ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี สำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ด้วยคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร เห็นสมควรกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้าที่ดีสาหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค เป็นมาตรฐานทั่วไป ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 เพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตร ให้ได้คุณภาพ มาตรฐาน และปลอดภัย อาศัยอานาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 15 วรรคสอง และมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติ มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ประกอบมติคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ในการประชุม ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2565 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงออกประกาศกาหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้าที่ดีสาหรับฟาร์มเพาะพันธุ์ และอนุบาลสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค มาตรฐานเลขที่ มกษ. 7438 - 2565 ไว้เป็นมาตรฐานทั่วไป ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 256 5 ประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ้ หนา 11 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 303 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 ธันวาคม 2565
มกษ. 7438 - 2565 มาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้าที่ดี สาหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้าเพื่อการบริโภค 1 . ขอบข่าย 1.1 มาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ครอบคลุมข้อกำหนดสาหรับ ฟาร์ม เพาะพันธุ์และ การ อนุบาล สัตว์น้า 1 / เพื่อการบริโภค ทั้งการ เพาะพันธุ์และ การ อนุบาล สัตว์น้า ในบ่อและแหล่งน้าสาธารณะ ตั้งแต่ ขั้นตอน การ เพาะพันธุ์ การ อนุบาล การ รวบรวม จนถึงหลัง การรวบรวม ก่อนการขนส่งออกจากฟาร์ม เพื่อให้ได้ ลูกพันธุ์ สัตว์น้าที่มีคุณภาพ มีความ แข็งแรง เหมาะสมสาหรับนาไปเลี้ยงต่อเป็นอาหาร ที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค 1.2 มาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ ไม่ ใช้กับ สัตว์น้าที่มี ข้อกาหนด และมี มาตรฐานสินค้าเกษตรเฉพาะเรื่องแล้ว จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ จระเข้ สาหร่ายทะเล และ กุ้งเครย์ฟิช 2 . นิยาม ความหมายของคาที่ใช้ในมาตรฐาน สินค้าเกษตร มีดังต่อไปนี้ 2.1 สัตว์น้าเพื่อการบริโภค ( food - aquatic animal ) หมายถึง สัตว์น้า ตาม พระราชกาหนดการประมง พ.ศ. 2558 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อการบริโภค ซึ่งต่อไปนี้ มาตรฐาน ฉบับ นี้ ใช้คาว่า “ สัตว์น้า ” 2.2 บ่อ ( pond) หมายถึง สถานที่บนบก สาหรับ เก็บกัก น้าไว้ใช้ เพื่อ การเพาะพันธุ์ และ การ อนุบาล สัตว์น้า ซึ่ง มีหลายลักษณะ เช่น บ่อดิน บ่อซีเมนต์ บ่อผ้าใบ บ่อพลาสติก 2.3 แหล่งน้าสาธารณะ ( public water resources ) หมายถึง แหล่งน้าที่ประชาชนใช้หรือที่สงวนไว้ให้ ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน และให้หมายความรวมถึง แม่น้า ลาคลอง ทางน้า บึง ทะเลสาบ น่านน้าภายในทะเลอาณาเขต พื้นที่ชุ่มน้า แหล่งน้าตามธรรมชาติอื่นๆ แหล่งน้าที่รัฐจัดสร้าง หรือพัฒนาขึ้นเพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน แหล่งน้าระหว่างประเทศที่อยู่ภายใน เขตประเทศไทยซึ่งประชาชนนามาใช้ประโย ชน์ได้ และทางน้าเพื่อการชลประทาน 1 / ฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้า หมายความรวมถึง ฟาร์มที่มีการเพาะพันธุ์สัตว์น้า ฟาร์มที่มีการอนุบาลสัตว์น้า และฟาร์มที่มี ทั้ง การเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้า
