ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง ทักษะที่พึงประสงค์ของกำลังคนในสาขาเกษตรสมัยใหม่ การตลาดดิจิทัล และท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ปี พ.ศ. 2565
ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง ทักษะที่พึงประสงค์ของกำลังคนในสาขาเกษตรสมัยใหม่ การตลาดดิจิทัล และท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ปี พ.ศ. 2565
ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง ทักษะที่พึงประสงค์ของกาลังคนในสาขาเกษตรสมัยใหม่ การตลาดดิจิทัล และท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ปี พ.ศ. 2565 เพื่อการดาเนินการตามปรัชญาการอุดมศึกษาไทยและระบบอุดมศึกษาใหม่ด้านการสร้างบัณฑิต และพัฒนากาลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ตอบสนอง ความต้องการในการพัฒนาของทั้งภาครัฐและเอกชน โดยคานึงถึงการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ในปัจจุบั น และอนาคต ผ่านข้อมูลการวิจัยด้านทักษะที่พึงประสงค์จากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปใช้ เป็นแนวทางในการจัดทาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างทักษะและ สมรรถนะแก่ผู้เรียน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพร ะราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 9/2565 เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2565 จึงประกาศทักษะที่พึงประสงค์ของกาลังคนในสาขาเ กษตรสมัยใหม่ การตลาดดิจิทัล และท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ดังต่อไปนี้ 1. ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา 2. ในประกาศนี้ 2.1 ทักษะของสาขาเกษตรสมัยใหม่ ทักษะที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการ สาขา เกษตรสมัยใหม่ ที่มีการใช้เทคโนโลยีและ การบริหารจัดการ เพื่อการดำเนินธุรกิจเกษตรอย่างทันยุคสมัย มีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ มีการนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี นวัตกรรมมาแก้ปัญหาในการผลิต มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทาให้ ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น เป็นการเพาะปลูกหรือการผลิตที่พิจารณาทั้งห่วงโซ่อุปทา น ลำดับ ทักษะ คำอธิบายความหมาย 1 การวิเคราะห์ ข้อมูล 1.1 สามารถจัดเตรียมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ 1.2 สามารถจัดกลุ่มและจำแนกข้อมูล 1.3 สามารถอธิบายสาเหตุการเกิดขึ้นของข้อมูลที่ผิดปกติ 1.4 สามารถทดสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยหลักสถิติ 1.5 สามารถสรุปข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ ้ หนา 16 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 293 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 ธันวาคม 2565
ลำดับ ทักษะ คำอธิบายความหมาย 2 การจัดการ การผลิตพืช 2.1 สามารถปลูกและขยายพันธุ์พืชได้ 2.2 สามารถจัดการปัจจัยการปลูกให้พืชเจริญงอกงามและจัดการควบคุมศัตรูพืชได้ 2.3 สามารถดูแลและจัดการสุขภาพพืชได้ 2.4 สามารถทำเขต กรรมได้ 2.5 สามารถบริหารจัดการฟาร์มผลิตพืชได้ 2.6 สามารถเก็บเกี่ยวและจัดการหลังการเก็บเกี่ยวพืชได้ 3 การจัดการ การผลิตปศุสัตว์ 3.1 สามารถเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ได้ 3.2 สามารถจัดการการเลี้ยงปศุสัตว์ให้เติบโตได้ 3.3 สามารถจัดการสุขาภิบาลและสุขภาพสัตว์ได้ 3.4 สามารถบริหารจัดการฟาร์มปศุสัตว์ได้ 3.5 สามารถตัดแต่งซากเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเก็บรักษาเนื้อสัตว์ให้อยู่ในสภาพสดได้ 3.6 สามารถแปรรูปและออกแบบผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ได้ 4 การจัดการ การผลิตสัตว์น้ำ 4.1 สามารถเพาะและเลี้ยงสัตว์น้ำในฟาร์มเพาะเลี้ยงได้ 4.2 