Thu Dec 22 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย เรื่อง โครงสร้างอำนาจหน้าที่ วิธีการดำเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อรับข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย


ประกาศองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย เรื่อง โครงสร้างอำนาจหน้าที่ วิธีการดำเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อรับข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย

ประกาศองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย เรื่อง โครงสร้าง อํานาจหน้าที่ วิธีการดําเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อรับข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 7 ( 1 ) ( 2 ) และ ( 3 ) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ . ศ . 2540 ที่จะให้ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงและได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดําเนินการต่าง ๆ ของทางราชการและสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยถูกต้องกับสภาพความเป็นจริง จึงสมควรประกาศโครงสร้างและการจัดองค์กรในการดําเนินงาน สรุปอํานาจหน้าที่ วิธีดําเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย ดังนี้ 1 . การจัดโครงสร้างองค์กรในการดําเนินการ อํานาจหน้าที่ที่สําคัญขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัดหนองคาย เป็นไปตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ . ศ . 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2 . องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย ได้กําหนดโครงสร้าง และแบ่งส่วนราชการตามอํานาจหน้าที่ ที่รับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) สํานักปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย ( 2 ) สํานักงานเลขานุการองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย ( 3 ) กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ ( 4 ) กองคลัง ( 5 ) กองช่าง ( 6 ) กองสาธารณสุข ( 7 ) กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ( 8 ) กองการเจ้าหน้าที่ ( 9 ) กองพัสดุและทรัพย์สิน ( 10 ) หน่วยตรวจสอบภายใน ้ หนา 241 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565

3 . การบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย จะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข ของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจภาครัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การอํานวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ โดยมีผู้รับผิดชอบผลของงานในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คํานึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของแต่ภารกิจและให้เป็นไปตามกฎหมายที่กําหนด 4 . อํานาจหน้าที่ที่สําคัญขององค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย ประกอบด้วย 4 . 1 พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ . ศ . 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติมสรุปได้ ดังนี้ 4 . 1 . 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอํานาจหน้าที่ดําเนินกิจการภายในเขตองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย ( 2 ) จัดทําแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและประสานการจัดทํา แผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกําหนด ( 3 ) สนับสนุนสภาตําบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น ( 4 ) ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตําบลและราชการ ส่วนท้องถิ่นอื่น ( 5 ) แบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตําบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ( 6 ) อํานาจหน้าที่ของจังหวัดตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ . ศ . 2498 เฉพาะภายในเขตสภาตําบล ( 7 ) ให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนในการดูแลการจราจรและการรักษา ความสงบเรียบร้อย ( 8 ) คุ้มครอง ดูแล และบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( 9 ) บํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดี ของท้องถิ่น ้ หนา 242 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565

( 10 ) จัดการ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา รวมทั้งการจัดการ หรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก ( 11 ) จัดทํากิจการใด ๆ อันเป็นอํานาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด และกิจการนั้นเป็นการสมควรให้ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดําเนินการ หรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทํา ทั้งนี้ ตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ( 12 ) จัดทํากิจการอื่นใดตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ . ศ . 2540 หรือกฎหมายอื่นกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด บรรดาอํานาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาค อาจมอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดปฏิบัติได้ ทั้งนี้ ตามที่กําหนดในกฎกระทรวง 4 . 1 . 2 องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจจัดทํากิจการใด ๆ อันเป็นอํานาจหน้าที่ ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่น หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดอื่นที่อยู่นอกเขตจังหวัดได้ เมื่อได้รับความยินยอม จากราชการส่วนท้องถิ่นอื่นหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง 4 . 1 . 3 องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจให้บริการเอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นโดยเรียกค่าบริการได้ โดยตราเป็นข้อบัญญัติ 4 . 1 . 4 การดําเนินกิจการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีลักษณะเป็นการพาณิชย์ อาจทําได้โดยตราเป็นข้อบัญญัติ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด 4 . 2 พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 กําหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีอํานาจหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ 4 . 2 . 1 การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเองและประสานการจัดทําแผนพัฒนาจังหวัด ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกําหนด 4 . 2 . 2 การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น 4 . 2 . 3 การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น 4 . 2 . 4 การแบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ้ หนา 243 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565

