Mon Dec 26 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพควบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2565


ประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพควบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2565

ประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพควบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2565 ด้วยประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 กาหนดให้คณะกรรมการการอาชีวศึกษาใช้กรอบคุณวุฒิ อาชีวศึกษาแห่งชาติดังกล่าวเป็นหลักในการกาหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ โดยให้ทาเป็นประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อให้สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษา นำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษา ประกอบกับได้มีประกาศ คณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอำชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2562 และประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2562 ดังนั้น เพื่อให้จัดการศึกษาวิชาชีพ อย่างต่อเนื่อง พัฒนาสมรรถนะกาลังคน ระดับเทคนิค โดยมุ่งเน้นการผลิตและพัฒนากำลังคนในสาขาที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ตรงความต้องการ ของตลาดแรงงาน จึงสมควรกาหนดมาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ควบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงให้สอดคล้องกับกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ และสอดคล้อง กับเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาในแต่ละระดับ เพื่อให้การจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพควบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงเป็นไปอย่างมีคุณภาพ อาศัยอานาจ ตามความในข้อ 6 ของประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบคุณวุฒิ อาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562 คณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศคณะกรรมการกำรอาชีวศึกษา เรื่อง มาตรฐาน การจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพควบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 การจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพควบระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ากว่า “ กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ และเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิ อาชีวศึกษาแต่ละระดับ ” ข้อ 4 วัตถุประสงค์ของการจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพควบระดั บ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เป็นการจัดการศึกษาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาสมรรถนะ กาลังคนระดับเทคนิค โดยมุ่งเน้นการผลิตและพัฒนากำลังคนในสาขาที่มีความจาเป็นเร่งด่วน สอดคล้องกับ ้ หนา 17 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 303 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 ธันวาคม 2565

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ เป็นไปตามมาตรฐานกา รศึกษาของชาติ กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ และกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ ด้วยความร่วมมืออย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง กับภาคประกอบการ องค์กรวิชาชีพ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นรูปแบบการเรียนรู้ สู่การปฏิบัติ เพื่อสร้างทักษะอาชีพและทักษะชีวิต ให้ผู้สาเร็จการศึกษาอาชีวศึกษามีความพร้อม ในการเข้าสู่อาชีพได้ทันต่อความต้องการกาลังคนของประเทศ และอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข ข้อ 5 โครงสร้างหลักสูตร จานวนหน่วยกิต และการคิดค่าหน่วยกิต ให้เป็นไปตามเกณฑ์ มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ จำนวน หน่วยกิตรวมระหว่าง 180 - 200 หน่วยกิต ระยะเวลาการศึกษาตามหลักสูตรไม่น้อยกว่า 8 ภาคเรียน ทั้งนี้ ให้เรียนได้ไม่เกิน 16 ภาคเรียน สาหรับการลงทะเบียนเรียนแบบเต็มเวลา และไม่เกิน 24 ภาคเรียน สาหรับการลงทะเบียนเรียน แบบไม่เต็มเวลา ทั้งนี้ สามารถจั ดการเรียนในภาคเรียนฤดูร้อนได้ตามที่เห็นสมควร ข้อ 6 การจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพควบระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษาต้องร่วมกับภาคประกอบการ องค์กรวิชาชีพ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ บรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษาร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ (1) การพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพตามระดับคุณวุฒิวิชาชีพ (2) การจัดการศึกษาตามหลักสูตร จัดได้โดยการฝึกอาชีพในการศึกษาระบบทวิภาคี ตำมหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด โดยเน้นการจัดการศึกษาทวิภาคี เป็นสำคัญ (3) การเตรียมความพร้อมในด้านทรัพยากร ครูผู้สอน ครูฝึก และผู้เชี่ยวชาญอาชีพ ให้เหมาะสมกับหลักสูตร จัดหานวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัด การศึกษา ให้เป็นไปตามมาตรฐาน (4) การจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ ให้ความสำคัญกับการบูรณาการแบบสหวิทยาการ เพื่อพัฒนาและหรือแก้ปัญหาโดยใช้โครงงานเป็นฐาน การเรียนรู้แบบโมดูล และการฝึกปฏิบัติ แบบต่อเนื่อง ( Block Course ) โดยพิจารณาสมรรถนะที่สำคัญและจำเป็นใน การปฏิบัติงาน ในสถานการณ์จริง รวมทั้งกาหนดให้ผู้เรียนจัดทาโครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพที่สอดคล้องกับ สาขาวิชาที่เรียน (5) การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ (6) การประเมินมาตรฐานวิชาชีพ สถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียน ได้รับการประเมินมาตรฐานวิชาชีพที่สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพขององค์กรรับรองในประเทศหรือสากล และเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประเมินมาตรฐานวิชาชีพกำหนด ้ หนา 18 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 303 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 ธันวาคม 2565

