Sun Dec 18 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

แนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2)


แนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2)

แนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2) โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมแนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาลที่ดีในสถาบันอุดมศึกษาอย่างยั่งยืนให้เหมาะสม อาศัยอานาจตามความในมาตรา 10 ประกอบมาตรา 9 (5) แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โด ยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ในการประชุมครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2565 และในการ ประชุมครั้งที่ 9/2565 เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2565 จึงออกแนวปฏิบัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 แนวปฏิบัติฉบับนี้เรียกว่า “ แนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2)” ข้อ 2 แนวปฏิบัติฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 12 ในแนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ข้อ 1 2 ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้สมควรดารงตาแหน่งนายก สภาสถาบันอุดมศึกษาและกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ภายนอกซึ่งเป็นผู้ที่ตร ะหนักถึงคุณสมบัติของผู้สมควรดำรงตำแหน่งที่เหมาะสมกับเป้าหมายของ สถาบันอุดมศึกษา เป็นจำนวนมากกว่ากึ่งหนึ่ง โดยคัดเลือกจากบุคคลที่มีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการ การอุดมศึกษาประกาศ ทั้งนี้ ประธานคณะกรรมการสรรหาควรเป็นบุคคลภายนอก สาหรับบุคลากร ภายในสถาบันอุดมศึ กษาที่จะมาเป็นคณะกรรมการสรรหาควรผ่านการคัดเลือกจากบุคลากรภายใน สถาบันอุดมศึกษา และไม่ใช่ผู้ดำรงตาแหน่งบริหาร อนึ่ง มิให้นาความในข้อนี้ไปใช้บังคับกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ สถาบัน เทคโนโลยีจิตรลดา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลั ยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย และสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 ในแนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ข้อ 1 6 สภาสถาบันอุดมศึกษาต้องปฏิบัติหน้าที่ตามหลักธรรมาภิบาล รวมถึงการจัดให้มี ระบบควบคุมภายในและระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ โดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการธรรมาภิบาลและจริยธรรม และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจากบุคคลซึ่งเป็นกลาง ที่ได้รับการยอมรับ อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ สภาสถาบันอุดมศึกษาต้องกำหนดนโยบาย วางแผน ยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามศักยภาพ สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ ้ หนา 66 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 295 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 ธันวาคม 2565

และบรรลุเป้าหมายตามพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา โดยตระหนักถึงประโยชน์ส่วนรวมที่จะเกิดขึ้น ความโปร่งใส การป้องกันและการขจัดการขัดกันแห่งผลประโยชน์ การทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมถึงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมที่ดีให้แก่บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อนำพา สถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการและการบริหารจัดการที่ดี นอกจากนี้ ให้สภา สถาบันอุดมศึกษามี หน้าที่และอานาจในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ตามแผนยุทธศาสตร์ที่กาหนดไว้ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่กากับและดูแลกิจการของสถาบันอุดมศึกษา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาอันเป็น การเสริมสร้ำงความสัมพันธ์ที่ดี สร้างความสมานฉันท์ ปรองดอง รวมถึงการสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรม หรือการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม การพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคลากร เพิ่มพูนทักษะในการปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษา สภาสถาบันอุดมศึกษาควรมีคณะทำงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรอง ตรวจสอบ และเสนอความคิดเห็นก่อนที่จะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของสภาสถาบันอุดมศึกษา ” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 17 ในแนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา และให้ใช้ความต่อไปนี้แท น “ ข้อ 17 สภาสถาบันอุดมศึกษาต้องจัดทำประมวลจริยธรรมของนายกสภาสถาบันอุดมศึกษา กรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา ผู้บริหารและบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา โดยมีกลไกในการส่งเสริม ตรวจสอบ และบังคับใช้ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดการ อุดมศึกษาและผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตร รวมถึงการออกข้อบังคับของสถาบันอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับ หลักเกณฑ์ตามที่กาหนดในแนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งนี้ นายกสภา สถาบันอุดมศึกษา กรรมการสภาสถาบั นอุดมศึกษา ผู้บริหาร บุคลากร นิสิต นักศึกษา ต้องยึดถือ และปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม รวมถึงเป็นการแสดงให้เห็นเจตนารมณ์ที่จะแสดงความโปร่งใส ในการปฏิบัติหน้าที่ นายกสภาและกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยใ ห้มีคณะกรรมการประเมินซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกเป็นกรรมการร่วมด้วย ทาหน้าที่เป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของสภาสถาบันอุดมศึกษา ทั้งนี้ ผลการประเมินที่สภา สถาบันอุดมศึกษาได้รับจะต้องนามาใช้ในการพัฒนาและยกระดับสถาบันอุดมศึกษา ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งระหว่างสภาสถาบันอุดมศึกษากับอธิการบดีจนทาให้เกิดความเสียหาย แ ก่สถาบันอุดมศึกษาอย่างร้ำยแ รง หำกนำยกสภาสถาบัน อุดมศึกษาห รืออธิการบดี แจ้งสานักงานปลัดกระทรวงทราบ หรือในกรณีสานักงานปลัดกระทรวงพบว่ามีปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น ให้สำนักงานป ลัดกระทรวงเสนอคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อรัฐมนตรีต่อไป ” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 19 ในแนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ้ หนา 67 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 295 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 ธันวาคม 2565