4 . 2 . 5 การคุ้มครอง ดูแล และบํารุงรักษาป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4 . 2 . 6 การจัดการศึกษา 4 . 2 . 7 การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน 4 . 2 . 8 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น 4 . 2 . 9 การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม 4 . 2 . 10 การจัดตั้งและดูแลระบบบําบัดน้ําเสียรวม 4 . 2 . 11 การกําจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลรวม 4 . 2 . 12 การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ 4 . 2 . 13 การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทั้งทางบกและทางน้ํา 4 . 2 . 14 การส่งเสริมการท่องเที่ยว 4 . 2 . 15 การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุน และการทํากิจการไม่ว่าจะดําเนินการเอง หรือร่วมกับบุคคลอื่น หรือจากสหการ 4 . 2 . 16 การสร้างและบํารุงรักษาทางบกและทางน้ําที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นอื่น 4 . 2 . 17 การจัดตั้งและดูแลตลาดกลาง 4 . 2 . 18 การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น 4 . 2 . 19 การจัดให้มีโรงพยาบาลจังหวัด การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ 4 . 2 . 20 การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ 4 . 2 . 21 การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร 4 . 2 . 22 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 4 . 2 . 23 การจัดให้มีระบบรักษาความสงบเรียบร้อยในจังหวัด 4 . 2 . 24 จัดทํากิจการใดอันเป็นอํานาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ที่อยู่ในเขตและกิจการนั้นเป็นการสมควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดําเนินการ หรือให้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทํา ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด 4 . 2 . 25 สนับสนุนหรือช่วยเหลือส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ในการพัฒนาท้องถิ่น ้ หนา 244 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565

4 . 2 . 26 การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น 4 . 2 . 27 การสังคมสงเคราะห์ และการพั ฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส 4 . 2 . 28 จัดทํากิจการอื่นใดตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ . ศ . 2540 หรือกฎหมายอื่นกําหนดให้เป็นอํานาจและหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด 4 . 2 . 29 กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการ ประกาศกําหนด 4 . 3 กฎกระทรวง พ . ศ . 2541 ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ . ศ . 2540 ลงวันที่ 15 กันยายน 2541 กําหนดให้กิจการดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ราชการส่วนท้องถิ่นอื่น สมควรให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด ร่วมดําเนินการ หรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทํา ( 1 ) จัดให้มีน้ําเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร ( 2 ) กําจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ( 3 ) บําบัดน้ําเสีย ( 4 ) บํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( 5 ) วางผังเมือง ( 6 ) จัดให้มีการบํารุงรักษาทางบก ซึ่งอย่างน้อยต้องเป็นทางหลวงชนบทตามกฎหมาย ว่าด้วยทางหลวง ( 7 ) จัดให้มีและบํารุงรักษาทางน้ํา ( 8 ) จัดให้มีท่าเทียบเรือ ท่าข้าม ที่จอดรถ และตลาด ( 9 ) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( 10 ) รักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ( 11 ) จัดการศึกษา ทํานุบํารุงศาสนา และบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ( 12 ) จัดให้มีและบํารุงสถานที่สําหรับการกีฬา สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะ และสวนสัตว์ ตลอดจนสถานที่ประชุมอบรมสําหรับราษฎร ้ หนา 245 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565

( 13 ) จัดให้มีการสังคมสงเคราะห์และการสาธารณูปการ ( 14 ) ป้องกันและบําบัดรักษาโรค ( 15 ) จัดตั้งและการบํารุงสถานพยาบาล ( 16 ) ส่งเสริมการท่องเที่ยว ( 17 ) ส่งเสริมและแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพ ( 18 ) กิจการที่ได้มีการกําหนดไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนาองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด 5 . วิธีการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย กรณีเป็นอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการภายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย ให้ประชาชนสามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่สํานักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย เลขที่ 234 ศูนย์ราชการ ตําบลหนองกอมเกาะ อําเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000 6 . สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคําแนะนําในการติดต่อกับส่วนราชการภายใน องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย ได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย ตําบลหนองกอมเกาะ อําเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย รหัสไปรษณีย์ 43000 หมายเลขโทรสาร 0 - 4242 - 2798 หมายเลขโทรศัพท์ 0 - 4242 - 2795 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ e-Mail: NK.pao. 422798 @ gmail.com หรือติดต่อได้ที่ส่วนราชการสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ . ศ . 2564 ยุทธนา ศรีตะบุตร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย ้ หนา 246 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565