Thu Dec 22 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลเขาน้อย เรื่อง โครงสร้างอำนาจหน้าที่ วิธีดำเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อรับข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาน้อย


ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลเขาน้อย เรื่อง โครงสร้างอำนาจหน้าที่ วิธีดำเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อรับข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาน้อย

ประกาศองค์การบริหารส่วนตําบลเขาน้อย เรื่อง โครงสร้างอํานาจหน้าที่ วิธีดําเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อรับข้อมูลข่าวสาร ขององค์การบริหารส่วนตําบลเขาน้อย ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ . ศ . 2540 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2540 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2540 เป็นต้นมา โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กําหนดให้หน่วยงานของรัฐรวบรวมข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 7 ( 1 ) ( 2 ) และ ( 3 ) ที่มีผลใช้บังคับอยู่ ได้แก่ โครงสร้าง อํานาจหน้าที่ วิธีดําเนินงาน และสถานที่ติดต่อลงพิมพ์ ในราชกิจจานุเบกษา นั้น เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ . ศ . 2540 ที่จะให้ประชาชน มีสิทธิเข้าถึงและได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดําเนินงานต่าง ๆ ของทางราชการและสามารถแสดงความคิดเห็น และใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยถูกต้องกับสภาพความเป็นจริง จึงสมควรประกาศโครงสร้างอํานาจหน้าที่ วิธีดําเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตําบลเขาน้อย ดังนี้ 1 . การจัดโครงสร้างองค์กรในการดําเนินการ อํานาจหน้าที่ที่สําคัญขององค์การบริหาร ส่วนตําบลเขาน้อยเป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ . ศ . 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2 . องค์การบริหารส่วนตําบลเขาน้อยจัดโครงสร้างและองค์กรในการดําเนินการ ดังต่อไปนี้ 2 . 1 สํานักปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล 2 . 2 กองคลัง 2 . 3 กองช่าง 2 . 4 หน่วยตรวจสอบภายใน 3 . การบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตําบลเขาน้อย จะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข ของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจภาครัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การอํานวยความสะอาดและตอบสนองความต้องการของประชาชน ้ หนา 291 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565

ทั้งนี้ โดยมีผู้รับผิดชอบผลของงานในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบลเขาน้อย ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คํานึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของแต่ภารกิจและให้เป็นไปตามกฎหมายที่กําหนด 4 . อํานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบลเขาน้อย ประกอบด้วย 4 . 1 อํานาจหน้าที่ตามมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหาร ส่วนตําบล พ . ศ . 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กําหนดให้องค์การบริหารส่วนตําบลมีอํานาจหน้าที่ต้อง ดําเนินการภายในเขตองค์การบริหารส่วนตําบล ดังนี้ ( 1 ) จัดให้มีและบํารุงรักษาทางน้ํา และทางบก ( 2 ) รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจรและส่งเสริมสนับสนุน หน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ( 3 ) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ํา ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกําจัดมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล ( 4 ) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ( 5 ) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( 6 ) จัดการ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการฝึกอบรม ให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทางที่เสนอแนะ จากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ( 7 ) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ( 8 ) คุ้มครอง ดูแล และบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( 9 ) บํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ( 10 ) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคคลากร ให้ตามความจําเป็นและสมควร 4 . 2 อํานาจหน้าที่ตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ . ศ . 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ภายใต้บังคับแก่กฎหมาย องค์การบริหารส่วนตําบลเขาน้อย อาจจัดทํากิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตําบล ดังต่อไปนี้ ้ หนา 292 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565

( 1 ) ให้มีน้ําเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร ( 2 ) ให้มีและบํารุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น ( 3 ) ให้มีและบํารุงรักษาทางระบายน้ํา ( 4 ) ให้มีและบํารุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ ( 5 ) ให้มีการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์ ( 6 ) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว ( 7 ) บํารุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร ( 8 ) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ( 9 ) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตําบล ( 10 ) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม ( 11 ) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ ( 12 ) การท่องเที่ยว ( 13 ) การผังเมือง 4 . 3 โครงสร้างการบริหารขององค์การบริหารส่วนตําบล 1 . นายกองค์การบริหารส่วนตําบล 1 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ทําหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารเท่านั้น โดยการกําหนดนโยบาย ควบคุม และรับผิดชอบการบริหารงาน ขององค์การบริหารส่วนตําบลและสามารถแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลช่วยบริหารงานได้ โดยในส่วนขององค์การบริการส่วนตําบลมีรองนายกองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 2 คน และนายกองค์การบริหารส่วนตําบลจะมีวาระการทํางาน 4 ปี 2 . สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต มีวาระทํางาน 4 ปี เช่นเดียวกับนายกองค์การบริหารส่วนตําบล 4 . 4 อํานาจหน้าที่ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอน การกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กําหนดให้ องค์การบริหารส่วนตําบล มีอํานาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชน ในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ ้ หนา 293 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565

( 1 ) การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ( 2 ) การจัดให้มี และบํารุงรักษาทางบกทางน้ํา และทางระบายน้ํา ( 3 ) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ ( 4 ) การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น ๆ ( 5 ) การสาธารณูปการ ( 6 ) การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ ( 7 ) กาพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน ( 8 ) การส่งเสริมการท่องเที่ยว ( 9 ) การจัดการศึกษา ( 10 ) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส ( 11 ) การบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ( 12 ) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ( 13 ) การจัดให้มี และบํารุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ( 14 ) การส่งเสริมกีฬา ( 15 ) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน ( 16 ) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น ( 17 ) การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ( 18 ) การกําจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ําเสีย ( 19 ) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ( 20 ) การจัดให้มี และควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน ( 21 ) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ ( 22 ) การจัดให้มี และควบคุมการฆ่าสัตว์ ( 23 ) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ ( 24 ) การจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ้ หนา 294 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565

( 25 ) การผังเมือง ( 26 ) การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร ( 27 ) การดูแลรักษาที่สาธารณะ ( 28 ) การควบคุมอาคาร ( 29 ) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( 30 ) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันรักษา ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ( 31 ) กิจการอื่นใด ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการ ประกาศกําหนด 5 . วิธีการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนตําบลเขาน้อย แบ่งออกเป็นกรณี คือ 5 . 1 กรณีที่เป็นอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการภายในองค์การบริหารส่วนตําบลเขาน้อย ให้ประชาชนสามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่สํานักงานองค์การบริหารส่วนตําบลเขาน้อย หมู่ที่ 4 ตําบลเขาน้อย อําเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช 80120 5 . 2 กรณีที่เป็นอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการสังกัดองค์การบริหารส่วนตําบลเขาน้อย ให้ประชาชนสามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่ทําการของแต่ละสถานที่ตามแต่กรณี 6 . สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคําแนะนําในการติดต่อกับส่วนราชการ ภายในองค์การบริหารส่วนตําบลเขาน้อย ได้ที่ศูนย์องค์การบริหารส่วนตําบลเขาน้อย ตั้งอยู่ที่ทําการ องค์การบริหารส่วนตําบลเขาน้อย หมู่ที่ 4 ตําบลเขาน้อย อําเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช 80120 และสามารถเข้าตรวจดูข้อมูลทาง Internet ได้ที่เว็บไซต์ https://www.khaonoi.go.th โทรศัพท์ 0 - 7575 - 3555 โทรสาร 0 - 7575 - 3556 ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ . ศ . 2564 ศุภโชค พัดฉิม นายกองค์การบริหารส่วนตําบลเขาน้อย ้ หนา 295 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565