สามารถจัดการระบบการเลี้ยงและจัดการสุขภาพสัตว์น้ำให้สัตว์น้ำเติบโตได้ 4.3 สามารถวิเคราะห์คุณภาพน้ำในฟาร์มเพาะเลี้ยงได้ 4.4 สามารถจัดการประชากรสัตว์น้ำในฟาร์มเพาะเลี้ยงได้ 4.5 สามารถบริหารจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ 4.6 สามารถเก็บรักษาสัตว์น้ำให้อยู่ในสภาพสดได้ 5 การจัดการ ทรัพยากรประมง 5.1 สามารถแยกองค์ประกอบของปัญหาทรัพยากรประมงออกมาเป็นข้อย่อย ๆ แล้วนำองค์ประกอบและรายละเอียดเหล่านั้นมาคิดวิเคราะห์แบบเป็นเหตุเป็นผล 5.2 สามารถจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรประมงได้ 5.3 สามารถจั ดการประชากรสัตว์น้ำโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ 5.4 สามารถวิเคราะห์คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติและปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมได้ 5.5 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้จัดการทรัพยากรประมงได้ 5.6 สามารถดำเนินการจัดการประมงตามแผนที่วางไว้ 6 การคิดวิเคราะห์ 6.1 สามารถแยกองค์ประกอบของปัญหาออกมาเป็นข้อย่อย ๆ แล้วนาองค์ประกอบ และรายละเอียดเหล่านั้นมาคิดวิเคราะห์แบบเป็นเหตุเป็นผล 6.2 สามารถจัดลำดับขั้นตอนในการแก้ปัญหาหรือการทำงานที่ชัดเจน และอธิบายขั้นตอนการแก้ปัญหา 6.3 สามารถคัดแยกคุณลักษณะที่สาคัญออกจากรายละเอียดปลีกย่อยในปัญหา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นและเพียงพอในการแก้ปัญหา ้ หนา 17 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 293 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 ธันวาคม 2565
ลำดับ ทักษะ คำอธิบายความหมาย 7 การจัดการ โลจิสติกส์เกษตร 7.1 สามารถวางแผนการจัดการกิจกรรมด้านโลจิสติกส์จากจุดต้นทางไปยังลูกค้า ปลายทางได้อย่างเป็นระบบ 7.2 สามารถวิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ 7.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ 7.4 สามารถบริหารจัดการข้อมูลสา รสนเทศเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ด้านโลจิสติกส์สินค้าเกษตร 8 การจัดการ การปฏิบัติงาน ในธุรกิจเกษตร 8.1 สามารถออกแบบและวางแผนกระบวนการผลิตของสินค้าและบริการ ในธุรกิจเกษตร 8.2 สามารถควบคุมและจัดการกระบวนการผลิตทางการเกษตร รวมถึง การดูแลจัดการหลังการเก็บเกี่ยว โดยประยุกต์ใช้หลักการและเทคนิคการทาเกษตร แม่นยำและแนวคิด 4Rs ( Right source, Right rate, Right time, Right place ) 8.3 สามารถออกแบบและจัดการกระบวนการควบคุมคุณภาพของผลผลิต ทางการเกษตร 8.4 สามารถติดตามและบันทึกข้อมูลกระบวนการผลิตและนาไปใช้ประกอบ การตัดสินใจและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 8.5 สามารถนำมาตรฐานเกษตรที่เกี่ยวข้องไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม 9 การจัดการ ห่วงโซ่อุปทาน ในธุรกิจเกษตร 9.1 สามารถวิเคราะห์กิจกรรมและบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานของ ธุรกิจเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ 9.2 สามารถวางแผนและจัดการห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจเกษตร 9.3 สามารถนาเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการจัดการห่วงโซ่อุปทานของ ธุรกิจเกษตร 9.4 สามารถประเมินประสิทธิภาพการจัดการห่วงโซ่อุปทาน และใช้ในการ ปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 9.5 สามารถวิเคราะห์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรได้ตลอดห่วง โซ่ อุปทาน ในธุรกิจเกษตร 10 การวางแผน งบประมาณ 10.1 สามารถวิเคราะห์ และใช้ข้อมูลทางการเกษตรเพื่อการวางแผนงบประมาณได้ 10.2 สามารถจัดทำงบประมาณสำหรับแผนงาน/โครงการทางการเกษตรได้ 10.3 สามารถบริหารควบคุมจัดการค่าใช้จ่ายในกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม 10.4 สามารถออกแบบวิธีการติดตามและประเมินการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณได้อย่างเหมาะสม ้ หนา 18 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 293 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 ธันวาคม 2565
