ 5 ปี ( พ .ศ. 2561 - 2565 ) โดยได้รับการเห็นชอบจากประเทศสมาชิก COBSEA ในการประชุม Second Extraordinary Intergovernmental Meeting of the Coordinating Body on the Sea of East Asia (EO - IGM - COBSEA) เมื่อวันที่ 25 - 26 เมษายน 2561 ซึ่งครอบคลุมใน 2 ด้าน คือ (1) ด้านการบริหารงาน ( Governance t heme) โดยเห็นชอบร่วมกันให้ COBSEA เป็นเวทีแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ นโยบาย รวมทั้งเผยแพร่แนวทางปฏิบัติที่ดี เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และ (2) การดําเนินงาน ( Substantive t heme) มุ่งเน้นการ ดําเนินงานด้านมลพิษทางบก ( Land base pollution) และด้านการวางแผนและจัดการทางทะเลและชายฝั่ง ( Marine and coastal planning and management) ประเทศไทยมีการผนวกประเด็นการอนุรักษ์ฟื้นฟู และปกป้องระบบนิเวศทางทะเล รวมถึงการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเข้าสู่นโยบาย และ แผน รวมทั้งกรอบอนุสัญญาความร่วมมือต่าง ๆ ตามประเด็นสําคัญ อาทิ ประเด็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเล ที่องค์การ สหประชาชาติได้กําหนดอยู่ใน SDG 14 เป้า หมายย่อย ที่ 14.5 ภายในปี พ.ศ. 2563 อนุรักษ์พื้นที่ทางทะเล และชายฝั่งอย่างน้อยร้อยละ 10 ให้เป็นไปตามกฎหมายในประเทศและระหว่างประเทศโดยอยู่บนพื้นฐานของ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุด ภายใต้ตัวชี้วัด 14.5.1 ขอบเขตพื้นที่คุ้มครองที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางทะเล ทั้งนี้ มีหน่ว ยงานที่รับผิดชอบได้แก่ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สํานักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมประมง ซึ่งในการดําเนินงานได้มีการ ประกาศพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลเข้าสู่แผนและนโยบายต่าง ๆ อาทิ ยุทธศาสต ร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580
66 ในยุทธศาสตร์ชาติด้านที่ 5 การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แผนย่อยการ สร้างการ เติบโต อย่างยั่งยืนบนสังคม เศรษฐกิจภาคทะเล แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) ประเด็น (18) การเติบโตอย่างยั่งยืน แผนย่อยการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล แผนการปฏิรูป ประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ประเด็นการบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและสัตว์ทะเล มีแผนต่าง ๆ อาทิ แผนปฏิบัติการ อาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2568 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562) ภายใต้ ยุทธศาสตร์ที่ 2 สิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหาร จัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 พระราชกําหนดการประมง พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติ อุทยานแห่งชา ติ พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ที่กําหนดพื้นที่ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมขึ้นโดยอาศัยอํานาจ ตามมาตรา 43 - 45 เป็นต้น ประเด็นการบริหารจัดการ พื้นที่ชายฝั่งทะเล เพื่อให้การจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่มีการใช้ประโยชน์ที่เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ และยั่งยืน ภาครัฐและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้มีการกําหนดแผน นโยบาย และเข้าร่วม ในข้อตกลงต่าง ๆ อาทิ พระราชบัญญัติส่งเสริม การบริหารจัดการทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง ที่ไ ด้กําหนด หลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการ การบํารุงรักษาการอนุรักษ์ การฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและการ ป้องกัน การกัดเซาะชายฝั่ง ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 ใน ด้านที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโต บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประเด็นที่ 2 สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคม เศรษฐกิจภาคทะเล มุ่งเน้นการให้ความสําคัญกับการสร้างการเติบโตของประเทศจากกิจกรรมทางทะเลที่หลากหลายควบคู่ไปกับ การดูแลฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทั้งหมด แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาส ตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580 ) ประเด็น (18 ) การเติบโตอย่างยั่งยืน แผนย่อยการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) ในหมุดหมายที่ 10 ไทยมี เศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ํา กลยุทธ์ที่ 3 การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้ ทรัพยากรอย่างชาญฉลาดบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหมุดหมายที่ 11 ไทยสามารถลด ความเสี่ยงและ ผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลยุทธ์ที่ 4 การอนุรักษ์ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติระบบนิเวศเพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากา ศ แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ในกิจกรรมปฏิรูปที่ 2 การบริหารจัดการเขตทางทะเลและชายฝั่งรายจังหวัด นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2580 ใ น นโยบายที่ 1 จัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างมั่นคงเพื่อความสมดุล เป็นธรรมและยั่งยืน แผนแม่บทอุทยานแห่งชาติ แบบบูรณาการ พ.ศ. 2560 - 2564 ใ น ยุทธศาสตร์ที่ 1 การคุ้มครอง ดูแลรักษาทรัพยากร แผนความมั่นคง แห่งชาติทางทะเล (พ.ศ. 2558 - 2564 ) เป็นหลักสําหรับรองรับการดําเนินการของหน่วยงานภาครัฐ และ ภาคส่วน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วม พลังพิทักษ์ปกป้องและรักษาผลประโยชน์ชองชาติทางทะเล แผนแม่บท บูรณาการ จัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2558 - 2564 และแผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2560 - 2565 ในยุทธศาสตร์ที่ 2 อนุรักษ์ และฟื้นฟูความหลากหลายทาง ชีวภาพ แผนปฏิบัติการ อาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2568 ( ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562 ) ในยุทธศาสตร์ที่ 2 สิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง และยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 - 2569 ในยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างความยั่งยืนของฐานทรัพยากร และความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยการจัดสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ ประเด็นการวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลที่มี การ ผนวกเข้าสู่ SDG 14 ในเป้า หมายย่อย ที่ 14.2 การบริหาร จัดการและปกป้องระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง อย่างยั่งยืนที่เสนอแนะให้มีการบริหารจัดการโดยใช้แนวทางเชิงระบบนิเวศรวมทั้งการวางแผนการใช้ประโยชน์ พื้นที่ทางทะเลเป็นตัวชี้วัดการขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุ เป้าหมาย ซึ่งการดําเนินงานของประเทศไทย มีการผนวก
67 ประเด็นการแบ่งเขตกำรใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งตามแนวคิดการวางแผนเชิงพื้นที่ทางทะเล (Marine Spatial Planning) เข้าสู่แผนและนโยบายต่าง ๆ อาทิ แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ในกิจกรรม ปฏิรูปที่ 2 การบริหารจัดการเขตทางทะเลและชายฝั่งรายจังหวัด แผนปฏิบัติการอาเซียนด้า นสิ่งแวดล้อม ของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2568 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562) และรวมอยู่ในนโยบายแผนและโครงการ ระดับชาติ ประเด็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งที่สําคัญ กรมทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานสถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทย ปี 2564 พบว่า ทรัพยากรปะการัง มีพื้นที่ 149 , 183 ไร่ สถานภาพ โดยรวมสมบูรณ์ดี แนวโน้มสมบูรณ์ขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2563 พื้นที่ป่าชายเลนมีแนวโน้มเ พิ่มมากขึ้น และ สถานภาพดีขึ้น ทรัพยากรหญ้าทะเลมีแนวโน้มสมบูรณ์ขึ้น ปริมาณขยะทะเลมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงไป ในทาง ที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ต้องดําเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ปัญหาการจับสัตว์น้ํา การทําลาย ป่าชายเลน การสูญเสียสัตว์ทะเลหายาก โดยมีการดําเนินงานฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลภายใต้แผนและนโยบายต่าง ๆ อาทิ ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 ในด้านที่ 5 การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แผนย่อยการ สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล แผนแ ม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) ประเด็น (18) การเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้ แผนย่อยการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน บนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2560 - 2579 ภายใต้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการป่าไม้และความหลากหลาย ทางชีวภาพ โดยมีเป้าหมายครอบคลุมถึง การ เพิ่มความสมบูรณ์ของแนวปะการัง แหล่งหญ้าทะเล และ ระบบนิเวศทางทะเล ประเด็นการบริหารจัดการ มลพิษที่ก่อผลกระทบ ทางทะเล มลพิษที่ก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อระบบนิเวศทางทะเล ประเทศไทยได้ตระหนัก ถึงปัญหามลพิษทางทะเล และชายฝั่ง จึงได้มีการดําเนินงานในด้านการบริหารจัดการ มลพิษที่ก่อผลกระทบ ต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อให้ระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลมีความ ยั่งยืน โดยได้ บูรณาการระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องผ่านนโยบายและแผนต่าง ๆ อาทิ กา รดําเนินการ ภายใต้ SDG 14 เป้า หมายย่อย ที่ 14 . 1 ป้องกันและลดมลพิษทางทะเลทุกประเภทอย่างมีนัยสําคัญ โดยเฉพาะจากกิจกรรม บนแผ่นดิน รวมถึงขยะในทะเลและมลพิษจากธาตุอาหาร ( N utrient pollution) ภายในปี พ.ศ. 2568 และผ่าน แผนของหน่วยงาน อาทิ ยุทธศาสตร์การจัดการมลพิษ 20 ปี และแผนการจัดการมลพิษ พ.ศ. 2560 – 2564 ของกรมควบคุมมลพิษ แผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ําเนื่องจากน้ํามัน แห่งชาติ ของกรมเจ้าท่า เป็นต้น 1 . ประเด็นพัฒนา การพัฒนาประเทศทําให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ตลอดจน นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อีกทั้งจํานวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ทําให้มีการใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ เป็นที่อยู่ อาศัยของ สัตว์น้ํา ตลอดจนสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ จึงก่อให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ ตามมามากมาย อาทิ ความเสื่อมโทรม ของทรัพยากร ความขัดแย้งใน การใช้ประโยชน์ที่ดินชายฝั่งทะเล การกัดเซาะชายฝั่งทะเลอย่างรุนแรง ปริมาณ สัตว์น้ําที่จับได้ลดลงอย่างมาก เป็นต้น ดังนั้น การอนุรักษ์ และฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลให้มีการพัฒนาศักยภาพ ในการใช้ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งอย่างยั่งยืน บรรลุตามเป้าหมายที่กําหนดภายใต้ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ประเด็นพัฒนาที่สําคัญดังนี้ พื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พื้นที่ประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทย จัดเป็นพื้นที่ที่ มี การ บํารุงรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การคุ้มครองและการดูแล รักษาสภาพทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ให้ อยู่ในสภา พสมบูรณ์ มีแนวปะการัง
68 ที่สําคัญ และเป็นแหล่งหากินของชนิดพันธุ์สัตว์หายาก เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพและมีระบบนิเวศ ที่ สมบูรณ์ โดยลักษณะสภาพทางธรรมชาติอาจมีความเปราะบางและเสี่ยงต่อการถูกทําลายได้ง่ายจากการดําเนิน กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น การท่องเที่ ยว และการทําประมง ดังนั้น พื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่ง จะมีการกําหนดมาตรการคุ้มครอง เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพทางธรรมชาติเดิม เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และขยายพันธุ์ของปะการังและสัตว์ทะเลหายาก ตลอดจนการส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ใน การ ดําเ นินงานคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทย ในห้วงระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา พบว่า พื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น โดย ปัจจุบันมีพื้นที่คุ้มครองทางทะเลทั้งหมดประมาณ 15 , 712 ตารางกิโลเมตร (หักลบพื้นที่ซ้อนทับ) คิดเป็น ร้อยละ 4 . 86 ของพื้นที่ทะเลไทย ซึ่ง หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องได้มีการดําเนินงานต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมาอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2564 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีการประกาศพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่งแล้วในราชกิจจานุเบกษา เพิ่มขึ้นจากเดิม จํานวน 2 พื้นที่ รวม 375 ตารางกิโลเมตร ได้แก่ หมู่เกาะกระ จังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่ 229 ตารางกิโลเมตร ประกาศเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 และเกาะโลซิน จังหวัดปัตตานี พื้นที่ 146 ตร.กม ประกาศเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 และมีพื้นที่คุ้มครอง ทรั พยากร ทางทะเลและชายฝั่งที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายและแผนบริหารจัดการทรัพยากร ทางทะเล และชายฝั่งแห่งชาติ จํานวน 12 พื้นที่ รวมพื้นที่ประมาณ 2,636 ตารางกิโลเมตร ทั้งนี้ การดําเนินงานด้านพื้นที่ คุ้มครองทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง ที่ผ่านมายังคงมีข้อจํากัดและช่องว่างในเรื่องการจัดตั้ง และความครอบคลุม ของ พื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งการเป็นตัวแทนของพื้นที่คุ้มครอง ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง ดังนั้น เพื่อการจัดการ พื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อย่างเป็น ระบบและยั่งยืน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ต้องร่วมมือกันแบบบูรณาการ เพื่อปกป้อง และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่ง และเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน พื้นที่ชายฝั่งทะเลได้รับการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม ประเทศไทยมีจังห วัดที่มีพื้นที่ทะเลทั้งหมด 23 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดทางฝั่งอันดามัน 6 จังหวัด และฝั่งอ่าวไทย 17 จังหวัด โดยพื้นที่ชายฝั่งรวมทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 255,072.75 ตารางกิโลเมตร ซึ่ง ภาคตะวันออก มีพื้นที่ 22,423 ตารางกิโลเมตร ภาคกลาง มีพื้นที่ 16,454.64 ตารางกิโลเมตร และภาคใต้ มีพื้นที่ 66,195.11 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ชายฝั่งทะเลคือ บริเวณพื้นที่ที่มีการเชื่อมต่อกันระหว่างพื้นดินและ พื้น ทะเล ด้วยลักษณะของพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลทั้งจากแผ่นดินและทะเล จึงมีการเปลี่ยนแป ลงเองตามธรรมชาติ ตลอดเวลาและการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่สา มา รถฟื้นตัวหรือปรับสภาพเข้าสู่สมดุลได้เอง จัดเป็นบริเวณที่มี ศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาสูง และยังเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่า มีระบบนิเวศที่หลากหลาย โดยบทบาทและความสําคัญของพื้ นที่เขตชายฝั่งทะเล ได้แก่ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ของสิ่งมีชีวิต แหล่งอาศัยและวางไข่ของสัตว์น้ํา แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งอาหารและทําการประมง รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาทางธรรมชาติ ปัจจุบันพื้นที่ชายฝั่งทะเลถูกใช้ประโยชน์ในหลายกิจกรรมและรูปแบบ โดยเกิดทั้งจากกิ จกรรมของมนุษย์และภัยพิบัติทางธรรมชาติ ส่งผลทําให้แหล่งที่อยู่อาศัยในธรรมชาติถูกรบกวน แหล่งอาหาร และพื้นที่อยู่อาศัยและวางไข่มีน้อยลง ทําให้อัตราการตายสูงขึ้น ซึ่งผลกระทบจากกิจกรรมต่าง ๆ จึงเป็น ภัยคุกคามที่ทําให้เกิดผลกระทบมากมาย ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และ ชุมชนต่างเล็งเห็นถึง การ ดูแล รักษา อนุรักษ์ และฟื้นฟูพื้นที่ชายฝั่งทะเล โดยการดําเนิน การ บริหารจัดการทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่งผ่านแผนงาน โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พื้นที่ชายฝั่งทะเลได้รับการบริหารจัดการอย่าง เหมาะสมดังนี้
69 การกัดเซาะชายฝั่ง สถานภาพ ชายฝั่งทะเลของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2563 ครอบคลุมพื้นที่ 2 3 จังหวัด มีความยาว ทั้งสิ้น 3 , 151.13 กิโลเมตร แบ่งออกเป็นชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย 2 , 039.78 กิโลเมตร และ ชายฝั่งทะเล อันดามัน 1,111.35 กิโลเมตร ปัจจุบันการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การพัฒนาทาง เศรษฐกิจทําให้พื้นที่ชายฝั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร และยังส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงที่เกิด ตามธรรมชาติ ที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นจนไม่สามารถปรับเข้าสู่สมดุลได้ โดยปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง คือ ลักษณะทางกายภาพของชายฝั่งที่ขาดความสมดุลของตะกอน ซึ่งเกิดจากการกระทําของมนุษย์ ส่งผลให้ เกิดการรบกวนระบบของธรรมชาติและเกิดผลกระทบต่อเนื่อ งในพื้นที่ข้างเคียง ความรุนแรงของ การกัดเซาะชายฝั่งทะเลเกิดขึ้นตลอดแนวชายฝั่งอ่าวไทย มากกว่าอันดามัน และ พบว่าบางพื้นที่ ชายฝั่งอ่าวไทยเกิดการกัดเซาะที่ มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะจังหวัดที่มีพื้นที่ ถูก กัดเซาะมากกว่าอัตรา 5 เมตรต่อปี ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ เป็นต้น โ ดยสาเหตุหลัก เกิด จากคลื่นและลม วาตภัย อุทกภัย หรือจากกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตในบริเวณนั้น คลื่นเป็น ปัจจัย สําคัญในการเปลี่ยนแปลงลักษณะของตะกอนและทรายชายฝั่ง รวมถึงกิจกรรมของมนุษย์ที่ช่วยเร่ง สถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งให้รุนแรงมากยิ่งขึ้น อาทิ การสร้างท่าเรือน้ําลึก ถมทะเลเพื่อสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ การสร้างโรงแรม ที่พักที่รุกล้ําเข้าไปแนวสันทรายชายฝั่ง การสร้างเขื่อน ฝายหรืออ่างเก็บน้ําต้นน้ํา การบุกรุก ทําลายพื้นที่ ป่าชายเลนเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์ น้ํา การสูบน้ําบาดาล และการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศโลกที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ําทะเล เป็นต้น การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งมีความจําเป็น ต้อง มีการศึกษา วางแผน และเข้าใจสาเหตุทั้งจากกระบวนการทางธรรมชาติ และกิ จกรรมการใช้ประโยชน์ทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่งของมนุษย์ เพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างเป็นระบบและยั่ งยืน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ ดําเนินการติดตามประเมินคุณภาพของมหาสมุทร ( Ocean Health Index) ด้วยการประเมินความสามารถของมหาสมุทรที่ให้ปร ะโยชน์สําคัญแก่มนุษย์ อยู่ในประเด็นด้าน ศักยภาพในการป้องกันชายฝั่ง ( Coastal Protection) นอกจากนี้ ยังมีการดําเนินงานเพื่อส่งเสริมการแก้ไข การกัดเซาะชายฝั่ง อาทิ การจัดทํามาตรการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง มาตรการสีขาว สีเขียว และสีเทา การจัดทําข้อมูลทางวิชาการเพื่ อนําไปใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่งอย่างเป็นระบบ การดําเนินการปักไม้ไผ่ เพื่อชะลอความรุนแรงของคลื่น แล้ว 13 จังหวัด ระยะทางไม้ไผ่รวมกว่า 103 กิโลเมตร (ปี พ.ศ. 2550 - 2565) การปลูกป่าชายเลนใน 19 จังหวัด เป็นต้น การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล และชายฝั่ง พื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งถือเป็นแหล่งทรัพยากรที่สําคัญยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม อย่างไรก็ ดี ยังขาดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การขาดการทํางาน ร่วมกันแบบบูรณาการ ความขัดแย้ง และความซ้ําซ้อนในบทบาทหน้าที่ และการขาดการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจั ง เป็นสาเหตุสําคัญที่นํามาสู่ปัญหา ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การบริหารจัดการพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง ที่ คํานึงถึง วัตถุประสงค์ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จะก่ อให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศเพื่อเป็นแหล่ง พันธุกรรมความหลากหลายทางชีวภาพ แหล่งอาหาร แหล่งท่องเที่ยว แหล่งพลังงาน นันทนาการ และการใช้ ประโยชน์อื่น ๆ และแก้ไขความขัดแย้งบนฐานข้อมูลที่ถูกต้องตรงกันในอนาคต ดังนั้น จึง ได้มีการจัดตั้งโครงการ วางแผนเชิงพื้นที่ทางท ะเล ( Marine Spatial Planning Programme) ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วย สมุทรศาสตร์ ( The Intergovernmental Oceanographic Commission of UNESCO : IOC - UNESCO) ที่ มี จุดมุ่งหมาย เพื่อช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ดําเนินการหาพื้นที่สําหรับความหลากหลายทางชีวภาพ การอนุรักษ์ และ การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในพื้นที่ทางทะเลและมีการจัดการบนฐานของระบบนิเวศ เพื่อทําให้การจัดการ
70 พื้นที่ทะเลและชายฝั่งมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากขึ้น และมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการ จัดการภาคส่วนที่ไม่ประสานบูรณาการกัน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีการศึกษาและดําเนินโครงการ นําร่องในการแบ่งเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งตามแนวคิดการวางแผนเชิงพื้นที่ทางทะเล ดังนี้ การศึกษารวบรวมข้อมูล ประเด็นปัญหาความจําเป็นและขอบเขตอํานาจหน้าที่ ของหน่วยงานเพื่อกําหนดการ วางแผนเชิงพื้นที่ให้เหมาะสม การศึกษารวบรวมข้อมูลการใช้ประโยชน์ประมวลและวิเคราะห์สถานการณ์ (ปัจจุบัน และ แนวโน้มในอนาคต) ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี พื้นที่อ่าวพังงา ครอบคลุม 3 จังหวัดคือ จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ และจังหวัดภูเก็ต และพื้นที่เกาะพยาม จังหวัดระนอง การจัดทําระบบบัญชี มหาสมุทร ( Ocean Account) และมีการจัดทํา (ร่าง) แผนที่ทรัพยากรและแผนที่การใช้ประโยชน์ทรัพยากร ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งที่สําคัญ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทยเป็นแหล่งทรั พยากรที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความ หลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศ ในปัจจุบันการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจะมีความ เชื่อมโยงร่วมกันของสิ่งมีชีวิตทั้งในระบบนิเวศบกและทะเล ซึ่งผลสืบเนื่องของการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ หนึ่งจะส่งผลดีต่ออีกระบบหนึ่งที่จะเชื่อมโยงกันทําให้ระบบนิเวศทุกระบบยังคงความอุดมสมบูรณ์ที่จะส่งต่อ การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนไปยังคนรุ่ นหลังต่อไป อย่างไรก็ตาม ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งก็ยังได้รับ ผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากกิจกรรมของมนุษย์และทางธรรมชาติ ดังนั้น จึงต้องได้รับการอนุรักษ์ และฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง ในการดําเนินงานเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG 14 อนุรักษ์และใช้ ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้า หมายย่อย ที่ 14.2 การบริหาร จัดการและปกป้องระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืนภายในปี 2563 โดยระบบนิเวศทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่งที่มีการดําเนินงานและให้ความสําคัญดังนี้ ปะการัง แนวปะการั งเป็นระบบนิเวศที่มีความซับซ้อน และเป็นบริเวณที่มีความหลากหลาย ทางชีวภาพสูง เนื่องจากเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย หลบภัยของสัตว์น้ําตั้งแต่วัยอ่อนจน ถึง โตเต็มวัย แนวปะการัง จึงเป็นทั้งแหล่งอาหาร แหล่งทําการประมง เป็นแหล่งของกลไกตามธรรมชาติทางทะเล กล่าวคือเป็นแหล่งกําเนิด ของเม็ดทราย ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ที่สําคัญยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชุมชนและ ประเทศอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อร ะบบนิเวศปะการังค่อนข้างมาก จนทําให้เกิดความเสื่อมโทรมที่ส่งผลกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศ ทางทะเลที่จะถูกทําลายลงไปด้วย สถานการณ์ปะการังของประเทศไทย มีสถานภาพแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยพื้นที่ แนวปะการัง ใน 17 จังหวัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.05 จากปี พ.ศ. 2558 มีสถานภาพตั้ งแต่เสียหายมากถึงสมบูรณ์ ดีมาก อย่างไรก็ตาม ความเสื่อมโทรมและการสูญเสียแนวปะการังตามธรรมชาติในพื้นที่ ได้แก่ แนวปะการัง ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี พังงา และตราด ยังคง เป็นปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง เนื่องจาก จะ ส่งผลกระทบต่อสมดุลของระบบนิเวศแ ละทรัพยากรทางทะเล ทําให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรและความหลากหลาย ทางชีวภาพ ทําให้สัตว์น้ําที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจลดจํานวนลง นําไปสู่การลดลงของฐานทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่งโดยรวม ที่อาจทําให้เกิดความต้องการใช้ทรัพยากรที่เกิน ศักยภาพของธรรมชาติ ตลอดจน ปัญหาความขัดแย้ง จากการแย่งชิงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดและความเหลื่อมล้ํา ของการเข้าถึงทรัพยากร การดําเนินงานที่ผ่านมาเพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ปะการัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการจัดวางปะการังเทียม เพื่อเพิ่มความหลากหลายของระบบนิเวศ เป็นพื้นที่รวม 123 , 000 ตารางเมตร ทําให้ผลผ ลิตของสัตว์น้ํามีเพิ่ม มากขึ้น ประชาชนมีรายได้จากการทําประมงและการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาวิจัย ถึงการจัดวาง ปะการังเทียม เนื่องด้วยการวางปะการังเทียมที่ไม่เหมาะสม อาจนํามาซึ่งปัญหาและผลกระทบ ทั้งต่อระบบนิเวศและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทั้งนี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้มีการดําเนินการ
71 ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ปะการังอย่างยั่งยืน ได้แก่ โครงการสํารวจประเมินสถานภาพทรัพยากรปะการัง โครงการประเมินสถานการณ์ปะการังฟอกขาวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแ ปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการฟื้นฟู ทรัพยากรปะการังแบบบูรณาการทุกภาคส่วน ดําเนินการปลูกฟื้นฟูปะการัง โดยวิธี Coral Propagation บริเวณพื้นที่อ่าวมาหยา อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา – หมู่เกาะพีพี และได้สํารวจติดตามสถานภาพ ปะการังบริเวณดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และปลูกฟื้ นฟูปะการังทดแทนตัวที่ตายลงไป จากการสํารวจสถานภาพ ปะการังบริเวณดังกล่าว พบร้อยละปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นต้น ป่าชายเลน ระบบนิเวศป่าชายเลนเป็นกลุ่มของสังคมพืชที่ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ไม่ผลัดใบ โดยมี ลักษณะทางสรีวิทยาและการปรับตัวทางโครงสร้ำงที่คล้ายคลึงกันและการขึ้นของพรรณไม้ในป่าชายเลน จะขึ้นอยู่กับแนวเขต ซึ่งแตกต่างไปจากสังคมพืชป่าบก ทั้งนี้ เพราะอิทธิพลจากลักษณะของดิน ความเค็มของ น้ําทะเลและการขึ้นลงของน้ําทะเลเป็นสิ่งสําคัญต่อแนวเขตที่เด่นชัดของป่าชายเลน โดยทนต่อสภาพความเค็ม ได้ ดังนั้น ระ บบนิเวศป่าชายเลน จึงเป็นปราการด่านแรกระหว่างบกกับทะเล ซึ่งจะประกอบด้วยพันธุ์ไม้ สัตว์ หลากหลายชนิด ตลอดจนสภาพแวดล้อมอื่น ๆ อยู่รวมกันเป็นระบบ เช่น การขึ้นลงของน้ําทะเล ดินเลนที่มี อินทรียสารสูง สถานภาพของพื้นที่ป่าชายเลน จากการแปลภาพถ่ายดาวเทียมของกรมทรัพยากร ทางทะเลและ ชายฝั่งร่วมกับสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ปี พ.ศ. 2563 พบว่า พื้นที่ป่าชายเลนของประเทศไทย จะกระจายอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ รวม 24 จังหวัด โดยมีพื้นที่ป่าชายเลนคงสภาพทั้งหมดประมาณ 1,737,020 ไร่ ทั้งนี้ ข้อมูลแนวโน้ม 10 ปี (พ.ศ. 2555 - 2564) สภาพป่าชายเลน พบมีแน้วโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลล่าสุดในปี พ.ศ. 2563 มีพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้น โดยเหตุผลที่ทําให้พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี เนื่องจากรัฐได้มีมาตรการป้องกัน การบุก รุกทําลาย การดําเนินการ ทวงคืนพื้นที่ป่าชายเลนและปลูกป่าชายเลนในพื้นที่ที่ได้ยึดคืน ตลอดจน มีการ รณรงค์ สนับสนุน สร้างจิตสํานึก ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ จึงทําให้พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ. 2565 กรมทรัพยากรทางทะเลแล ะชายฝั่ง ได้ รายงานผลการดําเนินโครงการเพื่อการดูแลรักษาและฟื้นฟูป่าชายเลน อาทิ โครงการปลูกป่าชายเลน ได้ดําเนินการปลูกป่าชายเลนปลูกป่า จํานวน 2,590 ไร่ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การป้องกันและรักษาทรัพยากรป่าชายเลน โดยมีการดําเนินงาน ได้แก่ 1) การบูรณาการทวงคืน (พลิกฟื้น) ผืน ป่าชายเลน ดําเนินการในท้องที่จังหวัดกระบี่ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดชุมพร จังหวัดตรัง จัง หวัดตราด จังหวัด นครศรีธรรมราช จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดปัตตานี จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง จังหวัดระยอง จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล และ จังหวัดสมุทรปราการ จํานวนรวม 106 คดี ผู้ต้องหารวม 59 รายเนื้ อที่ บุกรุกรวม 2,843.13 ไร่ 2) การรื้อถอนและทําลำยพืชผลอาสินในพื้นที่ทวงคืน ได้ดําเนินการรื้อถอนทําลาย พืชผล อาสินในพื้นที่ทวงคืน 5 , 526.48 ไร่ เพื่อนําพื้นที่ปลูกฟื้นฟูป่าชายเลนต่อไป และ 3) งานลาดตระเวนและ ป้องกันรักษาป่าชายเลน ได้ดําเนินการลาดตระเวนในท้องที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัด เพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดตรัง จังหวัดสตูล จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดชลบุรี จังหวัดฉะเชิงทรา จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดชุมพร จังหวัดสงขลา จังหวัด นครศรีธรรมราช จังหวัดปัต ตานี จังหวัดกระบี่ และ จังหวัดภูเก็ต จํานวนรวม 1,854 ครั้ง ระยะทางลาดตระเวนรวม 26,545.40 กิโลเมตร หญ้าทะเล เป็นระบบนิเวศทางทะเลที่สําคัญในการเป็นแหล่งอนุบาล วางไข่ ที่อยู่อาศัยและ แหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ทะเลและสัตว์น้ําเศรษฐกิจ ได้แก่ กุ้ง หอย ปู และปลำ เป็นต้น ซึ่งมีช่วงชีวิต ที่ต้องอยู่ในระบบนิเวศแหล่งหญ้าทะเล นอกจากนี้ แหล่งหญ้าทะเลยังเป็นที่อยู่อาศัยและอาหารสําคัญของสัตว์ ทะเล หายากและใกล้สูญพันธุ์ เช่น พะยูน และ เต่าทะเล เป็นต้น รวมทั้งมีความสําคัญทางด้านเศรษฐกิจจากการทํา ประมงที่สําคัญ ของชุมชนชายฝั่งทะเล แหล่งหญ้าทะเลในประเทศไทยพบเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณชายฝั่งน้ํา
72 ตื้น แพร่กระจายในหลายรูปแบบพื้นที่ เช่น แหล่งน้ํากร่อยบริเวณปากแม่น้ํา ชายฝั่งน้ําตื้นที่มีพื้นทรายปนโคลน หรือขึ้นปะปนกับแนวป ะการัง โดยขอบเขตพื้นที่ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งหญ้าทะเล ในปี พ.ศ. 2563 มีพื้นที่ ประมาณ 160,628 ไร่ ใน 17 จังหวัดชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้สํารวจและติดตาม สถานภาพแหล่งหญ้าทะเล พบว่า พื้นที่แหล่งหญ้าทะเลใน 19 จังหวัด เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.91 จากปี พ.ศ. 2 558 โดยมีสถานภาพสมบูรณ์ถึงสมบูรณ์มากที่สุด โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดตราดและ ชลบุรี แต่ในบางพื้นที่ที่ อยู่ใกล้แนวเส้นทางการเดินเรือ แหล่งอุตสาหกรรม แหล่งท่องเที่ยว และชุมชนขนาดใหญ่ ใกล้ชายฝั่งกําลังประสบ ปัญหาความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศและทรัพยากรหญ้าทะเล ซึ่งส่ง ผลกระทบต่อความหลากหลายทาง ชีวภาพ ซึ่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้มีการดําเนินโครงการฟื้นฟู ทรัพยากรหญ้าทะเลแบบบูรณาการ ทุกภาคส่วน โดยมีการมอบหมายหน่วยงานในสังกัด ดําเนินการในพื้นที่ต่าง ๆ ที่เหมาะสม มลพิษที่ก่อผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเล มลพิษทางทะเลและชายฝั่ง เกิดจากการ ระบาย สารมลพิษในรูปแบบต่าง ๆ ลงสู่ทะเลและชายฝั่ง แล้วก่อให้เกิดกระทบต่อสภาพแวดล้อม สิ่งมีชีวิต พืชและสัตว์ในทะเล ส่งผลให้ คุณภาพสิ่งแวดล้อมทางทะเล และชายฝั่ง เสื่อมโทรมลง ปัจจุบันพบว่า ปัญหามลพิษทางทะเลมีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มขึ้ น เช่น มลพิษจากขยะ น้ําทิ้งจากชุมชน และมลพิษจากน้ํามัน เป็นต้น โดยผลกระทบที่เชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องจะเกิดขึ้นต่อระบบนิเวศ แหล่งอาหาร การทําประมง เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การดําเนินงานขับเคลื่อนเป้าหมาย SDGs มีความเกี่ยวข้อง กับ หลายภาคส่วนและต้องแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้น ทางด้วยการบริหารจัดการขยะและมลพิษที่มีต้นกําเนิดบนแผ่นดิน อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดปริมาณขยะทะเล และปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชั่น ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสัตว์ทะเล และความสมดุลของระบบนิเวศทางทะเล ในการ นี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการดําเนินงานและให้คํามั่นโดย สมัครใจในการปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเลของประเทศไทย ที่มีดําเนินงานผ่านนโยบายและแผนต่าง ๆ ของหน่วยงาน อาทิ กรมควบคุมมลพิษ มีการจัดทํายุทธศาสตร์การจัดการมลพิษ 20 ปี และแผนการจัดการมลพิษ พ.ศ. 2560 - 2564 แผนแม่ บทการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564) เพื่อลดมลพิษทางทะเลและ จัดการในเรื่องสารอาหารที่มาจากแหล่งกําเนิดบนแผ่นดิน ปัญหามลพิษทางทะเลจากขยะและของเสีย การขจัด คราบน้ํามัน เป็นต้น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีการรายงานข้อมูลผลการประเมินดัชนีคุณภาพมหาส มุทร (Ocean Health Index: OHI) ในปี 2564 ประเทศไทยมีคะแนน 72 คะแนน จาก 100 คะแนน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย ของโลกซึ่งอยู่ที่ 70 คะแนน และอยู่อันดับที่ 79 จาก 221 เขตเศรษฐกิจจําเพาะ ( Exclusive Economic Zones: EEZs) โดย มลพิษทางทะเลและชายฝั่ง ที่สําคัญ มีดังนี้ ขยะทะเล ปัจจุบันทั่วโลกต่าง ให้ความสําคัญและ เผชิญ กับ ปัญหาขยะทะเลและการปนเปื้อน ของ ไมโครพลาสติกในทะเลทุกแห่งและยังพบในทุกระดับความลึกอีกด้วย จากรายงาน Stemming the Tide: Land - based strategies for a plastic free ocean ที่จัดทําโดยองค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล ( Ocean Conservancy) ซึ่งเป็นกลุ่มองค์กรไม่แสวงผลกําไรที่มีบทบาทช่วยกําหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับมหาสมุทรในระดับรัฐบาลกลาง และ ระดับท้องถิ่นบนพื้นฐานของกระบวนการข องวารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับ McKinsey Center for Business and Environment ในปี ค.ศ. 2015 ได้ระบุไว้ว่า ในแต่ละปีขยะพลาสติกกว่า 8 ล้านตัน ถูกทิ้งลงสู่ทะเล และมหาสมุทร มากกว่าร้อยละ 50 ของขยะทะเลดังกล่าว เป็นขยะที่มาจากประเทศในเอเชีย ได้แก่ ประเทศจีน และกลุ่ม ประเทศ อาเซียนอย่างอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย มาเลเซีย และ พม่า โดยเฉพาะประเทศ อินโดนีเซีย ที่ปัญหาขยะพลาสติกในทะเลได้ส่งผลให้แม่น้ําในอินโดนีเซียติด 20 อันดับแม่น้ําที่มีมลพิษมากที่สุด ในโลก ได้แก่ แม่น้ํา Brantas Solo Serayu และ Progo ทั้งนี้ สภาเศรษฐกิจโลก ( World Economic Forum) ได้คาดการณ์ว่า หากไม่มี การจัดการขยะที่ดีและไม่มีการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลาสติกภายในปี ค.ศ. 2050 จะทํา ให้มีปริมาณของพลาสติกรวมกันมากกว่าปลาทั้งหมดในมหาสมุทร ซึ่งไม่เพียงแต่จ ะสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและ
73 ระบบนิเวศทางทะเล แต่ยังส่งผลต่อวิถีชีวิตมนุษย์และเศรษฐกิจของประเทศได้อีกด้วย จากข้อมูลดังกล่าวแสดง ให้เห็นว่าสถานการณ์ขยะพลาสติกในทะเลของภูมิภาคเป็นที่น่าวิตกกังวลมากยิ่งขึ้น ขยะทะเลเป็นปัญหาสําคัญ อันดับต้น ๆ ของประเทศไทย โดยการ จัดการขยะต้นทางและขยะทะเลที่ไม่มีประสิทธิภาพ ย่อมส่งผลให้เกิด ความเสื่อมโทรมของ สิ่งแวดล้อมทางทะเล และมีผลกระทบต่อระบบนิเวศและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สุขภาพอนามัยของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ตลอดจนเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยว อีกทั้งการแพร่กระจาย ของไมโ ครพลาสติกใน สิ่งแวดล้อมทางทะเลได้ก่อให้เกิดการสะสมในห่วงโซ่อาหารและสามารถถ่ายทอดไป ตามลําดับขั้นของการบริโภคอาหารในระบบนิเวศ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดํารงชีวิตของสิ่งมีชีวิต จึงได้ มีการกําหนดมาตรการด้านการจัดการขยะทะเลที่สําคัญ อาทิ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดําเนินงาน เก็บขยะทะเลที่ตกค้างในระบบนิเวศทางทะเล การรณรงค์จัดการขยะและมาตรการหาดปลอดบุหรี่ การศึกษาวิจัย ด้าน ไมโครพลาสติก การพัฒนา ติดตั้ง และจัดเก็บขยะจากทุ่นกักขยะที่มี 2 3 แห่ง ใน 15 จังหวัดชายฝั่งทะเล ที่คาดการณ์ว่าสามารถดักขยะก่อนไหลออกสู่ทะเลไทยได้มากกว่า 1 หมื่นกิโลกรัม เป็นต้น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เก็บข้อมูลขยะทะเลในเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเล 26 แห่ง โดยแบ่งเป็นขยะทะเลบริเวณชายหาด ผิวน้ํา และบริเวณแนวปะการัง และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมดําเนินการโครงการสร้างวินัยและการมีส่วนร่วม ของคนในชาติมุ่งสู่การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจ การจัดการขยะต้นทาง ณ แหล่งกําเนิด การลดปริมาณขยะชุมชน การใช้ซ้ ํา การนํากลับมาใช้ใหม่ ตามหลักการ 3 Rs ( Reduce Reuse Recycle ) ซึ่งมีส่วนสนับสนุนการแก้ไขปัญหาขยะทะเล โดยใช้สื่อและกิจกรรมที่เข้าถึงทุกกลุ่ม เป้าหมาย ดังนั้น การดําเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทําให้ปริมาณขยะทะเลมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น คุณภาพน้ ําทะเลและชายฝั่ง เขตน่านน้ําไทยแบ่งคุณภาพน้ําทะเลออกเป็น 6 ประเภท คือ (1) คุณภาพน้ําทะเลเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ แหล่งน้ําทะเลที่มิได้จัดไว้ เพื่อการใช้ประโยชน์ อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นแหล่งน้ําทะเลตามธรรมชาติสําหรับเป็นที่แพร่พันธุ์ หรืออนุบาลของสัตว์น้ํา วัยอ่อน หรือเป็นแหล่งอาหาร หรือที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ํา พืช หรือหญ้าทะเล (2) คุณภาพน้ําทะเลเพื่อการ อนุรักษ์แหล่งปะการัง ได้แก่ แหล่งน้ําทะเลที่มีปะการัง โดยมีขอบเขตครอบคลุมพื้นที่ในรั ศมีแนวราบกับผิวน้ํา นับจากเส้นตรงที่ลากตั้งฉากกับเส้นที่เชื่อมจุดนอกสุด ของแนวปะการังออกไปเป็นระยะ 1,000 เมตร (3) คุณภาพน้ําทะเลเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา ได้แก่ แหล่งน้ําทะเลซึ่งมีประกาศกําหนดให้เป็นพื้นที่เพาะเลี้ยง สัตว์น้ํา ตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (4) คุณภำพน้ําทะเลเพื่อการนันทนาการ ได้แก่ แหล่งน้ําทะเลซึ่งมี ประกาศขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกําหนดให้เป็นเขตเพื่อการว่ายน้ําหรือใช้ประโยชน์เพื่อการนันทนาการ ทางน้ํา (5) คุณภาพน้ําทะเลเพื่อการอุตสาหกรรมและท่าเรือ ได้แก่ แหล่งน้ําทะเลที่อยู่ประชิดกับเขตนิคม อุตสาหกรรม ตาม กฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เขตประกอบการอุตสาหกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เขตท่าเรือ ตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ําไทย ท่าเรือ หรือท่าเทียบเรือ แล้วแต่กรณี โดยมีขอบเขตนับตั้งแต่แนวน้ําลงต่ําสุดออกไปจนถึงระยะ 1,000 เมตร ตามแนวราบกับผิวน้ ํา (6) คุณภาพน้ําทะเลสําหรับเขตชุมชน ได้แก่ แหล่งน้ําทะเลที่อยู่ประชิดกับชุมชนที่มีประกาศกําหนดให้เป็น เทศบาล ตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาล เมืองพัทยา หรือกรุงเทพมหานคร เฉพาะเขตเทศบาล เขตเมืองพัทยา หรือเขตกรุงเทพมหานครที่ติดกับชายฝั่งทะเลเท่านั้น โดยให้นับตั้งแต่แนวน้ ําลงต่ําสุด ออกไปจนถึงระยะ 1,000 เมตร ตามแนวราบกับผิวน้ํา ซึ่งการแบ่งคุณภาพน้ําทะเลข้างต้น เป็น ตามประกาศ ของ คณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2549) เรื่องกําหนดมาตรฐานคุณภาพน้ําทะเล สําหรับ การติดตาม ตรวจสอบและประเมินสภาพแวดล้อมทาง ทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพน้ําทะเลพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รวมทั้งสิ้น 248 สถานี เมื่อพิจารณา จากสัดส่วนของคุณภาพน้ําทะเลในแต่ละเกณฑ์ พบว่าในปี พ.ศ. 2564 สถานการณ์ คุณภาพน้ําทะเลส่วนใหญ่
74 อยู่ในเกณฑ์ ดี - ดีมาก ร้อยละ 75 เกณฑ์พอใช้ ร้อยละ 22 และเกณฑ์ เสื่อมโทรม ร้อยละ 3 เมื่อพิจารณา แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ําทะเลชายฝั่ง ปี พ.ศ. 25 5 7 – 2564 ค่าดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ําทะเลชายฝั่ง เฉลี่ ย มีแนวโน้มการเปลี่ ยนแปลงของค่า MWQI ในแต่ ละปี โดยรวมคุณภาพน้ําทะเล มีแนวโน้มการ เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย คือสถานการณ์คุณภาพน้ําทะเลส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี รองลงมาเป็นเกณฑ์พอใช้ ดีมาก และเสื่อมโทรม ตามลําดับ ซึ่งค่าที่วัดได้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงจากปีที่ผ่านมา โดยเปลี่ยนแปลงจากปี 2563 คือ คุณภาพน้ําทะเลใน เกณฑ์ดี - ดีมาก ลดลงจากร้อยละ 76 เป็นร้อยละ 75 เกณฑ์พอใช้เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 22 และเกณฑ์เสื่อมโทรมลดลงจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 3 ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อ การ คํานวณค่าดัชนี MWQI ได้แก่ ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด และปริมาณสารอาหาร จําพวกไนโตรเจน และ ฟอสฟอรัสในน้ําทะเลมีค่าสูง มลพิษจากน้ํามัน ปัญหาหรือผลกระทบที่ทําให้เกิดน้ํามันลงสู่ทะเลมีหลายสาเหตุ ซึ่งการ รั่วไหลของน้ํามันเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น กิจการการเดินเรือที่มีการถ่า ยเทน้ํามันเครื่อง การขนถ่าย น้ํามัน การขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ํามันในทะเล หรืออุบัติเหตุทางเรือ เรือชนกัน เรืออับปาง เป็นต้น ซึ่งมลพิษ จากน้ํามันก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทะเล เนื่องจากน้ํามัน และ คราบของน้ํามันที่ปกคลุมบนผิวน้ํา จะขัดขวางการถ่ายเทก๊าซออกซิเจนระหว่างอากาศและน้ํา ทําให้ปริมาณออกซิเจนในน้ําไม่เพียงพอ สัตว์น้ํา ขาดออกซิเจน และยังปิดกั้นแสงแดดที่ส่องลงสู่ใต้น้ําที่เป็นผลต่อพืชน้ําที่ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ หากน้ํามัน มีความหนาแน่นสูงเมื่อจมสู่ พื้นท้องทะเลก็จะส่งผลต่อสัตว์หน้ำดิน ด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงเห็นได้ว่ามลพิษจาก น้ํามันได้ส่งผลกระทบต่อนิเวศทางทะเลเป็นอย่างมาก ซึ่งก็ได้ส่งผลกระทบเสียหายต่อเนื่องในการทําประมง และการท่องเที่ยวอีกด้วย น้ํามันรั่วไหล ( Oil spill) ที่เกิดขึ้นในทะเลและชายฝั่งของทะเลอ่าวไทยและอันดามัน แต่ละครั้งได้ก่ อให้เกิดความเสียหายแตกต่างกันไปตามปริมาณและประเภทของน้ํามัน แหล่งที่เกิด สภาพ ภูมิประเทศ ระยะห่างจากฝั่ง สภาพแวดล้อมบริเวณนั้น ภาวะคลื่นลม น้ําขึ้นน้ําลง ความเร็วและทิศทางลม อุณหภูมิ ระยะเวลา ปริมาณวัตถุที่ลอยน้ํา จากการติดตามสถานภาพน้ํามันรั่วไหล โดย กรมทรัพยาก รทางทะเล และชายฝั่ง ในช่วงปีงบประมาณ 2559 – 2563 บริเวณชายฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รวม 23 จังหวัด พบน้ํามันรั่วไหลจํานวน 102 ครั้ง เป็นเหตุการณ์น้ํามันรั่วไหล 28 ครั้ง และจากการติดตามตรวจสอบพบ ก้อนน้ํามันดิน 74 ครั้ง และสถานการณ์น้ํามันรั่วไหลในปีงบประมาณ 256 4 (1 ตุลาคม 2563 – 31 กรกฎาคม 2564) พบน้ํามันรั่วไหลรวม 44 ครั้ง ตลอดแนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน เป็นเหตุการณ์ น้ํามันรั่วไหล 17 ครั้ง และจากการติดตามตรวจสอบพบก้อนน้ํามันดิน 27 ครั้ง โดยผลจากการติดตาม ตรวจสอบและเฝ้าระวังสถานภาพของน้ํามันรั่วไหลในช่วงที่ผ่าน มาในจังหวัดที่มีชายฝั่งทะเล พบว่าเกิดน้ํามัน รั่วไหลบ่อยครั้งมากกว่าอดีตที่ผ่านมา ซึ่งสาเหตุมาจากทั้งเรือประมง เรือท่องเที่ยว การแอบล้างถังบรรจุน้ํามัน และทิ้งน้ํามันที่ปนเปื้อนน้ําลงสู่ทะเล การเดินเรือขนส่งในทะเล และไม่ทราบสาเหตุ รวมทั้งอาจเกิดจากการ รั่วไหลของน้ ํามันจากแท่นขุดเจาะน้ํามันในทะเล ทําให้เกิดก้อนน้ํามันพัดพาเข้าสู่ชายหาดทําให้เกิดปัญหาที่ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่ง การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการบูรณาการแผนและ นโยบายต่าง ๆ มากําหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อการป้องกันและลดมลพิษทางทะเลเนื่องจำกน้ํามัน น้ําทะเลเปลี่ยนสี ปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชั่ น ( Eutrophication ) การเกิดน้ําทะเลเปลี่ยนสี หรือเรียกว่า ขี้ปลาวาฬ เกิดจากแพลงก์ตอนพืชบางชนิดเจริญเติบโตเพิ่มจํานวนขึ้นรวดเร็ว เนื่องจากได้รับธาตุ อาหาร โดยเฉพาะไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และมีสภาวะที่่เหมาะสมจึงทําให้นํ้าทะเลมีสีเปลี่ยนไปตามสีของ แพลงก์ตอนที่มีเป็นจํานวนมาก และการเกิดน้ําทะเลเปลี่ยนสีทําให้ ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ํา ( Dissolved O xygen: DO) น้อยลงจนถึงระดับที่สัตว์น้ําไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้หรือเกิดจากการอุดตันในช่องเหงือกโดย แพลงก์ ตอน รวมทั้งการตายของแพลงก์ ตอนพืชทําให้น้ําทะเลเกิดการเน่าเสีย ใน ปี พ.ศ. 2564 สถานการณ์และ
75 ความถี่ในการเกิด Eutrophication หรือ น้ําทะเลเปลี่ยนสีในพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทย จํานวน 28 ครั้ง (เพิ่มขึ้นจากปี 2563) โดยเฉพาะ จังหวัดชลบุรี พบปรากฏการณ์ น้ําทะเลเปลี่ยนสี จํานวน 11 ครั้ง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือน พฤศจิกายน สําหรับพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน พบการสะพรั่งของสาหร่ายสีแดง สกุล Hypnea ซึ่งมีกลุ่มไดอะตอม เจริญ ร่วมอยู่ด้วย ในบริเวณหาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต จํานวน 1 ครั้ง ปัจจัยที่เป็นต้นเหตุของปรากฏการณ์น้ํา ทะเล เปลี่ยนสีมาจากน้ําทิ้งชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม จากกิจกรรมด้านการเกษตร และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําชายฝั่งที่ มีการปล่อยน้ําเสียลงแหล่งน้ําโดยตรง 2 . รายละเอียดยุทธศาสตร์ ระบบนิเวศและการใช้ทรัพยากรทางทะเล ได้มุ่งให้ความสําคัญต่อการอนุรักษ์และฟื้ นฟู ทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งทั้งระบบ โดยบริหารจัดการด้วยกลไกที่มีประสิทธิภาพตาม มาตรฐานสากล เพิ่มมาตรการควบคุมให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ลดการปลดปล่อยมลพิษและ ของเสียลงสู่ทะเล ส่งเสริมการใช้ทรัพยำกรทางทะเลอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการพัฒนาเพื่อเพิ่มสัดส่วน กิจกรรมทางทะเลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งการคมนาคม การขนส่งทางทะเล การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา การทํา การประมง รวมถึงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ นอกจากนี้ ยังเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของผู้มี ส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยตั้งเป้าหมายให้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้รับการรักษา ฟื้นฟูให้มีความสมบูรณ์และยั่งยืน เป็นฐานการพัฒนาประเทศทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยกลยุทธ์ที่ร่วมขับเคลื่อนการดําเนินงาน 2 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 2.1 การ อนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ ทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งให้มีความสมบูรณ์ และกลยุทธ์ที่ 2.2 การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน มีรายละเอียดกลยุทธ์ดังนี้ กลยุทธ์ที่ 2.1 การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ ทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเลและ ชายฝั่งให้มีความสมบูรณ์ อนุรักษ์ ฟื้นฟู และปกป้อง ทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ทั้งระบบ ตั้งแต่ทะเลและชายฝั่ง ป่าชายเลน และสิ่งมีชีวิต สภาพแวดล้อมบริเวณชายฝั่งทะเลและเกาะ ตลอดจนป้องกันความเสื่อมโทรมของชายหาด หาดหิน และหาดเลน โดยให้ความสําคัญในประเด็นทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง กิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟู รักษาระบบนิเวศ ด้วยการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง ป่า ชายเลน ระบบนิเวศชายฝั่งทะเลให้ยั่งยืน รวมถึงสภาพแวดล้อมบริเวณชายฝั่งทะเล และเกาะ การให้การสนับสนุนบทบาทของชุมชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเล และชายฝั่ง การบริหารจัดการขยะและของเสียที่ปล่อยลงสู่ทะเล การพัฒนาการจัดการด้านการเพาะเลี้ยง ในทะเ ลที่สอดคล้องกับแผนการใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่ทางทะเล และสร้างองค์ความรู้ และติดตามการเปลี่ยนแปลง สถานภาพทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่ง หน่วยงานรับผิดชอบหลัก ทช. และหน่วยงาน สนับสนุน อส. คพ. สผ. กปม. อปท. ศรชล. ทธ. สมช. ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาชน กลยุทธ์ที่ 2.2 การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรทาง ทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน ปรับปรุงโครงสร้าง ระเบียบและพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรทาง ทะเล เพื่อรองรับเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน และสร้างการมีส่วนร่วมในการ บริหารจัดการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ โดยให้ความสําคัญใน 2 ประเด็น ได้แก่
76 ( 1 ) การปรับปรุงเชิงโครงสร้างและกฎระเบียบเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจบนฐำนทรัพยากรทางทะเล และ คํานึงถึงขีดจํากัดของทรัพยากรที่จําเป็นต้องสงวนรักษาไว้ใช้ประโยชน์ในระยะยาว และ ( 2 ) ระบบบริหาร จัดการทรัพยากรทางทะเล เพื่อการใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน กิจกรรมเพื่อการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรทางทะเ ลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน โดยการจัดทําพื้นที่อนุรักษ์ เพื่อคุ้มครองระบบนิเวศที่สําคัญ ควบคู่กับยกเลิกโครงการที่ทําลายระบบนิเวศ การส่งเสริมการประเมิน ทรัพยากรประมง การกําหนดและจําแนกเขตพื้นที่ที่มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ตามระดับความรุนแรง และความเร่งด่วนของปัญหา การปรับปรุงการออกแบบและมาตรฐานการก่อสร้างเขตชุมชน อุตสาหกรรมและ โครงสร้างพื้นฐานบริเวณชายฝั่งทะเล การพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คํานึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และผลประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งการกําหนดแผนงานกรณีการเกิดวิกฤติทางทะเลที่ส่งผลกระทบ ต่อคุณภาพสิ่ งแวดล้อมทะเล เพื่อการดําเนินงานแก้ไขปัญหาและควบคุมสถานการณ์ได้อย่างเร่งด่วนและมี ประสิทธิภาพ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก ทช. และหน่วยงาน สนับสนุน อส. สผ. กปม. จท. ศรชล. ยผ. อปท. กทม. สมช. กทท. ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาชน กิจกรรมที่จะเป็นการสนับสนุนทั้ง 2 กลยุทธ์ เพื่อให้ทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่ง ได้รับการรักษาฟื้นฟูให้มีความสมบูรณ์และยั่งยืน ได้แก่ การสนับสนุนมาตรการที่เข้มงวดเพื่อสนับสนุน การพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรทางทะเลที่คํานึงถึงขีดจํากัดของทรัพยากร การปรับปรุงกฎหมายแ ละ กําหนดเขต และหลักเกณฑ์การควบคุมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเล การกําหนดบทบาท หน้าที่ และ ความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้อง การสร้างและใช้ประโยชน์จากความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง การกําหนดให้มีกฎหมายเพื่อรอ งรับการกําหนดเขต จังหวัดในทะเล รวมทั้งการส่งเสริมให้ประเทศเป็นศูนย์กลางด้านพาณิชย์นาวีของภูมิภาค
77 รูปภาพที่ 3 - 4 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการเพื่อสร้างสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ
78 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการเพื่อสร้างสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ เป้าหมาย การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยลดลง ทุกภาคส่วนมีศักยภาพในการปรับตัวและรับมือ ต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตัวชี้วัด 3.1 ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมลดลงอย่างน้อยร้อยละ 21 จากกรณีปกติ (ร้อยละ) 3.2 สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายเพิ่มขึ้น ( ร้อยละ ) 3.3 อัตราการเสียชีวิตและจํานวนผู้ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยต่อประชากร 100,000 คน ลดลง (คนต่อ 100,000 คน) 3. 4 ร้อยละของแผนพัฒนาท้องถิ่นที่มีการบูรณาการการจัดการภัยพิบัติเพิ่มขึ้น (ร้ อยละ) การเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( Climate change) มีแนวโน้มที่ จะเกิดขึ้ นอย่างรวดเร็ว และรุนแรงขึ้น และจากรายงาน Climate Change 2022 : Mitigation of Climate Change ที่จัดทําโดย คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( The Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) มีการคาดการณ์ว่า หากไม่มีการเสริมสร้างความเข้มแข็งของนโยบายให้มากกว่า ปี พ.ศ. 2563 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะเพิ่มสูงขึ้นหลังจากปี พ.ศ . 2568 และจะส่งผลให้อุณหภูมิของโลก เพิ่มขึ้นเป็น 3.2 องศาเซลเซียส ภายในปี พ.ศ. 2643 ส่งผลให้หลายภูมิภาคต้องเผชิญกับความผันผวนของ ภูมิอากาศรุนแรงและบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นระดับน้ําทะเลสูงขึ้น ธารน้ําแข็งและแผ่นน้ําแข็งละลาย ปริมาณ ออกซิเจนที่ละลายน้ําลดลง ปะการังเกิ ดการฟอกขาวเป็นเหตุให้ระบบนิเวศในมหาสมุทรเสียสมดุลและส่งผล กระทบต่อห่วงโซ่อาหาร รวมทั้งยังส่งผลให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรง อาทิ ความแห้งแล้งยาวนาน ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดไฟป่าที่รุนแรง เส้นแนวเขตทะเลชายฝั่งเข้ามาใกล้แผ่นดินมากขึ้น ส่งผลให้คลื่ นลม และพายุพัดเข้าสู่ชายฝั่งและเกิดน้ําท่วมในพื้นที่ชุมชนได้ง่าย การรุกล้ําของน้ําเค็ม ภัยแล้งที่ยาวนานหรือ น้ําท่วมซ้ําซาก รวมไปถึงการแพร่ระบาดของโรคตามฤดูกาล นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคง ทางอาหาร และความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษ ฐกิจและสังคม และก่อให้เกิดภาวะ ความยากจนเพิ่ มมากขึ้ น โดยองค์การเพื่ อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co - operation and Development: OECD) คาดการณ์ว่าความเสียหายอันเนื่องมาจากการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะมีมูลค่า ถึงร้อยละ 1.0 - 3.3 ของผลผลิตมวลรวมของโลก ภายใน ปี พ.ศ. 2603 และมูลค่าความเสียหายจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.0 - 10.0 ภายใน ปี พ.ศ. 2643 หาก ไม่มีการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นแรงผลักดันให้นานาประเทศหันมาสนใจและ ตระหนักถึงผลกระทบและความเสียหา ยจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงได้มีการบรรจุในแผน และนโยบายที่สําคัญ ได้แก่ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น ( Take urgent action to combat climate change and its impacts) ซึ่งมุ่งเน้นนโยบายและกลไกสนับสนุนการรับมือและปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ อาทิ เสริมภูมิต้านทานและขี ดความสามารถในการปรับตัวต่ออันตรายและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศในทุกประเทศ บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบาย ยุทธศาสตร์และการวางแผนระดับชาติ รวมทั้งพัฒนาการศึกษา การสร้างความตระหนักรู้และขีดความสามารถ ในการลดปัญหาการเ ปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับตัว การลดผลกระทบ การเตือนภัยล่วงหน้า เป็นต้น กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC ) เป็นความร่วมมือของประชาคมโลกเพื่อแก้ไขปัญหาและลด ผลกระทบที่ เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2535