มกษ. 7438 - 2565 2 3 . ข้อกำหนด 3. 1 สถานที่ สถานที่เพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้า ในบ่อต้องไม่อยู่ในเขตพื้นที่ห้ามเพาะเลี้ยงสัตว์น้า กรณีสถานที่เพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้าในแหล่งน้าสาธารณะต้องอยู่ในพื้นที่ที่อนุญาต ให้เพาะเลี้ยงสัตว์น้าในแหล่งน้าสาธารณะ ตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ สถานที่ ต้อง ไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสัตว์น้า ซึ่งเมื่อนำไปเลี้ยงต่ออาจส่งผลต่อ ความปลอดภัย ของผู้บริโภค และมีความเหมาะสม ต่อการเพาะพันธุ์และการอนุบาลสัตว์น้าแต่ละชนิด 3. 1 .1 การเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้าในบ่อ 3. 1.1.1 ไม่อยู่ในเขตพื้นที่ห้ามเพาะเลี้ยงสัตว์น้าตามกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง 3. 1.1.2 ไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อน จากแหล่งกำเนิดมลพิษ ที่มีผลต่อสัตว์น้า ที่เพาะพันธุ์และอนุบาล ซึ่งเมื่อนำไปเลี้ยงต่ออาจส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค กรณีมีความเสี่ยงต้องมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อน 3. 1.1.3 ควรอยู่ใกล้แหล่งน้า หรือสามารถจัดหาน้าที่มีปริมาณเพียงพอและมีคุณภาพ หรือสามารถ ปรับปรุงคุณภาพให้เหมาะสมสาหรับการเพาะพันธุ์และการอนุบาลสัตว์น้าแต่ละชนิด 3. 1.2 การเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้า ใน แหล่งน้าสาธารณะ 3. 1.2.1 ต้องอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ทาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้าในแหล่งน้าสาธารณะ ตามพระราชกำหนด การประมง พ.ศ. 2558 3. 1.2.2 ไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อน จากแหล่งกำเนิดมลพิษ ที่มีผลต่อสัตว์น้า ที่เพาะพันธุ์และอนุบาล ซึ่งเมื่อนำไปเลี้ยงต่ออาจส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค กรณีมีความเสี่ยงต้องมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อน 3. 2 การจัดการ เพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้า มีการจัดการเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้าที่ดีในทุกขั้นตอน เพื่อได้ลูกพันธุ์สัตว์น้า มีคุณภาพ แข็งแรง เจริญเติบโตดี ลดความเสี่ยงในการเกิดโรค 3. 2. 1 การ เตรียมสถานที่ เพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้า 3. 2. 1 .1 การ เพาะพันธุ์และอนุบาล สัตว์น้า ในบ่อ 3. 2. 1 .1 .1 ควรเตรียมบ่อ ให้อยู่ในสภาพดี แข็งแรง มีการปรับสภาพบ่อ และเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ ในการเพาะพันธุ์และการอนุบาลสัตว์น้าอย่างถูกสุขลักษณะ
มกษ. XXXX - XXXX 3 มกษ. 7438 - 2565 3. 2.1.1.2 ควรเตรียมน้าและปรับปรุงคุณภาพน้าให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้า ก่อนนำมาใช้ ในการเพาะพันธุ์ และการอนุบาล 3. 2. 1 . 1. 3 ควรมีมาตรการเพื่อป้องกันศัตรูของสัตว์น้า พาหะนำเชื้อ และสัตว์น้าอื่นๆ จากภายนอกฟาร์ม เข้ามาในฟาร์ม 3. 2. 1 .2 การ เพาะพันธุ์และอนุบาล สัตว์น้า ในแหล่งน้าสาธารณะ 3. 2. 1 .2.1 ต้องใช้พื้นที่ในการเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้าไม่เกินขอบเขตที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงาน ที่มีอานาจหน้าที่ 3. 2.1. 2 . 2 ควรสังเกตและเฝ้าระวังคุณภาพน้าทางกายภาพ หรือตรวจ สอบ คุณภาพน้าอย่างสม่าเสมอ ตลอดระยะเวลาการเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้า และควรมีมาตรการจัดการแก้ไขในสภาวะ ที่คุณภาพน้า มีการเปลี่ยนแปลงฉับพลัน 3.2.1.2. 3 ควรเตรียมและจัดวางกระชังอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้น้าถ่ายเทได้ดี ลดการสะสม ของ เชื้อ ก่อ โรค และลดความเสี่ยงในการเกิดโรค 3.2.1.2. 4 ควรทาความสะอาดและดูแลรักษากระชัง เครื่องมือ และอุปกรณ์เป็นระยะๆ เพื่อให้ น้า ถ่ายเทได้ดี ลดการสะสมของของเสีย ลดการสะสมของเชื้อ ก่อ โรคและ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรค 3.2.2 พ่อแม่พันธุ์ สัตว์น้า 3.2.2. 1 ควรเลือกใช้พ่อแม่พันธุ์ สัตว์น้า ที่มีลักษณะดี สุขภาพดี แข็งแรง และมีความสมบูรณ์เพศ 3.2.2. 2 พ่อแม่พันธุ์หรือลูกพันธุ์สัตว์น้าที่นามาเลี้ยงเพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ ต้องมีเอกสาร เป็นหลักฐาน แสดงแหล่งที่มา กรณีกุ้งทะเลต้องมีหนังสือกากับการซื้อขายสัตว์น้า 3.2.3 การเพาะพันธุ์และการอนุบาล สัตว์น้า 3.2.3.1 ควรจัดทาคู่มือประจาฟาร์ม หรือใช้คู่มือการเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้าของกรมประมง หรือเอกสารที่เป็นแหล่งความรู้ด้านการเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้า เพื่อเป็นแนวทาง ในการปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ 3.2.3.2 ควรดาเนินการเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้าอย่างถูก สุขลักษณะ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนข้าม ลดความเสี่ยงของการเกิดโรค และลดการใช้ยาสัตว์และสารเคมีโดยไม่จาเป็น 3.2.3. 3 การนาลูกพันธุ์สัตว์น้าจากภายนอกฟาร์มมาอนุบาล ต้องมีเอกสาร เป็นหลักฐาน แสดงแหล่งที่มา กรณีลูกพันธุ์กุ้งทะเลต้องมีหนังสือกากับการซื้อขายลูกพันธุ์สัตว์น้าที่ได้จากการเพาะเลี้ยง ( Aquacultural Fry Purchasing Document : AFPD) 3.2.3. 4 ควรสังเกตคุณภาพน้าทางกายภาพ หรือตรวจสอบคุณภาพน้าระหว่างการเพาะพันธุ์และ อนุบาลสัตว์น้าอย่างสม่าเสมอ และควรปรับปรุ งคุณภาพน้าตามความจาเป็นให้เหมาะสมกับ ชนิดของสัตว์น้า
มกษ. 7438 - 2565 4 3. 2. 4 อาหารสัตว์น้า การจัดการการให้อาหาร และการเก็บรักษา 3. 2. 4 . 1 กรณีที่ใช้อาหารสัตว์ผสมสาเร็จรูป อาหารเสริม สารผสมล่วงหน้า ( พรีมิกซ์ ) และหัวอาหารสัตว์ ซึ่งกาหนดให้ต้องขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 ต้องใช้ชนิดที่ขึ้นทะเบียนถูกต้อง และไม่หมดอายุ 3. 2. 4 . 2 อาหารสัตว์น้าทุกชนิดและวัตถุดิบอาหารสัตว์น้าที่ใช้ในฟาร์ม ต้องไม่มีส่วนผสมของวัตถุหรือยา ที่ห้ามใช้ผสมในอาหารสัตว์ ตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 3.2.4.3 อาหารมีชีวิตและอาหารสดที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์และอนุบาลสัตว์น้า ควรเลือกใช้ชนิดที่มีคุณค่า ทางโภชนาการเหมาะสมกับชนิดและวัยของสัตว์น้า มีคุณภาพ มีการผลิตและเตรียมอย่างถูกสุขลักษณะ 3. 2. 4 . 4 ควรจัดการให้อาหารสัตว์น้าอย่างมีประสิทธิภาพ เลือกใช้ชนิดที่มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม กับ ชนิดและวัยของสัตว์น้า และใช้ในปริมาณที่พอเหมาะกับขนาด ชนิด อายุ จำนวน และความหนาแน่น ของสัตว์น้า 3. 2. 4 . 5 ควรเก็บรักษาอาหารสัตว์น้าในสถานที่ที่สามารถรักษาคุณภาพของอาหาร สัตว์น้า และป้องกัน การปนเปื้อนได้ 3 . 3 การจัดการสุขภาพสัตว์น้า การจัดการดูแลสุขภาพสัตว์น้าอย่างเหมาะสม เพื่อให้พ่อแม่พันธุ์และลูกพันธุ์สัตว์น้ามีสุขภาพดี แข็งแรง ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและการแพร่กระจายของโรค 3. 3.1 ควร มีการ ติดตาม ดูแลสุขภาพสัตว์น้าอย่างสม่าเสมอ 3. 3. 2 หากพบว่าสัตว์น้ามีอาการผิดปกติ ควร ตรวจหาสาเหตุเบื้องต้นและ พิจารณาด้านการจัดการ ก่อนการใช้ยาสัตว์และสารเคมี 3. 3. 