ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักสูตรการอบรมความรู้เกี่ยวกับการขับรถและวินัยจราจร พ.ศ. 2565
ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักสูตรการอบรมความรู้เกี่ยวกับการขับรถและวินัยจราจร พ.ศ. 2565
ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักสูตรการอบรมความรู้เกี่ยวกับการขับรถและวินัยจราจร พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักสูตรการอบรมความรู้เกี่ยวกับการขับรถและวินัยจราจรสำหรับ ใช้ในการอบรมผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ซึ่งถูกตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถหรือถูกสั่งพักใช้ ใบอนุญาตขับขี่ตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก เพื่อประโยชน์ในการควบคุมความประพฤติของ ผู้ ได้รับใบอนุญาตขับขี่ให้เกิดความปลอดภัยในการจราจร ในกรณีที่ผู้ขับขี่กระทาความผิดตามกฎหมาย ว่าด้วยการจราจรทางบกหรือกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับรถหรือการใช้ทาง อาศัยอานาจตามความในมาตรา 142/3 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพ ระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 25 6 2 ผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติ และอธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “ ผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ ” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ซึ่งถูกตัดคะแนนความประพฤติ ในการขับรถ หรือถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ตามมาตรา 142/1 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 25 6 2 “ หลักสูตรการอบรมความรู้เกี่ยวกับการขับรถและวินัยจราจร ” หมายความว่า การอบรมและ การทดสอบให้กับผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่เพื่อขอคืนคะแนน “ การอบรม ” หมายความว่า การอบรมภาคทฤษฎีตามวิชาที่กำหนด “ การทดสอบ ” หมายความว่า การทดสอบข้อเขียนเพื่อวัดความ รู้ความสามารถภายหลังการอบรม “ ผลการอบรมและการทดสอบ ” หมายความว่า ข้อมูลผลการอบรมของผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ ที่ผ่านการอบรมและผ่านการทดสอบจากกรมการขนส่งทางบกหรือโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่ง ทางบกรับรอง โดยบันทึกผ่านระบบสารสนเทศของกรมการขนส่งทางบก หรือดาเนิ นการในรูปแบบอื่น ตามที่กรมการขนส่งทางบกกาหนด เพื่อคืนคะแนนความประพฤติในการขับรถ หมวด 1 บททั่วไป ข้อ 2 ผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ที่มีสิทธิขอเข้ารับการอบรมเพื่อขอคืนคะแนนความประพฤติ ในการขับรถ มีดังนี้ (1) ผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ซึ่งถูกตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถจนเหลือน้อยกว่า 6 คะแนน (2) ผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ตามมาตรา 142/1 วรรคสาม ้ หนา 28 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 293 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 ธันวาคม 2565
ข้อ 3 ผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ซึ่งถูกตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถจนเหลือน้อยกว่า 6 คะแ นน มีสิทธิขอเข้ารับการอบรมเพื่อขอคืนคะแนนความประพฤติในการขับรถได้ปีละ 2 ครั้ง ตามรอบปีปฏิทิน หมวด 2 หลักสูตรการอบรมความรู้ ส่วนที่ 1 การอบรม ข้อ 4 การอบรมเพื่อขอคืนคะแนนความประพฤติในการขับรถ มีดังนี้ (1) การอบรมครั้งที่ 1 ในรอบปีปฏิทิน มีจำนวนทั้งหมด 3 หลักสูตร ดังนี้ (ก) หลักสูตรกรณีขอคืนคะแนนไม่เกินจานวน 12 คะแนน มีระยะเวลาการอบรม ไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง (ข) หลักสูตรกรณีขอคืนคะแนนไม่เกินจานวน 9 คะแนน มีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง (ค) หลักสูตรกรณีขอคืนคะแนนไม่เกินจานวน 6 คะแนน มีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่มีสิทธิเลือกหลักสูตรการอบรมตาม (1) ได้เพียงหลักสูตรเดียว โดยจะ ได้รับคืนคะแนนความประพฤติในการขับรถตามจำนวนคะแนนที่ผ่านการอบรมและทดสอบตามหลักสู ตร ที่กำหนดใน (1) แต่เมื่อรวมคะแนนที่ได้รับคืนมาแล้วจะมีคะแนนรวมไม่เกิน 12 คะแนน (2) การอบรมครั้งที่ 2 ในรอบปีปฏิทิน มีจานวนทั้งหมด 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรคืน คะแนนกลับมาเป็น 6 คะแนน มีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง (3) การอบรมกรณีถู กสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ มีจำนวนทั้งหมด 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรกรณีถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ (คืนคะแนนกลับมาเป็น 12 คะแนน) มีระยะเวลาการอบรม ไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง ข้อ 5 ผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ที่ขอเข้ารับการอบรมจะต้องเข้ารับการอบรมให้ครบตาม ระยะเวลา ที่กำหนดในแต่ละหลักสูตร โดยต้องดำเนินการอบรมให้แล้วเสร็จภายในครั้งเดียว ทั้งนี้ ผู้ได้รับ ใบอนุญาตขับขี่ไม่สามารถสะสมจำนวนชั่วโมงการอบรมได้ ข้อ 6 การอบรมตามข้อ 4 ในแต่ละหลักสูตรประกอบด้วยวิชา ดังต่อไปนี้ ( 1 ) วิชาความรู้พื้นฐาน (ก) สถานการณ์เกี่ยวกับอุบัติเหตุ 1) แนวโน้มของอุบัติเหตุทางถนน ้ หนา 29 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 293 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 ธันวาคม 2565
- สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ 3) กลุ่มเสี่ยงจำแนกตามเพศ 4) กลุ่มเสี่ยงจำแนกตามกลุ่มอายุ 5) อุบัติเหตุจำแนกตามช่วงเวลาเดือน 6) ประเภทยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ (ข) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอุบัติ เหตุ 1) ด้านบุคคล ได้แก่ อายุ เพศ อาชีพ การศึกษา สถานะทางครอบครัวของผู้ขับรถ 2) ด้านนิสัย ได้แก่ นิสัยการชอบความเสี่ยงความท้าทาย ความก้าวร้าว ความอ่อนไหว ต่อแรงกดดัน นิสัยการยอมรับการเปลี่ยนแปลง 3) ด้านพฤติกรรม ได้แก่ พฤติกรรมการต่อต้านสังคม การยอมรับความเสี่ยง หรือ การขับขี่โดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ 4) ด้านพัฒนาการ ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพของร่างกาย ระดับฮอร์โมนของร่างกาย พลังงาน สมอง สภาวะการนอนหลับของร่างกาย สภาพทางจิต อารมณ์และสังคมของผู้ขับรถ 5) ด้านความสา มารถการขับรถ ได้แก่ ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ 6) ด้านสภาพแวดล้อมที่รับรู้ ได้แก่ ค่านิยมทางสังคม ค่านิยมของผู้ปกครอง ความคาดหวังกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมและการสังเกตของผู้ปกครอง ค่านิยมทางวัฒนธรรม การโฆษณาของสื่อ แหล่งบันเทิง การรับรู้ถึงความเสี่ยง 7) ด้านสภาพแวดล้อมในการขับขี่ ได้แก่ กลางวัน กลางคืน สภาพอากาศ สมรรถนะของรถ ลักษณะของผู้โดยสารที่เดินทางไปด้วยกัน เช่น อายุ เพศ การใช้สารเสพติดหรือ เครื่องดื่ม เป็นต้น และวัตถุประสงค์ในการเดินทางนั้น ๆ ( 2 ) วิชากฎหมายและผลกระทบที่เกิดจากอุบัติเหตุ (ก) ผลกระทบทางตรง ผู้ประสบอุบัติภัยได้รับบาดเจ็บอาจถึงขั้นพิการ หรือเสียชีวิต รวมทั้งต้องสูญเสียเงินค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมแซมวัสดุ ยานพาหนะที่เสียหายอีกด้วย (ข) ผลกระทบทางอ้อม ได้แก่ สูญเสียทางด้านจิตใจ สู ญเสียโอกาสในชีวิต สูญเสียกำลังสำคัญ ของครอบครัวและประเทศชาติ และสูญเสียเวลาในการดูแลรักษา (ค) ข้อหาความผิดที่ถูกตัดคะแนนและบทกำหนดโทษ ได้แก่ ลักษณะการกระทำ ความผิดในแต่ละฐานข้อหาที่ถูกตัดคะแนนและอัตราโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ (ง) จิตสำนึกและความรับผิดชอบ ในการขับรถบนถนนเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ การสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ขับขี่ได้มีความตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้รถใช้ถนน และการสร้าง พฤติกรรมให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ โดยรับรู้ถึงสิทธิควบคู่ไปกับหน้าที่และความรับผิดชอบ ในการใช้ร ถใช้ถนนที่ถูกต้องและปลอดภัย ้ หนา 30 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 293 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 ธันวาคม 2565
ส่วนที่ 2 การทดสอบ ข้อ 7 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ตามข้อ 4 ต้องเข้ารับการทดสอบผ่านระบบสารสนเทศของกรมการขนส่งทางบกภายหลังการอบรมทันที และ ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 จึงจะถือว่าผ่านการอบรมและทดสอบ ในกรณีผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ที่เข้ารับการทดสอบไม่สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้ ให้ผู้ดาเนินการทดสอบเปิดเสียงอ่านแบบทดสอบจากระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ฟัง และให้ผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ดาเนินการทดสอบ ข้อ 8 ในก รณีผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ที่เข้ารับการทดสอบแล้วไม่ผ่านการทดสอบ ให้ทดสอบ แก้ตัวใหม่เป็นครั้งที่ 2 ในวันนั้น หากยังไม่ผ่านการทดสอบอีกให้ออกใบนัดมาทำการทดสอบแก้ตัวใหม่ เป็นครั้งที่ 3 ภายใน 7 วันนับแต่วันที่เข้ารับการทดสอบครั้งแรกไม่ผ่าน กรณีที่ผู้ได้ รับใบอนุญาตขับขี่ไม่ผ่านการทดสอบในการทดสอบครั้งที่ 3 หรือไม่มาทดสอบ ครั้งที่ 3 ภายใน 7 วันนับแต่วันที่เข้ารับการทดสอบครั้งแรกไม่ผ่านตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ ต้องเข้ารับการอบรมและการทดสอบใหม่ ข้อ 9 เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ผ่านการอบรมแ ละการทดสอบแล้ว กรมการขนส่งทางบก จะดาเนินการแจ้งผลการอบรมและการทดสอบ เพื่อให้สานักงานตารวจแห่งชาติดาเนินการคืนคะแนน ตามระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับระบบการบันทึกคะแนนความประพฤติ ในการขับรถของผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ต่อไป ข้อ 10 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 256 6 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 25 6 5 พลตำรวจเอก ดารงศักดิ์ กิตติประภัสร์ จิรุตม์ วิศาลจิตร ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ้ หนา 31 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 293 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 ธันวาคม 2565