79 โดยอนุสัญญา UNFCCC มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2537 ความตกลงปารีส ( Paris Agreement) จัดทําขึ้นในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญา UNFCCC สมัยที่ 21 ณ กรุงปารีส ในปี พ.ศ . 2558 โดยมี เป้าหมายควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ํากว่า 2 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อน อุตสาหกรรม และมุ่งพยายามควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับ ยุคก่อนอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นป ระเด็นหลักภายใต้พิธีสารเกียวโต ( Kyoto Protocol) อนุสัญญาเวียนนา ( Vienna Convention) พิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทําลายชั้นบรรยากาศโอโซน ( Montreal Protocol) อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย ( United Nations Convention to Combat Deserti fication : UNCCD) กรอบการดําเนิ นงานเซนไดเพื ่ อการลด ความเสี่ยง จากภัยพิบัติ (พ.ศ. 2558 - 2573) ( Sendai Framework for Disaster Risk Reduction 2015 - 2030) และปฏิญญามีเทนโลก ( Global Methane Pledge) นอกจากนี้ การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญา สหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 ( COP 26 ) ณ เมืองกลาสโกว์ สหราช อาณาจักร พ.ศ. 2564 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศภาคีสมาชิกได้ร่วมกันกําหนดทิศทางการดําเนินงาน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโล ก และเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ผู้นําของประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมและ แสดงเจตจํานงหรือความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในการประชุม มีประเด็นการเจรจาที่สําคัญ ได้แก่ (1) การกําหนดกลไกความร่วมมือสําหรับการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิต ระหว่างประเทศ (2) การก ําหนดกรอบระยะเวลา ( timeframe) ในการดําเนินงานตามเป้าหมายการมีส่วนร่วม ที่ประเทศกําหนด ( Nationally Determined Contribution: NDC) ( 3) การกําหนดเป้าหมายทางการเงิน ที่ประเทศพัฒนาแล้วต้องให้การสนับสนุนแก่ประเทศกําลังพัฒนาเพื่อดําเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ (4) การกําหนดรูปแบบการจัดทําบัญชีก๊าซเรือนกระจก ( GHG Inventory) และ (5) การรายงาน ความก้าวหน้าการดําเนินงานของการมีส่วนร่วมที่ประเทศกําหนด ภูมิภาคอาเซียนได้ให้ความสําคัญกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการ ภัยพิบัติ โดยได้ผนวกในแผนงานสําคัญ อาทิ แผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ปี พ.ศ. 2568 ( ASEAN Socio - Cultural Community Blueprint 2025 ) ร่างแผนยุทธศาสตร์อาเซียนด้านสิ่ งแวดล้อ ม พ.ศ. 2559 - 2568 ( ASEAN Strategic Plan on Environment 2016 - 2025 ) ความตกลงอาเซียนด้าน การจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน ( ASEAN Agreement on Disaster Management and Emergency Response: ADDMER ) และปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยความเป็นหนึ่งเดียวในการตอ บโต้ ภัยพิบัติทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค ( ASEAN Declaration on ONE ASEAN, ONE RESPONSE: ASEAN Responding to Disasters as One in The Region and Outside The Region) รวมถึงได้มีการดําเนินงาน ต่าง ๆ อาทิ การจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( ASEA N Centre for Climate change ) ริเริ่มโดยบรูไนดารุสซาลาม ในฐานะประธานอาเซียน ปี พ.ศ. 2564 การจัดทํารายงานสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภูมิภาคอาเซียน ( ASEAN State of Climate Change Report: ASCCR) การ จัดตั้งกลไกในระดับภูมิภาคเพื่อให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ โดยดําเนินการผ่านศูนย์ประสานงาน อาเซี ยนเพื่ อความช่ วยเหลื อด้ำนมนุ ษยธรรมในการจัดการภั ยพิ บั ติ ( ASEAN Coordinating Centre for Humanitarian Assistance on disaster management: AHA Centre) และแผนปฏิบั ติการภายใต้ความ ตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน ( ADDMER Work Programme 2021 - 2025 ) นอกจากนี้ การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อผลิตพลังงานทําให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้น บรรยากาศเป็นจํานวนมาก และเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน และส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง
80 สภาพภูมิอากาศ จากรายงาน International Energy Outlook 2021 คาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2050 การใช้ พลังงานทั่วโลกเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 2020 อย่างไรก็ตาม การมีอยู่อย่างจํากัด ของพลังงานเชื้อเพลิงส่งผลให้ทั่วโลกประสบกับปัญหาเรื่องวิกฤตการขาดแคลนพลังงานเชื้อเพลิงอย่างหนัก ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับก๊าซเ รือนกระจกที่เกิดขึ้นทําให้ทั่วโลกต่างสนใจหันมาใช้ พลังงานทดแทนในส่วนของพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น โดยองค์การพลังงานระหว่างประเทศ ( International Energy Agency: IEA ) พบว่าปริมาณการใช้พลังงานหมุนเวียนทั่วโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ในปี ค.ศ. 2020 ทั้งนี้ ได้มีการดําเนินกา รผ่านกลไกความร่วมมือต่าง ๆ เพื่อเพิ่มการใช้พลังงานทดแทนแทนการใช้พลังงานเชื้อเพลิง เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน และการประชุมอื่น ที่เกี่ยวข้อง (ASEAN Ministers on Energy Meeting (AMEM) and Associated Meetings) และการ จัดทํา แผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน ระยะที่ 2 พ.ศ. 2564 - 2568 ( ASEAN Plan of Action for Energy Cooperation: APAEC 2021 – 2025 Phase II ) รายงานแห่งชาติฉบับที่ 4 ( Thailand’s F ourth National Communication) ในปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ สุทธิเท่ากับ 286 , 680.53 กิกะกรัม คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ( GgCO 2 eq ) โดยภาคพลังงานปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมากที่สุดถึง 257 , 340.89 กิกะกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ( GgCO 2 eq ) หรือคิดเป็นร้อยละ 69.06 รองลงมำเป็น ภาคเกษตร ภาคกระบวนการอุตสาหกรรม และภาคของเสีย ตามลําดับ และประเทศไทยได้รับผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเช่นเดียวกับทั่วโลก โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทย มีแนวโน้มอุณหภูมิ เฉลี่ยทั้งปีเพิ่มขึ้น จากข้อมูลสภาวะอากาศของประเทศไทยของกรมอุตุนิยมวิท ยา พบว่า ในปี พ.ศ. 2561 – 2564 ประเทศไทยมีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี เท่ากับ 27.5 28.1 28.0 และ 27.5 องศาเซลเซียส ตามลําดับ ซึ่งสูงกว่าค่าปกติในคาบ 30 ปี (ปี พ.ศ. 2524 – 2553 เท่ากับ 27.1 องศาเซลเซียส) และในปี พ.ศ. 2564 มีปริมาณฝนรวมเฉลี่ยสูงกว่าค่าปกติ และอุณหภูมิผิวน้ําทะเลเฉลี่ยบริเวณตอนกลางและด้านตะวันออกของ มหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรมีค่าต่ํากว่าปกติ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ของปรากฏการณ์ลานีญา ผลกระทบดังกล่าว ส่งผลให้เกิดภัยธรรมชาติ อาทิ อุทกภัย ภัยแล้ง และวาตภัย ที่รุนแรงและบ่อ ยครั้ง ทําให้มีผู้เสียชีวิต และส่งผล ให้เกิดความเสียหายต่อภาคเศรษฐกิจและการบริหารจัดการทรัพยากรด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ ประชากรที่เพิ่ม มากขึ้น ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล การขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ส่งผล ให้เกิดการใช้พลังงานจํานวนมำก และแนวโน้มการเติบโตของเทคโนโลยียานยนต์ ส่งผลให้พลังงานไฟฟ้า ทวีความสําคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต และอาจส่งผลต่อการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพในภาคขนส่ง รวมถึง เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีราคาถูกลงทําให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ใช้พลังงานสู่การผลิตพลังงาน เพื่อใช้เอ งและเพื่อการซื้อขายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศไทยยังคงต้องนําเข้าพลังงานจาก ต่างประเทศ ดังนั้น การผลิตพลังงานทดแทน จึงเป็นการนําศักยภาพพลังงานธรรมชาติในประเทศมา เปลี่ยนเป็นพลังงานทางเลือกเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จะช่วยลดการพึ่งพาพลังงานจากภายนอกป ระเทศได้ ส่วนหนึ่ง และสามารถกระตุ้นให้เกิดการลงทุนด้านพลังงานทดแทนอีกทางหนึ่งด้วย ประเทศไทยได้เล็งเห็นถึงความสําคัญของประเด็นการบริหารจัดการเพื่อสร้างสังคมที่เป็นมิตรต่อ สภาพภูมิอากาศ โดยเมื่อพิจารณาบริบทภายในประเทศไทย พบว่า ประเด็นสําคัญเกี่ยวกับการเปลี่ย นแปลง สภาพภูมิอากาศที่ เกิดขึ้ นในประเทศไทย อาทิ การลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งได้ถูกบูรณาการ 3 ประเด็นสําคัญไว้ในแผนทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ แผนระดับที่ 1 คือ ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 ด้านที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประเด็นที่ 3 สร้างการเติบโต
81 อย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ แผนระดับที่ 2 ได้แก่ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) ซึ่งสอดคล้องโดยตรงกับป ระเด็น (18) การเติบโตอย่างยั่งยืน (แผนย่อยการสร้าง การเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ) รวมทั้งเชื่อมโยงกับประเด็นอื่น ๆ อาทิ ประเด็น (7) โครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล (แผนย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน) ประเด็น (19) การบ ริหารจัดการน้ําทั้งระบบ (แผนย่อยการพัฒนาการจัดการน้ําเชิงลุ่มน้ําทั้งระบบเพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านน้ํา ของประเทศ) ประเด็น (23) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (แผนย่อยการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 257 0) (หมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตอย่างยั่งยืน หมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียน และสังคมคาร์บอนต่ํา และหมุดหมายที่ 11 ไทยสามารถลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) และนโยบายและแผนระดับ ชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 - 2565) ในนโยบายที่ 12 เสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและอาหาร ซึ่งให้ความสําคัญกับการใช้พลังงานทดแทน และแผนระดับที่ 3 อาทิ ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 - 2569 ในยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจ BCG ให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน แผนขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน พ.ศ. 2560 - 2580 (ฉบับปรับ ปรุง ครั้งที่ 1) (เป้าหมาย SCP 4 บรรลุเรื่องการจัดการสารเคมีและของเสียทุกชนิดตลอดวงจรชีวิตของสิ่งเหล่านั้น ด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม ตามกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศที่ตกลงกันแล้ว และลดการปลดปล่อยสิ่งเหล่านั้นออกสู่ อากาศ น้ําและดิน เพื่อลดผลกระทบทางล บต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุดภายในปี พ.ศ. 2580 และ SCP 9 สนับสนุนให้มีการเพิ่มพูนวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการ ผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน และเพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศในการเสริมความแข็งแกร่งของขีดความสามารถ ด้านวิทยำศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะขับเคลื่อนไปสู่รูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น) แผนปฏิบัติ การอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2568 ในยุทธศาสตร์ที่ 5 การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ และนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ .ศ. 2560 - 2580 (นโยบายที่ 2 สร้างการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อความมั่งคั่งและยั่งยืน) ซึ่งเป็นแผนระยะยาวที่ถูก ถ่ายทอดลงสู่แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ระยะ 5 ปี นอกจากนี้ ในการประชุมระดับผู้นําในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การเ ปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ( COP 26 World Leaders Summit) โดย นายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ได้แสดงเจตนารมณ์ของประเทศไทยที่จะยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ และด้วยทุกวิถีทาง เพื่ อ บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ( Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้ำหมายการปล่ อยก๊ำซเรื อนกระจกสุ ทธิ เป็ นศู นย์ ( Net - Zero Greenhouse Gas Emissions) ภายในปี ค.ศ. 2065 ร่วมกับการยกระดับการมีส่วนร่วมที่ประเทศกําหนด ( NDC ) เป็นร้อยละ 40 ภายใต้ การสนับส นุน ระหว่างประเทศทั้ง ด้านการเงิน เทคโนโลยี และการเสริมสร้างขีดความสามารถ ของ ประเทศ ภายในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพลิกโฉมประเทศไทยเพื่อมุ่งสู่สังคม คาร์บอนต่ํา รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมืออย่างเข้มข้นกับข้อตกลงระหว่างประเทศและ มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น อาทิ นโยบาย European Green Deal มาตรการปรับคาร์บอน ก่อนข้ามพรมแดน ( Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM )
82 1. ประเด็นพัฒนา จากสถานการณ์ที่ เกิดขึ้ นประกอบกับ เป้าหมายและ ทิศทางการดําเนินการในระดับโลก สู่ระดับประเทศ จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยในมิติ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทําให้การกําหนดทิศทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในระยะ 5 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจึงต้องให้ความสํา คัญกับประเด็นต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ดังนี้ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก นานาประเทศได้ให้ความสําคัญในการดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศอย่างจริงจัง รวมทั้งประเทศไทย โดยได้ร่วมกันตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในการประชุมระดับผู้นําในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ( COP 26 World Leaders Summit) ซึ่งประเทศไทยได้มีการกําหนดเป้าหมายและ กรอบแนวทางในการดําเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศในระยะยาวเพื่อให้ หน่วยงาน ที่ เกี่ ยวข้องใช้เป็นกรอบในการดําเนินการ อาทิ แผนแม่บทรองรับการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558 – 2593 แผนที่นําทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 – 2573 พร้อมทั้ง ทบทวนและปรับปรุงยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ําของประ เทศ ( Thailand’s Long - term Low G reenhouse G as Emission Development Strategy (LT - LEDS) ) ให้สอดคล้องตาม ถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรี ที่จัดทําโดยสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงยกระดับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้การมีส่วนร่วมที่ ประเทศ กําหนด ( Nationally Determined Contribution: NDC) ที่ร้อยละ 40 ภายใต้การสนับสนุนระหว่างประเทศอย่างเพียงพอ ทั้งด้าน การเงิน เทคโนโลยี และการเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศ นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมศักยภาพในการ ดําเนินกิจกรรมที่นําไปสู่การลดก๊าซเรือนกระจกของทุกภาค ส่วน โดยการดําเนินความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งในรูปแบบทวิภาคีและพหุภาคี ผ่านการดําเนินโครงการในประเด็นที่ประเทศไทยยังมีข้อจํากัดทั้งในเรื่อง องค์ความรู้ ผู้เชี่ยวชาญ ขีดความสามารถ เทคโนโลยี และงบประมาณในการดําเนินการ การสนับสนุนทาง การเงิน การเสริมสร้างศักยภาพแ ละการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จําเป็น อาทิ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดภาวะโลกร้อนจากการทํานาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ( Thai Rice NAMA (Nationally Appropriate Mitigation Action) ) เพื่อสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวรายย่อยใน 6 จังหวัดของภาคกลาง ได้แก่ ชัยนาท สิงห์ บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี และสุพรรณบุรี ให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการทํานาลดโลกร้อน เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการผลิตข้าว และปรับเปลี่ยนสู่การผลิตที่ปล่อยมลพิษต่ํา โดยดําเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2561 - 2566 รวมทั้ง การจัดทําระบบสารสนเทศและฐานข้อมูล อาทิ ระบบสารสนเทศการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ( Thailand Greenhouse Gas Emission Inventory System: TGEIS ) ศูนย์ข้อมูล ข่าวสารการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย (Thailand Climate Change Adaptation Information Platform: T - PLAT) นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ องค์การบริหารจัดการ ก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ได้มีการดําเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของ ประเทศไทย ( Thailand Voluntary Emission Redu ction Program: T - VER ) ซึ่ง พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมและ สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจ และสามารถ นําปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นไปขายในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจในประเทศได้ รวมทั้ง มีการเปิดตัวสถาบันวิทยาการด้ำนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( Climate Action Academy: CAA ) เพื่อ สร้างการรับรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความตกลงปารีส โดยเชื่อมโยงและสนับสนุนการนํา
83 นโยบายระดับประเทศสู่การปฏิบัติ พัฒนาศักยภาพและให้คําปรึกษาด้านการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อนําไปสู่ การดําเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจก สร้างและส่งเสริมให้เกิด เครือข่ายองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ํา การปรับตัวต่อ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งประเทศไทยได้เผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่หลากหลาย ทั้งจากอุณหภูมิเฉลี่ยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ระดับน้ําทะเลเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น ปริมาณน้ําฝน ที่ตกมากกว่าปกติและน้อยกว่าปกติในพื้นที่เดียวกัน มีความ แปรปรวน และคาดการณ์ได้ยาก ทําให้เกิดน้ําท่วมและน้ําป่าไหลหลาก ส่งผลให้เกิดทั้งอุทกภัย ภัยแล้ง และ วาตภัย ซึ่งล้วนมีแนวโน้มเกิดขึ้นบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงมากขึ้นส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรม ชาติและสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงของประเทศ รวมถึงจํานวนผู้เสียชีวิต ในการจัดการความเสี่ยง จากสาธารณภัยของประเทศไทยดําเนินการตามกรอบการดําเนินงานระดับนานาชาติ อาทิ เป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ เป้าหมายที่ 11 ทําให้เมืองและกา รตั้งถิ่นฐานของ มนุษย์ มีความครอบคลุม ปลอดภัย ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน และเป้าหมายที่ 13 ปฏิบัติการ อย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น กรอบการดําเนินงานเซนได เพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558 - 2573 ( Sendai Framework for Disaster Risk Reduction 2015 – 2030 ) และกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC ) ทั้งนี้ ประเทศไทยโดยหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้มีการจัดทําแผนรายสาขาที่สําคัญและการดําเนินการต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมและรับมือกับปัญหา ดังกล่าว อาทิ แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ซึ่งจัดทําโดยสํานักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกร อบและแนวทางในการบูรณาการ ประเด็นด้านการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแผนและยุทธศาสตร์ในรายสาขา และในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และมีการดําเนินการโครงการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศที่ได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ เช่น โ ครงการ Increasing resilience to climate change impacts in marine and coastal areas along the Gulf of Thailand ที่ได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนภูมิอากาศสีเขียว ( Green Climate Fund: GCF) มีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการการวางแผนและ งบประมาณในการดําเนินงานด้านการปรับตั วต่อสภาพภูมิอากาศในทะเลและพื้นที่ชายฝั่ง ดําเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 - 2567 และโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง ( Strengthening Urban Climate Governance for Inclusive, Resilient and Sustainable Societies in Thailand : SUCCESS ) โดยสถาบันสิ่งแวด ล้อมไทยที่สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป มุ่งเน้นเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะด้านวิชาการ ให้กับภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย สงขลา พัทลุง และสตูล ในการจัดการ ด้านธรรมาภิบาลและการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของ ผู้มีบทบาท สําคัญในกระบวนการวางแผนการพัฒนาเมืองให้เกิดความเท่าเทียม เสมอภาค ยุติธรรม และสามารถรับมือ ด้านสภาพภูมิอากาศได้ ดําเนินการในระหว่างปี พ.ศ. 2562 - 2567 เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการจัดทําผังน้ํา ครอบคลุมทั้ง 22 ลุ่มน้ํา ภายใต้พระราชบัญญัติน้ํา พ.ศ. 2561 เพื่ อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําของ ประเทศเกิดเอกภาพและเป็นระบบ รวมทั้งบริหารจัดการน้ําทั้งในฤดูน้ําหลากและฤดูแล้งได้อย่างเหมาะสม โดยสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ การจัดทําแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 - 2570 โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่มุ่ งลดความเสี่ยงเดิม ป้องกันความเสี่ยงใหม่อย่างมี
84 ประสิทธิภาพ เพื่อเป็นกรอบแนวคิดให้หน่วยงานทั้งระดับชาติจนถึงระดับท้องถิ่นในการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยอย่างบูรณาการเป็นระบบและมีทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งให้ความสําคัญกับการแปลงแผน การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแ ห่งชาติสู่แผนระดับต่าง ๆ ของหน่วยงาน เพื่อให้มีแผนงานบูรณาการ ที่เชื่อมโยงกันตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงได้มีการจัดทําแผนปฏิบัติการ ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นภารกิจสําคัญในการเตรียม ความพร้ อม การแจ้งเตือนภัย และการดําเนินการช่วยเหลือให้แก่หน่วยงานในระดับท้องถิ่น รวมทั้งมีการ ดําเนินการ อาทิ การฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัย การป้องกันภั ยและระงับภัยต่าง ๆ แก่ประชาชนเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ ซึ่งการดําเนินการต่าง ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงและ ความสูญเสียจากสาธารณภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เตรียมความพร้อมรับมือและฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพปกติ โดยเร็ว รวมทั้งเป็นการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้ำนการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย สร้างความ ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการเตรียมรับมือกับสาธารณภัยที่อาจจะเกิดขึ้น พลังงานทดแทน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและจํานวนประชากรโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นําไปสู่ความต้องการในการอุปโภคบริโภคพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเชื้อเพลิงฟอสซิลมีบทบาทสําคัญในการ สนองความต้องการใช้พลังงานของโลก อย่างไรก็ตาม การมีอยู่อย่างจํากัดของพลังงานเชื้อเพ ลิงส่งผลให้ทั่วโลก ประสบกับปัญหาวิกฤติการขาดแคลนพลังงานเชื้อเพลิงอย่างหนักและราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ปัญหาการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก อันเป็นสาเหตุสําคัญของปัญหา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งนําไปสู่ภาวะโลกร้อน ทําให้ทั่วโลกต่างสนใจและพยามจัดหาพลังงาน ให้เพียงพอกับความต้องการและมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และปัจจุบันประเทศไทยมีการเปลี่ยน ผ่านสู่ยุคดิจิทัล การขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และมีเทคโนโลยียานยนต์ที่มีแนวโน้มเติบโต ทําให้ พลังงานไฟฟ้ามีความสําคัญมา กยิ่งขึ้น และอาจส่งผลต่อการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพในภาคการขนส่ง รวมทั้ง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนที่ผันตัวสู่การเป็นผู้ผลิตพลังงานเพื่อใช้เองและซื้อขายกันเองมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยโดยกระทรวงพลังงานจึงได้จัดทําแผนพลังงานชาติ ( National Energy Plan ) โดยบูรณำการ 5 แผนที่มีอยู่ ได้แก่ (1) แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (2) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและ พลังงานทางเลือก (3) แผนอนุรักษ์พลังงาน (4) แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ และ (5) แผนบริหารจัดการ น้ํามันเชื้อเพลิง บูรณาการและรวมไว้ภายใต้แผนเดียว ซึ่งจะมีผลต่อทิศทาง การพัฒนาพลังงานที่สําคัญ อาทิ ไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ น้ํามัน พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน นอกจากนี้ ยังมีนโยบายและแผนที่ส่งผลต่อ การจัดหาและการส่งเสริมการผลิตและใช้พลังงาน อาทิ ยุทธศาสตร์มันสําปะหลัง พ.ศ. 2558 – 2569 ยุทธศาสตร์อ้อยโรงงานและน้ําตาลทราย พ.ศ. 2558 – 2569 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการ ขยะมูลฝอยของประเทศไทย พ.ศ. 2560 นโยบายรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก และ นโยบายส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการให้ข้อมูลผู้บริโภคเกี่ยวกับพลังงานสะอาด นอกจากนี้ ยังมีการ ดําเนินการโครงการ อาทิ การสนับสนุน การอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน การพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ํา การส่งเสริมการจัดการขยะในชุมชนเพื่อนํามาผลิตเป็นเชื้อเพลิงขยะ ( Refuse Derived Fuel: RDF ) และ การขับเคลื่อนงานสมาร์ทกริดของประเทศไทย
85 2. รายละเอียดยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการเพื่อสร้างสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ มุ่งเน้นการส่งเสริมการบริหาร จัดการเพื่อกําหนดแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศให้สอดคล้องกับการเติบโตในมิติ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างความพร้อมและขีดความสามารถในการปรับตัวแล ะรับมือ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 3.1 การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกภาคส่วน ส่งเสริมการบริหารจัดการเพื่อกําหนดแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของประเทศไทยให้สอดคล้องกับการเติบโตในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และผลักดันการใช้พลังงาน ทดแทน โดยมีกิจกรรมหลัก ได้แก่ การประเมิน คาดการณ์และกําหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของ ประเทศ กา รผลักดันนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมส่งเสริมทุกภาคส่วน ดําเนินการตามนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การสนับสนุนนวัตกรรมและ เทคโนโลยีที่ลดการปล่อย/กักเก็บก๊าซเรือนกระจกในสาขาต่าง ๆ การให้ความรู้ สร้างควา มตระหนัก และ ส่งเสริมภาคส่วนต่าง ๆ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ จังหวัดจัดทําข้อมูลปริมาณและแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจก การส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม คาร์บอนต่ําอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิด Bio – Circular – Green Econo my Model (BCG Model) การเพิ่ม ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน และกิจกรรมสนับสนุน ได้แก่ การจัดทํา ชุดองค์ความรู้ สําหรับส่งเสริมและเผยแพร่ในเรื่ องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทั้งระบบ กำรรวบรวม จัดทําและพัฒนาฐานข้อมูลการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งพัฒนาการรายงานและติดตามประเมินผล การพัฒนาและใช้กลไกทางกฎหมาย เครื่ องมือเศรษฐศาสตร์และสังคม การเงิน ตลาดทุน และมาตรฐานที่ เกี่ ยวข้องเพื่ อลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกและส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานทดแ ทน การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตพลังงานทดแทนและ พลังงานทางเลือก รวมทั้งการส่งเสริมการผลิตเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนได้เองภายในประเทศ และ การพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่ เกี่ ยวข้องและแนวทางความร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวั ตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลดก๊าซเรือนกระจกและการใช้พลังงาน ทดแทน หน่วยงานรับผิดชอบหลัก สผ. พพ. หน่วยงาน สนับสนุน อบก. ปม. อส. ทช. คพ. สส. สป.ทส. กรอ. กนอ. สนพ. กฟผ. สนข. สศช. สวทช . สอวช. ก.ล.ต. จท. กข. สศก. กสก. กปศ. พด. กวก. ยผ. ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาชน กลยุทธ์ที่ 3.2 การส่งเสริมความพร้อมในการปรับตัวและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทั้งระบบ ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ มีแผน การดําเนินงาน รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยี ระบบเฝ้าระวังและเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีศักยภาพใ นการ ปรับตัวและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ โดยมีกิจกรรมหลัก ได้แก่ การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยทางธรรมชาติ การศึกษาและสํารวจข้อมูลเพื่อลด ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในสาขาที่เกี่ยวข้อง การผลักดันให้องค์ กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูล บันทึกเหตุการณ์และจัดทําการประเมินข้อมูลพื้นฐานด้านการเปลี่ยนแปลง
86 สภาพภูมิอากาศและผลกระทบจากภัยพิบัติ การจัดทําแนวทางการเตรียมรับมือกับการเปลี่ ยนแปลง สภาพภูมิอากาศและความเสี่ยงที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งบูรณาการการจั ดการภัยพิบัติในแผนการดําเนินงานระดับ พื้นที่ และการจัดทําแผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติที่เกี่ยวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ กิจกรรมสนับสนุน คือ การพัฒนาเทคโนโลยีและจัดหาเครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศและลดผลกระท บจากภัยพิบัติ การส่งเสริมระบบการจัดการฐานข้อมูลที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ถูกต้อง ทันต่อเหตุการณ์ และวิเคราะห์ผลความเสี่ยงเพื่อแจ้งเตือนภัยไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว และทันเวลา การผลักดันกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงส ภาพภูมิอากาศ การเผยแพร่ข้อมูล สร้างความตระหนักรู้ และพัฒนาศักยภาพในการปรับตัวและรับมือต่อผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการส่งเสริมความร่วมมือและบูรณาการระหว่างหน่วยงาน รวมทั้ง การวางแผนในการจัดการความเสี่ยง หน่วยงานรับผิดชอบหลัก ปภ. หน่วยงาน สนับสนุน ปค. สถ. อต. สทนช. สสน. ทธ. ยผ. พด. สทอภ. ชป. ทน. ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาชน
87 รูปภาพที่ 3 - 5 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดการสภาพแวดล้อมเมืองและมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ
88 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดการสภาพแวดล้อมเมืองและมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ เป้าหมาย ระบบบริหารจัดการสภาพแวดล้อมเมืองและมลพิษมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตที่ดีสําหรับประชาชน ตัวชี้วัด 4.1 คุณภาพน้ําในแหล่งน้ําผิวดินอยู่ในเกณฑ์ดีร้อยละ 85 และแหล่งน้ําทะเลอยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 89 (ร้อยละ) 4.2 พื้นที่ที่ มีคุณภาพอากาศดีขึ้น ร้อยละ 80 ( ร้อยละ ) 4.3 ระดับเสียงริมถนนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ( ร้อยละ ) 4.4 ขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้องร้อยละ 80 ( ร้อยละ ) 4.5 ของเสียอันตรายชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ 50 ( ร้อยละ ) 4.6 มูลฝอยติดเชื้อได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ร้อยละ 100 ( ร้อยละ ) 4.7 มีการจัดทําแผนผังภูมินิเวศเพิ่มขึ้น 1 ภาค (จํานวนภาค) 4.8 มีเมืองต้นแบบที่พัฒนาบนพื้นฐานภูมินิเวศ อย่างน้อย 22 เมือง ( จํานวนเมือง ) 4.9 มีพื้นที่สีเขียวสาธารณะในภาพรวมของประเทศ ไม่น้อยกว่า 10 ตารางเมตรต่อคน ( ตารางเมตรต่อคน) 4.10 มีระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมที่มีประสิทธิภาพ การจัดการสภาพแวดล้อมเมือง และมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ เป็นประเด็น การพัฒนาสําคัญที่ ประเทศทั่วโลกให้ความสนใจ การเติบโตของเศรษฐกิจโลกล้วนมาจากกิจกรรมในเมืองใหญ่ ความเป็นเมือง (Urbanization) จึงเป็นหนึ่งในแนวโน้มสําคัญ ( Megatrends) ที่กําลังเกิดขึ้น ด้วยเมือง เป็นศูนย์กลางกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นแหล่งดึงดูดนักลงทุนต่าง ๆ เข้ามาลงทุนในพื้นที่เมือง ทําให้เกิดการย้ายถิ่นฐานเข้าสู่เมือง ส่งผลให้จํานวนและความหนาแน่นของประชากรในเขตเมืองเพิ่มสูงขึ้น เกิดความต้องการด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ผลักดันให้เกิดการขยายตั วของเมือง ซึ่งบางครั้งการขยายตัว ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่ เช่น การขยายตัวของเมืองในพื้นที่ที่ไม่มีความเหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐาน พื้นที่เมืองที่มีการจราจรหนาแน่น พื้นที่ที่มีการเผาในที่โล่ง และพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดมลภาวะ ทางอากาศและเ สียง การปล่อยน้ําเสียจากโรงงานหรือพื้นที่อุตสาหกรรมลงสู่แหล่งน้ําธรรมชาติส่งผลต่อวงจร ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ขยะมูลฝอยที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง รวมถึง มลพิษที่เกิดจากสารเคมีภาคการเกษตรที่ยังคงมีการนําเข้าปุ๋ยเคมีและสารเคมีอันต รายทางการเกษตร อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัญหามลพิษเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้ ความหนาแน่นของประชากรเมืองยังนําไปสู่ปัญหาการจัดการสภาพแวดล้อมเมือง เช่น การขาดการวางแผน การใช้ประโยชน์ที่ดินให้เกิดความสมดุลและการจัดการสิ่งแ วดล้อมชุมชนในวิถีธรรมชาติตามระบบนิเวศ การขาดแคลนพื้นที่สีเขียวและพื้นที่เพื่อการนันทนาการที่ไม่เพียงพอกับจํานวนประชากรที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึง ความเสื่อมโทรมของแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการกําหนดแผนนโยบาย รวมถึงข้อตกลงต่าง ๆ ทั้งใน ระดับนานาชาติระดับภูมิภาคและระดับประเทศเพื่อเป็นการผลักดันและส่งเสริม การจัดการสภาพแวดล้อมเมืองและมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ หลายประเทศทั่วโลกได้ยกประเด็นด้านการจัดการสภาพแวดล้อมเมืองและมลพิษเป็นประเด็น ที่ต้องได้รับการพัฒนา และมีการบริหารจัดกำรอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจถึงคุณภาพ สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีสําหรับประชาชน ซึ่งมีการกําหนดแผน นโยบาย รวมถึงข้อตกลงต่าง ๆ ที่ให้ความสําคัญต่อการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมเมืองและมลพิษทั้งระบบ อาทิ เป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืน ( Sustainable Development Goals : SDGs) เป้าหมายที่ 11 ทําให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
89 มีความครอบคลุม ปลอดภัย ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน ( Make cities and human settlements inclusive, safe, resilient and sustainable) มีเป้า หมายย่อย ครอบคลุมในหลา ยประเด็น ได้แก่ การยกระดับ การพัฒนาเมือง และขีดความสามารถให้ครอบคลุม เพื่อการวางแผนและการบริหารจัดการการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ อย่างมีส่วนร่วม การลดผลกระทบทางลบของเมืองต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการให้ความสําคัญกับคุณภาพอากาศ และการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอื่น ๆ การ พัฒนาและเข้าถึงพื้นที่สีเขียวสําหรับคนกลุ่มต่าง ๆ รวมถึง การวางแผนบริหารจัดการเมืองและชุมชนอย่างมีส่วนร่วม บูรณาการและยั่งยืน ปกป้องและคุ้มครองมรดก ทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติของโลก เป็นต้น อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและ ธรรมชาติ ( Convention c oncerning the p rotection of the w orld c ultural and n atural h eritage or The w orld h eritage c onvention) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการปกป้องคุ้มครองและ อนุรักษ์แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ให้ดํา รงคุณค่าความโดดเด่น เป็นมรดกของมวลมนุษยชาติทั้งในปัจจุบันและในอนาคต อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการ เคลื่อนย้าย ข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกําจัด ( Basel c onvention on the c ontrol of t ransboundary m ovements of h azardous w astes and t heir d isposal) มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสีย อันตรายให้เหลือน้อยที่สุดโดยการจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการบําบัดและกําจัดของเสียอันตราย ที่แหล่งกําเนิดให้ได้มากที่สุด และลดการก่อกําเนิดของเสียอันตราย อนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษ ที่ตกค้างยาว นาน ( Stockholm c onvention on p ersistent o rganic p ollutants) มีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครอง สุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ( Persistent o rganic p ollutants : POPs) โดยการลด เลิกการผลิต การใช้ และการปลดปล่อยสารมลพิษดังกล่าว ซึ่งเป็นกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ที่ย่อยสลาย ได้ยาก มีคุณสมบัติเป็นพิษสูง สะสมในสิ่งมีชีวิต ตกค้างยาวนาน สามารถระเหยและเคลื่อนย้ายได้ทั้งในอากาศ และน้ํา อนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสําหรับสารเคมีอันต รายและสารเคมี ป้องกันกําจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ ( Rotterdam c onvention on the p rior i nformed c onsent p rocedure for c ertain h azardous c hemicals and p esticides in i nternational t rade : PIC) มีจุดมุ่งหมาย เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและความรับผิดชอบระหว่างประเทศในเรื่องการค้าสารเคมีอันตรายบางชนิด รวมทั้ง ปกป้องสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากอันตรายของสารเคมี และส่งเสริมการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย ต่อสิ่งแวดล้อม โดยการอํานวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ ยวกับลักษณะของสารเคมี โดยให้มีการแจ้ง ให้ผู้ มีอํานาจตัดสินใจระดับชาติได้ทราบถึงการนําเข้าและส่งออก และแก่ประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญาฯ ภูมิภาคอาเซียน นับเป็นภูมิภาคที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของโลก แต่ปัจจุบัน จากการเพิ่มขึ้นของประชากรผนวกกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ทําให้เกิดการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้หลายเมืองเผชิญกับปัญหาการอยู่อาศัยของประชากรที่มีความหนาแน่น และนําไปสู่ประเด็นปัญ หา ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษทางน้ํา (คุณภาพแหล่งน้ําผิวดิน คุณภาพน้ําใต้ดิน และคุณภาพน้ําทะเล) มลพิษทางอากาศและเสียง การใช้สารกําจัดศัตรูพืชในภาคการเกษตรกรรม รวมถึงการบริโภคที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อ ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นด้วย จากรายงานการบริหารจัดการขยะในอาเซียน (Summa ry report: Waste m anagement in ASEAN c ountries) ภายใต้โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ( UNEP) เมื่อปี ค.ศ. 2017 (พ.ศ. 2560) ได้รายงานว่า ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีปริมาณขยะเกิดขึ้นมากที่สุดถึง 64 ล้านตันต่อปี ตามด้วย ประเทศไทย 26.77 ล้านตันต่อปี โดยขยะที่พบส่วนใหญ่ในกลุ่มประเทศสมาชิกเป็นขยะอินทรีย์ (Organic waste) กว่าร้อยละ 50 นอกจากนี้ ขยะมูลฝอยอื่น ๆ เช่น พลาสติก กระดาษ และโลหะ ก็เป็นสิ่งที่พบเห็น ได้ทั่วไป รวมถึงขยะอิเล็กทรอนิกส์ ขยะอุตสาหกรรม และขยะจากการก่อสร้างและการรื้อถอน นอกจากนี้ ความหนาแน่น ของประชากรเมืองยังนําไปสู่ปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในเขตเมือง เช่น การขาดแคลนพื้นที่สีเขียว
90 และพื้นที่นันทนาการที่ ไม่เพียงพอกับจํานวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ความเสื่อมโทรมของแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และศิลปกรรม ส่งผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาค รวมถึงส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วย จึงได้มีการกําหนดแผน นโยบาย รวมถึงข้อตกลงต่าง ๆ เช่น แผนงานประชาคม สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน พ.ศ. 2559 - 2568 (ASCC Blueprint 2016 - 2025) ที่มีการระบุถึงการส่งเสริม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก โดยปราศจากผลกระทบต่อหลักการแข่งขันและ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้ อม ส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรน้ําจืด ส่งเสริมคุณภาพมาตรฐานการดํารงชีวิตในเขตเมืองต่าง ๆ ของอาเซียน และเขตชุมชน รวมถึงการจัดการและ การป้องกันปัญหามลพิษข้ามพรมแดน ซึ่งความตกลงอาเซียนว่าด้วย มลพิษจากหมอกควันข้ามแดน ( ASEAN Agreement on t ransboundary h aze p ollu tion: AATHP) มีวัตถุประสงค์ ในการเพิ่มความร่วมมือในการดําเนิน มาตรการป้องกัน ติดตาม ตรวจสอบ และควบคุมการเกิดไฟป่าและการเผาในที่โล่ง มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยน ข้อมูล ตลอดจนเพิ่มช่องทางในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกรณีที่มีวิกฤตมลพิษหมอกควันข้ามแดน แผนปฏิบัติการอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2568 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562) ที่มีรายละเอียดครอบคลุมการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อมเมือง ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 กำรอนุรักษ์ธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 2 สิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการ ทรัพยากรน้ํา ยุทธศาสตร์ที่ 4 สิ่งแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืน และ ยุทธศาสตร์ที่ 6 สารเคมีและของเสีย นอกจากนี้ ภูมิภาคอาเซียนยังได้มีการจัดตั้งกลไกคณะทํางานเพื่อขับเคลื่อนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสภาพแวดล้อม เมืองและมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเช่น คณะทํางานอาเซียนด้านการจัดการสารเคมี และของเสีย ( ASEAN Working g roup on c hemicals and w aste : AWGCW) มีจุดมุ่งหมำยเพื่อพัฒนาความร่วมมือ ระหว่างสมาชิก อาเซียนในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลก และขยายความร่วมมือด้านการจัดการของเสีย ให้ครอบคลุม การจัดการขยะทุกประเภทรวมทั้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ คณะทํางานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืน ( ASEAN Working g roup on e nvironmentally s ustainable c ities : AWGESC) ที่กําหนดตัวชี้วัดอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม เมือง ที่ยั่งยืน แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ตัวชี้วัดด้านอากาศ ( c lean a ir) ตัวชี้วัดด้านน้ํา ( c lean w ater) และตัวชี้วัดด้าน ขยะและพื้นที่สีเขียว ( c lean and g reen l and) และคณะทํางานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ทางทะเล และชายฝั่ง ( ASEAN Working g roup on c oastal and m arine e nvironment: AWGCME ) รวมถึงความร่วมมือ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการจัดการมลพิษและการจัดการพื้นที่ปนเปื้อนดินและน้ําใต้ดิน ภายใต้คณะทํางาน ด้านการฟื้นฟูการปนเปื้อนมลพิษในดินและน้ําใต้ดินแห่งประเทศในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก ( WG ReSAGPAPR ) ประเทศไทยได้มีการผนวกประเด็นการบริหารจัดการเพื่อให้เมืองสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน และลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยได้บูรณาการประเด็นดังกล่าวเข้ากับแผนระดับต่าง ๆ ทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ แผนระดับที่ 1 ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 ด้านที่ 5 การสร้างกา รเติบโตบนคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประเด็นที่ 4 พัฒนาพื้นที่เมือง ชนบท เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มุ่งเน้น ความเป็นเมืองที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง แผนระดับที่ 2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) ประเด็น (18) การเติบโตอย่างยั่งยื น แผนย่อยการจัดการมลพิษที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสารเคมีในภาคเกษตรทั้งระบบให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล รวมทั้งเชื่อมโยงกับประเด็นอื่น ๆ ได้แก่ ประเด็น (6) พื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ แผนย่อยการพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ และแผนย่อยการพัฒนา พื้นที่เมือง ชนบ ท เกษตรกรรม และอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่มีการบริหารจัดการตามแผนผังภูมินิเวศอย่างยั่งยืน ประเด็น (19) การบริหารจัดการน้ําทั้งระบบ แผนย่อยการพัฒนาการจัดการน้ําเชิงลุ่มน้ําทั้งระบบเพื่อ เพิ่มความมั่นคงด้านน้ําของประเทศ และประเด็น (23) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม แผนย่อ ยการวิจัยและ พัฒนานวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ( พ.ศ. 2566 - 2570) ฉบับที่ 13
91 หมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตอย่างยั่งยืน และหมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ํา นโยบายและแผน ระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 - 2565) ในนโยบายที่ 11 รักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แผนระดับที่ 3 ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 - 2569 และ นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้ อมแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2580 ในนโยบายที่ 2 สร้างการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อความมั่งคั่งและยั่งยืน นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังได้ ดําเนินการพัฒนาและปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ รวมถึงทบทวนแผนปฏิบัติการและมาตรฐานเกี่ยวกับ คุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่ น การจัดทํายุทธศาสตร์การจัดการมลพิษ 20 ปี และแผนจัดการมลพิษ พ.ศ. 2560 - 2564 เพื่อเป็นกรอบและทิศทางในการจัดการมลพิษของประเทศที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศ และการเปลี่ยนแปลงบริบทในระดับประเทศและระดับโลก รวมทั้งเป็นแนวทางเสริมสร้างการมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่ วนในการพัฒนาประเทศด้านการจัดการมลพิษที่มีเป้าหมายและทิศทางร่วมกัน การพัฒนา มาตรฐานควบคุมการระบายน้ําทิ้งจากอุตสาหกรรมเฉพาะประเภท และการพัฒนาระบบคาดการณ์คุณภาพน้ํา และเตือนภัยวิกฤตคุณภาพน้ํา เพื่อการตัดสินใจในการบรรเทาปัญหาได้ทันท่วงที การพัฒนาเครื่องมือสําหรับ กา รประเมินสถานการณ์คุณภาพน้ําทะเลโดยรวม หรือดัชนีคุณภาพน้ําทะเล ( Marine water quality index: MWQI ) ที่จะช่วยให้ทราบถึงสภาวะของคุณภาพน้ําได้ รวมถึงการดําเนินงานด้านการจัดการมลพิษทางทะเล ผ่านแผนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ําเนื่องจากน้ํามั นแห่งชาติ เป็นต้น การจัดทําแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 - 2564) และ (ร่าง) แผนปฏิบัติการ ด้านการจัดการขยะของประเทศ (พ.ศ. 2565 - 2570) เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการขับเคลื่อนการแก้ไข ภาวะมลพิษจากขยะที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความเดือดร้อน และสุขภาพอนามัยของประชาชนได้อย่างจริงจัง แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 - 2565) ภายใต้ Road map การจัดการ ขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 - 2573 เพื่อใช้เป็นแผนขับเคลื่อนการดําเนินงานในกำรป้องกันและ แก้ไขปัญหา ขยะพลาสติกที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการนําขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เชิงบูรณาการ (พ.ศ. 2565 - 2569) และมีการผลักดันการออก (ร่าง) พระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. … เพื่อให้ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการจัดการ อย่างมี ประสิทธิภาพและถูกต้องตามหลักวิชาการ การดําเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เช่น กำรประชุมคณะอนุกรรมการ บริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ได้มีการปรับปรุงกฎหมาย แผนงาน และระบบฐานข้อมูลเพื่อให้ครอบคลุมการดําเนินงาน เช่น กรมอนามัยได้ ปรับปรุงกฎกระทรวงการจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน พ.ศ. 2563 กฎกระทรวงว่าด้วยการ กําจัดมูลฝอยติดเชื้อ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 สําหรับประเด็นการบริหารจัดการคุณภาพน้ําของประเทศไทย สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติได้จัดทําแผนแม่บทการบริหารจัดการ ทรัพยากรน้ํา 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580 เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาทรัพยาก รน้ํา ของประเทศ ที่มีผลกระทบรุนแรง ต่อประชาชน สนับสนุนด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่ต้องเร่งดําเนินการอย่างต่อเนื่อง ดําเนินโครงการด้านน้ํา ภายใต้แผนงานความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในระดับลุ่มน้ํามีความรู้ ความเข้าใจในการใช้แนวทางการปรั บตัวในพื้นที่ลุ่มน้ําของตน สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ํา (องค์การมหาชน) ได้ดําเนินการพัฒนาระบบคลังข้อมูลน้ําแห่งชาติ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลด้านทรัพยากรน้ําของ ประเทศ นําไปสู่การจัดทําและให้บริการข้อมูลเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําแก่หน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง
92 ความ หนาแน่นของประชากรเมืองที่มากขึ้น ยัง ส่งผลต่อความไม่เป็นระเบียบในการตั้งถิ่นฐาน และ การใช้ประโยชน์ที่ ดิน และนําไปสู่ ปัญหาการขาดแคลนพื้นที่ สีเขียว โดยเฉพาะพื้ นที่ สีเขียวสาธารณะ ที่ไม่เพียงพอกับจํานวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ทําให้พื้นที่สีเขียวมีปริมาณและคุณภาพลดลง รวมถึงความเสื่อมโทรม ของแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม สําหรับพื้นที่สีเขียวถือได้ว่าเป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุขของ ประชากรในเมือง ซึ่งเมืองที่ดีควรมีพื้นที่สีเขียวที่มี คุณภาพในปริมาณที่เหมาะสมและสามารถเข้าถึงได้ โดยสะดวก โดยมีความร่วมมือในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเมืองสีเขียว ( Green c ities) ภายใต้แผนงาน พัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย - ไทย ( Indonesia - Malaysia - Thailand Growth Triangle: IMT - GT) รวมทั้งโค รงการรางวัลอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืน โดยประเทศไทยคัดเลือกเมือง (เทศบาล) เพื่อเป็นตัวแทนเข้าร่วมการคัดเลือกรับรางวัลอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืนในปี พ.ศ. 2564 ( ASEAN ESC Awards 2021) ซึ่งเมือง (เทศบาล) ที่ได้รับรางวัล ASEAN ESC Awards 2 021 ได้แก่ เทศบาล นครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เทศบาลเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ และเทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา รวมทั้งการพัฒนาเกณฑ์และตัวชี้วัดอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืน และ ประเทศไทยได้ดําเนินการจัดกิจกรรมเมืองต้นแบบ สิ่งแวดล้อมยั่งยืนอาเซียน ในพื้นที่ชุมชนหรือเทศบาล ต้นแบบ 6 แห่ง ได้แก่ เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เทศบาลเมือง ตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เทศบาลตําบลเวียงเทิง จังหวัดเชียงราย เทศบาลตําบลฉมัน จังหวัดจันทบุรี และ เทศบาลตําบลบ้านสา ง จังหวัดพะเยา เพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น การจัดการขยะแบบ ครบวงจรและธนาคารขยะรีไซเคิล นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเผชิญกับความท้ายทายในด้านการบริหารจัดการ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของ แห ล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม ได้แก่ อิทธิพลของการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือผลจาก ภัยธรรมชาติที่ส่งผลต่อคุณสมบัติของแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม การให้บริการและสถานะของ ระบบนิเวศ และการถูกรบกวนจากมนุษย์ จึงโดยได้มีการจัดทํายุทธศาสตร์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธ รรมชาติ และศิลปกรรมแห่งชาติ ระยะ 20 ปี (2561 - 2580) และแผนแม่บทการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมระยะ 20 ปี (2561 - 2580) เพื่อเตรียมพร้อมต่อการปรับตัวให้ทันกับความ เปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ และปรับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม เชิงรุก อันจะเป็นการ เสริมบทบาทด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในการพัฒนาที่ยั่งยืน 1 . ประเด็นพัฒนา จากการขยายตัวและการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการขยายเมืองที่เพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว ทําให้เกิดความเสื่อมโทรมและ ร่อยหรอ ของทรัพยากรธรรมชาติ และก่อให้เกิดมลภาวะมากขึ้น จึงทําให้ เกิดแนวคิดในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยมลพิษจากแหล่งกําเนิด การบริหารจัดการ ขยะมูล ฝอย ของเสียอันตรายและมูลฝอยติดเชื้ อ การจัดการสิ่ งแวดล้อมชุมชนเชิงนิเวศ โดยคํานึงถึง องค์ประกอบพื้นฐานทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม - วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม การเพิ่มพื้นที่สีเขียว รวมถึงการ บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม เพื่อมุ่งสู่การจัดการสภาพแวดล้อมและมลพิษที่ส่งผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมทั้งระบบอย่างยั่งยืน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ คุณภาพแหล่งน้ําผิวดิน และ คุณภาพแหล่งน้ําน้ําทะเล น้ําถือเป็นทรัพยากรที่มีความสําคัญต่อการดํารงชีวิตของสิ่งมีชีวิต รวมถึงการพัฒนาประเทศ และเป็นปัจจัยพื้นฐานเพื่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เมื่อความต้องการในการขยายความเป็นเมือง การเติบโต ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การพัฒนาอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมที่เพิ่ มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ความ ต้องการการใช้น้ําเกิดขึ้นในทุกภาคส่วน ก่อให้เกิดเป็นปัญหาคุณภาพน้ําเสื่อมโทรม นําไปสู่ปัญหามลพิษที่ส่งผล
93 กระทบต่อคุณภาพน้ําและการนําไปใช้ประโยชน์ เมื่อ แหล่งน้ําผิวดินมีการปนเปื้อน ส่งผลให้ แหล่งน้ํา ใต้ดิน ในบริเวณใกล้เคียงเกิดการปนเปื้ อนของสารพิษนั้นด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่ฝั่งกลบขยะชุมชน หรือ พื้นที่รอง รับ การ กําจัดขยะอุตสาหกรรม พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมหรือโรงงานอุตสาหกรรม หรือ พื้นที่เหมืองแร่และพื้นที่ เกษตรกรรม ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงต่อการปนเปื้อนจากสารพิษอันตรายจําพวกโลหะหนักและสารพิษ สารอิ นทรีย์ และสารอินทรีย์ระเหยง่าย ส่งผลโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยปัจจุบัน พบว่า คุณภาพ ใต้ดิน โดยทั่วไปเป็นน้ําคุณภาพดีอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ําบาดาลที่ใช้บริโภคได้ โดย ในบางพื้นที่ มีปริมาณธาตุเหล็ก แมงกานีส ฟลูออไรด์ และคลอไรด์ ที่เกินเกณฑ์มา ตรฐานน้ําบาดาลที่ใช้บริโภค ซึ่ง เป็นผล มา จากสภาพธรณีวิทยาและอุทกธรณีวิทยา สําหรับคุณภาพน้ําของแหล่งน้ําผิวดิน ในปี พ.ศ. 2564 ส่วนใหญ่ อยู่ในเกณฑ์พอใช้ถึงดีมาก ร้อยละ 86 และไม่มีแหล่งน้ําที่อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับ ปี พ.ศ. 2563 แหล่งน้ําโดยรวมมีคุณภาพน้ําดีขึ้นเล็กน้อย และแหล่งน้ําที่อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมีค่าลดลงจาก ปี พ.ศ. 2563 ที่ ร้อยละ 14 เมื่อพิจารณาคุณภาพแหล่งน้ําท ะเล พบว่า ใน ปี พ.ศ. 2564 มีแนวโน้ม อยู่ในเกณฑ์ ดีมากร้อยละ 3 เกณฑ์ดีร้อยละ 47 เกณฑ์พอใช้ร้อยละ 40 เกณฑ์เสื่อมโทรมร้อยละ 7 และเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก ร้อยละ 3 แม้ว่าสถานการณ์การ แพร่ระบาดของ โรคโควิด 19 จะทําให้จํานวนนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัด ที่ติดชายฝั่งทะเลลดลง แต่ปัจจัยหลักที่ทําให้เกิดมลพิษในน้ําทะเลชายฝั่งยังคงเป็นการระบายน้ําเสียที่เกิดขึ้น จากการใช้น้ําของชุมชนและการท่องเที่ยว ก ระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม และ เรือประมง ส่งผลให้ เกิดปรากฏการณ์น้ําทะเ ลเปลี่ยนสี น้ํามันรั่วไหลในทะเล รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอุณภูมิของน้ําทะเล ที่ส่งผลกระทบ ต่อสภาพแวดล้อมใต้ท้องทะเล เช่น การเกิดปะการังฟอกขาว และยังส่งผลกระทบเป็นห่วงโซ่ไปสู่ทัศนียภาพ การท่องเที่ยว การทําประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําชายฝั่ง โดยประเทศไทย ได้มีการดําเนิ นการเพื่อลดความ เสื่อมโทรมของแหล่งน้ําและปรับปรุงคุณภาพน้ําของประเทศให้ดีขึ้น โดย การพัฒนามาตรฐานควบคุมการระบายน้ําทิ้ง จากอุตสาหกรรมเฉพาะประเภท และระบบคาดการณ์คุณภาพน้ําและเตือนภัยวิกฤตคุณภาพน้ํา เพื่อการตัดสินใจ ในการบรรเทาปัญหาได้ทันท่วงทีและยังมีระบบในการสนับสนุนการวางแผนบริหารจัดการมลพิษทางน้ําเชิงพื้นที่ มลพิษทางอากาศและเสียง ปัจจุบันมลพิษทางอากาศและเสียงเป็นหนึ่งในปัญหาสําคัญที่ทั่วโลกกําลังเผชิญ และไม่ได้ เกิดขึ้นเฉพาะเมืองอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่อาจเกิดขึ้นได้ตา มเมืองใหญ่ที่มีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและ อุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ทําให้มีการใช้ระบบการคมนาคมขนส่งค่อนข้างสูง ประกอบกับจํานวนยานพาหนะ มากและสภาพการจราจรติดขัด รวมถึงกิจกรรมอื่น ๆ ที่เป็นแหล่งกําเนิดมลพิษ เช่น กิจกรรมการก่อสร้าง การเผาในที่โล่ง ของ ภาคเกษตรกรรม เสียงริมถนนที่ก่อให้เกิดความรําคาญและเกินขีดความสามารถที่โสตประสาท จะรับได้ ส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวยังคงประสบปัญหามลพิษทางอากาศและเสียงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จากสถานการณ์ มลพิษที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ภาคส่วนต่าง ๆ จึงได้มีการขับเคลื่อนนโยบาย แผน กฎหมาย และการดําเนินงาน จากความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อนําไปสู่การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และเกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม และประชาชนให้น้อยที่สุด โดย สถานการณ์คุณภาพอากาศภาพรวมในปี พ.ศ. 2564 ของประเทศไทย มีแนวโน้มดีกว่ำ พ.ศ. 2563 เนื่องจากการขับเคลื่อนการดําเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้แผนปฏิบัติการ ขับเคลื่อนวาระแห่งชาติและแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ประกอบกับสถานการณ์ การแพร่ระบาดของ โรคโควิด 19 ทําให้ประชาชนส่วนใหญ่ลดกิจกรรมการเดินทาง ปรับเปลี่ ยนพฤติกรรมในรูปแบบ การปฏิบัติงานที่บ้าน ส่งผลให้การใช้รถยนต์และการจราจรขนส่งลดลง โดยประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสําคัญ ของมลพิษทางอากาศและเสียง และได้ดําเนินการจัดการมลพิษทางอากาศในประเทศไทย เช่น การดําเนินการ ตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “ การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ” การจัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหา มลพิษทางอากาศ การ กําหนดมาตรฐานและมาตรการควบคุมมลพิษทางอากาศจากแหล่งกําเนิด การกําหนด
