Thu Dec 22 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศเทศบาลตำบลบ้านปิน เรื่อง โครงสร้างการจัดองค์กรในการดำเนินงาน สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ วิธีการดำเนินงานและสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของเทศบาลตำบลบ้านปิน


ประกาศเทศบาลตำบลบ้านปิน เรื่อง โครงสร้างการจัดองค์กรในการดำเนินงาน สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ วิธีการดำเนินงานและสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของเทศบาลตำบลบ้านปิน

ประกาศเทศบาลตําบลบ้านปิน เรื่อง โครงสร้างการจัดองค์กรในการดําเนินงาน สรุปอํานาจหน้าที่ที่สําคัญ วิธีการดําเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของเทศบาลตําบลบ้านปิน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 7 ( 1 ) ( 2 ) และ ( 3 ) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ . ศ . 2540 ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงและได้รับข้อมูลข่าวสารของทางราชการ และหน่วยงานของรัฐ เทศบาลตําบลบ้านปิน ในฐานะของหน่วยงานราชการบริหารส่วนท้องถิ่นสังกัดกระทรวงมหาดไทย จึงออกประกาศโครงสร้างการจัดองค์กรในการดําเนินงาน สรุปอํานาจหน้าที่ที่สําคัญ วิธีการดําเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของเทศบาลตําบลบ้านปิน ตามความในมาตรา 7 ( 1 ) ( 2 ) และ ( 3 ) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ . ศ . 2540 ดังต่อไปนี้ โครงสร้างการจัดองค์กรในการดําเนินงาน โครงสร้างการจัดองค์กรในการดําเนินงาน อํานาจหน้าที่ที่สําคัญของเทศบาลตําบลบ้านปิน เป็นไปตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ . ศ . 2496 พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เทศบาลตําบลบ้านปิน มีโครงสร้างการจัดองค์กรในการดําเนินงาน ดังต่อไปนี้ 1 . สภาเทศบาลตําบลบ้านปิน ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลตําบลบ้านปิน ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง โดยตรงของประชาชน จํานวน 12 คน โดยมีประธานสภาเทศบาลตําบลบ้านปิน จํานวน 1 คน และรองประธานสภา จํานวน 1 คน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ มอบอํานาจให้นายอําเภอลอง แต่งตั้งจากสมาชิกสภาเทศบาลตําบลบ้านปิน ตามมติของสภาเทศบาลตําบลบ้านปิน มีอํานาจหน้าที่ ดังนี้ 1 . 1 อํานาจในการตราเทศบัญญัติ เทศบัญญัติ คือ กฎข้อบังคับของท้องถิ่น ซึ่งมีผลใช้บังคับได้เฉพาะในเขตเทศบาลนั้น ๆ เท่านั้น โดยสภาเทศบาลเป็นผู้มีอํานาจหน้าที่ในการตราเทศบัญญัติ โดยไม่ขัดหรือแย้งต่อตัวบทกฎหมาย ในกรณีต่อไปนี้ ้ หนา 212 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565

