Wed Dec 21 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ระเบียบกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีทั้งหมดหรือบางส่วนตามความตกลงการค้าเสรี ไทย - ออสเตรเลีย สำหรับภาษีในโควตา สินค้านมและครีม เครื่องดื่มประเภทนมปรุงแต่ง และนมผงขาดมันเนย ปี 2566 ถึงปี 2567 พ.ศ. 2565


ระเบียบกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีทั้งหมดหรือบางส่วนตามความตกลงการค้าเสรี ไทย - ออสเตรเลีย สำหรับภาษีในโควตา สินค้านมและครีม เครื่องดื่มประเภทนมปรุงแต่ง และนมผงขาดมันเนย ปี 2566 ถึงปี 2567 พ.ศ. 2565

ระเบียบกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีทั้งหมดหรือบางส่วน ตามความตกลงการค้าเสรี ไทย - ออสเตรเลีย สำหรับภาษีในโควตา สินค้านมและครีม เครื่องดื่มประเภทนมปรุงแต่ง และนมผงขาดมันเนย ปี 25 66 ถึงปี 2567 พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกหนังสือรับรองแสดง การได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีทั้งหมดหรือบางส่วนตามความตกลงการค้าเสรี ไทย - ออสเตรเลีย สาหรับภาษีในโควตา สาหรับการนาเข้าสินค้านมและครีม เครื่องดื่มประเภทนมปรุงแต่ง และนมผง ขาดมันเนย ปี 25 66 ถึงปี 2567 ให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 และเพื่อให้เป็นไปตามพระราชกาหนด พิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2564 อาศัยอานาจตามความในข้อ 6 วรรคสอง ของประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนา สินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงการค้าเสรี ไทย - ออสเตรเลีย พ.ศ. 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิช ย์ ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการออกหนังสือรับรองแสดง การได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีทั้งหมดหรือบางส่วนตามความตกลงการค้าเสรี ไทย - ออสเตรเลีย สำหรับภาษีในโควตา สินค้านมและครีม เครื่องดื่มประเภทนมปรุงแต่ง และนมผงขาดมันเนย ปี 25 66 ถึงปี 2567 พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในระเบียบนี้ “ หนังสือรับรอง ” หมายความว่า หนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีทั้งหมด หรือบางส่วนตามความตกลงการค้าเสรี ไทย - ออสเตรเลีย สำหรับภาษีในโควตา ตามระเบียบนี้ “ นมและครีม ” หมายความว่า นมและครีมที่ไม่ทาให้เข้มข้นและไม่เติมน้ำตาลหรือสาร ทาให้หวานอื่น ๆ ตามพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทย่อย 0401.10.10 0401.10.90 0401.20.10 0401.20.90 0401.40.10 0401.40.20 0401.40.90 0401.50.10 และ 0401.50.90 “ เครื่องดื่มประเภทนมปรุงแต่ง ” หมายความว่า เครื่องดื่มประเภทนมปรุงแต่ง ตามพิกัดอัตรา ศุลกากร ประเภทย่อย และรหัสสถิติสินค้า 2202.91.00.001 2202.99.10.000 2202.99.20.001 2202.99.40.001 2202.99.50.001 และ 2202.99.90.001 และ พิกัดอัตราศุลกากร ประเภทย่อย 2202.99.30 ้ หนา 7 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 299 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 ธันวาคม 2565

กรณีเครื่องดื่มประเภทนมปรุงแต่ง ตามพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทย่อย 2202.99.30 ในกรณีที่กรมศุลกากรกาหนดรหัส สถิติสินค้าเฉพาะที่มีนมผสมแล้ว ให้เป็นไปตามพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทย่อย และรหัสสถิติสินค้า ที่กรมศุลกากรประกาศกำหนด “ นมผงขาดมันเนย ” หมายความว่า นมและครีมที่ทาให้เข้มข้นหรือเติมน้าตาลหรือสาร ทำให้หวานอื่น ๆ เฉพาะที่เป็นผง เม็ด หรือเป็นลักษณะของแข็งอื่น ๆ มีไขมันไม่เกินร้อยละ 1.5 โดยน้าหนักตามพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทย่อย 0 4 0 2. 1 0.41 0 4 0 2. 1 0.42 0 4 0 2. 1 0.49 0402.10.91 0402.10.92 และ 0 4 0 2. 1 0.99 ข้อ 4 นมและครีม เครื่องดื่มประเภทนมปรุงแต่ง และนมผงขาดมันเนย ที่จะออกหนังสือรับรอง ตามระเบียบนี้ต้องมีถิ่นกำเนิดและส่งตรงมาจากออสเตรเลีย ข้อ 5 ผู้มีสิทธิขอหนังสือรับรองต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (1) เป็นผู้ที่ได้รับจัดสรรปริมาณการนำเข้าตามข้อ 6 (3) (2) ไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างถูกระงับการออกหนังสือรับรองตามข้อ 11 ว รรคสอง ข้อ 6 การจัดสรรปริมาณการนาเข้าสินค้านมและครีม เครื่องดื่มประเภทนมปรุงแต่ง และนมผงขาดมันเนย สำหรับปี 2566 ถึงปี 2567 ( 1 ) ปริมาณการนำเข้าที่จะจัดสรร สำหรับนมและครีม และเครื่องดื่มประเภทนมปรุงแต่ง มีปริมาณรวมไม่เกินปีละ 192.19 เมตริกตัน ประกอบด้วยนมและครีม 190.00 เมตริกตัน และ เครื่องดื่มประเภทนมปรุงแต่ง 2.19 เมตริกตัน สาหรับนมผงขาดมันเนย มีปริมาณรวมไม่เกินปีละ 3,875.90 เมตริกตัน ( 2 ) ผู้ขอรับการจัดสรรต้องเป็นนิติบุคคล ทั้งนี้ เฉพาะกรณีนมผงขาดมันเนยผู้ขอรับ การจัดสรรต้องเป็นนิติบุคคลกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (ก) นิติบุคคลผู้ผลิตนมข้น (ข) นิติบุคคลผู้ประกอบการแปรรูปอาหารนมอื่น (ค) นิติบุคคลผู้ผลิตเพื่อการส่งออก (ง) นิติบุคคลผู้ผลิตนมเปรี้ยว (3) การจัดสรรให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมกำหนด และให้ กรมการค้าต่างประเทศออกประกาศผลการจัดสรรให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ โดยในกรณีที่คณะกรรมการโคนม และผลิตภัณฑ์นมกาหนดให้จัดสรรโดยวิธีการยื่นขอก่อนได้รับสิทธิก่อน ( First come, First served ) ให้กรมการค้าต่างประเทศออกประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิขอรับการจัดสรรโด ยวิธีการดังกล่าว ข้อ 7 ห้ามมิให้ผู้ที่ได้รับจัดสรรปริมาณการนาเข้าตามข้อ 6 (3) โอนสิทธิที่ได้รับจัดสรร ให้แก่ผู้อื่น ้ หนา 8 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 299 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 ธันวาคม 2565

ข้อ 8 ให้ผู้มีสิทธิขอหนังสือรับรองยื่นคาร้องขอหนังสือรับรองต่อกรมการค้าต่างประเทศ โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบที่รองรับการออกใบอนุ ญาตและออกหนังสือรับรองการส่งออก - นำเข้า ของกรมการค้าต่างประเทศ พร้อมเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (1) สำเนาใบกำกับสินค้า ( Invoice ) (2) สาเนาใบตราส่งสินค้าทางเรือ ( Bill of Lading : B / L ) หรือสำเนาใบตราส่งสินค้าทางอากาศ ( Air Waybill ) หรือเอกสารหลักฐานอื่นที่แสดงการขนส่งสินค้า (3) สำเนาหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ( Certificate of Origin : C / O ) ที่ออกโดย หอการค้าและอุตสาหกรรมของออสเตรเลีย หน่วยงานในสังกัดกลุ่มอุตสาหกรรมของออสเตรเลีย หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาลของออสเตรเลีย ในการขอหนังสือรับรองกรณีนมและครีม และนมผงขาดมันเนย หากผู้มีสิทธิขอหนังสือรับรอง มอบอำนาจให้ตัวแทนเป็นผู้ดำเนินการขอหนังสือรับรองและดำเนินพิธีการศุลกากรขาเข้าแทน โดยประสงค์ให้กรมการค้าต่างประเทศออกหนังสื อรับรองในชื่อของตัวแทน ให้ตัวแทนส่งหนังสือแต่งตั้ง ตัวแทนต่อกรมการค้าต่างประเทศโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบที่รองรับการออกใบอนุญาต และออกหนังสือรับรองการส่งออก - นำเข้า ของกรมการค้าต่างประเทศ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจตามวรรคสองให้กรมการค้าต่างประเทศออ กหนังสือรับรอง ในชื่อของตัวแทน เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการมอบอานาจตามวรรคสอง ให้ผู้มอบอานาจส่งหนังสือ มอบอานาจหรือสาเนาที่รับรองความถูกต้องแล้วให้กรมการค้าต่างประเทศภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ วันที่ออกหนังสือรับรอง ทั้งนี้ ในกรณีที่กรมการค้าต่างประเทศมีระบบอิเล็กทรอนิกส์รองรับ การตรวจสอบการมอบอำนาจ กรมการค้าต่างประเทศจะกำหนดยกเว้นการดาเนินการดังกล่าวก็ได้ ข้อ 9 ให้กรมการค้าต่างประเทศออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้ที่ได้รับจัดสรรแต่ละรายไม่เกิน ปริมาณที่ได้รับจัดสรรตามข้อ 6 (3) ข้อ 10 หนังสือรับรองให้มีอายุ 30 วันนับตั้งแต่วันที่ออก แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ออกหนังสือรับรองนั้น ข้อ 11 ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองรายงานการนำเข้าต่อกรมการค้าต่างประเทศโดยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบที่รองรับการรายงานการส่งออก - นา เข้าสินค้า ของกรมการค้าต่างประเทศ ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่นาสินค้าเข้าแต่ละครั้ง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดสรร ปริมาณการนาเข้าต่อไป ้ หนา 9 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 299 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 ธันวาคม 2565

ผู้ได้รับหนังสือรับรองรายใดไม่รายงานการนาเข้าภายในระยะเวลาที่กาหนดตามวรรคหนึ่ง ให้กรมการค้าต่างประเทศระงับการออกหนังสือรับรองสาหรับการนาเข้าในครั้งถัดไปจนกว่าผู้ได้รับ หนังสือรับรองจะส่งรายงานการนำเข้าให้ครบถ้วนถูกต้อง ข้อ 1 2 ให้อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 25 6 5 จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ้ หนา 10 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 299 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 ธันวาคม 2565