3 เมื่อสัตว์น้าตายเป็นจานวนมากผิดปกติหรือสงสัยว่าสัตว์น้าตายด้วยโรคระบาด ต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 โดยต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ที่มีอานาจหน้าที่เพื่อหา สาเหตุ ต้องกักขัง แยก หรือย้ายสัตว์น้าป่วยออกจากสัตว์น้าปกติไว้ภายในเขต กักกัน ตามวิธีการ ที่กาหนด มีวิธีการจัดการซากสัตว์น้า อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบการเพาะพันธุ์และ อนุบาล และน้าทิ้ง อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค 3. 4 การใช้ยา สัตว์ สารเคมี และผลิตภัณฑ์จุลชีพ การใช้ยาสัตว์ สารเคมี และผลิตภัณฑ์จุลชีพ เพื่อการจัดการดูแลสุขภาพและรักษาโรคสัตว์น้า อย่างถูกต้องตามกฏหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อสัตว์น้าและเพื่อความปลอดภัย ของผู้บริโภค
มกษ. XXXX - XXXX 5 มกษ. 7438 - 2565 3. 4.1 ห้ามใช้ยาสัตว์และสารเคมีต้องห้ามตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3. 4.2 การใช้ยาสัตว์ต้องใช้ชนิดที่อนุญาตให้ใช้ได้ตามกฎหมาย กรณีเป็นชนิดที่กำหนดให้ต้อง ขึ้นทะเบียน ต้องขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องกับสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา และปฏิบัติ ตามวิธีการใช้และมีระยะหยุดยาตามที่ระบุในฉลาก หรือปฏิบัติตามคาแนะนาของสัตวแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่กรมประมง และต้องบันทึกข้อมูลการใช้ 3. 4 . 3 การใช้สารเคมีต้องใช้ชนิดที่อนุญาตให้ใช้ได้ตามกฎหมาย กรณีเป็นชนิดที่กำหนดให้ต้อง ขึ้นทะเบียน ต้องมีการขึ้นทะเบียนกับ หน่วยงานที่มีอานาจหน้าที่ และปฏิบัติตามวิธีการใช้ ที่ระบุในฉลาก หรือตามคาแนะนาของสัตวแพทย์หรือเจ้าหน้าที่กรมประมง 3. 4.4 การใช้ผลิตภัณฑ์จุลชี พ ในการเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้า ควรเลือกใช้ชนิดที่มีการขึ้นทะเบียน กับหน่วยงานที่มีอานาจหน้าที่ เช่น กรมประมง และปฏิบัติตามคาแนะนาการใช้ที่ระบุในฉลาก 3. 4.5 ควรเก็บยาสัตว์ สารเคมี และผลิตภัณฑ์จุลชีพในที่ที่สามารถป้องกันการเสื่อมสภาพและป้องกัน การนาไปใช้โดยผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน 3. 5 สุขลักษณะภายในฟาร์ม มีการจัดการฟาร์มอย่างถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของ ของเสีย ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล เชื้อก่อโรค ยาสัตว์ สารเคมี รวมทั้งป้องกัน สัตว์พาหะนาเชื้อ เข้าสู่ระบบการเพาะพันธุ์ และอนุบาลที่จะส่งผลกระทบต่อสัตว์น้าและความปลอดภัย ของผู้บริโภค 3. 5 .1 ห้องสุขาต้องถูกสุขลักษณะและมีการป้องกันการปนเปื้อนลงสู่ระบบการเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้า 3. 5 .2 ควรมีการจัดการของเสีย ขยะมูลฝอย และบรรจุภัณฑ์ยาสัตว์หรือสารเคมีอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการปนเปื้อนสู่ระบบการเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้า ผลิตผล และสภาพแวดล้อม 3. 5 . 3 เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหะนาเชื้อ ควรเก็บรักษาปัจจัยการผลิตที่ไม่ใช่อาหารสัตว์น้า เช่น วัสดุปูน ปุ๋ย วัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อป้องกัน การปนเปื้อน และ การเสื่อมสภาพ รวมทั้งจัดเก็บให้เป็นระเบียบและสะอาด 3. 6 น้าทิ้ง การจัดการน้าทิ้งให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคานึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม 3. 6 .1 กรณีมีการระบายน้าทิ้งออกจากบ่อเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้าสู่แหล่งน้าสาธารณะหรือพื้นที่ สาธารณะโดยตรง น้าทิ้งต้องมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กาหนดตามประกาศกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่าด้วยเรื่องการกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้าทิ้งจาก บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้า