( 1 ) เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ของเทศบาลที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยเทศบาล ( 2 ) เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้เทศบาลตราเทศบัญญัติ หรือให้อํานาจตราเทศบัญญัติ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายฉบับนั้น ๆ สําหรับการพิจารณาตราเทศบัญญัติงบประมาณประจําปี ถือว่าเป็นการใช้อํานาจสูงสุดในการควบคุม ถ้าหากร่างดังกล่าวไม่ได้รับการเห็นชอบจากสภาเทศบาลแล้ว นั่นหมายถึงว่าคณะเทศมนตรีสิ้นสุดในหน้าที่ ( เพราะการไม่เห็นด้วยของเทศบาลมีความหมายถึงการไม่ยอมรับของประชาชนในท้องถิ่นด้วย ) โดยมีเงื่อนไข ที่น่าสังเกตว่าผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องเห็นชอบด้วย และในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นด้วยนั้น การตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยว่าจะดําเนินการอย่างไร ส่วนในการตราข้อบัญญัติทั่วไปจะมีหลักการคล้ายกัน แต่ต่างกันตรงที่ว่าร่างดังกล่าว จะได้รับการวินิจฉัยขั้นสุดท้ายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นด้วย 1 . 2 อํานาจในการควบคุมฝ่ายบริหาร สภาเทศบาลมีอํานาจในการควบคุมฝ่ายบริหารให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตาม ระเบียบแบบแผนและนโยบายที่กําหนดไว้ โดยมีมาตรการควบคุมที่สําคัญอย่างน้อย 2 ประการ ( 1 ) การตั้งกระทู้ถาม ( มาตรา 31 พระราชบัญญัติเทศบาล พ . ศ . 2496 ) สมาชิกสภาเทศบาลมีสิทธิที่จะตั้งกระทู้ถามในข้อความใด ๆ ที่เกี่ยวกับการงาน ในหน้าที่ได้ ถ้าหากสมาชิกสภาเกิดสงสัยหรือมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายบริหาร หรือเมื่อเล็งเห็นว่าการกระทําใด ๆ ของฝ่ายบริหารอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อท้องถิ่น หรือประชาชนในท้องถิ่นนั้น ทั้งนี้ นายกเทศมนตรีจะต้องตอบกระทู้ถามให้สมาชิกสภาหายข้องใจ แต่ฝ่ายบริหารมีสิทธิที่จะไม่ตอบกระทู้ถามก็ได้ ถ้าเห็นว่ายังไม่สมควรตอบเพราะถ้าหากตอบไปแล้ว จะเกิดความไม่ปลอดภัยหรือเสียประโยชน์ที่สําคัญของเทศบาล ( 2 ) การอนุมัติงบประมาณประจําปี ก่อนที่จะมีการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในรอบปีต่อไป นายกเทศมนตรีจะต้องเสนอ งบประมาณประจําปีเพื่อขออนุมัติต่อสภาเทศบาลเสียก่อน และเมื่อสภาได้อนุมัติแล้วจึงดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้ การที่กําหนดให้ต้องเสนอขออนุมัติงบประมาณก่อนนั้น เพื่อที่สภาเทศบาลซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของประชาชน ในท้องถิ่นนั้น สามารถควบคุมการจัดหารายได้และการใช้จ่ายเงินของฝ่ายบริหารให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ้ หนา 213 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565

และตรงกับความต้องการของท้องถิ่น และในกรณีที่สภาเทศบาลพิจารณาแล้วลงมติไม่รับหลักการ แห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณประจําปีที่คณะเทศมนตรีเสนอแล้ว ไม่ว่าจะต้องเหตุผลใดก็ตามจะมีผล ทําให้คณะเทศมนตรีชุดนั้นต้องพ้นจากตําแหน่งไป 1 . 3 อํานาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการสภาเทศบาล เพื่อที่จะให้การดําเนินงานต่าง ๆ ของสภาเทศบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล สภาเทศบาลมีอํานาจที่จะตั้งคณะกรรมการเพื่อให้ปฏิบัติภารกิจที่มอบหมายให้ทํา ซึ่งคณะกรรมการที่สภาเทศบาลจะแต่งตั้งนี้สามารถจําแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ( 1 ) คณะกรรมการสามัญ คือ คณะกรรมการที่ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งได้รับเลือกจากสภาเทศบาล ไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 7 คน ( 2 ) คณะกรรมการวิสามัญ คือ คณะกรรมการที่ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล หรือบุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิก ไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 7 คน ( 3 ) คณะกรรมการสภาเทศบาล 1 . คณะกรรมการตรวจรายงานการประชุม 2 . คณะกรรมการแปรญัตติร่างเทศบัญญัติ 3 . คณะกรรมการอื่น ๆ ที่สภาท้องถิ่นเห็นสมควร 4 . ภารกิจของเทศบาลที่กฎหมายกําหนด ต้องได้รับการอนุมัติจากสภาเทศบาล 4 . 1 ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ . ศ . 2496 4 . 1 . 1 สภาเทศบาลมีมติให้พ้นจากตําแหน่งของประธานสภาเทศบาล รองประธานสภาเทศบาล หากเห็นว่า ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประพฤติไม่ชอบ 4 . 1 . 2 การยินยอมให้ทํากิจการนอกเขต 4 . 1 . 3 การกู้เงินของเทศบาล 4 . 2 ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการเบิกจ่ายเงินฯ 4 . 2 . 1 กรณีจําเป็นเร่งด่วน ยืมเงินสะสม 4 . 2 . 2 การกันเงิน ในกรณีรายจ่ายหมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ยังมิได้ก่อหนี้ผูกพัน ้ หนา 214 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565

4 . 3 ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณฯ 4 . 3 . 1 การโอนงบประมาณรายจ่ายในหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง 4 . 3 . 2 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําชี้แจงงบประมาณรายจ่ายในหมวด ค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง 2 . นายกเทศมนตรีตําบลบ้านปิน จํานวน 1 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ในเขตเทศบาลตําบลบ้านปิน มีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละ 4 ปี แต่จะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ นายกเทศมนตรีตําบลบ้านปิน อาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสองคน และอาจแต่งตั้ง เลขานุการนายกเทศมนตรีตําบลได้หนึ่งคน ซึ่งมีอํานาจหน้าที่ ดังนี้ 2 . 1 กําหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ของเทศบาลตําบลให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เทศบัญญัติและนโยบาย 2 . 2 สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาลตําบลบ้านปิน 2 . 3 แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และเลขานุการ นายกเทศมนตรี 2 . 4 วางระเบียบเพื่อให้งานของเทศบาลตําบลบ้านปินเป็นไปด้วยความเรียบร้อย 2 . 5 รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัติเทศบาลตําบลบ้านปิน 2 . 6 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมายบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเทศบาล พ . ศ . 2496 และกฎหมายอื่น 2 . 7 ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาลตําบลบ้านปินตามกฎหมาย และเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างของเทศบาล 3 . รองนายกเทศมนตรีตําบลบ้านปิน จํานวน 2 คน มาจากการแต่งตั้งโดยนายกเทศมนตรี ตําบลบ้านปิน ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลตําบลบ้านปิน มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการ ของนายกเทศมนตรีตําบลบ้านปิน ตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย 4 . เลขานุการนายกเทศมนตรีตําบลบ้านปิน จํานวน 1 คน มาจากการแต่งตั้ง โดยนายกเทศมนตรี ตําบลบ้านปิน และมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลตําบลบ้านปิน มีหน้าที่ตามที่นายกเทศมนตรีตําบลบ้านปินมอบหมาย 5 . ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีตําบลบ้านปิน จํานวน 1 คน มาจากการแต่งตั้ง โดยนายกเทศมนตรี ตําบลบ้านปิน และมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลตําบลบ้านปิน มีหน้าที่ตามที่นายกเทศมนตรีตําบลบ้านปินมอบหมาย ้ หนา 215 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565

6 . เทศบาลตําบลบ้านปิน ได้กําหนดโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ จํานวน 5 ส่วนราชการ ดังนี้ ( 1 ) สํานักปลัดเทศบาล มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทั่วไปของเทศบาล และราชการที่มิได้กําหนด ให้เป็นหน้าที่ของกอง หรือส่วนราชการใด ในเทศบาลโดยเฉพาะรวมทั้งกํากับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการ ของส่วนราชการในเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของเทศบาล และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย มีการแบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้ ( 1 . 1 ) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ประกอบด้วย 1 . 1 . 1 งานธุรการ 1 . 1 . 2 งานการเจ้าหน้าที่ 1 . 1 . 3 งานทะเบียนราษฎร 1 . 1 . 4 งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม ( 1 . 2 ) ฝ่ายอํานวยการ ประกอบด้วย 1 . 2 . 1 งานวิเคราะห์นโยบายและแผน มีหน้าที่รับผิดชอบ 1 . 2 . 2 งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1 . 2 . 3 งานประชาสัมพันธ์ ( 2 ) กองคลัง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการจ่าย การรับ การนําส่งเงิน การเก็บรักษาเงิน และเอกสารทางการเงิน การตรวจสอบใบสําคัญ ฎีกา งานเกี่ยวกับ เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบําเหน็จ บํานาญ เงินอื่น ๆ งานเกี่ยวกับการจัดทํางบประมาณ ฐานะทางการเงิน การจัดสรรเงินต่าง ๆ การจัดทําบัญชีทุกประเภท ทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่าง ๆ การควบคุมการเบิกจ่าย งานทํางบทดลองประจําเดือน ประจําปี งานเกี่ยวกับการพัสดุของเทศบาลและงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และที่ได้รับมอบหมายมีการแบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้ ( 2 . 1 ) ฝ่ายการเงินและบัญชี ประกอบด้วย 2 . 1 . 1 งานการเงินและบัญชี 2 . 1 . 2 งานผลประโยชน์ ้ หนา 216 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565

2 . 1 . 3 งานพัสดุ 2 . 1 . 4 งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน ( 3 ) กองช่าง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการสํารวจ ออกแบบ การจัดทําข้อมูลทางด้านวิศวกรรม การจัดเก็บและทดสอบคุณภาพวัสดุ งานออกแบบและเขียนแบบ การตรวจสอบ การก่อสร้าง งานการควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย งานแผนการปฏิบัติงาน การก่อสร้างและซ่อมบํารุง การควบคุมการก่อสร้างและซ่อมบํารุง งานแผนงานด้านวิศวกรรมเครื่องจักรกล การรวบรวมประวัติติดตาม ควบคุมการปฏิบัติงานเครื่องจักรกล การควบคุม การบํารุงรักษาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ งานเกี่ยวกับแผนงาน ควบคุม เก็บรักษา การเบิกจ่ายวัสดุ อุปกรณ์ อะไหล่ น้ํามันเชื้อเพลิง และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย มีการแบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้ ( 3 . 1 ) ฝ่ายแบบแผนและก่อสร้าง ประกอบด้วย 3 . 1 . 1 งานสาธารณูปโภค ( 4 ) กองการศึกษา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารศึกษาและพัฒนาการศึกษา ทั้งการศึกษา ในระบบการศึกษา การศึกษานอกระบบการศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น การจัดการศึกษาปฐมวัย อนุบาลศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา โดยให้มีงานธุรการ งานบริหารวิชาการ งานโรงเรียน งานศึกษานิเทศก์ งานกิจการนักเรียน งานการศึกษาปฐมวัย งานขยายโอกาสทางการศึกษา งานฝึกและส่งเสริมอาชีพ งานห้องสมุด พิพิธภัณฑ์และเครือข่ายทางการศึกษา งานกิจการศาสนา ส่งเสริมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม งานกีฬาและนันทนาการ งานกิจกรรมเด็กเยาวชนและการศึกษานอกโรงเรียน งานสวัสดิการสังคม งานสังคมสงเคราะห์ งานพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กสตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส งานส่งเสริมการท่องเที่ยว งานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย มีการแบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้ ( 4 . 1 ) ฝ่ายบริหารการศึกษา ประกอบด้วย 4 . 1 . 1 งานบริหารการศึกษา 4 . 1 . 2 งานพัฒนาชุมชน ้ หนา 217 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565

( 5 ) หน่วยตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการตรวจสอบบัญชี เอกสารการเบิกจ่าย เอกสารการรับเงินทุกประเภท ตรวจสอบการเก็บรักษาหลักฐานการบัญชี งานตรวจสอบพัสดุและการเก็บรักษา งานตรวจสอบทรัพย์สินและการทําประโยชน์จากทรัพย์สินเทศบาลและงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และที่ได้รับมอบหมาย มีการแบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้ ( 5 . 1 ) งานตรวจสอบภายใน สรุปอํานาจหน้าที่ที่สําคัญของเทศบาลตําบลบ้านปิน ประกอบด้วย 1 . เทศบาลตําบลมีหน้าที่ต้องทําในเขตเทศบาล ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ . ศ . 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ ( 1 ) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ( 2 ) ให้มีและบํารุงทางบกและทางน้ํา ( 3 ) รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจรและส่งเสริม สนับสนุนหน่วยงานอื่น ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ( 4 ) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกําจัดมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล ( 5 ) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ( 6 ) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง ( 7 ) จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา และการฝึกอบรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก ( 8 ) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ( 9 ) บํารุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ( 10 ) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล การปฏิบัติงานตามอํานาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คํานึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทํา แผนพัฒนาเทศบาล การจัดทํางบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด ้ หนา 218 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565

