ระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ว่าด้วยการปลูกและบำรุงป่าชายเลนสำหรับองค์กรหรือบุคคลภายนอก พ.ศ. 2565
ระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ว่าด้วยการปลูกและบำรุงป่าชายเลนสำหรับองค์กรหรือบุคคลภายนอก พ.ศ. 2565
ระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ว่าด้วยการปลูกและบำรุงป่าชายเลนสำหรับองค์กรหรือบุคคลภายนอก พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ว่าด้วยการปลูกและ บำรุงป่าชายเลนสำหรับองค์กรหรือบุคคลภายนอกให้เกิดความเหมาะสมและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 และการแบ่งส่วนราชการของ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้ง เพื่อให้การดาเนินการตามภารกิจในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ป่าชายเลนอันเป็นทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่สาคัญ และภารกิจในการส่งเสริมและสนั บสนุน การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน องค์กรเอกชน และรัฐวิสาหกิจ ในการบริหารจัดการ การปลูก การบารุงรักษา การอนุรักษ์ การพื้นฟู ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความมั่งคั่ง สมดุล ยั่งยืน และเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมและ เศรษฐกิจของประเทศ อาศัยอานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 253 4 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จึงวางระเบียบ ดั งต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ว่าด้วยการปลูก และบารุงป่าชายเลนสำหรับองค์กรหรือบุคคลภายนอก พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชำยฝั่ง ว่าด้วยการปลูกและบารุง ป่าชายเลนสำหรับองค์กรหรือบุคคลภายนอก พ.ศ. 2564 ข้อ 4 บรรดาระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ และคาสั่งอื่นใดในส่วนที่กาหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 5 ในระเบียบนี้ “ โครงการ ” หมายความว่า กิจกรรมการปลูกและบารุงป่าชายเลน “ องค์กรหรือบุคคลภายนอก ” หมายความว่า บุคคลธรรมดา นิติบุคคล คณะบุคคล หน่วยงานภาคเอกชน หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ “ กรม ” หมายความว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง “ อธิบดี ” หมายความว่า อธิบดีกรมทรัพยำกรทางทะเลและชายฝั่ง “ พนักงานเจ้าหน้าที่ ” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม การบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง ้ หนา 16 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 299 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 ธันวาคม 2565
ข้อ 6 พื้นที่ที่กาหนดเป็นแปลงปลูกและบารุงป่าชายเลนสาหรับองค์กรหรือบุคคลภายนอก ต้องอยู่ในเขตป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี หรือเป็นพื้นที่ที่มีสภาพเป็นป่าชายเลน หรือได้รับอิทธิพล จากการขึ้นลงของน้าทะเลซึ่ งเป็นป่าตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ หรือกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ หรือเป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งเท่านั้น ข้อ 7 การดาเนินโครงการสาหรับองค์กรหรือบุคคลภายนอก ที่เข้าร่วมโครงการกับกรม ให้อ ยู่ภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแล ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติตามระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ 8 องค์กรหรือบุคคลภายนอกที่ประสงค์จะดาเนินโครงการ ให้ยื่นคำขอเข้าร่วมโครงการ ตามแบบ ปอ. 1 ท้ายระเบียบนี้ พร้อมด้วยรายละเอียดโครงการ และเ อกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ต่อหน่วยงานในสังกัดกรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ การดาเนินโครงการตามระเบียบนี้ องค์กรหรือบุคคลภายนอกผู้เข้าร่วมโครงการ ต้องเป็น ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายตลอดทั้งการดาเนินโครงการ ทั้งนี้ สามารถจ้างบุคคลภายนอกหรือเอกชนอื่น เพื่อดำเนินโ ครงการดังกล่าวได้ โดยต้องอยู่ภายใต้การกากับดูแลและความรับผิดชอบขององค์กร หรือบุคคลภายนอกนั้น ให้เจ้าหน้าที่ที่รับคาขอตามวรรคหนึ่ง ดาเนินการเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาตามลำดับชั้น ข้อ 9 เมื่อได้รับคาขอเข้าร่วมโครงการตามข้อ 8 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดาเนินการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ตรวจสอบโครงการที่เสนอ โดยการสำรวจความเหมาะสมของพื้นที่ ซึ่งข้อมูลที่ต้องสำรวจ ประกอบด้วย ( 1.1 ) พื้นที่ดาเนินการให้ระบุชื่อ หมู่บ้าน ตาบล อาเภอ จังหวัด ป่าสงวนแห่งชาติ หรือป่าชายเลนอนุรักษ์ หรือป่าชาย เลนตามมติคณะรัฐมนตรีใดให้ชัดเจน ( 1.2 ) ขอบเขตและพื้นที่ ให้แสดงรายละเอียดอาณาเขต เขตติดต่อ ขนาดพื้นที่ โดยมี แผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 และ 1 : 4,000 พร้อมภาพถ่ายและแสดงรายละเอียดค่าพิกัด ประกอบที่ชัดเจน ( 1.3 ) ลักษณะภูมิประเทศ ให้แสดงรายละเอียดว่ำเป็นที่ราบหรือที่ลุ่ม ชนิดของดิน มีความลาดชัน ระดับความสูงจากระดับน้าทะเล และการขึ้นลงของน้ำทะเล ( 1.4 ) ลักษณะภูมิอากาศ ให้แสดงรายละเอียดของอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน และ ความชื้นสัมพัทธ์ ( 1.5 ) ลักษณะทางชีวภาพ ให้แสดงรายละเอียดสภาพพื้นที่ป่าชายเลน ชนิดพั นธุ์ไม้ ที่ขึ้นอยู่ไม้พื้นล่าง การสืบพันธุ์ตามธรรมชาติของพันธุ์ไม้ ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ สัตว์บก ้ หนา 17 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 299 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 ธันวาคม 2565
( 1.6 ) อันตรายที่จะเกิดกับพันธุ์ไม้ที่ปลูก ให้แสดงรายละเอียดความเสี่ยงจากคน สัตว์ แมลง โรคพืช ภัยธรรมชาติ และเหตุอื่น ๆ (ถ้ามี) ( 1.7 ) สภาพการใช้ประโยช น์ที่ดินในพื้นที่ ให้ระบุถึง การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ การอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ สถานะคดี การบริหารจัดการ และการดูแล ของกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง หรือหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ ในพื้นที่เดิม - ปัจจุบัน (ถ้ามี) ( 1.8 ) วัน เดือน ปี ที่ทำการต รวจสภาพพื้นที่ให้ระบุวัน เดือน ปี ที่เข้าทาการ ตรวจสภาพป่า และวัน เดือน ปี ที่ตรวจสภาพป่าเสร็จสิ้น ( 1.9 ) ความเห็นของผู้ตรวจสภาพป่า ให้ระบุว่า สภาพพื้นที่มีความเหมาะสมในการปลูก และบารุงป่าชายเลนหรือไม่ อย่างไร มีอุปสรรคในการปลูกและบารุงป่าชายเลนหรือไม่ อย่างไร และความเห็นในการปลูกและบารุงป่าชายเลนในพื้นที่ เช่น ชนิดพันธุ์ไม้ที่จะใช้ในการปลูกและบารุง ความเหมาะสม วิธีการปลูกและบารุง แหล่งแรงงาน และแหล่งเมล็ดพันธุ์ไม้ ( 2 ) จั ดทำแผนที่ ( 3 ) จัดทารายงานการตรวจสอบสภาพป่า กรณีองค์กรหรือบุคคลภายนอก ประสงค์จะเข้าร่วม โครงการกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ( 4 ) รายงานการตรวจสอบสภาพป่าที่มีผู้ขออนุญาตเข้าร่วมโครงการกับกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง สำหรับองค์กรหรือบุคคลภายนอก ตามแบบ ปอ. 2 ท้ายระเบียบนี้ ในการดาเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับผู้นาชุมชน องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม ข้อ 1 0 การอนุมัติโครงการ ให้ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนหรือ ผู้อานวยการศู นย์บริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนจังหวัด มีอานาจอนุมัติพื้นที่ดาเนินโครงการไม่เกิน 20 ไร่ ผู้อานวยการสานักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีอานาจอนุมัติพื้นที่ดาเนินโครงการ ไม่เกิน 100 ไร่ หากพื้นที่ดาเนินโครงการเกิน 100 ไร่ ให้เสนออธิบดีพิจารณาอนุมั ติ กรณีที่โครงการอยู่ในอำนาจการพิจารณาอนุมัติของผู้อำนวยการศูนย์หรือผู้อำนวยการ สำนักงาน ให้เสนอเรื่องให้กรมพิจารณาเห็นชอบก่อนที่จะอนุมัติโครงการ ข้อ 1 1 การคัดเลือกชนิดพันธุ์ไม้ที่จะปลูก ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณา ดังนี้ ( 1 ) ในกรณีสภาพพื้นที่สามารถ ปลูกพันธุ์ไม้ได้หลายชนิด ให้ทาการคัดเลือกชนิดพันธุ์ไม้ ไม่น้อยกว่า 3 ชนิด ดาเนินการปลูกผสมคละกันไปตามสภาพพื้นที่และความเหมาะสม โดยพิจารณา พันธุ์ไม้ท้องถิ่นเป็นอันดับแรก ( 2 ) ในกรณีที่สภาพพื้นที่มีลักษณะเฉพาะกับการปลูกชนิดพันธุ์ไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ให้พิจารณา ชนิดพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่หนึ่งหรือสองชนิดก็ได้ ( 3 ) ชนิดพันธุ์ไม้ที่กำหนดให้ปลูกและบำรุงในป่าชายเลนให้ใช้ชนิดพันธุ์ไม้ที่กำหนด ตามภาคผนวก 1 ท้ายระเบียบนี้ ้ หนา 18 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 299 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 ธันวาคม 2565
( 4 ) ในกรณีที่กาหนดให้ปลูกและบารุงในป่าชายเลนเป็นพันธุ์ไม้ชนิดอื่นอันนอกเหนือไปจาก ที่กำหนดไว้ตาม (3) ให้ขออนุมัติจากอธิบดี ข้อ 1 2 การเตรียมพื้นที่แปลงปลูกป่า ให้ดาเนินการ ดังนี้ ( 1 ) แผ้วถางวัชพืช ปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการปลูก ( 2 ) ให้ใช้หลักปักหมายแ นวปลูกยาวไม่ต่ากว่า 1 เมตร โดยหลักหมายแนวปลูก ต้องใช้วัสดุ ที่มีความแข็งแรงและทนทาน ทาสีแดงที่ส่วนบนของหลักไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร โดยปักหลัก หมายแนวปลูกระยะ 1.5 x 1.5 เมตร ข้อ 1 3 การปลูกป่าชายเลนให้ใช้กล้าเพาะชำ ซึ่งมีอายุไม่น้อยกว่า 3 เดือน หรือฝักพันธุ์ไม้ ที่สมบูรณ์ ข้อ 1 4 การบำรุงแปลงปลูกป่าชายเลน ให้ดำเนินการภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแล ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนี้ ( 1 ) ให้ทาการแผ้วถางวัชพืชภายหลังการปลูกไม่น้อยกว่าปีละ 2 ครั้ง และกาจัดศัตรูพืชอื่น ตามความจำเป็น ด้วยวิธีการเหมาะสม เ พื่อให้กล้าไม้แข็งแรง และมีอัตราการรอดตายสูง ( 2 ) ตรวจนับอัตราการรอดตาย และให้ปลูกทดแทนต้นที่ตาย หรือคาดว่าจะตายโดยทันที ภายหลังจากทำการแผ้วถางวัชพืช หรือกำจัดศัตรูพืชอื่นแล้ว ข้อ 1 5 การรังวัดและหมายแนวเขต ( 1 ) ให้รังวัดและจัดทาแผนที่ขนาดมาตราส่วน 1 : 50,000 และ 1 : 4,000 พร้อม ภาพถ่ายและรายละเอียดค่าพิกัด ( 2 ) การหมายแนวเขตแปลงปลูก ให้ใช้หลักเขตคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 4 x 4 นิ้ว ยาวอย่างน้อย 1 เมตร เหนือพื้นดินโดยรอบแปลงปลูก ฐานหลักเขตเป็นแบบฐานแผ่ โดยระบุปี และเนื้อที่ไว้ที่หลักเขต เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบ ( 3 ) ให้จัดทาป้ายข้อมูลการดาเนินโครงการพอสังเขป โดยมีพื้นป้ายสีขาว ข้อความสีเข้ม ระบุชื่อองค์กรหรือบุคคลภายนอกที่เข้าร่วมโครงการ หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบพื้นที่แปลงปลูก ปีที่ปลูก และจานวนเนื้อที่แปลงปลูกป่า แสดงไว้ในบริเว ณพื้นที่แปลงปลูกป่าชายเลน ตามตัวอย่าง ภาคผนวก 2 ท้ายระเบียบนี้ ป้ายตามวรรคหนึ่ง ให้มีขนาด 1.20 × 2.40 เมตร ติดตั้งโดยให้มีความสูงจากระดับ พื้นดินถึงขอบล่างของป้ายไม่ต่ากว่า 1.5 เมตร โดยติดตั้งกับเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก จานวน 2 ต้น ขนาดเสาไม่น้อยก ว่า 3 x 3 นิ้ว ความยาวให้เป็นไปตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ ซึ่งเมื่อทำการ ติดตั้งแล้วต้องมีความมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย ข้อ 1 6 กิจกรรมในการบำรุงแปลงปลูกป่า ปีที่ 2 ถึงปีที่ 6 ( 1 ) ทำการซ่อมแนวเขตรอบแปลงบารุงป่าให้ชัดเจน ( 2 ) แผ้วถางวัชพืช ปีละ 2 ครั้ง และกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสม ้ หนา 19 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 299 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 ธันวาคม 2565
( 3 ) ให้ทาการตรวจนับอัตราการรอดตาย หลังจากที่ทาการแผ้วถางวัชพืช หรือกาจัดศัตรูพืชอื่น และให้ทำการปลูกซ่อมทดแทนโดยทันที สำหรับแปลงปลูกป่าหรือแปลงบำรุงป่า ให้มีอัตราการรอดตาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 8 0 ข้อ 17 องค์กรหรือบุคคลภายนอกที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องดำเนินการบำรุงรักษา แปลงปลูกป่าชายเลนปีที่ 2 ถึงปีที่ 6 ด้วย ข้อ 1 8 ในกรณีองค์กรหรือบุคคลภายนอกไม่สามารถดาเนินการบารุงรักษาแปลงปลูกป่าชายเลน และกิจกรรมต่าง ๆ ตามระยะเวลาที่กาหนดไว้ในข้อ 17 ให้แจ้งเหตุขัดข้องเป็นหนังสือไปยังกรม โดยให้ถือว่าเป็นการยุติการดาเนินโครงการ ในกรณีองค์กรหรือบุคคลภายนอกไม่ดาเนินการแจ้งเหตุขัดข้องเป็นหนังสือให้ทราบตามวรรคหนึ่ง กรมจะมีหนังสือสอบถามไปยังองค์กรหรือบุคคลภายนอกดังกล่าว และให้องค์กรหรือบุคคลภายนอกนั้น แจ้งตอบกลับมาเป็นหนังสือภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ หากไม่แจ้งตอบกลับมาภายใน ระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นการยุติการดาเนินโครงการ ข้อ 19 กรณีการปลูกหรือบารุงรักษาแปลงปลูกป่าในพื้นที่พิเศษ เช่น นาเกลือ เลนงอก ที่งอกหลังแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่รื้อถอน พื้นที่ป่าเชิงทรง สันดอนกลางป่าชายเลน พื้นที่พรุ หรือพื้นที่อื่นใด ให้เสนอแนวทางในการดาเนินการ เพื่อปรับปรุงระบบนิเวศให้เหมาะสม ต่อการเจริญเติบโตของพันธุ์พืช ตามหลักวิชาการ ทั้งในส่วนข องการเตรียมพื้นที่ การเตรียมกล้าไม้ การปลูก และการบารุงแปลงปลูกป่า รวมทั้งจานวนเงินงบประมาณที่เหมาะสมตามสภาพของพื้นที่ ให้อธิบดีทราบก่อนดาเนินการ ข้อ 20 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบพื้นที่ดำเนินโครงการ แจ้งให้องค์กรหรือ บุคคลภายนอกที่เข้าร่วมโค รงการ ทราบว่า การเข้าร่วมดาเนินการตามโครงการนี้ ไม่ทาให้ผู้เข้าร่วม โครงการมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินและต้นไม้ที่ปลูกแต่อย่างใด แต่สามารถตรวจสอบ ดูแล และบารุงป่าชายเลนในโครงการนี้ได้ตามความเหมาะสม ภายใต้การควบคุม กากับ ดูแลของพนักงาน เจ้า หน้าที่ ข้อ 2 1 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบติดตามผลการดาเนินงานอย่างต่อเนื่อง และ เมื่อการดาเนินโครงการแล้วเสร็จ ให้องค์กรหรือบุคคลภายนอกที่เข้าร่วมโครงการแจ้งผลการดาเนิน โครงการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทราบ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิ ดชอบจัดทารายงาน ผลการปฏิบัติงานการปลูกป่าชายเลนสำหรับองค์กรหรือบุคคลภายนอก ตามแบบ ปอ. 3 และรายงาน ผลการปฏิบัติงานการบารุงแปลงปลูกป่าชายเลน อายุ 2 - 6 ปี ตามแบบ ปอ. 4 แนบท้ายระเบียบนี้ พร้อมแผนที่ขนาดมาตราส่วน 1 : 50,000 และ 1 : 4,000 โดยให้ระบุรายละเอียดค่าพิกัดและ ภาพถ่ายสี จัดเก็บไว้ที่หน่วยงาน จำนวน 1 ชุด และให้รายงานกรม ในรูปแบบเอกสารและ แผ่นบันทึกข้อมูลที่มี shape file และไฟล์ภาพถ่ายสี ภายในวันที่ 15 ตุลาคม ของทุกปี หรือ ภายใน 15 วัน หลังจากเสร็จสิ้นโครงการ ้ หนา 20 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 299 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 ธันวาคม 2565
เมื่อได้ ดาเนินการรายงานตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ดาเนินการบันทึกข้อมูลการรายงานลงในระบบ โปรแกรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ตามที่อธิบดีกำหนด ข้อ 22 อธิบดีเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอานาจตีความวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับ การปฏิบัติตามระเบียบนี้ คำวินิจฉัยของอธิ บดีให้ถือเป็นที่สุด ประกาศ ณ วันที่ 1 0 พฤศจิกายน พ.ศ. 25 6 5 อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ้ หนา 21 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 299 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 ธันวาคม 2565
คําข อเข้ําร่วมกิจกรรมปลูกและบํารุงป่ําชํายเลนกับกรมทรัพยํากรทํางทะเลและชํายฝั่ง ส ําหรับองค์กรหรือบุคคลภํายนอก เขียนที่ วันที่ เดือน พ.ศ. ข้าพเจ้า อายุ ปี สัญชาติ อาชีพ มีภูมิลาเนาอยู่บ้านเลขที่ ซอย ถนน หมู่ที่ ตำบล/แขวง อาเภอ/เขต จังหวัด โทร เป็นผู้มีอานาจลง นาม แทนองค์กร ชื่อ ตั้งอยู่ที่ มีเอกสารแสดงฐานะการเป็นองค์กรและเป็นผู้มีอานาจ ลงนาม แทนองค์กรตามที่แนบท้ายคำขอนี้ ขอยื่นคาขอ ดังมีข้อความต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะขอเข้าร่วมกิจกรรม ปลูกและบารุงป่าชายเลนกับกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง ภายในเขตป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี ชื่อป่า ตาบล อาเภอ จังหวัด เนื้อที่ ไร่ งาน ตารางวา โดยมีอาณาเขต ดังนี้ ด้านทิศเหนือ จด วัดได้ เมตร ด้านทิศ ตะวันออก จด วัดได้ เมตร ด้านทิศ ใต้ จด วัดได้ เมตร ด้านทิศ ตะวันตก จด วัดได้ เมตร ข้อ 2 ในการยื่นคาขอ ข้าพเจ้ารับรองจะเป็นผู้นาหรือมอบให้ผู้แทนเป็นผู้นาพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกไปตรวจสภาพป่าใน พื้น ที่ขอนี้ ตามวัน เวลา ที่เจ้าหน้าที่นัดหมาย ข้อ 3 ในการเข้าร่วมกิจกรรม ปลูกและบำรุงป่าชายเลน ข้าพเจ้ายินยอมปฏิบัติตามระเบียบ กรม ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ว่าด้วยการปลูกและบำรุงป่าชายเลน สำ หรับองค์กรหรือบุคคลภายนอก พ.ศ. 2565 ข้อ 4 … แบบ ปอ. 1
- 2 - ข้อ 4 พร้อมกับคาขอนี้ ข้าพเจ้าได้แนบหลักฐานต่าง ๆ มาด้วย ดังนี้ 1 . รายละเอียดของโครงการที่ขออนุญาตเข้าร่วมกิจกรรม 2. แผนที่สังเขปแสดงบริเวณพื้นที่ขออนุญาต 3. สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์ และผู้มีอานาจลง นาม แทนองค์กร 4. สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านหรือสำนักงานที่ทำการขององค์กร 5 . อื่น ๆ ตามที่ทางราชการแจ้งให้นำส่ง … (ลงชื่อ) ผู้ยื่นคำขอ ( … ) ตำแหน่ง (ลงชื่อ) ผู้อนุมัติ ( … )
รํายงํานกํารตรวจ สอบ สภําพป่ําที่มีผู้ขออนุญําตเข้ําร่วมกิจกรรม ปลูกและบ ํารุงป่ําชํายเลน กับกรมทรัพยํากรทํางทะเลและชํายฝั่ง ส ําหรับองค์กรหรือบุคคลภํายนอก 1 . ชื่อผู้ขอ อายุ ปี สัญชาติ อาชีพ มีภูมิลาเนาอยู่บ้านเลขที่ ซอย ถนน หมู่ที่ ตำบล/แขวง อาเภอ/เขต จังหวัด . 2. พื้นที่ดำเนินการ 3 . ขอบเขตและพื้นที่ 4 . ลักษณะภูมิประเทศ 5 . ลักษณะภูมิอากาศ 6 . ลักษณะทางชีวภาพ 7 . อันตรายที่จะเกิดกับพันธุ์ไม้ที่ปลูก และความเห็นในการป้องกันภัย 8. สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ 9 . วัน เดือน ปี ที่ทำการตรวจสภาพพื้นที่ 10 . ความเห็น ของ ผู้ตรวจสภาพป่า (ลงชื่อ) ผู้ นำตรวจสภาพป่า (… ) ตำแหน่ง . (ลงชื่อ) ผู้ตรวจสภาพป่า ( … ) ตำแหน่ง . แบบ ปอ. 2
รํายงําน ผลกํารปฏิบัติงําน กํารปลูกป่ําชํายเลน ส ําหรับองค์กรหรือบุคคลภํายนอก ชื่อแผนงําน/โครงกําร พื้นที่ด ําเนินกําร เนื้อที่ ไร่ แหล่งที่มํางบประมําณ จ ํานวนงบประมําณ หน่วยงํานผู้ด ําเนินโครงกําร รํายงํานผลกํารปลูกป่ําชํายเลน 1 . การคัดเลือกช นิดพันธุ์ไม้ ที่จะใช้ ปลูก 1 .1 จำนวน กล้า 1.2 จำนวน กล้า 1. 3 จำนวน กล้า 1. 4 จำนวน กล้า 2 . อัตราการรอดตายของกล้าไม้ ร้อยละ… 3 . การเตรียมพื้นที่ พร้อมภาพถ่ายสี ไม่น้อยกว่า 2 ภาพ 4 . การปลูก พร้อมภาพถ่ายสีไม่น้อยกว่า 2 ภาพ 5 . การบำรุงรักษา พร้อมภาพถ่ายสีไม่น้อยกว่า 2 ภาพ รูปภาพ การเตรียมพื้นที่ รูปภาพ การเตรียมพื้นที่ รูปภาพ การปลูก รูปภาพ การปลูก รูปภาพ การ บำรุงรักษา รูปภาพ การ บำรุงรักษา แบบ ปอ. 3
แผนที่ มาตราส่วน (ตามความเหมาะสม) - 2 - 6 . การหมายแนวเขตแปลงปลูกป่าชายเลน พร้ อมป้าย และภาพถ่ายสี ไม่น้อยกว่า 3 ภาพ 7 . การรังวัดหมายแนวเขต และแผนที่แสดงแปลงปลูกป่าพร้อมพิกัด แผนที่ รังวัด แปลงปลูกป่ําชํายเลนพร้อมพิกัด ท้องที่ … … เครื่องหมายแผนที่ แนวเขตรังวัด ( ลงชื่อ ) ( ) ตำแหน่ง . รูปภาพ ป้าย รูปภาพ การหมายแนวเขตแปลงปลูก รูปภาพ การหมายแนวเขตแปลงปลูก
แผนที่ มาตราส่วน 1 : 50,000 แผนที่ มาตราส่วน 1 : 4 ,000 - 3 - แผนที่แปลงปลูกป่ําชํายเลน ท้องที่ … … … … เครื่องหมายแผนที่ แปลงปลูกป่าชายเลน ( ลงชื่อ ) ( ) ตำแหน่ง . แผนที่แปลงปลูกป่ําชํายเลน ท้องที่ … … … เครื่องหมายแผนที่ แปลงปลูกป่าชายเลน ( ลงชื่อ ) ( ) ตำแหน่ง .
- 4 - 8 . ภาพถ่ายสี แสดงสภาพแปลง ก่อนและหลังปลูกพร้อมพิกัด ณ จุดถ่ายภาพ ( สำหรับติดตามผล ในปีถัดไป ) ไม่น้อยกว่า 4 รูป พิกัดจุดถ่ายภาพ พิกัดจุดถ่ายภาพ พิกัดจุดถ่ายภาพ พิกัดจุดถ่ายภาพ พิกัดจุดถ่ายภาพ พิกัดจุดถ่ายภาพ พิกัดจุดถ่ายภาพ พิกัดจุดถ่ายภาพ ( ลงชื่อ ) ( ) ตำแหน่ง . ภาพถ่าย ก่อน ปลูกป่าชายเลน 1 ภาพถ่าย ก่อน ปลูกป่าชายเลน 2 ภาพถ่าย หลัง ปลูกป่าชายเลน 1 ภาพถ่าย หลัง ปลูกป่าชายเลน 2 ภาพถ่าย ก่อน ปลูกป่าชายเลน 3 ภาพถ่าย ก่อน ปลูกป่าชายเลน 4 ภาพถ่าย หลัง ปลูกป่าชายเลน 3 ภาพถ่าย หลัง ปลูกป่าชายเลน 4
รํายงําน ผลกํารปฏิบัติงําน กําร บ ํารุงแปลงปลูก ป่ําชํายเลน ปีที่ 2 ถึงปีที่ 6 ส ําหรับองค์กรหรือบุคคลภํายนอก ชื่อแผนงําน/โครงกําร พื้นที่ด ําเนินกําร เนื้อที่ ไร่ แหล่งที่มํางบประมําณ จ ํานวนงบประมําณ หน่วยงํานผู้ด ําเนินโครงกําร รํายงํานผลกํารบ ํารุงแปลงป่ําชํายเลน ปีที่ . 1 . การซ่อมแซมแนวเขตรอบแปลง พร้อมภาพถ่ายสี ไม่น้อยกว่า 2 ภาพ 2 . การแผ้วถางวัชพืช พร้อมภาพถ่ายสี ไม่น้อยกว่า 2 ภาพ 3 . การปลูกซ่อม พร้อมภาพถ่ายสี ไม่น้อยกว่า 2 ภาพ 4. ภาพถ่ายสี แสดงสภาพแปลงหลังการบำรุง พร้อมพิกัด ณ จุดเดิมที่มีการถ่ายภาพ ( สาหรับติดตามผล ในปีถัดไป ) ไม่น้อยกว่า 4 รูป พิกัดจุดถ่ายภาพ พิกัดจุดถ่ายภาพ พิกัดจุดถ่ายภาพ พิกัดจุดถ่ายภาพ ลงชื่อ ( ) ตำแหน่ง . ภาพถ่าย แสดง สภาพแปลง หลังการบำรุง ณ จุดถ่ายภาพเดิม 1 ภาพถ่าย แสดง สภาพแปลง หลังการบำรุง ณ จุดถ่ายภาพเดิม 2 ภาพถ่าย แสดง สภาพแปลง หลังการบำรุง ณ จุดถ่ายภาพเดิม 3 ภาพถ่าย แสดง สภาพแปลง หลังการบำรุง ณ จุดถ่ายภาพเดิม 4 แบบ ปอ. 4