มกษ. 7438 - 2565 6 3. 7 การ รวบรวม และการ ปฏิบัติหลังการ รวบรวม ลูกพันธุ์สัตว์น้า ก่อนการขนส่ง ออกจากฟาร์ม การรวบรวมและการปฏิบัติหลังการรวบรวมก่อนการขนส่งลูกพันธุ์สัตว์น้าออกจากฟาร์ม อย่างปลอดภัย และถูกสุขลักษณะ เพื่อรักษาคุณภาพของสัตว์น้า และ ป้องกันการปนเปื้อน ที่ จะส่งผลต่อคุณภาพของสัตว์น้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค รวมถึงให้สามารถตามสอบ ที่มาของสัตว์น้าได้ 3. 7 .1 ฟาร์มต้องออกเอกสารหลักฐานการซื้อขายลูกพันธุ์สัตว์น้าให้กับผู้ซื้อเพื่อให้สามารถตามสอบได้ กรณีกุ้งทะเลต้องออกเป็นหนังสือกากับการซื้อขายสัตว์น้า 3. 7 . 2 ภาชนะ วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการรวบรวมลูกพันธุ์สัตว์น้า ควรสะอาด ถูกสุขลักษณะ และไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพลูกพันธุ์สัตว์น้า 3. 7 . 3 ควรใช้วิธีการรวบรวมลูกพันธุ์สัตว์น้าแต่ละชนิดให้เหมาะสม เพื่อลดความบอบช้าและ ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น 3.7.4 ควรใช้ภาชนะ วัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ และความหนาแน่นในการบรรจุให้เหมาะสมกับชนิด ขนาด และระยะเวลาในการขนส่งลูกพันธุ์สัตว์น้า และมีการปฏิบัติหลังการบรรจุก่อนการขนส่ง ที่เหมาะสม 3. 8 ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานที่มีความรู้หรือประสบการณ์ในการเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้า ทาให้การเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ามีประสิทธิภาพ ได้ลูกพันธุ์สัตว์น้าที่มีคุณภาพ แข็งแรง เหมาะสมสาหรับการนาไปเลี้ยงต่อ 3. 8 .1 ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการเพาะพันธุ์ และอนุบาลสัตว์น้าควรมีความรู้หรือประสบการณ์ ด้านการเพาะพันธุ์และการอนุบาลสัตว์น้า หรือได้รับการอบรมด้านวิชาการ รวมทั้งกฎระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง 3. 9 บันทึกข้อมูล และเอกสารหลักฐานเพื่อการตามสอบ การบันทึกและเก็บรักษาข้อมูลและหลักฐานที่สำคัญต่างๆ ในทุกขั้นตอนของการผลิต เพื่อเป็นเครื่ องมือในการหาสาเหตุหรืออุปสรรค ในการเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้า ความปลอดภัยของผู้บริโภค การตามสอบสินค้า และเป็นหลักฐานในการตรวจประเมิน
มกษ. XXXX - XXXX 7 มกษ. 7438 - 2565 3. 9 . 1 บันทึกข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ต้องมี ได้แก่ 1) เอกสารหลักฐานแสดงแหล่งที่มา และการจาหน่าย ของพ่อแม่พันธุ์และลูกพันธุ์สัตว์น้า (ข้อ 3 . 2 . 2 . 2 และข้อ 3. 7.1 ) 2 ) บันทึกข้อมูล ความผิดปกติ การป่วย การตายของพ่อแม่พันธุ์และลูกพันธุ์ และวิธีการแก้ไข (ข้อ 3.3.2 และข้อ 3. 3.3) 3 ) บันทึกข้อมูล ชนิด อาหารสัตว์ผสมสาเร็จรูป อาหารเสริม สารผสมล่วงหน้า ( พรีมิกซ์ ) และหัวอาหาร เครื่องหมายการค้าของอาหาร และ วันที่ผลิต (ข้อ 3 . 2.4.1 และ ข้อ 3 . 2.4.2 ) 4 ) บันทึกข้อมูลการใช้ยาสัตว์ สารเคมี และผลิตภัณฑ์จุลชีพ เช่น ชนิด ปริมาณการใช้ วันที่ใช้ วันหยุดการใช้ และเหตุผลการใช้ (ข้อ 3.4.2 ข้อ 3.4.3 และข้อ 3.4.4 ) 3. 9 .2 บันทึก ข้อมูลที่ควร มี เช่น 1) คุณภาพน้าก่อนที่จะนามาใช้ในการเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้า คุณภาพน้าในบ่อเพาะพันธุ์ และอนุบาลสัตว์น้า คุณภาพน้าก่อนปล่อยออกภายนอกฟาร์ม หรือคุณภาพน้าในแหล่งน้า สาธารณะที่ใช้ในการเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้า (ข้อ 3 . 2.1.1.2 และข้อ 3 . 2.1.2.2 ) 2 ) ชนิดของอาหารสัตว์น้าใช้ในฟาร์ม แหล่งที่มา วันที่ให้อาหาร ปริมาณที่ให้ (ข้อ 3.2.4.3 และ ข้อ 3.2 .4. 4 ) 3 ) ประวัติการฝึกอบรม (ข้อ 3 . 8 ) 3. 9 . 3 ควรเก็บรักษา เอกสาร หลักฐานและ บันทึกข้อมูลเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี