ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลไทยอุดม เรื่อง โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน สรุปอำนาจหน้าที่สำคัญ วิธีการดำเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร
ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลไทยอุดม เรื่อง โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน สรุปอำนาจหน้าที่สำคัญ วิธีการดำเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร
ประกาศองค์การบริหารส่วนตําบลไทยอุดม เรื่อง โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดําเนินงาน สรุปอํานาจหน้าที่สําคัญ วิธีการดําเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 7 ( 1 ) ( 2 ) ( 3 ) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ . ศ . 2540 ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ และหน่วยงานขอรัฐ พร้อมทั้ง ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็น และใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยถูกต้องกับสภาพความเป็นจริง ประกอบกับพระราชบัญญัติสภาตําบล พ . ศ . 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติกําหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอํานาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กําหนดให้องค์การบริหารส่วนตําบลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มีโครงสร้าง และการจัดองค์กรในการดําเนินงานและอํานาจหน้าที่ที่สําคัญและวิธีการดําเนินงาน ดังนั้น เพื่อให้การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตําบลไทยอุดมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ส่วนราชการในสังกัดมีหน้าที่รับผิดชอบงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย จึงอาศัยความในมาตรา 15 และมาตรา 25 วรรคเจ็ด แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 จึงประกาศโครงสร้างและการจัดองค์กรในการดําเนินงาน สรุปอํานาจหน้าที่สําคัญวิธีการดําเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารองค์การบริหารส่วนตําบลไทยอุดม ดังนี้ ก . โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนตําบลไทยอุดม ดังนี้ 1 . สํานักงานปลัด มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานราชการทั่วไป ขององค์การบริหารส่วนตําบล และราชการที่มิได้กําหนดหน้าที่ของส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนตําบลโดยเฉพาะ รวมทั้งกํากับ และเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนตําบล ให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทางและแผนการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตําบล งานด้านธุรการ งานสารบรรณ การจัดทําแผนพัฒนา การจัดทําร่างข้อบัญญัติตําบล การจัดทําทะเบียนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบล การให้คําปรึกษาหน้าที่และความรับผิดชอบการปกครองบังคับบัญชาของพนักงานส่วนตําบล และพนักงานจ้าง การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตําบล ดําเนินการเกี่ยวกับอนุญาตต่าง ๆ และปฏิบัติงาน ที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการที่เรียกชื่ออื่น รวมทั้งกํากับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการ ในองค์การบริหารส่วนตําบล ให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตําบล โดยมีโครงสร้างงานในสํานักงานปลัด ดังนี้ ้ หนา 362 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565
1 . 1 บริหารงานทั่วไป 1 . 2 งานนโยบายและแผน 1 . 3 งานกฎหมายและคดี 1 . 4 งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1 . 5 งานสวัสดิการและสังคมสงเคราะห์ 1 . 6 งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 2 . กองคลัง มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทําบัญชีและทะเบียนรับ – จ่ายเงิน ทุกประเภท เกี่ยวกับการเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนําส่ง การฝากเงิน การตรวจเงินขององค์การบริหารส่วนตําบล รวบรวมสถิติเงินได้ประเภทต่าง ๆ การเบิกตัดปี การขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณ การหักภาษี และนําส่งรายงานเงินคงเหลือประจําวัน การรับและจ่ายขาดเงินสะสมขององค์การบริหารส่วนตําบล การยืมเงินทดรองราชการ การจัดสรรผลประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน ตรวจสอบงานของจังหวัด และสํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน การพัฒนารายได้ การออกใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีโครงสร้างงานในกองคลัง ดังนี้ 2 . 1 งานบริหารทั่วไป 2 . 2 งานการเงินและบัญชี 2 . 3 งานจัดเก็บและพัฒนารายได้ 2 . 4 งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ 3 . กองช่าง มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสํารวจ ออกแบบ การจัดทําข้อมูลทางด้าน วิศวกรรม การจัดเก็บและทดสอบคุณภาพพัสดุ งานออกแบบและเขียนแบบ การตรวจสอบ การก่อสร้าง งานการควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย งานแผนปฏิบัติ งานการก่อสร้างและซ่อมบํารุง การควบคุม การก่อสร้าง และซ่อมบํารุง งานแผนงานด้านวิศวกรรมเครื่องจักรกล การรวบรวมประวัติติดตามควบคุม การปฏิบัติงานเครื่องจักรกล การควบคุม การบํารุงรักษาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ งานเกี่ยวกับ แผนงานควบคุม เก็บรักษา การเบิกจ่ายวัสดุ อุปกรณ์ อะไหล่ น้ํามันเชื้อเพลิง และงานอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีโครงสร้างงานในกองช่าง ดังนี้ ้ หนา 363 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565
3 . 1 งานบริหารงานทั่วไป 3 . 2 งานก่อสร้าง 3 . 3 งานออกแบบ และควบคุมอาคาร 3 . 4 งานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ 3 . 5 งานผังเมือง 4 . กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับปฏิบัติงานด้านการศึกษา การวิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาหลักสูตร การแนะแนว การวัดผล ประเมินผล การพัฒนาตําราเรียน การวางแผนการศึกษา ตามมาตรฐานสถานศึกษา การจัดบริการส่งเสริมการศึกษา การจัดการและส่งเสริม ศาสนาและประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น การจัดการและส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ และปฏิบัติงานอื่น ที่เกี่ยวข้อง โดยมีโครงสร้างงานในกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ดังนี้ 4 . 1 งานบริหารการศึกษา 4 . 2 งานส่งเสริมกิจการโรงเรียน 4 . 3 งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 . 4 งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม กีฬาและนันทนาการ ข . สรุปอํานาจหน้าที่ที่สําคัญ และวิธีการกําเนินงานของหน่วยงาน ( 1 ) ภารกิจ อํานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบลไทยอุดม การวิเคราะห์ภารกิจ อํานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบล ตามพระราชบัญญัติ สภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ . ศ . 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติกําหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอํานาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบว่าองค์การบริหารส่วนตําบล มีอํานาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดําเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร โดยสามารถกําหนดแบ่งภารกิจได้ เป็น 7 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกําหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ . ศ . 2537 และตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 ดังนี้ ้ หนา 364 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565
1 . ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1 . 1 จัดให้มีและบํารุงรักษาทางน้ําและทางบก 1 . 2 ให้มีน้ําเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร 1 . 3 ให้มีและบํารุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น 1 . 4 ให้มีและบํารุงรักษาทางระบายน้ํา 1 . 5 การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ 1 . 6 การสาธารณูปการ 2 . ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 2 . 1 ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ 2 . 2 ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ 2 . 3 ให้มีและบํารุงสถานที่ประชุม การกีฬาการพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ 2 . 4 การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส 2 . 5 การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย 2 . 6 การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน 2 . 7 การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล 3 . ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 3 . 1 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 3 . 2 การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน 3 . 3 การผังเมือง 3 . 4 จัดให้มีที่จอดรถ 3 . 5 การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 3 . 6 การควบคุมอาคาร ้ หนา 365 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565
4 . ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยวมีภารกิจ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 4 . 1 ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว 4 . 2 ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์ 4 . 3 บํารุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร 4 . 4 ให้มีตลาด 4 . 5 การท่องเที่ยว 4 . 6 กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ 4 . 7 การส่งเสริม การฝึกและประกอบอาชีพ 4 . 8 การพาณิชยกรรมและการส่งเสริมการลงทุน 5 . ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีภารกิจที่ 5 . 1 คุ้มครอง ดูแล และบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5 . 2 รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ํา ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกําจัดมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล 5 . 3 การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ 6 . ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 6 . 1 บํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดี ของท้องถิ่น 6 . 2 ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 6 . 3 การจัดการศึกษา 6 . 4 การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น 7 . ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 7 . 1 สนับสนุนสภาตําบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น ้ หนา 366 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565
7 . 2 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากร ให้ตามความจําเป็นและสมควร 7 . 3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร ในการมีมาตรการป้องกัน 7 . 4 การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 . 5 การสร้างและบํารุงรักษาทางบกและทางน้ําที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นอื่น ภารกิจทั้ง 7 ด้านตามที่กฎหมายกําหนดให้อํานาจองค์การบริหารส่วนตําบล สามารถจะแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตําบลไทยอุดมได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยคํานึงถึงความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ที่ประกอบด้วยการดําเนินการขององค์การบริหารส่วนตําบล จะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอําเภอ แผนพัฒนาตําบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตําบลเป็นสําคัญ ( 2 ) ภารกิจหลักและภารกิจรองที่องค์การบริหารส่วนตําบลไทยอุดมจะดําเนินการ มีดังนี้ 1 . ภารกิจหลัก 1 . 1 ด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน 1 . 2 ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต 1 . 3 ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย 1 . 4 ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1 . 5 ด้านการพัฒนาการเมืองและการบริหาร 1 . 6 ด้านการส่งเสริมการศึกษา 1 . 7 ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2 . ภารกิจรอง 2 . 1 การฟื้นฟูวัฒนธรรมและส่งเสริมประเพณี 2 . 2 การสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพกลุ่มอาชีพ 2 . 3 การส่งเสริมการเกษตรและการประกอบอาชีพทางการเกษตร 2 . 4 ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน ้ หนา 367 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565
ค . สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคําแนะนําในการติดต่อกับองค์การบริหาร ส่วนตําบลไทยอุดม ศูนย์ข้อมูลข่าวสารองค์การบริหารส่วนตําบลไทยอุดม ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 36 / 1 หมู่ 2 ตําบลไทยอุดม อําเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว 27260 โทร . 037 - 24789 o โทรสาร o 37 - 247891 email : contact@thaiudom.go.th เว็บไซต์ : http://www.oic.go.th/INFOCENTER 72 / 7223 ประกาศ ณ วันที่ 21 เมษายน พ . ศ . 2564 มณีจันทร์ ยอดทอง นายกองค์การบริหารส่วนตําบลไทยอุดม ้ หนา 368 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565