94 มาตรฐานควบคุมการปล่อยมลพิษจากแหล่งกําเนิดจากยานพาหนะ การ ปรับปรุงมาตรฐานควบคุมการปล่อย ทิ้งไอน้ํามันเบนซินจากคลังน้ํามันเชื้ อเพลิง การแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ การดําเนินโครงการ “ ชิงเก็บ ลดเผา ” การประชุมระหว่างประเทศภายใต้ข้อตกลงอาเซียนเรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน ซึ่งการดําเนินการ ที่สอดคล้องกับแผนและความร่วมมือในระดับต่าง ๆ ส่งผลให้ในปี พ.ศ. 2564 ปริมาณ ฝุ่นละออง PM 2.5 ลดลง ร้อยละ 4 และฝุ่นละออง PM 10 ลดลงร้อยละ 7 จากปี พ.ศ. 2563 นอกจากนี้ มลพิษทางเสียง ยังเป็นสภาวะที่มี การก่อให้เกิดเสียงที่มีการรบกวน ทําให้เกิดความรําคาญและเกินขีดความสามารถที่โสต ประสาทจะรับได้ องค์การอนามัยโลก ( World h ealth o rganization: WHO) ได้ระบุว่า มลภาวะทางเสียง เป็น หนึ่งในภัยคุกคาม ด้านสิ่งแวดล้อมที่อันตรายที่สุดต่อสุขภาพ เพราะไม่เพียงก่อให้เกิดความหงุดหงิดรําคาญ แต่ยังสามารถส่งผลกระทบ โดยตรงต่อสุขภาพต่อมนุษย์ เช่น การสูญเสียการได้ยินอย่างช้า ๆ หรือภาวะประสาทหูเสื่อม โดยแหล่งกําเนิด ของมลพิษทางเสียงอาจมา จากแหล่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงจากจราจร เสียงจากการประกอบการอุตสาหกรรม โดยสถานการณ์มลภาวะทางเสียงของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2564 พบว่า ระดับเสียงเฉลี่ยในภาพรวม มีค่าอยู่ระหว่าง 45 .0 - 84.5 เดซิเบลเอ และมีระดับเสียงเฉลี่ยลดลงจากปีที่ผ่านมา ซึ่ง สาเหตุ ส่วนหนึ่ งเป็นผล มาจาก สถานการณ์การ แพร่ระบาดของ โรคโควิด 19 ที่รัฐบาลมีการกําหนดมาตรการขึ้น เช่น การปิดสถานที่ ที่ เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง ( Work from Home) รวมถึงการกําหนดช่วงเวลาเดินทาง และการทํากิจกรรมต่าง ๆ จากสถานการณ์ประเด็นปัญหาข้างต้น กรมควบคุมมลพิษได้ดําเนินการในการลด และควบคุมมลพิษทางเสียงเข้าสู่นโยบาย แผน และกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การปรับปรุงมาตรฐานระดับเสียงของ รถจักรยานยนต์ การกําหนดมาตรฐานระดับเสียงของรถยนต์ไฮบริด ผลักดันการ จัดทํา (ร่าง) แผนปฏิบัติการ จัดการมลพิษทางเสียงและความสั่นสะเทือน ขยะมูลฝอยชุมชน ของเสียอันตรายชุมชน และมูลฝอยติดเชื้อ การขยายตัวของประชากรและการบริโภคที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี อีกทั้งการขยายตัวของเมือง ส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชน ของเสียอันตรายชุมชน และมูลฝอยติดเชื้อเพิ่ มขึ้นตามไปด้วย รวมทั้ง การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจในรูปแบบของธุรกิจออนไลน์ทําให้พฤติกรรมการบริโภคของประชาชนเปลี่ยนไป ก่อให้เกิดบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายยากเพิ่มปริมาณมากขึ้น ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนจึงเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย หากไม่ได้รับการจัดการที่เหมาะสมจะส่งผลกระทบต่ อสิ่งแวดล้อม และยังส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของ ประชาชนด้วย สําหรับปี พ.ศ. 2564 พบว่า ขยะมูลฝอยได้รับการจัดการอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้น 9.28 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 37 ของปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด ซึ่ง เพิ่มขึ้น เป็น ร้อยละ 7.04 จาก ปี พ.ศ. 2563 ที่มี ปริมาณ 8.67 ล้านตัน แต่ยั งพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีการคัดแยกขยะมูลฝอย ยังคงทิ้งรวมกันทุกประเภท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังมีการเก็บขนขยะมูลฝอยแบบรวมใส่รถเก็บขนขยะมูลฝอย ก่อให้เกิดปัญหาต่อ ระบบคัดแยกและนํากลับคืนไปใช้ประโยชน์ในภายหลัง ในขณะที่ระบบกําจัดที่ปลายทางของของเสียอันตราย ชุม ชน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นของเสียที่เป็นพิษหรืออันตรายที่มาจากครัวเรือน แหล่งธุรกิจ โรงแรม สนามบิน ปั๊มน้ํามัน ร้านถ่ายรูป ร้านซักแห้ง ของเสียจําพวกนี้ ได้แก่ แบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ ภาชนะบรรจุ สารเคมี กระป๋องสเปรย์ ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทร อนิกส์ ปัจจุบันของเสียอันตราย เหล่านี้ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องเพียงร้อยละ 22 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการ พัฒนาเทคโนโลยีที่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทําให้พฤติกรรมการบริโภคของประชาชนเปลี่ยนแปลง มีความต้องการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าแ ละอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น มีการเปลี่ยนอุปกรณ์บ่อยขึ้นเพื่อให้ ทันต่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทําให้มีการนําเข้าผลิตภัณฑ์บางส่วนที่มีคุณภาพต่ําอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ ไม่ยาวนาน ก่อให้เกิดการปนเปื้อนและแพร่กระจายของสารอันตรายสู่สิ่งแวดล้อมเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารและ เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย เกิดการสะสมของปริมาณกากของเสียการปนเปื้อนของสารอันตรายหลายชนิด
95 ลงสู่ดิน และแหล่งน้ําใต้ดิน โดยเฉพาะที่มาจากภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรมที่มีการใช้สา รเคมี และสารกําจัดศัตรูพืช โดยในปี พ.ศ. 2564 มีการนําเข้าสารอันตราย จาก ภาคอุตสาหกรรมรวมทั้ งสิ้น 3.22 ล้านตัน เพิ่มขึ้น จากปี พ.ศ. 2563 ร้อยละ 5.23 แต่เมื่อพิจารณา ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาปริมาณการ นําเข้าสารอันตรายภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง และ สารอันตรำยภาคเกษตรกรรม ในปี พ.ศ. 2564 มีการนําเข้า สารอันตรายทางการเกษตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.69 จากปี พ.ศ. 2563 โดยสารอันตรายทางการเกษตรที่มีการนําเข้า 3 อันดับแรก ได้แก่ สารกําจัดวัชพืช ( Herbicide) สารกําจัด แมลง ( Insecticide) และสารป้องกันและกําจัดโรคพืช ( Fungicide) ส ําหรับมูลฝอยติดเชื้อได้รับการจัดการ อย่างถูกต้องถึงร้อยละ 90.85 แต่จาก สถานการณ์การ แพร่ระบาดของ โรคโควิด 19 ทําให้มีแหล่งกําเนิด มูลฝอยติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจํานวนมาก เกินศักยภาพในการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อของประเทศ กรมอนามัยจึงได้ ร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมส่งเสริ มการปกครองท้องถิ่น สํานักงานคณะกรรมการกํากับกิจการ พลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยได้ออกกฎระเบียบ และข้อบังคับในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สถานประกอบกิจการประเภทโรงงานกําจัดของเสียเฉพาะที่กําจัด โดยกระบวนการเผา โรงงา นที่ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าจากขยะมูลฝอยชุมชน และโรงงานที่ประกอบกิจการ ผลิตปูนซีเมนต์ สามารถรับมูลฝอยติดเชื้อมาเป็นเชื้อเพลิงในเตาเผาของโรงงานได้เป็นการชั่วคราว และ จาก สถานการณ์การ แพร่ระบาดของ โรคโควิด 19 ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตประชาชน ไม่เพียงแต่ ปริมา ณของ ขยะมูลฝอยชุมชน ของ เสียอันตรายชุมชน และมูลฝอยติดเชื้อ ที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลกับขยะ พลาสติกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย ใน ปี พ.ศ. 2564 ปริมาณขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ( Single - use plastic ) เกิดขึ้น ประมาณ 2.76 ล้านตัน ซึ่งขยะพลาสติกส่วนใหญ่จะถูกนําไปกําจัดด้วยการฝั่งกลบและบางส่วนจะถูก นําไปเผาในเตาเผา ซึ่งต้อง ใช้พื้นที่ในการฝังกลบมากกว่าขยะประเภทอื่น และใช้เวลาในการย่อยสลายยาวนาน ทํา ให้สิ้ นเปลืองงบประมาณ ในการกํา จัดและพื้ นที่ ฝังกลบ ไม่คุ้ มค่าในการนํากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ก่อใ ห้เกิดปัญหาในการกําจัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนมาตรการการงดให้ถุงพลาสติก Everyday Say No to Plastic Bags ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 มีการกําหนดมาตรการจัดกา รขยะพลาสติกจาก Food Delivery ผลักดันให้มีการลด เลิกใช้ พลาสติกแบบครั้งเดียวจากการบริการส่งอาหารและใช้ผลิตภัณฑ์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทน การดําเนิน การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การกําหนด มาตรฐานภาคสมัครใจผลิตภัณฑ์พลาสติกสลายตัวได้ทางชีวภาพ มาตรฐานเศรษฐกิจหมุนเวียน ( Circular Economy ) ในองค์กร โครงการชุมชนปลอดขยะ ( Zero Waste ) โครงการ “จังหวัดสะอาด” การ พัฒนาและ ขับเคลื่อนมาตรฐานการจัดการมูลฝอยติดเชื้อและระบบควบคุมกํากับการขนมูลฝอยติดเชื้ อ ( Manifest system) และ การดําเนินโครงการ “คนไทย ไร้ E - Waste” เพื่อรวบรวม E - Waste และนําเข้าสู่กระบวนการ จัดการแบบถูกวิธี การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน พื้นที่สีเขียว สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม การขยายตัวของเมืองทําให้เกิดความไม่เป็นระเบียบของการตั้งถิ่นฐานและการใช้ประโยชน์ที่ดิน จนส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของเมือง อีกทั้งการวางแผนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและจัดทําผังเมือง ไม่สามารถกํากับการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เกิดสมดุลทางกายภาพทั้งด้านเศรษฐกิจ สังค ม และสิ่งแวดล้อมได้ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมของเมือง ตลอดจนวิถีชีวิตและทรัพย์สินของประชากรเมือง แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็น (6) พื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะจึงกําหนดให้มีการจัดทํา “แผนผังภูมินิเวศ” ใช้การขับเคลื่อนทางด้านสิ่งแวดล้อมแล ะระบบนิเวศ (ภูมินิเวศ) ที่เป็นวิถีชีวิตของประชาชน ในพื้นที่ เป็นเครื่องมือในการกํากับการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เกิดความสมดุล และจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน
96 ในวิถีธรรมชาติตามระบบนิเวศ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงได้จัดทํา แผนผังภูมินิเวศระดับภา ค และแผนผังความเหมาะสมในการใช้พื้นที่ทางภูมินิเวศรายจังหวัด โดยเริ่มดําเนินการ ในพื้นที่ภาคเหนือ (9 จังหวัด) เป็นลําดับแรก รวมทั้งจัดทําผังภูมินิเวศรายประเด็น ได้แก่ ผังภูมินิเวศ แหล่งธรรมชาติรายประเภทในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการ บริหารจัดการพื้นที่ แหล่งธรรมชาติตามศักยภาพภูมินิเวศ เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และพัฒนา ที่ผ่านมาสํานักงาน นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทําแนวทางและรูปแบบการพัฒนาเมืองและชุมชน ตามแนวคิดแบบเมืองนิเวศ ( Eco City ) เพื่อเป็นต้นแบบของกา รพัฒนาเมืองบนพื้นฐานภูมินิเวศ โดยในปี พ.ศ. 2561 - 2563 ดําเนินการในพื้นที่นําร่อง 3 เทศบาล ได้แก่ (1) เมืองนิเวศน้ําเชี่ยว จังหวัดตราด (2) เมืองนิเวศนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และ (3) ชุมชนเชิงนิเวศเมืองมาย จังหวัดลําปาง และในปี พ.ศ. 2563 สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ดําเนินโครงการพัฒนาเมืองในอนาคต ให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน ซึ่งมีแนวทางสอดคล้องกับการพัฒนาเมืองบนพื้นฐานภูมินิเ วศ 2 เทศบาล ได้แก่ เทศบาล นครลําปาง และเทศบาลเมืองสุโขทัย รวมทั้งสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยได้ดําเนินโครงการ แผนผังภูมินิเวศ ช่วยเปลี่ยนเมืองเพื่อเมืองน่าอยู่สู่โลกยั่งยืน โดยจัดอบรมแนวทางการจัดทําแผนผังภูมินิเวศ แก่เทศบาลนําร่อง 38 เทศบาล และจะผลักดันให้มี การจัดทําแผนผังภูมินิเวศระดับเทศบาลที่นําไปสู่ การขับเคลื่อนเมืองที่พัฒนาบนพื้นฐานภูมินิเวศต่อไป และใน ปี พ.ศ. 2564 - 2565 ได้ดําเนินโครงการจัดการ สิ่งแวดล้อมภูมินิเวศ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมอย่างยั่งยืน โดยดําเนินการ จัดทําผังพื้นที่ อนุรักษ์สิ่ งแวดล้อมแหล่งศิลปกรรมรายประเภทในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อจัดทําผังพื้นที่อนุรักษ์แหล่งสิ่งแวดล้อม ศิลปกรรม ประเภทย่านชุมชนเก่า ตามภูมินิเวศ ในพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัด นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2564 ได้ดําเนินการจัดทําผังและแผนการบริหารจัดการพื้นที่น้ําตกธารารักษ์ อําเภอ แม่สอด จังหวัดตาก เป็นพื้นที่ นําร่องแรกในการจัดทําผังภูมินิเวศสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และจะนําไปขยายผลในพื้นที่แหล่งธรรมชาติ ประเภทอื่น ๆ ในช่วงปี พ.ศ. 2566 - 2570 อย่างน้อย 5 พื้นที่ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการบริหาร จัดการพื้นที่แหล่งธรรมชาติตามศักยภาพภู มินิเวศ เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และพัฒนา ภายใต้เป้าหมายในปี พ.ศ. 2565 ประเทศไทยมีแผนผังภูมินิเวศเพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชนบทมั่ นคง เกษตรยั่ งยืน และอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมทั้ งผังพื้ นที่ อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งโบราณคดี 1 ภา ค โดยภายในปี 2580 สามารถมีครบทั้ง 6 ภาค ของประเทศ พื้นที่สีเขียว เป็นพื้นที่ธรรมชาติ หรือพื้นที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือกําหนดขึ้นในเมืองหรือชุมชน ปกคลุมด้วยพืชพรรณเป็นองค์ประกอบหลัก มีประโยชน์เพื่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศการดํารงชีวิต และคุณภาพ ชีวิตของประชาชน โ ดยองค์การอนามัยโลก ( World h ealth o rganization: WHO) ได้กําหนดมาตรฐาน สัดส่วน พื้นที่สีเขียวต่อจํานวนประชากรในเมืองไม่น้อยกว่า 9 ตารางเมตรต่อคน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึง พื้นที่สีเขียว และสามารถใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ได้ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมได้จัดทําแนวทางการขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืนโดยกําหนดเป้าหมาย ปี พ.ศ. 2580 พื้นที่สีเขียวเพื่อบริการสาธารณะ ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงหรือใช้บริการได้ ในภาพรวมของประเทศไม่น้อยกว่า 15 ตารางเมตรต่ อประชากร 1 คน และกําหนดประเภทพื้นที่สีเขียว ออกเป็น 6 ประเภท ตามคุณลักษณะและ การใช้ประโยชน์ ประกอบด้วย (1) พื้นที่สีเขียวสาธารณะ (2) พื้นที่สีเขียวอรรถประโยชน์ (3) พื้นที่สีเขียวที่เป็นริ้วยาว ตามแนวสาธารณูปการ (4) พื้นที่สีเขียวเพื่อเศรษฐกิจของชุมชน (5) พื้ นที่สีเขียวธรรมชาติ และ (6) พื้นที่สีเขียว ที่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์ โดยรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565 ของสํานักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า สัดส่วนพื้นที่สีเขียวสาธารณะต่อประชากร ของเมืองพัทยาอยู่ที่ 4.27 ตารางเมตรต่อคน สํา หรับเทศบาลนครและเทศบาลเมือง มีค่าเฉลี่ยสัดส่วนพื้นที่สีเขียวสาธารณะต่อประชากร
97 เท่ากับ 5.08 ตารางเมตรต่อคน และ 4.31 ตารางเมตรต่อคน ตามลําดับ ขณะที่เทศบาลตําบลมีค่าเฉลี่ยสัดส่วน พื้นที่สีเขียวสาธารณะต่อประชากรเท่ากับ 8.59* ตารางเมตรต่อคน (*ค่าเฉลี่ยสัดส่วนพื้นที่ สีเขียวสาธารณะ ต่อประชากรจากเทศบาลตําบล 650 แห่ง จาก 2 , 247 แห่ง) ซึ่งเป็นสัดส่วนพื้นที่สีเขียวในเมืองต่อประชากร ที่ยังคงต่ํากว่าค่าที่กําหนดไว้โดยองค์การอนามัยโลก ในการนี้สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้จัดทําแนวทางการขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน (แผนระยะยาว 20 ปี) และ แนวทางปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการ จัดทําแนวทาง ปฏิบัติงำนฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) ภายหลังจากระยะแรกจะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2565 เพื่อถ่ายทอด เป้าหมายและตัวชี้วัดตามแนวทางการขับเคลื่อนฯ สู่การปฏิบัติ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมมีการดําเนินงาน ประเมินเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ประจําปี พ.ศ. 2564 ประกอบด้วยการประเมินร ะดับพื้นที่และการประเมิน ระดับ ประเทศ ซึ่งมีกรอบแนวคิดและตัวชี้วัดการประเมิน 4 องค์ประกอบ 34 ตัวชี้วัด กรุงเทพมหานครได้ จัดทําโครงการ Green Bangkok 2030 มีเป้าหมายเพื่อที่จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ได้ 10 ตารางเมตรต่อคน รวมถึงเพิ่มพื้นที่สีเขียวสาธารณะที่ประชาชน สามารถเดินถึงได้ในระยะทาง 400 เมตร และเพิ่มพื้นที่ร่มไม้ในเมือ ง โดยมีการดําเนินงานที่สําคัญในปี พ.ศ. 2564 - 2565 เช่น ปลูกป่าตามโครงการสวนป่านิเวศอ่อนนุช ระยะที่ 1 พื้นที่ 18 ไร่ ซึ่งเป็นการปลูกต้นไม้แบบป่าธรรมชาติเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าในเมือง สิ่งแวดล้อมธรรม ชาติ เป็นธรรมชาติที่มีคุณค่าทางวิทยาการและสุนทรียภาพที่เกี่ยวข้อง เป็นสัณฐานที่สําคัญทางธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์ อันเป็นเอกลักษณ์หรือสัญลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น ๆ สามารถ จัดกลุ่ม แหล่ง ธรรมชาติตามลักษณะกว้าง ๆ ได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ธรรมชาติที่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง และฟื้นฟูคืนสู่สภาพเดิมได้โดยระบบของตัวเอง เช่น ป่าไม้ ทุ่งหญ้า และสัตว์ป่า และ ธรรมชาติที่ไม่สามารถ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง หรือฟื้นฟูคืนสู่สภาพเดิมได้ เมื่อถูกทําลายก็จะหมดสภาพไป เช่น ภูเขา ถ้ํา น้ําตก เกาะ แก่ง หาดทราย หาดหิ น ทะเลสาบ หนองบึง แหล่งน้ํา ซากดึกดําบรรพ์ ธรณีสัณฐา น และภูมิลักษณวรรณา สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มีการดําเนินการเพื่อปกป้อง แหล่งธรรมชาติ อันควรอนุรักษ์ให้มีความยั่งยืน เช่น การติดตามประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศของแหล่งธรรมชำติ อันควรอนุรักษ์ 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทน้ําตก ภูเขา ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา และถ้ํา เพื่อให้แหล่งธรรมชาติ อันควรอนุรักษ์ได้รับการติดตามและประเมินผล รวมทั้งทราบถึง สถานการณ์คุณภาพ สิ่งแวดล้อมบริเวณโดยรอบของแหล่งธรรมชาติฯ ให้ได้รับการดูแลรักษา ไม่ให้เสื่อมโ ทรมหรือให้ได้รับ ผลกระทบน้อยที่สุด โดยพบว่าการประเมินตามเกณฑ์การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในภาพรวม ซึ่ง ส่วนใหญ่ อยู่ในเกณฑ์การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับดี สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม เป็น สิ่งที่มนุษย์ได้สร้างหรือกําหนดขึ้น รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่อยู่ใน พื้นที่โดยรอบแหล่ งศิลปกรรมที่เป็นองค์ประกอบ และมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อ แหล่งศิลปกรรมนั้น รวมทั้ง ได้รับการยกย่องว่ามีคุณค่าในทางศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาตร์ โบราณคดี และ เทคโนโลยี โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ศิลปกรรมที่ใช้งานอยู่ เช่น วัด สถาน ที่ราชการ อาคาร พาณิชย์ บ้านเรือน ย่านวัฒนธรรม และ ศิลปกรรมที่ไม่ได้ใช้งาน (ตามหน้าที่เดิม) แล้ว เช่น ซากโบราณสถาน วัดร้าง กําแพงเมือง คูเมือง แหล่งประวัติศาสตร์ และโบราณคดี หากสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมถูกทําลายหรือเสื่อม โทรมลงไป หรือความสําคัญของแหล่งศิลปกรรมกําลังถู กมองข้ามเพราะประชาชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องความสําคัญ ประโยชน์ และคุณค่าของแหล่งศิลปกรรมนั้น ๆ จึงเกิดการทําลายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม นําไปสู่ความเสื่อมคุณค่าของแหล่งศิลปกรรมจนหมดความหมายในที่สุด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะสํานักงานเลขานุการ คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า ขับเคลื่อนการดําเนินงานเพื่อประกาศเขตพื้นที่
98 เมืองเก่าเพิ่มเติม 3 เมือง (ได้แก่ เมืองเก่าอุทัยธานี เมืองเก่าตรัง และเมืองเก่าฉะเชิงเทรา) ส่งผลให้มีการ ประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่า โดยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรีแล้ว รวม 3 6 เมือง ตามระเบียบสํานัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่ำ พ.ศ. 2564 และ การสนับสนุนให้ จังหวัดที่มีเมืองเก่ามีแผนปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่า เพื่อ ใช้เป็นกรอบแนวทางหลัก สําหรับการบริหารจัดการพื้นที่เมืองเก่า และการกําหนดแนวทางในการจัดทําผังเมืองเฉพาะของกรมโยธาธิการ และผังเมือง เพื่อให้เมืองเก่าสามา รถรักษาอัตลักษณ์และบริบทของเมืองเก่าไว้ได้ และยัง คง ประโยชน์ทั้งการ ท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และสังคมแก่ชุมชนและประเทศ โครงการขับเคลื่อนการดําเนินงานอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านชุมชน เก่าระดับจังหวัด ระยะ 1 พ.ศ. 2563 และระยะ 2 พ.ศ. 2564 มีการสํารวจย่านชุมชนเก่าเพื่อเพิ่มเติม ฐำนข้อมูลรายชื่อ ตําแหน่งที่ตั้ง ย่านชุมชนเก่าให้มีความครบถ้วนทุกย่านของจังหวัดมากขึ้น การสํารวจขึ้น ทะเบียนโบราณสถานและแหล่งโบราณคดี เพื่อปกป้องคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมประเภทโบราณสถานและ แหล่งโบราณคดี ซึ่งปัจจุบันประเทศไทย มีโบราณสถาน แหล่งโบราณคดีที่อยู่ในบัญชี ของกรมศิลปากร 7,794 แห่ง ประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ใน ปี พ.ศ. 2563 จํานวน 2,067 แห่ง โดยได้ประกาศขึ้น ทะเบียนโบราณสถานเพิ่มเติมใน ปี พ.ศ. 2564 - 2565 อีกจํานวน 23 แห่ง นอกจากนี้ ได้ดําเนินโครงการ อนุรักษ์และพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์ 11 แห่ง ได้แก่ (1) อุทยานฯ พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี (2) อุทยานฯ เมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี (3) อุทยานฯ พระนครศรีอยุธยา (4) อุทยานฯ ศรีเทพ จังหวัด เพชรบูรณ์ (5) อุทยานฯ สุโขทัย (6) อุทยานฯ ศรี สัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย (7) อุทยานฯ กําแพงเพชร (8) อุทยานฯ ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี (9) อุทยานฯ พิมาย จังหวัดนครราชสีมา (10) อุทยานฯ พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ (11) อุทยานฯ สด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว ได้รับการดูแลรักษา อนุรักษ์และพัฒนา ให้เป็น แหล่งเรียนรู้แล ะแหล่งท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน สําหรับในส่วนของแหล่งมรดกโลก ใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้จัดสร้างเตาเผาขยะปลอดมลพิษในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ จํานวน 2 แห่ง ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และอุทยานประวัติศาสตร์กําแพงเพชร เพื่อลดปัญหามลพิษใน การ กําจัดขยะประเภทโฟม ซึ่งเป็นปัญหาโดยตรงกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ รวมทั้งได้รณรงค์ให้มีการลด ละ เลิกการใช้ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ประเภทโฟม ในแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในการกํากับดูแล 2. รายละเอียดยุทธศาสตร์ การจัดการสภาพแวดล้อมเมืองและมลพิษที่ส่งผลก ระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ มุ่งเน้นการป้องกัน ลด และควบคุมมลพิษทางน้ํา อากาศ เสียง ขยะมูลฝอย มูลฝอยติดเชื้อ ของเสียอันตราย กากอุตสาหกรรม รวมทั้งสารเคมีในภาคการเกษตรที่มีประสิทธิผลตั้งแต่ต้นทาง พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งปรับปรุง มาตรฐานสิ่งแวดล้อมของป ระเทศตามมาตรฐานสากล และบังคับใช้มาตรฐานสิ่งแวดล้อมกับทุกภาคส่วน อย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งสร้างเครื่องมือ กลไกที่มีความหลากหลายครอบคลุมการบริหารจัดการมลพิษและส่งเสริม การบูรณาการทุกภาคส่วนในระดับประเทศ ตลอดจน ส่งเสริมความร่วมมือทั้ งภายในและระหว่างประเทศ ในการบริหารจัดการมลพิษอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 4.1 การเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกัน ลด ควบคุม และขจัดมลพิษ การเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกัน ลด ควบคุม และขจัดมลพิษ ทางน้ํา อากาศ ขยะมูลฝอย มูลฝอยติดเชื้อและของเสียอันตราย รวมทั้งสารเคมีในภาคการเกษตรที่มีประสิทธิผลตั้งแต่ต้นทาง รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกำรป้องกัน ลด ควบคุม และขจัดมลพิษ ซึ่งให้ความสําคัญใน 2 ประเด็น ได้แก่ 1) การป้องกันการเกิดและการลดมลพิษจากแหล่งกําเนิด และ 2) การควบคุม และขจัดมลพิษ ทั้งจากแหล่งที่มีจุดกําเนิดแน่นอนและแหล่งที่มีจุดกําเนิดไม่แน่นอน โดยมีกิจกรรมหลัก ได้แก่ การส่งเสริมการลดปริมาณขยะ น้ําเสีย ของเสีย และสารเคมีอันตรายจากต้นทาง การควบคุมและกํากับแหล่งกําเนิด
99 มลพิษอย่างตรงจุดและมีประสิทธิผล การควบคุมและขจัดมลพิษในแหล่งน้ํา อากาศ แ ละดิน การเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการขยะมูลฝอย ขยะติดเชื้อ ซากผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และขยะจากการก่อสร้างและ การรื้อถอนสิ่งก่อสร้าง การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคุณภาพน้ํา อากาศ เสียง ขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย การ ป้องกันและลดมลพิษทางทะเลทุกป ระเภทโดยเฉพาะจากกิจกรรมบนแผ่นดิน รวมถึงขยะทะเล การลดและ เลิกการใช้สารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืช และการพัฒนาการจัดทํารายงานการประเมินและการวิเคราะห์ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมสนับสนุน ได้แก่ การผลักดันเครื่องมือและกลไกทางเศรษฐศาสตร์มาปรับใช้ในการป้องกัน ลด ควบคุมและขจัดมลพิษ การกําหนดมาตรการและกลไกการจัดการที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน การสนับสนุน การพัฒนาและใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในการป้องกัน ลด ควบคุมและขจัดมลพิษ การส่งเสริมการลงทุน แก่ภาคเอกชนทั้งทางตรงและทางอ้อมในด้านการจัดการมลพิษ เช่น การใช้มาตรการลดหย่อนภาษี จูงใจ การส่งเสริม ให้ประชาชนตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรทางทะเล และให้ความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อมทางทะเล รวมถึงการบูรณาการมาตรการป้องกันมลพิษในการดําเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานรับผิดชอบหลัก คพ. กรอ. อปท. กรม อ. ขบ. หน่วยงาน สนับสนุน จท. สนข. คค.(ทช.) สส. ทช. ทน. สป.ทส. อจน. สถ. กทม. กพร. ส.อ.ท. สปอ. กนอ. คร. ส.ป.ก. พด. กสก. กวก. กปศ. สวทช. สอวช. สทอภ. วช. สสส. สทนช. สศช. กลยุทธ์ที่ 4.2 การจัดการสิ่ งแวดล้อมชุมชน สิ่ งแวดล้อมธรรมชาติ และสิ่ งแวดล้อม ศิลปกรรม ส่งเสริมการบูรณาการทุกภาคส่วนในระดับประเทศ ตลอดจนส่งเสริมความ ร่วมมือทั้งภายในและระหว่างประเทศ ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมซึ่งให้ความสําคัญใน 2 ประเด็น ได้แก่ 1) การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน และ 2) การจัดการสิ่งแวดล้ อมธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม โดยมีกิจกรรมหลัก ได้แก่ การจัดทํามาตรฐานด้านคุณภาพของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม การจัดทําและบังคับใช้การวางผังเมืองและการกําหนดและวางผังสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ศิลปกรรม การส่งเสริมการจัดรูปแบบของเมื องตามหลักการของสิ่งแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืน การส่งเสริมและ พัฒนาพื้นที่สีเขียวในมิติและมุมมองที่กว้างและหลากหลายขึ้น รวมทั้งเพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และควบคุมไม่ให้มีการบุกรุกพื้นที่สาธารณะ การกํากับ ดูแลให้แหล่งมรดกที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียน เป็นมรดก ทางวัฒนธรรมของประเทศและของโลก กิจกรรมสนับสนุน ได้แก่ การกําหนดกฎ หลักเกณฑ์ กฎหมาย เครื่องมือและ กลไกอื่น ๆ ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและพื้นที่สีเขียว คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมผ่านการจัดทําโครงการต่าง ๆ เช่น การจัดทําบัญชีอาคารที่ มีคุณค่า เพื่อนําไปสู่การจัดทํานโยบาย มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมและผังเมือง เพื่อการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ จากการอนุรักษ์ การออกแบบศิลปกรรมหรือการใช้มาตรการผังเมืองเฉพาะพื้นที่ เพื่อดําเนินการสนับสนุน การใช้ประโยชน์จากการอนุรักษ์อาคาร การจัดทําและปรับปรุงนโย บาย แผน และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการ จัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน รวมถึงการพัฒนาศักยภาพ ประสิทธิภาพ และสนับสนุนบทบาทของภาคส่วนต่าง ๆ ในการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม หน่วยงานรับผิดชอบหลัก สผ. หน่วยงานสนับสนุน อส. ทธ. ย ผ. ส.ท.ท. อปท. กทม. สถ. ศก. กรอ. ส.อ.ท. สศช. ศธ. อว. กลยุทธ์ที่ 4.3 การส่งเสริมความแข็งแกร่งของกลไกการควบคุมมลพิษ พั ฒนาและทบทวนปรั บปรุ งมาตรฐานสิ ่ งแวดล้ อมของประเทศตาม มาตรฐานสากลที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศ และบังคับใช้มาตรฐานสิ่งแวดล้อมกับทุกภาคส่วนอย่าง เคร่งครัด พร้อมทั้งพัฒนา ส่งเสริมกลไกที่มีความหลากหลายเพื่อครอบคลุมการบริหารจัดการมลพิษ รวมถึง
100 ผลักดันกฎระเบียบที่เกี่ย วข้องโดยให้ความสําคัญใน 2 ประเด็น ได้แก่ 1) การยกระดับระบบติดตามตรวจสอบ และกํากับดูแล และ 2) การมีส่วนร่วมของภาคสาธารณะในการควบคุมมลพิษ ครอบคลุมการดําเนินงานการ พัฒนาฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การเร่งรัดหาแนวทางการพัฒนากลไกและระบบการติดตามตรวจสอบแหล่งกําเนิด มลพิษ โ ดยมีกิจกรรมหลัก ได้แก่ การติดตามและเฝ้าระวังการปล่อยมลพิษทุกรูปแบบรวมถึงติดตาม สถานการณ์มลพิษอย่างสม่ําเสมอ การเพิ่มความรับผิดชอบให้แก่ผู้ผลิตในการจัดการมลพิษและของเสียจากการ ผลิต การเพิ่มศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการมลพิษ รวมถึงการพัฒนาและเชื่ อมโยง ฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการมลพิษ กิจกรรมสนับสนุน ได้แก่ การเร่งรัดหาแนวทางการพัฒนา กลไกและระบบการติดตามตรวจสอบแหล่งกําเนิดมลพิษ การปรับปรุงและแก้ไขกฎหมาย และค่ามาตรฐาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวข้องที่เสริมสร้ำงความแข็งแกร่งของกลไก การควบคุมมลพิษ การสนับสนุนการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการมลพิษการ สนับสนุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การพัฒนากระบวนการยุติธรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่ งแวดล้อม การพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างประเทศในกา รป้องกัน ลด และควบคุมมลพิษ ข้ามพรมแดน รวมถึงการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักด้านมลพิษแก่ภาคส่วนต่าง ๆ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก คพ. กรอ. อปท. กรม อ. ขบ. หน่วยงาน สนับสนุน จท. สนข. คค.(ทช.) สส. ทช. ทน. สป.ทส. อจน. สถ. กทม. กพร. ส.อ.ท. สปอ. กนอ. คร. ส.ป.ก. พด. กสก. กวก. กปศ. สวทช. สอวช. สทอภ. วช. สสส. สทนช. สศช. ศธ. อว.
101 รูปภาพที่ 3 - 6 ยุทธศาสตร์ที่ 5 การยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
102 ยุทธศาสตร์ที่ 5 การยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมาย ส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม และพัฒนากลไกที่ช่วยยกระดับ กระบวนทัศน์ การจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวชี้วั ด 5 . 1 การบริโภควัสดุในประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมีปริมาณลดลง (กิโลกรัมต่อดอลลาร์สหรัฐ) 5 . 2 มีจังหวัด/พื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 39 จังหวัด 54 พื้นที่ (จํานวนจังหวัด/พื้นที่) 5 . 3 สัดส่วนพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนต่อพื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศเพิ่มขึ้น (ร้อยละ) 5 . 4 อันดับการพัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยวของประเทศไทย ด้านความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม อยู่ 1 ใน 67 (อันดับ) 5 . 5 สัดส่วนของหน่วยงานที่เข้าร่วมดําเนินการและสัดส่วนมูลค่าการจัดซื้อจั ดจ้างสินค้าและ บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ( ร้อยละ ) 5 . 6 การรับรู้และความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น (จํานวน) 5 . 7 มีการนํากระบวนการ SEA ไปใช้ในพื้นที่สําคัญด้านการพัฒนาระดับนโยบาย (มี/ไม่มี) 5 . 8 การดําเนินการภายใต้ความตกลงระดับทวิภาคี พหุภาคี และระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องเพื่อการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น (จํานวน) การพัฒนาด้านเศรษฐกิจจําเป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นฐานในการผลิตและการบริโภค ในขณะที่ทรัพยากรของโลกมีอยู่อย่างจํากัด รูปแบบการผลิตและบริโภคที่ไม่ยั่งยืนจึงส่งผลเสียอย่างยิ่ง ต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ผ่านมายังมีทิศทางที่ไม่สมดุล การใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ความต้องการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้น เกินศักยภาพในกา รรองรับของระบบนิเวศ รวมถึงมีการปลดปล่อยมลพิษสะสมจากกระบวนการผลิตและ การบริโภคออกสู่สิ่งแวดล้อมจํานวนมาก นําไปสู่ผลกระทบด้านสุขภาพของมนุษย์และความเสื่อมโทรมของ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาทิ ภาคอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นผลกําไร โดย ไม่ได้คํานึงถึงผลกระทบ ต่อ สิ่งแวดล้อม ภาคการเกษตรที่เร่งผลิตอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการทั่วโลก ทําให้ต้องพึ่งพิงสารเคมี ในการทําเกษตร ภาคบริการและการท่องเที่ยวที่เน้นการขยายตัวของการท่องเที่ยวมากเกินไปหรือการท่องเที่ยว แบบทั่วไป ( Mass tourism ) ทําให้แหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรมลง และสูญ เสียคุณประโยชน์ของระบบนิเวศ ในแหล่งท่องเที่ยวนั้น อีกทั้งการเติบโตของอุตสาหกรรม Fast fashion ที่มีต้นทุนการผลิตต่ําและมีอุปสงค์สูง ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดทั้งกระบวนการผลิตและบริโภค ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้ นอย่างรวดเร็วทั่ วโลกและหลากหลา ยมิติ อาทิ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการบริหารจัดการ ที่อาจก่อให้เกิดประเด็นอุบัติใหม่ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงกระแสโลกาภิวัตน์ได้ก่อให้เกิด การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ เงินทุน แรงงาน วัฒนธรรม และอื่น ๆ ที่มีความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจ สังคม แ ละสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ระดับประเทศ ภูมิภาค และโลกมากยิ่งขึ้น จึงทําให้บางปัญหาคาบเกี่ยวต่อเนื่อง ในลักษณะไร้พรมแดน ซึ่งการจัดการต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายประเทศ รวมทั้งการพัฒนาระบบ กลไก และเครื่องมือ ให้สอดรับกับบริบทของพื้นที่และกระแสการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ควบ คู่ไปกับการเสริมสร้าง ความตระหนักรู้ของประชาชนในการมีส่วนร่วมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แนวคิดที่ประชาคมโลกได้ตระหนักถึงความสําคัญและยอมรับร่วมกันแล้วว่า การลดลงและ ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีสาเหตุสําคัญมาจากพฤติกรรมของประชาชน ซึ่งการที่จะ อนุรักษ์ควบคู่ไปกับการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุล และยั่งยืน ต้องส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อมุ่งสู่การผลิตและการบริโภคที่ยั่ง ยืน การสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับ
103 ความสําคัญของการผลิตและการบริโภคอย่างรู้คุณค่าทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจํากัด จึงกลายเป็น พันธกิจสําคัญในหลายประเทศทั่วโลก โดยในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 70 ในปี พ.ศ. 2558 ประเทศสมาชิก 193 ประเทศทั่ว โลก รวมถึงประเทศไทย ได้ให้การรับรองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายหลังปี พ.ศ. 2558 โดยองค์การสหประชาชาติได้ประกาศใ ห้ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ( Sustainable Development Goals: SDGs ) 17 เป้าหมาย เป็นทิศทางในการพัฒนาของโลกในช่วง 15 ปี (พ.ศ. 2559 - 2573) เพื่อร่ วมกันแก้ไขปัญหาในหลายประเด็นที่เป็นประเด็นสาธารณะระดับโลก ซึ่งได้กล่าวถึงเรื่องของการผลิต และการบริโภคที่ยั่งยืนไว้ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและ การบริโภคที่ยั่งยืน ( Ensure Sustainable Consumption and Production Patterns) ที่ให้ความสําคัญกับ การขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน การส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตและบริการของบริษัท / องค์กร การส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างที่ยั่งยืนของทุกภาคส่วน ตลอดจนการส่งเสริมให้ประชาชนมีกรอบคิดและพฤติกรรมที่สอดคล้องกับความสามารถในการรองรับของ ธรรมชาติ และตระหนักถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนในสังคม ผ่านการดําเนินงานอย่างบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ตั้ง แต่ระดับนโยบายตลอดจนการนําไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่อย่างครอบคลุมและ เป็นรูปธรรม โดยหลักการที่ เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 อาทิ เศรษฐกิจหมุนเวียน ( Circular economy ) ที่มีการวางแผนให้ทรัพยากรในระบบการผลิตสามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมและนํากลับมาใช้ใ หม่ได้ เพื่อรับมือกับปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรในอนาคต และแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกํากับดูแล หรือบรรษัทภิบาล ( Environment Social Governance: ESG) ซึ่งเป็นกรอบการดําเนินธุรกิจที่ให้ความสําคัญกับ การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน สอดรับกับทิศทางการพัฒนาของกลุ่มปร ะเทศต่าง ๆ ที่ให้ความสําคัญกับ เศรษฐกิจสีเขียว ( Green economy ) มากขึ้น ภูมิภาคอาเซียน แม้จะเป็นภูมิภาคที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ แต่กําลังเผชิญกับความท้าทาย ในการรักษาสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีหลายปัจจัย ที่นําไปสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อม อาทิ จํานวนประชากรที่เพิ่มขึ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจ และการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ของอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งประเทศสมาชิกได้ให้ความสําคัญกั บประเด็นดังกล่าว จึงได้ผนวกไว้ในแผนงานสําคัญ และข้อตกลงต่าง ๆ ของภูมิภาค ได้แก่ แผนงานประชาคมอาเซียน 2025 ( ASEAN Community Vision 2025 ) ปฏิญญากรุงกัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยอาเซียน 2025: มุ่งหน้าไปด้วยกัน ซึ่งมี 3 แผนงานที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับ กระบวนทัศน์เพื่อการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้ แผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community : ASCC) ในประเด็นการผลิตและการบริโภคที่ ยั่ งยืน สิ่ งแวดล้อมศึกษา การสร้าง ความตระหนักรู้ และการดํารงชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกระดับ แผนงานการเมืองและความมั่นคง อาเซียน (ASEAN Political - Security Community) ในประเด็นการเสริมสร้างความร่วมมือ อาเซียนในการสนับสนุน การสร้างความตระหนักรู้ และแผนงานเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic C ommunity) ในประเด็นความร่วมมือ ระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ( Public - Private Partnership : PPP) นอกจากนี้ ยังได้จัดทํา แผนงานประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน พ.ศ. 2559 - 2568 (ASCC Blueprint 2016 - 2025 ) ด้านการผลิต และบริโภคที่ยั่งยืน ร่างกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนสําหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Framework for Circular Economy for the ASEAN Economic Community) แผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาอาเซียน พ . ศ . 2557 - 2561 (ASEAN Environmental Education Action Plan 2014 - 2018 ) และกรอบความร่วมมือด้านการผลิตและการบริโภค ที่ยั่งยื นในภูมิภาคเอเชียใต้ (South Asia Forum on Sustainable Consumption and Production) อีกด้วย การดําเนินงานต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียนในประเด็นที่เกี่ยวข้อง อาทิ การจัดตั้งคณะทํางานอาเซียน ด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา (AS EAN Working Group on Environmental Education : AWGEE) การจัดประชุม
104 ผู้นําอาเซียน + 3 ด้านการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (ASEAN+ 3 Leadership Programme on Sustainable Consumption and Production) ที่มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาของประเทศสมาชิกในประเด็น การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green p rocurement) การรับรองสีเขียว (Green c ertifications) ฉลากเขียว (Eco - l abels) มาตรฐานด้านความยั่งยืน (Sustainability s tandards) และผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนและห่วงโซ่อุปทาน (Sustainable p roducts and s upply c hains) ประเทศไทยอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ - เศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจ สีเขียว ( Bio - Circular - Green Economy: BCG Model ) หรือโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นวาระแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป และได้บูรณาการประเด็น BCG Model การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน การยกระดับกระบวนทัศน์ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวด ล้อม การพัฒนาเครื่องมือ กลไก รวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศ ไว้ภายใต้นโยบายและแผนระดับประเทศ ทั้งแผนระดับที่ 1 2 และ 3 อาทิ แผนระดับที่ 1 คือยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์ รักษา ฟื้ นฟู และสร้างใหม่ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การใช้ประโยชน์อย่าง สมดุล และการยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกําหนดอนาคตประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม บนหลักของการมีส่วนร่วมและธรรมาภิบาล แผนระดับที่ 2 ได้แก่ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ป ระเด็น (18) การเติบโตอย่างยั่งยืน ที่มีเป้าหมายให้สภาพแวดล้อมของประเทศไทยมีคุณภาพดีขึ้นอย่างยั่งยืน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) ที่กําหนด 5 เป้าหมายหลัก ได้แก่ การปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม การพั ฒนาคนสําหรับโลกยุคใหม่ การมุ่งสู่ สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม การเปลี่ยนผ่านการผลิตและการบริโภคไปสู่ความยั่งยืน และการเสริมสร้าง ความสามารถของประเทศในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงภายใต้บริบทโลกใหม่ และนโยบาย และแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 - 2565) ภายใต้นโยบายที่ 12 เสริมสร้างความมั่นคง ทางพลังงานและอาหาร ที่ให้ความสําคัญกับการเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน และแผนระดับที่ 3 อาทิ นโยบาย และแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2580 ที่มีแนวคิดสําคัญคือ การน้อมนํา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการวางแนวทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล การปรับกระบวนทัศน์ใหม่เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแว ดล้อมอย่างเข้มข้นและจริงจัง และการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมบนฐานการใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย แผนขับเคลื่อน การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน พ.ศ. 2560 - 2580 ที่เน้นการขับเคลื่อนอย่างบูรณาการด้วยนวัตกรรม ทางสังคมและเทคโนโลยี รวมถึงแ ผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 - 2570 ที่ให้ความสําคัญกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยอาศัย ฐานความเข้มแข็งของประเทศ ยกระดับมูลค่าในห่วงโซ่การผลิตสินค้าและบริการด้วยการใช้ เทคโนโลยีและ นวัตกรรมสมัยใหม่ ควบคู่ไปกับการรักษาฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพให้สมดุล เพื่อสร้างการเติ บโต ทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน 1 . ประเด็นพัฒนา จากสถานการณ์และทิศทางการพัฒนาต่าง ๆ จะเห็นได้ว่า การผลักดันแนวคิดการใช้ทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพ การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือและกลไกต่าง ๆ รวมถึงการสร้างความเป็นหุ้นส่วนในการ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวด ล้อม นับเป็นประเด็นที่ควรให้ความสําคัญในการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อมุ่งสู่การปรับเปลี่ยนคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึง ประสงค์และยกระดับกระบวนทัศน์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีรายละเอียดดังนี้
105 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน หมายถึง การดําเนินการแบบองค์รวมในทุก ๆ ด้าน เพื่อลด ผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตและการบริโภค ควบคู่ไปกับการส่งเสริมคุณภาพ ชีวิตของประชาชนทุกคน ซึ่งภาคส่วนหลักที่มีส่วนขับเคลื่ อน ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคเกษตรกรรม และอาหาร ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคเมืองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคการจัดซื้อจัดจ้าง ยั่งยืน และภาคการสร้างความตระหนักรู้และการศึกษา โดยมีรายละเอียดแต่ละภาคส่วนดังนี้ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต เป็นภาคส่วนสําคัญ ที่สร้างรายได้เข้าประเทศ ทั้งนี้ สถานการณ์ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มขยายตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากผลกระทบของ การแพร่ระบาด ของโรคโควิด 19 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้ส่งเสริมการยกระดับอุตสาหกรรมให้มีการผลิตที่ยั่งยืน นักลงทุนและผู้ประกอบการเ ริ่มให้ความสําคัญกับการดําเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนมากขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2563 มีบริษัทจดทะเบียนไทย ร้อยละ 20 จัดทํารายงานความยั่งยืนตามความสมัครใจและเปิดเผยข้อมูลในมิติ สิ่งแวดล้อม สังคม และการกํากับดูแลหรือบรรษัทภิบาล รวมทั้งมีการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวที่มี กระบวนการผลิตและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และมีความรับผิดชอบต่ อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยในระหว่างปี พ.ศ. 2554 - 2563 มีโรงงาน / สถานประกอบการที่ได้รับใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว รวมทั้งสิ้น 40,799 ใบรับรอง และตั้งเป้าหมายให้โรงงานอุตสาหกรรมภายใต้การกํากับดูแลของกระทรวง อุตสาหกรรมที่มีอยู่กว่า 71,130 โรงงานทั่วประเทศ พัฒนาสู่ การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว ภายในปี พ.ศ. 2568 อีกทั้งมีการผลักดันเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่มีการจัดวางผัง สาธารณูปโภค สาธารณูปการ และสิ่งอํานวย ความสะดวกอย่างเหมาะสม เพื่อรองรับการดําเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรและพลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพ โดย มีการริเริ่มพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่เป้าหมาย 15 จังหวัด 18 พื้นที่ ภาคเกษตรกรรมและอาหาร การทําเกษตรเชิงเดี่ยวที่พึ่งพาปุ๋ยและสารเคมี โดยมุ่งเน้นการเพิ่ม ผลผลิตและสร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นหลัก ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง อาทิ ควา มเสื่อมโทรม ของดิน การชะล้างหน้าดิน และการขาดพืชปกคลุมดิน เป็นต้น สําหรับสถานการณ์ภาคการเกษตรในประเทศไทย พบว่า สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศภาคการเกษตร ปี พ.ศ. 2564 เป็นร้อยละ 8.53 และผลิตภัณฑ์มวลรวม ในประเทศภาคการเกษตรในช่วงปี พ.ศ. 2560 - 2564 มีอัตราการขยาย ตัวร้อยละ 1.48 ซึ่งในปัจจุบัน การทําเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นทางเลือกที่ได้รับความสนใจ โดยสํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ศึกษา แนวทางการจัดทําเครื่องมือในการวัดและติดตามประเมินผลพื้นที่ที่มีการทําการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืนทั้งมิติของเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยตามแนวทางของ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ( Food and Agriculture Organizat ion of the United Nations: FAO ) ในส่วนของการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร กรมวิชาการเกษตรได้จัดทําเส้นฐานจําแนก มาตรการลดความสูญเสียในตลอดห่วงโซ่คุณค่า และกรมควบคุมมลพิษได้จัดทําร่างกรอบแผนที่นําทาง การจัดการขยะอาหารของประเทศไทย ( Thailand Food Waste Management Roadma p) โดยมีเป้าหมาย เพื่อลดปริมาณขยะอาหาร ภาคบริการและการท่องเที่ยว เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีอัตราการเติบโตที่รวดเร็ว ทําให้ เกิดปัญหานักท่องเที่ยวเกินขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่ อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยสัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ด้านการท่องเที่ยว ในปี พ.ศ. 2563 ลดลงจากปี พ.ศ. 2560 ถึงร้อยละ 63.92 ซึ่งประเทศไทยได้นําแนวคิด BCG Model มาใช้กับภาคบริการและการท่องเที่ยว มุ่งเน้นการพัฒนาการท่องเที่ ยวอย่างยั่งยืนที่ตระหนักถึง ผลกระทบต่อชุมชน ระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ โดยปรับไปสู่การท่องเที่ยวสีเขียว และ
106 การท่องเที่ยวมูลค่าสูง นอกจากนั้น สํานักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้จัดทําบัญชีประชาชาติ ด้านการท่องเที่ยวที่รวมต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม ( Tourism Satellite Account - System of Environmental Economic Accounting: TSA - SEEA) เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม ภาคเมืองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภาพความหนาแน่นของเมืองและประชากร ส่งผลให้เกิดการบริโภค เพิ่มขึ้น จึงมีแนวคิดในการบริหารจัดการเมืองอย่างยั่งยืน เช่น การพัฒนาระบบ การก่อสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การออกแบบ การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม การจัดการเ ศษวัสดุเหลือใช้ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคที่ทําให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยกรมอนามัยได้ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับบังคับใช้กฎหมาย ภายใต้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 โดยออกข้อบัญญัติการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยหรื อ การจัดการสิ่งปฏิกูล ภาคการจัดซื้อจัดจ้างยั่งยืน การจัดหาสินค้าและบริการที่ช่วยสร้างประโยชน์ให้กับองค์กร สังคม และประเทศ ในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการผลิตสินค้า ซึ่งกรมควบคุมมลพิษได้ผลักดัน ให้การเลือกใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์พิจารณาอื่น ๆ อาทิ เกณฑ์การประเมิน สํานักงานสีเขียว และโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อให้เกิด การขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการประสานความร่วมมื อให้หน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้าง สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยในปี พ.ศ. 2564 มีหน่วยงานที่เข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้า และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนี้ หน่วยงานภาครัฐ องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ สถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงาน ในกํากับของรัฐ คิดเป็นร้อยละ 75 และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คิดเป็นร้อยละ 12 ในส่วนของ มูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานภาครัฐ องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ สถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานในกํากับของรัฐ คิดเป็นร้อยละ 38 และองค์ กรปกครองส่วนท้องถิ่น คิดเป็นร้อยละ 10 สําหรับสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในฐานข้อมูลสินค้าและบริการที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมของปี พ.ศ. 2564 มีจํานวนทั้งสิ้น 39 ประเภท 1,385 รายการ แบ่งเป็นฉลากเขียว ตะกร้าเขียว โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผลิต ภัณฑ์ผ้าคูลโหมด และฉลากลดโลกร้อน อีกทั้งได้มีการประกาศใช้ กฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 โดยให้พัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่ งแวดล้อมตามบัญชีรายชื่อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่ งแวดล้อมของ กรมควบคุมมลพิษ เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน ทั้งนี้ การดําเนินงานตามประเด็นดังกล่าวยังคง เป็นภาคสมัครใจ ภาคการสร้างความตระหนักรู้และการศึกษา เป็นหนึ่งในความท้าทายสําคัญของการปรับเปลี่ยน รูปแบบการดําเนินชีวิตและพฤติกรรมให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการปรับเปลี่ยนทัศนคติ การสร้างความตระหนัก การสร้างการรับรู้และความเข้าใจของบุคคลและสังคม นับเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สิ่งเหล่านี้ จําเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนควบคู่กับกา รพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อส่งเสริม รูปแบบการใช้ชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการสอดแทรกประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในภาคการศึกษา เนื่องจากการปลูกฝังแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมในเด็กและเยาวชนเป็นสิ่งสําคัญที่จะช่วยให้เด็กและเยาวชนเติบโต เป็นพลเมืองที่มีพฤติ กรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้บูรณาการ ประเด็นการเป็นพลเมืองโลกและการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนไว้ในหลักสูตรการศึกษาด้วยแล้ว ในส่วนของ การเสริมสร้างความตระหนักรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการส่งเสริมเครื อข่ายอาสาสมัคร พิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) โดยในปี พ.ศ. 2564 มีจํานวน 258 , 910 คน