(7) การจัดการศึกษา การประเมินผลการเรียน และกำรสาเร็จการศึกษา ให้เป็นไปตาม เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ กรณีที่ผู้เรียนไม่สามารถสาเร็จการศึกษาตามหลักสูตรในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ควบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยมีเหตุผลอันสมควร อาจขอรับคุณวุฒิการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพได้ โดยต้องเป็นไปตามเกณฑ์การสาเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่กำหนด (8) การประกันคุณภาพของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ให้เป็นไปตามเกณฑ์ มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ ข้อ 7 การขออนุมัติเปิดสอนหลักสูตร สถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษา ร่วมกับ ภาคประกอบการ องค์กรวิชาชีพ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ในการเปิดสอนและแนวปฏิบัติในการขออนุมัติเปิดสอนหลักสูตรการอาชีวศึกษา โดยต้องจัดทาข้อมูล ความต้องการกำลังคนของสถานประกอบการที่สอดคล้องกับระยะเวลาที่ผู้เรียนสำเร็จก ำรศึกษา ความก้าวหน้าในอาชีพ ความสอดคล้องกับนโยบายและทิศทางการพัฒนาสังคมและประเทศ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษากับภาคประกอบการ องค์กรวิชาชีพ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง แผนการรับนักเรียน แผนการเรียน แผนการฝึกอาชี พ ครูผู้สอน และทรัพยากร โดยให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่นเรื่องระยะเวลา ความหลากหลาย ในการปฏิบัติงานตามลักษณะอาชีพ พื้นที่ และภาคประกอบการ ข้อ 8 การจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพควบระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) ผู้เรียน เป็นผู้สาเร็จการศึกษาไม่ต่ากว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า และต้องมี คุณสมบัติตรงตามข้อตกลงระหว่างสถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษาและสถานประกอบการ หรือ องค์กรวิชาชีพที่มีความร่วมมือกัน (2) ผู้สอน มีคุณวุฒิการศึกษา ประสบการณ์และหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะที่ตรงหรือ สัมพันธ์กับวิชาที่สอน (3) ผู้บริหารสถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษาต้องส่งเสริม สนับสนุน และรับผิดชอบ ต่อการจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพควบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ด้วยความร่วมมืออย่างเ ข้มแข็งกับภาคประกอบการ องค์กรวิชาชีพ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง (4) ภาคประกอบการ องค์กรวิชาชีพ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง มีความพร้อมในการ ให้ความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ในสาขาวิชาที่เปิดสอน ร่วมกาหนด เกณฑ์ การคัดเลือกจำนวนการรับเข้าเรียน การเข้าสู่อาชีพของผู้สำเร็จการศึกษา และประกันการมีงานทำ ้ หนา 19 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 303 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 ธันวาคม 2565

( 5 ) มีระบบการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการเรียนรู้ และการฝึกอาชีพร่วมกับ ภาคประกอบการ องค์กรวิชาชีพ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ข้อ 9 ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตำมประกาศนี้ได้ หรือมีความจาเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือ จากที่ กำหนดไว้ในประกาศนี้ หรือมีความจำเป็นต้องวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานที่กาหนดไว้ ในประกาศนี้และให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่จะพิจารณาวินิจฉัยและให้ถือว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอาชีวศึกษานั้นเป็นที่สุด ประกาศ ณ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 256 5 รอยล จิตรดอน ประธานกรรมการการอาชีวศึกษา ้ หนา 20 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 303 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 ธันวาคม 2565