2 . เทศบาลตําบลอาจจัดทํากิจการใด ๆ ในเขตเทศบาลตําบล ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติ เทศบาล พ . ศ . 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ให้มีน้ําสะอาดหรือการประปา ( 2 ) ให้มีโรงฆ่าสัตว์ ( 3 ) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม ( 4 ) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน ( 5 ) บํารุงและส่งเสริมการทํามาหากินของราษฎร ( 6 ) ให้มีและบํารุงสถานที่ทําการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้ ( 7 ) ให้มีและบํารุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น ( 8 ) ให้มีและบํารุงทางระบายน้ํา ( 9 ) เทศพาณิชย์ 3 . เทศบาลมีอํานาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชน ในท้องถิ่นของตนเอง ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ ให้แก่องค์กรปกครองสวนท้องถิ่น พ . ศ . 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ ( 1 ) การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ( 2 ) การจัดให้มีและบํารุงรักษาทางบก ทางน้ํา และทางระบายน้ํา ( 3 ) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ ( 4 ) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ ( 5 ) การสาธารณูปการ ( 6 ) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ ( 7 ) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน ( 8 ) การส่งเสริมการท่องเที่ยว ( 9 ) การจัดการศึกษา ( 10 ) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ( 11 ) การบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ้ หนา 219 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565

( 12 ) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ( 13 ) การจัดให้มีและบํารุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ( 14 ) การส่งเสริมกีฬา ( 15 ) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน ( 16 ) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น ( 17 ) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ( 18 ) การกําจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ําเสีย ( 19 ) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และรักษาพยาบาล ( 20 ) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน ( 21 ) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ ( 22 ) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ ( 23 ) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ ( 24 ) การจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ( 25 ) การผังเมือง ( 26 ) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร ( 27 ) การดูแลรักษาที่สาธารณะ ( 28 ) การควบคุมอาคาร ( 29 ) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( 30 ) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความสงบ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ( 31 ) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด วิธีการดําเนินงานของเทศบาลตําบลบ้านปิน ้ หนา 220 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565

การบริหารราชการของเทศบาลตําบลบ้านปิน จะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนในท้องถิ่น เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามภารกิจอํานาจหน้าที่ของเทศบาลตําบลบ้านปิน ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจขององค์กรปกครองท้องถิ่น การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การอํานวยความสะดวก และการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ โดยผู้รับผิดชอบผลงานของงาน ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้คํานึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูลการติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ กรณีเป็นอํานาจหน้าที่ของเทศบาลตําบลบ้านปิน ประชาชนสามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่อาคาร สํานักงานเทศบาลตําบลบ้านปิน ตั้งอยู่เลขที่ 77 หมู่ที่ 5 ตําบลบ้านปิน อําเภอลอง จังหวัดแพร่ สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคําแนะนําในการติดต่อกับส่วนราชการภายใน เทศบาลตําบลบ้านปิน สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการเทศบาลตําบลบ้านปิน ตั้งอยู่เลขที่ 77 หมู่ที่ 5 ตําบลบ้านปิน อําเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150 โทรศัพท์ 0 - 5458 - 1258 โทรสาร 0 - 5458 - 1258 เว็บไซต์ : www.banpin.go.th อีเมล : saraban@banpin.go.th หรือ banpin.sarabanbackup@gmail.com จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤษภาคม พ . ศ . 2565 สมศักดิ์ วงศ์หลวง นายกเทศมนตรีตําบลบ้านปิน ้ หนา 221 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 300 ง ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2565