ลำดับ ทักษะ คำอธิบายความหมาย 11 การจัดการ การเงินและบัญชี 11.1 สามารถใช้ข้อมูลทางบัญชีและตัวชี้วัดทางการเงินในการวิเคราะห์ ผลการดำเนินงานเพื่อประกอบการตัดสินใจของธุรกิจเกษตร 11.2 สามารถวางแผนการเงินของธุรกิจเกษตรได้ 11.3 สามารถบริหารการเงินของธุรกิจเกษตรได้ 11.4 สามารถประยุกต์ใช้โปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ ( Excel ) เพื่อการจัดการ ข้อมูลการเงินและบัญชีสาหรับธุรกิจเกษตรได้ 12 การใช้ เครื่องจักรกล เกษตร 12.1 สามารถใช้งานรถแทรกเตอร์ ห รือเครื่องจักรกลเกษตรอื่น ๆ พร้อมอุปกรณ์ ต่อพ่วง ในกิจกรรมทางการเกษตร 12.2 สามารถใช้งานเครื่องยนต์ มอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อเป็นต้นกำลังร่วมกับ เครื่องจักรกลเกษตรอื่น ๆ 12.3 สามารถบำรุงรักษาเครื่องยนต์ เครื่องจักรกล ระบบไฮดรอลิก และระบบไฟฟ้า ทางการเกษตร 12.4 สามารถบันทึกและประเมิน ต้นทุนและค่าใช้จ่าย เพื่อการใช้และเลือกใช้ เครื่องจักรกลเกษตรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ 13 การประยุกต์ใช้ เทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต เพื่อสรรพสิ่ง เพื่อการเกษตร 13.1 สามารถติดตั้งและใช้งานระบบควบคุมอัตโนมัติด้วยไฟฟ้าที่มีใช้งานใน ท้องตลาดเพื่อกิจกรรมทางการเกษตรได้ เช่น ระบบให้น้ำ ระบบให้อาหาร เป็นต้น 13.2 สามารถพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวอย่างง่ายเพื่อการอ่านค่าเซนเซอร์และ ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านเครือข่ายไร้สาย เพื่อประยุกต์การจัดการฟาร์มเกษตร 13.3 สามารถนำข้อมูลที่ได้จากระบบสมองกลฝัง ตัวหรือเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เพื่อสรรพสิ่งมาใช้เพื่อการวิเคราะห์และควบคุมทางการเกษตรได้ 2.2 ทักษะของสาขาการตลาดดิจิทัล ทักษะที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการธุรกิจ ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างช่องทางจาหน่ายสินค้าและ บริการผ่านทางออนไลน์ และนำหลักการ เทคนิค และเครื่องมือ การตลาดดิจิทัล มาประยุกต์ใช้ ในการวิเคราะห์ การวางแผนและการตัดสินใจในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและศักยภาพ ของการจำหน่ายสินค้าและบริการ ลำดับ ทักษะ คำอธิบายความหมาย 1 การใช้สื่อสังคม ออนไลน์เพื่อ การตลาด 1.1 สามารถใช้เทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการทาการตลาด เช่น Google Ads, Facebook, Instagram, Line และ Social Media ต่าง ๆ ได้ 1.2 สามารถสร้าง Web site ที่เป็นช่องทางหรือเว็บเพจสำหรับส่งเสริมการขาย 1.3 สามารถวิเคราะห์และจัดเตรียมเนื้อหา รูปภาพ เพื่อทาโฆษณา บนสื่อ สังคมออนไลน์ ้ หนา 19 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 293 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 ธันวาคม 2565
ลำดับ ทักษะ คำอธิบายความหมาย 1.4 สามารถวางกลยุทธ์เพื่อสร้างยอดขายบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ของสื่อสังคม ออนไลน์ 1.5 สามารถวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าออนไลน์เพื่อนำมาปรับกลยุทธ์การตลาด 2 การคิดวิเคราะห์ 2.1 สามารถระบุข้อมูลและออกแบบการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในการ ทำการตลาดแบบดิจิทัล 2.2 สามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตลาดแบบดิจิทัลได้ เช่น การวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายและการวิเคราะห์คู่แข่ง การวิเคราะห์ แนวโน้มของความต้องการสินค้า การวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า 2.3 สามารถวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างและใช้งานโมเดลข้อมูลเพื่อการวางแผน