Thu Dec 22 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลแม่คะ เรื่อง โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ วิธีดำเนินงานและสถานที่ติดต่อเพื่อรับข้อมูลข่าวสารขององศ์การบริหารส่วนตำบลแม่คะ


ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลแม่คะ เรื่อง โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ วิธีดำเนินงานและสถานที่ติดต่อเพื่อรับข้อมูลข่าวสารขององศ์การบริหารส่วนตำบลแม่คะ

ประกาศองค์การบริหารส่วนตําบลแม่คะ เรื่อง โครงสร้าง อํานาจหน้าที่ วิธีดําเนินงานและสถานที่ติดต่อเพื่อรับข้อมูลข่าวสาร ขององศ์การบริหารส่วนตําบลแม่คะ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 7 ( 1 ) ( 2 ) และ ( 3 ) แห่งพระราชบัญญัติข่าวสารของราชการ พ . ศ . 2540 ที่จะให้ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงและได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดําเนินงานต่าง ๆ ของทางราชการ และสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยถูกต้องกับสภาพความเป็นจริงจึงสมควร ประกาศโครงสร้างและจัดองค์กรในการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนตําบลแม่คะ และสถานที่ติดต่อ เพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารในองค์การบริหารส่วนตําบลแม่คะ ดังนี้ ( ก ) โครงสร้างการจัดหน่วยงาน ( 1 ) การจัดโครงสร้างองค์กรในการดําเนินการ อํานาจหน้าที่ที่สําคัญขององค์การบริหาร ส่วนตําบลแม่คะเป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ . ศ . 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ( 2 ) องค์การบริหารส่วนตําบลแม่คะ ได้จัดโครงสร้างและองค์กรในการดําเนินการ ดังต่อไปนี้ ( 2 . 1 ) สํานักปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล ( 2 . 2 ) กองคลัง ( 2 . 3 ) กองช่าง ( 2 . 4 ) กองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ( 2 . 5 ) กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ( 2 . 6 ) หน่วยตรวจสอบภายใน ( 3 ) การบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตําบลแม่คะ จะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข ของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจภาครัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การอํานวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ โดยผู้รับผิดชอบผลของงานในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบลแม่คะต้องใช้วิธีการ ้ หนา 424 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565

บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คํานึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วม ของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดต่อตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสม ของแต่ภารกิจและให้เป็นไปตามกฎหมายที่กําหนด ( ข ) อํานาจหน้าที่ อํานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบลแม่คะ ประกอบด้วย ( 1 ) พระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ . ศ . 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สรุปได้ ดังนี้ ( 1 . 1 ) องค์กรบริหารส่วนตําบลมีอํานาจหน้าที่ในการพัฒนาตําบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ( 1 . 2 ) องค์การบริหารส่วนตําบล มีหน้าที่ต้องทําในเขตองค์การบริหารส่วนตําบล ดังต่อไปนี้ ( 1 . 2 . 1 ) จัดให้มีและบํารุงรักษาทางน้ําและทางบก ( 1 ) รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริม สนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ( 1 . 2 . 2 ) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ํา ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกําจัดมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล ( 1 . 2 . 3 ) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ( 1 . 2 . 4 ) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( 1 . 2 . 5 ) จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการฝึกอบรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทาง ที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ( 1 . 2 . 6 ) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ( 1 . 2 . 7 ) คุ้มครอง ดูแล และบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( 1 . 2 . 8 ) บํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดี ของท้องถิ่น ( 1 . 2 . 9 ) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณ หรือบุคลากรให้ตามความจําเป็นและสมควร ้ หนา 425 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565

( 1 . 3 ) องค์การบริหารส่วนตําบลอาจจัดทํากิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตําบล ดังต่อไปนี้ ( 1 . 3 . 1 ) ให้มีน้ําเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร ( 1 . 3 . 2 ) ให้มีและบํารุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น ( 1 . 3 . 3 ) ให้มีและบํารุงรักษาทางระบายน้ํา ( 1 . 3 . 4 ) ให้มีและบํารุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ ( 1 . 3 . 5 ) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์ ( 1 . 3 . 6 ) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว ( 1 . 3 . 7 ) บํารุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร ( 1 . 3 . 8 ) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ( 1 . 3 . 9 ) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตําบล ( 1 . 3 . 10 ) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม ( 1 . 3 . 11 ) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ ( 1 . 3 . 12 ) การท่องเที่ยว ( 1 . 3 . 13 ) การผังเมือง ( 2 ) พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กําหนดให้องค์การบริหารส่วนตําบลมีอํานาจและหน้าที่ในการจัดระบบ บริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ ( 2 . 1 ) การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ( 2 . 2 ) การจัดให้มีและบํารุงรักษาทางบก ทางน้ํา และทางระบายน้ํา ( 2 . 3 ) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ ( 2 . 4 ) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ ( 2 . 5 ) การสาธารณูปการ ( 2 . 6 ) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ ้ หนา 426 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565

( 2 . 7 ) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน ( 2 . 8 ) การส่งเสริมการท่องเที่ยว ( 2 . 9 ) การจัดการศึกษา ( 2 . 10 ) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และ ผู้ด้อยโอกาส ( 2 . 11 ) การบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดี ของท้องถิ่น ( 2 . 12 ) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ( 2 . 13 ) การจัดให้มีและบํารุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ( 2 . 14 ) การส่งเสริมกีฬา ( 2 . 15 ) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน ( 2 . 16 ) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น ( 2 . 17 ) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ( 2 . 18 ) การกําจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ําเสีย ( 2 . 19 ) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ( 2 . 20 ) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน ( 2 . 21 ) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ ( 2 . 22 ) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ ( 2 . 23 ) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ ( 2 . 24 ) การจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ( 2 . 25 ) การผังเมือง ( 2 . 26 ) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร ( 2 . 27 ) การดูแลรักษาที่สาธารณะ ้ หนา 427 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565

( 2 . 28 ) การควบคุมอาคาร ( 2 . 29 ) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( 2 . 30 ) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกัน และรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ( 2 . 31 ) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการ ประกาศกําหนด ( ค ) วิธีการดําเนินงาน วิธีการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนตําบลแม่คะ คือ กรณีเป็นอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการ ภายในองค์การบริหารส่วนตําบลแม่คะ ให้ประชาชนสามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่สํานักงานองค์การบริหาร ส่วนตําบลแม่คะ เลขที่ 300 หมู่ที่ 3 ตําบลแม่คะ อําเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50110 ( ง ) สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคําแนะนําในการติดต่อกับส่วนราชการภายใน องค์การบริหารส่วนตําบลแม่คะ ได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารองค์การบริหารส่วนตําบลแม่คะ ตั้งอยู่ ที่ทําการ องค์การบริหารส่วนตําบลแม่คะ เลขที่ 300 หมู่ที่ 3 ตําบลแม่คะ อําเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50110 หมายเลขโทรศัพท์ 053 969 067 หมายเลขโทรสาร 053 969 068 หรือ www.maekha.go.th จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ . ศ . 2565 ร้อยตํารวจโท สมศักดิ์ ใจสม นายกองค์การบริหารส่วนตําบลแม่คะ ้ หนา 428 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565