107 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2563 ขณะที่องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมมีจํานวนเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยในปี พ.ศ. 2564 มีจํานวน 290 องค์กร เพิ่มขึ้นร้ อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2563 เครื่องมือและกลไกในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ความสําคัญกับ การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือและกลไกต่าง ๆ ทั้งเครื่องมือทางกฎหมาย เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ กระบวนการยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม ระบบฐานข้อมูล รวมถึงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โด ยที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้กฎหมายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีความเหมาะสมและ ทันสมัย อาทิ ระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งว่าด้วยการปลูกและบํารุงป่าชายเลนสําหรับองค์กร หรือบุคคลภายนอก พ.ศ. 2564 ระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการแบ่งปันคาร์บอนเครดิ ตจากการปลูกบํารุง อนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าในพื้นที่ป่าไม้ พ.ศ. 2564 และระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชว่าด้วย การแบ่งปันคาร์บอนเครดิตที่ได้จากการปลูก บํารุง อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เพื่อส่งเสริมให้ องค์กรหรือบุคคลภายนอกเข้าร่วมการ ปลูก บํารุง อนุรักษ์ และฟื้นฟูป่า เพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ ตลอดจนสนับสนุนการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้บรรลุเป้าหมายร้อยละ 55 ของพื้นที่ประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ และส่งเสริมเพื่อให้เกิดการจัดสรรแบ่งปันปริมาณคาร์บอนเครดิต อีกทั้งอยู่ระหว่างการพัฒนากฎหมายที่เ อื้อต่อ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ อาทิ (ร่าง) พระราชบัญญัติการจัดการ ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และซากผลิตภัณฑ์อื่น พ.ศ. … (ร่าง) พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ พ.ศ. … และ (ร่าง) พระราชบัญ ญัติความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. … เป็นต้น เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่ประเทศไทยได้นํามาใช้ในการสร้างแรงจูงใจและเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาทิ การมอบสิทธิประโยชน์ด้านภาษีจากสํานักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สําหรับรถย นต์ประเภท Eco Car การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตที่แตกต่างกันของ น้ํามันเชื้อเพลิงโดยกรมสรรพสามิต การกําหนดอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed in Tariff โดยกระทรวงพลังงาน เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา การเก็บ ค่าธรรมเนียมการเข้าแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติโดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ซึ่งจะนํา ค่าธรรมเนียมมาใช้สนับสนุนการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบ ริเวณแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการจัดตั้ง กองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยเหลือและอุดหนุนกิจการที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยมี กลุ่มเป้าหมายทั้งส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม เครือข่ายอาสาสมัคร พิทักษ์ทรัพยากรธรรมชำติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน องค์การมหาชน สถาบันการศึกษา คณะกรรมการหมู่บ้าน สภาองค์กรชุมชนตําบล และหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น เป็นต้น การจัดทําฐานข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ อาทิ ระบบสารสนเทศ การจัดทําบัญชีก๊าซเรือ นกระจกของประเทศไทย ( Thailand Greenhouse Gas Emissions Inventory System: TGEIS) เป็นการรายงานบัญชีก๊าซเรือนกระจกตามพันธกรณีให้เป็นไปตามระยะเวลา ถูกต้อง โปร่งใส และ ตรวจสอบได้ และระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย ( Thailand Biodiversity Informati on Facility: TH - BIF) ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายที่รวบรวมและเชื่อมโยงข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย ที่มี การเชื่อมต่อข้อมูลกับหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วย Application Programming Interface (API) แบบ Real time ทุกหน่วยงาน ซึ่งสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลอ้างอิงทางวิชาการ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่ใช้ในการบริ หารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาทิ กรมควบคุมมลพิษได้พัฒนาแอปพลิเคชั่น Air 4 Thai ที่มีการรายงานดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย พร้อมแผนที่แสดงข้อมูลจากสถานีตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อเผยแพร่
108 ข้อมูลคุณภาพอากาศแก่ประชาชนทั่วไ ป และสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ พัฒนาแอปพลิเคชั่น SMART EIA ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมาย เพื่อการเชื่อมโยง รวดเร็ว ลดขั้นตอน เพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน โปร่งใส และเข้าถึงง่าย เป็นต้น การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ( Strategic Environmental Assessment: SEA ) เป็นกระบวนการที่เป็นระบบเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการกําหนดนโยบาย แผน หรือแผนงาน โดยให้ ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมและการบูรณาการด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ซึ่งสํานั กงาน นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ริเริ่มทบทวนและปรับปรุงระบบการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม และเสนอแนะให้เริ่มพิจารณานํากระบวนการ SEA มาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อส่งเสริมการจัดการ สิ่งแวดล้อมเมื่อปี พ.ศ. 2546 พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดระบบ SEA ตั้งแต่ขั้ นตอนของการกําหนดนโยบาย แผน และการพัฒนาระดับพื้นที่ที่สอดคล้องกับศักยภาพในการรองรับและบริหารจัดการมลพิษของพื้นที่ ต่อมา สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดทําและเผยแพร่แนวทางการประเมินสิ่งแวดล้อม ระดับยุทธศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง) โดยหน่วยงานต่าง ๆ ได้นําแนวทาง SEA ไปทดลองใช้ในการจัดทําแผน บางประเภท อาทิ แผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ําในพื้นที่ลุ่มน้ํา แผนบริหารจัดการทรัพยากรแร่โพแทช และแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติอยู่ในขั้นตอนของกำรจัดทํา (ร่าง) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อม ระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. … เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทําแผนหรือแผนงาน ของหน่วยงานภาครัฐ ให้คํานึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ร่วมกับปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม และปัจจัยอื่น ๆ การสร้างความเข้มแข็งเพื่อรับมือกับประเด็นความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม การเชื่อมต่อที่ไร้พรมแดน การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ความตระหนักถึงผลกระทบจากการเป็น พลเมืองโลกที่จะต้องรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ร่วมกัน อาทิ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหา มลพิษข้ามแดน และการใช้ทรัพยากรระหว่างประเทศร่วมกัน ซึ่งก่อให้เกิดกฎ กติกา และความร่วมมือระหว่าง ประเทศทั้งในระดับโลก และระดับภูมิภาค ที่ มีความเข้มข้นมากขึ้น โดยประเทศไทยได้ดําเนินการจัดทํา ความตกลงการค้าเสรี ( Free Trade Area : FTA) ในข้อบทเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง ได้มีบทบาทในการ ร่วมมือกับนานาประเทศและจัดทําความร่วมมือกับองค์กร ร ะหว่างประเทศต่าง ๆ อาทิ ข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างกระทรวงทรัพยา กรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับสถานเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประจําประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือกับ The Ocean Clean Up เป็นโครงการนําร่องการจัดการขยะ ในแม่น้ําก่อนลงสู่ทะเล ข้อตกลงการดําเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับ สมาพันธรัฐสวิส นับเป็นการลงนามข้อตกลงถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตร่วมกันเป็นคู่แรกของโลก ซึ่งจะเปิดโอกาส ให้ประเทศไทยกับสมาพันธรัฐสวิสดําเนินความร่วมมือภายใต้ความตกลงปารีส ข้อ 6.2 เพื่อจัดทํากรอบความร่วมมื อ โดยสมัครใจสําหรับการถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศ โดยประเทศไทยจะได้รับความช่วยเหลือ ทางด้านการเงิน การลงทุน และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และข้อตกลงความร่วมมือระหว่างราชอาณาจักรไทยกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย - ลาว เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวม และอนุรักษ์พันธุกรรมพืชที่มีค่าหายากและใกล้สูญพันธุ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจทางธรรมชาติ แบบยั่งยืน ตลอดจนสร้างความร่วมมือของนักพฤกษศาสตร์ในการศึกษาด้านพันธุ์ไม้ของสองประเทศ เป็นต้น 1 . รายละเอียดยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์การยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่าง มีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ทั้งในภาคการผลิตและ ภาคการบริโภค การส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม โดยให้ค วามสําคัญกับ
109 การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก ความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน และการมีความรับผิดชอบ ( Accountability ) ในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเสริมสร้างการพัฒนา ระบบ เครื่องมือ และกลไก ที่ช่วยผลักดันให้การบริหารจัด การทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายเพื่อยกระดับกระบวนทัศน์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งในประเทศ และเสริมสร้างความเข้มแข็งในเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 5 . 1 การส่ งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ส่งเสริมการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดสังคมแห่งการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ด้วยการสร้างระบบการผลิตและการบริโภคที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ โดยมีกิจกรรมหลัก ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การลดปริมาณการเกิดขยะหรือของเสีย จาก กระบวนการผลิตและการบริโภค โดยส่งเสริมให้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริ การ ทั้งในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการท่องเที่ยว ตลอดห่วงโซ่ การสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและคํานึงถึงการนํา ของเสียกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การสนับสนุนการแบ่งปันการบริการ เครื่องมือ และทรัพยากรส่วนเกิน จากการผลิตระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรม การส่งเส ริมโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และเมืองอุตสาหกรรม ตามแนวทางอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ การส่งเสริมการดําเนินธุรกิจที่คํานึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกํากับ ดูแลหรือบรรษัทภิบาล ( Environment Social Governance: ESG) การขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน สนับสนุน เกษตรกรรุ่นใ หม่ให้นําองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการทําเกษตรกรรมยั่งยืน การสร้างความมั่นคง ทางด้านอาหารในระดับครัวเรือน การพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รวมทั้งการสนับ สนุน การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และกิจกรรมสนับสนุน ได้แก่ การสร้างมาตรฐาน ที่คํานึงถึงการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี การผลักดันให้ผู้ผลิตออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อจู งใจภาคส่วนต่าง ๆ ให้เกิดการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน การผลักดันการใช้และยกระดับมาตรฐานสิ่งแวดล้อมให้เป็นสากลในการจัดการองค์กรหรือสถานประกอบการ รวมถึงการสนับสนุนภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้คํานึงถึงแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และการผลิตและการบริโภค ที่ยั่งยืน หน่ว ยงานรับผิดชอบหลัก สผ. คพ. กรอ. สป.กษ. สป.กก. กทท. และ หน่วยงานสนับสนุน สป.ทส. สส. อส. ทช. สศช. สป.พณ. สปอ. กสก. กวก. ส.ป.ก. ยผ. บก. สวทช. อพท. สกท. ส.อ.ท. อปท. ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาชน กลยุทธ์ที่ 5 . 2 การส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการพัฒนาที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของทุกภาคส่วนให้เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับการเติบโตสีเขียวและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล โดยมีกิจกรรมหลัก ได้แก่ การส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ ความเข้าใจ ค่านิ ยม และ ความตระหนัก การสร้างจิตสํานึกด้านสิ่งแวดล้อม ความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน และการเป็นพลเมืองโลก การสร้างความรับผิดชอบ ( Accountability ) ในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การสนับสนุนกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยสอดแทรกในหลักสูตรกำรศึกษา การจัดการการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งในระบบและนอกระบบ รวมถึงการศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ทางสังคม และกิจกรรมสนับสนุน ได้แก่ การส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายด้านวิชาการและสถาบันการศึกษา การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและ บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การส ร้างแรงจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสู่ความเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม การสนับสนุนการใช้ฉลากสิ่งแวดล้อม การสร้างองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการอนุรักษ์และ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพผ่านช่องทางการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ การสร้างแพลตฟอร์ม
110 ในการแ ลกเปลี่ยน / เชื่อมโยง / เผยแพร่ข้อมูล ระหว่างภาครัฐ ภาคีเครือข่าย และภาคประชาชน การประชาสัมพันธ์ กิจกรรม/พื้นที่/องค์กร/บุคคลต้นแบบด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างแรงจูงใจ และขยายผล รวมถึงการส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาเป็นองค์กรต้นแบบที่คํานึงถึงสิ่งแวดล้อม เช่น การเป็น Green/Eco School หรือ Green/Eco University เป็นต้น หน่วยงานรับ ผิดชอบหลัก สส. สป.ศธ. สป.อว. และ หน่วยงานสนับสนุน สป.ทส. กศน. กปส. สถ. อปท. ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาชน กลยุทธ์ที่ 5 . 3 การส่งเสริมการพัฒนาเครื่องมือและโครงสร้างเพื่อจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพระบบ เครื่องมือ และกลไกต่าง ๆ ทั้งทางกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ รวมทั้งฐานข้อมูล โดยมีกิจกรรมหลัก ได้แก่ การพัฒนาเครื่องมือการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การผลักดัน ให้มีการใช้เครื่องมือเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่ โดยส่งเสริมให้มีการจัดทําและยกระดับ ระบบการประเมินผลเชิงนโยบายแบบองค์รวมที่คํานึงถึงผลกระทบรอบด้านทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่ น กระบวนการการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ( Strategic Environmental Assessment: SEA) เป็นต้น การพัฒนากระบวนการยุติธรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมทุกด้าน การพัฒนา มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ มาตรการทางการคลัง และผลักดันการบริหารจัดการงบประมำณของประเทศ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ การสร้างมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ที่พึงประสงค์ และกิจกรรมสนับสนุน ได้แก่ การส่งเสริมการรับรองฉลาก / มาตรฐานสินค้าและบริการที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการตลาดเพื่อสังคมและสิ่ง แวดล้อม การเสริมสร้างศักยภาพของสื่อมวลชน การจัดตั้งกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับชุมชน การสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง กลไกเพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านสิ่งแวดล้อม การเพิ่มประสิทธิภาพกองทุน/ระบบงบประมาณเพื่อสนับสนุน การบริหารจัดการทรัพยาก รธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความคล่องตัวและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น รวมถึง การเพิ่มการลงทุนในนวัตกรรม งานวิจัย และการพัฒนาสีเขียว หน่วยงานรับผิดชอบหลัก สผ. สศช. กค. และหน่วยงาน สนับสนุน สป.ทส. คพ. สส. สวทช. สอวช. วช. อปท. ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาชน กลยุทธ์ที่ 5 . 4 การส่งเสริมการพัฒนาโครงการและเครือข่ายเพื่อยกระดับกระบวนทัศน์ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พัฒนาโครงการให้เกิดการกระจายอํานาจและส่งเสริมการบริหารจัดการ ในระดับท้องถิ่น การสร้างความเป็นหุ้นส่วนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึง การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างยั่ง ยืน โดยมีกิจกรรมหลัก ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ การสนับสนุนการศึกษา วิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีและ นวัตกรรมเพื่อยกระดับกระบวนทัศน์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเสริมสร้างบ ทบาทความร่วมมือ ในระดับภูมิภาคเพื่อร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมข้ามแดน รวมถึงการเพิ่ม บทบาทเชิงรุกด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ เช่น การเพิ่มขีดความสามารถเจ้าหน้าที่เจรจาและการเตรียม ความพร้อมต่อแนวนโยบายจากต่างชาติ/พันธกรณีระหว่าง ประเทศ ข้อริเริ่มและบทบาทนํา เป็นต้น และ กิจกรรมสนับสนุน ได้แก่ การพัฒนาแนวทางการกระจายอํานาจและส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการยกระดับกระบวนทัศน์ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและผลการดําเนินงานให้แก่ทุกภาคส่วน การติดตาม
111 และเฝ้าระวังมาตรการที่อาจส่งผลกระทบต่ อภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ หรือความตกลงทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม หน่วยงานรับผิดชอบหลัก สป.ทส. สส. กต. และหน่วยงาน สนับสนุน สอวช. วช. สนช. สถ. อปท. ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาชน
111 ส่วนที่ 4 การขับเคลื่อนและติดตามประเมินผล
112 ส่วนที่ 4 การขับเคลื่อนและติดตามประเมินผล การขับเคลื่อนและการติดตามประเมินผลแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 - 2570 เป็น กระบวนการ สําคัญที่จะส่งผลให้แผนจัดการฯ พ.ศ. 2566 - 2570 บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ อย่างเป็นรูปธรรม จําเป็นต้องอาศัยการบูรณาการการดําเนินงานและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ ภาค การศึกษา นักวิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และผู้ทรงคุณวุฒิด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้ กําหนดกิจกรรมการขับเคลื่อนและการติดตามประเมินผลแผนจัดการฯ พ.ศ. 2566 - 2570 ดังนี้ 4 . 1 การขับเคลื่อนแผนจัดการฯ พ.ศ. 2566 – 2570 4 . 1 . 1 ประสานและบูรณาการการดําเนินงานกับกลไกในหน่วยงานระดับปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับ กระบวนทัศน์ในการดําเนินงานให้บรรลุเป้าหมายของแผนจัดการฯ พ.ศ. 2566 - 2570 ของภาค ส่วนที่ เกี่ยวข้อง ได้แก่ หน่วยงานรับผิดชอบหลักและสนับสนุนที่กําหนดไว้ภายใต้แผนจัดการฯ พ.ศ. 2566 - 2570 และกลไกร่วมขับเคลื่ อนในระดับภูมิภาค ได้แก่ สํานักงานสิ่ งแวดล้อม และควบคุมมลพิษ และสํานักงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมจังหวัด 4 . 1 . 2 จัดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะร่วมกันกับหน่วยงานรับผิดชอบหลักและ สนับสนุนในการขับเคลื่อนแผนจัดการฯ พ.ศ. 2566 – 2570 รวมทั้งหน่วยงานรับผิดชอบหลักของ แผนย่อย ภายใต้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรร มชาติ และ สิ่งแวดล้อม 4 . 1 . 3 ผลักดันให้เกิดนวัตกรรมทางนโยบาย ( Policy i nnovation) ในการขับเคลื่อนกิจกรรม / โครงการ/ แผนงาน ตามรายละเอียดของยุทธศาสตร์ ภายใต้แผนจัดการฯ พ.ศ. 2566 - 2570 ซึ่งอาจทําให้เกิด การ เปลี่ ยนแปลงเชิงกระบวนการที่ ทันสมัย ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมและทันต่อสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น รวมทั้งสามารถแสดงผลความเชื่อมโยงกับนโยบาย แผน ยุทธศาสตร์ของ ประเทศ และในระดับสากล เพื่อให้แผนจัดการฯ พ.ศ. 2566 - 2570 นําไปสู่การปฏิ บัติได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น 4 . 1 . 4 พัฒนาระบบข้อมูลการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการจัดเก็บ ข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ ที่สามารถเปรียบเทียบความก้าวหน้าของการ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามแต่ล ะระยะหรือช่วงปีของแผนจัดการฯ พ.ศ. 2566 - 2570 หรือช่วงปีของแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมแต่ละฉบับได้ 4 . 1 . 5 การสื่อสารประชาสัมพันธ์ โดยการจัดทําสื่อสิ่งพิมพ์ เอกสารในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่เผยแพร่ผ่านช่องทางโซเชียล เพื่อเผยแพร่การประชาสัมพันธ์ให้ภาคส่วนต่าง ๆ นําแผนจัดการฯ พ.ศ. 2566 - 2570 ไปใช้ประกอบการดําเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศในระยะ 5 ปี มีความยั่งยืนและเป็นไปในทิศทางเดียว กัน
113 4 . 2 การติดตามและประเมินผลแผนจัดการฯ พ.ศ. 2566 – 2570 4 . 2 . 1 การประเมินผลสําเร็จ โดยให้ความสําคัญกับการติดตามความก้าวหน้าการดําเนินงานอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อประเมินผลความสําเร็จการบรรลุเป้าหมายและตัวชี้วัดตามประเด็นการพัฒนาตามยุทธศาสตร์และ ผลการดําเนินงานในภาพรวม แบ่งตามช่วงระยะเวลาของแผนได้ดังนี้ ( 1 ) ช่วงระยะแรก (ปีที่ 1 ) ดําเนินการติดตามความก้าวหน้าของการสร้างความเข้าใจในสาระสําคัญ ของแผนจัดการฯ พ.ศ. 2566 - 2570 โดยมุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ ภาค การศึกษา นักวิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน เกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมรับผิดชอบตามยุทธศาสตร์/แ ผนงานที่ เกี่ยวข้อง และผลักดันให้เกิดการจัดทําโครงการภายใต้แผนงานที่กําหนด อันจะส่งผลให้เกิดความสําเร็จในการดําเนินงาน ของแต่ละยุทธศาสตร์ ( 2 ) ช่วงระยะกลาง (ปีที่ 2 – 4 ) ติดตามความก้าวหน้าในการดําเนินงานตามรายยุทธศาสตร์ ของหน่วยงานรับผิดชอบ หลัก และ สนับสนุน ที่ ได้ส่งเสริมและผลักดันการดําเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน ให้บรรลุเป้าหมายและตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์นั้น ๆ จาก การจัดทําแผนและ/หรือโครงการ ที่มีความสอดคล้อง กับรายยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และแผนงาน/กิจกรรม เพื่อประเมินช่องว่างระหว่างผลการดําเนินงานกับตัวชี้วัดที่ ได้กําห นดไว้ ที่นําไปสู่ข้อเสนอแนะ ในการทบทวน ปรับปรุง แผนจัดการฯ พ.ศ. 2566 - 2570 ให้สอดคล้อง กับสถานการณ์ และการบรรลุเป้าหมาย วัตถุประสงค์ของแผนจัดการฯ พ.ศ. 2566 - 2570 ดังกล่าว ( 3 ) ช่วงระยะสิ้นสุด (ปีที่ 5 ) ดําเนินการติดตามและประเมินผลการดําเนินงาน และความสําเร็จ แผนจัดการฯ พ.ศ. 2566 - 2570 และผลสําเร็จที่แสดงความเชื่อมโยงต่อ ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่า ด้วยความมั่นคงแห่งชาติ และนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2580 เพื่อนําผลการติดตามและประเมินผล พร้อมความเห็นและข้อเสนอแนะ ไปใช้ประกอบการจัดทําแผน จัดการคุณภาพสิ่ งแวดล้อม ในระยะถัดไป เพื่ อนําไปสู่ การยกระดับการดําเนินการให้บรรลุเป้าหมายใน ระดับประเทศและระดับสากลต่อไป 4 . 2 . 2 การ รายงานการติดตามและประเมินผลแผนจัดการฯ พ.ศ. 2566 – 2570 ให้มีการ นําเสนอต่อ คณะอนุกรรมการ แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติตามลําดับ ในระยะ ครึ่งแผน และระยะสิ้นสุดแผน เพื่อรับทราบผลการดําเนินงาน ความเห็น และข้อเสนอแนะ นําไปสู่การทบทวน ปรับ ปรุง และพัฒนาแผนจัดการในระยะต่อไป ทั้งนี้ ให้มี การนําเสนอผลการติดตามและประเมินผล ในรูปแบบที่ เข้าใจง่าย หลากหลายช่องทาง เพื่อสร้างการรับรู้และสนับสนุนการตัดสินใจของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนแผนจัดการฯ พ.ศ. 2566 – 2570 ให้ต่อเ นื่องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
114 ภาคผนวก
114 คําอธิบายและข้อมูลตัวชี้วัด ( Baseline data ) แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 – 2570 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติบกและความหลากหลายทางชีวภาพให้เติบโต และมีความเป็นธรรมบนความสมดุลของฐานทรัพยากรธรรมชาติ ตัวชี้วัดที่ 1.1 สัดส่วนพื้นที่สีเขียวที่เป็นป่า ร้อยละ 45 โดยเป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติ ร้อยละ 33 และพื้นที่ป่า เพื่อเศรษฐกิจเพื่อการใช้ประโยชน์ ร้อยละ 12 ของพื้นที่ทั้งประเทศ (ร้อยละ) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อสะท้อนการประเมินผลการดําเนินงานด้านทรัพยากรป่าไม้ โดยตัวชี้วัดมีความสอดคล้อง กับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (18) การเติบโตอย่างยั่งยืน ในแผนย่อยการสร้าง การเติบโตอย่างยั่งยืน บนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ในหมุดหมาย ที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจ หมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ํา เป้าหมายที่ 2 การอนุรักษ์ ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน นิยาม นโยบายป่าไม้แห่งชาติได้กําหนด “ป่าไม้” หมายถึง พื้นที่ปกคลุมของพืชพรรณที่สามารถ จําแนก ได้ว่ามีไม้ยืนต้นปกคลุมเป็นผืนต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 3.125 ไร่ (0.5 เฮกตาร์) และหมายรวมถึงพื้นที่ เหล่านี้ ( 1 ) พื้นที่ที่ไม่มีต้นไม้ขึ้นอยู่เป็นการชั่วคราวเนื่องจากกิจกรรมการจัดการป่าไม้แบบตัดหมด ( Clear - cutting) แต่สามารถสืบต่อพันธุ์ของพรรณพืช ( Regeneration) ภายใน 5 ปี หรือมากกว่า 5 ปี ในกรณีพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษ ตามเหตุผลทางวิชาการและมีความคาดหมายว่าจะสามารถมีพื้นที่ปกคลุมของพืชพรรณที่มี ไม้ยืนต้นปกคลุม เป็นผืนต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 3.125 ไร่ ( 2 ) พื้นที่ถนนป่าไม้ แนวกันไฟ และพื้นที่โล่งขนาดเล็กอื่น ๆ ที่ เกิดจาก กิจกรรมการจัดการป่าตามหลักวิชาการ ไม่รวมถึงถนนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการคมนาคมเป็นหลัก ( 3 ) พื้นที่ ที่มีต้นไม้ เป็นแถบหรือแนว ที่มีพื้นที่ ไม่น้อยกว่า 3.125 ไร่ (0.5 เฮกตาร์) และกว้างมากกว่า 20 เมตร ( 4 ) พื้นที่ป่าชายเลน ใ นเขตน้ําขึ้นน้ําลงของน้ําทะเล โดยไม่คํานึงถึงว่าพื้นที่นั้นได้รับการจําแนกให้เป็นพื้นที่ดินหรือไม่ก็ตาม และรวมถึง ป่าบุ่ง ป่าทาม และป่าอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ( 5 ) พื้นที่ที่มีไผ่ปกคลุมเป็นผืนต่อเนื่อง ( 6 ) ทุ่งหญ้าและลานหิน ที่มีอยู่ตามธรรมชาติที่ปรากฏล้อมร อบด้วยพื้นที่ที่จําแนกได้ว่าเป็นพื้นที่ป่าไม้ และ (7) หากมีประเด็นที่ต้องพิจารณา นอกจากที่กําหนด ให้พิจารณาตามเอกสารทางวิชาการขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO ) ที่ได้กําหนดนิยามและคําทางป่าไม้ไว้ในเอกสาร Global Forest Resources Assessment 2020 พื้นที่ป่าธรรมชาติ คือ พื้นที่ที่มีสภาพป่าซึ่งอยู่ในที่ดินของรัฐ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ สวนรุกขชาติ ป่าชายเลน ป่าสงวนแห่งชาติ เป็นต้น พื้นที่ป่าเศรษฐกิจเพื่อการใช้ประโยชน์ ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติ สวนป่าองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ สวนป่าเอกชน ป่าชุมชน และพื้นที่ปลูกป่าในที่ดินเอกชน หน่วยวัด ร้อยละของพื้นที่ป่าไม้ วิธีการวัดและการคํานวณ ร้อยละของพื้นที่ สีเขียว ที่เป็นป่า = ร้อยละของพื้นที่ป่าธรรมชาติ + ร้อยละของพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ เพื่อการใช้ประโยชน์ ร้อยละของพื้นที่ป่าธรรมชาติ = (พื้นที่ป่าธรรมชาติ/พื้นที่ ทั้งประเทศ ) x 100 ร้อยละพื้นที่ป่าเศรษฐกิจเพื่อการใช้ประโยชน์ = (พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ/พื้นที่ทั้งประเทศ) x 100
115 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 1 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด สัดส่วนพื้นที่สีเขียวที่เป็นป่า ร้อยละ 45 โดยเป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติ ร้อยละ 33 และพื้นที่ป่าเพื่อเศรษฐกิจเพื่อการใช้ประโยชน์ ร้อยละ 12 ของพื้นที่ทั้งประเทศ (ร้อยละ) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม พื้นที่ป่าธรรมชาติ กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมทรัพยากรทาง ทะเลและชายฝั่ง สอบถามกับหน่วยงานติดตามข้อมูล หรือติดตามผ่าน ข้อมูลสารสนเทศเนื้อที่ป่าไม้ ( http://forestinfo .forest.go.th/Content.aspx?id=72 ) ที่จัดทําโดยกรมป่าไม้ พื้นที่ป่าเศรษฐกิจเพื่อ การใช้ประโยชน์ กรมป่าไม้ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ สํานักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐาน ชีวภาพ (องค์การมหาชน) สอบถามกับหน่วยงานติดตามข้อมูล พื้นที่ประเทศ ประเทศไทยมีพื้นที่เท่ากับ 323 , 528 , 699.65 ไร่ อ้างอิงจากรายงานข้อมูลสารสนเทศเนื้อที่ป่าไม้ ที่จัดทําโดยกรมป่าไม้ ( http://forestinfo.forest.go.th/Content.aspx?id= 72 ) ข้อจํากัด นิยามของป่าเศรษฐกิจเพื่อการใช้ประโยชน์อยู่ระหว่างการกําหนดคํานิยาม จึงกําหนด ในเบื้องต้นจากป่าเศรษฐกิจในที่ดินของรัฐ และที่ดินของเอกชน แหล่งข้อมูล ทส (ปม./อส./ทช./อ . อ . ป./สพภ.) ข้อมูลตัวชี้วัด ในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยมีพื้นที่ ทั้ง ประเทศ 322 , 528 , 699.65 ไร่ มีเนื้อที่ป่าไม้ 102 , 212 , 434.37 ไร่ ตารางที่ ผ - 2 พื้นที่ป่าไม้และร้อยละของพื้นที่ป่า ไม้ ต่อพื้นที่ประเทศ ปี พ.ศ. พื้นที่ป่า ไม้ (ไร่) ร้อยละของพื้นที่ป่า ไม้ ต่อ พื้นที่ประเทศ 2560 102,156,350.5 3 31.58 2561 102,488,302.19 31.68 2562 102,484,072.71 31.68 2563 102,353,484.76 31.64 2564 102 , 212 , 434 . 37 31.59 ที่มา: กรมป่าไม้. 2565. ข้อมูลสารสนเทศกรมป่าไม้: เนื้อที่ป่าไม้ของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2516 - 2564. http://forestinfo.forest.go.th/Content.aspx?id= 72 สืบค้นวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 . ตารางที่ ผ - 3 ร้อยละของพื้นที่ป่าธรรมชาติและพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. ข้อมูล 2560 2561 2562 2563 2564 พื้นที่ป่าธรรมชาติ ( ร้อยละ) 31 . 58 31 . 68 31 . 68 31 . 64 31 . 59 พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ ( ร้อยละ) N/A N/A 8.28 N/A N/A ที่มา : รายงานสรุปผลการดําเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติประจําปี 2564 .
116 ตัวชี้วัดที่ 1.2 ดัชนีบัญชีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่เสี่ยงต่อการถูกคุกคามในบริบท ของประเทศไทย ( Thailand Red List Index) ( 0 - 1 ) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อสะท้อนมิติในการ ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ โดยตัวชี้วัดมีความสอดคล้อง กับ (ร่าง) กรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ. 2020 ฉบับที่ 1 ในผลลัพธ์ที่คาดหวังว่า อัตราการสูญพันธุ์และความเสี่ยงของการสูญพันธุ์ลดลง และความอุดมสมบูรณ์และการกระจายของประชากร ชนิดพันธุ์ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น ความหลาก หลายทางพันธุกรรมเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่ใช้ สะท้อนสถานะของพันธุ์สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เพื่อประเมินเป้า หมายย่อย ที่ 15.5 ปฏิบัติการที่จําเป็นและเร่งด่วน เพื่อลดการเสื่อมโทรมของถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ หยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และภายใน ปี พ.ศ. 2563 ปกป้องและป้องกันการสูญพันธุ์ของชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้ที่ยั่งยืน ต่อสู้ การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นส ภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสีย ความหลากหลายทางชีวภาพ นิยาม บัญชีชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ หรือ The IUCN Red List of Threatened Species (IUCN Red List) ถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ มากที่สุดของโลกในด้านสถานภาพของการอนุรักษ์ของชนิดพันธุ์ทั้ง สัตว์ พืช และกลุ่มเห็ดรา รวมทั้งความ เชื่อมโยงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ โดย IUCN Red List เป็นเครื่อ งมือที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยงต่อ การสูญพันธุ์ ของชนิดพันธุ์อย่างเป็นระบบ โดยทาง องค์การระหว่างประเทศ เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ หรือไอยูซีเอ็น ( International Union for Conservation of Nature: IUCN) ได้กําหนดเกณฑ์การประเมิน สถานภาพของชนิดพันธุ์ไว้ดังนี้ 1 . EX - Extinct - สูญพันธุ์ = สูญพันธุ์โดยสมบูรณ์ โดยมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับการตาย ของสัตว์ตัวสุดท้าย 2 . EW - Extinct in the wild - สูญพันธุ์ ในธรรมชาติ = ถูกคุกคามจนเสี่ยงต่อการ สูญพันธุ์ไป จากธรรมชาติ 3 . CR - Critically Endangered - ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง = มีความเสี่ยงสูงมากที่จะสูญพันธุ์ไปจาก ธรรมชาติในขณะนี้ 4 . EN - Endangered - ใกล้สูญพันธุ์ = มีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ 5 . VU - Vulnerable - มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ = มีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติในภายหน้า 6 . CD - Conservation Dependent - ปลอดภัยโดยแผนงานอนุรักษ์ = ปลอดภัยโดยแผนงาน อนุรักษ์ที่ดี หากแผนงานนั้นไม่สามารถดําเนินการต่อ จะเข้าสู่ threatened 7 . NT - Near Threatened - ใกล้ถูกคุกคาม = ในภายภาคหน้า เป็นไปได้ว่าจะเข้าสู่ VU 8 . LC - Least Concerned - ไม่ถูกคุกคาม = มีการประเมิ นสถานภาพแล้ว พบว่ายังไม่ถูก คุกคามถึงขั้น NE ไม่สามารถแยกได้ว่าเป็น CD หรือ NT 9 . LR - Lower Risk - เสี่ยงน้อย = มีความเสี่ยงน้อยต่อการสูญพันธุ์ 10 . DD - Data Deficient = ข้อมูลไม่เพียงพอที่จะประเมิน 11 . NE - Not Evaluated = ยังไม่มีการพิจารณาประเมินสถานภาพ โดยชนิดพันธุ์ที่ถู กคุกคาม หมายถึง ชนิดพันธุ์ ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากแหล่งที่มี การกระจายพันธุ์อยู่ เนื่องจากมีปัจจัยคุกคามอันเป็นสาเหตุให้ชนิดพันธุ์นั้นสูญพันธุ์โดยเป็นการกําหนดกลุ่มของ
117 ชนิดพันธุ์ที่มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์จากมากไปน้อย ได้แก่ ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง ( Critically Endangered) ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) และมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ( Vulnerable ) หน่วยวัด ค่า 0 - 1 วิธีการวัดและการคํานวณ ดัชนีบัญชีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่เสี่ยง ต่อการถูกคุกคาม ( Red List Index: RLI) เป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แนวโน้มการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของชนิดพันธุ์ ทําให้ สามารถ ติดตามความคืบหน้าไปสู่เป้าหมายเพื่อลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ โดย RLI มีค่าตั้งแต่ 0 - 1 ดังนี้ RLI มีค่าแนวโน้มเข้าใกล้ 1 หมายถึง ชนิดพันธุ์นั้นมีแนวโน้มไม่มีการสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้ RLI มีค่าแนวโน้มเข้าใกล้ 0 หมายถึง ชนิดพันธุ์นั้นมีแนวโน้มสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้ ดัชนีบัญชีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่เสี่ยงต่อการถูกคุกคามในบริบทของ ประเทศไทย ใช้หลักการในการคํานวณแบบเดียวกับในระดับสากล สามารถคํานวณได้จาก คูณจํานวนชนิดพันธุ์ ( N) ในแต่ละหมวดหมู่บัญชีชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามด้วยค่าน้ําหนักหมวดหมู่ (W) แสดงดั งรูปภาพที่ ผ - 1 โดย 0 สําหรับ ชนิดพันธุ์ที่ไม่ถูกคุกคาม (LC) 1 สําหรับ ชนิดพันธุ์ใกล้ถูกคุกคาม ( NT) 2 สําหรับ ชนิดพันธุ์ที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ( VU) 3 สําหรับ ชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ (EN) 4 สําหรับ ชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CR) 5 สําหรับ ชนิด พันธุ์ที่สูญพันธุ์โดยสมบูรณ์ (EX) หลังจากนั้นผลรวมของผลคูณระหว่างจํานวนชนิดพันธุ์ในแต่ละหมวดหมู่บัญชีชนิดพันธุ์ที่ ถูกคุกคามกับค่าน้ําหนักหมวดหมู่จะหารด้วยจํานวนชนิดพันธุ์ทั้งหมดคูณด้วยค่าน้ําหนักสูงสุด (เท่ากับ 5 ) สุดท้ายแล้วค่าเหล่านี้จะถูกนํามาลบออกจาก 1 เพื่ อให้ค่าดัชนีบัญชีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพพันธุ์พืชและ พันธุ์สัตว์ที่เสี่ยงต่อการถูกคุกคามมีค่าระหว่าง 0 – 1 รูปภาพ ที่ ผ - 1 การคํานวณดัชนีบัญชีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่เสี่ยงต่อการถูกคุกคาม (ที่มา : https://www.iucnredlist.org/assessment/red - list - index)
118 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 4 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ดัชนีบัญชีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่เสี่ยงต่อการ ถูกคุกคามในบริบทของประเทศไทย ( Thailand Red List Index) ( 0 - 1 ) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม จํานวนชนิดพันธุ์ในแต่ละ หมวดหมู่บัญชีชนิดพันธุ์ กองความหลากหลายทางชีวภาพ สํานักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูลหรือ ติดตามสถานภาพการคุกคามสัตว์มีกระดูก สันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง (http://chm - thai.onep.go.th/) โดยกองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ สํานักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แหล่งข้อมูล ทส (สผ./อส.) ข้อมูลตัวชี้วัด ในปี พ.ศ. 2563 สัตว์ทั้ งที่ มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง (กลุ่ มมอลลัสกา กลุ่มครัสเตเชียน และกลุ่มปะการัง) ที่ได้รับการประเมินสถานภาพของชนิดพันธุ์ มีจํานวนทั้งสิ้น 8 , 160 ชนิด แบ่งเป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง 5 , 005 ชนิดพันธุ์และสัตว์ที่ ไม่มีกระดูกสันหลัง (กลุ่มมอลลัสกา กลุ่มครัสเต เชียน และกลุ่มปะการัง) 3 , 155 ชนิดพันธุ์ พบว่า ชนิดพันธุ์ที่อยู่ในสถานภาพถูกคุกคาม มีทั้งสิ้น 980 ชนิด หรือคิดเป็นร้อยละ 12.01 ของชนิดพันธุ์สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลังที่ได้รับ การประเมินสถานภาพขอ งชนิดพันธุ์ทั้งหมด โดยแบ่งเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง 676 ชนิด และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (กลุ่มมอลลัสกา กลุ่มครัสเตเชียน และกลุ่มปะการัง) 304 ชนิด (กองจัดการ ความหลากหลายทางชีวภาพ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , 2564) โดยข้อมูล สถานภาพของชนิดพันธุ์สัตว์ทั้งที่มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง และค่าดัชนี RLI สามารถแสดงได้ ดังตารางที่ ผ – 5 และ ผ - 6 ตารางที่ ผ - 5 ข้อมูลสถานภาพของชนิดพันธุ์สัตว์ทั้งที่มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง ( ข้อมูลเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 ) ชนิดพันธุ์ EX EW สถานภาพชนิดพันธุ์ ที่ถูกคุกคาม NT LC DD NE รวม CR EN VU รวม สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 4 - 19 39 64 122 34 150 35 - 345 นก 3 3 52 59 78 189 138 737 5 - 1 , 075 สัตว์เลื้อยคลาน - 1 17 17 17 51 59 315 34 1 461 สัตว์สะเทินน้ํา สะเทินบก - - - 4 15 19 20 113 32 - 184 ปลา 5 1 53 72 170 295 93 1 , 502 1 , 044 - 2 , 940 รวม 12 5 141 191 344 676 344 2 , 817 1 , 150 1 5 , 005 สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง มอลลัสกา - - 6 12 165 183 401 1 , 257 666 28 2 , 535 ครัสเตเชียน - - - 5 9 14 8 118 54 - 194
119 ชนิดพันธุ์ EX EW สถานภาพชนิดพันธุ์ ที่ถูกคุกคาม NT LC DD NE รวม CR EN VU รวม ปะการัง - - 1 45 61 107 173 22 27 97 426 รวม - - 7 62 235 304 528 1 , 397 747 125 3 , 155 ที่มา : กองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2565 . สถานภาพการคุกคามชนิดพันธุ์. http://chm - thai.onep.go.th/ สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2565 . ตารางที่ ผ - 6 ผลทดสอบการคํานวณค่าดัชนี ( Red List Index (RLI)) ของกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลัง และ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ปี พ.ศ. 2563 Red List Index (RLI) พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2563 สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 0.76 0.76 นก 0.87 0.86 สัตว์เลื้อยคลาน 0.89 0.90 สัตว์สะเทินน้ําสะเทินบก 0.92 0.92 ปลา 0.55 0.91 RLI เฉลี่ย 0.80 0.87 มอลลัสกา ไม่ได้ทําการประเมิน 0.92 ครัสเตเชี่ยน ไม่ได้ทําการประเมิน 0.94 ปะการัง ไม่ได้ทําการประเมิน 0.70 RLI เฉลี่ย - 0.85 ที่มา : กองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2565 . สําหรับสถานภาพคุกคามชนิดพันธุ์พืชมีการดําเนินการปรับปรุงโดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เมื่อปี พ.ศ. 2562 และจะมีการประสานผลักดันการประเมินสถานภาพชนิดพันธุ์ต่อไป ทั้งนี้ กองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยู่ ระหว่างดําเนินการจัดทําดัชนีบัญชีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพพันธุ์พืชและพั นธุ์สัตว์ที่เสี่ยงต่อการถูกคุกคาม ในบริบทของประเทศไทย ( Thailand Red List Index) และปรับปรุงข้อมูลสถานภาพชนิดพันธุ์เป็นระยะทุก ๆ 5 ปี รวมถึงปรับปรุงรายละเอียดอื่น ๆ ของชนิดพันธุ์ โดยระยะถัดไปคาดว่าจะมีการประเมินในปี พ.ศ. 2568 ตัวชี้วัดที่ 1.3 จํานวนพื้นที่ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ไม่เหมาะสมภายใต้โครงการบริหาร จัดการพื้นที่เกษตรกรรม ( Zoning by Agri - Map) ( ไร่) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อสะท้อนถึงการดําเนินการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ไม่เหมาะสม นิยาม พื้นที่ที่ได้รับการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ไม่เหมาะสม โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม ( Zoning by Agri - Map) หมายถึง หนึ่งในโครงการ นโยบายที่รัฐบาลนํามาใช้ขับเคลื่อนภาคการเกษตรของไทยเพื่อนํามาใช้แก้ปัญหาการทําการเกษตรโดยเฉพาะ การปลูกพืชในพื้นที่ศักยภาพต่ํา (เหมาะสมเล็กน้อย: S3 และ ไม่เหมาะสม: N) ให้แก่เกษตรกรตามความสมัครใจ สําหรับพืชชนิดนั้น ๆ พร้อมทั้งสร้างความความสมดุลระหว่าง อุปสงค์และอุปทานของแต่ละสินค้าจากฐานข้อมูล แผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก ( Agri - Map)
120 การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม หมายถึง การแก้ไขปัญหาทางการเกษตรให้เกษตรกร ทําการเกษตรให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยใช้แผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก ( Agri - Ma p) เป็นเครื่องมือในการดําเนินงานเพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมทดแทน พืชเดิมที่ปลูกอยู่ การปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดิน หมายถึง ปรับเปลี่ยนพื้นที่ทําการเกษตรในพื้นที่ที่มี ศักยภาพต่ํา ( S3 และ N) เป็นการผลิตสินค้าชนิดใหม่ที่เหมา ะสมกับพื้นที่และเพิ่มศักยภาพของพื้นที่เป็น รายสินค้า ประกอบด้วย 4 ทางเลือกหลัก 1 . พืชเศรษฐกิจหลักหรือพืชทางเลือกชนิดต่าง ๆ ที่มีตลาดรองรับหรือมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อผ่าน การแปรรูป 2 . ปศุสัตว์/พืชอาหารสัตว์ 3 . ประมง (เพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา) 4 . กิจกรรมอื่น ๆ เช่น ปลูกไม้เศรษฐกิจ เกษตรผสมผสาน เป็นต้น ฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิง รุก ( Agri – Map) หมายถึง ชั้นข้อมูลแผนที่ที่ จัดเก็บไว้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และรายละเอียดทางสถิติของแต่ละชั้นข้อมูล ที่ได้รับการบูรณาการ แผนที่จากความร่วมมือของทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้เผยแพร่ให้สามารถเข้าใช้งาน ผ่านเว็บไซต์ Agri - Map O nline และทางแอปพลิเคชันผ่านสมาร์ทโฟน Agri - Map Mobile พื้นที่เหมาะสมต่อการทําการเกษตร หมายถึง พื้นที่ที่อยู่ในระดับเหมาะสมสูง ( S1) จํานวน 19.462 ล้านไร่ หรือพื้นที่ที่อยู่ในระดับความเหมาะสมปานกลาง ( S2) จํานวน 22.388 ล้านไร่ เป็นข้อมูลที่ได้จาก ฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก ( Agri - Map) ได้จากการวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ตามหลัก วิชาการ โดยการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ภูมิอากาศ ดิน น้ํา ลักษณะทางกายภาพด้านต่าง ๆ นํามาประกอบกับ ข้อมูล ความต้องการในการผลิตพืชชนิดนั้ น ๆ ปศุสัตว์ และประมง รวมทั้งวิเคราะห์ร่วมกับความต้องการของตลาด เพื่อหาว่าพื้นที่ใดมีความเหมาะสมและมีศักยภาพในการผลิตสูง ส่งผลให้ให้เกษตรกรมีผลกําไรที่สูงกว่าการทําเกษตร ในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม โดยรัฐบาลมีมาตรการสนับสนุน จูงใจ ให้ข้อมูลและคําแนะนําทางวิชาการแก่ เกษตรกรที่ต้องการ การปรับเปลี่ยนการทําการเกษตร ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องเป็นความสมัครใจและความพึงพอใจของเกษตรกรเป็นหลัก พื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการทําการเกษตร หมายถึง พื้นที่ที่อยู่ในระดับเหมาะสมเล็กน้อย ( S3) จํานวน 18.163 ล้านไร่หรือ พื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ( N) จํานวน 6.286 ล้านไร่ รวมเรียกว่าพื้นที่ศักยภาพต่ําต่อ การทําการเกษตร ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก ( Agri - Map) ได้จาก การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ตามหลักวิชาการ โดยการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่ น ภูมิอากาศ ดิน น้ํา ลักษณะ ทางกายภาพด้านต่าง ๆ นํามาประกอบกับข้อมูลความต้องการในการผลิตพืชชนิดนั้น ๆ ปศุสัตว์ และประมง พื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการทําการเกษตร เป็นพื้นที่ทําการผลิตสินค้าเกษตรแล้วได้ผลผลิตและ ผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เนื่องจากที่ดินมีข้อจํากัดที่ ไม่เหมาะสมต่อความต้องการเจริญเติบโตของพืช ชนิดนั้น ๆ เช่น ความชื้นหรือปริมาณน้ําฝนไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช ดินตื้นส่งผลให้ระบบรากพืช ไม่สามารถหาอาหารได้และดินปัญหาต่าง ๆ เช่น ดินเปรี้ยว ดินเค็ม เป็นต้น ในทางปฏิบัติถ้าเกษตรกรสามารถ แก้ข้อจํากัดที่ส่งผล ต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ เช่น มีการจัดหาแหล่งน้ํา การเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน การทํา ระบบอนุรักษ์ดินและน้ํา เป็นต้น เกษตรกรก็จะได้ผลผลิตที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพเพิ่มมากขึ้น บางพื้นที่ จําเป็นต้องมีการลงทุนสูง ซึ่งอาจไม่คุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจ แนวทางหนึ่งที่สามารถ นํามาใช้แก้ปัญหาดังกล่าว ข้างต้นได้ คือการปรับเปลี่ยนชนิดพืชหรือทํากิจกรรมด้านการเกษตรที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ โดยกรมพัฒนา ที่ดิน พิจารณาถึงพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการทําการเกษตรที่ภาครัฐสามารถดําเนินการปรับเปลี่ยนการใช้ ประโยชน์ที่ดินให้แก่เกษตรกรได้อยู่ที่ประมาณ 6 ล้านไร่
121 การพิจารณาพื้นที่ไม่เหมาะสมทางกายภาพ หมายถึง การตรวจสอบ พื้นที่จากลักษณะการ เจริญเติบโตของพืช ลักษณะพื้นที่และข้อจํากัดของดินที่ใช้ในการเพาะปลูก พืชแต่ละชนิดมีความต้องการปัจจัย แวดล้อมต่อการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน ดินชนิดเดียวกันการเจริญเติบโตของพื ชแต่ละชนิดกันอาจเหมือน หรือต่างกัน มีค่าใช้จ่ายในการจัดการพื้นที่สูง แต่ได้ผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่า การพิจารณาพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม สําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดต่าง ๆ นั้น มีหลักพิจารณาดังนี้ สภาพพื้นที่ 1 . พื้นที่ลุ่ม เป็นพื้นที่ลุ่มต่ําที่มักมีน้ําท่วมขังในฤดูฝน มีความเหมาะสมสําหรับการปลูกข้าวแต่ ไม่เหมาะสมสําหรับพืชที่ไม่ชอบน้ําขัง เช่น พืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืน เป็นต้น 2 . พื้นที่ดอน ลักษณะพื้นที่เป็นที่ดอน โดยทั่วไปจะไม่มีน้ําขังเมื่อฝนตก ดินจะมีการระบาย น้ําดี มีความเหมาะสมสําหรับพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น แต่ไม่เหมาะสมสําหรับปลู กข้าว 3 . พื้นที่ที่มีความลาดชันสูง มีความเสี่ยงต่อการเกิดการชะล้างพังทลายดิน โดยเฉพาะในพื้นที่ ทําการเกษตรที่ปลูกพืชไร่โดยขาดมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ําที่เหมาะสมซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดการชะล้าง พังทลายของดิน ลักษณะของดินที่มีข้อจํากัดในการใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร ดินที่มีสมบัติทางกายภาพและเคมีไม่เหมาะสมสําหรับการเพาะปลูก ทําให้พืชไม่สามารถ เจริญเติบโตและให้ผลผลิตตามปกติได้ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สามารถจําแนกตามสภาพปัญหา ข้อจํากัดของดิน และวิธีการจัดการเบื้องต้นได้ดังนี้ 1 . ดินทราย เป็นดินที่ไม่มีโครงสร้าง มีการ เกาะตัวหรือยึดตัวของเม็ดดินต่ํา เกิดการชะล้าง พังทลายของดินได้ง่าย ความอุดมสมบูรณ์ต่ํา ความสามารถในการอุ้มน้ําต่ํา ทําให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ํา เกิดอาการเหี่ยวเฉา โดยเฉพาะในช่วงฝนทิ้งช่วง พืชเจริญเติบโตไม่ดีและให้ผลผลิตต่ํา 2 . ดินเค็ม เป็นดินที่มีเกลือที่ละลายน้ํา ได้ในปริมาณมาก จนส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของพืช สังเกตโดยดูจากคราบเกลือจะเห็นคราบเกลือเป็นหย่อม ๆ โดยเฉพาะฤดูแล้ง พืชมักจะมี ลําต้นแคระแกร็น ตายเป็นหย่อม ๆ ไม่มีความเหมาะสมสําหรับการปลูกพืช ยกเว้นพืชที่ทนความเค็มได้ 3 . ดินตื้น เป็นดินที่พบ ชั้นลูกรัง ชั้นกรวด ชั้นเศษหิน หรือเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อดิน หรือพบ ชั้นหินพื้น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช และการไถพรวน ความอุดมสมบูรณ์ต่ํา ทําให้พืชไม่สามารถ เจริญเติบโตได้และให้ผลผลิตต่ํา สังเกตได้จากการพบลูกรังหรือเศษหินปะปนอยู่ กับดินในปริมาณมาก หรือขุดหลุม ลงไปก็จะพบลูกรัง เศษหินหรือหินพื้น ที่ความลึกไม่เกิน 50 เซนติเมตร ดินตื้น ประกอบด้วย - ดินตื้นถึงชั้นลูกรัง กรวด เศษหิน พืชไร่สามารถเจริญเติบโตได้ มีความเหมาะสมปานกลาง สําหรับปลูกพืชไร่ แต่มีความเหมาะสมน้อยสําหรับการปลูกไม้ผล และ ไม้ยืนต้น - ดินตื้นถึงหินพื้นผุ มีความเหมาะสมปานกลางสําหรับปลูกพืชไร่ แต่มีความเหมาะสมปานกลาง หรือเล็กน้อยสําหรับการปลูกไม้ผล และไม้ยืนต้น เนื่องจากเป็นหินที่กําลังผุพังกําลังย่อยสลาย รากพืชสามารถ ชอนไชได้ระดับหนึ่ง - ดินตื้นถึงหินพื้น มีความเหมาะสมเล็กน้อยสําหรั บปลูกพืชไร่แต่ไม่มีความเหมาะสม สําหรับการปลูกไม้ผล และไม้ยืนต้น เนื่องจากเป็นแผ่นหินพื้นที่แข็งแผ่กว้างไปโดยรอบพื้นที่ รากพืชไม่สามารถ แทงทะลุหรือชอนไชผ่านเพื่อดูดน้ําและธาตุอาหารพืชได้ และมีโอกาสโค่นล้มได้ง่าย 4 . ดินเปรี้ยวและดินเปรี้ยวจัด เป็นดินเหนียวจัดที่ พบจุดประสีเหลืองฟางข้าว พบในพื้นที่ลุ่ม มีน้ําท่วมขัง มักพบคราบสนิมเหล็กในดินและที่ผิวน้ํา เมื่อดินแห้งจะแตกระแหงเป็นร่องกว้างและลึก เมื่อขุดดิน หรือยกร่องลึก จะพบสารสีเหลืองฟางข้าวกระจายอยู่ทั่วไป ดินมีสภาพเป็นกรด ค่าความเป็นกรดด่างต่ํากว่า 6.0 มีผลต่อความเป็นพิษของพวกอะลูมินัม เหล็ก แมงกานีส และทําให้พืชขาดธาตุอาหารไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งดินเปรี้ยวจัดจะมีผลกระทบต่อพืชที่รุนแรงกว่าดินเปรี้ยว เช่น
122 - ดินเปรี้ยว มีปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกรดจัดมาก ค่าความเ ป็นกรดด่าง 4.5 - 6.0 มีความเหมาะสมปานกลางสําหรับการปลูกข้าว - ดินเปรี้ยวจัด มีปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงถึงเป็นกรดรุนแรงมาก ค่าความเป็นกรดด่าง น้อยกว่า 4.5 มีความเหมาะสมเล็กน้อยหรือไม่เหมาะสมสําหรับการปลูกข้าว หน่วยวัด ไร่ วิธีการวัดและการ คํานวณ การรายงานจํานวนพื้นที่ปรับเปลี่ยนการใช ประโยชน ที่ดินในพื้นที่ ไม่เหมาะสม อ้างอิงจากกรมพัฒนาที่ดิน สามารถแสดงได้ดังนี้ ข้อมูลจํานวนพื้นที่ปรับเปลี่ยนการใช ประโยชน ที่ดินในพื้นที่ไม่เหมาะสม จากฐานข้อมูลแผนที่ เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก ( Agri - Map) ข้อมูลป ระกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 7 ข้อูมลประกอบตัวชี้วัด จํานวนพื้นที่ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ไม่เหมาะสม ภายใต้โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม ( Zoning by Agri - Map) ( ไร่) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม พื้นที่ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในพื้นที่ไม่เหมาะสม กรมพัฒนาที่ดิน สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูล แหล่งข้อมูล กษ (พด.) ข้อมูลตัวชี้วัด ผลการดําเนินงานปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ไม่เหมาะสมและงบประมาณ ที่ดําเนินการ ในช่วงปี พ.ศ. 2560 - 2564 โดยกรมพัฒนาที่ดิน แสดงดังตารางที่ ผ - 8 ตารางที่ ผ - 8 ผลการดําเนินงานปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ไม่เหมาะสม ปี พ.ศ. 2560 - 2564 ผลการดําเนินงาน ปี พ.ศ. 2560 2561 2562 2563 2564 งบประมาณ (ล้านบาท) 107.57 218.45 233.13 150.00 135.00 พื้นที่ (ไร่) 157 , 701 270 , 167 138 , 608 133 , 758 98 , 305 ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน . 2565 . ตัวชี้วัดที่ 1.4 สถานประกอบการ เหมื องแร่ และอุ ตสาหกรรมพื ้ นฐานได้ รั บการรั บรอง มาตรฐาน ความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมแร่ ( CSR - DPIM) และเหมืองแร่ สีเขียว ( Green mining) ( จํานวน ) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อสะท้อนการดําเนินงานในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่และการพัฒนาทรัพยากร แร่อย่างยั่งยืน โดยตัวชี้วัดมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ใน ( ร่าง) แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ 2 ( พ.ศ. 2566 - 2570 ) แนวทางการพัฒนาด้านที่ 2 การพัฒนากลไก การอนุญาต กํากับดูแล และการจัดสรรผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรแร่ นิยาม สถานประกอบการเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ( CSR - DPIM) และมาตรฐานเหมืองแร่สีเขียว ( Green mining) ซึ่งเทียบเท่ากับระดับที่ 3 ระบบสีเขียว ( Green System) ของโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว
123 ที่มีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ มีการติดตามประเมินผล และทบทวน เพื่อการพัฒนาอย่าง ต่อเนื่อง รวมถึงการได้รับรางวัล ด้านสิ่งแวดล้อม ที่เป็นที่ยอมรับและการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยการประเมินการรับรองเหมืองแร่ สี เขียวจะเป็นการประเมินผ่านกลไกคณะทํางาน ส่วน CSR - DPIM จะเป็น การประเมินด้วยการตรวจสอบเอกสารเป็น หลัก มาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานประกอบการอุตสาหกรรมแร่ ( CSR – DPIM) เป็นการจัดทํารายงานตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแร่ ที่ริเริ่มโดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรมที่ริเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2 553 โดยนํามาตรฐานของ ISO 26000 มาเป็นแนวทางในการจัดทําเกณฑ์มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของ สถานประกอบการอุตสาหกรรมแร่ ( CSR – DPIM) ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกับการคํานึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จากการดําเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ โดยมีหลักการสําคัญ 7 หลักการ ดังนี้ 1) ตร วจสอบได้ 2) ความโปร่งใส 3) ปฏิบัติอย่างเป็นธรรม 4) ยอมรับถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 5) เคารพต่อหลักนิติธรรม 6) เคารพต่อแนวปฏิบัติสากล และ 7) เคารพต่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งครอบคลุม 7 หัวข้อหลัก ได้แก่ 1) การกํากับดูแลองค์กร 2) สิทธิมนุษยชน 3) การปฏิบัติด้าน แรงงาน 4) สิ่งแวดล้อม 5) การดําเนินงานอย่างที่เป็นธรรม 6) ผู้ใช้แร่ และ 7) การมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน เหมืองแร่สีเขียว ( Green Mining) หมายถึง การพัฒนาทรัพยากรแร่ขึ้นมาใช้ประโยชน์อย่าง เหมาะสมโดยก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและเป็นกา รพัฒนาทรัพยากรแร่อย่างยั่งยืน โดยให้ ความสําคัญกับทุก ๆ ด้านในการประกอบการเหมืองแร่และกิจกรรมต่อเนื่อง ซึ่งหลักเกณฑ์การประเมิน เหมืองแร่สีเขียว (อ้างอิงจากคู่มือมาตรฐานเหมืองแร่สีเขียว , กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่) มีดังนี้ 1 ) ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคมเป็นที่ตั้ง สัดส่วนคะแนนร้อยละ 20 2 ) การลด ป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม สัดส่วนคะแนนร้อยละ 20 3 ) การดูแลความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของคนงานและชุมชนผู้อาศัยใกล้เคียงสัดส่วน คะแนนร้อยละ 15 4 ) การมีพื้นที่สีเขียวและทัศนียภาพเรีย บร้อยสะอาดตา สัดส่วนคะแนนร้อยละ 25 5 ) มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ สัดส่วนคะแนน ร้อยละ 10 6 ) การใช้ทรัพยากรแร่อย่างคุ้มค่า สัดส่วนคะแนน ร้อยละ 10 หน่วยวัด จํานวน วิธีการวัดและการคํานวณ จํานวนสถานประกอบการอุตสาหกรรมแร่ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ความรับผิดชอบต่อสังคม ( CSR - DPIM) และเหมืองแร่สีเขียว ( Green mining) ไม่น้อยกว่า 20 รายต่อปี ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 9 สถานประกอบการ เหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานได้รับการรับรอง มาตรฐานความรับผิดชอบ ต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแร่ ( CSR - DPIM) และเหมืองแร่สีเขียว ( Green mining) ( จํานวน ) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม จํานวนสถานประกอบการเหมืองแร่และ อุตสาหกรรมพื้นฐานที่ได้รับการรับรอง มาตรฐาน ความรับผิดชอบต่อสังคมของ ผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมแร่ ( CSR - DPIM) และเหมืองแร่สีเขียว ( Green mining) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการ เหมืองแร่ สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูล แหล่งข้อมูล อก ( กพร.)
124 ข้อมูลตัวชี้วัด จํานวนสถานประกอบการ เหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานประกอบการอุตสาหกรรมแร่ ( CSR - DPIM) และเหมืองแร่สีเขียว ( Green mining) ในช่วงปี พ.ศ. 2553 - 2564 โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ แสดงดังตารางที่ ผ - 10 ตารางที่ ผ - 10 จํานวนสถานประกอบการ เหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานประกอบการอุตสาหกรรมแร่ ( CSR - DPIM) และเหมือง แร่สีเขียว ( Green mining) ปี ( พ.ศ. ) สถานประกอบการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานประกอบการ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ (CSR - DPIM) ( จํานวน) สถานประกอบการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน เหมืองแร่สีเขียว ( Green mining) ( จํานวน) เหมือง แร่ โรงโม่ บด ย่อย หิน โรง แต่งแร่ โรงประกอบ โลหกรรม รวม เหมือง แร่ โรงโม่ บด ย่อย หิน โรง แต่งแร่ โรงประกอบ โลหกรรม รวม 2553 4 3 2 2 11 13 1 3 - 17 2554 6 6 2 2 16 10 6 6 3 25 2555 8 5 4 - 17 8 9 2 1 20 2556 6 4 1 - 11 12 11 7 1 31 2557 3 1 2 - 6 10 9 1 - 20 2558 4 4 1 1 10 11 10 2 - 23 2559 4 6 1 - 11 18 11 3 - 32 2560 4 4 1 1 10 11 9 4 - 24 2561 5 3 2 1 11 11 12 3 1 26 2562 4 1 1 - 6 17 20 3 1 41 2563 6 1 - 2 9 11 8 1 - 20 2564 2 4 - 1 7 16 7 4 2 29 ยอดสะสม 56 42 17 10 125 148 133 39 9 309 ที่มา : กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. 2565 ตัวชี้วัดที่ 1.5 กลไกทาง การเงิน และโครงการภายใต้กลไกทางการเงิน ที่สนับสนุนในการอนุรักษ์ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลาย ทางชีวภาพ ( จํานวน ) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อสะท้อนกับการดําเนินงานการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ในด้านเศรษฐกิจ โดยมีความสอดคล้องกับ (ร่าง) กรอบงาน ความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ. 2020 ฉบับที่ 1 ที่มีเป้าประสงค์ ผลลัพธ์ที่คาดหวัง ค่าเป้าหมาย เกี่ยวกับกลไกการเงินและเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ หน่วยวัด จํานวน วิธีการวัดและการคํานวณ จํานวนกลไกทางการเงิน และโครงการภายใต้กลไกทางการเงิน ที่สนับสนุนการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปีฐาน
125 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 11 กลไกทางการเงิน และโครงการภายใต้กลไกทางการเงิน ที่สนับสนุนในการอนุรักษ์ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ( จํานวน ) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม จํานวน กลไกทางการเงิน และโครงการภายใต้ กลไกทางการเงิน ที่สนับสนุนในการอนุรักษ์ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและความ หลากหลายทางชีวภาพ สํานักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สอบถามจากหน่วยงาน แหล่งข้อมูล แหล่งข้อมูล ทส ( สผ./ปม./อส./สป.ทส.) ข้อมูลตัวชี้วัด กลไกทางการเงินที่สนับสนุนการดําเนินการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพทั้งภายในและต่างประเทศ อาทิ - ภายในประเทศ กองทุนสิ่งแวดล้อม เป็นกลไกทางการเงินที่สร้างแรงจูงใจโดยการให้การสนับสนุนงบประมาณ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยให้การ สนับสนุนทั้งในลักษณะเงินอุดหนุนและเงินกู้ ซึ่งมีการกําหนดกรอบทิศทางสนับสนุนเงินอุดหนุนกองทุน สิ่งแวดล้อม ตามมาตรา 23 (4) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 สําหรับอ นุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติ จํานวน 109 โครงการ - ต่างประเทศ 1. กลไกทำงเงินภายใต้ โครงการ การเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ The Biodiversity Finance Initiative เรียกสั้น ๆ ว่า ไบโอฟิน ( BIOFIN) เป็นความร่วมมือระดับโลกของ 30 ประเทศภายใต้การ ดําเนินงานของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นดีพี) ในการนํานวัตกรรมทางการเงินที่เป็นกลไกหลัก ในการดูแลความหลากหลายทางชีวภาพให้ยั่งยืน โดยในประเทศไทยได้มีการนําร่องผ่านการจัดทําแผนการเงิน เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพขึ้นที่เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ ธานี 2. กำรเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( Climate Finance) หมายถึง กลไกการจัดหา แหล่งเงินทุน เพื่อใช้ในกิจกรรมด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัวต่อผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงกลไกการดําเนินการ ได้แก่ การเสริมสร้างศักยภาพ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เพื่อเปลี่ยนประเทศ เข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ํา และมีความสามารถในการรับมือกับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีกองทุนที่ให้การสนับสนุนการเงินเพื่อดําเนินการ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภา พภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ( Global Environment Facility: GEF ) ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ประเทศหรือผู้ ที่ ขอรับการสนับสนุนเพื่อ ดําเนินการแก้ไขปัญหาวิกฤตทางสิ่งแวดล้อมโลกใน 6 สาขา คือ 1) ความหลากหลายทางชีวภาพ 2) ความเสื่อมโทร ม ของดิน 3) การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน 4) น่านน้ําสากล 5) สารเคมีและของเสีย และ 6) การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ โดยปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็น Operational Focal Point ปฏิบัติหน้าที่พิจารณากําหนดนโยบาย แผนการดําเนินงาน และงบประมาณ ตลอดจนประสานและกลั่นกรอง ข้อเสนอโครงการตามหลักเกณฑ์เพื่อขอรับการสนับสนุนจาก GEF โดยโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจาก GEF ของประเทศไทย มีโครงการระดับประเทศ จํานวน 45 โครงการ และโครงการระดับภูมิภาคและระดับโลก จํานวน 99 โครงการ และกองทุนภูมิอากาศสีเขียว ( Green Climat e Fund: GCF) มีกรอบยุทธศาสตร์เพื่อ
126 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 4 ด้าน คือ 1 ) เพิ่มการผลิตและการเข้าถึงพลังงานที่ปล่อยคาร์บอนต่ํา 2 ) เพิ่ม การขนส่งที่มีระบบการปล่อยคาร์บอนต่ํา 3 ) อาคาร เมือง อุตสาหกรรม และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และ 4) การใช้ที่ดิน และการจัดการป่ำไม้แบบยั่งยืน และเพิ่มการดูดกลับคาร์บอนในภาคป่าไม้ และมีกรอบยุทธศาสตร์ เพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 4 ด้าน ได้แก่ 1 ) สุขภาพความเป็นอยู่และความมั่นคง ด้านอาหารและน้ํา 2 ) การดํารงชีวิตของผู้คนและชุมชน 3 ) ระบบสาธารณูปโภคและสิ่งปลู กสร้าง 4) ระบบนิเวศ และการให้บริการของระบบนิเวศ โดย สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยประสานงานหลักกับกองทุน เป็นต้น
127 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลเพื่อการพัฒนาศักยภาพการใช้ ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน ตัวชี้วัดที่ 2.1 พื้นที่ที่ได้รับการผลักดันเป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่งเพิ่มขึ้น ( ร้อยละ ) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อสะท้อนถึงการกําหนดแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลที่มีประสิทธิภาพ ส่ งผลให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในเขตทะเลของประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งเกิดความสําเร็จของการ อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยตัวชี้วัดสอดคล้องกับ การดําเนินการตามเป้าหมายย่อย สถำนที่ ที่มี คุณค่า ( Lasting Special Places : LSP) ในเป้าหมายความผูกพันต่อสถานที่ ( Sense of P lace : SP) ของตัวชี้วัด ดัชนีคุณภาพมหาสมุทร ( Ocean H ealth I ndex : OHI) ที่เป็นตัวชี้วัดในแผนย่อยการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน บนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเลของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น ( 18 ) การเติบโตอย่างยั่งยืน และ สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมของ ประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2568 ( ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562 ) นิยาม พื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง ที่ได้รับการผลักดันเป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเล และชายฝั่ง โดยผ่านการพิจารณาการประกาศพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในขั้นพิจารณาโดยคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ หรือคณะกรรมการฯ ที่รับผิดชอบ หน่วยวัด พื้นที่ วิธีการวัด และการคํานวณ การคํานวณพื้นที่ที่ได้ประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่ง อ้างอิงจากการแผนการจัดตั้งพื้นที่คุ้มครองทางทะเลที่ดําเนินการโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สามารถ แสดงได้ดังนี้ ร้อยละของ พื้นที่ที่ได้ประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่งเพิ่มขึ้น = (พื้ นที่ที่ได้รับ การผลักดันเป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่ง/ พื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ) x 100 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 12 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด พื้นที่ที่ได้รับการผลักดันเป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเล และชายฝั่ง เพิ่มขึ้น ( ร้อยละ ) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม พื้นที่ที่ได้รับการผลักดันเป็นพื้นที่ คุ้มครองทางทะเล และชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และกรมประมง ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานข้อมูล ไปยังหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ข้อจํากัด การประกาศพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งตามพระราชบัญญัติส่งเสริม การบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 ประกอบด้วยหลายขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการ ดําเนินงานคัดเลือกพื้นที่ รวบรวมข้อมูลทางวิชาการ สังคมและเศรษฐกิจ รับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่ว นได้เสีย เสนอ (ร่าง) ต่อ คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ เป็นต้น ทําให้มีระยะเวลาในการดําเนินงานมาก จึง ได้ กําหนดตัวชี้วัด เป็นพื้นที่ที่ได้รับการผลักดันเป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเล และชายฝั่ง โดยผ่าน การ พิจารณา การประกาศพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในขั้นพิจารณาโดย คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ
128 หรือคณะกรรมการ ฯ ที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ พื้นที่ที่ได้รับการผลักดันเป็นพื้นที่คุ้มครอง ทางทะเลและชายฝั่ง ไม่รวม พื้นที่คุ้มครองทางบก เนื่องจากมุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง แหล่งข้อมูล ทส . (ทช./อส./สผ.) กษ . (กปม.) ข้อมูลตัวชี้วัด พื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่ง ( Marine and Coastal Protected Areas) คือ พื้นที่ชายฝั่ง และในทะเลที่เป็นแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพ หรือมีลักษณะสําคัญทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งได้รับการคุ้มครองคุณค่าของพื้นที่นั้นไว้ด้วยกฎหมายหรือสิ่งอื่นที่สามา รถรับรองได้ว่ามีขีดความสามารถ เพียงพอในการคุ้มครองพื้นที่ได้ ซึ่งในปัจจุบันสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ ( International Union for Conservation of Nature and Natural Resources : IUCN) ได้กําหนดประเภท ของพื้ นที่ คุ้ มครองเป็น 6 ประเภทดั งนี้ ( 1 ) Strict Protection ( คุ้ มครองแบบเข้มข้น) ( 2 ) Ecosystem conservation and protection ( อนุรักษ์และคุ้ มครองระบบนิเวศ) หมายถึง อุทยานแห่งชาติ ( National Park) ( 3 ) Conservation of natural features ( อนุรักษ์สถานที่ธรรมชาติ) หมายถึง อนุสรณ์สถานทางธรรมชาติ ( Natural monument) ( 4 ) Conservation through active management ( การอนุรักษ์โดยการจัดการเชิงรุก) หมายถึง พื้นที่เพื่อการจัดการที่อยู่อาศัย/ชนิดพันธุ์ ( Habitat/species management area) ( 5 ) Landscape/ seascape conservation and re creation ( การอนุรักษ์ภูมิทัศน์ทางทะเลและทางบก) หมายถึง พื้นที่คุ้มครอง ภูมิทัศน์ทะเลและภูมิทัศน์บก ( Protected landscape/seascape) และ ( 6 ) Sustainable use of natural resources การใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน หมายถึง พื้นที่คุ้มครองเพื่อการจัดการทรัพยากร ( Managed resource protected area) โดยพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่ง เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่สำมารถ กําหนดพื้นที่นําร่องภายใต้เงื่อนไข (1 ) พื้นที่ที่ มีทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์อันสมควร สงวนไว้ให้คงอยู่ ในสภาพทางธรรมชาติเดิม ( 2 ) พื้นที่ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์และพืชตามสภาพทางธรรมชาติ ที่สมบูรณ์ (3 ) พื้นที่ที่มีความสําคัญด้านระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งอันควรแก่การอนุรักษ์ และ ( 4 ) พื้นที่ที่ กําหนดให้เป็นพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งตามวรรคหนึ่งต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ในเขตอนุรักษ์ หรือเขตที่ได้รับอนุญาตให้ทําการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา ตามกฎหมายว่าด้วยการประมง และสําหรับมาตรา 22 ใช้ในกรณี ที่ปรากฏว่าทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอาจ ถูกทําลายหรือได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเข้าขั้นวิกฤต หรือเป็นกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่ามีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสงวน คุ้มครอง หรืออนุรักษ์ไว้เพื่อประโยชน์ หรือสร้างความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง สําหรับพื้นที่คุ้มครองทางทะเลในประเทศไทย สามารถ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ใหญ่ ดังนี้ (1 ) ประเภท ที่ 1 - 6 เป็นพื้นที่คุ้มครองโดยใช้กฎหมายภายในประเทศโดยยึดตามแนวทางที่ IUCN กําหนด ได้แก่ ที่รักษาพืชพันธุ์ สัตว์น้ํา พื้นที่กําหนดมาตรการในการทําประมง พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม พื้นที่คุ้มครองโบราณคดีใต้ทะเล พื้นที่ชุ่มน้ํา ที่มีความสําคัญระหว่างประเทศ และพื้นที่สงวนชีวมณฑล (2 ) ประเภทที่ 7 - 9 เป็นพื้นที่คุ้มครองที่จัดตั้งขึ้นตาม กรอบความร่วมมือนานาชาติ ได้แก่ พื้นที่มรดกแห่งอาเซียน อุทยานแห่งชาติทางทะเล และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า และ (3 ) ประเภทที่ 10 - 12 เป็นพื้นที่คุ้มครองแหล่งทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้แก่ พื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่แนวปะการัง และพื้นที่แหล่งหญ้าทะเล สําหรับพื้นที่คุ้มครองทางทะเลในประเทศไทยแสดงดังตารางที่ ผ – 13
129 ตารางที่ ผ - 13 พื้นที่คุ้มครองทางทะเลในประเทศไทย รูปแบบ จํานวน ( แห่ง) กฎหมายหลัก พื้นที่รวม ( ตร.กม.) พื้นที่บก ( ตร.กม.) พื้นที่ทะเล ( ตร.กม.) ประเภท ( IUCN) 1 . ที่รักษาพืชพันธุ์ 223 พ . ร . ก. การ ประมง พ.ศ. 2558 และ พ.ร.ก. การประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 - 191 แห่ง 30 แห่ง Ia 2 . พื้นที่กําหนดมาตรการ ในการทําประมง 25 พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. 2558 และพ.ร.ก. การประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 50 , 814 . 94 - 50 , 814 . 94 IV 3 . พื้นที่คุ้มครอง สิ่งแวดล้อม 6 พ . ร . บ. ส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 9 , 499 . 27 4 , 981 . 48 4 , 517 . 79 VI 4 . พื้นที่คุ้มครอง โบราณคดี ใต้น้ํา 44 พ . ร . บ. โบราณสถาน โบราณ วัตถุฯ พ.ศ. 2504 44 แห่ง 2 แห่ง 42 แห่ง V 5 . พื้นที่ชุ่มน้ําที่มี ความสําคัญระหว่าง ประเทศ 9 Ramsar Convention 1 , 213 . 88 1 , 196 . 27 17 . 61 - 6 . พื้นที่สงวนชีวมณฑล 1 Man and Biosphere Programme (MAB) 304 . 13 175 . 77 128 . 36 - 7 . พื้นที่มรดกแห่ง อาเซียน 2 ASEAN Declaration on Heritage Parks 2003 2 , 154 . 75 424 . 49 1 , 730 . 26 - 8 . อุทยานแห่งชาติทาง ทะเล 22 พ . ร . บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 6 , 927 . 75 2 , 137 . 07 4 , 790 . 68 II 9 . เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 9 พ . ร . บ.สงวนและคุ้มครอง สัตว์ป่า พ.ศ. 2535 777 . 47 705 . 73 71 . 74 IV 10 . พื้นที่ป่าชายเลน 24 จังหวัด พ . ร . บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 พ . ร . บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 2 , 440 . 10 2 , 440 . 10 - - 11 . แหล่งปะการัง 16 จังหวัด พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558 และ พ.ร.ก. การประมง (ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2560 พ . ร . บ.สงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า 2535 205 . 21 - 205 . 21 - 12 . แหล่งหญ้าทะเล 17 จังหวัด - 189 . 87 - 189 . 87 - ที่มา: คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. https://km.dmcr.go.th/c_61/s_21/d_7907. พื้นที่ที่ได้รับการผลักดันเป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลตามแผนการจัดตั้งพื้นที่คุ้มครองทางทะเล ระหว่างปี พ.ศ. 2559 - 2568 ที่ดําเนินการโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีจํานวนทั้งสิ้น 33 พื้นที่ โดยมี 2 พื้นที่ที่ได้รับกา รประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเล ได้แก่ หมู่เกาะกระ จังหวัดนครศรีธรรมราช และ เกาะโลซิน จังหวัดปัตตานี สามารถแสดงได้ดังตารางที่ ผ – 14
130 ตารางที่ ผ - 14 พื้นที่ที่ได้รับการผลักดันเป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลตามแผนการจัดตั้งพื้นที่คุ้มครองทางทะเล ระหว่างปี พ.ศ. 2559 - 2568 ลําดับ ที่ ชื่อพื้นที่ จังหวัด พื้นที่ ( ตารางกิโลเมตร) หมายเหตุ 1 หมู่เกาะกระ นครศรีธรรมราช 229 . 12449 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนที่ 37 ก วันที่ 28 พฤษภาคม 2564 2 พื้นที่ชายฝั่ง จ.ตรัง ตรัง 1 , 450 . 23938 3 หมู่เกาะไข่ พังงา 29 . 264369 4 หมู่เกาะมัน ระยอง 76 . 741472 5 เกาะราชา ภูเก็ต 375 . 359417 6 อ่าวตราด ตราด 266 . 459524 7 หมู่เกาะทะลุ สิงห์ สังข์ ประจวบคีรีขันธ์ 63 . 858383 อส. ดูแล 8 Shelf break front ภูเก็ต 6 , 750 . 387331 9 เกาะสะเก็ด ระยอง 3 . 342111 10 เกาะหมาก ตราด 183 . 2354 11 เกาะไข่ ชุมพร 7 . 557192 12 เกาะโลซิน ปัตตานี 146 . 910421 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ ประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองทาง ทะเลแห่งที่ 2 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 ซึ่งอยู่ระหว่าง การประกาศบังคับใช้ต่อไป 13 อ่าวขนอม นครศรีธรรมราช 323 . 03093 14 เกาะเหลื่อม ประจวบคีรีขันธ์ 2 . 812643 15 กลุ่มเกาะศรีบอยา กระบี่ 450 . 689946 16 เกาะหนูเกาะแมว สงขลา 61 . 103312 17 กลุ่มเกาะเปริด จันทบุรี 27 . 450882 18 กลุ่มเกาะประจวบฯ ต อนบน ประจวบคีรีขันธ์ 2 . 018144 19 หมู่เกาะพยาม ระนอง 149 . 57732 20 หมู่เกาะสาหร่าย สตูล 121 . 503394 21 กลุ่มเกาะกูด ตราด 402 . 842531 22 กลุ่มเกาะล้าน ชลบุรี 312 . 049718 23 เกาะทะลุ สมุย สุราษฎร์ธานี 55 . 812013 24 กลุ่มเกาะกง พะงัน สุราษฎร์ธานี 99 . 00895 25 กลุ่มเกาะพิทักษ์ ชุมพร 28 . 036082 26 กลุ่มเกาะสมุย ตอนเหนือ สุราษฎร์ธานี 95 . 430519 27 กลุ่มเกาะภูเก็ต ภูเก็ต 664 . 697099 28 กลุ่มเกาะประจวบฯ ตอนล่าง ประจวบคีรีขันธ์ 75 . 597937 29 กลุ่มเกาะอ่างทอง สุราษฎร์ธานี 250 . 337087 30 กลุ่มเกาะยาวน้อย - ยาวใหญ่ พังงา 773 . 670643
131 ลําดับ ที่ ชื่อพื้นที่ จังหวัด พื้นที่ ( ตารางกิโลเมตร) หมายเหตุ 31 กลุ่มเกาะลันตา กระบี่ 204 . 904871 32 กลุ่มเกาะร้านไก่ ร้านเป็ด ชุมพร 166 . 083312 33 กลุ่มเกาะโทน กระบี่ 141 . 053207 รวมพื้นที่คุ้มครองระหว่างปี พ.ศ. 2559 - 2568 13 , 990.189907 หักซ้อนทับกับพื้นที่ปัจจุบัน (อท. , เขตห้ามล่า , สผ ., สงวนชีวมณฑล , เขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์) 3 , 359 . 5238626 เหลือ 10 , 630 . 6660444 ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง . 2565 . การประกาศพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม แห่งชาติ พ.ศ. 2535 ใน ส่วนที่ 3 เขตอนุรักษ์และพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม มาตรา 44 ในการออกกฎหมาย กระทรวงตามมาตร 43 ให้กําหนดมาตรการคุ้มครองอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ไว้ในกฎกระทรวง ด้วย ใน (5) กําหนดมาตรการคุ้มครองอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควร และเหมาะสมแก่สภาพของพื้นที่นั้น สํานักงาน นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดําเนิน งานและรายงานพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นเขต พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตาม พระราชบัญญติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ดังตารางที่ ผ - 1 5 และรายงานพื้นที่ที่อยู่ระหว่างการดําเนินการประกาศให้เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ดังตารางที่ ผ – 1 6 ตารางที่ ผ - 1 5 พื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตาม พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ลําดับที่ ขอบเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม จังหวัด ขนาดเนื้อที่โดยประมาณ ( ตร.กม.) ทางบก ทางทะเล รวม 1 พื้นที่แนวชายฝั่งทะเล กระบี่ 1,775 1,902 3,677 2 พื้นที่แนวชายฝั่งทะเล เพชรบุรี - ประจวบคีรีขันธ์ 499 374 873 3 พื้นที่แนวชายฝั่งทะเล พังงา 1,776 1,538 3,314 4 พื้นที่เกาะภูเก็ต และทะเลโดยรอบ ภูเก็ต 543 2,257 2,800 5 พื้นที่เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า และทะเลโดยรอบ สุราษฎร์ธานี 420 3,097 3,517 6 พื้นที่อําเภอบางละมุง และอําเภอสัตหีบ และทะเล ชลบุรี 163 232 395 พื้นที่ทางทะเลรวม 9,400 ที่มา: กองสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่เฉพาะ สผ. ( ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2565 ) . หมายเหตุ – พื้นที่รวมเกาะ และพื้นที่บางพื้นที่ทับซ้อนกับพื้นที่ที่ ทช. อยู่ระหว่างดําเนินการตาม พ.ร.บ. ทช.
132 ตารางที่ ผ - 1 6 พื้นที่ที่อยู่ระหว่างการดําเนินการประกาศให้เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ลําดับที่ ( ร่าง) ขอบเขตพื้นที่คุ้มครอง สิ่งแวดล้อม จังหวัด ขนาดเนื้อที่โดยประมาณ ( ตร.กม.) ทางบก ทางทะเล รวม 1 พื้นที่ดอนหอยหลอด สมุทรสงคราม 95 231 326 2 พื้นที่ปากแม่น้ําบางปะกง ฉะเชิงเทรา และชลบุรี 125 56 181 3 พื้นที่แนวชายฝั่งทะเล อําเภอปะทิว ชุมพร 377 378 755 พื้นที่ทางทะเลรวม 665 ที่มา: กองสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่เฉพาะ สผ. ( ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2565 ) . หมายเหตุ – พื้นที่รวมเกาะ และพื้นที่บางพื้นที่ทับซ้อนกับพื้นที่ที่ ทช. อยู่ระหว่างดําเนินการตาม พ.ร.บ. ทช. ตัวชี้วัดที่ 2.2 เขตพื้นที่สมดุลได้รับการประกาศเพิ่มขึ้น ( พื้นที่ ) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อสะท้อนการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมบริเวณชายฝั่งทะเลให้มีความสมบูรณ์และยั่งยืน นิยาม เขตพื้นที่ชายหาดสมดุลหรือพื้นที่ชายฝั่งที่ไม่มีการกัดเซาะและควรรักษาไว้เช่นเดียว กับ การประกาศพื้นที่อุทยานได้รับการประกาศเพิ่มขึ้น หน่วยวัด พื้นที่ วิธีการวัดและการคํานวณ การคํานวณเขตพื้นที่ชายหาดสมดุลได้รับการประกาศเพิ่มขึ้น อ้างอิง จากการดําเนินงานในการประกาศระบบหาดของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สามารถแสดงได้ดังนี้ จํานวนระบบหาดหรือพื้ นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นเขตพื้นที่สมดุลเพิ่มขึ้น ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด เขตพื้นที่สมดุลได้รับการประกาศเพิ่มขึ้น (พื้นที่) แสดงดังตารางที่ ผ – 1 7 ตารางที่ ผ - 1 7 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด เขตพื้นที่สมดุลได้รับการประกาศเพิ่มขึ้น (พื้นที่) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม เขตพื้นที่สมดุลหรือระบบหาดที่ ได้รับการประกาศเพิ่มขึ้น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูล ข้อมูลตัวชี้วัด เขตพื้นที่ชายหาดสมดุลหรือพื้นที่ที่ไม่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นพื้นที่ดําเนินการ ออกกฎกระทรวงตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 ในรูปแบบของระบบหาด เนื่องจากการจัดแบ่งระบบกลุ่มหาดถูกจัดแบ่งด้วยวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อให้การบริหารจัดการหรือการศึกษาการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งคํานึงถึงการเคลื่อนที่ของตะกอน บริ เวณชายฝั่งเป็นหลักสําคัญและพิจารณาร่วมกับข้อมูลพื้นฐานอื่น ๆ (ลักษณะทางธรณีสัณฐานชายฝั่ง ประเภทตะกอนบริเวณชายฝั่งและนอกชายฝั่ง) และเพื่อให้ใช้เป็นฐานข้อมูลในการบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง ที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งการดําเนินงานการประกาศเขตพื้นที่สมดุลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 - 2565 สามารถแสดงได้ ดังตารางที่ ผ – 1 8
133 ตารางที่ ผ - 1 8 ข้อมูลการดําเนินงานการประกาศเขตพื้นที่สมดุลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 - 2565 ปี พ.ศ. ลําดับ ชื่อระบบหาด รหัสระบบหาด จังหวัด 2561 1 บ้านบ่อเมา T 5 F 110 ชุมพร 2562 2 ท้ายเหมือง T 7 E 201 พังงา 2563 3 ยินยอม 1 T 2 B 052 ชลบุรี 4 หาดบ้านกรูด T 5 D 091 ประจวบคีรีขันธ์ 5 บ่อทองหลาง T 5 D 092 ประจวบคีรีขันธ์ 6 บางเบิด - ถ้ําธง T 5 E 096 ชุมพร 7 ทุ่งทราย T 5 E 097 ชุมพร 8 หาดทุ่งยาง T 5 E 098 ชุมพร 9 หาดทุ่งเมือง T 5 E 099 ชุมพร 10 บ้านเกาะเตียบ T 5 F 100 ชุมพร 11 หาดแฆแฆ T 6 C 156 ปัตตานี 12 บ้านนอกนา - บ้านบางเนียง T 7 D 189 พังงา 13 บ้านปากจก T 7 D 186 พังงา 14 เกาะพ่อตา T 7 D 187 พังงา 15 เกาะพระทอง T 7 D 188 พังงา 16 มดตะนอย - หาดสําราญ T 8 E 307 ตรัง 2564 17 หาดห้วงน้ําข้าว T 1 C 008 ตราด 18 หาดแหลมสิงห์ T 1 F 019 จันทบุรี 19 อ่าววัดบางเบิด T 5 E 095 ประจวบคีรีขันธ์ 20 แหลมกุ่ม T 5 D 089 ประจวบคีรีขันธ์ 21 หาดอ่าวทุ่งมหา T 5 F 101 ชุมพร 22 หาดใต้แหลมหินเรือใบ T 7 D 199 พังงา 23 บ้านปากวีป T 7 D 193 พังงา 24 ปากคลอง - หาดเจ้าอูฐ T 8 D 269 กระบี่ 2565 25 อ่าวตราด T 1 C 007 ตราด 26 คุ้งกระเบน T 1 H 023 จันทบุรี 27 ในหาน T 7 E 224 ภูเก็ต 28 หาดแหลมสิงห์ (ภูเก็ต) T 7 E 210 ภูเก็ต 29 หาดควนกลาง T 7 E 208 ภูเก็ต 30 คลองโขง T 8 D 276 กระบี่ 31 หาดทุ่งซาง T 5 F 102 ชุมพร 32 หาดใต้เขาทุ่งซาง T 5 F 103 ชุมพร 33 หาดอ่าวคลองบางจาก T 5 F 104 ชุมพร ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่ง. 2565 .
134 ข้อจํากัด การดําเนินการในการประกาศเขตพื้นที่สมดุลประกอบด้วยหลายขั้นตอน เช่นเดียวกับ การประกาศพื้นที่ คุ้มครอง แหล่งข้อมูล ทส (ทช.) ตัวชี้วัดที่ 2. 3 พื้นที่ปะการังสมบูรณ์คงสถานภาพ ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 30 (ร้อยละ) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อสะท้อนความสมบูรณ์ของแหล่งที่อยู่อาศัยและการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทาง ทะเล โดยตัวชี้วัดมีความสอดคล้องกับแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 - 2565 และการ ดําเนินการตามเป้าหมายย่อย แหล่งที่อยู่อาศัย ( Habitats : HAB) ในเป้าหมายแหล่งความหลากหลายทาง ชีวภาพ ( Biodiversity : BD) ของตัวชี้วัด ดัชนีคุณภาพมหาสมุทร ( Ocean health index : OHI) ที่ เป็นตัวชี้วัด ในแผนย่อยการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเลของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ ( 18 ) การเติบโตอย่างยั่งยืน และแผนปฏิบัติการด้านการจัดการปะการังของประเทศไทยระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565 - 2569) นิยาม ร้อยละของพื้นที่ที่ปะการัง คงสถานภาพ สมบูรณ์ดีและสมบูรณ์ดีมาก ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่แนวปะการังทั้งประเทศ หน่วยวัด ร้อยละ วิธีการวัดและการคํานวณ การคํานวณร้อยละของพื้นที่ ที่ ปะการัง คงสถานภาพ สมบูรณ์ดีถึงดีมาก สามารถแสดงได้ดังนี้ ร้อยละของพื้นที่ ที่ ปะการัง คงสถานภาพ สมบูรณ์ = (พื้นที่แนวปะการังที่มีสถานภาพสมบูรณ์ดี ถึงดีมาก / พื้นที่แนวปะการังทั้งหมด) x 100 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 1 9 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด พื้นที่ ที่ ปะการัง คงสถานภาพ สมบูรณ์ ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 30 (ร้อยละ) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม พื้นที่แนวปะการังที่มี สถานภาพสมบูรณ์ดีถึงดีมาก กรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง หน่วยงานติดตามข้อมูลหรือจากรายงานสถานการณ์ด้าน ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการกัดเซาะชายฝั่งของ ประเทศไทยที่มีการรายงานเป็นประจําทุกปี พื้นที่แนวปะการังทั้งหมด ข้อจํากัด การประเมินระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งจะพิจารณาเพียงระบบนิเวศปะการัง และป่าชายเลน ไม่รวมหญ้าทะเล เนื่องจากมีความผันผวนสูง แหล่งข้อมูล ทส . ( ทช.) ข้อมูลตัวชี้วัด สถานการณ์ปะการังในประเทศไทยพบว่า ปี พ.ศ. 2561 - 2563 มีพื้นที่แนวปะการังใน 17 จังหวัด รวมทั้งหมด 149 , 025 ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.05 จากปี พ.ศ. 2558 ที่มีอยู่รวม 148 , 954 ไร่ โดยมี สถานภาพตั้งแต่เสียหายมากถึงสมบูรณ์ดีมาก ซึ่งแนวปะการังที่มีสถานภาพเสียหาย มักเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ได้แก่ กิจกรรมด้านการท่องเที่ยว การขุดลอกร่องน้ําเพื่อการเดินเรือ การสร้างท่าเรือการเดินเรือสัญจรและจอดเรือ การทําประมงในแนวและใกล้แนวปะการัง (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง , 2563) ซึ่ง สถานภาพของปะการังใน ภาพรวมของทั้งประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 - 2563 สามารถแสดงดังตารางที่ ผ – 20
135 ตารางที่ ผ - 20 พื้นที่แนวปะการังในสถานภาพต่าง ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 - 2563 สถานภาพของปะการัง พื้นที่แนวปะการัง (ไร่) 2561 2562 2563 สมบูรณ์ดีมาก 20 , 949 . 11 22 , 805 . 56 27 , 625 . 94 สมบูรณ์ดี 25 , 820 . 64 37 , 140 . 43 21 , 429 . 54 สมบูรณ์ปานกลาง 47 , 057 . 76 51 , 735 . 94 55 , 462 . 42 เสียหาย 13 , 547 . 94 19 , 742 . 74 22 , 111 . 59 เสียหายมาก 41 , 649 . 06 17 , 600 . 33 22 , 395 . 51 รวม 149 , 024 . 51 149 , 025 149 , 025 ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง . 2564 . โดยสามารถประมวลผลในรูปของ ร้อยละของพื้นที่ ที่ ปะการัง คงสถานภาพ สมบูรณ์ ดีถึงดีมาก แสดง ดัง ตารางที่ ผ – 2 1 ตารางที่ ผ - 2 1 ร้อยละของพื้นที่ ที่ ปะการัง คงสถานภาพ สมบูรณ์ดีถึงดีมาก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 - 2563 ข้อมูล ปี พ.ศ. 2561 2562 2563 พื้นที่แนวปะการังทั้งหมด (ไร่) 149 , 024.51 149 , 025 149 , 025 พื้นที่แนวปะการังที่มีสถานภาพสมบูรณ์ดีถึงดีมาก (ไร่) 46 , 769 . 75 59 , 945 . 99 49 , 055 . 48 ร้อยละของพื้นที่ปะการัง คงสถานภาพ สมบูรณ์ดีถึงดีมาก 31 . 38 40 . 20 32 . 90 ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง . 2564 . ตัวชี้วัดที่ 2. 4 พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้น (ไร่) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อสะท้อนความสมบูรณ์ของแหล่งที่อยู่อาศัยและการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร ทางทะเล โดยตัวชี้วัดมีความสอดคล้องกับแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 - 2565 และการ ดําเนินการตามเป้าหมายย่อย แหล่งที่อยู่อาศัย ( Habitats : HAB) ในเป้าหมายแหล่งความหลากหลายทาง ชีวภาพ ( Biodiversity : BD) ของตัวชี้วัด ดัชนีคุณภาพมหาสมุทร ( Ocean H ealth I ndex : OHI) ที่เป็นตัวชี้วัด ในแผนย่อยการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเลของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น ( 18 ) การเติบโตอย่างยั่งยืน นิยาม พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้น หน่วยวัด ไร่ วิธีการวัดและการคํานวณ การคํานวณพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้นดูจากข้อมูลพื้นที่ป่าชายเลน ที่มีการรายงานในแต่ละปี ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้น (ไร่) แสดงดังตาราง ที่ ผ – 22 ตารางที่ ผ - 22 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้น (ไร่) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม พื้นที่ป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูลหรือจากรายงาน สถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการกัดเซาะ ชายฝั่งของประเทศไทยที่มีการรายงานเป็นประจําทุกปี
136 ข้อจํากัด การประเมินระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งจะพิจารณาเพียงระบบนิเวศปะการัง และป่าชายเลน ไม่รวมหญ้าทะเล เนื่องจากมีความผันผวนสูง อีกทั้ง การติดตามข้อมูลพื้นที่ป่าชายเลน ไม่สามารถดําเนินการได้เป็นประจําทุกปี แหล่งข้อมูล ทส . ( ทช.) ข้อมูลตัวชี้วัด ป่าชายเลน มีความสําคัญในการเป็นแหล่งอาหารสําคัญของสัตว์น้ํา รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยและ ที่อนุบาลสัตว์น้ําในระยะตัวอ่อนกุ้งและปลา ข้อมูลการจําแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลน ใน 24 จังหวัดชายฝั่งทะเล ปี พ.ศ. 2563 ที่ได้ดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันระหว่างกรมทรัพ ยากรทางทะเลและ ชายฝั่งกับ สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) โดยจําแนกรูปแบบการใช้ ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 13 ประเภท โดยพบว่า ที่ดินป่าชายเลนมีเนื้อที่รวม 3 , 041 , 708 ไร่ จําแนกเป็นพื้นที่ ป่าชายเลนคงสภาพ เนื้อที่ 1 , 737 , 020 ไร่ ป่าชายหาด ป่าพรุ ป่าบนที่เนิน และระบบนิเวศไม้พื้นล่าง เนื้อที่ 217,930 ไร่ พื้นที่เลนงอก/หาดเลน หาดทราย เนื้อที่ 84,737 ไร่ แม่น้ํา คูแพรก ขุมเหมืองและทะเล เนื้อที่ 179,025 ไร่ ส่วนที่เหลือได้เปลี่ยนสภาพเป็นการใช้ประโยชน์รูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ พื้นที่เพาะเลี้ย งสัตว์น้ํา พื้นที่นาเกลือ เกษตรกรรม เมือง/สิ่งก่อสร้าง และท่าเทียบเรือ รวมเนื้อที่ 822,997 ไร่ ซึ่งผลของการติดตามการ เปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนเปรียบเทียบปี พ.ศ. 2557 และ พ.ศ. 2563 พบว่า พื้นที่ป่าชายเลน เพิ่มขึ้นประมาณ 202,436 ไร่ หรือคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยรายปี เท่ากับ 28,919 ไร่ ป่าพรุ มีพื้นที่ เพิ่มขึ้นประมาณ 16,217 ไร่ ป่าชายหาด มีพื้นที่เพิ่มขึ้น 23,461 ไร่ ส ํา หรับเลนงอก/หาดเลน มีพื้นที่เพิ่มขึ้น ประมาณ 36,258 ไร่ พื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพท ํา ประโยชน์เป็น พื้นที่เพาะเ ลี้ยงสัตว์น้ํา นาเกลือ เกษตรกรรม เมือง/สิ่งก่อสร้าง และท่าเทียบเรือพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ลดลง ประมาณ 215,467 ไร่ สําหรับรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2557 ได้แก่ พื้นที่เมือง/สิ่งก่อสร้าง และท่าเทียบเรือ โดยข้อมูลพื้นที่ป่าชายเลน สามารถแสดงได้ดังตารางที่ ผ - 23 ตารางที่ ผ - 23 ข้อมูลพื้นที่ป่าชายเลน ปี พ.ศ. 2560 - 2561 และปี พ.ศ. 2563 ข้อมูล ปี พ.ศ. 2560 - 2561 2562 2563 2564 พื้นที่ป่าชายเลน 1 , 538 , 185 . 33 N/A 1 , 737 , 019 . 74 N/A ที่มา: รายงานสถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทย พ.ศ. 2561 2563 และ 2564 . กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง . ตัวชี้วัดที่ 2. 5 ขยะทะเลได้รับการบริหารจัดการไม่น้อยกว่า 250 ตันต่อปี (ตันต่อปี) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อสะท้อนการบริหารจัดการขยะทะเล โดยขยะทะเลเป็นปัญหาสําคัญในระดับนานาชาติ ระดับอาเซียนและระดับประเทศ โดยในแต่ละปีขยะพลาสติกกว่า 8 ล้านตัน ถูกทิ้งลงสู่ทะเลและมหาสมุทร ซึ่งมากกว่าร้อยละ 50 เป็นขยะที่มาจากประเทศในเอเชีย ได้แก่ ประเทศจีน และกลุ่มประเทศอาเซียน อย่าง เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย มาเลเซีย และ พม่า จึงควรมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อ ลดปริมาณขยะทะเล โดยตัวชี้วัดมีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์ และ ใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพ ยากรทางทะเล อย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในเป้า หมายย่อย ที่ 14 . 1 ภายในปี พ.ศ. 2568 ป้องกันและลดมลพิษทางทะเลทุกชนิดอย่างมีนัยสําคัญ โดยเฉพาะจากกิจกรรม
137 บนบก รวมทั้งขยะทะเลและมลพิษทางสารอาหารและสอดคล้องกับตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่งระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 - 2565) นิยาม ขยะทะเลได้รับการบริหารจัดการดีขึ้น โดยปริมาณขยะทะเลได้รับการบริหารจัดการ ไม่น้อยกว่า 250 ตันต่อปี หน่วยวัด ตันต่อปี วิธีการวัดและการคํานวณ การวัดปริมาณขยะทะเลจะวัดจากน้ําหนักของขยะทะเลที่รวบรวมได้ นวัตกรรมทุ่นกักขยะ ( Boom) ทุ่นกักขยะลอยน้ํา ( SCG - DMCR Litter t rap) รวมถึงใช้เรือเก็บขยะ ( Garbage b oat) รวมถึงจากการจัดกิจกรรม เก็บขยะชายหาดสากล ( International Coastal Cleanup : ICC) ที่จัดขึ้นเป็นประจํา การคํานวณขยะทะเลได้รับการบริหารจัดการ อ้างอิงจากการดําเนินการของกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง สามารถแสดงได้ดังนี้ น้ําหนักของขยะทะเลที่รวบรวมได้ทั้งหมดใน 1 ปีจากเครื่องมือและกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีการ รายงานผ่านแบบบันทึกข้อมูลไอซีซี ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 24 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ขยะทะเลได้รับการบริหารจัดการไม่น้อยกว่า 250 ตันต่อปี (ตันต่อปี) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม น้ําหนักของขยะทะเลที่รวบรวมได้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูล ข้อจํากัด การประเมินการบริหารจัดการขยะทะเล จะประเมินในส่วนของขยะทะเลที่มีการ รวบรวมจากเครื่องมือและกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีการรายงานผ่านแบบบันทึกข้อมูลไอซีซี ทั้งนี้ ขยะทะเลทั้งหมดที่ รวบรวมได้จากกิจกรรมต่าง ๆ จะถือว่าได้รับการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม แหล่งข้อมูล ทส (ทช.) ข้อมูลตัวชี้วัด ในปี พ.ศ. 2563 กรมควบคุมมลพิษ คาดการณ์ว่าในพื้นที่ 23 จังหวัดชายฝั่งทะเลมีปริมาณ ขยะมูลฝอยเกิดขึ้น 11 ล้านตัน มีขยะที่กําจัดไม่ถูกต้อง 2 . 86 ล้านตัน เป็นขยะพลาสติก 0 . 34 ล้านตันและ คิดเป็นขยะทะเลปริมาณ 34 , 318 - 51 , 477 ตัน ซึ่งปริมาณขยะทะเลในปี พ.ศ. 2563 สูงกว่าในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งมีปริมาณ 27 , 334 - 41 , 000 ตัน ในปี พ.ศ. 2564 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีการรายงานสถานการณ์ ปริมาณขยะทะเลที่จัดเก็บได้จากกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งกิจกรรมการจัดเก็บขยะตกค้าง ในระบบนิเวศที่สําคัญแบบมีส่วนร่วม มีปริ มำณขยะทะเลที่จัดเก็บได้ สูงสุดกว่ากิจกรรมอื่ น ๆ โดยมีน้ําหนัก อยู่ 162,069 กิโลกรัม แสดง ตามตารางที่ ผ – 25
138 ตารางที่ ผ - 2 5 ปริมาณขยะทะเลที่จัดเก็บได้จากกิจกรรมต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2564 กิจกรรม ปริมาณขยะทะเลที่จัดเก็บได้ ( กิโลกรัม) จัดเก็บขยะตกค้างในระบบนิเวศที่สําคัญแบบมีส่วนร่วม 162 , 069 จัดทํามาตรการลดปริมาณขยะในพื้นที่เป้าหมายตามหลักวิชาการ 7 มาตรการ ใน 10 พื้นที่ 43 , 087 จัดเก็บขยะร่วมกับหน่วยงาน ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ สถาบันการศึกษา 88 , 621 จัดเก็บขยะโดยใช้ทุ่นกักขยะ ( Boom) 83 , 162 จัดเก็บขยะโดยใช้ทุ่นกักขยะลอยน้ํา ( SCG - DMCR litter trap) 19 , 380 จัดเก็บขยะโดยใช้เรือเก็บขยะ ( Garbage Boat) 30 , 303 เก็บขยะชายหาดสากล (International Coastal Cleanup Day) 17 , 365 รวมปริมาณขยะที่จัดเก็บได้ 443 , 987 ที่มา: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. สถานการณ์ขยะทะเลปี พ.ศ. 2564 . https://km.dmcr.go.th/c_ 260 / d_ 19461 ค้นวันที่ 1 พฤษภาคม 2565 .
139 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการเพื่อสร้างสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ ตัวชี้วัดที่ 3.1 ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมลดลงอย่างน้อยร้อยละ 21 จากกรณีปกติ (ร้อยละ) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อสะท้อนการลดก๊าซเรือนกระจกในทุกภาคส่วน โดยตัวชี้วัดสอดคล้องกับแผนแม่บท ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (18) การเติบโตอย่างยั่งยืน ในแผนแม่บทย่อยการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบน สังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) นิยาม ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวม ใน 5 สาขาตามกรอบการดําเนินงานของ ข้อเสนอการมีส่วนร่วมที่ประเทศกําหนด ( Nationally Determined Contribution : NDC) ที่จะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ได้แก่ สาขา พลังงาน สาขาคมนาคมและขนส่ง สาขากระบวนการอุตสาหกรรม และการใช้ผลิตภัณฑ์ รวมถึงน้ําเสียอุตสาหกรรม สาขาการจัดการของเสีย ชุมชน และสาขาเกษตร มีค่าลดลง เมื่อเทียบกับกรณีปกติหรือกรณีที่ไม่มีการดําเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกใด ๆ หน่วยวัด ร้อยละ วิธีการวัดและการคํานวณ การคํานวณร้อยละก๊าซเรือนกระจกที่ ลดลง อ้างอิงจากการดําเนินการ ของกองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถแสดงได้ดังนี้ ร้อยละก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง = (ปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวม / ตัวเลขคาดการณ์ปริมาณก๊าซเรือนกระจกเทียบเท่าในกรณีปกติที่จะเพิ่มขึ้นในปีที่กําหนด) × 100 ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมในทุกสาขาที่ลดลงจากกรณีปกติ = ปริมาณ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้ งหมดที่ลดลงในสาขาพลังงาน + ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ลดลง ในสาขาคมนาคมและขนส่ง + ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ลดลงในสาขากระบวนการ อุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ รวมถึงน้ําเสียอุตสาหกรรม + ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด ที่ลดลงในสาขาการ จัดการของเสียชุมชน + ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ลดลงในสาขาเกษตร ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสภาวะปกติ หรือ กรณีปกติ ( Business As Usual: BAU ) หมายถึง การคาดการณ์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรณีที่ไม่มีการดําเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกใด ๆ และกําหนดให้ปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) เป็นปีเริ่มต้น BAU เนื่องจากเป็นปีที่ประเทศไทยยังไม่มีการดําเนิน มาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลดก๊าซเรือนกระจกในสาขาการพัฒนาต่าง ๆ ของประเทศ โดยปริมาณการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) มีค่าเท่ากับ 555 ล้านตั นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 2 6 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมลดลงอย่างน้อยร้อยละ 21 จากกรณีปกติ ภายในปี พ.ศ. 2573 (ร้อยละ) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในสาขาพลังงาน สํานักงานนโยบายและแผน พลังงาน สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูล หรือติดตามการรายงานได้จาก ฐานข้อมูลการลดก๊าซเรือนกระจก ( https://climate.onep.go.th/th ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในสาขาคมนาคมและขนส่ง สํานักงานนโยบายและ แผนการขนส่งและจราจร
140 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในสาขากระบวนการอุตสาหกรรม และการใช้ผลิตภัณฑ์ รวมถึงน้ําเสีย อุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม /topic/database/migation - measures/ ) ที่จัดทําโดยกองประสาน การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ สํานักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในสาขาการจัดการของเสียชุมชน กรมควบคุมมลพิษ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในสาขาเกษตร สํานักงานเศรษฐกิจ การเกษตร ข้อจํากัด การประเมินปริมาณการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะพิจารณาใน 5 สาขาตามกรอบ การดําเนินงานของข้อเสนอการมีส่วนร่วมที่ประเทศกําหนด ( NDC ) ได้แก่ สาขาพลังงาน สาขาคมนาคมและ ขนส่ง สาขากระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ รวมถึงน้ําเสียอุตสาหกรรม สาขาการจัดการ ของเสียชุมชน และสาขาเกษตร แหล่งข้อมูล ทส . (สผ.) ข้อมูลตัวชี้วัด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประเทศไทยจะดําเนินการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้กรอบ การดําเนินงานตามข้อเสนอการมีส่วนร่วมที่ประเทศกําหนด ( NDC) โดยมีเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจก ร้อย ละ 30 จากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรณีปกติ ( BAU ) ภายในปี พ.ศ. 2573 ระดับของการ มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสามารถเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 ขึ้นอยู่กับการเข้าถึงกลไก การสนับสนุนทางการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี การเงิน และการเสริมสร้างศักยภาพที่เพิ่มขึ้นและเพียงพอ และจะดําเนินการผ่านแผนปฏิบัติการรายสาขา ประกอบ ด้วย สาขาพลังงาน สาขาคมนาคมและขนส่ง สาขา กระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ รวมถึงน้ําเสียอุตสาหกรรม สาขาการจัดการของเสียชุมชน และ สาขาเกษตร ทั้งนี้ ในการรายงานผลการดําเนินงานลดก๊าซเรือนกระจก เป็นการรายงานข้อมูล Lag time 2 ปี เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในกระบวนการติดตาม รายงานผล และทวนสอบ ( Measurement Reporting and Verification: MRV ) และผ่านความเห็นชอบจากคณะทํางานระดับกระทรวง หรือคณะทํางานการจัดทํา บัญ ชีก๊าซเรือนกระจกและมาตรการการลดก๊าซเรือนกระจก และเสนอต่อคณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ด้านวิชาการและฐานข้อมูล ดังนั้น จึงยังไม่มีข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ ข้อมูลผลการดําเนินงานที่เป็นข้อมูลพื้นฐาน ( Baseline Data ) และในการรายงานผลในปี พ.ศ. 2566 จะเป็น ผลการลดก๊าซเรือนกระจก ตามมาตรการของปี พ.ศ. 2564 ตัวชี้วัดที่ 3.2 สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายเพิ่มขึ้น ( ร้อยละ ) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อเป็นการผลักดันให้เกิดการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้นและลดใช้พลังงานเชื้อเพลิง โดยตัวชี้วัดมีความสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (7) โครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล ในแผนย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) และนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2580 ในนโยบายที่ 2 สร้างการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อความมั่งคั่ งและยั่งยืน
141 นิยาม การใช้พลังงานทดแทนต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย พลังงานทดแทน คือ พลังงานที่นํามาใช้แทนพลังงานฟอสซิล เช่น ถ่านหิน ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ในที่นี้จะหมายถึง พลังงานหมุนเวียน ( Renewable Energy) ที่เป็นพลังงานที่ได้จากแหล่ง ที่สามารถผลิตหรือก่อกําเนิดพลังงานนั้นขึ้นมาเองได้และยังหมุนเวียนนํากลับมาใช้ได้อีก เช่น พลังงาน แสงอาทิตย์ พลังงานน้ํา พลังงานชีวมวล พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานขยะ พลังงานขั้นสุดท้าย ( Final Energy) หมายถึง พลังงานที่เกิดจากการน ําพลังงานขั้นต้นมาแปรรูป ปรับปรุงคุณภาพให้สามารถใช้งานได้หลากหลายหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น พลังงานปิโตรเลียม พลังงานไฟฟ้า หน่วยวัด ร้อยละ วิธีการวัดและการคํานวณ การคํานวณสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนต่อปริมาณการใช้ พลังงานขั้นสุดท้าย อ้างอิงจากการคํานวณโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวง พลังงาน สามารถแสดงได้ดังนี้ สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนต่อปริมาณการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย = [ปริมาณการใช้ พลังงานทดแทน (พันตั นเทียบเท่าน้ํามันดิบ) / ปริมาณการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมด (พันตันเทียบเท่า น้ํามันดิบ)] X 100 หมายเหตุ การคํานวณอ้างอิงจากการใช้พลังงานทดแทนใน 3 รูปแบบ ได้แก่ ไฟฟ้า ความร้อน และเชื้อเพลิง ชีวภาพ ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561 - 2580 ( Alternative Energy Development Plan 2018 – 2037: AEDP 2018 ) โดย (1 ) พลังงานทดแทนในรูปของไฟฟ้า ได้แก่ พลังงำน แสงอาทิตย์ พลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ํา ชีวมวล พลังงานลม ก๊าซชีวภาพ ขยะชุมชน ขยะอุตสาหกรรม พลังน้ําขนาดเล็ก พลังน้ําขนาดใหญ่ พลังงานทดแทนอื่น ๆ (พลังความร้อนใต้พิภพ) (2 ) พลังงานทดแทนในรูป ของความร้อน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ พลังงานขยะ ไบโอมีเทน และ (3 ) พลังงานทดแทนในรูป ของเชื้อเพลิงชีวภาพ ได้แก่ เอทานอล ไบโอดีเซล น้ํามันไพโรไลซิส ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 2 7 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายเพิ่มขึ้น (ร้อยละ) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม ปริมาณการใช้พลังงาน ทดแทน กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูล หรือ จากผลการดําเนินงานด้านพลังงานทดแทน ( Performance on Alternative Energy Policy) ที่จัดทําโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงาน กระทรวงพลังงาน ปริมาณการใช้พลังงานขั้น สุดท้ายทั้งหมด ข้อจํากัด ข้อมูล การใช้พลังงานทดแทน ไม่ได้รวมข้อมูลการใช้พลังงานทดแทนในส่วนบุคคลหรือ กิจการที่ไม่ได้มีการรายงานต่อคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน ทําให้ไม่ครอบคลุมการใช้พลังงาน ทดแทน ทั้งประเทศตามความเป็นจริง แหล่งข้อมูล พน . (พพ.) ข้อมูลตัวชี้วัด การใช้พลังงานทดแทนของประเทศไทยมีการใช้พลังงานทดแทนจากแหล่งต่าง ๆ ใน 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) พลังงานทดแทนในรูปของไฟฟ้า ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ํา ชีวมวล พลังงานลม ก๊าซชีวภาพ ขยะชุมชน ขยะอุตสาหกรรม พลังน้ําขนาดเล็ก พลังน้ําขนาดใหญ่ พลังงา นทดแทนอื่น ๆ (พลังความร้อนใต้พิภพ) (2) พลังงานทดแทนในรูปของความร้อน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ
142 พลังงานขยะ ไบโอมีเทน และ (3) พลังงานทดแทนในรูปของเชื้อเพลิงชีวภาพ ได้แก่ เอทานอล ไบโอดีเซล น้ํามันไพโรไลซิส โดยสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนต่อการใช้พลังงานขั้ นสุดท้ายของประเทศไทยมีแนวโน้ม ลดลงในช่วงปี พ.ศ. 2562 - 2564 ดังแสดงในตารางที่ ผ - 2 8 ซึ่งในปี พ.ศ. 2564 สัดส่วนการใช้พลังงาน ทดแทนต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายอยู่ที่ร้อยละ 14.62 ตารางที่ ผ - 2 8 สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย ปี พ.ศ. 2561 - 2564 ข้อมูล ปี พ.ศ. 2561 2562 2563 2564 การใช้พลังงานทดแทนในรูปของไฟฟ้า (พันตันเทียบเท่าน้ํามันดิบ) 2 , 960 3,239 2,903 3,148 การใช้พลังงานทดแทนในรูปของพลังงานความร้อน (พันตันเทียบเท่าน้ํามันดิบ) 7,919 8,525 6,717 5,248 การใช้พลังงานทดแทนในรูปของเชื้อเพลิงชีวภาพ (พันตันเทียบเท่าน้ํามันดิบ) 2,117 2,372 2,377 2,131 การใช้พลังงานทดแทน (พันตันเทียบเท่าน้ํามันดิบ) 12,996 14,136 11,997 10,527 การใช้พลังงานขั้นสุดท้าย (พันตันเทียบเท่าน้ํามันดิบ) 83,952 85,708 77,340 71,998 สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย (ร้อยละ) 15.48 16.49 15.51 14.62 ที่มา : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. 2565 . ผลการดําเนินงานด้านพลังงานทดแทน ( Performance on Alternative Energy Policy): ผลการดําเนินงานด้านพลังงานทดแทน เดือน ม.ค. - ธ.ค. 2564 (Performance on Alternative Energy Policy: Jan - Dec 2021 ). ตัวชี้วัดที่ 3.3 อัตราการเสียชีวิตและจํานวนผู้ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยต่อประชากร 100,000 คน ลดลง (คนต่อ 100,000 คน) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อสะท้อนถึงการดําเนินการลดความเสียหายและผลกระทบที่เกิดจากภัยพิบัติ โดยตัวชี้วัดมีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้ กับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น เป้า หมายย่อย ที่ 13.1 เสริมภูมิต้านทา นและ ขีดความสามารถในการปรับตัวต่ออันตรายและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศในทุกประเทศ และแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ กรอบการดําเนินงานเซนไดเพื่อการลด ความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558 - 2573 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) นิยาม อั ตราการเสียชีวิตและจํานวนผู้ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยที่สําคัญ ประกอบด้วย อุทกภัย วาตภัย และภัยแล้ง โดยนิยามของผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบ อ้างอิงจากนิยามของสํานักงาน เพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Disaster Risk Reduction: UNISDR ) สามารถแสดงได้ดังนี้
143 ผู้เสียชีวิต คือ ผู้เสียชีวิตระหว่างภัยพิบัติหรือหลังจากนั้นอันเป็นผลโดยตรงจากเหตุการณ์ อันตราย ผู้ได้รับผลกระทบ คือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อันตรายทั้งทางตรงและทางอ้อม อาจประสบผลระยะสั้นหรือระยะยาวต่อชีวิต การดํารงชีวิต หรือสุขภาพของตน และในทรัพย์สินทางเศรษฐกิจ กา ยภาพ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม หน่วยวัด คนต่อ 100,000 คน วิธีการวัดและการคํานวณ การคํานวณอัตราการเสียชีวิตและจํานวนผู้ได้รับผลกระทบจาก สาธารณภัยที่สําคัญทั้ง 3 ภัย ได้แก่ อุทกภัย วาตภัย และภัยแล้ง อ้างอิงจากการคํานวณโดยองค์การสหประชาชาติ และการดําเนินงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สามารถแสดงได้ดังนี้ อัตราการเสียชีวิตและจํานวนผู้ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย = [( จํานวนผู้เสียชีวิตจาก สาธารณภัย + จํานวนผู้ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย) / จํานวนประชากรทั้งหมด ] x 100,000 คน ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 2 9 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด อัตราการเสียชีวิตและจํานวนผู้ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยต่อ ประชากร 100,000 คน ลดลง (คนต่อ 100,000 คน) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม จํานวนผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับ ผลกระทบจากอุทกภัย กรมป้องกันและบรรเทาสา ธารณภัย สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูล จํานวนผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับ ผลกระทบจากวาตภัย จํานวนผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับ ผลกระทบจากภัยแล้ง จํานวนประชากรทั้งประเทศ กรมการปกครอง ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง ( https://stat.bora.dopa.go.th/ stat/statne w/statMenu/newStat/sumyear.php ) ข้อจํากัด การประเมินความเสียหายจากสาธารณภัยที่สําคัญ ประกอบด้วย อุทกภัย วาตภัย และภัยแล้ง จะเป็นการประเมินจากการเสียชีวิตและจํานวนผู้ได้รับผลกระทบ โดยไม่รวมถึงผู้สูญหาย เนื่องจาก มีข้อจํากัดทางกฎหมาย แหล่งข้อมูล มท . (ปภ.) ข้อมูลตัวชี้วัด อุทกภัย เป็นเหตุการณ์ที่เกิดจากฝนตกหนักและฝนตกสะสมเป็นเวลานาน ทําให้เกิดน้ําป่า ไหลหลาก น้ําท่วมฉับพลัน น้ําท่วมขัง และน้ําล้นตลิ่ง เป็นสาธารณภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ มากที่สุด โดยประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยเป็นประจําทุกปีและได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ในช่ว งปี พ.ศ. 2545 - 2554 ประเทศไทยเกิดอุทกภัยเฉลี่ย 9 ครั้งต่อปี ในปี พ.ศ. 2546 เกิดอุทกภัยสูงสุดถึง 17 ครั้ง และ ในปี พ.ศ. 2554 ได้เกิดอุทกภัยที่ก่อให้เกิดมูลค่าความเสียหายมากที่สุด มูลค่าความสูญเสีย 1.44 ล้านล้านบาท ส่งผลกระทบต่อ 65 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร ได้รับผลกระทบมากกว่า 13 ล้านครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 813 คน (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย , 2559 ) และในปี พ.ศ. 2560 เป็นปีที่สภาวะอากาศของ ประเทศมีความผันแปรผิดปกติมาก โดยปริมาณฝนเฉลี่ยของประเทศสูงกว่าค่าปกติถึงร้อยล ะ 27 และนับเป็น ปีที่มีค่าสูงที่สุดในรอบคาบเวลา 67 ปี (พ.ศ. 2494 - 2560 ) ซึ่งเกือบทุกภาคของประเทศไทยพบฝนตกชุก หนาแน่นเกือบตลอดปี ก่อให้เกิดปัญหาน้ําท่วม อุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศไทย นอกจากนี้ งานวิจัยของ
144 Southeast Asia START Regional Center ( 2006 ) ยังพบว่ำปริมาณน้ําในลุ่มน้ําสาขาส่วนใหญ่ของแม่น้ําโขง ในประเทศลาวและไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากปริมาณฝนที่ตกเพิ่มขึ้น และยังมีความสัมพันธ์กับปริมาณ ก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ( ศิริรัตน์ สังขรักษ์ และคณะ , 2563 ) วาตภัย เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เกิดจากลมแรง จนทําให้เกิดความเสียหายแก่อาคาร บ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง ต้นไม้ เรือกสวนไร่นา ยานพาหนะ และระบบสาธารณูปโภค รวมถึงชีวิตของประชาชน ซึ่งวาตภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมีสาเหตุมาจากพายุฝนฟ้าคะนอง พายุฤดูร้อน พายุลมงวง และพายุหมุนเขตร้อน (ดีเปรสชั่น โซนร้อน ไต้ฝุ่น) กระทบต่อพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง ซึ่งหากมีกําลังแรงขึ้นอาจก่อให้เกิดอุทกภัย และ คลื่นพายุซัดฝั่ง โดยในช่วงปี พ.ศ. 2545 - 2554 ประเ ทศไทยเกิดวาตภัยเฉลี่ย 2,067 ครั้งต่อปี มีผู้เสียชีวิต 326 คน มูลค่าความเสียหาย 2,080 ล้านบาท ซึ่งวาตภัยเกิดขึ้นสูงสุดในปี พ.ศ. 2547 จํานวน 3,834 ครั้ง และปัจจุบันวาตภัยมีแนวโน้มที่จะเกิดมากขึ้น ( กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย , 2559 ) ภัยแล้ง เป็นภัยที่เกิดจากธ รรมชาติสภาพอากาศแห้งแล้งและขาดแคลนน้ําเป็นระยะเวลานาน โดยทั่วไปเกิดขึ้นเมื่อพื้นที่ที่ได้รับน้ําอย่างสม่ําเสมอเกิดฝนตกต่ํากว่าค่าเฉลี่ย ทําให้เกิดผล กระทบอย่างมากต่อ การดํารงชีวิต การเกษตร และระบบนิเวศในพื้นที่เกิดภัย อาจนําไปสู่การพังทลายของผิวดิน การเกิดฝุ่นละออง พายุฝุ่น การรุกล้ําของน้ําเค็ม และโอกาสเกิดไฟป่าสูงขึ้น ซึ่งประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งมาอย่างต่อเนื่อง โดยปี พ.ศ. 2559 เป็นปีที่ประเทศไทยประสบกับภาวะแล้งอย่างรุนแรง ทําให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ําสําหรับ ทําการเกษตร ส่งผลให้มี พื้นที่ปลูกข้าวนาปรังลดลงกว่า 2.4 ล้านไร่ เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2558 และภาวะแล้งมี แนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้น ( กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย , 2559 ) ผลกระทบที่เกิดจากสาธารณภัยที่สําคัญทั้ง 3 ภัย ได้แก่ อุทกภัย วาตภัย และภัยแล้ง ในรูปของ อัตราการเสียชีวิตและจํานวนผู้ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย สามารถแส ดงข้อมูลได้ดังตารางที่ ผ – 30 ตารางที่ ผ - 30 อัตราการเสียชีวิตและจํานวนผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย วาตภัย และภัยแล้ง ประเภท สาธารณภัย ข้อมูล ปี พ.ศ. 2560 2561 2562 2563 อุทกภัย จํานวนผู้เสียชีวิต ( คน) 152 23 18 33 จํานวนผู้บาดเจ็บ ( คน) 1 8 5 6 จํานวนผู้ได้รับความเดือดร้อน (คน) 3,678,474 1,009,289 1,593,434 3,576,314 วาตภัย จํานวนผู้เสียชีวิต ( คน) 19 1,826 894 25 จํานวนผู้บาดเจ็บ ( คน) 24 37 46 37 จํานวนผู้ได้รับความเดือดร้อน (คน) 151,851 199,223 1,028,647 293,449 ภัยแล้ง จํานวนผู้เสียชีวิต ( คน) - - - - จํานวนผู้บาดเจ็บ ( คน) - - - - จํานวนผู้ได้รับความเดือดร้อน (คน) 46,796 - 1,114,325 646,617 รวม 3,877,317 1,210,406 3,737,369 4,516,481 ที่มา: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. 2565 โดยสามารถประมวลผลออกมาในรูปของอัตราการเสียชีวิตและได้รับผลกระทบต่อประชากร 100 , 000 คน (คนต่อ 100 , 000 คน) ได้ดังตารางที่ ผ - 31
145 ตารางที่ ผ - 31 อัตราการเสียชีวิตและจํานวนผู้ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยต่อประชากร 100,000 คน ปี พ.ศ. 2560 - 2563 ข้อมูล 2560 2561 2562 2563 จํานวนผู้เสียชีวิตและได้รับผลกระทบจาก อุทกภัย วาตภัย และภัยแล้ง (คน) 3,877,317 1,210,406 3,737,369 4,516,481 จํานวนประชากรทั้งประเทศ (คน) 66,188,503 66,413,979 66,558,935 66,186,727 อัตราการเสียชีวิตและจํานวนผู้ได้รับ ผลกระทบจากสาธารณภัยต่อประชากร 100 , 000 คน (คนต่อ 100 , 000 คน ) 5,857.99 1,822.52 5,615.13 6,823.85 หมายเหตุ จํานวนประชากรทั้งประเทศ อ้างอิงจากระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง ปี พ.ศ. 2560 – 2563 ( https://stat.bora.dopa.go.th/ stat/statnew/statMenu/newStat/sumyear.php ) ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ดําเนินการผลักดันการบูรณาการการจัดการ ภัยพิบัติเข้าสู่แผนพัฒนาท้องถิ่น รวมถึงทบทวนแผนให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อนําไปสู่การมีแผนงานและ ยุทธศาสตร์ในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น นําไปสู่การลด การสูญเสียชีวิตและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ ตัวชี้วัดที่ 3.4 ร้อยละของแผนพัฒนาท้องถิ่นที่ มีการบูรณาการการจัดการภัยพิบัติเพิ่มขึ้น (ร้อยละ) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อสะท้อนถึงการดําเนินการในการเสริมสร้างศักยภาพการบริหารและจัดการความเสี่ยง จากภัยพิบัติ โดยตัวชี้วัดมีความสอดคล้องกับกรอบการดําเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558 - 2573 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น เป้า หมายย่อย ที่ 13.1 เสริมภูมิต้านทานและขีดความสามารถในการ ปรับตัว ต่ออันตรายและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศในทุกประเทศ ตัวชี้วัดที่ 13.1.3 สัดส่วน ของ หน่วยงานระดับท้องถิ่นที่มีและด ํา เนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับท้องถิ่นที่ สอดคล้อง กับยุทธศาส ตร์ระดับประเทศ นิยาม แผนพัฒนาท้องถิ่นที่จัดทําโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการบูรณาการการจัดการภัยพิบัติ หน่วยวัด ร้อยละ วิธีการวัดและการคํานวณ การคํานวณร้อยละของแผนพัฒนาท้องถิ่นที่มีการบูรณาการ การจัดการภัยพิบัติ อ้างอิงวิธีการคํานวณโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสามารถคํานวณได้ดังนี้ ร้อยละของแผนพัฒนาท้องถิ่นที่มีการบูรณาการการจัดการภัยพิบัติ = ( แผนพัฒนาท้องถิ่นที่มี การบูรณาการการจัดการภัยพิบัติ / แผนพัฒนาท้องถิ่นที่มีการจัดทําทั้งหมด) x 100 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 3 2 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ร้อยละของแผนพัฒนาท้องถิ่นที่มีการบูรณาการการจัดการภัยพิบัติ เพิ่มขึ้น (ร้อยละ) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม จํานวนแผนพัฒนาท้องถิ่นที่มีการบูรณาการ การจัดการภัยพิบัติ กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย สอบถามหน่วยงานติดตามข้อมูล จํานวนแผนพัฒนาท้องถิ่นที่มีการจัดทําขึ้น
146 ข้อจํากัด การเสริมสร้างศักยภาพในการบริหารและจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติจะประเมิน จากแผนในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการรายงานว่าได้บูรณาการการจัดการภัยพิบัติเข้าสู่แผน แหล่งข้อมูล มท (ปภ.) ข้อมูลตัวชี้วัด ผลการรายงานการจัดทําแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563 อ้างอิงจากข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่รายงานวันที่ 25 มกราคม 2564 สามารถแสดงได้ดังตารางที่ ผ – 33 ตารางที่ ผ - 33 ร้อยละจํานวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบูรณาการการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เข้าสู่แผนพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ. 2563 ลําดับที่ จังหวัด จํานวน อปท . ที่รายงาน จํานวน อปท . ทั้งหมด ร้อยละ 1 กระบี่ 62 62 100.00 2 กาญจนบุรี 121 121 100.00 3 กาฬสินธุ์ 146 151 96.69 4 กําแพงเพชร 83 90 92.22 5 ขอนแก่น 19 224 8.48 6 จันทบุรี 81 81 100.00 7 ฉะเชิงเทรา 79 108 73.15 8 ชลบุรี 86 98 87.76 9 ชัยนาท 59 59 100.00 10 ชัยภูมิ 79 142 55.63 11 ชุมพร 25 78 32.05 12 เชียงราย 125 144 86.81 13 เชียงใหม่ 211 211 100.00 14 ตรัง 84 99 84.85 15 ตราด 43 44 97.73 16 ตาก 43 69 62.32 17 นครนายก 45 46 97.83 18 นครปฐม 91 116 78.45 19 นครพนม 66 104 63.46 20 นครราชสีมา 333 333 100.00 21 นครศรีธรรมราช 151 184 82.07 22 นครสวรรค์ 120 142 84.51 23 นนทบุรี 45 45 100.00 24 นราธิวาส 83 88 94.32
147 ลําดับที่ จังหวัด จํานวน อปท . ที่รายงาน จํานวน อปท . ทั้งหมด ร้อยละ 25 น่าน 99 99 100.00 26 บึงกาฬ 20 59 33.90 27 บุรีรัมย์ 48 204 23.53 28 ปทุมธานี 43 64 67.19 29 ประจวบคีรีขันธ์ 51 60 85.00 30 ปราจีนบุรี 64 69 92.75 31 ปัตตานี 87 113 76.99 32 พระนครศรีอยุธยา 125 157 79.62 33 พะเยา 59 71 83.10 34 พังงา 50 51 98.04 35 พัทลุง 46 74 62.16 36 พิจิตร 49 101 48.51 37 พิษณุโลก 27 75 36.00 38 เพชรบุรี 84 84 100.00 39 เพชรบูรณ์ 75 127 59.06 40 แพร่ 83 83 100.00 41 ภูเก็ต 9 18 50.00 42 มหาสารคาม 73 143 51.05 43 มุกดาหาร 55 55 100.00 44 แม่ฮ่องสอน 50 50 100.00 45 ยโสธร 49 86 56.98 46 ยะลา 63 63 100.00 47 ร้อยเอ็ด 109 165 66.06 48 ระนอง 18 30 60.00 49 ระยอง 67 67 100.00 50 ราชบุรี 91 111 81.98 51 ลพบุรี 125 125 100.00 52 ลําปาง 77 102 75.49 53 ลําพูน 57 57 100.00 54 เลย 29 100 29 . 00 55 ศรีสะเกษ 216 216 100.00 56 สกลนคร 38 140 27.14 57 สงขลา 84 140 60.00
148 ลําดับที่ จังหวัด จํานวน อปท . ที่รายงาน จํานวน อปท . ทั้งหมด ร้อยละ 58 สตูล 20 34 58.82 59 สมุทรปราการ 32 49 65.31 60 สมุทรสงคราม 35 35 100.00 61 สมุทรสาคร 37 37 100.00 62 สระแก้ว 65 65 100.00 63 สระบุรี 108 108 100.00 64 สิงห์บุรี 41 41 100.00 65 สุโขทัย 51 90 56.67 66 สุพรรณบุรี 126 126 100.00 67 สุราษฎร์ธานี 81 137 59.12 68 สุรินทร์ 80 172 46.51 69 หนองคาย 41 67 61.19 70 หนองบัวลําภู 67 67 100.00 71 อ่างทอง 40 65 61.54 72 อํานาจเจริญ 64 64 100.00 73 อุดรธานี 75 180 41.67 74 อุตรดิตถ์ 79 79 100.00 75 อุทัยธานี 35 63 55.56 76 อุบลราชธานี 218 238 91.60 โดยสามารถประมวลผลร้อยละของแผนพัฒนาท้องถิ่นที่มีการบูรณาการการจัดการภัยพิบัติ ได้ดังตารางที่ ผ - 34 ตารางที่ ผ - 34 ร้อยละของแผนพัฒนาท้องถิ่นที่มีการบูรณาการการจัดการภัยพิบัติ ปี พ.ศ. 2563 ข้อมูล 2563 จํานวน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีการบูรณาการการจัดการภัยพิบัติเข้าสู่ แผนพัฒนาท้องถิ่น (จํานวน) 5,795 จํานวน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งหมด (จํานวน) 7,715 ร้อยละของแผนพัฒนาท้องถิ่นที่มีการบูรณาการการจัดการภัยพิบัติ (ร้อยละ) 75.11 ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ดําเนินการผลักดันในการประเมินความเสี่ยง ตามทฤษฎีของการจัดการภัยพิบัติ ทบทวนและจัดลําดับภัย รวมถึงการปรับปรุงแผนให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อนําไปสู่การมีแผนงานและยุทธศาสตร์ในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบั ติ ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง และลดจํานวนครั้ง ที่เกิดภัยให้น้อยลง รวมถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพของประชาชน และสิ่งแวดล้อม ให้มีความสามารถในการฟื้นตัวโดยเร็ว
149 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดการสภาพแวดล้อมเมืองและมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ ตัวชี้วัดที่ 4.1 คุณภาพน้ําในแหล่งน้ําผิวดินอยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 85 และแหล่งน้ําทะเลอยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 89 (ร้อยละ) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อสะท้อนถึงการดําเนินการในการป้องกัน ลด และควบคุมมลพิษทางน้ํา โดยตัวชี้วัด มีความ สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (18) การเติบโตอย่างยั่งยืน ในแผนย่อยการจัดการ มลพิษที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสารเคมีในภาคเกษตรทั้งระบบให้เป็นไปตามมาตรฐานสาก ล นโยบาย และแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 แผนจัดการคุณภาพ สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 - 2565 และยุทธศาสตร์การจัดการมลพิษ 20 ปี 4.1 . 1 คุณภาพน้ําในแหล่งน้ําผิวดินอยู่ในเกณฑ์ดีร้อยละ 85 นิยาม แหล่งน้ําผิวดิน หมายความว่า แม่น้ํา ลําคลอง หนอง บึง ทะเลสาบ อ่างเก็บน้ํา และแหล่งน้ําสาธารณะอื่น ๆ ที่อยู่ภายในผืนแผ่นดิน ซึ่งหมายความรวมถึงแหล่งน้ําสาธารณะที่อยู่ภายใน ผืนแผ่นดินบนเกาะด้วย แต่ไม่รวมถึงน้ําบาดาล และในกรณีที่แหล่งน้ํานั้นอยู่ติดกับทะเลให้หมายความถึงแหล่งน้ํา ที่อยู่ภายในปากแม่น้ําหรือปากทะเลสาบ (ปากแม่น้ําและปากทะเลสาบให้ถือแนวเขตตามที่กรมเจ้าท่ากําหนด) หน่วยวัด ร้อยละ วิธีการวัด และ การคํานวณ คุณภาพของแหล่งน้ําผิวดิน พิจารณาจากดัชนีคุณภาพ น้ําผิวดิน ( Water q uality i ndex : WQI) ซึ่งเป็นดัชนีในการประเมินสถานการณ์คุณภาพ แหล่งน้ํา ผิวดินโดยรวม คํานวณจาก 5 พารามิเตอร์ ได้แก่ ออกซิเจนละลายในน้ํา ( Dissolved Oxygen: DO) ความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ ( Biochemical o xygen d emand: BOD) แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด ( Total c oli form bacteria: TCB) แบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม ( Fecal coliform bacteria: FCB) และแอมโมเนียในหน่วยไนโตรเจน ( NH 3 - N ) โดยสามารถแบ่งตามระดับ ของเกณฑ์คุณภาพน้ํา ผิวดินได้เป็น 5 ระดับ โดย เกณฑ์คุณภาพน้ําผิวดิน คือ ระดับ ของการแบ่งชั้นคุณภาพน้ําที่ได้จากการคํานวณค่าดัชนีคุณภาพน้ําที่กําหนด มี 5 ระดับ ได้แก่ ดีมาก ดี พอใช้ เสื่อมโทรม และเสื่อมโทรมมาก โดยค่าที่คํานวณได้สามารถแบ่งออกเป็นระดับของเกณฑ์คุณภาพน้ําได้ดัง รูปภาพที่ ผ - 2 ดังนี้ รูป ภาพ ที่ ผ - 2 เกณฑ์ WQI ที่มา: ระบบฐานข้อมูลคุณภาพน้ําแหล่งน้ําผิวดินทั่วประเทศ ( Inland water quality information system: IWIS ) . กรมควบคุมมลพิษ .
150 การคํานวณสัดส่วนแหล่งน้ําผิวดินที่มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี อ้างอิงจากการคํานวณ โดยกรมควบคุมมลพิษ สามารถแสดงได้ดังนี้ ร้อยละของแหล่งน้ําผิวดินที่มีคุณภาพน้ําอยู่ในเกณฑ์ดี = (แหล่งน้ําผิวดินที่มีคุณภาพน้ํา อยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไป / แหล่งน้ําผิวดินทั้งหมด) x 100 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัดย่อย ตารางที่ ผ - 3 5 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัดย่อย คุณภาพน้ําในแหล่งน้ําผิวดินอยู่ในเกณฑ์ดีร้อยละ 85 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ย่อย หน่วยงานติดตาม ข้อมูล ช่องทางการติดตาม แหล่งน้ําผิวดินที่มีคุณภาพน้ําอยู่ใน ระดับพอใช้ขึ้นไป กรมควบคุมมลพิษ สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูล , ระบบฐานข้อมูล คุณภาพน้ําแหล่งน้ําผิวดินทั่วประเทศ ( IWIS) (http://iwis.pcd.go.th/), รายงานสถานการณ์มลพิษ ของประเทศไทย โดยกรมควบคุมมลพิษ แหล่งน้ําผิวดินทั้งหมดที่มีการตรวจวัด ข้อมูลตัวชี้วัด กรม ควบคุมมลพิษได้มีการดําเนินการติดตามและประเมินคุณภาพน้ําผิวดินในรูปของ ดัชนีคุณภาพแหล่งน้ําผิวดิน ( Water Q uality I ndex: WQI) จากแหล่งน้ําผิวดินทั้ง 65 แหล่งน้ํา ประกอบด้วย แม่น้ําสายหลักของประเทศ 59 แหล่งน้ํา และแหล่งน้ํานิ่ง 6 แหล่งน้ํา มีการรายงานผ่านระบบฐานข้อมูล คุณภาพ แหล่งน้ําผิวดินทั่วประเทศ ( IWIS) และมีการรายงานคุณภาพน้ําผิวดินสถานภาพต่าง ๆ ในรูปของร้อยละ อ้างอิงจาก รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยที่จัดทําโดยกรมควบคุมมลพิษเป็นประจําทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2564 แหล่งน้ําสําคัญทั่วประเทศอยู่ใน เกณฑ์ดีมากเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เก ณฑ์ดีเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 เกณฑ์พอใช้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 44 เกณฑ์เสื่อมโทรมลดลง ร้อยละ 14 และไม่มีแหล่งน้ําที่มีคุณภาพน้ําอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก โดยคุณภาพน้ําในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 - 2564 สามารถแสดงได้ดังรูปภาพที่ ผ - 3 รูปภาพที่ ผ - 3 สถานการณ์คุณภาพน้ําของแหล่งน้ําผิวดินทั่วประเทศ ปี พ.ศ. 2555 - 2564 ที่มา : รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2564 . กรมควบคุมมลพิษ . โดยสามารถประมวลผลออกมาในรูปของร้อยละของคุณภาพน้ําที่อยู่ในเกณฑ์ดี (ระดับพอใช้ จนถึงดีมาก) ดังตารางที่ ผ - 3 6
151 ตารางที่ ผ - 3 6 ร้อยละของคุณภาพน้ําผิวดินที่อยู่ในเกณฑ์ดี (สถานภาพพอใช้จนถึงดีมาก) ข้อมูล 2560 2561 2562 2563 2564 คุณภาพน้ําอยู่ในสถานภาพดีมาก ( ร้อยละ) - - 2 - 2 คุณภาพน้ําอยู่ในสถานภาพดี ( ร้อยละ) 28 46 34 39 40 คุณภาพน้ําอยู่ในสถานภาพพอใช้ ( ร้อยละ) 55 45 46 43 44 คุณภาพน้ําอยู่ในเกณฑ์ดี (สถานภาพพอใช้ถึงดีมาก) ( ร้อยละ) 83 91 82 82 86 ที่มา : รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2564 . กรมควบคุมมลพิษ . 4.1 . 2 แหล่งน้ําทะเลอยู่ในเกณฑ์ดีร้อยละ 89 นิยาม แหล่งน้ําทะเล หมายความว่า น้ําทั้งหมดในเขตน่านน้ําไทย แต่ไม่รวมถึงน้ํา ในแหล่งน้ํา ผิวดิน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กําหนดมาตรฐานคุณภาพน้ําในแหล่ง น้ําผิวดิน โดย “ น่านน้ําไทย ” หมายความว่า บรรดาน่านน้ําที่อยู่ภายใต้อํานาจอธิปไตยของประเทศไทยตาม กฎหมายว่าด้วย การเดินเรือในน่านน้ํา ไทย หน่วยวัด ร้อยละ วิธีการวัดและการคํานวณ คุณภาพของแหล่งน้ําทะเล พิจารณาจากดัชนีคุณภาพน้ํา ทะเล ( Marine w ater q uality i ndex : MWQI) ซึ่งเป็นดัชนีในการประเมินสถานการณ์คุณภาพน้ําทะเลโดยรวม คํานวณจาก 8 พารามิเตอร์ ได้แก่ ออกซิเจนละลายน้ํา ( D issolved O xygen : DO) แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์ม ทั้งหมด ( Total coli form bacteria: TCB) ฟอสเฟต - ฟอสฟอรัส ( PO 4 3 - - P ) ไนเตรท - ไนโตรเจน ( NO 3 - - N ) แอมโมเนีย ในหน่วยไนโตรเจน ( NH 3 - N ) ความเป็นกรด - ด่าง สารแขวนลอย และอุณหภูมิ โดย เกณฑ์คุณภาพ น้ําทะเล คือ ระดับของการแบ่งชั้นคุณภาพน้ําที่ได้จากการคํานวณค่าดัชนีคุณภาพน้ําที่กําหนด มี 5 ระดับ ได้แก่ ดีมาก ดี พอใช้ เสื่อมโทรม และเสื่อมโทรมมาก โดยค่าที่คํานวณได้สามารถแบ่งออกเป็นระดับของเกณฑ์ คุณภาพน้ําได้ดังรูปภาพที่ ผ - 4 ดังนี้ รูป ภาพ ที่ ผ - 4 เกณฑ์ M WQI ที่มา: ระบบฐานข้อมูลคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางทะเลแบบบูรณาการ . กรมควบคุมมลพิษ . การคํานวณสัดส่วนแหล่งน้ําทะเลที่มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี อ้างอิงจากการคํานวณ โดยกรมควบคุมมลพิษ สามารถแสดงได้ดังนี้ ร้อยละของแหล่งน้ําทะเลที่มีคุณภาพน้ําอยู่ในเกณฑ์ดี = (แหล่งน้ําทะเลที่มีคุณภาพ น้ําอยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไป / แหล่งน้ําทะเลทั้งหมด) x 100
152 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัดย่อย ตารางที่ ผ - 3 7 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ย่อย แหล่งน้ําทะเลอยู่ในเกณฑ์ดีร้อยละ 89 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ย่อย หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม แหล่งน้ําทะเลที่มีคุณภาพน้ําอยู่ใน ระดับพอใช้ขึ้นไป กรมควบคุมมลพิษ สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูลหรือ จาก ระบบ ฐานข้อมูลคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางทะเลแบบบูรณา การ ( http://marine.pcd.go.th/main), โดยกรม ควบคุมมลพิษ แหล่งน้ําทะเลทั้งหมดที่มีการตรวจวัด ข้อมูลตัวชี้วัด สําหรับคุณภาพน้ําในแหล่งน้ําทะเลจะพิจารณาจากดัชนีคุณภาพน้ําทะเล ( Marine W ater Q uality I ndex: MWQI) ซึ่งเป็นดัชนีในการประเมินสถานการณ์คุณภาพน้ําทะเลโดยรวม ดําเนินการ ติดตามและประเมินคุณภาพแหล่งน้ําทะเล จํานวน 2 ครั้งต่อปี มีการรายงานผ่านระบบ ฐานข้อมูลคุณภาพ สิ่งแวดล้อมทางทะเลแบบบูรณาการ และมีการรายงานคุณภาพน้ําทะเลระดับต่าง ๆ ในรูปของร้อยละ อ้างอิง จากรายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยที่จัดทําโดยกรมควบคุมมลพิษเป็นประจําทุกปี ในปี พ.ศ. 2564 คุณภาพน้ําทะเลชายฝั่งทั่วประเทศส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์พอใช้ถึงดี โดยอยู่ในเกณฑ์ดีมากลดลงเป็น ร้อยละ 3 เกณฑ์ดีลดลงเป็นร้อยละ 47 เกณฑ์พอใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 เกณฑ์เสื่อมโทรมเป็นร้อยละ 7 และ เกณฑ์เสื่อมโทรมมากเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ซึ่งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในช่วงที่ผ่านมา คุณภาพน้ําทะเลส่วนใหญ่ มีแนวโน้มคงที่อยู่ในระดับพอใช้ถึงดี (กรมควบคุมมลพิษ , 256 5 ) โดยคุณภาพน้ําทะเลในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 - 2564 สามารถแสดงได้ดังรูปภาพที่ ผ - 5 รูปภาพที่ ผ - 5 สถานการณ์คุณภาพน้ําของแหล่งน้ําทะเล ปี พ.ศ. 2555 - 2564 ที่มา : รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2564 . กรมควบคุมมลพิษ . โดยสามารถประมวลผลออกมาในรูปของร้อยละของคุณภาพน้ํา ทะเล ที่อยู่ในเกณฑ์ ดี (ระดับพอใช้ จนถึงดีมาก) ดังตารางที่ ผ – 3 8
153 ตารางที่ ผ - 3 8 ร้อยละของคุณภาพน้ําทะเลที่อยู่ในเกณฑ์ดี (ระดับพอใช้จนถึงดีมาก) ข้อมูล 2560 2561 2562 2563 2564 คุณภาพน้ําอยู่ในระดับดีมาก ( ร้อยละ) - 1 2 4 3 คุณภาพน้ําอยู่ในระดับดี ( ร้อยละ) 61 58 59 60 47 คุณภาพน้ําอยู่ในระดับพอใช้ ( ร้อยละ) 35 35 34 27 40 คุณภาพน้ําอยู่ในเกณฑ์ดี (ระดับพอใช้ถึงดีมาก) ( ร้อยละ) 96 94 95 91 90 ที่มา : รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2564 . กรมควบคุมมลพิษ . แหล่งข้อมูล ทส (คพ.) ตัวชี้วัดที่ 4. 2 พื้นที่ที่มีคุณภาพอากาศดีขึ้น ร้อยละ 80 ( ร้อยละ) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อสะท้อนผลการดําเนินงานในการป้องกัน ลด และควบคุมมลพิษทางอากาศ โดยสอดคล้อง กับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (18) การเติบโตอย่างยั่งยืน ในแผนย่อยการจัดการมลพิษที่มี ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสารเคมีในภาคเกษตรทั้งระบบให้เป็นไปตำมมาตรฐานสากล นโยบายและแผน การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 - 2565 และยุทธศาสตร์การจัดการมลพิษ 20 ปี นิยาม จํานวนจังหวัดที่มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบอัตโนมัติของกรมควบคุมมลพิษ และมีข้อมูลการตรวจวัดครบทั้งปีมีคุณภาพอากาศดีขึ้น หน่วยวัด ร้อยละ วิธีการวัดและการคํานวณ คุณภาพอากาศดีขึ้น จะพิจารณาจากผลการตรวจวัดสารมลพิษ ที่ ได้จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบอัตโนมัติของกรมควบคุมมลพิษ และเป็นปัญหาหลักของแต่ละพื้นที่ดังนี้ 1. สระบุรี พิจารณาจากค่าเฉลี่ยรายปีของฝุ่นละออง PM 10 ลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา 2. ระยอง พิจารณาจากค่าเฉลี่ยรายปีของสารเบนซีน ลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา 3. จังหวัดอื่นๆ นอกเหนือจากข้อ 1 . และ 2 . พิจารณาจากค่าเฉลี่ยรายปีของฝุ่นละออง PM 2.5 ที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (พิจารณารายจังหวัด) โดยการคํานวณร้อยละของพื้นที่ที่คุณภาพอากาศดีขึ้น อ้างอิงจากการคํานวณโดยกรมควบคุมมลพิษ สามารถแสดงได้ดังนี้ ร้อยละของพื้นที่ที่คุณภาพอากาศดีขึ้น = (จํานวนจังหวัดที่มีคุณภาพอากาศดีขึ้น / จํานวน จังหวัดที่มีสถานีตรวจวัดแบบอัตโนมัติของกรมควบคุมมลพิษและมีข้อมูลครบทั้งปี) × 100 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 3 9 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด จํานวนจังหวัดที่มีค่าสารมลพิษที่เป็นปัญหาหลักของแต่ละพื้นที่ลดลง เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม จํานวนจังหวัดที่มีค่า สารมลพิษที่เป็นปัญหาหลัก ของแต่ละพื้นที่ลดลง เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา กรมควบคุมมลพิษ สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูล , เว็บไซต์รายงาน สถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย ( http://air 4 thai.pcd.go.th/webV 2 / download.php ) , รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยโดยกรมควบคุมมลพิษ
154 ข้อมูลตัวชี้วัด กรมควบคุมมลพิษ ได้ติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติเพื่อตรวจวัดสารมลพิษทางอากาศ ในภาพรวมของทั้งประเทศ ปัจจุบันมีทั้งหมด 77 สถานี ใน 46 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ในปี พ.ศ. 2564 ฝุ่นละออง PM 10 ค่าเฉลี่ยรายปีทั้งประเทศไม่เกินมาตรฐาน ยกเว้นสระบุรี บริเวณพื้นที่หน้าพระลาน ค่าฝุ่นละออง PM 10 มีค่าเฉลี่ยรายปีและจํานวนวันเกินค่ามาตรฐาน สาเหตุหลักมาจากการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองจากโรงโม่บดย่อยหิน โรงงานปูนซีเมนต์ โรงปูนขาว เหมืองหินในพื้นที่ รวมถึง พื้นที่ใกล้เคียง และ การจราจร การบรรทุกขนส่งในพื้นที่ ส่วนปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 พบว่า ค่าเฉลี่ยรายปีทั้งประเทศไม่เกินมาตรฐาน สําหรับสถานการณ์หมอกควัน ภาคเหนือภาพรวมสถานการณ์มีแนวโน้มลดลง จากปี พ.ศ. 2563 เนื่องจากการขับเคลื่อนการดําเนินงานและลงพื้นที่ ติดตามผลการดําเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันในระดับพื้นที่ ส่วนพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง” และมาตรการย กระดับให้เข้มงวดขึ้น รวมถึงการขับเคลื่อนการดําเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้ แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติและแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ประกอบ กับสถานการณ์การ แพร่ระบาดของ โรคโควิด 19 ทําให้ประชาชนส่วนใหญ่ลดกิจกรรมการเดินทาง ปรั บเปลี่ยน พฤติกรรมในรูปแบบการปฏิบัติงานที่บ้าน ส่งผลให้การใช้รถยนต์และการจราจรขนส่งลดลง โดยสถานการณ์ คุณภาพอากาศในพื้นที่วิกฤต ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 256 3 - 2564 แสดง ดังตารางที่ ผ – 40 ตารางที่ ผ - 40 สถานการณ์คุณภาพอากาศในพื้นที่วิกฤต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 256 3 - 2564 ข้อมูล ปี พ . ศ . 2563 2564 หมอกควัน 9 จังหวัด ภาคเหนือ ปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 มีค่าเฉลี่ย 46 มคก./ลบ. ม. และมีจํานวนวันที่ฝุ่นละออง PM 2.5 เกินค่า มาตรฐาน 112 วัน ปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 มีค่าเฉลี่ย 40 มคก./ลบ.ม. และมีจํานวนวันที่ฝุ่นละออง PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน 103 วัน พื้นที่ตําบลหน้าพระลาน จังหวัดสระบุรี ปริมาณ ฝุ่นละออง PM 10 มีค่าเฉลี่ย 107 มคก./ ลบ. ม. และมีจํานวนวันที่ฝุ่นละออง PM 1 0 เกินค่า มาตรฐาน 92 วัน ปริมาณ ฝุ่นละออง PM 10 มีค่าเฉลี่ย 98 . 6 มคก./ ลบ. ม. และมีจํานวนวันที่ฝุ่นละออง PM 1 0 เกินค่า มาตรฐาน 101 วัน พื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง สารเบนซีน และสาร 1 , 3 บิวทาไดอีน ในพื้นที่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มเกินค่ามาตรฐาน ในขณะที่สาร 1 , 2 ไดคลอโรอีเทน มีแนวโน้ม ลดลง เทียบกับปี พ.ศ. 2562 สารเบนซีน และ 1 , 3 บิวทาไดอีน ตรวจพบค่า สูงขึ้นจากปี พ.ศ. 2563 แต่ 1 , 2 ไดคลอโรอีเทน มี ปริมาณลดลงจาก ปี พ.ศ. 2563 พื้นที่ ก รุงเทพมหานคร และปริมณฑล ฝุ่นละออง PM 2.5 มีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีจํานวน วันที่ฝุ่นละออง PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน จํานวน 70 วัน ฝุ่นละออง PM 2.5 มีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีจํานวนวันที่ ฝุ่นละออง PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน จํานวน 64 วัน ที่มา : รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2564 . กรมควบคุมมลพิษ . สําหรับคุณภาพอากาศในพื้นที่อื่นนอกเหนือจากที่จังหวัดที่กล่าวถึงในข้างต้น จะพิจารณาจาก ค่าเฉลี่ยรายปีของฝุ่นละออง PM 2.5 อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เช่นเดียวกับพื้นที่ภาคเหนือและพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล โดยค่ามาตรฐาน เฉลี่ยรายปี ไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะมีการรายงานคุณภาพ อากาศในพื้นที่ต่าง ๆ ผ่านเว็บไซต์ของกรมควบคุมมลพิษเป็นประจําทุกปี โดยค่าเฉลี่ยรายปีของฝุ่นละออง PM 2.5 บริเวณ กรุงเทพมหานคร และ เขตปริมณฑล และบริเวณ พื้นที่ ต่างจังหวัด ในช่วง ปี พ.ศ. 2560 - 256 4 แสดงดังตำรางที่ ผ - 41 และ ผ - 42
155 ตารางที่ ผ - 41 ค่าเฉลี่ยรายปีของฝุ่นละออง PM 2.5 บริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วง ปี พ.ศ. 2560 - 2564 จังหวัด สถานีตรวจวัด ค่าเฉลี่ยรายปีของฝุ่นละออง PM 2.5 ( ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 2560 2561 2562 2563 2564 พื้นที่ทั่วไปในกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี # # 25 24 24 แขวงบางนา เขตบางนา 76 23 21 19 20 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ # 30 21 20 20 แขวงดินแดง เขตดินแดง # 30 24 21 21 แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา # # 24 21 20 แขวงพญาไท เขตพญาไท 70 20 21 19 18 แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง 68 25 26 22 21 บริเวณริมถนนในกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร ริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน # 41 36 30 30 ริมถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน 25 28 27 25 25 ริมถนนอินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี 31 29 25 23 25 ริมถนนลาดพร้าว เขตวังทองหลาง 19 26 26 22 24 ริมถนนดินแดง เขตดิแดง # 35 33 32 33 เขตปริมณฑล สมุทรปราการ ต.ทรงคะนอง อ.พระประแดง 26 33 31 24 24 ต.บางโปรง อ.เมือง # # 21 19 20 ต.ตลาด อ.พระประแดง # 30 23 18 18 ต.ปากน้ํา อ.เมือง # 22 30 33 34 ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง 23 27 24 21 25 ปทุมธานี ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง # 29 25 22 23 สมุทรสาคร ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน # 37 31 27 27 ต.มหาชัย อ.เมือง 29 34 27 23 27 นนทบุรี ต.บางกรวย อ.บางกรวย # # 23 21 20 อ.บางพูด อ.ปากเกร็ด # # 26 19 17 นครปฐม ต. นครปฐม อ.เมือง 22 20 22 ค่ามาตรฐานฝุ่นละออง PM 2.5 ค่าเฉลี่ยรายปี ไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หมายเหตุ # คือ ไม่มีการตรวจวัด คือ ไม่มีเครื่องมือตรวจวัด ที่มา : รายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย : สถานีตรวจวัด บริเวณ กรุงเทพมหานคร และ เขตปริมณฑล และบริเวณ พื้นที่ ต่างจังหวัด ปี 2560 – 2564 . กรมควบคุมมลพิษ .
156 ตารางที่ ผ - 42 ค่าเฉลี่ยรายปีของฝุ่นละออง PM 2.5 บริเวณ พื้นที่ ต่างจังหวัด ในช่วง ปี พ.ศ. 2560 - 2564 จังหวัด สถานี ค่าเฉลี่ยรายปีของฝุ่นละออง PM 2.5 ( ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 2560 2561 2562 2563 2564 เชียงใหม่ ต.ช้างเผือก อ.เมือง 30 24 36 33 29 ต.ศรีภูมิ อ.เมือง 23 30 30 28 24 ลําปาง ต.พระบาท อ.เมือง # 18 33 30 28 ต.สบป้าด อ.แม่เมาะ # 73 26 26 21 ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ # 11 30 25 22 ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ 19 25 31 29 26 เชียงราย ต.เวียง อ.เมือง # 20 33 30 24 ต.เวียงพางคํา อ. แม่สาย # 17 41 42 40 แม่ฮ่องสอน ต.จองคํา อ.เมือง # 9 31 32 29 น่าน ต.ในเวียง อ.เมือง # 14 29 30 26 ต.ห้วยโก๋น อ. เฉลิมพร เกียรติ 17 18 30 28 19 ลําพูน ต. เวียงยอง อ.เมือง 19 36 27 23 พะเยา ต. บ้านต๋อม อ.เมือง 18 32 25 แพร่ ต.นาจักร อ.เมือง # 19 31 31 25 ตาก ต.แม่ปะ อ.แม่สอด 23 30 28 28 25 นครสวรรค์ ต.ปากน้ําโพ อ.เมือง # 28 28 25 24 พิษณุโลก ต.ในเมือง อ.เมือง 25 อุตรดิตถ์ ต.ท่าอิฐ อ.เมือง 15 ขอนแก่น ต.ในเมือง อ.เมือง 30 31 34 29 30 นครราชสีมา ต.ในเมือง อ.เมือง # # 24 27 25 เลย ต.นาอาน อ.เมือง # 18 25 23 26 ต.กุดป่อง อ.เมือง 13 หนองคาย ต.มีชัย อ.เมือง 26 20 อุบลราชธานี ต.ในเมือง อ.เมือง 24 26 นครพนม ต.ในเมือง อ.เมือง 22 สกลนคร อ.ธาตุนาเวง อ.เมือง 14 อุดรธานี ต.หมากแข้ง อ.เมือง 13 พระนครศรีอยุธยา ต.ประตูชัย อ . พระนครศรีอยุธยา # 26 25 23 21 สระบุรี ต.หน้าพระลาน อ.เฉลิม พระเกียรติ 32 35 32 29 ต.ปากเพียว อ.เมือง 36 25 23 26 23 ราชบุรี ต.หน้าเมือง อ.เมือง 24 25 30 23 22
157 จังหวัด สถานี ค่าเฉลี่ยรายปีของฝุ่นละออง PM 2.5 ( ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 2560 2561 2562 2563 2564 สมุทรสงคราม ต.ลาดใหญ่ อ.เมือง 14 16 สุพรรณบุรี ต.ดอนก่ายาน อ.เมือง 26 กาญจนบุรี ต.ปากแพรก อ.เมือง 16 24 27 26 17 ระยอง ต.ปลวกแดง อ.ปลวก แดง # # 17 21 20 ต.มาบตาพุด อ.เมือง # 24 19 16 20 ต.ท่าประดู่ อ.เมือง 18 15 17 18 16 ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง # 24 19 17 18 ต.เนินพระ อ.เมือง # # 24 19 18 ชลบุรี ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา 22 25 22 16 26 ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา # 26 22 22 17 ต.บ้านสวน อ.เมือง # 24 18 18 18 ฉะเชิงเทรา ต.วังเย็น อ.แปลงยาว # # 16 19 23 สระแก้ว ต.อรัญประเทศ อ.อรัญ ประเทศ # 19 20 18 16 ปราจีนบุรี ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ์ 24 25 25 25 25 ตราด ต.บางพระ อ.เมือง 15 สุราษฎร์ธานี ต.มะขามเตี้ย อ.เมือ ง # 14 17 15 18 ภูเก็ต ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง # # 11 15 17 สงขลา ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ 15 15 23 19 17 นราธิวาส ต.บางนาค อ.เมือ ง 9 16 17 14 14 ยะลา ต.สะเตง อ.เมือง 17 19 21 16 14 ต.เบตง อ.เบตง 10 8 26 สตูล ต.พิมาน อ.เมือง 1 1 12 14 10 12 นครศรีธรรมราช ต.คลัง อ.เมือง 14 ตรัง ต.นาตาล่วง อ.เมือ ง 10 ค่ามาตรฐานฝุ่นละออง PM 2.5 ค่าเฉลี่ยรายปี ไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หมายเหตุ # คือ ไม่มีการตรวจวัด ◼ คือ ยังไม่มี การตั้งสถานี ตรวจวัด ที่มา : รายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย : สถานีตรวจวัด บริเวณ กรุงเทพมหานคร และ เขต ปริมณฑล และบริเวณ พื้นที่ ต่างจังหวัด ปี 2560 – 2564 . กรมควบคุมมลพิษ .
158 ทั้งนี้ กรมควบคุมมลพิษ จะมีการดําเนินการเพิ่มสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศให้ครอบคลุม พื้นที่ภาคเหนือทั้ง 17 จังหวัดภายในปี พ.ศ. 2565 และได้มีการดําเนินการของบประมาณเพื่อขยายจํานวน สถานีตรวจวัดที่มีอยู่อีกจํานวน 21 สถานีในปี พ.ศ. 2566 อีกทั้งมีการดําเนินงานต่าง ๆ ของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น พัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานการระบายมลพิษจากแหล่งกําเนิดให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล เร่งรัดการแก้ไขปัญหามลพิษทำงอากาศในพื้นที่วิกฤต (พื้นที่ภาคเหนือ กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล สระบุรี และระยอง) เพิ่มประสิทธิภาพการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ระบบเชื่อมโยงข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ ระหว่างหน่วยงานและรายงานสู่สาธารณะเพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์ในพื้นที่ พัฒนาระบบคาดการณ์สถานกา รณ์ ฝุ่นละอองให้ครอบคลุมทั่วประเทศและแจ้งเตือนสู่สาธารณะ เพื่อให้ประชาชนรับทราบสถานการณ์ล่วงหน้า มีการขับเคลื่อนการดําเนินงานตามข้อตกลงเรื่องมลพิษหมอกควันข้ามแดนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยการ ประสานความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ โดย ใช้กลไก ในทุกระดับ บริหารจัดการ เชื้อเพลิงแบบครบวงจร เพื่อลดฝุ่นละอองจากการเผา มีการดําเนินการประชาสัมพันธ์ เชิงรุก โดยการเผยแพร่ข้อมูล สถานการณ์ องค์ความรู้ด้านการจัดการมลพิษในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เพื่อสื่อสารกับประชาชนในวงกว้างเพื่อสร้าง การรับรู้ และความตระหนัก ถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย และสร้างความร่วมมือให้ประชาชน ในพื้นที่ร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา รวมถึงความร่วมมือกับหน่วยงานและสถาบันการศึกษา เพื่อผลักดันงานวิจัย หรือนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริการจัดการคุณภาพอากาศเพื่อให้ได้ข้อมูลหรือนวัตกรรมที่สามารถนําไปต่อยอด หรือประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แหล่งข้อมูล ทส. (คพ.) ตัวชี้วัดที่ 4.3 ระดับเสียงริมถนนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ( ร้อยละ) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อสะท้อนผลการดําเนินงานในการป้องกัน ลด และควบคุมมลพิษทางเสียง โดยสอดคล้อง กับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (18) การเติบโตอย่างยั่งยืน ในแผนย่อยการจัดการมลพิษที่มี ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสารเคมีในภาคเกษตรทั้งระบบให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และยุทธศาสตร์ การจัดการมลพิษ 20 ปี นิยาม มลพิษทางเสียง คือ เสียงที่ก่อให้เกิดความรําคาญและเกินขีดความสามารถที่โสตประสาท จะรับได้ มาตรฐานระดับเสียงทั่วไป ตา มประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 ( พ.ศ. 2540 ) เรื่อง กําหนดระดับเสียงโดยทั่วไป กําหนดให้ “ ค่าระดับเสียง เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ” ต้องไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ และ “ ค่าระดับเสียงสูงสุด ” ไม่เกิน 115 เดซิเบลเอ หน่วยวัด ร้อยละ วิธีการวัดและการคํานวณ คุณภาพเสียงของแต่ละพื้นที่เป้าหมายมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คือ มีค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมงไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ โดยการคํานวณร้อยละของจํานวนวันที่มีข้อมูล ค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของสถานีตรวจวัดระดับเสียงของกรมควบคุมมลพิษบริเวณ พื้นที่ริมถนน มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อ้างอิงจากการคํานวณโดยกรมควบคุมมลพิษ สามารถแสดงได้ดังนี้ ร้อยละของจํานวนวันที่มีข้อมูลค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของสถานีตรวจวัดระดับเสียง ของกรมควบคุมมลพิษบริเวณพื้นที่ริมถนนมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน = ( จํานวนวันที่มีข้ อมูลระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน / จํานวนวันทั้งหมดที่มีข้อมูลระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง) × 100 ข้อมูลตัวชี้วัด จากการติดตามตรวจสอบระดับเสียงโดยสถานีตรวจวัดระดับเสียงแบบอัตโนมัติต่อเนื่องตลอด ทั้งปีบริเวณพื้นที่ริมถนนทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และในเขตต่างจังหวัด โดยในปี พ.ศ. 2564
159 พบว่า ระดับเสียงริมถนนใน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีค่า ระดับเสียงเฉลี่ย ( L eq ) 24 ชั่ วโมง เท่ากับ 69.2 เดซิเบลเอ เพิ่มขึ้นจาก ปี พ.ศ. 2563 ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 69.0 เดซิเบลเอ เนื่องจากมีปริมาณการจราจร หนาแน่นตลอดทั้งวัน สําหรับ ระดับเสียงบริเวณพื้นที่ริมถนนในต่างจังหวัด ในปี พ.ศ. 2564 พบว่า มีค่าเฉลี่ย ของระดับเสียงเฉลี่ย ( L eq ) 24 ชั่วโมง เท่ากับ 62.4 เดซิเบลเอ ลดลงจาก ปี พ.ศ. 2563 ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 62.8 เดซิเบลเอ สามารถแสดงได้ดังตารางที่ ผ - 43 ตารางที่ ผ - 4 3 ระดับเสียงเฉลี่ย ( L eq ) 24 ชั่วโมง ที่ตรวจวัด ราย ปีบริเวณพื้นที่ริมถนนทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลและในเขตต่างจังหวัด ในปี พ.ศ. 2562 - 2564 จังหวัด สถานีตรวจวัด ระดับเสียงเฉลี่ย (L eq ) 24 ชั่วโมงที่ตรวจวัด 1 ปี ( เดซิเบลเอ) จํานวนวันที่เกินมาตรฐาน/ จํานวนวันที่ทําการตรวจวัด (ร้อยละ) 2562 2563 2564 2562 2563 2564 เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรุงเทพมหานคร พาหุรัด ถนนตรีเพชร เขตพระนคร 72 . 4 73 . 1 73.2 364 / 365 ( 99 . 7 ) 332 / 332 ( 100 . 0 ) 299/304 (98.36) กรุงเทพมหานคร สนามกีฬาการเคหะชุมชน ห้วยขวาง ถนน ป ระชาสงเคราะห์ เขตห้วยขวาง 67 . 8 65 . 4 64.7 79 / 359 ( 22 . 0 ) 20 / 366 ( 5 . 4 ) 6/243 (2.47) กรุงเทพมหานคร สถานีไฟฟ้าย่อยธนบุรี ถนนอินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี 70 . 7 70 . 7 70.8 305 / 362 ( 84 . 3 ) 300 / 366 ( 81 . 9 ) 374/365 (95.07) กรุงเทพมหานคร สถานีตํารวจนครบาลโชคชัย ถนนลาดพร้าว เขตวังทองหลาง 68 . 5 69 . 7 69.6 28 / 347 ( 8 . 1 ) 117 / 362 ( 32 . 3 ) 74/365 (20.27) กรุงเทพมหานคร การเคหะชุมชนดินแดง ถนนดินแดง เขตดินแดง 72 . 3 71 . 6 72.1 338 / 365 ( 92 . 6 ) 262 / 316 ( 82 . 9 ) 365/365 (100) นนทบุรี การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ตําบลบางกรวย อําเภอบางกรวย 65 . 5 65 . 4 - 3 / 299 ( 1 . 0 ) 0 / 308 ( 0 . 0 ) - สมุทรสงคราม หมวดการทางสมุทรสาคร ถนนเพชรเกษม อําเภอกระทุ่มแบน 63 . 1 63 . 6 - 0 / 318 ( 0 . 0 ) 0 / 330 ( 0 . 0 ) - เขตต่างจังหวัด สระบุรี สถานีตํารวจภูธรหน้าพระลาน อําเภอเฉลิมพระเกียรติ 70 . 8 70 . 7 70.8 323 / 352 ( 91 . 8 ) 266 / 351 ( 75 . 7 ) 271/365 (74.25) ระยอง เกษตรจังหวัดระยอง อําเภอเมือง 64 . 6 63 . 1 63.2 2 / 363 ( 0 . 6 ) 0 / 366 ( 0 . 0 ) 0/365 (0.0) ชลบุรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา 60 . 3 60 . 5 60.2 1 / 332 ( 0 . 3 ) 1 / 347 ( 0 . 2 ) 0/361 (0.0) ชลบุรี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเขาหิน ตําบลบ่อวิน อําเภอศรีราชา 58 . 1 58 . 1 58.3 0 / 345 ( 0 . 0 ) 0 / 222 ( 0 . 0 ) 0/74 (0.0) ขอนแก่น สํานักงานทรัพยากรน้ํา ภาค 4 อําเภอเมือง 60 . 1 59 . 8 59.4 0 / 365 ( 0 . 0 ) 0 / 366 ( 0 . 0 ) 0/350 (0.0)
160 จังหวัด สถานีตรวจวัด ระดับเสียงเฉลี่ย (L eq ) 24 ชั่วโมงที่ตรวจวัด 1 ปี ( เดซิเบลเอ) จํานวนวันที่เกินมาตรฐาน/ จํานวนวันที่ทําการตรวจวัด (ร้อยละ) 2562 2563 2564 2562 2563 2564 นครราชสีมา โรงสูบน้ําเสีย เทศบาลนคร นครราชสีมา อําเภอเมือง 64 . 3 66 . 5 64.7 5 / 365 ( 1 . 4 ) 19 / 351 ( 7 . 4 ) 1/329 (0.30) เชียงใหม่ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย อําเภอเมือง 65 . 9 63 . 8 61.8 17 / 358 ( 4 . 7 ) 7 / 321 ( 2 . 1 ) 2/335 (0.60) ภูเก็ต ศูนย์บริการสาธารณสุขจังหวัด ภูเก็ต อําเภอเมือง 60 . 7 60 . 9 60.2 6 / 298 ( 2 . 0 ) 9 / 366 ( 2 . 4 ) 2/365 (0.55) สงขลา เทศบาลนครหาดใหญ่ อําเภอหาดใหญ่ 60 . 4 60 . 4 59.7 3 / 358 ( 0 . 8 ) 4 / 366 ( 2 . 4 ) 3/365 (0.82) ที่มา : รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2564 . กรมควบคุมมลพิษ . ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 44 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด จํานวนวันที่มีข้อมูลระดับเสียง ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม จํานวนวันที่มีข้อมูลระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน กรมควบคุมมลพิษ สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูลหรือ จากรายงานสถานการณ์มลพิษของ ประเทศไทย โดยกรมควบคุมมลพิษ จํานวนวันทั้งหมดที่มีข้อมูลระดับเสียง เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ตัวชี้วัดที่ 4.4 ขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ 80 ( ร้อยละ) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อสะท้อนผลการดําเนินงานในการป้องกัน ลด และควบคุมมลพิษจากขยะมูลฝอย ชุมชน โดยตัวชี้วัดมีความสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (18) การเติบโตอย่างยั่งยืน ในแผนย่อยการจัดการมลพิษที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสารเคมีในภาคเกษตรทั้งระบบให้เป็นไปตาม มาตรฐานสากล นโยบายและแผนการส่งเสริมและรัก ษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 - 2565 และ ยุทธศาสตร์การจัดการมลพิษ 20 ปี นิยาม ขยะมูลฝอยได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง หมายถึง ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนําไป กําจัดอย่างถูกต้องรวมกับปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนํากลับมาใช้ประโยชน์ดังนี้ 1 . ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนําไปกําจัดอย่างถูกต้อง หมายถึง ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนําไป กําจัดด้วยวิธีการและข้อกําหนดในกฎกระทรวงสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2560 หรื อประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560 ได้แก่ การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล การหมัก ทําปุ๋ยหรือก๊าซชีวภาพ การกําจัดด้วยพลังงานความร้อน การแปรสภาพเป็นเชื้อเพลิงหรือพลังงาน การกําจัด แบบผสมผสาน หรือวิธีอื่นตามที่กระทรวงมหาดไทย หรือกระทรวงสาธารณสุ ขกําหนด หรือคณะกรรมการ จังหวัดให้คําแนะนํา 2 . ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนํากลับมาใช้ประโยชน์ หมายถึง ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนํา กลับมาใช้ประโยชน์ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ผ้าป่ารีไซเคิล กิจกรรม Big Cleaning Day กิจกรรมทําปุ๋ยหมัก
161 น้ําหมักชีวภาพ กิจกรรมรับซื้อของเก่าสีเขีย ว กิจกรรมธนาคารขยะชุมชน ธนาคารขยะโรงเรียน ศูนย์รีไซเคิล ชุมชน กิจกรรมขยะแลกไข่ ขยะแลกของ กิจกรรมตลาด นัดมือสอง เป็นต้น รวมทั้งปริมาณขยะรีไซเคิลที่มีการ คัดแยกที่สถานที่กําจัดขยะมูลฝอยและสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอย หน่วยวัด ร้อยละ วิธีการวัดและการคํานวณ การคํานวณร้อยละของขยะมูลฝอยชุมชนที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง อ้างอิงจากการคํานวณโดยกรมควบคุมมลพิษ สามารถแสดงได้ดังนี้ ร้อยละของขยะมูลฝอยชุมชนที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง = (ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชน ที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง / ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ) × 100 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 4 5 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้องร้อยละ 80 (ร้อยละ) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนที่ถูกนําไปกําจัดอย่าง ถูกต้องรวมกับปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนํา กลับมาใช้ประโยชน์ กรมควบคุมมลพิษ สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูล , รายงานสถานการณ์มลพิษของ ประเทศไทย โดยกรมควบคุมมลพิษ ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ข้อมูลตัวชี้วัด ในปี พ.ศ. 256 5 กรมควบคุมมลพิษ รายงาน ปริมาณขยะมูลฝอย ที่ เกิดขึ้น ในปี พ.ศ. 2564 มี ประมาณ 24.98 ล้านตัน ซึ่งลดลงจากปี พ.ศ. 2563 ประมาณ 25.37 ล้านตัน หรือร้อยละ 1.54 โดยสาเหตุ ส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์การ แพร่ระบาดของ โรคโควิด 19 ซึ่งขยะมูลฝอยชุมชนเหล่านี้ได้ถูกคัดแยก ณ ต้นทาง และนํากลับไปใช้ประโยชน์ 7.89 ล้านตันหรือคิดเป็นร้อยละ 32 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั้งหมด ขยะมูลฝอยชุมชนที่นําไปกําจัดอย่างถูกต้อง 9.28 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 37 ของปริมาณขยะมูลฝอย ที่เกิดขึ้นทั้งหมด และกําจัดไม่ถูกต้องประมาณ 7 . 81 ล้านตันหรือคิดเป็นร้อยละ 31 ของปริมาณขยะมูลฝ อย ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ทั้งนี้ จะเห็นว่าปริมาณขยะมูลฝอยถูกกําจัดไม่ถูกต้องและขยะมูลฝอยที่ถูกนํากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ มีปริมาณลดลง และขยะมูลฝอยที่ถูกนําไปกําจัดอย่างถูกต้องมีปริมาณเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยปริมาณ ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น การ นํากลับไปใช้ประโย ชน์ การ กําจัดถูกต้อง และไม่ถูกต้อง สามารถแสดงได้ดังตารางที่ ผ – 4 6 ตารางที่ ผ - 4 6 ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น การนํากลับไปใช้ประโยชน์ การกําจัดถูกต้องและไม่ถูกต้อง ปี พ.ศ. 2560 – 256 4 ข้อมูล ปริมาณ (ล้านตัน) 2560 2561 2562 2563 2564 ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนที่เกิดขึ้นทั้งหมด 27.37 27 . 93 28 . 71 25 . 37 24.98 ปริมาณขยะมูลฝอยที่กําจัดถูกต้อง 10 . 23 9 . 87 9 . 35 8 . 67 9.28 ปริมาณขยะมูลฝอยที่นํากลับไปใช้ประโยชน์ 8 . 51 9 . 76 12 . 52 8 . 36 7.89 ปริมาณขยะมูลฝอยที่กําจัดไม่ถูกต้อง 8.63 8.3 6 . 84 8.34 7.81 ร้อยละของขยะมูลฝอยชุมชนที่ได้รับการจัดการ อย่างถูกต้อง 37.38 35.34 32.57 34.17 37.15 ที่มา : รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2564 . กรมควบคุมมลพิษ .
162 ทั้งนี้ กรมควบคุมมลพิษและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการดําเนินการเพื่อขับเคลื่อนการจัดการ ขยะมูลฝอย เช่น การจัดทําแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก และแผนปฏิบัติการการบริหารจัดการ ขยะมูลฝอย รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการยกเลิกการใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้งและส่งเสริมการนําพลำสติกกลับมาใช้ใหม่ ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ( Circular E conomy) และการบริหารจัดการขยะมูลฝอยบนเกาะ โดยให้มีการจัดการ ขยะมูลฝอยที่ต้นทางและปลายทาง ลดปริมาณการเกิดขยะมูลฝอย ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตที่ต้องเป็น Eco - Design และการผลิตที่เป็นมิตรต่อส่งแวดล้อม การจัดจําหน่าย การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค การให้ผู้ผลิตต้อง รับผิดช อบ ผลิตภัณฑ์ของตนเองภายหลังจากการบริโภคของประชาชนตามหลักการ ขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต ไปยังช่วงต่าง ๆ ของวงจรชีวิตของบรรจุภัณฑ์ ( Extended Producer Responsibility : EPR) มีการกําหนด ระบบ การคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางตามประเภทที่สอดคล้องกับรูปแบบหรือเทคโนโลยีการกําจัดขยะมูลฝอย ณ ปลายทาง เพื่อให้มีการนําทรัพยากรกลับคืนจากของเสียให้มากที่สุดทั้งในรูปแบบวัสดุรีไซเคิล ( Material recovery) และการแปรรูปเป็นพลังงาน ( Energy recovery) เพื่อให้เหลือ ขยะมูลฝอยที่ต้องกําจัดให้น้อยที่สุด ( Final d isposal) มีการยกระดับการกําจัดขยะให้ครอบคลุมพื้นที่ ปรับปรุงฟื้นฟูระบบเก็บรวบรวม และสถานที่ กําจัดขยะมูลฝอย โรงงานรีไซเคิลทุกประเภทให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้ง กํากับดูแลและบังคับใช้กฎหมายอย่ำงเข้มงวด รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง กับการจัดการขยะมูลฝอยและสร้างเครือข่ายหรือศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในระดับ ชุมชน ทําให้มีแนวโน้มที่อาจจะบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัด ขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูก ต้อง ร้อยละ 80 เมื่อสิ้นสุดการใช้แผนฯ ได้ แหล่งข้อมูล ทส . (คพ.) ตัวชี้วัดที่ 4.5 ของเสียอันตรายชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ 50 ( ร้อยละ ) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อสะท้อนผลการดําเนินงานในการป้องกัน ลด และควบคุมมลพิษจากของเสียอันตรายชุมชน โดยตัวชี้วัดมีความสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (18) การเติบโตอย่างยั่งยืน ในแผน ย่อยการจัดการมลพิษที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสารเคมีในภาคเกษตรทั้งระบบให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 แผนจัดการคุณภาพ สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 - 2565 และยุทธศาสตร์การจัดการมลพิษ 20 ปี นิยาม ของเสียอันตรายชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง หมายถึง ปริมาณของเสียอันตราย ชุมชนที่ถูกนํากลับมาใช้ประโยชน์รวมกับของเสียอันตรายชุมชนที่ส่งไปกําจัดยังสถานที่กําจัดของเสียอันตราย ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ของเสียอันตรายชุมชน หมายถึง ของเสียที่ปนเปื้อ นหรือมีส่วนประกอบของสารที่มีคุณสมบัติ เป็นสารพิษ สารไวไฟ สารออกซิไดซ์ สารระคายเคือง สารกัดกร่อน สารที่เกิดปฏิกิริยาได้ง่าย สารที่เกิดระเบิดได้ สารที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม สารหรือสิ่งอื่นใดที่อาจก่อหรือมีแนวโน้มที่จะทําให้เกิดอันตราย แก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ภายในที่อยู่อาศัย สถานที่ราชการ สถานศึกษา สถานประกอบการ รวมทั้ง สถานที่อื่นในชุมชน เว้นแต่สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากโ รงงานตามกฎหมายว่าด้วย โรงงาน มูลฝอยติดเชื้อตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและของเสียกัมมันตรังสีตามประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน สําหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560 หน่วยวัด ร้อยละ
163 วิธีการวัดและการคํานวณ การคํานวณร้อยละของของเสียอันตรายชุมชนที่ได้รับการจัดการ อย่างถูกต้องอ้างอิงจากการคํานวณโดยกรมควบคุมมลพิษ สามารถแสดงได้ดังนี้ ร้อยละของของเสียอันตรายชุมชนที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง = (ปริมาณของเสียอันตราย ชุมชนที่ได้รับการจัดการอย่างถู กต้อง / ปริมาณของเสียอันตรายชุมชนที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ) × 100 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 4 7 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ปริมาณของเสียอันตรายชุมชน ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม ปริมาณของเสียอันตรายชุมชนที่ได้รับ การจัดการอย่างถูกต้อง กรมควบคุมมลพิษ สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูล , รายงานสถานการณ์มลพิษของ ประเทศไทย โดยกรมควบคุมมลพิษ ปริมาณของเสียอันตรายชุมชน ที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ข้อมูลตัวชี้วัด ในปี พ.ศ. 2564 ของเสียอันตรายชุมชนมีปริมาณ 669,518 ตัน ซึ่งมีค่าเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2563 ถึงร้อยละ 1 . 6 โดยส่วนใหญ่เป็นซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 435,187 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 65 และอีกร้อยละ 35 เป็นของเสียอันตรายจากชุมชนประเภทอื่น ๆ เช่น แบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย ภาชนะบรรจุสารเคมี กระป๋องสเปรย์เท่ากับ 234,331 ตัน โดยของเสียอันตรายที่ได้รับนําไป คัดแยกและรวบรวมไปกําจัดในปี พ.ศ. 2564 พบว่า ต่ํากว่าเป้าหมายหมายในแผนแม่บทการบริหารจัดการ ขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ. 2559 - 2564 ที่กําหนดไว้ร้อยละ 30 ซึ่งสาเหตุมาจากประชาชนบางส่วน ยังขาดความรู้เกี่ยวกับการจัดการของเสียอันตราย รวมถึงผลกระทบต่อสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ของเสียอันตรายชุมชนมีแนวโน้มได้รับการจัดการอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2563 ที่ ร้อยละ 22 หรือประมาณ 147,294 ตัน ( กรมควบคุมมลพิษ , 256 5 ) โดยข้อมูลปริมาณของเสียอันตรายชุมชน ที่เกิดขึ้น และที่ได้รับการรวบรวมและส่งไปกําจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 - 2564 สามารถแสดงได้ดังตารางที่ ผ – 4 8 ตารางที่ ผ - 4 8 ปริมาณของเสียอันตรายชุมชนที่เกิดขึ้น และที่ได้รับการรวบรวมและส่งไปกําจัดอย่างถูกต้อง ตามหลักวิชาการ ปี พ.ศ. 2560 - 2564 ข้อมูล ปริมาณ ( ตัน) 2560 2561 2562 2563 2564 ปริมาณของเสียอันตรายชุมชนที่ได้รับการ รวบรวมและส่ งไปกําจั ดอย่ำงถู กต้ อง ตามหลักวิชาการ 61,986 83,732 104,527 121,720 147,294 ปริมาณของเสียอันตรายชุมชนที่เกิดขึ้น ทั้งหมด (รวมซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์และของเสียอันตรายจาก ชุมชนประเภทอื่น ๆ) 618 , 749 638 , 930 648 , 208 658 , 651 669,518 ร้อยละของของเสียอันตรายชุมชน ที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง 10.02 13.11 16.13 18.48 22 ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ. 2561 - 2564 . รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี พ . ศ . 2560 - 2563 . กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม .
164 ทั้งนี้ กรมควบคุมมลพิษได้เสนอค่าเป้าหมายของเสียอันตรายชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ 50 ซึ่งนับได้ว่ามีความท้าทายอย่างยิ่ง เนื่องจากผลการดําเนินงานที่ผ่าน มายังอยู่ในระดับต่ํากว่าร้อยละ 30 อย่างไรก็ตาม กรมควบคุมมลพิษกําลังอยู่ในระหว่างการดําเนินงานจัดทําร่างพระราชบัญญัติ การจัดการ ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. … รวมทั้งมีการผลักดันให้สถานประกอบการ ถอดแยก และโรงงานรีไซเคิลซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สร้างเครือข่ายในการรวมกลุ่มในการรีไซเคิล ให้ครบวงจรและมีประสิทธิภาพ โดยใช้เทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดมลพิษต่ําและนําของเสียไปกําจัดอย่างถูกต้องตาม หลักวิชาการได้ นอกจากนี้ ยังเพิ่มจุดรับ ( Drop Point) ของ เสียอันตรายชุมชนในระดับชุมชนและระดับจังหวัด ทําให้มีแนวโน้มที่อาจจะบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดของเสียอันตรายชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ 50 เมื่อสิ้นสุดการใช้แผนฯ ได้ แหล่งข้อมูล ทส (คพ.) ตัวชี้วัดที่ 4.6 มูลฝอยติดเชื้อได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ร้อยละ 100 (ร้อยละ) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อสะท้อนผลการดําเนินงาน การ จัดการมูลฝอยติดเชื้อของประเทศเพื่อ ป้องกัน ลด และ ควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค และ มลพิษจากมูลฝอยติดเชื้อ ทั้งในสถานการณ์ปกติและ สถานการณ์ การ แพร่ระบาดของ โรคโควิด 19 โดยตัวชี้วัดมีความ สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (18) การเติบโตอย่างยั่งยืน ในแผนย่อยการจัดการมลพิษที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสารเคมีในภาค เกษตรทั้งระบบ นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 – 2565 ยุทธศาสตร์การจัดการมลพิษ 20 ปี แผนปฏิบัติการ ด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565 – 2570 ) แผนยุทธศาส ตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560 – 2564 และ แผนขับเคลื่อนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565 – 2570 ) นิยาม มูลฝอยติดเชื้อจากแหล่งกําเนิดตามกฎหมายได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง มูลฝอยติดเชื้อ หมายถึง มูลฝอยที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ในปริมาณหรือมีความเข้มข้นซึ่งถ้ามี การสัมผัสหรือใกล้ชิดกับมูลฝอยนั้นแล้วสามารถทําให้เกิดโรคได้ กรณีมูลฝอยดังต่อไปนี้ ที่เกิดขึ้นหรือใช้ ใน กระบ วนการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์และการรักษาพยาบาล การให้ภูมิคุ้มกันโรคและการทดลองเกี่ยวกับ โรค และการตรวจชันสูตรศพหรือซากสัตว์ รวมทั้งในการศึกษาวิจัยเรื่องดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นมูลฝอยติดเชื้อ 1 . ซากหรือชิ้นส่วนของมนุษย์หรือสัตว์ที่เป็นผลมาจากการผ่าตัด การตรวจชันสูตรศพหรือ ซากสัตว์ และการใช้สัตว์ทดลอง 2 . วัสดุของมีคม เช่น เข็ม ใบมีด กระบอกฉีดยา หลอดแก้ว ภาชนะที่ทําด้วยแก้ว สไลด์ และ แผ่นกระจกปิดสไลด์ 3 . วัสดุซึ่งสัมผัสหรือสงสัยว่าจะสัมผัสกับเลือด ส่วนประกอบของเลือด ผลิตภัณฑ์ที่ ได้ จากเลือด สารน้ําจากร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ หรือวัคซีนที่ทําจากเชื้อโรคที่มีชีวิต เช่น สําลี ผ้าก๊อซ ผ้าต่าง ๆ และท่อยาง 4 . มูลฝอยทุกชนิดที่มาจากห้องรักษาผู้ป่วยติดเชื้อร้ายแรง แหล่งกําเนิด หมายถึง สถานบริการการสาธารณสุข ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย และให้ หมายความรวมถึงแหล่งกําเนิดอื่นตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการกําหนดประเภทมูลฝอยหรือ แหล่งกําเนิดมูลฝอยติดเชื้ออื่นที่ถือว่าเป็นมูลฝอยติดเชื้อ ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกําจัดมูลฝอยติดเชื้ อ ( อ้างอิงตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2564 ) หน่วยวั ด ร้อยละ
165 วิธีการวัดและการคํานวณ การคํานวณร้อยละของปริมาณมูลฝอยติดเชื้อจากแหล่งกําเนิด ตามกฎหมายได้รับการจัดการอย่างถูกต้องอ้างอิงจากการคํานวณโดยกรมอนามัย สามารถแสดงได้ดังนี้ ร้อยละของปริมาณมูลฝอยติดเชื้อจากแหล่งกําเนิดตามกฎหมายได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง = ( ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อจากแหล่งกําเนิดตามกฎหมายที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง / ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อ จากแหล่งกําเนิดตามกฎหมายทั้งหมด) × 100 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 4 9 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด มูลฝอยติดเชื้อได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ร้อยละ 100 (ร้อยละ) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อจากแหล่งกําเนิด ตามกฎหมายที่ได้รับการจัดการอย่าง ถูกต้อง กรมอนามัย สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูล , ระบบบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ( E - Manifest ) โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ รายงาน สถานการณ์มลพิษของ ประเทศไทยโดยกรมควบคุมมลพิษ ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อจากแหล่งกําเนิด ตามกฎหมายทั้งหมด แหล่งข้อมูล สธ . (กรม อ . ) ข้อมูลตัวชี้วัด กรมอนามัย กระ ทรวง สาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนบริหารจัดการมูลฝอย ติดเชื้อตามกฎหมายว่า ด้วยการสาธารณสุข ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ. 2559 - 2564 และแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 ( พ.ศ. 2565 – 2570 ) โดยบูรณาการความร่วมมือกับทุกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง กําหนดมาตรการหลักในการดําเนินงานและพร้อม ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตาม ด้วยการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ของประเทศ ส่งผลให้มูลฝอยติดเชื้อยังคงมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น โดยปริมาณมูลฝอยติดเชื้อทั้งหมดในปี พ.ศ. 256 5 เท่ากับ 110 , 427 ตัน ห รือประมาณ 302.5 ตันต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 256 4 ร้อยละ 22 . 68 ซึ่งได้รับการ จัดการอย่างถูกต้อง 110,096 ตันหรือคิดเป็นร้อยละ 99.7 ของปริมาณมูลฝอยติดเชื้อทั้งหมด สามารถแสดง ได้ดังตารางที่ ผ - 50 ตารางที่ ผ - 5 0 ร้อยละของปริมาณมูลฝอยติดเชื้อจากแหล่งกําเนิดตามกฎหมายได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 - 2564 ข้อมูล ปี พ.ศ. 2560 2561 2562 2563 2564 2565 ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อทั้งหมด ( ตัน) 57 , 954 55 , 497 53 , 173 47 , 962 90 , 009 110,427 ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อที่ได้รับการ จัดการอย่างถูกต้อง (ตัน) 51 , 300 49 , 898 49 , 462 47 , 440 81 , 772 110,096 ร้อยละของมูลฝอยติดเชื้อที่ได้รับ การจัดการอย่างถูกต้อง 88 . 52 89 . 91 93 . 02 98 . 91 90.85 99.70 ที่มา : กรมอนามัย. 2565. กระทรวงสาธารณสุข .
166 ตัวชี้วัด 4.7 มีการจัดทําแผนผังภูมินิเวศระดับภาคเพิ่มขึ้นอีก 1 ภาค (จํานวนภาค) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อให้ชุมชนเมืองและชุมชนชนบทของประเทศไทยมีการพัฒนาและจัดการสิ่งแวดล้อม ให้เป็นไปตามศักยภาพและความเหมาะสมทางภูมินิเวศ โดยตัวชี้วัดมีความสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (6) พื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ และแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนเพื่ อส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2563 - 2580 นิยาม มีการดําเนินการจัดทําแผนผังภูมินิเวศระดับภาคเพิ่มขึ้นอีก จํานวน 1 ภาค ภูมินิเวศ คือ รูปสัณฐาน สภาพ ระบบความสัมพันธ์ทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ของดิน แหล่งน้ํา อากาศ จนถึงพืชพรรณ สิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่เป้าหมายและพื้นที่ ข้างเคียง ซึ่งเป็นภูมินิเวศสิ่งแวดล้อม และคํานึงถึงพื้นที่อนุรักษ์ แหล่งโบราณคดี มรดกทางสถาปัตยกรรม อัตลักษณ์ แล ะวิถีชีวิตพื้นถิ่น ซึ่งเป็นภูมินิเวศวัฒนธรรม (นิยามจากโครงการแผนผังภูมินิเวศช่วยเมืองเปลี่ยนเพื่อเมือง น่า อยู่สู่โลกยั่งยืน โดยสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย) หรือหมายถึง ขอบเขตของภูมิประเทศที่แสดง ถึงความสัมพันธ์ของทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแ ปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ภูมิสังคมและระบบ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและกิจกรรมของมนุษย์ (นิยามจากโครงการจัดทําแผนผังภูมินิเวศเพื่อจัดการสิ่งแวดล้อม ชุมชนนิเวศ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) แผนผังภูมินิเวศ เป็นเครื่องมือทางยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ในกา รบริหารจัดการภาพรวมเมือง และ กระบวนการการสร้างความสมดุล และการบูรณาการระหว่างการอนุรักษ์และการพัฒนา มองทุกอย่างอย่างเป็นองค์รวม ตามศักยภาพของระบบนิเวศ สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมเชิงนิเวศอย่างเหมาะสม รวมทั้งการวางแผนการจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อมและจัดทําผังเมือง สามารถกํากับการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เกิดความสมดุลทางกายภาพ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมของเมือง บรรลุสู่การพัฒนาที่ครอบคลุม บริบทเมืองน่าอยู่ ชนบทมั่น คง เกษตรยั่งยืนและปลอดภัย อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และพื้นที่พิเศษเพื่อการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งโบราณคดี มรดกทางสถาปัตยกรรมและศิลปวัฒนธรรม อัตลักษณ์และวิถีชีวิต พื้นถิ่น โดยคํานึงถึงการรักษาฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การลดมลพิษ การใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพ การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสร้างและกระจายรายได้อย่างทั่วถึงอย่างเป็นธรรม ตลอดจน คํานึงถึงอัตลักษณ์ วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น โดยแผนผังภูมินิเวศจะตั้งอยู่บนฐานของระบบนิเวศและการมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วนบนผลประโยชน์ที่เกื้อกูลกัน เพื่ อคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน หน่วยวัด จํานวนภาค วิธีการวัดและการคํานวณ จํานวนแผนผังภูมินิเวศระดับภาค เพิ่มขึ้น 1 ภาค อ้างอิงจากการ ดําเนินการตัวชี้วัดตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (6) พื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ โดยมีเป้าหมาย คือ ประเทศไทยมีพื้นที่แผนผังภูมินิเวศ เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชนบทมั่นคง เกษตรยั่งยืน และอุตสาหกรรม เชิงนิเวศ รวมทั้งผังพื้นที่อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ แห่ลงโบราณคดีที่มีการกําหนดค่าเป้าหมายดังตารางที่ ผ – 51 ตารางที่ ผ - 51 ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายการจัดทําแผนผังภูมินิเวศระดับภาค พ.ศ. 2561 - 2580 ตาม แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็น ( 6 ) พื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย 2561 - 2565 2566 - 2570 2571 - 2575 2576 - 2580 แผนผังภูมินิเวศระดับภาค (จํานวน) มีแผนผังภูมินิเวศ 1 ภาค มีแผนผังภูมินิเวศ เพิ่มขึ้นอีก 1 ภาค มีแผนผังภูมินิเวศ เพิ่มขึ้นอีก 2 ภาค มีแผนผังภูมินิเวศ เพิ่มขึ้นอีก 2 ภาค
167 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 52 ข้อมูล ประกอบตัวชี้วัด มีการจัดทําแผนผังภูมินิเวศ ระดับภาค เพิ่มขึ้น 1 ภาค (จํานวนภาค) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม จํานวนแผนผังภูมินิเวศระดับภาค สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สํานักงานสภาพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ สมาคมสันนิบาต เทศบาลแห่งประเทศไทย สอบถามจากหน่วยงานที่ดูแล แหล่งข้อมูล ทส. (สผ.) ข้อมูลตัวชี้วัด ประเทศไทยได้มีการดําเนินการจัดทําแผนผังภูมินิเวศในพื้นที่ภาคเหนือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 - 2565 ซึ่งทางสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดําเนินโครงการจัดทําแผนผังภูมินิเวศแล้วเสร็จ โดยมีพื้นที่เป้าหมายเชิงผลผลิต 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชีย งราย แม่ฮ่องสอน น่าน พะเยา แพร่ ลําปาง ลําพูน และอุตรดิตถ์ ซึ่งผลการดําเนินการของโครงการดังกล่าว คือ แผนผังภูมินิเวศในพื้นที่ภาคเหนือ และแผนผัง ความเหมาะสมในการใช้พื้นที่ทางภูมินิเวศรายจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ทั้งนี้ สํานักงานนโยบายและทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจะมีการดําเนินการจัดทําแผนผังภูมินิเวศภาคกลาง ครอบคลุม 22 จังหวัดในระยะต่อไป ตัวชี้วัดต้องการผลักดันให้ชุมชนเมืองและชุมชนชนบทของประเทศไทยมีการพัฒนาและจัดการ สิ่งแวดล้อม ให้เป็นไปตามศักยภาพและความเหมาะสมทางภูมินิเวศ โดยการดําเนินงานจัดทําแผนผังภูมินิ เวศ ระดับภาคเป็นการดําเนินงานตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (6) พื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ มีการ ตั้งค่าเป้าหมายเมื่อสิ้นสุด ปี พ.ศ. 2570 ไว้ว่าประเทศไทยมีแผนผังภูมินิเวศระดับภาคเพิ่มขึ้นอีก 1 ภาค อย่างไรก็ตาม เมื่อสิ้นสุด ปี พ.ศ. 2580 ประเทศไทย จะมีแผนผังภูมินิเวศระดับภาคครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย ตัวชี้วัด 4.8 มีเ มืองต้นแบบที่พัฒนาบนพื้นฐานภูมินิเวศ อย่างน้อย 22 เมือง ( จํานวนเมือง) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินและการพัฒนาเมืองและชุมชนอย่างยั่งยืน โดยตัวชี้วัดมีความสอดคล้องกับแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน เพื่อส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2563 - 2580 นิยาม เมืองต้นแบบที่พัฒนาบนพื้นฐานภูมินิเวศเพิ่มขึ้น 1 . อนุรักษ์ และใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 2 . การลด ควบคุม จัดการของเสียและมลพิษ 3 . มีความสามารถในการป้องกันและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 4 . การส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการอยู่อาศัย และส่งเสริมเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม โดยแนวทางเมืองนิเวศสามารถส่งเสริมการวางแผนพัฒนาเมืองร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อครอบคลุมความยั่งยืนทั้ง 3 ระดับประกอบด้วย ความยั่งยืนของระบบนิเวศที่ตั้งถิ่นฐาน ความยั่งยืนของ เมือง หรือ กลุ่มเมือง และความยั่งยืนของคุ ณภาพชีวิตของประชากร หน่วยวัด จํานวนเมือง
168 วิธีการวัดและการคํานวณ จํานวนเมืองที่พัฒนาบนพื้นฐานภูมินิเวศ เพิ่มขึ้น 22 เมือง อ้างอิงจาก การดําเนินการตัวชี้วัดตามแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนเพื่อส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2563 - 2580 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 53 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด มีเมืองต้นแบบที่พัฒนาบนพื้นฐานภูมินิเวศเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 22 เมือง (จํานวนเมือง) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม เมืองต้นแบบที่พัฒนาบนพื้นฐาน ภูมินิเวศ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สอบถามจากหน่วยงาน ข้อมูลตัวชี้วัด สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะมีการดําเนินการเมืองต้นแบบ ที่พัฒนาบนพื้นที่ฐานภูมินิเวศและผลักดันแนวทางการบูรณาการ “ ภูมินิเวศ ” ร่วมกับแผนหรือโครงการที่ดําเนินการ อยู่เดิม โดยที่ผ่านมาได้มีการดําเนินการ เช่น 1. สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดทําแนวทางและรูปแบบ การพัฒนาเมืองและชุมชนตามแนวคิดต้นแบบเมืองนิเวศ ( Eco City) ในปี พ.ศ. 2561 - 2563 ทั้งหมด 3 เทศบาล ได้แก่ ( 1 ) เมืองนิเวศน้ําเชี่ยว จังหวัดตราด ต้นแบบเมืองนิเวศชายฝั่งทะเล ( 2 ) เมืองนิเวศนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ต้นแบบเมืองนิเวศที่ราบลุ่มแม่น้ํา ( 3 ) ชุมชนเชิงนิ เวศเมืองมาย จังหวัดลําปาง ต้นแบบเมืองนิเวศที่ราบและหุบเขา ภาคเหนือ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยู่ระหว่างพัฒนากลไก ขับเคลื่อนการ พัฒนาเมืองบนพื้นฐานภูมินิเวศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เมืองรูปแบบต่าง ๆ เช่น เมืองน่าอยู่ เมืองสิ่งแวดล้อม ยั่งยืน เมืองคาร์บอนต่ํา เมืองอัจฉริยะ เมืองสุขภาวะ เมืองกระชับ เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เมืองเกษตรสีเขียว ต้นแบบ ฯลฯ ซึ่งดําเนินการโดยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องนําเรื่องภูมิ นิเวศเข้าไปบูรณาการร่วมในการดําเนินงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาเมืองบนพื้นฐานภูมินิเวศต่อไป 2. สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดําเนินโครงการพัฒนาเมืองในอนาคต ให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน (Livable and Sustainable Future City : LSFC) ที่มีแนวทางสอดคล้องกับการพัฒนาเมือง บนพื้นฐานภูมินิเวศ ในปี พ.ศ. 2563 ได้ดําเนินการใน 2 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลนครลําปาง และเทศบาล เมืองสุโขทัยธานี ทั้งนี้ สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดทําแนวทางการวางแผน พัฒนาเมืองในอนาคตให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน ( LSFC Guideline ) เพื่อให้อง ค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถนําไป ดําเนินการจั ดทําแผนพัฒนาเมืองได้เองต่อไป 3. สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยได้ดําเนินโครงการแผนผังภูมินิเวศ ช่วยเมือง เปลี่ยนเพื่อเมืองน่าอยู่สู่โลกยั่งยืน เพื่อพัฒนาแผนผังภูมินิเวศบนฐานข้อมูลจริงของเมือง ที่จะช่วยให้ผู้บริหาร เมืองได้ทราบสถานภาพและประเด็นสําคัญที่เมืองต้ องพัฒนาในทุกมิติทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม - วัฒนธรรม โดยปี พ.ศ. 2562 - 2563 ได้ดําเนินการจัดฝึกอบรม “ แนวทางการจัดทําแผนผังภูมินิเวศ ” แก่เทศบาล นําร่องแล้ว 38 เทศบาล และจะได้ดําเนินการจัดทําแผนผังภูมินิเวศระดับเทศบาล ที่นําไปสู่การขับเคลื่อนเมือง ที่พัฒนาบนพื้นฐานภูมินิเวศต่อไป ทําให้มีแนวโน้มที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายในการมีเมืองต้นแบบที่พัฒนา บนพื้นฐานภูมินิเวศ อย่างน้อย 22 เมือง เมื่อสิ้นสุดการใช้แผน ฯ ( สํานักงานนโยบำยและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม . 2565 .) แหล่งข้อมูล ทส. (สผ.)
169 ตัวชี้วัด 4.9 มีพื้นที่สีเขียวสาธารณะในภาพรวมของประเทศ ไม่น้อยกว่า 10 ตารางเมตรต่อคน ( ตารางเมตรต่อคน) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มำ เพื่อสะท้อนถึงการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนผ่านประเด็นพื้นที่สีเขียว โดยตัวชี้วัด มีความสอดคล้องกับแผน แม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 18 การเติบโตอย่างยั่งยืน ในแผนย่อยการสร้า ง การเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว แผนการปฏิรูปประเทศ ด้านทรัพยา กรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับปรับปรุง) ส่วนที่ 2 ในกิจกรรมปฏิรูปที่ 1 เพิ่มและพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ตามเป้าหมาย แผนจัดการคุณภาพ สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 - 2565 และ แนวทางการขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน นิยาม มีพื้นที่สีเขียวสาธารณะในภาพรวมของประเทศที่ประชาชนสามารถเข้าถึงหรือใช้ บริการได้ต่อประชากร 1 คน มีค่าไม่น้อยกว่าค่าที่กําหนดไว้ สัดส่วนของพื้นที่สีเขียวสาธารณะต่อประชากร เป็นค่าสะท้อนว่าประชาชนสามำรถเข้าถึง พื้นที่สีเขียวสาธารณะได้มากแค่ไหน โดยพื้นที่สีเขียว หมายถึง พื้นที่ธรรมชาติหรือพื้นที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือ กําหนดขึ้นในเมืองหรือชุมชนปกคลุมด้วยพืชพรรณเป็นองค์ประกอบหลัก มีประโยชน์เพื่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ การดํารงชีวิตและคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งนี้ พื้นที่สีเขียวสาธารณะเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สีเขียว เนื่องจาก พื้นที่สีเขียวสามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ตามคุณลักษณะและการใช้ประโยชน์ อ้างอิงจากแนวทางการขับเคลื่อน การจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน โดยสํานักงานนโ ยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1 . พื้นที่สีเขียวสาธารณะ เช่น สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ สนามเด็กเล่น 2 . พื้นที่สีเขียวอรรถประโยชน์ (ที่มีรั้วรอบขอบชิด มีความเป็นเจ้าของ มีการใช้ประโยชน์หลากหลาย ตามบริบทของพื้นที่และความต้องการของเจ้าของ) ประกอบด้วย - พื้ นที่สีเขียวส่วนบุคคล เช่น สวนในโครงการพัฒนาของเอกชน สวนในบ้านและอาคารพักอาศัย - พื้นที่สีเขียวในสถาบัน เช่น พื้นที่สีเขียวที่เป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งประวัติศาสตร์ ในสถาบัน การศึกษา สถาบันราชการ - พื้นที่สีเขียวในพื้นที่สาธารณูปการ เช่น พื้นที่ฝังกลบขยะ พื้นที่รอบบ่อบําบัดน้ําเสีย เขต ท่าอากาศยาน 3 . พื้นที่สีเขียวที่เป็นริ้วยาวตามแนวสาธารณูปการ เช่น พื้นที่ริมทางสัญจรทางบก บริเวณริมทาง เกาะกลางถนน เขตทางรถไฟ และพื้นที่ริมทางสัญจรทางน้ํา บริเวณริมแม่น้ํา คลองชลประทาน 4 . พื้นที่สีเขียวเพื่อเศรษฐกิจของชุมชน เช่น พื้นที่สีเขียวที่เป็นแหล่งผลิตอาหารแก่ชุมชน ประเภท ไร่นา สวนผลไม้ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา 5 . พื้นที่สีเขียวธรรมชาติ เช่น พื้นที่สีเขียว บนเนินเขา พรุ แหล่งน้ํา พื้นที่ชุ่มน้ํา 6 . พื้นที่สีเขียวที่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์ หรือรอการพัฒนา เช่น พื้นที่สีเขียว ที่ปล่อยรกร้าง หน่วยวัด ตารางเมตรต่อคน วิธีการวัดและการคํานวณ การคํานวณสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวสาธารณะต่อประชากรอ้างอิง จากการคํานวณโดยสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถแสดงได้ดังนี้ สัดส่วนพื้นที่สีเขียวเพื่อการบริการสาธารณะต่อประชากร = พื้นที่สีเขียวเพื่อการบริการสาธารณะ ในภาพรวมทั้งประเทศ (ตาราง เมตร) / จํานวนประชากรทั้งประเทศ (คน)
170 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 54 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด มีพื้นที่สีเขียวเพื่อการบริการสาธารณะในภาพรวมของประเทศ ไม่น้อยกว่า 10 ตารางเมตรต่อคน ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม พื้นที่สีเขียวสาธารณะใน ภาพรวมทั้งประเทศ สํานักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ติดตามผลการดําเนินงานด้านพื้นที่สีเขียวจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือจากระบบฐานข้อมูล ด้านสิ่งแวดล้อมและพื้นที่สีเขียว ( Thai Green Urban: TGU) ที่พัฒนาโดยสํานักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( http://tgu.onep.go.th/) จํานวนประชากรทั้งประเทศ กรมการ ปกครอง ระบบสถิติทางการทะเบียน ( Official s tatistics r egistration s ystems ) : ประกาศจํานวน ประชากร ปี 2542 - 2564 ( https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statne w/statMenu/newStat/sumyear.php ) ข้อมูลตัวชี้วัด สัดส่วนพื้นที่สีเขียวเพื่อการบริการสาธารณะทั้งประเทศที่ประชาชนสามารถเข้าถึงหรือใช้บริการ ได้ต่อจํานวนประชากร 1 คน มีค่าไม่น้อยกว่าค่าที่กําหนดไว้ เป็นค่าสะท้อนว่าประชาชนสามารถเข้าถึงพื้นที่สีเขียว สาธารณะ ได้มากแค่ไหน โดย พื้นที่สีเขียวในเขตเมืองทั่วประเทศ เป็น ข้ อมูลจากระบบฐานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม และพื้นที่สีเขียว ( Thai Green Urban: TGU) และแบบฟอร์มการรายงานผลการดําเนินงานด้านพื้นที่สีเขียว พ.ศ. 2565 โดยสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า สัดส่วน พื้นที่สีเขียวสาธารณะต่อ ประชากรของเมืองพัทยา เป็น 4.27 ตารางเมตรต่อคน สําหรับเทศบาลนคร และเทศบาลเมืองมีค่าเฉลี่ยสัดส่วน พื้นที่สีเขียวสาธารณะต่อประชากรเท่ากับ 5.08 ตารางเมตรต่อคน และ 4.31 ตารางเมตรต่อคน ตามลําดับ ขณะที่ เทศบาลตําบลมีค่าเฉลี่ยสัดส่วนพื้นที่สีเขี ยวสาธารณะต่อประชากรเท่ากับ 8.59* ตารางเมตรต่อคน (*ค่าเฉลี่ย สัดส่วนพื้นที่สีเขียวสาธารณะต่อประชากร จากเทศบาลตําบล 650 แห่ง จาก 2 , 247 แห่ง) แหล่งข้อมูล ทส. ( สผ. ) ตัวชี้วัด 4.10 มีระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมที่มีประสิทธิภาพ คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมที่มีประสิทธิภาพ โดยตัวชี้วัดมีความสอดคล้องกับนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2580 และแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2580 โดยตัวชี้วัด “ มีระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมที่มีประสิทธิภาพ ” ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัดย่อย (บรรลุเป้าหมาย 3 ใน 4 ตัวชี้วัด จึงจะบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดหลักในแต่ละปี) ดังนี้
171 4.10 . 1 ร้อยละของแหล่งธรรมชาติมีผลการประเมินอยู่ในระดับดีตามเกณฑ์การรักษา คุณภาพสิ่ งแวดล้อมแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ( ร้อยละ) นิยาม แหล่งธรรมชาติมีผลการประเมินอยู่ในระดับดีตามเกณฑ์การรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์เพิ่มขึ้น แหล่งธรรมชาติที่ได้รับการประเมิน หมายถึง แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์และ แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น 4 ประเภท ได้แก่ น้ําตก ภูเขา ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรร ณา และถ้ํา โดยใช้เกณฑ์ ในการประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อม แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์รายประเภทที่สํานักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดทําขึ้นเป็นเครื่องมือในการติดตามการประเมินการเปลี่ยนแปลง เชิงคุณภาพของสิ่งแวดล้อมแหล่งธรรมชาติ หน่วยวัด ร้อยละ วิ ธีการวัดและการคํานวณ คํานวณตามเกณฑ์การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ 4 ประเภท ได้แก่ น้ําตก ภูเขา ถ้ํา และธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา โดยจะถูกประเมินเชิงคุณภาพโดยหน่วยงาน เจ้าของพื้นที่ เช่น องค์การบริหารส่วนตําบล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และวนอุทยาน ตามเกณฑ์ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติบนเว็บไซต์ naturalsite.onep.go.th เกณฑ์การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ หมายถึง ค่าเกณฑ์ที่แสดงถึงคุณภาพ ของสภาวะแวดล้อม ภายใต้แนวคิดที่ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาวะดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้ ระดับที่ยอมรับหรือกําหนดขึ้น ที่จะไม่ทําให้เกิดความเสื่อมโทรมของแหล่งธรรมชาติ ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1 . เกณฑ์ของแหล่งด้านองค์ประกอบของระบบนิเวศหรือสิ่งแวดล้อม 2 . เกณฑ์ของแหล่งด้านองค์ประกอบทางภูมิสถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรม 3 . เกณฑ์ของแหล่งด้านผลผลิตจากการบริการสิ่งแวดล้อม 4 . เกณฑ์ของแหล่งด้านการบริหารจัดการ โดยเกณฑ์การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้กําหนดไว้เป็น 3 ระดับดังนี้ 1) ระดับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับดี มี ค่าคะแนนอยู่ในช่วง 1 . 00 - 1 . 66 2) ระดับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง มี ค่าคะแนนอยู่ในช่วง 1 . 67 - 2 . 33 3) ระดับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับต่ํา (ผลกระทบสูง) มีค่าคะแนน อยู่ในช่วง 2 . 34 - 3 . 00 การคํานวณร้อยละของแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ตามเกณฑ์การรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ อ้างอิงจากการคํานวณโดยสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สามารถแสดงได้ดังนี้ ร้อยละของแหล่งธรรมชาติฯ ที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีตามเกณฑ์ฯ = (จํานวน แหล่งธรรมชาติที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีตามเกณฑ์ฯ / จํานวนแหล่งธรรมชาติที่ได้รับการประเมิน) × 100 โดยมีการกําหนดค่าเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2580 ไว้ว่าจะต้องมีการดําเนินการประเมินแหล่งธรรมชาติ ไม่ต่ํากว่า 200 แหล่งในแต่ละปี เพื่อให้ทราบสาเหตุของผลกระทบทั้งจากภัยธรรมชาติและการกระทําของ มนุษย์นํา มาพิจารณาและกําหนดเป็นแนวทางมาตรการแก้ไขได้ทันต่อสถานการณ์ โดยมีเป้าหมายในการรักษา สภาพสิ่งแวดล้อมให้มีการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และอยู่ในสภาพที่ไม่เสื่อมโทรมมีระดับของผลกระทบที่ ไม่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ เป็นการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับพื้นที่แหล่งไ ด้เป็นอย่างดี
172 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ย่อย ตาราง ที่ ผ - 5 5 ข้อมูล ประกอบตัวชี้วัด ย่อย ร้อยละของแหล่งธรรมชาติมีผลการประเมินอยู่ในระดับดีตามเกณฑ์ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (ร้อยละ) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ย่อย หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม จํานวนแหล่งธรรมชาติที่มีผล การประเมินอยู่ในระดับดีตาม เกณฑ์ฯ สํานักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รายงานผลการติดตามการประเมินคุณภาพ สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศของแหล่งธรรมชาติ อันควรอนุรักษ์ประเภทน้ําตก ภูเขา ถ้ํา และธรณี สัณฐานและภูมิลักษณวรรณา ( https://naturalsite.onep.go.th/document ) จํานวนแหล่งธรรมชาติที่ได้รับ การประเมิน ข้อมูลตัวชี้วัด ตาราง ที่ ผ - 5 6 เป้าหมาย ระยะ 5 ปีของการประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศของแหล่งธรรมชาติ อัน ควรอนุรักษ์ตามแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2580 ตัวชี้วัดย่อย (หน่วย) ปี พ.ศ . ปีฐาน 2562 2566 2567 2568 2569 2570 ร้อยละของแหล่งฯ อยู่ในระดับดี ร้อยละ 92.89 มากกว่า ร้อยละ 80 มากกว่า ร้อยละ 80 มากกว่า ร้อยละ 80 มากกว่า ร้อยละ 80 มากกว่า ร้อยละ 80 ที่มา : แผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2580 , สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4.10 . 2 จํานวนกลไกและ/หรือเครื่องมือในการบริหารจัดการแหล่งธรรมชาติและแหล่ง ศิลปกรรมตามหลักวิชาการเพิ่มขึ้นและ/หรือได้รับการปรับปรุงทบทวน ( จํานวน) นิยาม จํานวนกลไกและ/หรือเครื่องมือในการบริหารจัดการแหล่งธรรมชาติและ แหล่งศิลปกรรมตามหลักวิชาการเพิ่มขึ้นและ/หรือได้รับการปรับปรุงทบทวน สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ หมายถึง ธรรมชาติที่มีคุณค่าทางวิทยาการและสุนทรียภาพ ที่เกี่ยวข้อง เป็นสัณฐานที่สําคัญทางธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์ อันเป็นเอกลักษณ์หรือสัญลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น ๆ มีลักษณะพิเศษเฉพาะ คือ เมื่อถูกทําลายจะหมดสภาพไป ไม่สามารถฟื้นฟูคืนสภาพเดิมได้อีก เช่น เกาะ แก่ง ภูเขา ถ้ํา น้ําตก โป่งพุร้อน แหล่งน้ํา ชายหาด ซากดึกดําบรรพ์ (พืชและสัตว์) และธรณีสัณฐาน และภูมิลักษณวรรณา โดยประเภ ท ของแหล่งธรรมชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2552 สามารถแบ่งออกเป็น 10 ประเภท ได้แก่ 1 . แหล่งธรรมชาติประเภทชายหาด 2 . แหล่งธรรมชาติประเภทซากดึกดําบรรพ์ 3 . แหล่งธรรมชาติประเภทถ้ํา 4 . แหล่งธรรมชาติประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา 5 . แหล่งธรรมชาติประเภทน้ําตก 6 . แหล่งธรรมชาติประเภทภูเขา
173 7 . แหล่งธรรมชาติประเภทเกาะ 8 . แหล่งธรรมชาติประเภทแก่ง 9 . แหล่งธรรมชาติประเภทแหล่งน้ํา 10 . แหล่งธรรมชาติประเภทโป่งพุร้อน แหล่งศิลปกรรม หมายถึง พื้นที่หรือบริเวณพื้นที่ที่ประกอบด้วยอาคารสิ่งปลูกสร้าง ที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือประดิษฐ์ขึ้นในแต่ละยุคสมัย โดยประเภทแหล่งศิลปกรรม สามารถสรุปได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามลักษณะและองค์ประกอบ ทางกายภาพ ได้แก่ แหล่งศิลปกรรมเดี่ยวและแหล่งศิลปกรรมประ เภทกลุ่มอาคาร พื้นที่ หรือสภาพแวดล้อม และสามารถ จัดประเภทแหล่งศิลปกรรมได้เป็น 7 ประเภทย่อยดังนี้ 1 . อนุสาวรีย์ อนุสรณ์สถาน สถาน หลักเมือง ครอบคลุมแหล่งศิลปกรรมเดี่ยวที่มีขนาด ใหญ่โดดเด่นหรือมีความเป็นสัญลักษณ์ มีคุณค่าและความสําคัญทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปกรรม หรือความหมาย เป็นพิเศษ ตั้งอยู่ในศูนย์กลางของชุมชนเมือง เห็นได้จากระยะไกล เช่น พระปรางค์วัดอรุณ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พระปฐมเจดีย์ ทุ่งพ ระสุเมรุ (สนามหลวง) 2 . วัด วัดร้าง ศาสนสถาน ครอบคลุมแหล่งศิลปกรรมเดี่ยวประเภทศาสนสถาน ที่มี คุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ ร่วมกับลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรม ที่งดงาม มีความพิเศษ สมควรแก่การอนุรักษ์ ทั้งตัวแหล่งศิลปกรรมเองและบริเวณภูมิทัศน์โดยรอบ อาจตั้งอยู่เดี่ย ว ๆ หรือเกาะตัวเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หรือกระจายตัว อยู่ในเมืองหรือในชานเมืองและชนบท เช่น ศาลเจ้าแม่ทับทิม ศาลเจ้าพ่อเสือ วัดปทุมวนาราม วัดกัลยาณมิตร 3 . พิพิธภัณฑ์ สถาปัตยกรรม พระราชวัง ครอบคลุมแหล่งศิลปกรรมเดี่ยวที่มีคุณค่า ทางด้านสถาปัตยกรรม หรือศิลปะสถาปัตยกรรมเป็นพิเศษ บ่งบอกความสําคัญทางประวัติศาสตร์ หรือมี ลักษณะจําเพาะของยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ที่สําคัญ สมควรแก่การอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นมรดกของชาติ เช่น พิพิ ธภัณฑสถานแห่งชาติ กระทรวงกลาโหม ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี สถานีรถไฟบางปะอิน สะพานผ่านพิภพลีลา 4 . แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้วและยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ เตาเผาโบราณ ครอบคลุมแหล่งศิลปกรรมเดี่ยวที่มีคุณค่าทางด้านโบราณคดีเป็นพิเศษ เป็นแหล่งศิลปกรรมที่ไม่ได้ ใช้งาน คือ ไม่ได้มีการใช้งานตามหน้าที่เดิมแล้ว มีคุณค่าโดดเด่นในมิติทางประวัติศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ ชาติพันธุ์วิทยา หรือมานุษยวิทยา สมควรแก่การอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นมรดกของชาติ เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ปราสาทโนนกู่ จังหวัด นครราชสีมา เตาเผาโบราณ บ้านบ่อสวก จังหวัดน่าน 5 . ชุมชนโบราณ เมืองโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์ ครอบคลุมแหล่งศิลปกรรม ประเภทกลุ่มอาคาร พื้นที่หรือสภาพแวดล้อมที่มีลักษณะเป็นเมืองหรือบริเวณของเมือง หรือมีร่องรอยที่แสดง ว่าเคยเป็นตัวเมืองดั้งเดิมในสมัยหนึ่งและยังคงมีลักษณะเด่นประกอบด้วยโบ ราณสถาน มีคุณค่าทางด้าน ประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมหรือโบราณคดี โดยเป็นแหล่งศิลปกรรมที่ไม่ได้ใช้งาน คือ ไม่ได้มีการ ใช้งานตามหน้าที่เดิมแล้วมีขอบเขตชัดเจน แหล่งศิลปกรรมประเภทนี้มักมีปัญหาบริเวณชายขอบที่ติดต่อกับ เมืองปัจจุบัน เนื่องจากการเจริญเติบโตและ การเปลี่ยนแปลงของเมืองที่ล้อมรอบ เช่น เมืองโบราณเวียงกุมกาม อุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 6 . เมืองเก่า เมืองประวัติศาสตร์ ครอบคลุมแหล่งศิลปกรรมประเภทกลุ่มอาคาร พื้นที่ หรือสภาพแวดล้อม ที่มีลักษณะเป็นเมืองหรือบริเวณของเมือง ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะแห่ง สืบต่อมา แต่กาลก่อน หรือมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่ น หรือมีลักษณะจําเพาะของสมัยหนึ่ง ในประวัติศาสตร์ เคยเป็นตัวเมืองดั้งเดิมในสมัยหนึ่งและยังคงมีลักษณะเด่นประกอบด้วยโบราณสถานมีรูปแบบ ผสมผสานสถาปัตยกรรมท้องถิ่นหรือมีลักษณ ะเป็นรูปแบบวิวัฒนาการทางสังคมที่สืบต่อมาในยุคต่าง ๆ โดยมี ลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของเมืองปัจจุบัน กล่าวคือมีกิจกรรมของเมืองปัจจุบันทับซ้อนบนพื้นที่เมืองเก่า แหล่งศิลปกรรม ประเภทนี้มีลักษณะทางกายภาพแสดงถึงอัตลักษณ์ชัดเจน และแม้ว่าจะได้รับการอนุรักษ์หรือคุ้มครองอย่ำงเป็น
174 ทางการแต่ก็เป็นเพียงบางส่วน โดยมากมักถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงของย่านในเมืองปัจจุบันที่อยู่ติดกัน เช่น เมืองเก่าเพชรบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ 7 . ย่านชุมชนเก่า ครอบคลุมแหล่งศิลปกรรมประเภทกลุ่มอาคาร พื้นที่ หรือสภาพแวดล้อม ที่แสดงออกถึงลักษณะของการตั้งถิ่นฐานที่แตกต่างกันตามบริบทแวดล้อม ทั้งที่เป็นเมืองหรือในพื้นที่ชนบท มีพัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานดังกล่าวต่อเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งประจักษ์ได้จากทั้งสภาพทางกายภาพ ที่โดดเด่น ลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์แวดล้อม และสภาพทางสังคมวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ประเพณี และกิจกรรมของชุมชน มีลักษณะทางกายภาพที่คงความเป็นเอกลักษณ์หรือมีอัตลักษณ์ที่เกิด จากวิถีชีวิต แม้ลักษณะทางกายภาพจะไม่แสดงออกชัดเจนถึงคุณค่าทางศิลปะสถาปัตยกรรม แต่การรวมกลุ่มของอาคาร จํานวนมากที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตชุมชนที่มีความเป็นมายาวนาน มีเสน่ห์และ ความสวยงามอย่างไม่จงใจสร้างสรรค์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม เช่น เมืองอัมพวา และเมืองปาย หน่วยวัด จํานวนเครื่องมือ/กลไกที่เพิ่มขึ้น หรือ ได้รับการปรับปรุง ทบทวน วิธีการวัดและการคํานวณ กลไกและ/หรือเครื่องมือในการบริหารจัดการแหล่งธรรมชาติ และแหล่งศิลปกรรมตามหลักวิชาการที่จัดทําเพิ่มขึ้นจากที่กําหนดไว้ในปีฐานและ/หรือ กลไกและ/หรือเครื่องมือ ที่ระบุไว้ในปีฐานได้รับการปรับปรุง ทบทวน อ้างอิงจากการดําเนินการโดย สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมตามแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2580 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ย่อย ตาราง ที่ ผ - 5 7 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัดย่อย จํานวนกลไกและ/หรือเครื่องมือในการบริหารจัดการแหล่งธรรมชาติ และแหล่งศิลปกรรมตามหลักวิชาการเพิ่มขึ้นและ/หรือได้รับการปรับปรุงทบทวน ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ย่อย หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม กลไกและ/หรือเครื่องมือในการบริหาร จัดการแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม ตามหลักวิชาการที่จัดทําเพิ่มขึ้นและ/หรือ ได้รับการปรับปรุงทบทวน สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สอบถามจากหน่วยงานติดตาม ข้อมูล ข้อมูลตัวชี้วัด สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการจัดทํา ทบทวน และปรับปรุงกลไกและเครื่องมือในการบริหารจัดการแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรมตามหลักวิชาการ ในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งกําหนดไว้เป็นปีฐานของการดําเนินการในระยะต่อไป จํานวนทั้งสิ้น 16 แบบ ดัง ตารางที่ ผ – 5 3
175 ตารางที่ ผ - 5 8 กลไกและเครื่องมือในการบริหารจัดการแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรมตามหลักวิชาการ ปี พ.ศ. 2565 กลไก/เครื่องมือ ข้อมูล กลไก 1. คณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม 2. คณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมประจําจังหวัด 3. คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า 4. คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพิจารณาแผนการดําเนินงานในกรุงรัตนโกสินทร์ 5. ค ณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพิจารณาแผนการดําเนินงานในพื้นที่เมืองเก่า 6. คณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า รายเมือง 36 เมือง 7. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก 8. เครือข่ายหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น 76 จังหวัด รว ม 8 กลไก เครื่องมือ 1. แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมเพื่อลดผลกระทบด้านภูมิทัศน์ 2. มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ประเภทย่านชุมชนเก่า 3. นโยบายและยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านชุมชนเก่า 4. แผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ 5. แผนแม่บท แผนปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่า ในจังหวัดต่าง ๆ 6. แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลก 7. แผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมแห่งชาติ ระยะ 15 ปี (พ.ศ. 256 6 - 2580) 8. เกณฑ์การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแหล่งธรรมชาติรายประเภท (ประเภทธรณีสัณฐานและ ภูมิลักษณวรรณา ภูเขา น้ําตก และถ้ํา) รวม 8 เครื่องมือ ที่มา : สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม . 2565 . 4.10 . 3 จํานวนพื้นที่ที่มีการบริหารจัดการแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรมตาม หลักวิชาการเพิ่มขึ้น ( จํานวน) นิยาม พื้นที่ที่มีการบริหารจัดการแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรมตามหลักวิชาการ เพิ่มขึ้นตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม แหล่งธรรมชาติ และแหล่งศิลปกรรมตามหลักวิชาการ หมายถึง การดําเนินการบริหารจัดการตามหลักการและแนวทางที่ได้ศึกษาและกําหนด เช่น การคว บคุมสภาพแวดล้อม ที่อยู่ในเขตธรรมชาติและศิลปกรรมอย่างเหมาะสมตามระดับความเข้มงวดในการควบคุม 5 ระดับ การดําเนินงานตาม แผนขับเคลื่อนงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในระดับจังหวัด ตามที่กําหนดในคู่มือการดําเนินการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในระดั บจังหวัด การดําเนินงานในพื้นที่ของแหล่งมรดกโลกหรือ อุทยาน ประวัติศาสตร์ของกรมศิลปากร การจัดทําแผน มาตรการในพื้นที่แหล่งมรดกโลก หน่วยวัด จํานวน วิธีการวัดและการคํานวณ พื้นที่ที่มีการบริหารจัดการแหล่งธรรมชาติและแหล่ง ศิลปกรรม ตามหลักวิชาการเพิ่มขึ้น อ้างอิงสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตาม แผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2580 ดังนี้
176 1 . ผัง/แผนพื้นที่อนุรักษ์แหล่งศิลปกรรม ประเภทย่านชุมชนเก่า 80 ย่าน 2 . ผังและแผนการบริหารจัดการโป่งพุร้อน 2 พื้นที่ ผังและแผนฯ แหล่งธรรมชาติฯ 3 พื้นที่ 3 . ผัง/แผนอนุรักษ์แหล่งมรดกในพื้นที่เมืองเก่า ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ย่อย ตารางที่ ผ - 5 9 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัดย่อย จํานวนพื้นที่ที่มีการบริหารจัดการแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม ตามหลักวิชาการเพิ่มขึ้น (จํานวน) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ย่อย หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม พื้นที่ที่มีการบริหารจัดการแหล่ง ธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรมตาม หลักวิชาการ สํานักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูล ข้อมูลตัวชี้วัด ในส่วนของพื้นที่ที่มีการบริหารจัดการแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรมตามหลัก วิชาการเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ในส่วนรับผิดชอบของสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้มีวางกรอบเป้าหมายระยะ 5 ปีของการประเมินพื้นที่ที่มีการบริหารจัดการแหล่งธรรมชาติ และแหล่งศิลปกรรมตามหลักวิชาการเพิ่มขึ้น ไว้ดังตารางที่ ผ – 60 ตารางที่ ผ - 60 เป้าหมายระยะ 5 ปีของการติดตามพื้นที่ที่มีการบริหารจัดการแหล่งธรรมชาติและแหล่ง ศิลปกรรม ตามหลักวิชาการ ตามแผนปฏิบัติการด้านสิ่ งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศิลปกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2566 – 2580 ข้อมูล ปี พ.ศ. ปีฐาน 2563 - 2565 2566 2567 2568 2569 2570 จํานวน (พื้นที่ที่มีแผน/ ผังพื้นที่เพิ่มขึ้น) 150 ย่าน 1 พื้นที่ 10 พื้นที่ 10 พื้นที่ 20 พื้นที่ 20 พื้นที่ 20 พื้นที่ - สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม (ย่านชุมชนเก่า/เมือง เก่า/มรดกโลก) ผัง/แผนพื้นที่ อนุรักษ์ 150 พื้นที่ ผัง/แผนพื้นที่ อนุรักษ์ 10 พื้นที่ ผัง/แผน พื้นที่ อนุรักษ์ 10 พื้นที่ ผัง/แผน พื้นที่ อนุรักษ์ 20 พื้นที่ ผัง/แผน พื้นที่ อนุรักษ์ 20 พื้นที่ ผัง/แผน พื้นที่อนุรักษ์ 20 พื้นที่ - สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ ผังและแผนการ บริหารจัดการพื้นที่ สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติน้ําตก ธารารักษ์ ผังและ แผนการ บริหารจัดการ โป่งพุร้อน 1 พื้นที่ ผังและแผนฯ แหล่ง ธรรมชาติ 1 พื้นที่ ผังและแผนฯ แหล่ง ธรรมชาติฯ 1 พื้นที่ ผังและแผนฯ แห ล่ง ธรรมชาติฯ 1 พื้นที่ ผังและแผนฯ แหล่ง ธรรมชาติฯ 1 พื้นที่ ที่มา : สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม . 2565 .