“ ข้อ 19 ในการสรรหาอธิการบดี ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา ผู้สม ควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา และเงื่อนไขการได้มา ซึ่งอธิการบดี โดยคานึงถึงความโปร่งใส และความมีประสิทธิภาพในการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษา เป็นสำคัญ คณะกรรมการสรรหาผู้สมควรดารงตาแหน่งอธิการบดีควรมีองค์ประกอบ ดังนี้ (1) บุคคลภายนอกไม่ต่ากว่าสองในสามของกรรมการสรรหาทั้งหมด ทั้งนี้ ต้องมีกรรมการ สภาสถาบันอุดมศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกินหนึ่งในสามของกรรมการสรรหาทั้งหมด (2) บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาต้องไม่เกินหนึ่งในสามของกรรมการสรรหาทั้งหมด โดยได้รับการคัดเลือกจากบุคลากรในสถาบั นอุดมศึกษาและต้องมิใช่ผู้ดารงตำแหน่งบริหารระดับ รองอธิการบดีหรือผู้ช่วยอธิการบดีของผู้เข้ารับการสรรหาให้ดารงตาแหน่งอธิการบดี อธิการบดีควรมีวาระการดารงตาแหน่งคราวละไม่เกินสี่ปี และไม่ควรดารงตาแหน่งรวมกัน เกินกว่าแปดปี เมื่อการสรรหาตามวรรคหนึ่งเสร็จสิ้นแล้ ว ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาให้ได้ข้อยุติว่า ผู้ใดสมควรดารงตาแหน่งอธิการบดี โดยการพิจารณาต้องโปร่งใส บริสุทธิ์ และยุติธรรม ก่อนเสนอ สำนักงานปลัดกระทรวงเพื่อดาเนินการต่อไป ในกรณีที่ไม่สามารถหาข้อยุติได้อย่างแน่แท้ หรือมีข้อขัดแย้งอย่างร้ายแรงเกิดขึ้ นในการลงมติ ตามวรรคสี่ หากสภามหาวิทยาลัยแจ้งสานักงานปลัดกระทรวง หรือสานักงานปลัดกระทรวงพบว่า มีปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น ให้สานักงานปลัดกระทรวงเสนอคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อให้ข้อเสนอแนะ ต่อรัฐมนตรี เพื่อดาเนินการตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 หรือ ดาเนินการตามคาสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 39/2559 เรื่อง การจัดระเบียบและ แก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาแล้วแต่กรณีต่อไป อนึ่ง มิให้นาความในข้อนี้ไปใช้บังคับกับสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ” ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 37 ในแน วปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ข้อ 37 เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ การอุดมศึกษาให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลที่ดีในสถาบันอุดมศึกษา ให้สานักงาน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน ติดตามและให้คาแนะนำ หรือเสนอแนะต่อสถาบันอุดมศึกษา และให้รายงานผลการดาเนินงาน ต่อคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อเสนอแนะต่อรัฐมนตรีพิจารณาดาเนินการควบคุม กากับและดูแล ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ้ หนา 68 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 295 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 ธันวาคม 2565

แนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาหากมีประการใดขัดกับพระราชบัญญัติ การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา ให้สถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติตามพระราชบัญญัติของสถาบันอุดมศึกษา นั้นก่อน จนกว่าจะมีการแก้ไขพระราชบัญญัติ การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาดังกล่าว ” ข้อ 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้ในหมวดที่ 6 การกำกับดูแลธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา “ ข้อ 38 กรณีข้อบังคับว่าด้วยการสรรหานายกสภาสถาบันอุดมศึกษา กรรมการสภา สถาบันอุดมศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ และอธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาใดยังไม่ สอดคล้องกับความในข้อ 12 และข้อ 19 ของแนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา ให้สถาบันอุดมศึกษาดาเนินการ แก้ไขปรับปรุงข้อบังคับให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 20 ธันวาคม 2566 ทั้งนี้ โดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง ” ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 25 6 5 เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ้ หนา 69 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 295 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 ธันวาคม 2565