และตัดสินใจ 2.4 สามารถนาเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภาพข้อมู ล ( Data Visualization ) ที่สื่อความหมายประกอบการตัดสินใจได้ 3 การให้บริการ โฆษณา 3.1 สามารถใช้งานแพลตฟอร์มเทคโนโลยีและบริการด้านโฆษณาบน อินเทอร์เน็ต 3.2 สามารถกาหนดเป้าหมายของโ ฆษณาตามพฤติกรรมของผู้ใช้งานหรือ ตามบริบท เช่น ข้อมูลบนหน้าเว็บหรือวิดีโอที่จะนำโฆษณาไปแสดง 3.3 สามารถติดตามและสรุปผลการเผยแพร่โฆษณา 3.4 สามารถใช้เครื่องมือและบริการโฆษณาออนไลน์บนแพลตฟอร์ม Google Ads เพื่อให้ธุรกิจต่าง ๆ ใช้ในการนาเสนอผลิตภัณฑ์และบริการบน Google Search, YouTube และเว็บไ ซต์อื่น ๆ บนอินเทอร์เน็ต สามารถเลือกเป้าหมายเฉพาะ ที่เหมาะสมสาหรับการโฆษณา 3.5 สามารถวิเคราะห์สถิติและผลสัมฤทธิ์ของโฆษณาออนไลน์ และนาข้อมูล ไปใช้ในการวางแผนการโฆษณาออนไลน์ 4 การทำให้ เว็บไซต์ ติดหน้าแรกบน ผลลัพธ์ของ การสืบค้น 4.1 สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับการทางานของ Search Engine โดยมีจุดมุ่งหมายให้เว็บไซต์ปรากฏในลาดับต้น ๆ ของผลการค้นหา 4.2 สามารถเขียนเนื้อหา ( Content ) ในเว็บไซต์ที่ตอบโจทย์ทั้งผู้อ่านและเข้ากันได้ กับการทำงานของ Search Engine 4.3 สามารถเลือกใช้ Keyword ที่เหมาะสม 4.4 สามารถสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลของคู่แข่งเพื่อนามาใช้ประกอบการ ปรับปรุงเว็บไซต์ได้ ้ หนา 20 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 293 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 ธันวาคม 2565
ลำดับ ทักษะ คำอธิบายความหมาย 5 การวิเคราะห์ เว็บไซต์ 5.1 สามารถวิเคราะห์สถิติและพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์ 5.2 สามารถใช้เครื่องมือ Web Analytics เช่น Google Analytics ที่วัดประสิทธิผลของเว็บไซต์ ด้วยการนาข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชม หน้าเว็บไซต์มาวิเคราะห์ได้อย่างดี 5.3 สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากเว็บไซต์ของตนเองและคู่แข่งเพื่อนามาใช้ ปรับปรุงเว็บไซต์และใช้ในการวางแผนกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ 5.4 สามารถเข้าใจความหมายต่าง ๆ ของข้อมูล และนาข้อมูลเหล่านี้มาใช้ วิเคราะห์สรุปให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางกลยุทธ์ในการทาการตลาด 6 การตลาดผ่าน เครื่องมือค้นหา 6.1 สามารถทาการตลาดผ่านเครื่องมือค้นหาบนอินเทอร์เน็ต เพื่อเพิ่มอันดับ Ranking บนระบบ Searc h Engine โดยการซื้อโฆษณา 6.2 สามารถออกแบบเนื้อหาและ Keyword ที่เหมาะสมได้ สามารถ ออกแบบและวางแผนการลงโฆษณาบนพื้นที่โฆษณาบนเครื่องมือค้นหาบน อินเทอร์เน็ต 6.3 สามารถออกแบบและวางแผนการลงโฆษณาบนหน้าแสดงผลการค้นหา ของ Search Engine โดยคำนวณค่าใช้จ่ายจากการคลิกข้อความโฆษณา 6.4 สามารถกำหนด Keyword ที่เหมาะสมเพื่อให้โฆษณาแสดงให้ กลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์หรือบริการรับรู้ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Search Engine Marketing 7 การทำการตลาด ผ่านอีเมล์ 7.1 สามารถทาการตลาดผ่านการส่งอี เมล์ไปยังกลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ หรือบริการ 7.2 สามารถจัดเตรียม คัดเลือก แบ่งกลุ่ม และปรับปรุงรายชื่ออีเมล์ของ กลุ่มเป้าหมาย 7.3 สามารถเขียนอีเมล์สื่อสารข้อมูลที่สาคัญ เช่น การโฆษณาส่วนลดหรือ สินค้าและบริการใหม่ 7.4 สามารถตั้งชื่อหัวข้อที่น่าสนใ จ รวมไปถึงการใส่รูปที่เหมาะสม 7.5 สามารถรองรับการติดต่อกลับจากลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ 7.6 สามารถติดตาม ประเมิน และสรุปผลการทำการตลาดผ่านอีเมล์ 8 การวางแผน กลยุทธ์ การตลาด 8.1 สามารถวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการตลาด ทั้งปัจจัยภายในและภายนอกธุรกิจ 8.2 สามารถวิเคราะห์ข้อมูลการตลาด และวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 8.3 สามารถกำหนดจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของธุรกิจได้ 8.4 สามารถวางแผนการตลาดได้ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว 8.5 สามารถกำหนดกลยุทธ์ทำการตลาดออนไลน์ 8.6 การตั้งงบประมาณสำหรับกลยุทธ์การตลาดเชิงรุกและการประเมินผลลัพธ์ ้ หนา 21 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 293 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 ธันวาคม 2565
2.3 ทักษะของสาขาท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ทักษะที่พึงประสงค์ของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ซึ่งมีคุณสมบัติสอดคล้อง ตามข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ( ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Tourism Professionals : ASEAN MRA ) ลำดับ ทักษะ คำอธิบายความหมาย 1 การวางแผน การเดินทาง และ การท่องเที่ยว 1.1 สามารถวิเคราะห์และสรุปความต้องการของลูกค้าและวัตถุประสงค์ ในการเดินทางท่องเที่ยวของลูกค้าได้ 1.2 สามารถวางแผนการเดินทางและท่องเที่ยวตามวัตถุประสงค์และ ความต้องการของลูกค้า 1.3 สามารถเลือกตั๋วเดินทางและที่พักที่เหมาะสมกับแผนการเดินทาง 1.4 สามารถสืบค้นข้อมูล สถานที่สำหรับแผนการเดินทางและท่องเที่ยวได้ 1.5 สามารถประสานงานกับหน่วยงานและสถานที่ที่เกี่ยวข้องในแผนการ เดินทางและท่องเที่ยวได้ 1.6 สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายของแผนการเดินทางและท่องเที่ยวได้ 2 การขาย ผลิตภัณฑ์ และบริการ การท่องเที่ยว 2.1 สามารถสืบค้นและศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์และบริการการท่องเที่ยว ที่จะนำเสนอให้ลูกค้า 2.2 สามารถกำหนดและวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ 2.3 สามารถให้คำปรึกษาด้านการเดินทางและท่องเที่ยว 2.4 สามารถแนะนำและนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการการท่องเที่ยว ให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ทั้งลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ 2.5 สามารถใช้ช่องทางออนไลน์ในการประกาศขายผลิตภัณฑ์และบริการ การท่องเที่ยวและติดต่อกับลูกค้า 2.6 สามารถคำนวณราคาและส่วนลดได้ 3 ลูกค้าสัมพันธ์ 3.1 สามารถจัดการคำติชม ของลูกค้าเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และการให้บริการ 3.2 สามารถติดต่อสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามความต้องการ ระดับความพึงพอใจของลูกค้า และรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า 3.3 มีความคิดริเริ่มเพื่อส่งเสริ มความสัมพันธ์ระยะยาวและผลักดัน การเติบโต ของยอดขาย 3. 4 สามารถใช้งานระบบสารสนเทศและสื่อออนไลน์ เพื่อส่งเสริม ความสัมพันธ์ กับลูกค้าได้ ้ หนา 22 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 293 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 ธันวาคม 2565
ลำดับ ทักษะ คำอธิบายความหมาย 4 การบริการ 4.1 สามารถสังเกตและเรียนรู้ความต้องการ ปัญหา และความพึงพอใจของ ผู้รับบริการได้ 4.2 สามารถสื่อสารกับผู้รับบริการ ทั้งโดยการพูด การเขียน การฟัง และการแสดงออกสีหน้าและท่าทาง ได้อย่างเหมาะสม 4.3 มีบุคลิกที่เป็นมิตร แสดงออกถึงความยินดีในการให้ความช่วยเหลือหรือ ให้บริการ 4.4 สามารถวางแผนการบริการและจัดการสภาพแวดล้อมในการให้บริการ เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับประสบการณ์การบริการที่ดีและให้เกิดทัศนคติที่ ดี ต่อผู้ให้บริการ 4.5 สามารถจัดการปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการ และสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองเมื่อเกิดปัญหาได้ 5 การนำเที่ยว 5.1 สามารถนานักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม คณะตามแผนการเดินทางท่องเที่ยวได้ สามารถจัดการเวลา และปรับเปลี่ยน แผนการเดินทางได้หากมีความจำเป็น 5.2 สามารถอธิบายให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ที่เข้าเยี่ยมชมได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน และน่าสนใจ 5.3 มีความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบ ข้อกำหนด แนวปฏิบัติ และขนบธรรมเนียม ของประเทศและสถานที่ที่เข้าเยี่ยมชม และให้คำแนะนำแก่ลูกทัวร์ได้ 5.4 สามารถติดต่อประสานงานกับหน่วยงานและสถานที่ที่เกี่ยวข้อง ตามแผนการเดินทางท่องเที่ยวได้ 5.5 สามารถสังเกตและเรียนรู้ความต้องการ ปัญหา และความพึงพอใจ ของลูกทัวร์ได้ 5.6 สามารถ ดูแล อำนวยความสะดวก และให้ความช่วยเหลือลูกทัวร์ได้ 5.7 สามารถจัดการปัญหาและเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นระหว่าง การเดินทางท่องเที่ยว รวมถึงสามารถให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ และสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองเมื่อเกิดปัญหาได้ 6 การ ป ระสานงาน กับสายการบิน 6.1 มีความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการเดินทางโดยเครื่องบิน ประเภทและเงื่อนไขของตั๋วโดยสารประเภทต่าง ๆ 6.2 สามารถใช้ระบบสารสนเทศสาหรับการสืบค้นข้อมูลเส้นทางการบินและ ตั๋วโดยสาร สามารถสารองและจัดการตั๋วโดยสาร และตรวจสอบสถานะของ เที่ยวบิน 6.3 สามารถประสานงานกิจกรรมของสายการบินในแผนกต่าง ๆ เพื่อให้ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของลูกค้าได้ ้ หนา 23 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 293 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 ธันวาคม 2565
ลำดับ ทักษะ คำอธิบายความหมาย 6.4 สามารถตรวจสอบและจัดการผลกระทบของการดาเนินงานที่ไม่เป็นปกติ ของสายการบิน 7 การจัดการ การสำรองที่พัก 7.1 มีความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบ เงื่อนไข นโยบาย แนวทางปฏิบัติ และข้อกำหนดทางกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของโรงแรมหรือบริษัท ที่ให้บริการที่พักได้ 7.2 สามารถให้คำแนะนำลูกค้าเกี่ยวกับห้องพัก สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการต่าง ๆ ของที่พักได้ 7.3 สามารถใช้ระบบ สารสนเทศสาหรับการสืบค้นข้อมูลห้องพักและสถานะ ของห้องพัก และสามารถทำการสารองและจัดการการสำรองห้องพักได้ 7.4 สามารถจัดการปัญหาและสถานการณ์ไม่ปกติที่ส่งผลกระทบต่อ การสำรองห้องพักได้ 8 การจัดการอีเวนต์ 8.1 สามารถวางแผนการจัดอีเวนต์ตามวัตถุประสงค์ ความต้องการของลูกค้า งบประมาณ และเงื่อนไขอื่น ๆ ได้ 8.2 มีความรู้ในกฎระเบียบและข้อกาหนดต่าง ๆ ของการจัดอีเวนต์ รวมถึง ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย 8.3 สามารถเตรียมการการจัดอีเวนต์ตามแผน รวมถึงการเตรียมบุคลากร สถานที่ และทรัพยากรอื่น ๆ 8.4 สามารถติดตามและ กำกับดูแลการดำเนินการจัดอีเวนต์ แก้ปัญหา ที่เกิดขึ้น และควบคุมค่าใช้จ่ายได้ 8.5 สามารถติดต่อประสานงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดอีเวนต์ได้ 9 การบริหาร ความเสี่ยง 9.1 สามารถวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยง ประเมินความเสี่ยง และจัดทำ แผนการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน 9.2 สามารถออกแบบมาตรการลดผลกระทบจากความเสี่ยง 9.3 สามารถติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนการบริหาร ความเสี่ยง 9.4 สามารถสื่อสารให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องรับทราบและเข้าใจถึงความเสี่ยงและ แผนการบริหารความเสี่ยงของหน่ว ยงาน ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 256 5 เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ้ หนา 24 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 293 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 ธันวาคม 2565