177 4.10 . 4 ฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ได้รับการปรับปรุง หรือพัฒนาให้ เป็นปัจจุบัน สามารถใช้ประกอบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 100 ( ร้อยละ) นิยา ม ฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมได้รับการปรับปรุง หรือพัฒนา ให้เป็นปัจจุบัน สามารถใช้ประกอบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมได้อย่ำงมีประสิทธิภาพ หน่วยวัด ร้อยละ วิธีการวัดและการคํานวณ การคํานวณร้อยละของฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และศิลปกรรมที่ได้รับการปรับปรุง หรือพัฒนาให้เป็นปัจจุบัน อ้างอิงจากการคํานวณโดยสํานักงานนโยบายและ แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถแสดงได้ดังนี้ ร้อยละของฐานข้อมูลแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมที่ได้รับการปรับปรุง หรือพัฒนาให้เป็นปัจจุบัน = (จํานวนฐานข้อมูลแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมที่ได้รับการป รับปรุง หรือ พัฒนาให้เป็นปัจจุบัน / จํานวนฐานข้อมูลแหล่ ง สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมทั้งหมด) × 100 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ย่อย ตารางที่ ผ - 6 1 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัดย่อย ฐานข้อมูลแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ได้รับการปรับปรุง หรือพัฒนาให้เป็นปัจจุบัน สามารถใช้ประกอบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและ ศิลปกรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพร้อยละ 100 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ย่อย หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม ฐานข้อมูลแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ได้รับ การปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นปัจจุบัน สํานักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม สอบถามจากหน่วยงาน ติดตามข้อมูล ฐานข้อมูลแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมทั้งหมด ข้อมูลตัวชี้วัด ในปี พ.ศ. 2565 จํานวนฐานข้อมูลแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศิลปกรรม มีทั้งสิ้น 4 ฐาน ประกอบด้วย ( 1 ) ฐานข้อมูลแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ( 2 ) ฐานข้อมูลแหล่งสิ่งแวดล้อม ศิลปกรรม ( 3 ) ฐานข้อมูลแหล่งมรดกโลก และ ( 4 ) ฐานข้อมูลกรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า โดย สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีวางกรอบ เป้าหมายระยะ 5 ปีของการติดตามฐานข้อมูลแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ได้รับการ ปรับปรุงหรือพัฒนาให้ เป็นปัจจุบัน สามารถใช้ประกอบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไว้ดัง ตารางที่ ผ – 62
178 ตารางที่ ผ - 62 เป้าหมายระยะ 5 ปีของการติดตามฐานข้อมูลแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศิลปกรรม ได้รับการปรับปรุง หรือ พัฒนาให้เป็นปัจจุบัน สามารถใช้ประกอบการบริหารจัดการ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2580 ข้อมูล ปี พ.ศ. ปีฐาน 2565 2566 2567 2568 2569 2570 ร้อยละของฐานข้อมูล สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและ ศิลปกรรม ที่มีการปรับปรุง หรือพัฒนาให้เป็นปัจจุบัน ร้อยละ 100 ร้อยละ 100 ร้อยละ 100 ร้อยละ 100 ร้อยละ 100 ร้อยละ 100 จํานวนฐานข้อมูลฯ ที่มีการ ปรับปรุงหรือพัฒนาให้เป็น ปัจจุบัน* 4 ฐาน ไม่ต่ํากว่า 4 ฐาน ไม่ต่ํากว่า 4 ฐาน ไม่ต่ํากว่า 4 ฐาน ไม่ต่ํากว่า 4 ฐาน ไม่ต่ํากว่า 4 ฐาน ที่มา: สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2565. แหล่งข้อมูล ทส. ( สผ. )
179 ยุทธศาสตร์ที่ 5 การยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัด 5.1 การบริโภควัสดุในประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมีปริมาณลดลง (กิโลกรัมต่อดอลลาร์ สหรัฐ) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อสะท้อนการดําเนินการขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนของประเทศ โดยผลักดันการบริโภคภายในประเทศให้ยั่งยืน ซึ่งตัวชี้วัดมีความสอดคล้องกับตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืน ( SDG ) เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน SDG 12.2.2 เพื่อตอบเป้าหมายย่อย ที่ 12.2 บรรลุการจัดการที่ยั่งยืน และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ภายในปี พ.ศ. 2573 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ( พ.ศ. 2566 - 2570 ) ในหมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ํา นิยาม การบริโภควัสดุในประเทศใน 4 ประเภทวัสดุ (ชีวมวล เชื้อเพลิงฟอสซิล แร่โลหะ และ แร่อโลหะ) ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศลดลง เป็นการแสดงถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มากขึ้นโดยอาศัยการใช้ วัสดุในการสร้างสินค้าและบริการน้อยลง หน่วยวัด กิโลกรัมต่อดอลลาร์สหรัฐ วิธีการวัดและ การ คํานวณ การคํานวณสัดส่วนของการบริโภควัสดุในประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม ในประเทศ อ้างอิงจากการดําเนินงานของตัวชี้วัด SDG 12.2.2 Domestic material consumption, domestic material consumption per capita, and domestic material consumption per GDP เพื่อตอบเป้าหมายย่อย ที่ 12.2 บรรลุการจัดการที่ยั่งยืน และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมี ประสิทธิภาพภายในปี พ.ศ. 2573 ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน สามารถแสดงได้ดังนี้ การบริโภควัสดุในประเทศ ( Domestic Material Consumption: DMC) = วัตถุดิบนําเข้าโดยตรง ( Direct import of raw materials: IM) + ข้อมูลการผลิตภายในประเทศ ( Domestic extraction: DE) - วัตถุดิบ ส่งออกโดยตรง ( Direct export of raw materials: EX) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 63 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด การบริโภควัสดุในประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเ ทศมีปริมาณ ลดลง (กิโลกรัมต่อดอลลาร์สหรัฐ) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม การบริโภควัสดุ ในประเทศ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และสถาบันเทคโนโลยีและ สารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สวทช. สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูล ผลิตภัณฑ์มวลรวม ในประเทศ สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูลหรือติดตาม ผ่านช่องทางรายงานสถิติผลิตภัณฑ์มวลรวม ในประเท ศ โดยสํานักงานสภาพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ( https://www.nesdc.go.th/main.php?filena me=qgdp_page )
180 ข้อจํากัด การบริโภควัสดุในประเทศในเบื้องต้นจะประเมินเพียง 4 ประเภทวัสดุ ได้แก่ ชีวมวล เชื้อเพลิงฟอสซิล แร่โลหะ และแร่อโลหะ แหล่งข้อมูล ทส. ( สผ. ) ข้อมูลตัวชี้วัด การบริโภควัสดุในประเทศ ( Domestic Material Consumption: DMC) ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม ใน ประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) แสดงถึง การเติบโตทางเศรษฐกิจต้องอาศัยการใช้วัสดุ ในการสร้างสินค้าและบริการมากน้อยเพียงใด โดยข้อมูลการดําเนินงานการบริโภควัสดุในประเทศต่อผลิตภัณฑ์ มวลรวม ใน ประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 - 256 3 จากสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืน แสดงได้ดังตารางที่ ผ - 64 ตารางที่ ผ - 64 ข้อมูลการดําเนินงานการบริโภควัสดุในประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม ใน ประเทศ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2560 - 2563 ข้อมูล ปี พ.ศ. 2560 2561 2562 2563 การบริโภควัสดุในประเทศ (ตัน) 598 , 914 , 776 606 , 718 , 352 579 , 808 , 984 585 , 951 , 144 การบริโภควัสดุในประเทศต่อ ผลิตภัณฑ์มวลรวม ใน ประเทศ (กิโลกรัมต่อดอลลาร์สหรัฐ) 1 . 97 1 . 81 1 . 65 1 . 80 ที่มา : สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. 2565 . ตัวชี้วัด 5.2 มีจังหวัด/พื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 39 จังหวัด 54 พื้นที่ (จํานวนจังหวัด/พื้นที่) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อสะท้อนถึงการดําเนินการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและ การดําเนินการที่สอดคล้องกับนโยบาย ( Bio - Circular - Green Economy : BCG) โดยตัวชี้วัดมีความสอดคล้อง กับ เป้าหมายของ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการ พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (พ.ศ. 2566 - 2570) รวมทั้งประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กําหนดพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเ วศ ระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565 และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กําหนดพื้นที่เมืองอุตสาหกรรม เชิงนิเวศ ระยะที่ 3 พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565 นิยาม มีพื้นที่ที่ได้รับการผลักดันเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศตามค่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยเป็นพื้นที่ที่มีการดําเนินการสอดคล้องตามข้อกําหนดพื้นฐาน จํานวน 12 ข้อ ที่ครอบคลุมทั้ง 5 มิติ ได้แก่ มิติกายภาพ มิติเศรษฐกิจ มิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติบริหารจัดการ ตาม ที่ได้กําหนดไว้ในเกณฑ์ ข้อกําหนดเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ. 2565 กรมโรงงานอุตสาหกรรม หน่วยวัด จํานวนจังหวัด/พื้นที่ วิธีการวัดและ การ คํานวณ การจะเข้าสู่การเป็นพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจะต้อง มีการดําเนินการสอดคล้องตามข้อกําหนดพื้นฐาน จํานวน 12 ข้อ ที่ครอบคลุมทั้ง 5 มิติ (อ้างอิงจาก เกณฑ์ข้อกําหนดเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ. 2565 กรมโรงงานอุตสาหกรรม) ก่อนที่
181 จะมีการผ่านข้อกําห นดทั่วไป 23 ข้อ และข้อกําหนดเฉพาะ 6 ข้อ ตามแต่ละขั้นตอนการพัฒนาเข้าสู่ เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศทั้ง 5 ระดับ การคํานวณจํานวนพื้ นที่ ที่ ได้รับการผลักดันเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ อ้างอิงจาก การดําเนินงานของกรมโรงงานอุตสาหกรรมตาม (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนา เมืองอุตสาหกรรม เชิงนิเวศ (พ.ศ. 2566 - 2570) จํานวน 39 จังหวัด 54 พื้นที่ สามารถแสดงได้ดังนี้ ( 1 ) การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 1 เป้าหมาย 15 จังหวัด 18 พื้นที่ ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับที่ 5 เมืองน่าอยู่ คู่อุตสาหกรรม ( 2 ) การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 2 เป้าหมาย 11 จังหวัดเดิม และ 4 จังหวัดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ( Special Economic Zone: SEZ) ( จังหวัดมุกดาหาร สระแก้ว ตาก และตราด ) รวม 15 พื้นที่ใหม่ ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับที่ 3 ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร ( 3 ) การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 3 เป้าหมาย 20 จังหวัดใหม่ 2 1 พื้นที่ ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับที่ 1 การมีส่วนร่วม เป็นอย่างน้อย ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 6 5 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด มีจังหวัด/พื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 39 จังหวัด 54 พื้นที่ (จํานวนจังหวัด/พื้นที่) ข้อจํากัด พื้นที่ที่ได้รับการผลักดันเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ภายในปี พ.ศ. 2570 จะต้องบรรลุจํานวน 39 จังหวัด 53 พื้นที่ แหล่งข้อมูล อก. ( กรอ. ) ข้อมูลตัวชี้วัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ดําเนินโครงการพัฒนาและยกระดับ เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสู่เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน เพื่อส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา และยกระดับพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จํานวน 15 จังหวัด 18 พื้นที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม มีการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ภายใน ปี พ.ศ. 2570 จํานวน 39 จังหวัด 5 4 พื้นที่ดังนี้ (1) การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 1 เป้าหมาย 15 จังหวัด 18 พื้นที่ ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับที่ 5 เมืองน่าอยู่ คู่ อุตสาหกรรม โดยข้อมูลกลุ่ มจังหวัดการพัฒนาเมือง อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 1 ใน 15 จังหวัด 18 พื้นที่ สามารถแสดงได้ดังตารางที่ ผ – 6 6 ตารางที่ ผ - 6 6 กลุ่มจังหวัดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 1 ใน 15 จังหวัด 18 พื้นที่ พื้นที่ จังหวัด พื้นที่ 1 สมุทรปราการ เทศบาลตําบลบางปู (ครอบคลุมพื้นที่ตําบลบางปู ตําบลบางปูใหม่ ตําบลท้ายบ้าน และ ตําบลท้ายบ้านใหม่) 2 ปราจีนบุรี ตําบลวังดาล ตําบลนนทรี ตําบลนาแขม และตําบลกบินทร์บุรี อําเภอกบินทร์บุรี 3 ฉะเชิงเทรา ตําบลแปลงยาว และตําบลหัวสาโรง อําเภอแปลงยาว ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม จํานวนพื้นที่ที่ได้รับการผลักดันเป็นเมือง อุตสาหกรรมเชิงนิเวศในระดับต่าง ๆ กรมโรงงานอุตสาหกรรม สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูล
182 พื้นที่ จังหวัด พื้นที่ 4 ระยอง ตําบลตะพง ตําบลบ้านแลง และตําบลเชิงเนิน อําเภอเมืองระยอง 5 ระยอง เขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด ประกอบด้วย ตําบลมาบตาพุด ตําบลเนินพระ ตําบลห้วยโป่ง ตําบลทับมา อําเภอเมือง ตําบลมาบช่า อําเภอนิคมพัฒนา ตําบลบ้านฉาง อําเภอบ้านฉาง 6 ชลบุรี เทศบาลนครแหลมฉบัง และเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อําเภอศรีราชา 7 สมุทรสาคร เทศบาลนครอ้อมน้อย อําเภอกระทุ่มแบน 8 นครปฐม เขตผังเมืองรวมอ้อมใหญ่ ประกอบด้วย ตําบลท่าข้าม ตําบลบางกระทึก ตําบลไร่ขิง ตําบลท่าตลาด ตําบลกระทุ่มล้ม ตําบลยายชา ตําบลบ้านใหม่ ตําบลอ้อมใหญ่ อําเภอสามพราน 9 ปทุมธานี ตําบลบางกะดี อําเภอเมืองปทุมธานี 10 ปทุมธานี ตําบลระแหง ตําบลลาดหลุมแก้ว ตําบลคูบางหลวง ตําบลคูขวาง ตําบลหน้าไม้ อําเภอลาดหลุมแก้ว 11 ราชบุรี เทศบาลเมืองบ้านโป่ง เทศบาลเมืองท่าผา เทศบาลตําบลเบิกไพร และตําบลปากแรต อําเภอบ้านโป่ง 12 พระนครศรีอยุธยา อําเภอนครหลวง 13 สระบุรี ตําบลหน้าพระลาน อําเภอเฉลิมพระเกียรติ และตําบลเขาวง อําเภอพระพุทธบาท 14 ขอนแก่น เทศบาลตําบลน้ําพอง เทศบาลตําบลลําน้ําพอง เทศบาลตําบลม่วงหวาน เทศบาลตําบลกุดน้ําใส อําเภอน้ําพอง 15 สงขลา ตําบลฉลุง อําเภอหาดใหญ่ 16 สงขลา ตําบลสะเดา ตําบลปริก ตําบลพังลา ตําบลสํานักแต้ว ตําบลสํานักขาม ตําบลปาดังเบซาร์ อําเภอสะเดา ตําบลพะตง ตําบลบ้านพรุ อําเภอหาดใหญ่ 17 สุราษฎร์ธานี ตําบลท่าโรงช้าง ตําบลท่าสะท้อน ตําบลเขาหัวควาย และตําบลบางมะเดื่อ อําเภอพุนพิน 18 นครราชสีมา ตําบลสีคิ้ว ตําบลลาดบัวขาว ตําบลมิตรภาพ ตําบลกุดน้อย และ ตําบลหนองหญ้าขาว อําเภอสีคิ้ว ที่มา : กองพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม . 2565 . ข้อมูลผลการประเมินความเป็นเมืองอุตสาหกรรมนิเวศในระดับต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2561 - 2565 สามารถแสดงได้ดังตารางที่ ผ – 6 7 ตารางที่ ผ - 6 7 ผลการประเมินความเป็นเมืองอุตสาหกรรมนิเวศ ปี พ.ศ. 2561 - 256 5 ระดับ ปี พ.ศ. 2561 2562 2563 2564 2565 ระดับที่ 1 การมีส่วนร่วม 16 - - - - ระดับที่ 2 การส่งเสริม 1 16 13 9 - ระดับที่ 3 ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร - - 2 5 14 ระดับที่ 4 การพึ่งพาอาศัย - 2 3 4 4 ระดับที่ 5 เมืองน่าอยู่คู่อุตสาหกรรม - - - - - รวม (พื้นที่) 18 * มี 1 พื้นที่ ไม่ผ่านเกณฑ์ 18 18 18 18 ที่มา : ศูนย์พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม . 2565.
183 ( 2 ) การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 2 เป้าหมาย 11 จังหวัดเดิม และ 4 จังหวัด SEZ ( จังหวัดมุกดาหาร สระแก้ว ตาก และตราด) รวม 15 พื้นที่ใหม่ ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับที่ 3 ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร โดยข้อมูลกลุ่มจังหวัดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 2 สามารถแสดงได้ดังตารางที่ ผ - 6 8 ตารางที่ ผ - 6 8 กลุ่มจังหวัดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 2 ใน 11 จังหวัดเดิม และ 4 จังหวัด SEZ พื้นที่ จังหวัด พื้นที่ 1 ระยอง ตําบลหนองละลอก อําเภอบ้านค่าย 2 ชลบุรี ตําบลเขาซก อําเภอหนองใหญ่ 3 ฉะเชิงเทรา ตําบลท่าสะอ้าน อําเภอบางประกง 4 สมุทรสาคร ตําบลโคกขาม อําเภอเมืองสมุทรสาคร 5 นครปฐม ตําบลขุนแก้ว อําเภอนครชัยศรี 6 ราชบุรี ตําบลกรับใหญ่ อําเภอบ้านโป่ง 7 ปทุมธานี ตําบลบึงยี่โถ อําเภอธัญบุรี 8 ปราจีนบุรี ตําบลท่าตูม ตําบลศรีมหาโพธิ ตําบลหนองโพรง และตําบลหัวหว้า อําเภอศรีมหาโพธิ 9 พระนครศรีอยุธยา ตําบลบ้านหว้า อําเภอบางปะอิน 10 สระบุรี ตําบลหนองปลิง อําเภอหนองแค 11 นครราชสีมา ตําบลนากลาง อําเภอสูงเนิน 12 มุกดาหาร ตําบลคําป่าหลาย และตําบลบางทรายใหญ่ อําเภอเมืองมุกดาหาร 13 สระแก้ว ตําบลห้วยโจด อําเภอวัฒนานคร 14 ตาก ตําบลแม่กาษา อําเภอแม่สอด 15 ตราด ตําบลคลองใหญ่ อําเภอคลองใหญ่ ที่มา : กองพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. 2565 . ( 3 ) การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 3 เป้าหมาย 20 จังหวัดใหม่ 2 1 พื้นที่ ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับที่ 1 การมีส่วนร่วม เป็นอย่างน้อย โดยข้อมูลกลุ่ มจังหวัดการพัฒนา เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 3 ใน 20 จังหวัดใหม่ สามารถแสดงได้ดังตารางที่ ผ - 6 9 ตารางที่ ผ - 6 9 กลุ่มจังหวัดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 3 ใน 20 จังหวัดใหม่ พื้นที่ จังหวัด พื้นที่ 1 เชียงราย ตําบลเวียงชัย และตําบลผางาม อําเภอเวียงชัย 2 เชียงใหม่ ตําบลแม่แฝก อําเภอสันทราย 3 ลําพูน ตําบลบ้านกลาง อําเภอเมืองลําพูน 4 ลําปาง ตําบลแม่เมาะ อําเภอแม่เมาะ 5 พิษณุโลก ตําบลดอนทอง และตําบลบ้านป่า อําเภอเมืองพิษณุโลก 6 กําแพงเพชร ตําบลคลองขลุง และตําบลแม่ลาด อําเภอคลองขลุง 7 นครสวรรค์ ตําบลหนองโพ อําเภอตาคลี 8 สุพรรณบุรี ตําบลหนองมะค่าโมง อําเภอด่านช้าง 9 กาญจนบุรี ตําบลวังศาลา อําเภอท่าม่วง 10 ลพบุรี ตําบลช่องสาริกา อําเภอพัฒนานิคม
184 พื้นที่ จังหวัด พื้นที่ 11 อุดรธานี ตําบลปะโค อําเภอกุมภวาปี 12 ชัยภูมิ ตําบลโคกสะอาด อําเภอภูเขียว 13 บุรีรัมย์ ตําบลหินเหล็กไฟ อําเภอคูเมือง 14 อุบลราชธานี ตําบลทุ่งเทิง และตําบลนากระแซง อําเภอเดชอุดม 15 เพชรบุรี ตําบลชะอํา อําเภอชะอํา 16 ประจวบคีรีขันธ์ อําเภอบางสะพาน 17 ชุมพร ตําบลนากระตาม อําเภอท่าแซะ 18 นครศรีธรรมราช ตําบลที่วัง อําเภอทุ่งสง 19 กระบี่ ตําบลเขาพนม อําเภอเขาพนม 20 ภูเก็ต ตําบลศรีสุนทร อําเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เฉพาะบริเวณการใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่สีม่วง หมายเลข 5.4 ตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2554 และตําบลวิชิต อําเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เฉพาะบริเวณ การใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่สีม่วง หมายเลข 4 ตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับ ผังเมืองรวมจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2554 ที่มา: กองพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม . 2565 . ตัวชี้วัด 5.3 สัดส่วนพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนต่อพื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศเพิ่มขึ้น (ร้อยละ) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อสะท้อนถึงการดําเนินการส่งเสริมเกษตรกรรมที่เป็นมิตร กับ สิ่งแวดล้อม โดยตัวชี้วัด มีความสอดคล้องกับตัวชี้วัด SDG 2.4.1 เพื่อตอบเป้าหมายย่อยที่ 2.4 สร้างหลักประกันว่าจะมีระบบการผลิตอาหาร ที่ยั่งยืนและดําเนินการตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่มีภูมิคุ้มกันที่จะเพิ่มผลิตภาพและการผลิต ภายในปี พ.ศ. 2573 ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน แผนพัฒนาเศรษฐกิ จและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ( พ.ศ. 2566 - 2570 ) ในหมุดหมายที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นนําด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง และนโยบายและแผน การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2580 ในนโยบายที่ 1 จัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติ อย่างมั่นคงเพื่อ ความสมดุล เป็นธรรมและยั่งยืน นิยาม สัดส่วนพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนต่อพื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศเพิ่มขึ้น ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน คือ ระบบการทําการเกษตรในเชิงผสมผสานและเกื้อกูลกัน คํานึงถึง ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยหลีกเลี่ยงและปฏิเสธการใช้สารเคมีสังเคราะห์ที่เป็นอันตราย ต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อก่อให้เกิดความมั่นคงและความปลอดภัยอาหาร สร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ ซึ่งนําไปสู่การพึ่งพาตนเอง การมีภูมิคุ้ม กันภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค รวมทั้งส่งผลให้ระบบเกษตรกรรมมีความเข้มแข็งและ ยั่งยืน (อ้างอิงจากเอกสารหารือกับสํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ . 2565) หน่วยวัด ร้อยละ วิธีการวัดและคํานวณ การคํานวณสัดส่วนพื้ นที่ที่มีการดําเนินการเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนต่อ พื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศ อ้างอิงจากการคํานวณตามตัวชี้วัด SDG 2.4.1 สัดส่วนพื้นที่เกษตรที่มี การทํา การเกษตรอย่างมีผลิตภาพและยั่งยืนของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 2 สามารถแสดงได้ดังนี้
185 สัดส่วนพื้นที่ที่มีการดําเนินการเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน = ( พื้นที่ที่มีการดําเนินการเกษตรกรรม อย่างยั่งยืน / พื้นที่เกษตรทั้งหมด ) x 100 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 70 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด สัดส่วน พื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนต่อพื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศ เพิ่มขึ้น ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม พื้นที่ที่มีการดําเนินการเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน (ไร่) สํานักงานปลัด กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ สอบถามจากหน่วยงานติดตาม ข้อมูล พื้นที่เก ษตร ทั้งหมด (ไร่) ข้อจํากัด นิยามของพื้นที่ที่มีการดําเนินการเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนยังไม่ชัดเจน ซึ่งจะมี การดําเนินการโครงการศึกษาแนวทางการจัดทําเครื่องมือในการวัดและติดตามประเมินผลพื้นที่ที่มีการทํา การเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ทั้งมิติของเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมที่เหมาะสมกับบริบทของ ประเทศไทยตามแนวทางขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ( Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) โดยโครงการจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งผลการศึกษาจาก โครงการจะสามารถขยายผลในการติดตามและประเมินผลภาพรวมของระดับประเทศได้ต่อไป แหล่งข้อมูล กษ. ( สป.กษ . ) ข้อมูลตัวชี้วัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับการสนับสนุน ภายใต้โครงการความร่วมมือทางเทคนิคขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ( FAO’s Technical Cooperation Programme) ในการดําเนินการศึกษาตัวชี้วัดตามเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนในตัวชี้วัด SDG 2.4.1 สัดส่วนของพื้นที่ที่มีการทําการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ที่สอดคล้องกับบริบทของ ประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการจัดทําเครื่องมือในการวัดและติดตามประเมินผล พื้นที่ ที่มีการทําการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ทั้งมิติของเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ที่เหมาะสมกับ บริบทของประเทศไทยตามแนวทางของ FAO โดยโครงการจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ทั้งนี้ ผลการศึกษาจากโครงการจะสามารถขยายผลในการติดตามและประเมินผลภำพรวมของระดับประเทศได้ต่อไป สําหรับในเบื้องต้นจะรายงานในรูป แบบ ของ “ร้อยละของพื้นที่เกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น” ซึ่งเกษตรอินทรีย์ได้ถูก นิยามเป็นส่วนหนึ่งของระบบเกษตรกรรมยั่งยืน โดยสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ให้ นิยามเกษตรอินทรีย์ ( Organic Farmi ng) หมายถึง ระบบการเกษตรที่เน้นความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นการปรับปรุงบํารุงดิน เคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืชและสัตว์ เกษตรอินทรีย์ เป็นระบบการเกษตรที่หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกําจัดศัตรูพืช เน้นการปลูกพืชหมุนเวียน ใช้เศษซาก พืช มูลสัตว์ พืชตระกูลถั่ว ปุ๋ยพืชสด ในการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และใช้หลักการควบคุมศัตรูพืชโดยวิธี ชีวภาพ ( Biological Control) จุดเด่นของระบบเกษตรอินทรีย์ คือ ก่อให้เกิดผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัย จากสารพิษ เพิ่มมูลค่าของผลผลิตและตอบสนองความต้องการของผู้ บริโภค และเป็นการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ ของดินและสภาพแวดล้อม (อ้างอิงจากหลักการและรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน สํานักพัฒนาและถ่ายทอด เทคโนโลยี สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม . 2562) โดยตัวชี้วัด “ร้อยละของพื้นที่เกษตรอินทรีย์ เพิ่มขึ้น” มีความสอดคล้องกับ (ร่าง ) แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2566 - 2570 ซึ่งประเมินจาก ร้อยละของพื้นที่เกษตรอินทรีย์ต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมด โดยข้อมูลพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ปี พ.ศ. 2560 - 2564 แสดงได้ดังตารางที่ ผ – 71
186 ตารางที่ ผ - 71 พื้นที่เกษตรอินทรีย์ ปี พ.ศ. 2560 - 2564 หน่วยงานตรวจรับรอง พื้นที่เกษตรอินทรีย์ (ไร่) 2560 2561 2562 2563 2564 หน่วยงานของรัฐบาล กรมการข้าว 57 , 855 73 , 424 241 , 535 313 , 549 780 , 196 กรมวิชาการเกษตร 13 , 197 54 , 331 61 , 701 16 , 269 18 , 733 กรมปศุสัตว์ - 6 , 367 6 , 641 2 , 889 3 , 137 กรมประมง 2 , 130 782 2 , 864 2 , 158 2 , 516 กรมหม่อนไหม - 39 107 172 188 กรมพัฒนาที่ดิน 1 , 261 1 , 261 4 , 247 24 , 038 28 , 088 สํานักงานการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม 8 , 348 3 , 650 25 , 965 25 , 965 31 , 785 หน่วยงานของเอกชน สํานักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 96 , 160 817 , 475 818 , 886 589 , 813 650 , 489 รวมทั้งหมด 178 , 952 957 , 329 1 , 161 , 947 974 , 854 1 , 515 , 132 ที่มา: (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2566 - 2570 ตัวชี้วัด 5. 4 อันดับการพัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยวของประเทศไทย ด้านความยั่งยืนของ สิ่งแวดล้อมอยู่ 1 ใน 67 (อันดับ) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพี่ อสะท้อนการดําเนินงานส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตร กับ สิ่งแวดล้อมและยั่งยืน โดยตัวชี้วัดมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ( พ.ศ. 2566 - 2570 ) ในหมุดหมายที่ 2 ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน (ร่าง) แผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566 - 2580) (ฉบับปรับปรุง) ประเด็นที่ 5 การท่อ งเที่ยว ในแผนย่อยการพัฒนา ระบบนิเวศการท่องเที่ยว และ (ร่าง) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2570) ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดของการพัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยว (Travel & Tourism Development Index : TTDI ) เป็นการ ปรับปรุงพัฒนาจากตัวชี้วัดเดิม คือ อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว ( Travel & Tourism Competitiveness Index : TTCI ) ซึ่งที่ผ่านมาสภาเศรษฐกิจโลก ( World Economic Forum : WEF) มี การรายงานผลการจัดอันดับ TTCI ทุก 2 ปี (จัดอันดับครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2562) จากนั้น ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 สภาเศรษฐกิจโลกได้เผยแพร่รายงานศึกษาดัชนีชี้วัดของการพัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยว หรือ TTDI ประจําปี พ.ศ. 2564 เพื่อการฟื้นฟูการท่องเที่ยวในอนาคตอย่างยืดหยุ่นและยั่งยืน ดังนั้น ตัวชี้วัด ภายใต้นโยบายและแผนที่เกี่ยวข้องจึงได้รับการปรั บจากอันดับ TTCI ของประเทศไทย เป็นอันดับ TTDI ของ ประเทศไทย เพื่อให้สอดคล้องกับรายงานศึกษาดัชนีชี้วัดของการพัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยว ประจําปี พ.ศ. 2564 นิยาม อันดับการพัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยวของประเทศไทย ( Travel & Tourism Development Index: TTDI) ด้านความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม อยู่ 1 ใน 67 หน่วยวัด อันดับ วิธีการวัดและ การ คํานวณ -
187 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 72 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด อันดับการพัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยวของประเทศไทย ด้านความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมอยู่ 1 ใน 67 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม อันดับการพัฒนาการเดินทางและ การท่องเที่ยวของประเทศไทย ด้านความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สํานักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูลหรือ ติดตามได้จากรายงาน TTDI report โดยสภาเศรษฐกิจโลก ( https://www.weforum.org/report s ) ข้อจํากัด การประเมินการพัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยวของประเทศไทย ( Travel & Tourism Development Index: TTDI) เป็น การประเมินทุก 2 ปี และใช้ ที่มาของ ข้อมูลจากหลายหน่วยงาน จึง อาจส่งผลกระทบต่อการติดตามและการประเมินผลการดําเนินงานรายปี แหล่งข้อมูล กก. (สป.กก.) ข้อมูลตัวชี้วัด รายงานศึกษาดัชนีชี้วัดของการพัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยวหรือ Travel & Tourism Development Index 2021 ของสภาเศรษฐกิจโลกได้จัดอันดับการพัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยวของ ประเทศไทย ( TTDI) แบ่งออกเป็น 5 ด้าน 17 ปัจจัย ซึ่งปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนอยู่ภายใต้ด้านที่ 5 ความยั่งยืนด้านการเดินทางและการท่องเที่ยว ( T&T Sustainability ) ปัจจัยที่ 15 ความยั่ งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ในปี พ.ศ. 2564 อันดับ TTDI ของประเทศไทย อยู่อันดับที่ 36 จาก 117 ประเทศทั่วโลก แต่หากพิจารณาเฉพาะปัจจัยที่ 15 ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 97 จาก 117 ประเทศ ทั่วโลก โดยอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว ( TTCI) ของประเทศไทย ด้านความยั่งยืนของ สิ่งแวดล้อม ในปี พ.ศ. 2560 และ 2562 และอันดับการพัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยว ( TTDI) ของ ประเทศไทย ด้านความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ในปี พ.ศ. 2564 แสดงได้ดังตารางที่ ผ - 73 ตารางที่ ผ - 73 อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว ( TTCI) ของประเทศไทย และอันดับการ พัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยว ( TTDI) ของประเทศไทย ด้านความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ข้อมูล ปี พ.ศ. 2560 2562 2564 อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว ( TTCI) ของประเทศไทย ด้านความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม 122 130 - อั นดั บการพั ฒนาการเดิ นทางและการท่ องเที ่ ยว ( TTDI) ของประเทศไทย ด้านความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม - - 97 ที่มา : World Economic Forum. The Travel & Tourism Competitiveness Report (2017 - 2019) World Economic Forum. Travel & Tourism Development Index 2021 Rebuilding for a Sustainable and Resilient Future
188 ตัวชี้วัด 5.5 สัดส่วนของหน่วยงานที่เข้าร่วมดําเนินการและสัดส่วนมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและ บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น (ร้อยละ) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อสะท้อนผลการดําเนินงานในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม โดยตัวชี้วัดมีค วามสอดคล้องกับนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม แห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2580 ในนโยบายที่ 4 สร้างความเป็นหุ้นส่วนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม แผนขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน พ.ศ. 2560 - 2580 ใน SCP 7 ส่งเสริมแนวปฏิบั ติ ด้านการจัดซื้อจัดจ้างที่ยั่งยืนของทุกภาคส่วน โดยผลักดันให้มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ/หน่วยงานในกํากับของรัฐ และ หน่วยงานเอกชนในตลาดหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้าง สินค้าแล ะบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565 - 2570 โดยตัวชี้วัด “สัดส่วนของหน่วยงานที่เข้าร่วมดําเนินการและสัดส่วนมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้าง สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น (ร้อยละ)” ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดย่อยดังนี้ 5.5.1 สัดส่วนของหน่วยงานที่เข้าร่วมดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็น มิตร กับสิ่ง แวดล้อมเพิ่มขึ้น (ร้อยละ) นิยาม หน่วยงานทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ สถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานในกํากับของรัฐ ได้เข้าร่วมการดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มขึ้น หน่วยวัด ร้อยละ วิธีการวัดและ การ คํานวณ การคํานวณสัดส่วนของหน่วยงานที่เข้าร่วมดําเนินการ จัดซื้อจัดจ้าง สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อ้างอิงจากการดําเนินการของกรมควบคุมมลพิษ สามารถ แสดงได้ดังนี้ สัดส่วนของหน่วยงานที่เข้าร่วมดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม = (จํานวนหน่วยงานที่เข้าร่วมดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริ การที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม/ จํานวนหน่วยงานทั้งหมด) x 100 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ย่อย ตารางที่ ผ - 74 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัดย่อย สัดส่วนของหน่วยงานที่เข้าร่วมดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและ บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น (ร้อยละ) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ย่อย หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม จํานวนหน่วยงานที่เข้าร่วมดําเนินการจัดซื้อจัดจ้าง สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูล จํานวนหน่วยงานทั้งหมด
189 5.5. 2 สัดส่วนมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ( ร้อยละ ) นิยาม มูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์ ข้อกําหนด ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หน่วยวัด ร้อยละ วิธีการวัดและการคํานวณ การคํานวณสัดส่วนมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและ บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อ้างอิงจากการดําเนินการของกรมควบคุมมลพิษ สามารถแสดงได้ดังนี้ สัดส่วน มูลค่า การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม = ( มูลค่า การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานที่เข้าร่วมดําเนินการ / มูลค่า การ จัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการทั้งหมด) x 100 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ย่อย ตารางที่ ผ - 7 5 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัดย่อย สัดส่วนมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น (ร้อยละ) ข้อมูลประกอบ ตัวชี้วัด ย่อย หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม มูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานที่เข้าร่วมดําเนินการ กรมควบคุมมลพิษ สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูล มูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการทั้งหมด ข้อจํากัด การรายงานผลเป็นการขอความร่วมมือ ไม่ได้เป็นภาคบังคับและเป็นการ รายงานผลเฉพาะสินค้าและบริการที่อยู่ในตะกร้าเขียว ที่ ผ่านเกณฑ์ข้อกําหนดของกรมควบคุมมลพิษเท่านั้น แหล่งข้อมูล ทส. ( คพ. ) ข้อมูลตัวชี้วัด การดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะพิจารณา จากการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าตามเกณฑ์ข้อกําหนดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามรายการสินค้า และบริการที่ผ่านการพิจารณาเกณฑ์ข้อกําหนดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ อาทิ ตะกร้าเขียว สินค้าที่ได้ฉลากเขียว ( Green Label) บริการโรงแรมที่ได้รับเกียรติบัตรใบไม้เขียว ( Green Leaf) บริการโรงแรม ที่ ผ่านเกณฑ์สถานประกอบการที่ พักสีเขียว ( Green Hotel) และผลิตภัณฑ์ผ้าที่ เป็นมิตรกับสิ่ งแวดล้อม ( Cool Mode) เป็นต้น ซึ่งพิจารณาว่า สินค้านั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากในช่วงใดของวัฏจักรชีวิต ผลิตภัณฑ์ และจะส่งผลให้ช่วยลด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในช่วงดังกล่าว โดยข้อมูลสัดส่วนของหน่วยงาน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่ นที่เข้าร่วม ดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2551 - 2563 สามารถแสดงดังตารางที่ ผ - 7 6 และ ผ – 7 7
190 ตารางที่ ผ - 7 6 สัดส่วนของหน่วยงานที่เข้าร่วมดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกั บ สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2551 - 2563 ประเภทหน่วยงาน หน่วยงานที่เข้าร่วมฯ ปี พ.ศ. 2551 - 2563 (จํานวน) หน่วยงานทั้งหมด (จํานวน) ร้อยละ หน่วยงานภาครัฐ 147 151 97 รัฐวิสาหกิจ 49 55 89 สถาบันอุดมศึกษา 95 155 61 องค์การมหาชน 33 39 85 หน่วยงานในกํากับของรัฐ 23 26 88 รวม 347 426 81 หมายเหตุ : ข้อมูล ณ เดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ . 2565 . ตารางที่ ผ - 7 7 สัดส่วนของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เข้าร่วมดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่ เป็นมิตรกั บ สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2551 - 2563 ประเภทหน่วยงาน หน่วยงานที่เข้าร่วมฯ ปี พ.ศ. 2551 - 2563 (จํานวน) หน่วยงานทั้งหมด (จํานวน) ร้อยละ เทศบาลตําบล 749 2 , 247 33 เทศบาลเมือง 106 195 54 เทศบาลนคร 27 30 90 เขตปกครองพิเศษ 45 51 88 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 35 76 46 รวม 962 2,599 37 หมายเหตุ : ข้อมูล ณ เดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ . 2565 . ข้อมูลสัดส่วนมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 256 3 และข้อมูลรายชื่อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 - 2564 แสดงดังตารางที่ ผ - 7 8 และ ผ - 7 9 ตามลําดับ
191 ตารางที่ ผ - 7 8 สัดส่วนมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2563 ลําดับ รายการ มูลค่าสินค้าและ บริการที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม (บาท) มูลค่าสินค้าและ บริการที่ไม่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม (บาท) รวมทั้งหมด (บาท) ร้อยละ มูลค่าที่เป็น มิตรกับ สิ่งแวดล้อม 1 กระดาษชําระ 2,141,043.02 689,917.41 2,830,960.43 76 2 กระดาษถ่ายเอกสาร หรืองานพิมพ์ทั่วไป 9,034,648.64 1,010,050.98 10,044,699.62 90 3 กล่องใส่เอกสาร - 50,122.25 50,122.25 0 4 เครื่องคอมพิวเตอร์ - 95,700.94 95,700.94 0 5 เครื่องถ่ายเอกสาร 1,693,842.91 - 1,693,842.91 100 6 เครื่องพิมพ์ 36,448.60 92,666.36 129,114.96 28 7 เครื่องเรือนเหล็ก - 13,774.77 13,774.77 0 8 ซองเอกสาร 316,155.49 25,381.14 341,536.63 93 9 ตลับหมึก 643,699.70 8,820,375.01 9,464,074.71 7 10 น้ํามันเชื้อเพลิง 94,281,017.49 7,054,605.14 101,335,622.63 93 11 น้ํามันหล่อลื่น - 1,282,084.71 1,282,084.71 0 12 บริการเช่าเครื่อง ถ่ายเอกสาร 22,066,228.84 866,419.16 22,932,648.00 96 13 บริการทําความสะอาด 116,835,716.64 20,601,380.31 137,437,096.95 85 14 บริการโรงแรม 1,450,319.70 451,180.00 1,901,499.70 76 15 แบตเตอรี่ปฐมภูมิ 82,736.34 79,087.90 161,824.24 51 16 แบตเตอรี่รถยนต์ - 81,719.61 81,719.61 0 17 ปากกาไวต์บอร์ด 21,084.98 20,008.86 41,093.84 51 18 ผลิตภัณฑ์ทําความ สะอาดพื้นผิว 20,560.00 23,920.79 44,480.79 46 19 ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียน ฉลากลดโลกร้อน - 7,970.00 7,970.00 0 20 ผลิตภัณฑ์ลบคําผิด 158,393.41 9,480.39 167,873.80 94 21 แฟ้มเอกสาร 1,039,412.48 140,684.43 1,180,096.91 88 22 ยางรถยนต์ - 175,495.13 175,495.13 0 23 รถยนต์ 1,936,953.27 1,361,682.24 3,298,635.51 59 24 ระบบกําลังไฟฟ้าต่อเนื่อง ( UPS ) - 2,336.45 2,336.45 0 25 สถานีบริการน้ํามัน 57,613.64 4,971.96 62,585.60 92 26 สีทาอาคาร 211,129.28 518,425.00 729,554.28 29 27 หลอดฟลูออเรสเซนซ์ - 1,400,235.00 1,400,235.00 0 28 หลอดแอลอีดี ( LED Lamp ) 74,132.83 37,413.61 111,546.44 66 รวม 252,101,137.26 44,917,089.55 297,018,226.81 85 ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ . 2565 . หมายเหตุ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เกิดสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโควิด - 19 ทําให้มีการระงับการจัดประชุมสัมมนา ไม่สามารถใช้เป็นมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมของประเทศไทยทั้งหมดได้ เนื่องจากการรายงานผลเป็นการขอความร่วมมือไม่ได้เป็นภาคบังคับ แ ละเป็นการ รายงานผลเฉพาะสินค้าและบริการที่อยู่ในตะกร้าเขียวที่ผ่านเกณฑ์ข้อกําหนดของกรมควบคุมมลพิษเท่านั้น
192 ตารางที่ ผ - 7 9 รายชื่อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 - 2564 รายชื่อสินค้าและบริการที่เป็นมิตร กับ สิ่งแวดล้อม 2560 2561 2562 2563 2564 รายชื่อสินค้า 1. กระดาษถ่ายเอกสารหรือ งานพิมพ์ทั่วไป 2. ผลิตภัณฑ์ลบคําผิด 3. หลอดฟลูออเรสเซนซ์ 4. เครื่องเรือนเหล็ก 5. กระดาษชําระ 6. แบตเตอรี่ปฐมภูมิ 7. ปากกาไวต์บอร์ด 8. เครื่องถ่ายเอกสาร 9. เครื่องพิมพ์ 10. ตลับหมึก 11. สีทาอาคาร 12. ซองเอกสาร 13. แฟ้มเอกสาร 14. กล่องใส่เอกสาร 15. รถยนต์ 16. น้ํามันหล่อลื่น 17. น้ํามันเชื้อเพลิง 18. ผลิตภัณฑ์ผ้าคูลโหมด ( Cool Mode) 19. เครื่องคอมพิวเตอร์ 20. รถตู้ รายชื่อสินค้า 1. กระดาษถ่ายเอกสารหรือ งานพิมพ์ทั่วไป 2. ผลิตภัณฑ์ลบคําผิด 3. หลอดฟลูออเรสเซนซ์ 4. เครื่องเรือนเหล็ก 5. กระดาษชําระ 6. แบตเตอรี่ปฐมภูมิ 7. ปากกาไวต์บอร์ด 8. เครื่องถ่ายเอกสา ร 9. เครื่องพิมพ์ 10. ตลับหมึก 11. สีทาอาคาร 12. ซองเอกสาร 13. แฟ้มเอกสาร 14. กล่องใส่เอกสาร 15. รถยนต์ 16. น้ํามันหล่อลื่น 17. น้ํามันเชื้อเพลิง 18. ผลิตภัณฑ์ผ้าคูลโหมด ( Cool Mode) 19. เครื่องคอมพิวเตอร์ 20. รถตู้ รายชื่อสินค้า 1. กระดาษถ่ายเอกสารหรือ งานพิมพ์ทั่วไป 2. ผลิตภัณฑ์ลบคําผิด 3. หลอดฟลูออเรสเซนซ์ 4. เครื่องเรือนเหล็ก 5. กระดาษชําระ 6. แบตเตอรี่ปฐมภูมิ 7. ปากกาไวต์บอร์ด 8. เครื่องถ่ายเอกสา ร 9. เครื่องพิมพ์ 10. ตลับหมึก 11. สีทาอาคาร 12. ซองเอกสาร 13. แฟ้มเอกสาร 14. กล่องใส่เอกสาร 15. รถยนต์ 16. น้ํามันหล่อลื่น 17. น้ํามันเชื้อเพลิง 18. ผลิตภัณฑ์ผ้าคูลโหมด ( Cool Mode) 19. เครื่องคอมพิวเตอร์ 20. รถตู้ รายชื่อสินค้า 1. กระดาษถ่ายเอกสารหรือ งานพิมพ์ทั่วไป 2. ผลิตภัณฑ์ลบคําผิด 3. หลอดฟลูออเรสเซนซ์ 4. เครื่องเรือนเหล็ก 5. กระดาษชําระ 6. แบตเตอรี่ปฐมภูมิ 7. ปากกาไวต์บอร์ด 8. เครื่องถ่ายเอกสา ร 9. เครื่องพิมพ์ 10. ตลับหมึก 11. สีทาอาคาร 12. ซองเอกสาร 13. แฟ้มเอกสาร 14. กล่องใส่เอกสาร 15. รถยนต์ 16. น้ํามันหล่อลื่น 17. น้ํามันเชื้อเพลิง 18. ผลิตภัณฑ์ผ้าคูลโหมด ( Cool Mode) 19. เครื่องคอมพิวเตอร์ 20. รถตู้ รายชื่อสินค้า 1. กระดาษถ่ายเอกสารหรือ งานพิมพ์ทั่วไป 2. ผลิตภัณฑ์ลบคําผิด 3. หลอดฟลูออเรสเซนซ์ 4. เครื่องเรือนเหล็ก 5. กระดาษชําระ 6. แบตเตอรี่ปฐมภูมิ 7. ปากกาไวต์บอร์ด 8. เครื่องถ่ายเอกสา ร 9. เครื่องพิมพ์ 10. ตลับหมึก 11. สีทาอาคาร 12. ซองเอกสาร 13. แฟ้มเอกสาร 14. กล่องใส่เอกสาร 15. รถยนต์ 16. น้ํามันหล่อลื่น 17. น้ํามันเชื้อเพลิง 18. ผลิตภัณฑ์ผ้าคูลโหมด ( Cool Mode) 19. เครื่องคอมพิวเตอร์ 20. รถตู้ 19 2
193 รายชื่อสินค้าและบริการที่เป็นมิตร กับ สิ่งแวดล้อม 2560 2561 2562 2563 2564 21. ระบบกําลังไฟฟ้าต่อเนื่อง ( UPS) 22. ยางรถยนต์ 23. ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียน ฉลากลดโลกร้อน รายชื่อบริการ 1. บริการทําความสะอาด 2. บริการเช่าเครื่องถ่ายเอกสา ร 3. บริการโรงแรม 4. สถานีบริการน้ํามัน 21. ระบบกําลังไฟฟ้าต่อเนื่อง ( UPS) 22. ยางรถยนต์ 23. ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียน ฉลากลดโลกร้อน 24. แบตเตอรี่รถยนต์ 25. หลอดแอลอีดี ( LED Lamp) รายชื่อบริการ 1. บริการทําความสะอา ด 2. บริการเช่าเครื่องถ่ายเอกสา ร 3. บริการโรงแรม 4. สถานีบริการน้ํามัน 21. ระบบกําลังไฟฟ้าต่อเนื่อง ( UPS) 22. ยางรถยนต์ 23. ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียน ฉลากลดโลกร้อน 24. แบตเตอรี่รถยนต์ 25. หลอดแอลอีดี ( LED Lamp ) 26. ตลับหมึกผลิตซ้ํา 27. ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาด พื้นผิว รายชื่อบริการ 1. บริการทําความสะอา ด 2. บริการเช่าเครื่องถ่ายเอกสา ร 3. บริการโรงแรม 4. สถานีบริการน้ํามัน 21. ระบบกําลังไฟฟ้าต่อเนื่อง ( UPS) 22. ยางรถยนต์ 23. ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียน ฉลากลดโลกร้อน 24. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์และ ปูนซีเมนไฮดรอลิก 25. แบตเตอรี่รถยนต์ 26. หลอดแอลอีดี ( LED Lamp) 27. ตลับหมึกผลิตซ้ํา 28. ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาด พื้นผิว 29. เหล็กเส้นเสริมคอนกรี ต 30. ฉนวนกันความร้อน รายชื่อบริการ 1. บริการทําความสะอา ด 2. บริการเช่าเครื่องถ่ายเอกสา ร 3. บริการโรงแรม 4. สถานีบริการน้ํามัน 21. ระบบกําลังไฟฟ้า ต่อเนื่อง ( UPS) 22. ยางรถยนต์ 23. ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียน ฉลากลดโลกร้อน 24. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์และ ปูนซีเมนไฮดรอลิก 25. แบตเตอรี่รถยนต์ 26. หลอดแอลอีดี ( LED Lamp) 27. ตลับหมึกผลิตซ้ํา 28. ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาด พื้นผิว 29. เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต 30. ฉนวนกันความร้อน 31. บรรจุภัณฑ์ 32. ท่อพีวีซีแข็ง 33. วัสดุก่อผนัง รายชื่อบริการ 1. บริการทําความสะอา ด 2. บริการเช่าเครื่องถ่ายเอกสา ร 3. บริการโรงแรม 4. สถานีบริการน้ํามัน 19 3
194 รายชื่อสินค้าและบริการที่เป็นมิตร กับ สิ่งแวดล้อม 2560 2561 2562 2563 2564 5. บริการเปลี่ยนถ่าย น้ํามันหล่อลื่น 6. สถานประกอบกิจการซ่อม ยานพาหนะ 5. บริการเปลี่ยนถ่าย น้ํามันหล่อลื่น 6. สถานประกอบกิจการซ่อม ยานพาหนะ 5. บริการเปลี่ยนถ่าย น้ํามันหล่อลื่น 6. สถานประกอบกิจการซ่อม ยานพาหนะ 5. บริการเปลี่ยนถ่าย น้ํามันหล่อลื่น 6. สถานประกอบกิจการซ่อม ยานพาหนะ 5. บริการเปลี่ยนถ่าย น้ํามันหล่อลื่น 6. สถานประกอบกิจการซ่อม ยานพาหนะ จํานวนทั้งสิ้น 29 ประเภท จํานวนทั้งสิ้น 31 ประเภท จํานวนทั้งสิ้น 33 ประเภท จํานวนทั้งสิ้น 36 ประเภท จํานวนทั้งสิ้น 39 ประเภท 19 4
195 ตัวชี้วัด 5. 6 การรับรู้และความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น (จํานวน) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อส่งเสริมการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความ ตระหนักรู้ และการมีส่วนร่วมด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเป็นการผลักดันการดําเนินงานตามตัวชี้วัดดัชนีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ด้านสิ่งแวดล้อม โดยรายละเอียดของตัวชี้วัดสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาส่งเสริมคุณลักษณะและ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยตาม (ร่าง ) แผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566 - 2580) (ฉบับปรับปรุง) ประเด็นที่ 18 การเติบโตอย่างยั่งยืน ในแผนย่อย การยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกําหนดอนาคตประเทศ รวมทั้ง แผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565 - 2569) ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นิยาม ประชาชนมีการรับรู้ในประเด็นเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านทาง ช่องทางต่าง ๆ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การมีพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการมีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์ สงวน คุ้มครอง และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่าง ๆ หน่วยวัด จํานวน วิธีการวัดและ การ คํานวณ การประเมินการส่งเสริมการรับรู้และความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ประเมินจากข้อมูล อาทิ (1) จํานวนประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม (2) จํานวนอาสาสมัคร ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ (3) จํานวนองค์กร/เครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 8 0 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด การรับรู้และความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น (จํานวน) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม จํานวนประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม สอบถามจากหน่วยงาน ติดตามข้อมูล จํานวนอาสาสมัครด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จํานวนองค์กร/เครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม ข้อจํากัด การดําเนินการส่งเสริมการรับรู้และความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการดําเนินการ ตามความสมัครใจ ไม่ได้เป็นภาคบังคับ แหล่งข้อมูล ทส. ( สส. ) ข้อมูลตัวชี้วัด การส่งเสริมการรับรู้และความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมในเบื้องต้น สามารถพิจารณาได้จาก ข้อมูลต่าง ๆ ดังแสดงในตารางที่ ผ – 8 1 ตารางที่ ผ - 8 1 ข้อมูลการส่งเสริมการรับรู้และความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ปี พ.ศ. 2561 – 2564 ข้อมูล ปี พ.ศ. 2561 2562 2563 2564 จํานวนประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้าน สิ่งแวดล้อม (คน) 5 , 929 , 987 5 , 794 , 021 10 , 725 , 964 4 , 839 , 098 จํานวนอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) (คน) 212 , 349 228 , 901 234 , 174 258 , 910 จํานวนองค์กร/เครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม (องค์กร) 275 278 286 290 ที่มา : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม . 2565 .
196 ตัวชี้วัด 5. 7 มีการนํากระบวนการ SEA ไปใช้ในพื้นที่สําคัญด้านการพัฒนาระดับนโยบาย (มี/ไม่มี) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อพัฒนาและยกระดับการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ อันเป็นกลไก ในการป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม โดยรายละเอียดของตัวชี้วัดสอดคล้องกับ แนวทางการพัฒนาเครื่องมือ กลไกและระบบยุติธรรม และระบบประชาธิปไตยสิ่งแวดล้อม ในแผนย่อย การยกระดับกร ะบวนทัศน์เพื่อกําหนดอนาคตประเทศ ภายใต้ แผนแม่บทฯ ประเด็นที่ 18 การเติบโตอย่างยั่งยืน นิยาม กระบวนการการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ( Strategic Environmental Assessment : SEA) ถูกนําไปใช้ในพื้นที่สําคัญด้านการพัฒนาระดับนโยบาย หน่วยวัด มี/ไม่มีการนํากระบวนการ SEA ไปใช้กับการจัดทําแผนพัฒนา วิธีการวัดและ การ คํานวณ การประเมินหรือวัดว่ามีหรือไม่มีการนํา SEA ไปใช้ในกระบวนการ วางแผนจากการพิจารณากระบวนการและขั้นตอน SEA กับการจัดทําแผนพัฒนาตามแนวทางการประเมิน สิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ของสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่อย่างน้อยจะต้องมี การดําเนินการตามขั้นตอน SEA ที่สําคัญ ได้แก่ (1) การกําหนดขอบเขต (2) การพัฒนาทางเลือกและประเมิน ทางเลือก และ (3) การกําหนดมาตรการเพื่อความยั่งยืน เป็นต้น ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 8 2 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด มีการนํากระบวนการ SEA ไปใช้ในพื้นที่สําคัญด้านการพัฒนาระดับ นโยบาย (มี/ไม่มี) ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม รายงานการศึกษาการประเมิน สิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ สอบถามจากหน่วยงานติดตามข้อมูล ข้อจํากัด การนํากระบวนการ SEA ไปใช้กับการจัดทําแผนพัฒนาเป็นการดําเนินการก่อน การจัดทําแผน ซึ่งเป็นการดําเนินการตามความสมัครใจ ไม่ได้เป็นภาคบังคับ แหล่งข้อมูล นร. (สศช.) ข้อมูลตัวชี้วัด ตัวอย่างการจัดทําแผนพัฒนาที่บูรณาการผลของ SEA ดังนี้ 1 . โครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และแผนหลักการบริหารจัดการ ทรัพยากรน้ํา พื้นที่ลุ่มน้ําภาคใต้ฝั่งตะวันตก (2563) โดยสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ 2 . โครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อม ระดับยุทธศาสตร์และแผนหลักการบริหารจัดการ ทรัพยากรน้ํา พื้นที่ลุ่มน้ ําเพชรบุรี - ประจวบคีรีขันธ์ (2563) โดยสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ 3 . โครงการศึกษาและประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการแร่โพแทช (2564) โดยกรมทรัพยากรธรณี 4 . โครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และแผนหลักการบริหารจัดการ ทรัพยากรน้ํา พื้นที่ลุ่มน้ําแม่กลอง (อยู่ระหว่างดําเนินการ) โดยสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ 5 . โครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และแผนหลักการบริหารจัดการ ทรัพยากรน้ํา พื้นที่ ลุ่มน้ําโขงตะวันออกเฉียงเหนือ (อยู่ระหว่างดําเนินการ) โดยสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ ที่มา : สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ . 2565 .
197 ตัวชี้วัด 5. 8 การดําเนินการภายใต้ความตกลงระดับทวิภาคี พหุภาคี และระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น (จํานวน) คําอธิบายตัวชี้วัด ที่มา เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติ ข้ามพรมแดนกับประเทศอาเซียน และภูมิภาคอื่นที่ปฏิบัติได้อย่ำงเป็นรูปธรรม รายละเอียดของตัวชี้วัดสอดคล้อง กับแนวทางการพัฒนาเครื่องมือ กลไกและระบบยุติธรรม และระบบประชาธิปไตยสิ่งแวดล้อม ในแผนย่อย การยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกําหนดอนาคตประเทศ ภายใต้แผนแม่บทฯ ประเด็นที่ 18 การเติบโตอย่างยั่งยืน นิยาม การดําเนินงานความร่วมมือระดับทวิภาคี พหุภาคี และระดับภูมิภาคเพื่อสนับสนุน การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน อาทิ โครงการ ( Project) แผนงาน ( Program) บันทึกความเข้าใจ ( Memorandum of Understanding) ความตกลง ( Agreement) การเข้าพบและเยือน ความช่วยเหลือทางวิชาการ ( Technical assistance) ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พื้นที่คุ้มครอง และภัยพิบัติข้ามพรมแดนได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพดีขึ้น หน่วยวัด จํานวนโครงการ/แผนงาน/บันทึกความเข้าใจ/ความตกลง/การเข้าพบและเยือน/ ความช่วยเหลือทางวิชากา ร วิธีการวัดและ การ คํานวณ การคํานวณความร่วมมือฯ อ้างอิงจากการดําเนินการของหน่วยงาน ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านความร่วมมือกับต่างประเทศในประเด็นที่เกี่ยวข้อง กับทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม พื้นที่คุ้มครอง และภัยพิบัติข้ามพรมแดนที่ปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมในแต่ละปี ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด ตารางที่ ผ - 8 3 ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด การดําเนินการภายใต้ความตกลงระดับทวิภาคี พหุภาคี และระดับภูมิภาค ที่เกี่ยวข้องเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ข้อมูลประกอบตัวชี้วัด หน่วยงานติดตามข้อมูล ช่องทางการติดตาม การดําเนินการภายใต้ความตกลงระดับทวิภาคี พหุภาคี และระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง เพื่อการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น สํานักงานปลัดกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สอบถามจากหน่วยงา น ติดตามข้อมูล ข้อจํากัด การรายงานการดําเนินการภายใต้ความตกลงระดับทวิภาคี พหุภาคี และระดับภูมิภาค ที่เกี่ยวข้องเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พื้นที่คุ้มครอง และภัยพิบัติข้ามพรมแดน จะเป็น ส่วนที่หน่วยงานภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีการดําเนินการจัดทําความ ร่วมมือกับ ต่างประเทศ แหล่งข้อมูล ทส. ( สป.ทส. ) ข้อมูลตัวชี้วัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการดําเนินการ จัดทําความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ ทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี อาทิ ข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับสถานเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ประจําประเทศไทย เพื่อจัดการขยะในแม่น้ํา ข้อตกลงการดําเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส ซึ่งเป็นการลงนามข้อตกลงถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตร่วมกันเป็นคู่แรกของโลก ภายใต้ความตกลงปารีส ข้อ 6.2 และข้อตกลงความร่วมมือระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยโค รงการ จัดสร้างสวนรุกขชาติไทย - ลาว เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมพืชที่มีค่าหายากและใกล้สูญพันธุ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจทางธรรมชาติแบบยั่งยืน ตลอดจนสร้างความร่วมมือของนักพฤกษศาสตร์
198 ในการศึกษาด้านพันธุ์ไม้ของสองประเทศ รวมถึงกรอบพหุภาคี ต่าง ๆ อาทิ อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลาย ทางชีวภาพ อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ อนุสัญญาว่าด้วย การคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดน ของของเสียอันตรายและกา รกําจัด และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น ที่มา : กองการต่างประเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม . 2565 .
199 อักษรย่อชื่อหน่วยงาน ก.ล.ต. สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กก. กระทรวงการท่องและกีฬา กข. กรมการข้าว กค. กระทรวงการคลัง กต. กระทรวงการต่างประเทศ กทท. กรมการท่องเที่ยว กทม. กรุงเทพมหานคร กนอ. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กปม. กรมประมง กปศ. กรมปศุสัตว์ กปส. กรมประชาสัมพันธ์ กพร. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กฟผ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรอ. กรมโรงงานอุตสาหกรรม กวก. กรมวิชาการเกษตร กศน . สํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กษ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กสก. กรมส่งเสริมการเกษตร กรม อ. กรมอนามัย ขบ. กรมการขนส่งทางบก คค. กระทรวงคมนาคม คพ. กรมควบคุมมลพิษ คร. กรมควบคุมโรค จท. กรมเจ้าท่า ชป. กรมชลประทาน ตร. สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ทช. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทช. กรมทางหลวงชนบท ทด. กรมที่ดิน ทธ. กรมทรัพยากรธรณี ทน. กรมทรัพยากรน้ํา ทบ. กรมทรัพยากรน้ําบาดาล ทส. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
200 อักษรย่อชื่อหน่วยงาน (ต่อ) นร. สํานักนายกรัฐมนตรี บก. กรมบัญชีกลาง ปค. กรมการปกครอง ปภ. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปม. กรมป่าไม้ พด. กรมพัฒนาที่ดิน พท. กรมการแพทย์แผนไทยและกรมการแพทย์ทางเลือก พน. กระทรวงพลังงาน พพ. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มท. กระทรวงมหาดไทย ยผ. กรมโยธาธิการและผังเมือง วช. สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ วธ. กระทรวงวัฒนธรรม ศก. กรมศิลปากร ศธ. กระทรวงศึกษาธิการ ศรชล. ศูนย์อํานวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ส.ป.ก. สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ส.อ.ท. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สกท. สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สคทช. สํานักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สถ. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สทนช. สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ สทอภ. สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ส.ท.ท. สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สธ. กระทรวงสาธารณสุข สนข. สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สนช. สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สนพ. สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน สป.กก. สํานักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สป.กษ. สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สป.ทส. สํานักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สป.พณ. สํานักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ สป.ศธ. สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สป.อว. สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สปอ. สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม สผ. สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
201 อักษรย่อชื่อหน่วยงาน (ต่อ) สพภ. สํานักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) สมช. สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สวทช. สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สศก. สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร สศช. สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สส. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สสน. สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ํา (องค์การมหาชน) สสส. สํา นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สอวช. สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ อก. กระทรวงอุตสาหกรรม อ.ส.พ. องค์การสวนพฤกษศาสตร์ อจน. องค์การจัดการน้ําเสีย อต. กรมอุตุนิยมวิทยา อบก. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) อปท. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อพท. องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) อว. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อส. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช อสส. องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ออป. องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
202 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โทรศัพท์ : 0 - 2265 - 6 5 00 ต่อ 676 7 - 6772 โทรสาร 0 - 2265 - 6606 http://www.onep.go.th