ระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด พ.ศ. 2565
ระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด พ.ศ. 2565
ระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดหลักเกณฑ์การเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอานาจเหนือตลาดเพื่อให้ การพิจารณาเกี่ยวกับการกระทาอันมีลักษณะเป็นการผูกขาด ลดการแข่งขัน หรือจากัดการแข่งขัน การให้บริการพลังงานมีความชัดเจน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติการประ กอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ประกอบกับมติคณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน ในการประชุมครั้งที่ 49/2565 (ครั้งที่ 816) เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2565 คณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบคณะกรรมกากับกิจการพลังงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์ การเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด พ.ศ. 2565 ” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 บรรดาระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่มีกำห นดไว้แล้ว ในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “ ตลาดที่เกี่ยวข้อง ” หมายความว่า ตลาดการให้บริการพลังงานที่เกี่ยวข้องตามที่ คณะกรรมการประกาศกำหนด “ ความสัมพันธ์กันทางนโยบาย ” หมายความว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ประกอบธุรกิจตั้งแต่ สองรายขึ้นไปที่มีแนวทาง นโยบาย หรือวิธีการในการบริหาร การอานวยการ หรือการจัดการธุรกิจ ที่อยู่ภายใต้บุคคลที่มีอำนาจสั่งการรายเดียวกัน “ อำนาจสั่งการ ” หมายความว่า อำนาจควบคุมอันเนื่องมาจากเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้ (1) การถือหุ้ นที่มีสิทธิออกเสียงในผู้ได้รับใบอนุญาตรายหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวน สิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ได้รับใบอนุญาตนั้น (2) การมีอานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของผู้ได้รับใบอนุญาตรายหนึ่ง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม (3) การมีอำนาจควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการในผู้ได้รับใบอนุญาตรายหนึ่ง ตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม (4) การมีอานาจสั่งการตาม (1) หรือ (2) ต่อไปเป็นทอดๆ ทุกทอด โดยเริ่มจากการมีอานาจ สั่งการตาม (1) หรือ (2) ใน ผู้ประกอบธุรกิจในทอดแรก ้ หนา 12 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 295 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 ธันวาคม 2565
“ บริษัทย่อย ” หมายความว่า บริษัทย่อยของผู้รับใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงานจาก คณะกรรมการกากับกิจการพลังงานตามระเบียบคณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการรวมกิจการและการถือหุ้นไขว้ในกิจการพลังงาน “ ผู้รับใบอนุญาต ” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงานตามพระราชบัญญัติ การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 “ คณะกรรมการ ” หมายความว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน “ สำนักงาน ” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน ข้อ 5 เพื่อประโยชน์แห่งการบังคั บให้เป็นไปตามระเบียบฉบับนี้ ให้ถือว่าผู้ได้รับใบอนุญาต ตั้งแต่สองรายขึ้นไปที่มีความสัมพันธ์กันทางนโยบายหรืออำนาจสั่งการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเดียวกัน ข้อ 6 ให้ผู้รับใบอนุญาตที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการแข่งขันขึ้นในตลาด หรือสามารถ กาหนดราคา ปริมาณ คุณลักษณะ หรือคุณภาพของสินค้าได้โดยเป็นอิสระจากผู้ประกอบธุรกิจอื่น หรือจากผู้บริโภคได้ในระดับหนึ่ง เป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีอานาจเหนือตลาดที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณา จากปัจจัย ดังต่อไปนี้ (1) ส่วนแบ่งตลาด โดยให้ผู้รับใบอนุญาตในกรณีดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีอำ นาจเหนือตลาด (ก) ผู้รับใบอนุญาตรายใดรายหนึ่งที่มีส่วนแบ่งตลาดในปีที่ผ่านมาตั้งแต่ร้อยละห้าสิบขึ้นไป และมียอดเงินขายในปีที่ผ่านมาตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป หรือ (ข) ผู้รับใบอนุญาตสามรายแรกที่มีส่วนแบ่งตลาดในปีที่ผ่านมารวมกันตั้งแต่ร้อยละเจ็ดสิบห้า ขึ้ นไปให้ถือว่าเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด ทั้งนี้ ในกรณีดังกล่าวให้นับเฉพาะผู้รับใบอนุญาต (2) การกระจุกตัวของตลาด โดยพิจารณาจากค่าดัชนี Herfindahl - Hirschman Index ( HHI ) โดย หากดัชนี HHI ของตลาดสูงกว่า 1800 จะถือว่าเป็นตลาดที่มีการกระจุกตัวมาก (3) อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด ความคงทนของอุปสรรคดังกล่าว โดยอาจเป็นอุปสรรค ด้านโครงสร้าง ด้านกฎหมาย หรือด้านการกำกับดูแล (4) แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงการแข่งขันในอนาคต และศักยภาพในการแข่งขันของคู่แข่ง ในตลาด (5) ขนาดของกิจการโดยรวม (6) การควบคุมโครงสร้างพื้ นฐานที่ จำ เป็น (7) ความได้เปรียบหรือเหนือกว่าทางเทคโนโลยีเมื่อเทียบกับผู้รับใบอนุญาตรายอื่นในตลาด ที่เกี่ยวข้อง (8) อำนาจในการต่อรองของผู้ซื้อ (9) ความง่ายในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน (10) ความหลากหลายของสินค้าหรือบริการ (11) การประหยัดจากขนาด ้ หนา 13 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 295 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 ธันวาคม 2565
(12) การประหยัด จากขอบเขตการผลิต (13) การรวมตัวในแนวตั้งของธุรกิจที่ให้บริการ (14) ระดับหรือแนวโน้มการกระจายและขายสินค้า (15) อุปสรรคในการขยายกิจการ (16) ปัจจัยอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร ทั้งนี้ ตามแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการเห็นชอบตามระเบียบนี้ ข้อ 7 เพื่อให้มีมาตรการกำกับดูแลล่วงหน้าในการส่งเสริมการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม ในกิจการพลังงาน ให้คณะกรรมการมี อา นาจ กา หนดผู้มี อา นาจเหนือตลาดเป็นผู้มีอานาจเหนือตลาด อย่างมีนัย สา คัญในแต่ละประเภทของใบอนุญาต หรือตามตลาดที่เกี่ยวข้องตามที่คณะกรรมการกาหนด เพิ่มเติ ม ข้อ 8 ในการพิจารณา กา หนดผู้มี อา นาจเหนือตลาดอย่างมีนัย สา คัญตามข้อ 7 ให้ กา หนด ผู้มี อา นาจเหนือตลาดอย่างมีนัย สา คัญในตลาดที่เกี่ยวข้องตามระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยนิยามตลาด และขอบเขตตลาดการให้บริการพลังงานที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาจากปัจจัยในข้อ 6 ทั้งนี้ การพิจารณา กา หนดผู้มี อา นาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสาคัญตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตาม แนวปฏิบัติที่คณะกรรมการเห็นชอบตามระเบียบนี้ ข้อ 9 ในแต่ละตลาดที่เกี่ยวข้องตามข้อ 8 ให้คณะกรรมการพิจารณา กา หนดผู้รับใบอนุญาต เพียงรายเดียวเป็นผู้มี อำ นาจเหนือตลาดอย่างมีนัย สำ คัญในแต่ล ะประเภทใบอนุญาต หรือตลาด ที่เกี่ยวข้องอื่น ข้อ 10 ในกรณีที่ไม่อาจ กำ หนดผู้มี อำ นาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญเพียงรายเดียว ตามข้อ 9 ได้ ให้คณะกรรมการพิจารณา กา หนดผู้มี อา นาจเหนือตลาดอย่างมีนัย สา คัญแบบหลายรายร่วมกัน โดย คำ นึงถึงปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้ (1) การกระจุกตัวของตลาด (2) สินค้าและบริการที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกัน (3) โครงสร้างต้นทุนที่คล้ายคลึงกัน (4) ส่วนแบ่งตลาดที่ใกล้เคียงกัน ในการพิจารณา กา หนดผู้มี อา นาจเหนือตลาดอย่างมีนัย สา คัญแบบหลายรายร่วมกันตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการอาจใช้เกณฑ์และปัจจัยอื่นที่ใช้ในทางวิชาการพิจารณาประกอบด้วยก็ได้ เช่น ความโปร่งใส ตลาดในสภาวะเติบโตเต็มที่หรืออิ่มตัว การเติบโตอย่างชะงักงันด้านอุปสงค์ อุปสงค์ของสินค้าหรือ บริการที่มีความยืดหยุ่นต่า นวัตกรร มทางเทคนิคหรือเทคโนโลยีที่เติบโตเต็มที่หรืออิ่มตัว กา ลังการผลิต ส่วนเกิน อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดสูง อำ นาจในการต่อรองของผู้ซื้อ การแข่งขันที่มีศักยภาพ กลไกของการโต้กลับ และขอบข่ายของการแข่งขันด้านราคา เป็นต้น ้ หนา 14 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 295 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 ธันวาคม 2565
ข้อ 11 ให้คณะกรรมการพิจารณา กา หนดมาตรการเ ฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง สา หรับผู้รับใบอนุญาตที่เป็นผู้มี อา นาจเหนือตลาดอย่างมีนัย สา คัญตามระเบียบนี้ โดยจะต้องสอดคล้อง กับสภาพอุปสรรคในการแข่งขันในตลาด และเป็นไปตามที่กาหนดไว้ในหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณา กาหนดมาตรการสาหรับพฤติกรรมผูกขาด ลดการแข่งขั น หรือจากัดการแข่งขันในกิจการพลังงาน ที่คณะกรรมการประกาศกาหนด กรณีที่มีผู้ได้รับใบอนุญาตเพียงรายเดียวในตลาดที่เกี่ยวข้องโดยชอบ ด้วยกฎหมาย คณะกรรมการอาจพิจารณาไม่กำหนดมาตรการกากับดูแลที่เหมาะสมก็ได้ ให้คณะกรรมการทบทวนความจำเป็นของมาตรการเฉพาะเป็นประ จำ ทุก สองปี หรือ ตามระยะเวลาที่คณะกรรมการเห็นสมควร โดย คำ นึงถึงความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและ ความต้องการของตลาดตลอดจนสภาพการแข่งขัน ข้อ 12 ให้ สา นักงานจัด ทา รายงานการวิเคราะห์เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ ในการกาหนดผู้มีอานาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสาคัญและมาต รการเฉพาะในการ กา กับดูแลตามข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 และข้อ 11 การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ตามวรรคหนึ่งเพื่อกำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญ สำนักงานอาจมอบหมายให้ผู้ประกอบธุรกิจรายใดรายหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจัดทำรายงาน การวิเคราะห์ ภายในระยะเวลาที่สำนักงานเห็นสมควร ข้อ 13 ผู้รับใบอนุญาตมีหน้าที่ต้องจัดส่งข้อมูลตามที่ สา นักงานร้องขอเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ และพิจารณาตามระเบียบนี้ ในกรณีที่ สา นักงานมีหรือได้รับข้อมูลไม่เพียงพอเพื่อประกอบการวิเคราะห์ หรือพิจารณา สา นักงานอาจ ใช้หลักเกณฑ์ตามหลักวิชาเศรษฐศาสตร์ในการ กา หนดสมมติฐานหรือ ประมาณค่าที่เหมาะสมเพื่อใช้ประกอบการ คำ นวณหรือการพิจารณาก็ได้ ข้อ 14 ผู้รับใบอนุญาตรายใดที่เป็นผู้มี อา นาจเหนือตลาดตามระเบียบนี้ ให้ถือว่าเป็นผู้มี อา นาจ เหนือตลาดตามระเบียบคณะกรรมการกากับกิจการพลังงา น ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณา กำหนดมาตรการสำหรับพฤติกรรมผูกขาด ลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในกิจการพลังงาน ข้อ 15 ให้สานักงานเสนอคณะกรรมการพิจารณาประกาศกาหนดผู้มีอานาจเหนือตลาด อย่างมีนัยสาคัญตามข้อ 8 ข้อ 9 หรือข้อ 10 และมาตรการเฉพาะตามข้ อ 11 และนาประกาศ ดังกล่าวไปรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้เกี่ยวข้องเป็นเวลาอย่างน้อยสิบห้าวัน พร้อมทั้ง แจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตตามประกาศทราบ หากผู้รับใบอนุญาตดังกล่าวมีข้อโต้แย้ง ให้ทาคาโต้แย้งเป็นหนังสือ ต่อคณะกรรมการภายในระยะเวลาไม่เกินสิบ ห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ให้สำนักงานเสนอคำโต้แย้งตามวรรคหนึ่งต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาไม่เกินสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำโต้แย้ง กรณีมิได้มีคาโต้แย้งตามวรรคหนึ่ง หรือดาเนินการตามวรรคสองแล้วเสร็จ ให้คณะกรรมการ มีคาสั่ง กาหนดผู้มีอานาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสาคัญตามข้อ 8 ข้อ 9 หรือข้อ 10 และมาตรการ เฉพาะตามข้อ 11 โดยให้สำนักงานมีหนังสือแจ้งคำสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตที่ตกอยู่ภายใต้บังคับ ้ หนา 15 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 295 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 ธันวาคม 2565
แห่งคาสั่งนั้นทราบ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตต้องเตรียมการเพื่อปฏิบัติตามคาสั่ง ให้สานั กงานแจ้งให้ ผู้รับใบอนุญาตทราบเป็นเวลาล่วงหน้า ไ ม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ข้อ 16 ผู้รับใบอนุญาตที่ยื่นคาขออนุญาตที่ไม่พอใจคาสั่งของคณะกรรมการตามระเบียบนี้ มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามระเบียบ ของคณะกรรมการว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอุทธรณ์ และการพิจารณาอุทธรณ์ ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 25 6 5 เสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานกรรมการกากับกิจการพลังงาน ้ หนา 16 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 295 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 ธันวาคม 2565